ประธานาธิบดีบารัค โอบามา ของสหรัฐฯ ออกตระเวนเยือน 4 ประเทศเอเชียเป็นเวลา 8 วัน ตั้งแต่เมื่อวันศุกร์(13)
ทว่าช่วงตอนที่สำคัญที่สุดในการเดินทางเที่ยวนี้ของเขาย่อมต้องเป็นการเยี่ยมเยียนประเทศจีน ที่นี่ ประเด็นปัญหาพื้นฐานประการหนึ่งที่กำลังเผชิญหน้าคณะรัฐบาลโอบามา ก็คือ วอชิงตันควรนิยามความสัมพันธ์ที่มีกับปักกิ่งกันอย่างไร แน่นอนทีเดียวว่าระหว่างประเทศทั้งสองมีผลประโยชน์ร่วมกันเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ตั้งแต่การฟื้นฟูเศรษฐกิจและเสถียรภาพทางการเงินของโลก ไปจนถึงการบริหารจัดการการเปลี่ยนแปลงในสภาพภูมิอากาศ
แต่ขณะเดียวกัน ลักษณะของความสัมพันธ์ทวิภาคีนี้ (ซึ่งย่อมหมายรวมถึงนโยบายของสหรัฐฯที่มีต่อจีนด้วย) ยังคงไม่ได้มีการนิยามกัน ยังคงไม่ได้มีการทำความตกลงเห็นพ้องกัน และยังคงต้องดำเนินการกันต่อไปด้วยความกระตือรือร้น เพื่อที่จะตอบคำถามเช่นนี้ให้ได้ มีปัญหาในระดับพื้นฐานอยู่ 3 ประเด็น ที่ผุดขึ้นในใจของผู้เขียนทันที
ปัญหาประการแรก การผงาดขึ้นมาของจีนคือการท้าทายถึงระดับรากฐานต่อผลประโยชน์ของสหรัฐฯใช่หรือไม่ และถ้าหากใช่ เป็นการท้าทายที่มีขนาดขอบเขตแค่ไหน สิ่งเหล่านี้ยังคงเป็นที่อภิปรายถกเถียงกันเรื่อยมาและยังไม่มีการตัดสินใจที่ชัดเจนลงไป สามสิบปีหลังจากจีนเริ่มเดินไปตามเส้นทางแห่งการปฏิรูปเศรษฐกิจและการเปิดกว้างสู่โลกภายนอก ประเทศนี้ได้เติบใหญ่ขึ้นมากลายเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจที่คึกคักมาก
สภาพเช่นนี้ก่อให้เกิดคำถามที่ฉกาจฉกรรจ์อย่างยิ่งสำหรับสหรัฐฯ หากดูจากประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา การก้าวผงาดขึ้นของมหาอำนาจยิ่งใหญ่รายใหม่ๆ ทั้งหลาย ธรรมดาแล้วย่อมจะต้องตามมาด้วยช่วงเวลาแห่งการเปลี่ยนถ่ายอำนาจ และน้อยนักที่จะดำเนินไปอย่างสันติ ขณะที่ปักกิ่งพยายามออกมาย้ำต่อโลกและโดยเฉพาะต่อสหรัฐฯครั้งแล้วครั้งเล่าว่า ตนเองมีเจตนารมณ์ในทางสันติ ทว่าวอชิงตันก็ยังไม่มีความมั่นใจ และในใจยังคงเต็มไปด้วยความกังวลอย่างลึกล้ำ
ปัญหาประการที่สอง นโยบายเฉพาะเจาะจงที่คณะรัฐบาลโอบามาควรนำมาใช้ในเวลานี้มีอะไรบ้าง ประเด็นก็คือทำอย่างไรจึงจะสามารถเพิ่มความเข้มแข็งให้แก่การร่วมมือกันในจุดที่ประเทศทั้งสองมีผลประโยชน์ร่วมกันอยู่ และทำอย่างไรจึงจะสามารถจัดการกับการพิพาทโต้แย้งในจุดที่พวกเขาไม่สามารถลงรอยกันได้ บางนี้เรื่องนี้อาจจะเป็นภารกิจที่ชัดเจนที่สุดและก็เป็นภารกิจที่น่าหนักใจที่สุดซึ่งวอชิงตันต้องกระทำให้สำเร็จ
เมื่อพิจารณาจากการที่ประเทศทั้งสองยังคงมีความระแวงและความสงสัยซึ่งกันและกันอย่างไม่รู้คลาย ถึงแม้ผลประโยชน์ร่วมกันของพวกเขาและระดับแห่งการต้องพึ่งพาอาศัยกันของพวกเขากำลังมาถึงขีดที่ทั้งมากมายและลึกซึ้งอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน ดังนั้น จึงได้มีการพัฒนากรอบความคิดประการหนึ่งขึ้นมา เรียกขานกันว่า “การให้ความมั่นใจแก่กันเชิงยุทธศาสตร์” (strategic reassurance) ในกรอบความคิดนี้ สหรัฐฯจะไม่หาทางขัดขวางการผงาดขึ้นมาของจีน ขณะเดียวกันปักกิ่งก็จะผ่อนคายลดทอนความไม่สบายใจของวอชิงตัน
ยังไม่เป็นที่ชัดเจนว่า “การให้ความมั่นใจแก่กันเชิงยุทธศาสตร์” สามารถที่จะให้คำนิยามใหม่ และสร้างแรงดลใจให้แก่นโยบายจีนของสหรัฐฯ ตลอดจนก่อให้เกิดพื้นฐานสำหรับการต่อรองกัน ระหว่างมหาอำนาจที่ก้าวผงาดขึ้นมาใหม่อย่างรวดเร็วอย่างจีน และมหาอำนาจที่ยังกำลังครองอำนาจอยู่อย่างสหรัฐฯได้หรือไม่ ทั้งนี้ส่วนสำคัญทีเดียวย่อมขึ้นอยู่กับว่าจะมีการตีความแปลความหมายกรอบความคิดนี้กันอย่างไร อย่างไรก็ตาม สิ่งที่สำคัญที่สุด ยังคงเป็นเรื่องที่ว่า จะพัฒนาและดำเนินนโยบายที่จะนำมาใช้กันจริงๆ กันอย่างไร และนี่ก็เป็นเนื้อหาของปัญหาประการที่สามที่ผุดขึ้นมาในใจผู้เขียน
ถ้าหากจะมีการปฏิบัติตามหลักการ 4 ประการดังต่อไปนี้ ก็น่าจะช่วยให้มหาอำนาจทั้งสองรายนี้สามารถปรับตัวเข้าหากันและดัดแปลงให้กลมกลืนกันได้ดียิ่งขึ้น ในช่วงระยะเวลาแห่งการเปลี่ยนถ่ายอำนาจ ซึ่งก็จะเป็นช่วงระยะเวลาที่จะต้องเกิดความเปลี่ยนแปลงอย่างมหาศาล
ประการแรก ความสัมพันธ์จีน-สหรัฐฯนั้นเป็นความสัมพันธ์ที่สลับซับซ้อน และไม่ควรที่จะติดฉลากตราหน้า (labeling) อะไรกันง่ายๆ
ประการที่สอง การบริหารจัดการความสัมพันธ์อันสลับซับซ้อนนี้ จำเป็นที่จะต้องมีวิสัยทัศน์, ความเป็นรัฐบุรุษ, และการบ่มเพาะฟูมฟักอย่างต่อเนื่องไม่ให้ขาดสายเพื่อส่งเสริมและขยายพื้นที่แห่งผลประโยชน์ร่วมกัน ขณะเดียวกัน ความสัมพันธ์นี้ก็จะต้องสามารถที่จะคาดการณ์, เตรียมการณ์, และบริหารจัดการ เมื่อเกิดความแตกต่างกันขึ้นมา ตลอดจนเมื่อถึงขั้นเกิดการพิพาทขัดแย้งขึ้นมา
ประการที่สาม เป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งที่จะต้องทำให้ความสัมพันธ์ทวิภาคนี้กลายเป็นความสัมพันธ์ในเชิงสถาบัน ณ ระดับต่างๆ ของการมีปฏิสัมพันธ์กัน
หลักการประการสุดท้าย ปักกิ่งและวอชิงตันควรยอมรับว่าความสัมพันธ์ของพวกเขาไม่ได้มีลักษณะเป็นความสัมพันธ์ทวิภาคีแท้ๆ อีกต่อไปแล้ว แต่มันมีนัยสำคัญสำหรับพัฒนาการในระดับภูมิภาคและในระดับทั่วโลก
(เก็บความและตัดตอนจากเรื่อง China: A need for strategic reassurance โดย Jing-dong Yuan ผู้อำนวยการโครงการการไม่แพร่กระจายอาวุธร้ายแรงในเอเชียตะวันออก ณ ศูนย์กลางเจมส์ มาร์ติน เพื่อศึกษาการไม่แพร่กระจายอาวุธร้ายแรง (James Martin Center for Non-proliferation Studies) สถาบันมอนเทอเรย์เพื่อการระหว่างประเทศศึกษา)
ทว่าช่วงตอนที่สำคัญที่สุดในการเดินทางเที่ยวนี้ของเขาย่อมต้องเป็นการเยี่ยมเยียนประเทศจีน ที่นี่ ประเด็นปัญหาพื้นฐานประการหนึ่งที่กำลังเผชิญหน้าคณะรัฐบาลโอบามา ก็คือ วอชิงตันควรนิยามความสัมพันธ์ที่มีกับปักกิ่งกันอย่างไร แน่นอนทีเดียวว่าระหว่างประเทศทั้งสองมีผลประโยชน์ร่วมกันเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ตั้งแต่การฟื้นฟูเศรษฐกิจและเสถียรภาพทางการเงินของโลก ไปจนถึงการบริหารจัดการการเปลี่ยนแปลงในสภาพภูมิอากาศ
แต่ขณะเดียวกัน ลักษณะของความสัมพันธ์ทวิภาคีนี้ (ซึ่งย่อมหมายรวมถึงนโยบายของสหรัฐฯที่มีต่อจีนด้วย) ยังคงไม่ได้มีการนิยามกัน ยังคงไม่ได้มีการทำความตกลงเห็นพ้องกัน และยังคงต้องดำเนินการกันต่อไปด้วยความกระตือรือร้น เพื่อที่จะตอบคำถามเช่นนี้ให้ได้ มีปัญหาในระดับพื้นฐานอยู่ 3 ประเด็น ที่ผุดขึ้นในใจของผู้เขียนทันที
ปัญหาประการแรก การผงาดขึ้นมาของจีนคือการท้าทายถึงระดับรากฐานต่อผลประโยชน์ของสหรัฐฯใช่หรือไม่ และถ้าหากใช่ เป็นการท้าทายที่มีขนาดขอบเขตแค่ไหน สิ่งเหล่านี้ยังคงเป็นที่อภิปรายถกเถียงกันเรื่อยมาและยังไม่มีการตัดสินใจที่ชัดเจนลงไป สามสิบปีหลังจากจีนเริ่มเดินไปตามเส้นทางแห่งการปฏิรูปเศรษฐกิจและการเปิดกว้างสู่โลกภายนอก ประเทศนี้ได้เติบใหญ่ขึ้นมากลายเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจที่คึกคักมาก
สภาพเช่นนี้ก่อให้เกิดคำถามที่ฉกาจฉกรรจ์อย่างยิ่งสำหรับสหรัฐฯ หากดูจากประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา การก้าวผงาดขึ้นของมหาอำนาจยิ่งใหญ่รายใหม่ๆ ทั้งหลาย ธรรมดาแล้วย่อมจะต้องตามมาด้วยช่วงเวลาแห่งการเปลี่ยนถ่ายอำนาจ และน้อยนักที่จะดำเนินไปอย่างสันติ ขณะที่ปักกิ่งพยายามออกมาย้ำต่อโลกและโดยเฉพาะต่อสหรัฐฯครั้งแล้วครั้งเล่าว่า ตนเองมีเจตนารมณ์ในทางสันติ ทว่าวอชิงตันก็ยังไม่มีความมั่นใจ และในใจยังคงเต็มไปด้วยความกังวลอย่างลึกล้ำ
ปัญหาประการที่สอง นโยบายเฉพาะเจาะจงที่คณะรัฐบาลโอบามาควรนำมาใช้ในเวลานี้มีอะไรบ้าง ประเด็นก็คือทำอย่างไรจึงจะสามารถเพิ่มความเข้มแข็งให้แก่การร่วมมือกันในจุดที่ประเทศทั้งสองมีผลประโยชน์ร่วมกันอยู่ และทำอย่างไรจึงจะสามารถจัดการกับการพิพาทโต้แย้งในจุดที่พวกเขาไม่สามารถลงรอยกันได้ บางนี้เรื่องนี้อาจจะเป็นภารกิจที่ชัดเจนที่สุดและก็เป็นภารกิจที่น่าหนักใจที่สุดซึ่งวอชิงตันต้องกระทำให้สำเร็จ
เมื่อพิจารณาจากการที่ประเทศทั้งสองยังคงมีความระแวงและความสงสัยซึ่งกันและกันอย่างไม่รู้คลาย ถึงแม้ผลประโยชน์ร่วมกันของพวกเขาและระดับแห่งการต้องพึ่งพาอาศัยกันของพวกเขากำลังมาถึงขีดที่ทั้งมากมายและลึกซึ้งอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน ดังนั้น จึงได้มีการพัฒนากรอบความคิดประการหนึ่งขึ้นมา เรียกขานกันว่า “การให้ความมั่นใจแก่กันเชิงยุทธศาสตร์” (strategic reassurance) ในกรอบความคิดนี้ สหรัฐฯจะไม่หาทางขัดขวางการผงาดขึ้นมาของจีน ขณะเดียวกันปักกิ่งก็จะผ่อนคายลดทอนความไม่สบายใจของวอชิงตัน
ยังไม่เป็นที่ชัดเจนว่า “การให้ความมั่นใจแก่กันเชิงยุทธศาสตร์” สามารถที่จะให้คำนิยามใหม่ และสร้างแรงดลใจให้แก่นโยบายจีนของสหรัฐฯ ตลอดจนก่อให้เกิดพื้นฐานสำหรับการต่อรองกัน ระหว่างมหาอำนาจที่ก้าวผงาดขึ้นมาใหม่อย่างรวดเร็วอย่างจีน และมหาอำนาจที่ยังกำลังครองอำนาจอยู่อย่างสหรัฐฯได้หรือไม่ ทั้งนี้ส่วนสำคัญทีเดียวย่อมขึ้นอยู่กับว่าจะมีการตีความแปลความหมายกรอบความคิดนี้กันอย่างไร อย่างไรก็ตาม สิ่งที่สำคัญที่สุด ยังคงเป็นเรื่องที่ว่า จะพัฒนาและดำเนินนโยบายที่จะนำมาใช้กันจริงๆ กันอย่างไร และนี่ก็เป็นเนื้อหาของปัญหาประการที่สามที่ผุดขึ้นมาในใจผู้เขียน
ถ้าหากจะมีการปฏิบัติตามหลักการ 4 ประการดังต่อไปนี้ ก็น่าจะช่วยให้มหาอำนาจทั้งสองรายนี้สามารถปรับตัวเข้าหากันและดัดแปลงให้กลมกลืนกันได้ดียิ่งขึ้น ในช่วงระยะเวลาแห่งการเปลี่ยนถ่ายอำนาจ ซึ่งก็จะเป็นช่วงระยะเวลาที่จะต้องเกิดความเปลี่ยนแปลงอย่างมหาศาล
ประการแรก ความสัมพันธ์จีน-สหรัฐฯนั้นเป็นความสัมพันธ์ที่สลับซับซ้อน และไม่ควรที่จะติดฉลากตราหน้า (labeling) อะไรกันง่ายๆ
ประการที่สอง การบริหารจัดการความสัมพันธ์อันสลับซับซ้อนนี้ จำเป็นที่จะต้องมีวิสัยทัศน์, ความเป็นรัฐบุรุษ, และการบ่มเพาะฟูมฟักอย่างต่อเนื่องไม่ให้ขาดสายเพื่อส่งเสริมและขยายพื้นที่แห่งผลประโยชน์ร่วมกัน ขณะเดียวกัน ความสัมพันธ์นี้ก็จะต้องสามารถที่จะคาดการณ์, เตรียมการณ์, และบริหารจัดการ เมื่อเกิดความแตกต่างกันขึ้นมา ตลอดจนเมื่อถึงขั้นเกิดการพิพาทขัดแย้งขึ้นมา
ประการที่สาม เป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งที่จะต้องทำให้ความสัมพันธ์ทวิภาคนี้กลายเป็นความสัมพันธ์ในเชิงสถาบัน ณ ระดับต่างๆ ของการมีปฏิสัมพันธ์กัน
หลักการประการสุดท้าย ปักกิ่งและวอชิงตันควรยอมรับว่าความสัมพันธ์ของพวกเขาไม่ได้มีลักษณะเป็นความสัมพันธ์ทวิภาคีแท้ๆ อีกต่อไปแล้ว แต่มันมีนัยสำคัญสำหรับพัฒนาการในระดับภูมิภาคและในระดับทั่วโลก
(เก็บความและตัดตอนจากเรื่อง China: A need for strategic reassurance โดย Jing-dong Yuan ผู้อำนวยการโครงการการไม่แพร่กระจายอาวุธร้ายแรงในเอเชียตะวันออก ณ ศูนย์กลางเจมส์ มาร์ติน เพื่อศึกษาการไม่แพร่กระจายอาวุธร้ายแรง (James Martin Center for Non-proliferation Studies) สถาบันมอนเทอเรย์เพื่อการระหว่างประเทศศึกษา)