(เก็บความจากเอเชียไทมส์ออนไลน์www.atimes.com)
A new battle begins in Pakistan
By Syed Saleem Shahzad
19/10/2009
กองทหารปากีสถานกำลังหลั่งไหลเข้าไปในพื้นที่ชาวชนเผ่าของเขต เซาท์ วาซิริสถาน เพื่อทำการสู้รบปราบปรามพวกหัวรุนแรง ซึ่งพวกเขาแทบไม่มีโอกาสเลยที่จะเอาชนะได้อย่างเด็ดขาด กระนั้นก็ตามที การบุกโจมตีคราวนี้ก็เท่ากับเป็นการโยกย้ายจุดศูนย์รวมของสมรภูมิแห่งเอเชียใต้ออกมาจากอัฟกานิสถาน อันเป็นสิ่งที่สหรัฐฯเรียกร้องต้องการมาพักใหญ่แล้ว ในอีกด้านหนึ่ง อิหร่านเองก็เขม้นมองมาที่ปากีสถานเช่นเดียวกัน ภายหลังเกิดเหตุการณ์โจมตีพวกผู้บังคับบัญชาระดับสูงของกองกำลังพิทักษ์การปฏิวัติของพวกเขาเมื่อวันอาทิตย์(18)
อิสลามาบัด – เมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา กองทัพปากีสถานเริ่มเปิดการบุกโจมตีครั้งมโหฬาร เพื่อปราบปรามกลุ่มตอลิบานส่วนที่เป็นชาวปากีสถาน และพวกอัลกออิดะห์ ในบริเวณพื้นที่ชาวชนเผ่าตรงชายแดนติดต่อกับอัฟกานิสถาน ถึงแม้จะยังมีท่าทีลังเลด้วยเหตุผลฉกาจฉกรรจ์หลายประการ
การส่งทหารประมาณ 30,000 คนเข้าไปสู่เขตเซาท์ วาซิริสถาน (South Waziristan) โดยมีกำลังทางอากาศคอยสนับสนุน กำลังกลายเป็นการโยกย้ายพื้นที่สู้รบหลักของสมรภูมิเอเชียใต้ จากอัฟกานิสถานมาอยู่ที่ปากีสถาน
สภาพที่ปากีสถานได้กลายเป็นจุดศูนย์รวมไปแล้ว ยิ่งได้รับการตอกย้ำมากขึ้นอีกในวันอาทิตย์(18) เมื่อพวกผู้บังคับบัญชาระดับสูง 6 คนของกองกำลังพิทักษ์การปฏิวัติอิหร่าน (Iranian Revolutionary Guards Corps) ถูกสังหารพร้อมกับคนอื่นๆ อีก 37 คน จากเหตุการณ์โจมตีซึ่งเกิดขึ้นในจังหวัดซิสตาน-บาลูจิสถาน (Sistan-Balochistan) ของอิหร่าน ที่เกิดความไม่สงบอยู่เป็นประจำ
สถานีโทรทัศน์แห่งรัฐของอิหร่านรายงานว่า กระทรวงการต่างประเทศได้เรียกนักการทูตอาวุโสของปากีสถานในกรุงเตหะรานเข้าพบ เพื่อแจ้งให้ทราบว่ามีหลักฐานว่า “พวกคนร้ายที่ก่อเหตุคราวนี้ เข้าสู่อิหร่านจากทางปากีสถาน” ดังนั้นจึงขอเรียกร้องรัฐบาลปากีสถานอย่าได้ลังเล “ในการจับกุมพวกตัวการสำคัญๆ ที่กระทำการโจมตีเยี่ยงผู้ก่อการร้ายคราวนี้”
พวกที่ถูกประณามว่าเป็นผู้ก่อเหตุครั้งนี้ ก็คือกลุ่ม จุนดัลเลาะห์ (Jundallah) ซึ่งเชื่อกันว่าตั้งฐานออกปฏิบัติการจากแคว้นบาลูจิสถาน (Balochistan) ของปากีสถาน และมีการเชื่อมโยงติดต่อกับพวกอัลกออิดะห์ในช่วงหลังๆ มานี้ (ดูเรื่อง Al-Qaeda seeks a new alliance Asia Times Online, May 21, 2009 )
เมื่อถึงวันจันทร์(19) ที่ผ่านมา การปะทะกันระหว่างกองทัพปากีสถานกับพวกหัวรุนแรงในเขตเซาท์ วาซิริสถาน ก็ได้ดำเนินต่อเนื่องมาเป็นวันที่สามแล้ว โดยที่ฝ่ายอิสลามาบัดระบุว่ามีพวกหัวรุนแรงถูกฆ่าไป 60 คน ส่วนทหารเสียชีวิต 11 คน
อันที่จริงกองทัพปากีสถานมีความลังเลไม่อยากส่งทหารภาคพื้นดินเข้าไปในเซาท์ วาซิริสถาน ด้วยเหตุผลอันฉกาจฉกรรจ์หลายๆ ประการ ประการแรกเลยคือกลัวว่าพวกหัวรุนแรงจะตอบโต้แก้เผ็ดด้วยการเปิดการโจมตีอย่างแข็งขันตามพื้นที่ส่วนอื่นๆ ของประเทศ และประการที่สอง เนื่องจากไม่มีหลักประกันเอาเลยว่าการเปิดยุทธการคราวนี้จะประสบความสำเร็จ อย่างไรก็ดี ภายใต้แรงกดดันจากสหรัฐฯ ตลอดจน “ขนมล่อใจ” ที่อยู่ในรูปของการเพิ่มความช่วยเหลือประเภทที่มิใช่ด้านทหารขึ้นเป็นปีละ 1,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ตลอดช่วงเวลา 5 ปีต่อจากนี้ไป ฝ่ายการเมืองของปากีสถานจึงตัดสินใจยอมที่จะแบกรับความยุ่งยากที่จะเกิดตามมา นอกจากนั้น จังหวะเวลาที่เริ่มการรุกโจมตีคราวนี้ ยังอาจสืบเนื่องจากพวกหัวรุนแรงก็ได้ก่อการโจมตีอย่างต่อเนื่องตามจุดต่างๆ ทั่วประเทศตลอดหลายๆ วันที่เพิ่งผ่านพ้นไป
การบุกของกองทัพปากีสถานในคราวนี้ มุ่งรวมศูนย์เข้าไปในพื้นที่ของพวกเผ่าเมห์ซูด (Mehsud) ในเขตเซาท์ วาซิริสถาน ซึ่งเป็นฐานบัญชาการใหญ่ของพวกตอลิบานส่วนที่เป็นชาวปากีสถาน ที่มีชื่อว่า เตห์ริก-ไอ-ตอลิบาน ปากีสถาน (Tehrik-i-Taliban Pakistan หรือ TTP) อีกด้วย
ระหว่างการเตรียมการเพื่อเปิดการรุกใหญ่คราวนี้ กองทัพได้ไปทำข้อตกลงหยุดยิงกับพวกขุนศึกตอลิบานทรงอิทธิพลหลายๆ คน ซึ่งเป็นพวกที่คุมเครือข่ายกองกำลังขนาดใหญ่ที่กำลังสู้รบต่อต้านกองทหารพันธมิตรอยู่ในอัฟกานิสถานเวลานี้ เป็นต้นว่า มุลลาห์ นาซีร์ (Mullah Nazir) หัวหน้าพวกตอลิบานในพื้นที่วานา (Wana) ของเซาท์ วาซิริสถาน และก็เป็นผู้ดำเนินการเครือข่ายตอลิบานที่ใหญ่ที่สุดในจังหวัดปักติกา (Paktika) ของอัฟกานิสถาน มุลลาห์ นาซีร์ วางตัวเป็นกลางในการสู้รบที่เกิดขึ้นในปากีสถานคราวนี้ และตกลงยอมให้กองทัพเดินทัพผ่านเข้าไปยังดินแดนของเมห์ซูดได้
ในเขต นอร์ท วาซิริสถาน (North Waziristan) หัวหน้านักรบตอลิบานระดับท็อป 2 คน คือ ฮาฟิซ กุล บาฮาดูร์ (Hafiz Gul Bahadur) และ โมลวี ซอดิก นูร์ (Moulvi Sadiq Noor) ก็ตกลงที่จะวางตัวเป็นกลาง พวกเขาต่างเป็นสมาชิกของสภาชนเผ่าแห่งนักรบมุญะฮีดีน (Shura of the Mujahideen) และเป็นส่วนประกอบสำคัญส่วนหนึ่งในกลุ่มก่อความไม่สงบของพวกตอลิบานที่เขตจังหวัดโคสต์ (Khost) ของอัฟกานิสถาน
สภาพเช่นนี้ทำให้เหลือเพียงนักรบชาวเผ่าเมห์ซูดไม่กี่พันคน ตลอดจนพวกหัวรุนแรงชาวอุซเบก (Uzbek) และชาวปัญจาบ (Punjabi) ที่เป็นพันธมิตรของพวกเขาเท่านั้น ที่เข้าสู้รบกับฝ่ายทหาร สำหรับพลเรือนนับแสนๆ คนต่างพากันหลบหนีภัยสงครามออกจากพื้นที่
อย่างไรก็ดี ตามคำบอกเล่าของสายข่าวหลายรายของเอเชียไทมส์ออนไลน์ ฮากิมุลลาห์ เมห์ซูด (Hakimullah Mehsud) แห่ง เตห์ริก-ไอ-ตอลิบาน ปากีสถาน (ทีทีพี) ดูเหมือนกำลังรับมือกับกองทัพที่บุกเข้ามา ด้วยยุทธศาสตร์ไม่ใช้ทรัพยากรอะไรมากมายนักในการปกป้องพิทักษ์พื้นที่ของเมห์ซูด ตรงกันข้าม เขาตั้งจุดมุ่งหมายที่จะแพร่กระจายความปั่นป่วนโกลาหลออกไปด้วยการเปิดการโจมตีพวกบุคลากรด้านความมั่นคงตามเมืองใหญ่ๆ ฮากิมุลลาห์ผู้นี้เป็นผู้วางแผนการใหญ่ในการโจมตีก่อกวนเส้นทางลำเลียงขององค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ (North Atlantic Treaty Organization หรือ NATO) ที่ผ่านพื้นที่เขตไคเบอร์ (Khyber Agency) ซึ่งเริ่มต้นขึ้นในปี 2007 และประสบความสำเร็จอย่างงดงาม
สายข่าวเดียวกันเหล่านี้กล่าวว่า ตอนที่ประชาชนนับหมื่นนับแสนคนอพยพหลบหนีจากเซาท์ วาซิริสถานในสัปดาห์ที่แล้ว ตามคำชี้แนะของฝ่ายทหารนั้น พวกหัวรุนแรงมากกว่าครึ่งหนึ่งก็ได้สลายตัวปะปนกับประชาชนและเดินทางไปยังพื้นที่ชาวัล (Shawal) ซึ่งเป็นทางแยกที่สามารถไปยังเซาท์ วาซิริสถาน, อัฟกานิสถาน, และนอร์ท วาซิริสถาน รวมทั้งไปสู่เมืองใหญ่ๆ ในปากีสถานก็ได้
มีกำลังพวกหัวรุนแรงเพียงจำนวนน้อยมากๆ ที่ยังคงปักหลักสู้รบอยู่ในพื้นที่ชาวเผ่าเมห์ซูด และตามข่าวที่ปรากฏทุกกระแสก็ออกมาตรงกันว่า พวกหัวรุนแรงเหล่านี้กำลังสู้รบต้านทานการบุกของฝ่ายทหารอย่างดุเดือด
ในเมืองใหญ่ๆ ทีทีพีจะได้รับความช่วยเหลือจากพวกหัวรุนแรงชาวปัญจาบ ซึ่งมีจุดมุ่งหมายที่จะเปิดการโจมตีอย่างสุดห้าวและวางแผนเอาไว้อย่างดี ทำนองเดียวกับการเล่นงานกองบัญชาการทหารปากีสถานในเมืองราวัลปินดีเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม ที่ผ่านมา
การโจมตีครั้งดังกล่าวซึ่งมีการจับตัวประกันเอาไว้จำนวนหนึ่งด้วย เผยให้เห็นช่องโหว่จุดบกพร่องในกลไกรักษาความปลอดภัยของกองทัพ อีกทั้งบ่งชี้ให้เห็นว่าพวกหัวรุนแรงสามารถแทรกซึมเข้าไปในกองกำลังรักษาความมั่นคงของปากีสถานได้ลึกล้ำขนาดไหน
จากบันทึกคำสนทนาทางโทรศัพท์ของพวกหัวรุนแรง ซึ่งทางกองกำลังรักษาความมั่นคงดักฟังได้และเอเชียไทมส์ออนไลน์ได้อ่านนั้น แสดงให้เห็นว่าพวกหัวรุนแรงสังเกตเห็นกำแพงช่วงหนึ่งของกองบัญชาการใหญ่ของกองทัพที่ราวัลปินดีเกิดพังลงมาเป็นช่อง ดังนั้นพวกเขาจึงเปิดการสู้รบเพื่อตรึงพวกทหารรักษาการณ์ตรงประตูใหญ่เอาไว้ ขณะเดียวกันก็ส่งคนราว 10 คนผ่านรอยแตกในกำแพงดังกล่าว พวกหัวรุนแรงเหล่านี้ยังได้รับความสนับสนุนจากคนที่อยู่ภายในกองบัญชาการอีกด้วย
พวกหัวรุนแรงที่ผ่านกำแพงเข้าไปได้สำเร็จ พุ่งตรงไปยังที่ทำการของกรมการข่าวกรองทหาร (Military Intelligence) และจับตัวนายทหารอาวุโสหลายคนไว้เป็นตัวประกัน รวมทั้งตัวเจ้ากรมการข่าวกรองทหารด้วย จากนั้นพวกเขาก็ยื่นข้อเรียกร้องจำนวนหนึ่ง ตามรายงานข่าวบางกระแสที่ยังไม่ได้รับการยืนยันจากพวกแหล่งข่าวอิสระนั้น ได้มีการปล่อยตัวนักโทษ 6 คนตามข้อเรียกร้องของพวกหัวรุนแรง ก่อนที่ตัวประกันจะได้รับอิสรภาพ ภายหลังการออกปฏิบัติการช่วยเหลือของหน่วยคอมมานโดทหารตำรวจเมื่อวันที่ 11 ตุลาคม
**ปากีสถานกลายเป็นจุดร้อน**
วอชิงตันนั้นประสงค์ที่จะขยายสงครามในสมรภูมิแห่งเอเชียใต้นี้ให้เข้าสู่ปากีสถานตั้งแต่ต้นปี 2008 แล้ว สิ่งที่สะท้อนให้เห็นความคิดเช่นนี้ ได้แก่การที่ในปีนี้ทางการสหรัฐฯได้บัญญัติคำว่า “AfPak” (อัฟปัก ซึ่งก็คืออัฟกานิสถาน-ปากีสถาน) ขึ้นมา และกระทั่งแต่งตั้งผู้แทนพิเศษ คือ ริชาร์ด โฮลบรูก ให้ทำหน้าที่ดูแลกิจการด้าน AfPak นี้ด้วย จุดที่จะมุ่งเน้นหนักเป็นพิเศษในปากีสถานก็คือบรรดาที่มั่นของพวกหัวรุนแรงในพื้นที่ชาวชนเผ่า ซึ่งเป็นแหล่งป้อนนักรบข้ามพรมแดนเข้าไปให้แก่การก่อความไม่สงบในอัฟกานิสถาน
จุดมุ่งหมายของสหรัฐฯก็คือ เพื่อสร้างช่วงเวลาพักหายใจให้แก่กองทหารพันธมิตรในอัฟกานิสถาน ตลอดจนถึงที่สุดแล้วก็จะเป็นการแผ้วถางทางสำหรับดำเนินยุทธศาสตร์ถอนตัวออกไปอย่างมีเกียรติ ภายหลังริเริ่มเปิดการเจรจากับกลุ่มบางกลุ่มในพวกตอลิบาน
ปีนี้ สหรัฐฯยังเพิ่มการปรากฏตัวในปากีสถานโดยที่ได้รับอนุญาตให้ตั้งที่มั่นใหม่ๆ ขึ้นหลายแห่ง นอกจากนั้น อเมริกันยังได้พัฒนากลไกข่าวกรองร่วมกับฝ่ายปากีสถาน เพื่อเข้าโจมตีเป้าหมายซึ่งเป็นพวกอัลกออิดะห์และตอลิบานในดินแดนปากีสถานเอง โดยใช้เครื่องบินไร้นักบินรุ่นเพรเดเตอร์ การโจมตีด้วยขีปนาวุธยิงจากเพรเดอเตอร์เหล่านี้ประสบผลสำเร็จอย่างน่าตื่นใจทีเดียวในการทำลายเป้าหมายสำคัญๆ หนึ่งในนั้นคือ ไบตุลเลาะห์ เมห์ซูด (Baitullah Mehsud) หัวหน้าของทีทีพี
สหรัฐฯยังเปิดยุทธการทางภาคพื้นดินในลักษณะการประสานความร่วมมือ เป็นต้นว่า ยุทธการ “ใจสิงห์” (Lion Heart) ซึ่งได้เห็นกองทหารพันธมิตรทางฟากอัฟกานิสถาน ปฏิบัติการประสานกับกองทหารปากีสถานจากอีกฟากหนึ่งของพรมแดน เพื่อบีบคั้นกดดันพวกหัวรุนแรง (เอเชียไทมส์ออนไลน์ได้รายงานเรื่องนี้เอาไว้ในปีที่แล้ว ดูเรื่อง US forces the terror issue with Pakistan, September 16, 2008 )
สิ่งที่สหรัฐฯกำลังทำอยู่ในปากีสถานนี้ ก็อยู่ในลักษณะอย่างเดียวกับที่เคยเกิดขึ้นในสงครามเวียดนาม เมื่อตอนที่สงครามคราวนั้นขยายเข้าสู่ลาวและกัมพูชานั่นเอง
**จะเกิดอะไรขึ้นต่อไปหลังยุทธการที่เซาท์ วาซิริสถาน**
วอชิงตันกำลังเฝ้าติดตามพัฒนาการต่างๆ ในเซาท์ วาซิริสถานด้วยความสนใจเป็นอย่างยิ่ง ทั้ง พล.อ.สแตนลีย์ เอ แมคคริสตัล (General Stanley A McChrystal) ผู้บัญชาการทหารสหรัฐฯและนาโต้ในอัฟกานิสถาน และ พล.อ.เดวิด เพเทรอัส (David Petraeus) ผู้บัญชาการกองบัญชาการทหารเขตกลางของสหรัฐฯ (US Central Command) เวลานี้ต่างก็อยู่ในปากีสถาน
พวกเขาจะต้องปีติยินดีจากการที่ปากีสถานระดมกำลังทหารออกมามากที่สุดเท่าที่เคยใช้ในยุทธการแบบนี้ นั่นคือใช้ทหาร 30,000 คนแล้วยังมีสำรองอีก 30,000 คน กระนั้นก็ตาม โอกาสที่จะได้ชัยชนะทางทหารอย่างเด็ดขาดนั้นก็ยังคงดูห่างไกล
เมื่อพิจารณาจากสภาพของฝ่ายศัตรูและพื้นที่อันทุรกันดารแล้ว มีความเป็นไปได้สูงมากที่ฝ่ายทหารจะเกิดการบาดเจ็บล้มตายกันมาก และส่งผลให้เกิดการหนีทัพตลอดจนเกิดพวกที่ไม่เห็นด้วยกับแนวทางปฏิบัติการเช่นนี้ นอกจากนั้นยังไม่มีหลักประกันใดๆ เลยว่าหากการสู้รบคราวนี้ยืดเยื้อออกไปนานๆ ประดาขุนศึกที่ได้ตกลงยอมหยุดยิงวางตัวเป็นกลางอยู่ในเวลานี้ จะไม่ฉีกสัญญาทิ้ง
ขณะเดียวกัน มีสัญญาณหลายประการบ่งชี้ว่า พวกตอลิบานที่อยู่ในพื้นที่สวัต (Swat) ในแคว้นพรมแดนตะวันตกเฉียงเหนือ (North-West Frontier Province) ของปากีสถาน กำลังกลับมารวมกลุ่มกันใหม่ หลังถูกกองทัพยกกำลังกดดันให้แตกกระจายเมื่อหลายเดือนก่อน มีความเป็นไปได้อย่างมากว่าเมื่อถึงเวลาที่หิมะตกซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการเดินทางในเส้นทางลำเลียงสำคัญๆ ของฝ่ายทหาร พวกตอลิบานก็จะยึดคืนพื้นที่ทั้งหมดที่พวกเขาสูญเสียไปในหุบเขาสวัต
ด้วยการเคลื่อนทัพเข้าไปในเซาท์ วาซิริสถาน ฝ่ายทหารก็กำลังอยู่ในสภาพเสี่ยงเล่นพนันวางเดิมพันก้อนโต เพราะมีความเป็นไปได้สูงมากที่พวกเขาจะไม่สามารถกำจัดภัยคุกคามของพวกหัวรุนแรงได้ อันที่จริงจากบทเรียนในระยะประมาณ 7 ปีที่ผ่านมากลับแสดงให้เห็นว่า ภายหลังจากการเปิดยุทธการปราบปรามพวกหัวรุนแรงแล้ว ทุกครั้งพวกหัวรุนแรงกลับเป็นฝ่ายได้ประโยชน์จากสถานการณ์ อย่างไรก็ดีในอีกด้านหนึ่ง ยุทธการเหล่านี้ก็เป็นเครื่องหมายแสดงให้เห็นว่า พวกหัวรุนแรงก็ไม่ได้มีศักยภาพเพียงพอ ที่จะควบคุมดินแดนนอกเหนือจากพื้นที่ของพวกเขาในเซาท์ วาซิริสถาน และ นอร์ท วาซิริสถาน เอาไว้ได้อย่างถาวร
ในสถานการณ์เช่นนี้ หมายความว่าพวกหัวรุนแรงและฝ่ายทหารต่างไม่สามารถทำให้อีกฝ่ายหนึ่งปราชัยได้ แต่ถ้าหากสู้รบยังคงดำเนินต่อไปเรื่อยๆ ก็อาจจุดชนวนทำให้เกิดวิกฤตทางการเมืองขึ้นมา สภาพเช่นนั้นย่อมจะสร้างความอ่อนแอให้แก่รัฐปากีสถานตลอดจนสถาบันต่างๆ ของประเทศ
ทางเลือกอีกทางหนึ่งก็คือ พวกเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบทั้งหลายอาจต้องยอมรับข้อเท็จจริงที่ว่า ปากีสถานนั้นเป็นสังคมของชนเผ่าต่างๆ ซึ่งมักกระทำกิจการต่างๆ ด้วยวิธีต่อรองกันและทำข้อตกลงกัน แล้วดำเนินการอย่างรวดเร็วเพื่อควบคุมจำกัดวงของการสู้รบคราวนี้เอาไว้
ไซเอด ซาลีม ชาห์ซาด เป็นหัวหน้าสำนักงานปากีสถานของเอเชียไทมส์ออนไลน์ สามารถติดต่อกับเขาได้ที่saleem_shahzad2002@yahoo.com
A new battle begins in Pakistan
By Syed Saleem Shahzad
19/10/2009
กองทหารปากีสถานกำลังหลั่งไหลเข้าไปในพื้นที่ชาวชนเผ่าของเขต เซาท์ วาซิริสถาน เพื่อทำการสู้รบปราบปรามพวกหัวรุนแรง ซึ่งพวกเขาแทบไม่มีโอกาสเลยที่จะเอาชนะได้อย่างเด็ดขาด กระนั้นก็ตามที การบุกโจมตีคราวนี้ก็เท่ากับเป็นการโยกย้ายจุดศูนย์รวมของสมรภูมิแห่งเอเชียใต้ออกมาจากอัฟกานิสถาน อันเป็นสิ่งที่สหรัฐฯเรียกร้องต้องการมาพักใหญ่แล้ว ในอีกด้านหนึ่ง อิหร่านเองก็เขม้นมองมาที่ปากีสถานเช่นเดียวกัน ภายหลังเกิดเหตุการณ์โจมตีพวกผู้บังคับบัญชาระดับสูงของกองกำลังพิทักษ์การปฏิวัติของพวกเขาเมื่อวันอาทิตย์(18)
อิสลามาบัด – เมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา กองทัพปากีสถานเริ่มเปิดการบุกโจมตีครั้งมโหฬาร เพื่อปราบปรามกลุ่มตอลิบานส่วนที่เป็นชาวปากีสถาน และพวกอัลกออิดะห์ ในบริเวณพื้นที่ชาวชนเผ่าตรงชายแดนติดต่อกับอัฟกานิสถาน ถึงแม้จะยังมีท่าทีลังเลด้วยเหตุผลฉกาจฉกรรจ์หลายประการ
การส่งทหารประมาณ 30,000 คนเข้าไปสู่เขตเซาท์ วาซิริสถาน (South Waziristan) โดยมีกำลังทางอากาศคอยสนับสนุน กำลังกลายเป็นการโยกย้ายพื้นที่สู้รบหลักของสมรภูมิเอเชียใต้ จากอัฟกานิสถานมาอยู่ที่ปากีสถาน
สภาพที่ปากีสถานได้กลายเป็นจุดศูนย์รวมไปแล้ว ยิ่งได้รับการตอกย้ำมากขึ้นอีกในวันอาทิตย์(18) เมื่อพวกผู้บังคับบัญชาระดับสูง 6 คนของกองกำลังพิทักษ์การปฏิวัติอิหร่าน (Iranian Revolutionary Guards Corps) ถูกสังหารพร้อมกับคนอื่นๆ อีก 37 คน จากเหตุการณ์โจมตีซึ่งเกิดขึ้นในจังหวัดซิสตาน-บาลูจิสถาน (Sistan-Balochistan) ของอิหร่าน ที่เกิดความไม่สงบอยู่เป็นประจำ
สถานีโทรทัศน์แห่งรัฐของอิหร่านรายงานว่า กระทรวงการต่างประเทศได้เรียกนักการทูตอาวุโสของปากีสถานในกรุงเตหะรานเข้าพบ เพื่อแจ้งให้ทราบว่ามีหลักฐานว่า “พวกคนร้ายที่ก่อเหตุคราวนี้ เข้าสู่อิหร่านจากทางปากีสถาน” ดังนั้นจึงขอเรียกร้องรัฐบาลปากีสถานอย่าได้ลังเล “ในการจับกุมพวกตัวการสำคัญๆ ที่กระทำการโจมตีเยี่ยงผู้ก่อการร้ายคราวนี้”
พวกที่ถูกประณามว่าเป็นผู้ก่อเหตุครั้งนี้ ก็คือกลุ่ม จุนดัลเลาะห์ (Jundallah) ซึ่งเชื่อกันว่าตั้งฐานออกปฏิบัติการจากแคว้นบาลูจิสถาน (Balochistan) ของปากีสถาน และมีการเชื่อมโยงติดต่อกับพวกอัลกออิดะห์ในช่วงหลังๆ มานี้ (ดูเรื่อง Al-Qaeda seeks a new alliance Asia Times Online, May 21, 2009 )
เมื่อถึงวันจันทร์(19) ที่ผ่านมา การปะทะกันระหว่างกองทัพปากีสถานกับพวกหัวรุนแรงในเขตเซาท์ วาซิริสถาน ก็ได้ดำเนินต่อเนื่องมาเป็นวันที่สามแล้ว โดยที่ฝ่ายอิสลามาบัดระบุว่ามีพวกหัวรุนแรงถูกฆ่าไป 60 คน ส่วนทหารเสียชีวิต 11 คน
อันที่จริงกองทัพปากีสถานมีความลังเลไม่อยากส่งทหารภาคพื้นดินเข้าไปในเซาท์ วาซิริสถาน ด้วยเหตุผลอันฉกาจฉกรรจ์หลายๆ ประการ ประการแรกเลยคือกลัวว่าพวกหัวรุนแรงจะตอบโต้แก้เผ็ดด้วยการเปิดการโจมตีอย่างแข็งขันตามพื้นที่ส่วนอื่นๆ ของประเทศ และประการที่สอง เนื่องจากไม่มีหลักประกันเอาเลยว่าการเปิดยุทธการคราวนี้จะประสบความสำเร็จ อย่างไรก็ดี ภายใต้แรงกดดันจากสหรัฐฯ ตลอดจน “ขนมล่อใจ” ที่อยู่ในรูปของการเพิ่มความช่วยเหลือประเภทที่มิใช่ด้านทหารขึ้นเป็นปีละ 1,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ตลอดช่วงเวลา 5 ปีต่อจากนี้ไป ฝ่ายการเมืองของปากีสถานจึงตัดสินใจยอมที่จะแบกรับความยุ่งยากที่จะเกิดตามมา นอกจากนั้น จังหวะเวลาที่เริ่มการรุกโจมตีคราวนี้ ยังอาจสืบเนื่องจากพวกหัวรุนแรงก็ได้ก่อการโจมตีอย่างต่อเนื่องตามจุดต่างๆ ทั่วประเทศตลอดหลายๆ วันที่เพิ่งผ่านพ้นไป
การบุกของกองทัพปากีสถานในคราวนี้ มุ่งรวมศูนย์เข้าไปในพื้นที่ของพวกเผ่าเมห์ซูด (Mehsud) ในเขตเซาท์ วาซิริสถาน ซึ่งเป็นฐานบัญชาการใหญ่ของพวกตอลิบานส่วนที่เป็นชาวปากีสถาน ที่มีชื่อว่า เตห์ริก-ไอ-ตอลิบาน ปากีสถาน (Tehrik-i-Taliban Pakistan หรือ TTP) อีกด้วย
ระหว่างการเตรียมการเพื่อเปิดการรุกใหญ่คราวนี้ กองทัพได้ไปทำข้อตกลงหยุดยิงกับพวกขุนศึกตอลิบานทรงอิทธิพลหลายๆ คน ซึ่งเป็นพวกที่คุมเครือข่ายกองกำลังขนาดใหญ่ที่กำลังสู้รบต่อต้านกองทหารพันธมิตรอยู่ในอัฟกานิสถานเวลานี้ เป็นต้นว่า มุลลาห์ นาซีร์ (Mullah Nazir) หัวหน้าพวกตอลิบานในพื้นที่วานา (Wana) ของเซาท์ วาซิริสถาน และก็เป็นผู้ดำเนินการเครือข่ายตอลิบานที่ใหญ่ที่สุดในจังหวัดปักติกา (Paktika) ของอัฟกานิสถาน มุลลาห์ นาซีร์ วางตัวเป็นกลางในการสู้รบที่เกิดขึ้นในปากีสถานคราวนี้ และตกลงยอมให้กองทัพเดินทัพผ่านเข้าไปยังดินแดนของเมห์ซูดได้
ในเขต นอร์ท วาซิริสถาน (North Waziristan) หัวหน้านักรบตอลิบานระดับท็อป 2 คน คือ ฮาฟิซ กุล บาฮาดูร์ (Hafiz Gul Bahadur) และ โมลวี ซอดิก นูร์ (Moulvi Sadiq Noor) ก็ตกลงที่จะวางตัวเป็นกลาง พวกเขาต่างเป็นสมาชิกของสภาชนเผ่าแห่งนักรบมุญะฮีดีน (Shura of the Mujahideen) และเป็นส่วนประกอบสำคัญส่วนหนึ่งในกลุ่มก่อความไม่สงบของพวกตอลิบานที่เขตจังหวัดโคสต์ (Khost) ของอัฟกานิสถาน
สภาพเช่นนี้ทำให้เหลือเพียงนักรบชาวเผ่าเมห์ซูดไม่กี่พันคน ตลอดจนพวกหัวรุนแรงชาวอุซเบก (Uzbek) และชาวปัญจาบ (Punjabi) ที่เป็นพันธมิตรของพวกเขาเท่านั้น ที่เข้าสู้รบกับฝ่ายทหาร สำหรับพลเรือนนับแสนๆ คนต่างพากันหลบหนีภัยสงครามออกจากพื้นที่
อย่างไรก็ดี ตามคำบอกเล่าของสายข่าวหลายรายของเอเชียไทมส์ออนไลน์ ฮากิมุลลาห์ เมห์ซูด (Hakimullah Mehsud) แห่ง เตห์ริก-ไอ-ตอลิบาน ปากีสถาน (ทีทีพี) ดูเหมือนกำลังรับมือกับกองทัพที่บุกเข้ามา ด้วยยุทธศาสตร์ไม่ใช้ทรัพยากรอะไรมากมายนักในการปกป้องพิทักษ์พื้นที่ของเมห์ซูด ตรงกันข้าม เขาตั้งจุดมุ่งหมายที่จะแพร่กระจายความปั่นป่วนโกลาหลออกไปด้วยการเปิดการโจมตีพวกบุคลากรด้านความมั่นคงตามเมืองใหญ่ๆ ฮากิมุลลาห์ผู้นี้เป็นผู้วางแผนการใหญ่ในการโจมตีก่อกวนเส้นทางลำเลียงขององค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ (North Atlantic Treaty Organization หรือ NATO) ที่ผ่านพื้นที่เขตไคเบอร์ (Khyber Agency) ซึ่งเริ่มต้นขึ้นในปี 2007 และประสบความสำเร็จอย่างงดงาม
สายข่าวเดียวกันเหล่านี้กล่าวว่า ตอนที่ประชาชนนับหมื่นนับแสนคนอพยพหลบหนีจากเซาท์ วาซิริสถานในสัปดาห์ที่แล้ว ตามคำชี้แนะของฝ่ายทหารนั้น พวกหัวรุนแรงมากกว่าครึ่งหนึ่งก็ได้สลายตัวปะปนกับประชาชนและเดินทางไปยังพื้นที่ชาวัล (Shawal) ซึ่งเป็นทางแยกที่สามารถไปยังเซาท์ วาซิริสถาน, อัฟกานิสถาน, และนอร์ท วาซิริสถาน รวมทั้งไปสู่เมืองใหญ่ๆ ในปากีสถานก็ได้
มีกำลังพวกหัวรุนแรงเพียงจำนวนน้อยมากๆ ที่ยังคงปักหลักสู้รบอยู่ในพื้นที่ชาวเผ่าเมห์ซูด และตามข่าวที่ปรากฏทุกกระแสก็ออกมาตรงกันว่า พวกหัวรุนแรงเหล่านี้กำลังสู้รบต้านทานการบุกของฝ่ายทหารอย่างดุเดือด
ในเมืองใหญ่ๆ ทีทีพีจะได้รับความช่วยเหลือจากพวกหัวรุนแรงชาวปัญจาบ ซึ่งมีจุดมุ่งหมายที่จะเปิดการโจมตีอย่างสุดห้าวและวางแผนเอาไว้อย่างดี ทำนองเดียวกับการเล่นงานกองบัญชาการทหารปากีสถานในเมืองราวัลปินดีเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม ที่ผ่านมา
การโจมตีครั้งดังกล่าวซึ่งมีการจับตัวประกันเอาไว้จำนวนหนึ่งด้วย เผยให้เห็นช่องโหว่จุดบกพร่องในกลไกรักษาความปลอดภัยของกองทัพ อีกทั้งบ่งชี้ให้เห็นว่าพวกหัวรุนแรงสามารถแทรกซึมเข้าไปในกองกำลังรักษาความมั่นคงของปากีสถานได้ลึกล้ำขนาดไหน
จากบันทึกคำสนทนาทางโทรศัพท์ของพวกหัวรุนแรง ซึ่งทางกองกำลังรักษาความมั่นคงดักฟังได้และเอเชียไทมส์ออนไลน์ได้อ่านนั้น แสดงให้เห็นว่าพวกหัวรุนแรงสังเกตเห็นกำแพงช่วงหนึ่งของกองบัญชาการใหญ่ของกองทัพที่ราวัลปินดีเกิดพังลงมาเป็นช่อง ดังนั้นพวกเขาจึงเปิดการสู้รบเพื่อตรึงพวกทหารรักษาการณ์ตรงประตูใหญ่เอาไว้ ขณะเดียวกันก็ส่งคนราว 10 คนผ่านรอยแตกในกำแพงดังกล่าว พวกหัวรุนแรงเหล่านี้ยังได้รับความสนับสนุนจากคนที่อยู่ภายในกองบัญชาการอีกด้วย
พวกหัวรุนแรงที่ผ่านกำแพงเข้าไปได้สำเร็จ พุ่งตรงไปยังที่ทำการของกรมการข่าวกรองทหาร (Military Intelligence) และจับตัวนายทหารอาวุโสหลายคนไว้เป็นตัวประกัน รวมทั้งตัวเจ้ากรมการข่าวกรองทหารด้วย จากนั้นพวกเขาก็ยื่นข้อเรียกร้องจำนวนหนึ่ง ตามรายงานข่าวบางกระแสที่ยังไม่ได้รับการยืนยันจากพวกแหล่งข่าวอิสระนั้น ได้มีการปล่อยตัวนักโทษ 6 คนตามข้อเรียกร้องของพวกหัวรุนแรง ก่อนที่ตัวประกันจะได้รับอิสรภาพ ภายหลังการออกปฏิบัติการช่วยเหลือของหน่วยคอมมานโดทหารตำรวจเมื่อวันที่ 11 ตุลาคม
**ปากีสถานกลายเป็นจุดร้อน**
วอชิงตันนั้นประสงค์ที่จะขยายสงครามในสมรภูมิแห่งเอเชียใต้นี้ให้เข้าสู่ปากีสถานตั้งแต่ต้นปี 2008 แล้ว สิ่งที่สะท้อนให้เห็นความคิดเช่นนี้ ได้แก่การที่ในปีนี้ทางการสหรัฐฯได้บัญญัติคำว่า “AfPak” (อัฟปัก ซึ่งก็คืออัฟกานิสถาน-ปากีสถาน) ขึ้นมา และกระทั่งแต่งตั้งผู้แทนพิเศษ คือ ริชาร์ด โฮลบรูก ให้ทำหน้าที่ดูแลกิจการด้าน AfPak นี้ด้วย จุดที่จะมุ่งเน้นหนักเป็นพิเศษในปากีสถานก็คือบรรดาที่มั่นของพวกหัวรุนแรงในพื้นที่ชาวชนเผ่า ซึ่งเป็นแหล่งป้อนนักรบข้ามพรมแดนเข้าไปให้แก่การก่อความไม่สงบในอัฟกานิสถาน
จุดมุ่งหมายของสหรัฐฯก็คือ เพื่อสร้างช่วงเวลาพักหายใจให้แก่กองทหารพันธมิตรในอัฟกานิสถาน ตลอดจนถึงที่สุดแล้วก็จะเป็นการแผ้วถางทางสำหรับดำเนินยุทธศาสตร์ถอนตัวออกไปอย่างมีเกียรติ ภายหลังริเริ่มเปิดการเจรจากับกลุ่มบางกลุ่มในพวกตอลิบาน
ปีนี้ สหรัฐฯยังเพิ่มการปรากฏตัวในปากีสถานโดยที่ได้รับอนุญาตให้ตั้งที่มั่นใหม่ๆ ขึ้นหลายแห่ง นอกจากนั้น อเมริกันยังได้พัฒนากลไกข่าวกรองร่วมกับฝ่ายปากีสถาน เพื่อเข้าโจมตีเป้าหมายซึ่งเป็นพวกอัลกออิดะห์และตอลิบานในดินแดนปากีสถานเอง โดยใช้เครื่องบินไร้นักบินรุ่นเพรเดเตอร์ การโจมตีด้วยขีปนาวุธยิงจากเพรเดอเตอร์เหล่านี้ประสบผลสำเร็จอย่างน่าตื่นใจทีเดียวในการทำลายเป้าหมายสำคัญๆ หนึ่งในนั้นคือ ไบตุลเลาะห์ เมห์ซูด (Baitullah Mehsud) หัวหน้าของทีทีพี
สหรัฐฯยังเปิดยุทธการทางภาคพื้นดินในลักษณะการประสานความร่วมมือ เป็นต้นว่า ยุทธการ “ใจสิงห์” (Lion Heart) ซึ่งได้เห็นกองทหารพันธมิตรทางฟากอัฟกานิสถาน ปฏิบัติการประสานกับกองทหารปากีสถานจากอีกฟากหนึ่งของพรมแดน เพื่อบีบคั้นกดดันพวกหัวรุนแรง (เอเชียไทมส์ออนไลน์ได้รายงานเรื่องนี้เอาไว้ในปีที่แล้ว ดูเรื่อง US forces the terror issue with Pakistan, September 16, 2008 )
สิ่งที่สหรัฐฯกำลังทำอยู่ในปากีสถานนี้ ก็อยู่ในลักษณะอย่างเดียวกับที่เคยเกิดขึ้นในสงครามเวียดนาม เมื่อตอนที่สงครามคราวนั้นขยายเข้าสู่ลาวและกัมพูชานั่นเอง
**จะเกิดอะไรขึ้นต่อไปหลังยุทธการที่เซาท์ วาซิริสถาน**
วอชิงตันกำลังเฝ้าติดตามพัฒนาการต่างๆ ในเซาท์ วาซิริสถานด้วยความสนใจเป็นอย่างยิ่ง ทั้ง พล.อ.สแตนลีย์ เอ แมคคริสตัล (General Stanley A McChrystal) ผู้บัญชาการทหารสหรัฐฯและนาโต้ในอัฟกานิสถาน และ พล.อ.เดวิด เพเทรอัส (David Petraeus) ผู้บัญชาการกองบัญชาการทหารเขตกลางของสหรัฐฯ (US Central Command) เวลานี้ต่างก็อยู่ในปากีสถาน
พวกเขาจะต้องปีติยินดีจากการที่ปากีสถานระดมกำลังทหารออกมามากที่สุดเท่าที่เคยใช้ในยุทธการแบบนี้ นั่นคือใช้ทหาร 30,000 คนแล้วยังมีสำรองอีก 30,000 คน กระนั้นก็ตาม โอกาสที่จะได้ชัยชนะทางทหารอย่างเด็ดขาดนั้นก็ยังคงดูห่างไกล
เมื่อพิจารณาจากสภาพของฝ่ายศัตรูและพื้นที่อันทุรกันดารแล้ว มีความเป็นไปได้สูงมากที่ฝ่ายทหารจะเกิดการบาดเจ็บล้มตายกันมาก และส่งผลให้เกิดการหนีทัพตลอดจนเกิดพวกที่ไม่เห็นด้วยกับแนวทางปฏิบัติการเช่นนี้ นอกจากนั้นยังไม่มีหลักประกันใดๆ เลยว่าหากการสู้รบคราวนี้ยืดเยื้อออกไปนานๆ ประดาขุนศึกที่ได้ตกลงยอมหยุดยิงวางตัวเป็นกลางอยู่ในเวลานี้ จะไม่ฉีกสัญญาทิ้ง
ขณะเดียวกัน มีสัญญาณหลายประการบ่งชี้ว่า พวกตอลิบานที่อยู่ในพื้นที่สวัต (Swat) ในแคว้นพรมแดนตะวันตกเฉียงเหนือ (North-West Frontier Province) ของปากีสถาน กำลังกลับมารวมกลุ่มกันใหม่ หลังถูกกองทัพยกกำลังกดดันให้แตกกระจายเมื่อหลายเดือนก่อน มีความเป็นไปได้อย่างมากว่าเมื่อถึงเวลาที่หิมะตกซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการเดินทางในเส้นทางลำเลียงสำคัญๆ ของฝ่ายทหาร พวกตอลิบานก็จะยึดคืนพื้นที่ทั้งหมดที่พวกเขาสูญเสียไปในหุบเขาสวัต
ด้วยการเคลื่อนทัพเข้าไปในเซาท์ วาซิริสถาน ฝ่ายทหารก็กำลังอยู่ในสภาพเสี่ยงเล่นพนันวางเดิมพันก้อนโต เพราะมีความเป็นไปได้สูงมากที่พวกเขาจะไม่สามารถกำจัดภัยคุกคามของพวกหัวรุนแรงได้ อันที่จริงจากบทเรียนในระยะประมาณ 7 ปีที่ผ่านมากลับแสดงให้เห็นว่า ภายหลังจากการเปิดยุทธการปราบปรามพวกหัวรุนแรงแล้ว ทุกครั้งพวกหัวรุนแรงกลับเป็นฝ่ายได้ประโยชน์จากสถานการณ์ อย่างไรก็ดีในอีกด้านหนึ่ง ยุทธการเหล่านี้ก็เป็นเครื่องหมายแสดงให้เห็นว่า พวกหัวรุนแรงก็ไม่ได้มีศักยภาพเพียงพอ ที่จะควบคุมดินแดนนอกเหนือจากพื้นที่ของพวกเขาในเซาท์ วาซิริสถาน และ นอร์ท วาซิริสถาน เอาไว้ได้อย่างถาวร
ในสถานการณ์เช่นนี้ หมายความว่าพวกหัวรุนแรงและฝ่ายทหารต่างไม่สามารถทำให้อีกฝ่ายหนึ่งปราชัยได้ แต่ถ้าหากสู้รบยังคงดำเนินต่อไปเรื่อยๆ ก็อาจจุดชนวนทำให้เกิดวิกฤตทางการเมืองขึ้นมา สภาพเช่นนั้นย่อมจะสร้างความอ่อนแอให้แก่รัฐปากีสถานตลอดจนสถาบันต่างๆ ของประเทศ
ทางเลือกอีกทางหนึ่งก็คือ พวกเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบทั้งหลายอาจต้องยอมรับข้อเท็จจริงที่ว่า ปากีสถานนั้นเป็นสังคมของชนเผ่าต่างๆ ซึ่งมักกระทำกิจการต่างๆ ด้วยวิธีต่อรองกันและทำข้อตกลงกัน แล้วดำเนินการอย่างรวดเร็วเพื่อควบคุมจำกัดวงของการสู้รบคราวนี้เอาไว้
ไซเอด ซาลีม ชาห์ซาด เป็นหัวหน้าสำนักงานปากีสถานของเอเชียไทมส์ออนไลน์ สามารถติดต่อกับเขาได้ที่saleem_shahzad2002@yahoo.com