(เก็บความจากเอเชียไทมส์ออนไลน์www.atimes.com)
Obama beset by America’s far right
By Jim Lobe
14/10/2009
พวกอนุรักษนิยมใหม่ตัวกลั่นๆ กำลังทำงานกันแบบหามรุ่งหามค่ำ เพื่อป้ายสีนโยบายด้านการต่างประเทศของประธานาธิบดีบารัค โอบามา แห่งสหรัฐฯ โดยมุ่งเน้นโจมตีว่าเป็นนโยบายที่จัดวางขึ้นมาเพื่อสร้างความอ่อนแอและเหนี่ยวรั้งอำนาจของอเมริกัน จากการทอดทิ้งนโยบายต่างๆ ที่แข็งกร้าวยิ่งกว่าของจอร์จ ดับเบิลยู บุช ประธานาธิบดีคนก่อนหน้า พวกเขาบอกด้วยว่า การที่คณะกรรมการรางวัลโนเบลตัดสินมอบรางวัลแก่โอบามา มีแต่จะเร่งรัดให้อเมริกายิ่งเสื่อมทรุดเร็วขึ้น
วอชิงตัน – เพียงไม่กี่วันหลังจากคณะกรรมการพิจารณารางวัลโนเบลในกรุงออสโล ประเทศนอร์เวย์ ประกาศให้รางวัลด้านสันติภาพอันทรงเกียรติ แก่ประธานาธิบดีบารัค โอบามา ของสหรัฐฯ เหยี่ยวด้านนโยบายการต่างประเทศคนสำคัญที่สุดในวอชิงตัน 2 คน ก็แถลงเปิดตัวกลุ่มใหม่กลุ่มหนึ่ง พร้อมกับการรณรงค์โฆษณา ซึ่งมุ่งวาดภาพโอบามาว่าอ่อนแอปวกเปียก ตลอดจนมุ่งปกป้องนโยบายที่แข็งกร้าวยิ่งกว่าของ จอร์จ ดับเบิลยู บุช ประธานาธิบดีคนก่อนหน้า
กลุ่มใหม่นี้ซึ่งใช้ชื่อว่า “Keep America Safe” (คุ้มครองให้อเมริกาปลอดภัย) ก่อตั้งขึ้นโดย นักอนุรักษนิยมใหม่ (neo-conservative) ตัวกลั่น วิลเลียม คริสโทล (William Kristol) ผู้เป็นบรรณาธิการนิตยสาร “เดอะ วีกลี สแตนดาร์ด” (The Weekly Standard) และ อลิซาเบธ (ลิซ) เชนีย์ (Elizabeth (Liz) Cheney) บุตรสาวปากกล้าของ ดิ๊ก เชนีย์ ผู้เป็นรองประธานาธิบดีของบุช ทั้งนี้เป็นที่เชื่อกันว่าเธอผู้นี้กำลังวางแผนเพื่อเดินหน้าสู่ความทะเยอทะยานทางการเมืองของตัวเธอเอง
“ท่ามกลางความท้ายทายอันใหญ่หลวงด้านต่างๆ ต่อความมั่นคงปลอดภัยและความสมบูรณ์พูนสุขของอเมริกา บ่อยครั้งเกินไปที่คณะรัฐบาลชุดปัจจุบันมีท่าทีเหมือนไร้ความแน่นอน, เพ้อฝัน, ไม่มีความเด็ดเดี่ยว, และไม่ปรารถนาที่จะลุกขึ้นยืนผงาดเพื่อต่อสู้ให้แก่อเมริกา, ให้แก่เหล่าพันธมิตรของเรา, และให้แก่บรรดาผลประโยชน์ของเรา” นี่เป็นเนื้อความตอนหนึ่งของคำแถลงประกาศภารกิจของกลุ่มนี้ ซึ่งยังมีผู้ร่วมก่อตั้งคนที่ 3 อีกทั้งเป็นกรรมการกลุ่มด้วย นั่นคือ เดบรา เบอร์ลิงเกม (Debra Burlingame) ที่เป็นผู้ร่วมก่อตั้งกลุ่ม “9/11 Families for a Safe and Strong America” (ครอบครัวในเหตุการณ์ 11 กันยายนเพื่ออเมริกาที่ปลอดภัยและแข็งแกร่ง)
“Keep America Safe เชื่อว่าสหรัฐฯจักสามารถทำให้เหล่าศัตรูของเราปราชัย และปกป้องผลประโยชน์ของเราได้ ก็ด้วยการมีจุดยืนอันแข็งแกร่ง” คำแถลงประกาศภารกิจกล่าวอีกตอนหนึ่ง
“เราทราบดีว่าอเมริกาในตลอดระยะเวลา 233 ปีที่ผ่านมาคือพลังแห่งความดีงามอันไม่มีใครมาเทียบเทียมได้ในโลกนี้ ,เราทราบดีว่ากองกำลังสู้รบของเราคือกองกำลังสู้รบที่ดีที่สุดเท่าที่โลกเคยรู้จัก, และเราทราบดีว่าโลกนี้กลายเป็นสถานที่ซึ่งมีความปลอดภัยมากขึ้นเมื่ออเมริกันได้รับความไว้วางใจจากเหล่าพันธมิตรของเรา และได้รับความคร้ามเกรงและความเคารพจากเหล่าศัตรูของเรา”
“Keep America Safe จะขับเคี่ยวให้การสนับสนุนการต่อสู้ปราบปรามการก่อการร้ายตลอดทั่วทั้งโลกอย่างเด็ดเดี่ยวชนิดไม่มีการสำนึกเสียใจเป็นอันขาด, จะต่อสู้เพื่อชัยชนะในสงครามต่างๆ ที่ประเทศนี้เข้าสู้รบ, จะต่อสุ้เพื่อประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชน, และจะต่อสู้เพื่อกองทัพอเมริกันที่แข็งแกร่งซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นในโลกอันเต็มไปด้วยอันตรายที่เราพำนักอาศัยอยู่นี้” คำแถลงฉบับนี้ระบุ
กลุ่มใหม่นี้บอกเอาไว้ในระเบียบหลักเกณฑ์ในการรวมตัวเป็นกลุ่มของตนว่า จะอนุญาตให้ไปล็อบบี้รัฐสภาสหรัฐฯและประกาศรับรองสนับสนุนผู้สมัครรับเลือกตั้งดำรงตำแหน่งทางการเมือง, ในขั้นต้นจะมุ่งเน้นไปที่การระดมหาเงินเพื่อช่วยการเผยแพร่โฆษณาวิดีโอของทางกลุ่ม โดยที่โฆษณาชุดแรกได้นำออกเผยแพร่ในเว็บไซต์ของตนอยู่ในเวลานี้
“พวกฝ่ายซ้ายมีองค์การตั้งหลายสิบองค์การและมีเงินทองเป็นหลายสิบล้านดอลลาร์ ที่มุ่งอุทิศโดยตรงให้แก่การบั่นทอนบ่อนทำลายสงครามต่อสู้การก่อการร้าย” คริสโทลบอกกับเว็บไซต์ “โปลิติโก” (Politico) เมื่อวันอังคาร(13) “ทางฝ่ายคนดีๆ ก็ย่อมต้องการความช่วยเหลือกันบ้างเหมือนกัน”
ก่อนหน้านี้ในปีนี้ คริสโทลก็ได้จับมือกับ รอเบิร์ต แคแกน (Robert Kagan) ผู้ซึ่งร่วมงานกับเขามาอย่างยาวนาน เพื่อร่วมกันก่อตั้งกลุ่มสายเหยี่ยวอีกกลุ่มหนึ่ง นั่นคือ กลุ่ม “Foreign Policy Initiative” (ความริเริ่มทางด้านนโยบายการต่างประเทศ) ที่มีแนวทางแบบอนุรักษนิยมใหม่ กลุ่มนี้เองได้ตีพิมพ์เผยแพร่จดหมายเปิดผนึกหลายๆ ฉบับ มีทั้งเรียกร้องโอบามาให้ส่งเสริมสนับสนุนประชาธิปไตยในรัสเซีย, ให้ส่งทหารเพิ่มเติมอีกหลายหมื่นคนเข้าไปในอัฟกานิสถาน, และให้ความมั่นใจอีกครั้งแก่พวกพันธมิตรในยุโรปกลางว่าวอชิงตันยังคงยึดมั่นกับคำมั่นสัญญาในการปกป้องคุ้มครองพวกเขา
บุคคลทั้งสองนี้เองได้เคยเป็นผู้ร่วมก่อตั้งและเป็นกรรมการของกลุ่ม “Project for the New American Century” (โครงการเพื่อไปสู่ศตวรรษใหม่แห่งอเมริกัน) โดยที่สมาชิกผู้ก่อตั้งกลุ่มนี้เมื่อปี 1997 หลายๆ คนทีเดียว เป็นต้นว่า เชนีย์ผู้บิดา, อดีตรัฐมนตรีกลาโหม โดนัลด์ รัมสเฟลด์, และผู้ช่วยระดับสูงของพวกเขา 2 คน ได้แก่ ไอ ลิวอิส “สกูตเตอร์” ลิบบี (I Lewis "Scooter" Libby ), และ พอล วูลโฟวิตซ์ (Paul Wolfowitz) ตามลำดับ ในเวลาต่อมาต่างก็ได้แสดงบทบาทสำคัญในการสนับสนุนให้ทำการรุกรานอิรักเมื่อปี 2003 ตลอดจนนโยบายอื่นๆ ในสมัยแรกแห่งการดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีของบุช อันเป็นช่วงที่พวกสายเหยี่ยวสามารถแสดงอำนาจอิทธิพลได้สูงที่สุด
คริสโทล และ เชนีย์ผู้บุตรสาว ยังเป็นผู้ออกความเห็นประจำ (commentator) ให้แก่โทรทัศน์แนวขวาจัดอย่างช่อง “ฟอกซ์ นิวส์” (Fox News) และอยู่ในกลุ่มนักวิจารณ์ฝ่ายขวาปากกล้าที่สุดซึ่งคอยเล่นงานความพยายามของโอบามาในการเกี้ยวพาหาความสนับสนุนจากต่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุโรปและโลกมุสลิม ทั้งนี้ตามผลการสำรวจความคิดเห็นหลายต่อภายครั้ง ประชาชนในภูมิภาคเหล่านี้เองคือพวกที่มีความรู้สึกแปลกแยกมากที่สุดต่อนโยบายการต่างประเทศในยุคคณะรัฐบาลบุช
พวกเขายังแสดงท่าทีดูหมิ่นเหยียดหยามมากเป็นพิเศษ จากการที่คณะกรรมการโนเบลลงมติให้รางวัลแก่โอบามา
ลิซ เชนีย์ นักกฎหมายที่เคยเป็นผู้อำนวยการโครงการส่งเสริมประชาธิปไตยในตะวันออกกลางของกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯในช่วงปี 2002 ถึง 2004 และมีรายงานข่าวว่ากำลังพิจารณาที่จะลงสมัคร ส.ส.ในปีหน้า ได้เรียกการให้รางวัลคราวนี้ว่า เป็น “ละครตลก” พร้อมกับแนะให้โอบามาส่ง “แม่ของทหารอเมริกันที่เสียชีวิตสักคนหนึ่งไปรับรางวัลแทน ในนามของกองทัพสหรัฐฯ ... เพื่อเป็นการเตือนให้คณะกรรมการโนเบลจดจำเอาไว้ว่า การที่พวกเขาแต่ละคนสามารถนอนหลับได้อย่างอุตุในแต่ละคืนนั้น เป็นเพราะกองทัพสหรัฐฯคือกองกำลังรักษาสันติภาพที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลกเวลานี้”
ขณะที่คริสโทลเรียกคณะกรรมการโนเบลว่า “เป็นพวกต่อต้านอเมริกัน”
เหมือนๆ กับพวกนักวิจารณ์ขวาจัดและอนุรักษนิยมใหม่ส่วนใหญ่ เชนีย์และคริสโทลต่างพยายามป้ายสีนโยบายการต่างประเทศของโอบามาว่า จัดวางออกมาเพื่อสร้างความอ่อนแอและเหนี่ยวรั้งอำนาจของสหรัฐฯในโลกที่เต็มไปด้วยอันตราย ด้วยการทอดทิ้งนโยบายต่างๆ ซึ่งยกย่องเชิดชูโดยบิดาของเชนีย์ โดยที่มีรายงานว่าเธอกำลังช่วยบิดาในการเขียนหนังสือบันทึกความทรงจำอีกด้วย
“จากการหันหลังให้แก่นโยบายต่างๆ ที่ได้ช่วยคุ้มครองให้เราปลอดภัย, จากการปฏิบัติต่อการก่อการร้ายเสมือนว่าเป็นเรื่องการบังคับใช้กฎหมายธรรมดาๆ เรื่องหนึ่ง, จากการให้สิทธิแก่พวกผู้ก่อการร้ายต่างชาติอย่างเดียวกับที่ให้แก่พลเมืองชาวอเมริกัน, จากการเปิดการสอบสวนเพื่อดำเนินคดีพวกสายลับของซีไอเอ, จากการตัดลดงบประมาณด้านกลาโหม, จากการทำลายความศรัทธาที่เหล่าพันธมิตรของเรามีให้แก่เรา, และจากการพยายามพะเน้าพะนอเหล่าปรปักษ์ของเรา สิ่งที่คณะรัฐบาลชุดปัจจุบันกระทำไปทั้งหมดเหล่านี้กำลังทำให้ประเทศชาติอ่อนแอ และทำให้เป็นเรื่องยากลำบากยิ่งขึ้นที่เราจะปกป้องรักษาความมั่นคงปลอดภัยของเราและผลประโยชน์ของเรา” คำแถลงประกาศภารกิจของกลุ่มใหม่นี้กล่าวเอาไว้เช่นนี้
สำหรับงานเขียนเพื่อคัดค้านโอบามาของพวกฝ่ายขวา ชิ้นที่จัดว่าเป็นพัฒนาการอันมีความรอบด้านมากที่สุด น่าจะเป็นงานเขียนของ ชาร์ลส์ เคราธัมเมอร์ (Charles Krauthammer) คอลัมนิสต์หัวอนุรักษนิยมใหม่ ที่เป็นบทความชื่อ “Decline Is a Choice: The New Liberalism and the End of American Ascendancy” (ทางเลือกคือความเสื่อมทรุด: ลัทธิเสรีนิยมใหม่และจุบจบแห่งการครองบัลลังก์ของอเมริกัน) ตีพิมพ์เผยแพร่ในสัปดาห์นี้โดยนิตยสาร วิกลี สแตนดาร์ด ของคริสโทล อีกทั้งนำมาเผยแพร่บนเว็บไซต์ของกลุ่ม Keep America Safe
“นโยบายการต่างประเทศของสหรัฐฯในปัจจุบัน คือการดำเนินการเพื่อมุ่งไปสู่การหดตัว” บทความดังกล่าวระบุ พร้อมกับหยิบยกเหตุผลต่างๆ มาชี้ว่า โอบามาได้ยอมรับเอาไว้ในการกล่าวสุนทรพจน์ครั้งสำคัญๆ หลายๆ ครั้งว่า สิ่งที่วอชิงตันดำเนินการอยู่ในต่างแดนนั้นไม่ได้สอดคล้องกับหลักการของตนเสมอไป การกระทำเช่นนี้ “ส่งผลเป็นการบ่อนทำลายข้ออ้างทางศีลธรรมใดๆ ก็ตามทีที่อเมริกาอาจใช้อ้างเพื่อการเป็นผู้นำของโลก”
“ลัทธิสากลนิยมแบบเสรี-ซ้ายใหม่ (new left-liberal internationalism) เช่นนี้ ไปไกลสุดกู่ยิ่งกว่าเมื่อตอนแรกๆ ที่ดูเป็นการกลับชาติมาเกิดใหม่ของพวกนิยมคลินตัน (Clintonian) เสียอีก ในประเด็นเกี่ยวกับการไม่ไว้วางใจและการรังเกียจฐานะความเป็นผู้ครอบครองโลกของอเมริกัน” นี่เป็นข้อความส่วนหนึ่งในบทความของเคราธัมเมอร์ ซึ่งเป็นผู้ส่งเสริมสนับสนุนฐานะการเป็นผู้ครองโลกของสหรัฐฯอย่างไม่เคยมีความกระดากใจใดๆ มาตั้งแต่ปี 1990 แล้ว ตอนที่เขาเขียนบทความลือชื่อในวารสาร “ฟอเรนจ์ แอฟแฟร์ส” (Foreign Affairs) ที่ใช้ชื่อเรื่องว่า “The Unipolar Moment” (ช่วงเวลาแห่งการเป็นขั้วเพียงขั้วเดียวของโลก)
“สำหรับสิ่งที่อาจจะขนานนามให้ว่า ลัทธิเสรีนิยมใหม่ (New Liberalism) นี้ การประกาศยกเลิกไม่ให้อเมริกันครองอำนาจของพวกเขา มิได้มีรากเหง้าอยู่ที่ความหวาดกลัวว่า ถึงแม้โดยเนื้อหาสาระแล้วเราเป็นฝ่ายดี แต่เราก็อาจจะถลำตกลงไปในการทุจริตคอร์รัปปั่นแห่งอำนาจ (corruptions of power)ได้ (อันเป็นทัศนะของพวกนิยมคลินตันรุ่นเก่า) หากแต่มีรากเหง้าอยู่ในความเชื่อที่ว่า อเมริกานั้นเต็มไปด้วยความบกพร่องผิดพลาดจากภายใน, เต็มไปด้วยความชั่วร้ายที่เป็นสันดานและมีมาแต่กำเนิด จึงทำให้ไม่สามารถที่จะไว้เนื้อเชื่อใจ และไม่ได้มีคุณความดีเพียงพอที่จะเป็นเจ้าของอำนาจแห่งการครอบครองทั่วโลก”
ตามเนื้อหาในบทความของเคราธัมเมอร์ ภายใต้โอบามา วอชิงตันได้เข้าสู่ “การถอยทัพในทางยุทธศาสตร์”
สิ่งที่เขาหยิกยกขึ้นมาอ้างเป็นหลักฐานในเรื่องนี้ มีอาทิ การที่คณะรัฐบาลชุดนี้ทอดทิ้งวลี “สงครามต่อสู้การก่อการร้ายในทั่วโลก”, “การยกเลิกตามอำเภอใจฝ่ายเดียว” ในเรื่องระบบป้องกันขีปนาวุธในโปแลนด์และสาธารณรัฐเช็ก, “การไม่กล้าตัดสินใจในเรื่องอัฟกานิสถาน”, ความบกพร่องล้มเหลวที่ไม่ปฏิบัติต่ออิรักเสมือนกับเป็น “รางวัล ... อันมีความสำคัญยิ่งใหญ่ในเชิงยุทธศาสตร์ ซึ่งคณะรัฐบาลชุดนี้ดูเหมือนจะไม่มีความตั้งใจที่จะฉกฉวยหาประโยชน์”, การสนับสนุน “พวกผู้นำที่เป็นพวกชาเวซ” ในฮอนดูรัส, และ “แรงกดดันอย่างหนักหน่วงและอย่างไม่จำเป็นของอเมริกาที่กระทำต่ออิสราเอล”
แนวความคิดที่ว่า จากการดำเนินมาตรการต่างๆ เหล่านี้ (ซึ่งเขามองว่าเป็นความพยายามอันไร้ผลที่จะกอบกู้ความภาคภูมิใจทางศีลธรรมกลับคืนมา) จะ “นำไปสู่ท่าทีในทางตอบสนองจากพวกอย่างเช่นอิหร่านและเกาหลีเหนือนั้น แท้ที่จริงแล้วเป็นเพียงแนวความคิดแบบเด็กๆ เท่านั้น”
“กล่าวได้ว่า มันเป็นนโยบายการต่างประเทศที่จัดวางขึ้นเพื่อทำให้เกิดความเสื่อมทรุดของอเมริกัน –เพื่อทำให้โดยเนื้อหาสาระแล้ว อเมริกากลายเป็นเพียงชาติหนึ่งในหมู่ชาติจำนวนมาก” เคราธัมเมอร์บอก โดยที่เขาพรรณนาด้วยว่า การดำเนินนโยบายการต่างประเทศเช่นนี้ ดำเนินไปพร้อมๆ การใช้นโยบายภายในประเทศที่เป็นแบบสังคมประชาธิปไตยและเป็นแบบยุโรป ในแง่ที่ให้ความสำคัญเป็นพิเศษแก่อาหาร แทนที่จะให้แก่ปืน
“ขณะที่กระแสโลกาภิวัตน์ได้ผลิตมายาภาพที่ว่าธรรมชาติของมนุษย์ได้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปแล้ว แท้ที่จริงมันหาได้เป็นเช่นนั้นไม่” เขาร่ายต่อ “เวทีระหว่างประเทศยังคงอยู่ในภาวะแบบที่ฮอบส์บรรยายไว้ นั่นคือประเทศต่างๆ โดยธรรมชาติแล้วต่างมุ่งแสวงหาอำนาจ ... จริงๆ แล้วใช่หรือไม่ว่าเราต้องการที่จะอยู่ภายใต้การเปลี่ยนแปลงไปสู่ภาวะการมีขั้วหลายๆ ขั้วในโลก ซึ่งเป็นระบบที่ยังไม่เป็นที่รู้จักและยังไม่ได้ผ่านการทดสอบ หรือกระทั่งเลวร้ายไปกว่านั้นอีก นั่นคือใช่หรือไม่ว่าเราต้องการที่จะอยู่ใต้ลัทธิสากลนิยมอันบอบบางของพวกเสรีนิยมใหม่ที่มีแต่บรรทัดฐานอันกำหนดกันขึ้นมาเอง”
ประเด็นนี้เองที่ได้รับการขานรับจากเชนีย์ ในการแสดงความเห็นของเธอทางฟอกซ์ นิวส์ เพื่อวิพากษ์วิจารณ์คณะกรรมการโนเบล ที่ให้รางวัลแก่โอบามา
“สิ่งที่พวกคณะกรรมการชุดนี้เชื่อก็คือ พวกเขาปรารถนาที่จะอยู่ในโลกที่อเมริกาไม่ได้มีอำนาจครอบงำ” เธอบอก “พวกเขาอาจจะเชื่อว่าประธานาธิบดีโอบามาก็ไม่เชื่อในเรื่องการครอบครองโลกของอเมริกันด้วยเหมือนกัน และพวกเขาอาจจะกำลังพยายามยืนยันความเชื่อนี้ด้วยรางวัลนี้ ดิฉันคิดว่า โชคร้ายจริงๆ ที่พวกเขาอาจจะเป็นฝ่ายถูก และดิฉันคิดว่านี่เป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วง”
จิม โล้บ จัดทำบล็อกว่าด้วยนโยบายการต่างประเทศของสหรัฐฯ ซึ่งสามารถหาอ่านได้ที่ http://www.ips.org/blog/jimlobe/
(สำนักข่าวอินเตอร์เพรสเซอร์วิส)
Obama beset by America’s far right
By Jim Lobe
14/10/2009
พวกอนุรักษนิยมใหม่ตัวกลั่นๆ กำลังทำงานกันแบบหามรุ่งหามค่ำ เพื่อป้ายสีนโยบายด้านการต่างประเทศของประธานาธิบดีบารัค โอบามา แห่งสหรัฐฯ โดยมุ่งเน้นโจมตีว่าเป็นนโยบายที่จัดวางขึ้นมาเพื่อสร้างความอ่อนแอและเหนี่ยวรั้งอำนาจของอเมริกัน จากการทอดทิ้งนโยบายต่างๆ ที่แข็งกร้าวยิ่งกว่าของจอร์จ ดับเบิลยู บุช ประธานาธิบดีคนก่อนหน้า พวกเขาบอกด้วยว่า การที่คณะกรรมการรางวัลโนเบลตัดสินมอบรางวัลแก่โอบามา มีแต่จะเร่งรัดให้อเมริกายิ่งเสื่อมทรุดเร็วขึ้น
วอชิงตัน – เพียงไม่กี่วันหลังจากคณะกรรมการพิจารณารางวัลโนเบลในกรุงออสโล ประเทศนอร์เวย์ ประกาศให้รางวัลด้านสันติภาพอันทรงเกียรติ แก่ประธานาธิบดีบารัค โอบามา ของสหรัฐฯ เหยี่ยวด้านนโยบายการต่างประเทศคนสำคัญที่สุดในวอชิงตัน 2 คน ก็แถลงเปิดตัวกลุ่มใหม่กลุ่มหนึ่ง พร้อมกับการรณรงค์โฆษณา ซึ่งมุ่งวาดภาพโอบามาว่าอ่อนแอปวกเปียก ตลอดจนมุ่งปกป้องนโยบายที่แข็งกร้าวยิ่งกว่าของ จอร์จ ดับเบิลยู บุช ประธานาธิบดีคนก่อนหน้า
กลุ่มใหม่นี้ซึ่งใช้ชื่อว่า “Keep America Safe” (คุ้มครองให้อเมริกาปลอดภัย) ก่อตั้งขึ้นโดย นักอนุรักษนิยมใหม่ (neo-conservative) ตัวกลั่น วิลเลียม คริสโทล (William Kristol) ผู้เป็นบรรณาธิการนิตยสาร “เดอะ วีกลี สแตนดาร์ด” (The Weekly Standard) และ อลิซาเบธ (ลิซ) เชนีย์ (Elizabeth (Liz) Cheney) บุตรสาวปากกล้าของ ดิ๊ก เชนีย์ ผู้เป็นรองประธานาธิบดีของบุช ทั้งนี้เป็นที่เชื่อกันว่าเธอผู้นี้กำลังวางแผนเพื่อเดินหน้าสู่ความทะเยอทะยานทางการเมืองของตัวเธอเอง
“ท่ามกลางความท้ายทายอันใหญ่หลวงด้านต่างๆ ต่อความมั่นคงปลอดภัยและความสมบูรณ์พูนสุขของอเมริกา บ่อยครั้งเกินไปที่คณะรัฐบาลชุดปัจจุบันมีท่าทีเหมือนไร้ความแน่นอน, เพ้อฝัน, ไม่มีความเด็ดเดี่ยว, และไม่ปรารถนาที่จะลุกขึ้นยืนผงาดเพื่อต่อสู้ให้แก่อเมริกา, ให้แก่เหล่าพันธมิตรของเรา, และให้แก่บรรดาผลประโยชน์ของเรา” นี่เป็นเนื้อความตอนหนึ่งของคำแถลงประกาศภารกิจของกลุ่มนี้ ซึ่งยังมีผู้ร่วมก่อตั้งคนที่ 3 อีกทั้งเป็นกรรมการกลุ่มด้วย นั่นคือ เดบรา เบอร์ลิงเกม (Debra Burlingame) ที่เป็นผู้ร่วมก่อตั้งกลุ่ม “9/11 Families for a Safe and Strong America” (ครอบครัวในเหตุการณ์ 11 กันยายนเพื่ออเมริกาที่ปลอดภัยและแข็งแกร่ง)
“Keep America Safe เชื่อว่าสหรัฐฯจักสามารถทำให้เหล่าศัตรูของเราปราชัย และปกป้องผลประโยชน์ของเราได้ ก็ด้วยการมีจุดยืนอันแข็งแกร่ง” คำแถลงประกาศภารกิจกล่าวอีกตอนหนึ่ง
“เราทราบดีว่าอเมริกาในตลอดระยะเวลา 233 ปีที่ผ่านมาคือพลังแห่งความดีงามอันไม่มีใครมาเทียบเทียมได้ในโลกนี้ ,เราทราบดีว่ากองกำลังสู้รบของเราคือกองกำลังสู้รบที่ดีที่สุดเท่าที่โลกเคยรู้จัก, และเราทราบดีว่าโลกนี้กลายเป็นสถานที่ซึ่งมีความปลอดภัยมากขึ้นเมื่ออเมริกันได้รับความไว้วางใจจากเหล่าพันธมิตรของเรา และได้รับความคร้ามเกรงและความเคารพจากเหล่าศัตรูของเรา”
“Keep America Safe จะขับเคี่ยวให้การสนับสนุนการต่อสู้ปราบปรามการก่อการร้ายตลอดทั่วทั้งโลกอย่างเด็ดเดี่ยวชนิดไม่มีการสำนึกเสียใจเป็นอันขาด, จะต่อสู้เพื่อชัยชนะในสงครามต่างๆ ที่ประเทศนี้เข้าสู้รบ, จะต่อสุ้เพื่อประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชน, และจะต่อสู้เพื่อกองทัพอเมริกันที่แข็งแกร่งซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นในโลกอันเต็มไปด้วยอันตรายที่เราพำนักอาศัยอยู่นี้” คำแถลงฉบับนี้ระบุ
กลุ่มใหม่นี้บอกเอาไว้ในระเบียบหลักเกณฑ์ในการรวมตัวเป็นกลุ่มของตนว่า จะอนุญาตให้ไปล็อบบี้รัฐสภาสหรัฐฯและประกาศรับรองสนับสนุนผู้สมัครรับเลือกตั้งดำรงตำแหน่งทางการเมือง, ในขั้นต้นจะมุ่งเน้นไปที่การระดมหาเงินเพื่อช่วยการเผยแพร่โฆษณาวิดีโอของทางกลุ่ม โดยที่โฆษณาชุดแรกได้นำออกเผยแพร่ในเว็บไซต์ของตนอยู่ในเวลานี้
“พวกฝ่ายซ้ายมีองค์การตั้งหลายสิบองค์การและมีเงินทองเป็นหลายสิบล้านดอลลาร์ ที่มุ่งอุทิศโดยตรงให้แก่การบั่นทอนบ่อนทำลายสงครามต่อสู้การก่อการร้าย” คริสโทลบอกกับเว็บไซต์ “โปลิติโก” (Politico) เมื่อวันอังคาร(13) “ทางฝ่ายคนดีๆ ก็ย่อมต้องการความช่วยเหลือกันบ้างเหมือนกัน”
ก่อนหน้านี้ในปีนี้ คริสโทลก็ได้จับมือกับ รอเบิร์ต แคแกน (Robert Kagan) ผู้ซึ่งร่วมงานกับเขามาอย่างยาวนาน เพื่อร่วมกันก่อตั้งกลุ่มสายเหยี่ยวอีกกลุ่มหนึ่ง นั่นคือ กลุ่ม “Foreign Policy Initiative” (ความริเริ่มทางด้านนโยบายการต่างประเทศ) ที่มีแนวทางแบบอนุรักษนิยมใหม่ กลุ่มนี้เองได้ตีพิมพ์เผยแพร่จดหมายเปิดผนึกหลายๆ ฉบับ มีทั้งเรียกร้องโอบามาให้ส่งเสริมสนับสนุนประชาธิปไตยในรัสเซีย, ให้ส่งทหารเพิ่มเติมอีกหลายหมื่นคนเข้าไปในอัฟกานิสถาน, และให้ความมั่นใจอีกครั้งแก่พวกพันธมิตรในยุโรปกลางว่าวอชิงตันยังคงยึดมั่นกับคำมั่นสัญญาในการปกป้องคุ้มครองพวกเขา
บุคคลทั้งสองนี้เองได้เคยเป็นผู้ร่วมก่อตั้งและเป็นกรรมการของกลุ่ม “Project for the New American Century” (โครงการเพื่อไปสู่ศตวรรษใหม่แห่งอเมริกัน) โดยที่สมาชิกผู้ก่อตั้งกลุ่มนี้เมื่อปี 1997 หลายๆ คนทีเดียว เป็นต้นว่า เชนีย์ผู้บิดา, อดีตรัฐมนตรีกลาโหม โดนัลด์ รัมสเฟลด์, และผู้ช่วยระดับสูงของพวกเขา 2 คน ได้แก่ ไอ ลิวอิส “สกูตเตอร์” ลิบบี (I Lewis "Scooter" Libby ), และ พอล วูลโฟวิตซ์ (Paul Wolfowitz) ตามลำดับ ในเวลาต่อมาต่างก็ได้แสดงบทบาทสำคัญในการสนับสนุนให้ทำการรุกรานอิรักเมื่อปี 2003 ตลอดจนนโยบายอื่นๆ ในสมัยแรกแห่งการดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีของบุช อันเป็นช่วงที่พวกสายเหยี่ยวสามารถแสดงอำนาจอิทธิพลได้สูงที่สุด
คริสโทล และ เชนีย์ผู้บุตรสาว ยังเป็นผู้ออกความเห็นประจำ (commentator) ให้แก่โทรทัศน์แนวขวาจัดอย่างช่อง “ฟอกซ์ นิวส์” (Fox News) และอยู่ในกลุ่มนักวิจารณ์ฝ่ายขวาปากกล้าที่สุดซึ่งคอยเล่นงานความพยายามของโอบามาในการเกี้ยวพาหาความสนับสนุนจากต่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุโรปและโลกมุสลิม ทั้งนี้ตามผลการสำรวจความคิดเห็นหลายต่อภายครั้ง ประชาชนในภูมิภาคเหล่านี้เองคือพวกที่มีความรู้สึกแปลกแยกมากที่สุดต่อนโยบายการต่างประเทศในยุคคณะรัฐบาลบุช
พวกเขายังแสดงท่าทีดูหมิ่นเหยียดหยามมากเป็นพิเศษ จากการที่คณะกรรมการโนเบลลงมติให้รางวัลแก่โอบามา
ลิซ เชนีย์ นักกฎหมายที่เคยเป็นผู้อำนวยการโครงการส่งเสริมประชาธิปไตยในตะวันออกกลางของกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯในช่วงปี 2002 ถึง 2004 และมีรายงานข่าวว่ากำลังพิจารณาที่จะลงสมัคร ส.ส.ในปีหน้า ได้เรียกการให้รางวัลคราวนี้ว่า เป็น “ละครตลก” พร้อมกับแนะให้โอบามาส่ง “แม่ของทหารอเมริกันที่เสียชีวิตสักคนหนึ่งไปรับรางวัลแทน ในนามของกองทัพสหรัฐฯ ... เพื่อเป็นการเตือนให้คณะกรรมการโนเบลจดจำเอาไว้ว่า การที่พวกเขาแต่ละคนสามารถนอนหลับได้อย่างอุตุในแต่ละคืนนั้น เป็นเพราะกองทัพสหรัฐฯคือกองกำลังรักษาสันติภาพที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลกเวลานี้”
ขณะที่คริสโทลเรียกคณะกรรมการโนเบลว่า “เป็นพวกต่อต้านอเมริกัน”
เหมือนๆ กับพวกนักวิจารณ์ขวาจัดและอนุรักษนิยมใหม่ส่วนใหญ่ เชนีย์และคริสโทลต่างพยายามป้ายสีนโยบายการต่างประเทศของโอบามาว่า จัดวางออกมาเพื่อสร้างความอ่อนแอและเหนี่ยวรั้งอำนาจของสหรัฐฯในโลกที่เต็มไปด้วยอันตราย ด้วยการทอดทิ้งนโยบายต่างๆ ซึ่งยกย่องเชิดชูโดยบิดาของเชนีย์ โดยที่มีรายงานว่าเธอกำลังช่วยบิดาในการเขียนหนังสือบันทึกความทรงจำอีกด้วย
“จากการหันหลังให้แก่นโยบายต่างๆ ที่ได้ช่วยคุ้มครองให้เราปลอดภัย, จากการปฏิบัติต่อการก่อการร้ายเสมือนว่าเป็นเรื่องการบังคับใช้กฎหมายธรรมดาๆ เรื่องหนึ่ง, จากการให้สิทธิแก่พวกผู้ก่อการร้ายต่างชาติอย่างเดียวกับที่ให้แก่พลเมืองชาวอเมริกัน, จากการเปิดการสอบสวนเพื่อดำเนินคดีพวกสายลับของซีไอเอ, จากการตัดลดงบประมาณด้านกลาโหม, จากการทำลายความศรัทธาที่เหล่าพันธมิตรของเรามีให้แก่เรา, และจากการพยายามพะเน้าพะนอเหล่าปรปักษ์ของเรา สิ่งที่คณะรัฐบาลชุดปัจจุบันกระทำไปทั้งหมดเหล่านี้กำลังทำให้ประเทศชาติอ่อนแอ และทำให้เป็นเรื่องยากลำบากยิ่งขึ้นที่เราจะปกป้องรักษาความมั่นคงปลอดภัยของเราและผลประโยชน์ของเรา” คำแถลงประกาศภารกิจของกลุ่มใหม่นี้กล่าวเอาไว้เช่นนี้
สำหรับงานเขียนเพื่อคัดค้านโอบามาของพวกฝ่ายขวา ชิ้นที่จัดว่าเป็นพัฒนาการอันมีความรอบด้านมากที่สุด น่าจะเป็นงานเขียนของ ชาร์ลส์ เคราธัมเมอร์ (Charles Krauthammer) คอลัมนิสต์หัวอนุรักษนิยมใหม่ ที่เป็นบทความชื่อ “Decline Is a Choice: The New Liberalism and the End of American Ascendancy” (ทางเลือกคือความเสื่อมทรุด: ลัทธิเสรีนิยมใหม่และจุบจบแห่งการครองบัลลังก์ของอเมริกัน) ตีพิมพ์เผยแพร่ในสัปดาห์นี้โดยนิตยสาร วิกลี สแตนดาร์ด ของคริสโทล อีกทั้งนำมาเผยแพร่บนเว็บไซต์ของกลุ่ม Keep America Safe
“นโยบายการต่างประเทศของสหรัฐฯในปัจจุบัน คือการดำเนินการเพื่อมุ่งไปสู่การหดตัว” บทความดังกล่าวระบุ พร้อมกับหยิบยกเหตุผลต่างๆ มาชี้ว่า โอบามาได้ยอมรับเอาไว้ในการกล่าวสุนทรพจน์ครั้งสำคัญๆ หลายๆ ครั้งว่า สิ่งที่วอชิงตันดำเนินการอยู่ในต่างแดนนั้นไม่ได้สอดคล้องกับหลักการของตนเสมอไป การกระทำเช่นนี้ “ส่งผลเป็นการบ่อนทำลายข้ออ้างทางศีลธรรมใดๆ ก็ตามทีที่อเมริกาอาจใช้อ้างเพื่อการเป็นผู้นำของโลก”
“ลัทธิสากลนิยมแบบเสรี-ซ้ายใหม่ (new left-liberal internationalism) เช่นนี้ ไปไกลสุดกู่ยิ่งกว่าเมื่อตอนแรกๆ ที่ดูเป็นการกลับชาติมาเกิดใหม่ของพวกนิยมคลินตัน (Clintonian) เสียอีก ในประเด็นเกี่ยวกับการไม่ไว้วางใจและการรังเกียจฐานะความเป็นผู้ครอบครองโลกของอเมริกัน” นี่เป็นข้อความส่วนหนึ่งในบทความของเคราธัมเมอร์ ซึ่งเป็นผู้ส่งเสริมสนับสนุนฐานะการเป็นผู้ครองโลกของสหรัฐฯอย่างไม่เคยมีความกระดากใจใดๆ มาตั้งแต่ปี 1990 แล้ว ตอนที่เขาเขียนบทความลือชื่อในวารสาร “ฟอเรนจ์ แอฟแฟร์ส” (Foreign Affairs) ที่ใช้ชื่อเรื่องว่า “The Unipolar Moment” (ช่วงเวลาแห่งการเป็นขั้วเพียงขั้วเดียวของโลก)
“สำหรับสิ่งที่อาจจะขนานนามให้ว่า ลัทธิเสรีนิยมใหม่ (New Liberalism) นี้ การประกาศยกเลิกไม่ให้อเมริกันครองอำนาจของพวกเขา มิได้มีรากเหง้าอยู่ที่ความหวาดกลัวว่า ถึงแม้โดยเนื้อหาสาระแล้วเราเป็นฝ่ายดี แต่เราก็อาจจะถลำตกลงไปในการทุจริตคอร์รัปปั่นแห่งอำนาจ (corruptions of power)ได้ (อันเป็นทัศนะของพวกนิยมคลินตันรุ่นเก่า) หากแต่มีรากเหง้าอยู่ในความเชื่อที่ว่า อเมริกานั้นเต็มไปด้วยความบกพร่องผิดพลาดจากภายใน, เต็มไปด้วยความชั่วร้ายที่เป็นสันดานและมีมาแต่กำเนิด จึงทำให้ไม่สามารถที่จะไว้เนื้อเชื่อใจ และไม่ได้มีคุณความดีเพียงพอที่จะเป็นเจ้าของอำนาจแห่งการครอบครองทั่วโลก”
ตามเนื้อหาในบทความของเคราธัมเมอร์ ภายใต้โอบามา วอชิงตันได้เข้าสู่ “การถอยทัพในทางยุทธศาสตร์”
สิ่งที่เขาหยิกยกขึ้นมาอ้างเป็นหลักฐานในเรื่องนี้ มีอาทิ การที่คณะรัฐบาลชุดนี้ทอดทิ้งวลี “สงครามต่อสู้การก่อการร้ายในทั่วโลก”, “การยกเลิกตามอำเภอใจฝ่ายเดียว” ในเรื่องระบบป้องกันขีปนาวุธในโปแลนด์และสาธารณรัฐเช็ก, “การไม่กล้าตัดสินใจในเรื่องอัฟกานิสถาน”, ความบกพร่องล้มเหลวที่ไม่ปฏิบัติต่ออิรักเสมือนกับเป็น “รางวัล ... อันมีความสำคัญยิ่งใหญ่ในเชิงยุทธศาสตร์ ซึ่งคณะรัฐบาลชุดนี้ดูเหมือนจะไม่มีความตั้งใจที่จะฉกฉวยหาประโยชน์”, การสนับสนุน “พวกผู้นำที่เป็นพวกชาเวซ” ในฮอนดูรัส, และ “แรงกดดันอย่างหนักหน่วงและอย่างไม่จำเป็นของอเมริกาที่กระทำต่ออิสราเอล”
แนวความคิดที่ว่า จากการดำเนินมาตรการต่างๆ เหล่านี้ (ซึ่งเขามองว่าเป็นความพยายามอันไร้ผลที่จะกอบกู้ความภาคภูมิใจทางศีลธรรมกลับคืนมา) จะ “นำไปสู่ท่าทีในทางตอบสนองจากพวกอย่างเช่นอิหร่านและเกาหลีเหนือนั้น แท้ที่จริงแล้วเป็นเพียงแนวความคิดแบบเด็กๆ เท่านั้น”
“กล่าวได้ว่า มันเป็นนโยบายการต่างประเทศที่จัดวางขึ้นเพื่อทำให้เกิดความเสื่อมทรุดของอเมริกัน –เพื่อทำให้โดยเนื้อหาสาระแล้ว อเมริกากลายเป็นเพียงชาติหนึ่งในหมู่ชาติจำนวนมาก” เคราธัมเมอร์บอก โดยที่เขาพรรณนาด้วยว่า การดำเนินนโยบายการต่างประเทศเช่นนี้ ดำเนินไปพร้อมๆ การใช้นโยบายภายในประเทศที่เป็นแบบสังคมประชาธิปไตยและเป็นแบบยุโรป ในแง่ที่ให้ความสำคัญเป็นพิเศษแก่อาหาร แทนที่จะให้แก่ปืน
“ขณะที่กระแสโลกาภิวัตน์ได้ผลิตมายาภาพที่ว่าธรรมชาติของมนุษย์ได้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปแล้ว แท้ที่จริงมันหาได้เป็นเช่นนั้นไม่” เขาร่ายต่อ “เวทีระหว่างประเทศยังคงอยู่ในภาวะแบบที่ฮอบส์บรรยายไว้ นั่นคือประเทศต่างๆ โดยธรรมชาติแล้วต่างมุ่งแสวงหาอำนาจ ... จริงๆ แล้วใช่หรือไม่ว่าเราต้องการที่จะอยู่ภายใต้การเปลี่ยนแปลงไปสู่ภาวะการมีขั้วหลายๆ ขั้วในโลก ซึ่งเป็นระบบที่ยังไม่เป็นที่รู้จักและยังไม่ได้ผ่านการทดสอบ หรือกระทั่งเลวร้ายไปกว่านั้นอีก นั่นคือใช่หรือไม่ว่าเราต้องการที่จะอยู่ใต้ลัทธิสากลนิยมอันบอบบางของพวกเสรีนิยมใหม่ที่มีแต่บรรทัดฐานอันกำหนดกันขึ้นมาเอง”
ประเด็นนี้เองที่ได้รับการขานรับจากเชนีย์ ในการแสดงความเห็นของเธอทางฟอกซ์ นิวส์ เพื่อวิพากษ์วิจารณ์คณะกรรมการโนเบล ที่ให้รางวัลแก่โอบามา
“สิ่งที่พวกคณะกรรมการชุดนี้เชื่อก็คือ พวกเขาปรารถนาที่จะอยู่ในโลกที่อเมริกาไม่ได้มีอำนาจครอบงำ” เธอบอก “พวกเขาอาจจะเชื่อว่าประธานาธิบดีโอบามาก็ไม่เชื่อในเรื่องการครอบครองโลกของอเมริกันด้วยเหมือนกัน และพวกเขาอาจจะกำลังพยายามยืนยันความเชื่อนี้ด้วยรางวัลนี้ ดิฉันคิดว่า โชคร้ายจริงๆ ที่พวกเขาอาจจะเป็นฝ่ายถูก และดิฉันคิดว่านี่เป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วง”
จิม โล้บ จัดทำบล็อกว่าด้วยนโยบายการต่างประเทศของสหรัฐฯ ซึ่งสามารถหาอ่านได้ที่ http://www.ips.org/blog/jimlobe/
(สำนักข่าวอินเตอร์เพรสเซอร์วิส)