xs
xsm
sm
md
lg

"ทะไลลามะ"ยินดี "โอบามา"ซิวโนเบลสันติภาพ-วอนสร้างเสรีภาพจริงๆ

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

ทะไลลามะ ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ ปี 1989 จากความพยายามเรียกร้องอิสรภาพจากจีน และขอให้โอบามาส่งเสริมอิสรภาพและเสรีภาพด้วย
เอเอฟพี/เอเจนซี - ทะไล ลามะ ผู้นำจิตวิญญาณชาวที่เบตและเรียกร้องอิสรภาพจากจีน แสดงความยินดีต่อประธานาธิบดีบารัค โอบามา (คลินอ่าน-ประวัติ"โอบามา) ที่ได้รับรางวัลโนเบล สาขาสันติภาพประจำปีนี้ และเรียกร้องให้ผู้นำสหรัฐฯผลักดันเสรีภาพและอิสรภาพที่แท้จริง ด้านโอบามาแสดงความประหลาดใจที่ได้รางวัลนี้ ระบุ ไม่แน่ใจว่าคู่ควรเทียบกับเจ้าของรางวัลคนก่อนๆ หรือไม่

ทะไลลามะ เจ้าของรางวัลโนเบล สาขาสันติภาพ ปี 1989 ส่งสาส์นแสดงความยินดีต่อโอบามา เมื่อวันศุกร์(9) โดยระบุว่า คณะกรรมการรางวัลโนเบลยอมรับแนวทางการแก้ปัญหาความขัดแย้งระหว่างประเทศของโอบามา ที่ใช้สติปัญญาและพลังของการเจรจา พระองค์ยังทรงชื่นชมผู้นำสหรัฐฯที่อุทิศตนแก้ไขปัญหาการแพร่ขยายของอาวุธนิวเคลียร์และปรับปรุงสิ่งแวดล้อม

ผู้นำที่พลัดถิ่นของชาวทิเบตยังระบุว่า บิดาผู้ก่อตั้งสหรัฐฯวางไว้คือประชาธิปไตยและส่งเสริมเสรีภาพ อิสรภาพ ดังนั้นจึงสำคัญอย่างยิ่งที่ผู้นำในปัจจุบันจะเดินตามแนวทางเหล่านั้น ซึ่งนอกจากจะเพิ่มชื่อเสียงให้แก่สหรัฐฯเองแล้ว ยังช่วยลดความตึงเครียดของโลกได้อย่างมหาศาลอีกด้วย

ทะไลลามะ อยู่ระหว่างการเยือนสหรัฐฯอย่างเป็นทางการและกำลังอยู่ที่กรุงวอชิงตัน ได้ส่งสาส์นแสดงความยินดีแด่โอบามา แม้ว่าผู้นำสหรัฐฯหลีกเลี่ยงที่จะไม่ยอมพบ เนื่องจากเกรงว่าจะทำให้รัฐบาลจีนไม่พอใจ เพราะจีนเองก็คัดค้านการเดินทางของทะไลลามะ และกล่าวหาว่าพระองค์มีแนวคิดแบ่งแยกดินแดน แต่ทำเนียบขาวออกมาปฏิเสธ และระบุว่า โอบามาจะพบกับผู้นำทิเบต หลังจากการเดินทางเยือนจีนในเดือนพฤศจิกายน ทั้งนี้ ทะไลลามะ ลี้ภัยมาอยู่อินเดีย 50 ปีแล้ว โดยได้เผยแพร่การต่อสู้แบบสันติวิธี และระบุว่า ยอมรับการปกครองของจีนในทิเบต

คณะกรรมาธิการสถาบันโนเบลแห่งนอร์เวย์ ประกาศมอบรางวัลโนเบล สาขาสันติภาพ ประจำปี 2009 ให้แก่โอบามา จากความพยายามทางการทูตอันยอดเยี่ยมของเขาเพื่มเสริมสร้างการทูตและความร่วมมือระหว่างประเทศ รวมถึงวิสัยทัศน์ในการทำงานของเขาเพื่อทำให้โลกปราศจากอาวุธนิวเคลียร์ (คลินอ่านรายละเอียด)

หลังได้รับรางวัลโอบามา ออกมาแสดงความรู้สึกประหลาดใจ และระบุว่ายังไม่แน่ใจว่าสมควรได้รับหรือไม่ อย่างไรก็ตามรู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้รับรางวัลนี้ แม้เพิ่งดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐได้เพียง 9 เดือน

ประธานาธิบดีโอบามา กล่าวที่ทำเนียบขาวว่า รางวัลนี้จะเป็นสิ่งที่โลกเรียกร้องให้ดำเนินการกับปัญหาที่ท้าทาย ซึ่งไม่อาจแก้ไขได้ด้วยตัวคนเดียวหรือเพียงประเทศเดียว ผู้นำสหรัฐฯย้ำว่า รางวัลนี้เป็นเพียงจุดเริ่มต้นของการทำงาน แลเขาถ่อมตัวว่า ตัวเองยังไม่อาจเทียบได้กับบุคคลก่อนๆ ที่นำความเปลี่ยนแปลงและได้รับรางวัลนี้

"ขอให้ผมได้ชี้แจงหน่อย ผมไม่ได้มองว่ารางวัลนี้คือเครื่องรับรองความสำเร็จของผม แต่มันคือการรับรองผู้นำอเมริกันในนามแห่งความปรารถนาของประชาชนทุกๆชาติ ด้วยความสัตย์จริง ผมไม่แน่ใจว่าผมคู่ควรที่ได้ไปอยู่เคียงข้างบุคคลสำคัญที่ก่อความเปลี่ยนแปลงหลายๆท่าน ผู้ที่คู่ควรกับรางวัลนี้หรือไม่"

รางวัลโนเบลสาขาสันติภาพในปีนี้ มีผู้ได้รับการเสนอชื่อถึง 205 คน มากเป็นประวัติการณ์ โดยมีนายกรัฐมนตรีมอร์แกน สวากิไร แห่งซิมบับเว และหู เจีย นักเคลื่อนไหวชาวจีนที่มีความเห็นไม่ลงรอยกับรัฐบาลปักกิ่ง เป็นตัวเต็งที่จะคว้ารางวัล ส่วนประธานาธิบดีโอบามาเพิ่งได้รับการเสนอชื่อจากคณะกรรมการรางวัลโนเบลเพียงไม่ถึง 2 สัปดาห์ ก่อนถึงกำหนดเส้นตายเสนอชื่อในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา

นักวิเคราะห์หลายคนมองว่าการมอบรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพแก่โอบามา เกิดขึ้นเร็วเกินไปทั้งที่เพิ่งเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯไม่ถึงปี ชี้อาจทำให้เขาถูกวิพากษ์วิจารณ์และเย้ยหยันจากฝ่ายตรงข้ามหากเขาล้มเหลวไม่สามารถทำได้ตามความคาดหวัง

พอล โรเจอร์ส ศาสตราจารย์ผู้ศึกษาด้านสันติภาพแห่งมหาวิทยาลัยแลนด์ฟอร์ดในอังกฤษ กล่าวว่านับเป็นคำตัดสินที่ "ผิดปกติ" แต่นั่นก็เป็นแบบอย่างของคณะกรรมาธิการโนเบลในความพยายามช่วยเหลือกระบวนการที่ยังไม่สิ้นสุด

โอบามา เป็นประธานาธิบดีคนที่ 3 ของสหรัฐฯที่ได้รับรางวัลสาขาสันติภาพ ระะหว่างที่ยังดำรงอยู่ในตำแหน่ง หลังจากประธานาธิบดี ธีโอดอร์ รูสเวลต์ ได้รับในปี 1906 และ ประธานาธิบดี วูดโรว์ วิลสัน ในปี 1919 อดีตประธานาธิบดีจิมมี่ คาร์เตอร์ ในปี 2002 ขณะที่อดีตรองประธานาธิบดี อัล กอร์ เพิ่งได้รับในปี 2007 จากการผลักดันแก้ปัญหาโลกร้อน

โอบามา ตามรอย ธีโอดอร์ รูสเวลต์ ที่ได้รับรางวัลนี้ ในปี 1906 และประธานาธิบดี วูดโรว์ วิลสัน ในปี 1919
บางคนมองว่า รางวัลเป็นสิ่งค้ำคอผู้นำสหรัฐฯ ไม่ให้รุกรานประเทศอื่นอีก
สถิติชาติที่เคยได้รับรางวัล
กำลังโหลดความคิดเห็น