(เก็บความจากเอเชียไทมส์ออนไลน์www.atimes.com)
Obama in showdown over Chinese tires
By Patrick Chovanec
09/09/2009
ประธานาธิบดีบารัค โอบามา แห่งสหรัฐฯ กำลังจะมาถึงจุดหมดมุก ต้องยุติความพยายามที่จะเอาใจทุกๆ ฝ่ายในทุกๆ เรื่องซึ่งเกี่ยวกับประเด็นปัญหาด้านการค้าแล้ว เมื่อพวกสหภาพแรงงานที่หนุนหลังเขาอย่างแข็งขันในระหว่างการรณรงค์หาเสียง บังคับกดดันให้ต้องมีการตัดสินใจว่าจะลงโทษขึ้นอัตราภาษีศุลกากรกับยางรถที่นำเข้าจากจีนหรือไม่ โดยที่ทางฝ่ายจีนเองก็มีกลุ่มพันธมิตรในอเมริกาคอยสนับสนุนเหมือนกัน นั่นคือพวกบริษัทโรงงานอุตสาหกรรมผลิตยางรถสหรัฐฯ
ปักกิ่ง– ระยะเวลาค่อนปีที่เข้ารับตำแหน่งในทำเนียบขาว ประธานาธิบดีบารัค โอบามา แห่งสหรัฐฯพยายามหลีกเลี่ยงการแสดงจุดยืนในประเด็นปัญหาทางการค้าเรื่อยมา แต่เห็นทีว่าเขาจะทำเช่นนั้นอีกไม่ได้แล้วเมื่อช่วงหยุดพักผ่อนฤดูร้อนของเขาสิ้นสุดลง เพราะถึงตอนนั้นเขาจำเป็นจะต้องตัดสินใจในสิ่งที่อาจถึงขั้นกลายเป็นชนวนระเบิดสงครามการค้ากับประเทศจีน
สิ่งที่กำลังเป็นประเด็นขัดแย้งอยู่ก็คือ คำร้องเรียนที่ยื่นเอาไว้ตั้งแต่เดือนเมษายน ซึ่งกล่าวหาว่ามีการนำยางรถประเภทต่างๆ ที่ผลิตในจีนเข้าสู่สหรัฐฯเพิ่มขึ้นอย่างสูงลิ่ว กรณีฟ้องร้องรายนี้จัดว่ามีมูลค่าสูงที่สุดในการฟ้องร้องประเภทเดียวกันทีเดียว โดยเกี่ยวพันกับการค้า 2,200 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ พวกเจ้าหน้าที่สหรัฐฯระดับล่างๆ ลงมาได้ออกคำตัดสินมาแล้วว่า ให้ขึ้นอัตราภาษีศุลกากรเพื่อเป็นการลงโทษกับบรรดายางรถที่นำเข้าจากจีน เริ่มต้นที่อัตรา 55% ผู้แทนการค้าสหรัฐฯ (US Trade Representative หรือ USTR) ก็ได้ยื่นข้อเสนอแนะขั้นสุดท้ายของเขาในสัปดาห์นี้ว่าเห็นชอบด้วย และโอบามาจะต้องเป็นผู้ทำการตัดสินใจขั้นท้ายสุดภายในวันที่ 17 กันยายน ว่าจะเดินหน้าดำเนินมาตรการลงโทษดังกล่าวนี้หรือไม่
ตามธรรมดาแล้ว คำร้องเรียนที่อ้างว่าได้รับความเดือดร้อนจากการค้าที่ไม่เป็นธรรม ย่อมต้องยื่นโดยพวกโรงงานอุตสาหกรรมสหรัฐฯที่กำลังต่อสู้ดิ้นรนด้วยความยากลำบาก ทว่าในกรณีนี้กลับไม่ใช่ ผู้ที่ยื่นคำร้องเรียนกลายเป็นสหภาพแรงงาน “ยูไนเต็ด สตีลเวิร์กเกอส์” (United Steelworkers) ซึ่งแม้ชื่อบ่งบอกว่าเป็นสหภาพแรงงานของคนงานเหล็กกล้า ทว่าก็เป็นตัวแทนของพวกคนงานในโรงงานผลิตยางรถในสหรัฐฯประมาณครึ่งหนึ่ง พวกเขาและองค์การแม่ของพวกเขา ซึ่งก็คือ สหพันธ์แรงงานเอเอฟแอล-ซีไอโอ (AFL-CIO) แสดงบทบาทสำคัญทีเดียวในการช่วยให้โอบามาได้รับเลือกตั้งเข้าสู่ทำเนียบขาว และทำให้พรรคเดโมแครตได้ครองเสียงข้างมากในรัฐสภา และเวลานี้พวกเขาก็กำลังวาดหวังที่จะให้เขากระทำตามคำมั่นสัญญาในตอนหาเสียงที่ว่าจะหยุดยั้งการสูญเสียตำแหน่งงานสืบเนื่องจากการเข้ามาแข่งขันของต่างชาติ
สำหรับพวกผู้ผลิตยางรถของสหรัฐฯเอง ซึ่งควรที่จะเป็นผู้ได้รับการปกป้องคุ้มครองในกรณีนี้ กลับคัดค้านการร้องเรียนที่ริเริ่มโดยฝ่ายสหภาพแรงงาน บริษัทคูเปอร์ ไทร์ แอนด์ รับเบอร์ (Cooper Tire & Rubber) ผู้ผลิตยางรถใหญ่อันดับสองของสหรัฐฯ และก็เป็นหน่วยงานในสหรัฐฯของบริษัทโตโย ไทร์ แอนด์ รับเบอร์ (Toyo Tire & Rubber) ซึ่งมีโรงงานแห่งหนึ่งตั้งอยู่ที่เมืองแอตแลนตา ไปไกลถึงขั้นยื่นรายงานสรุปอย่างเป็นทางการต่อยูเอสทีอาร์ เพื่อแสดงความไม่เห็นด้วยกับการลงโทษยางรถจากจีนด้วยซ้ำ การแสดงท่าทีคัดค้านของพวกเขาเช่นนี้ทำให้โอบามาตกอยู่ในฐานะที่อิหลักอิเหลื่อ ในเมื่อต้องพยายามที่จะปกป้องโรงงานอุตสาหกรรมอเมริกันที่ระบุออกมาอย่างชัดเจนว่าพวกเขาไม่ได้ต้องการการปกป้องคุ้มครองของเขาเลย
พวกบริษัทสหรัฐฯนั้นมองเห็นว่าทางรอดเพียงประการเดียวของพวกเขา อยู่ที่ต้องวางยุทธศาสตร์การผลิตแบบบูรณาการทั้งจากภายในสหรัฐฯเองและจากภายนอกประเทศ อันได้แก่การหันไปผลิตยางรถประเภทสำหรับใช้ทดแทน ที่เป็นยางไร้แบรนด์และมีราคาถูก ณ ประเทศจีน เป็นการเสริมรับกับพวกยางรถระดับพรีเมียมที่พวกเขาผลิตอยู่ในอเมริกา
สหรัฐฯนั้นไม่ได้มีความได้เปรียบในการแข่งขันหลงเหลืออยู่อีกแล้ว หากต้องลงไปต่อสู้ในภาคส่วนระดับล่างสุดของตลาดยางรถ และในคณะกรรมาธิการการค้าระหว่างประเทศ (International Trade Commission) ที่มีกรรมาธิการจำนวน 6 คน ก็มีอยู่ 2 คนที่ตัดสินไม่เห็นด้วยกับการลงโทษ ด้วยเหตุผลที่ว่ามันจะไม่ช่วยรักษาตำแหน่งงานให้ชาวอเมริกันแต่อย่างใด ทั้งนี้ผู้สังเกตการณ์จำนวนมากเชื่อว่า การผลิตยางรถระดับล่างๆ ราคาถูกๆ เหล่านี้ ก็แค่เพียงจะโยกย้ายไปผลิตกันในละตินอเมริกาเท่านั้น
จากการศึกษาของ ธอมัส พรูซา (Thomas Prusa) ศาสตราจารย์ทางเศรษฐศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยรัตเจอร์ส ชี้ให้เห็นด้วยซ้ำว่า ราคายางรถที่เพิ่มสูงเนื่องจากการขึ้นอัตราภาษีศุลกากรเพื่อลงโทษ อาจทำให้ผู้บริโภคชาวอเมริกันต้องจ่ายเงินเพิ่มขึ้น 600 – 700 ล้านดอลลาร์ต่อปี และทำให้รายได้ประชาชาติลดต่ำลง 250 – 300 ล้านดอลลาร์ต่อปี ขณะที่ถ้าหากมันใช้ได้ผลในการรักษาตำแหน่งงานของชาวอเมริกัน มาตรการเช่นนี้ก็จะสิ้นค่าใช่จ่ายถึง 300,000 ดอลลาร์ต่อทุกๆ ตำแหน่งงานทางโรงงานอุตสาหกรรมที่ปกป้องรักษาเอาไว้ได้ แถมยังจะทำลายตำแหน่งงานในส่วนอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องเป็นจำนวน 12 เท่าตัวของที่รักษาเอาไว้ได้อีกด้วย
การศึกษาของศาสตราจารย์พรูซาแจกแจงว่า อุตสาหกรรมยางรถของสหรัฐฯว่าจ้างคนงานจำนวน 31,242 คนเมื่อปี 2008 และการขึ้นอัตราภาษาศุลกากรให้สูงลิ่วจะรักษาตำแหน่งงานเหล่านี้เอาไว้ได้เพียงไม่กี่ร้อยตำแหน่ง ดังนั้นจึงเป็นต้นทุนที่สูงลิ่วเมื่อถัวเฉลี่ยเป็นรายตำแหน่ง เขาประมาณการด้วยว่า อัตราภาษีศุลกากรเพิ่มมากๆ กลับจะทำให้ต้องสูญเสียตำแหน่งงานไปราวๆ 25,000 ตำแหน่งในส่วนอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เป็นต้นว่า ด้านการขาย, การตลาด, และการจัดจำหน่ายและกระจายสินค้า
รายงานข่าวของพวกสื่อมวลชนมักเรียกคำร้องของสหภาพแรงงานยูไนเต็ด สตีลเวิร์กเกอส์ ว่า เป็นคำร้องในกรณีการต่อต้านการทุ่มตลาด ซึ่งไม่ถูกต้องเลย แท้ที่จริงแล้วนี่เป็นคำร้องที่ยื่นตามมาตรา 421 อันเป็นมาตราพิเศษที่มุ่งเล่นงานจีนโดยเฉพาะ และไม่ได้มีอะไรเกี่ยวข้องกับการปฏิบัติทางการค้าที่ไม่เป็นธรรมใดๆ เลย มันเป็นมาตรการแบบลัทธิกีดกันการค้าอย่างสุดๆ ขนานแท้ เมื่อสมัยคณะรัฐบาลอดีตประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู บุช ได้เคยพิจารณาคำร้องตามมาตรา 421 นี้รวม 7 รายและก็ปฏิเสธไม่ดำเนินการทั้ง 7 ราย หลังจากมีข้อสรุปว่าการใช้มาตรการลงโทษจะสร้างความเสียหายให้แก่ผลประโยชน์ในแวดวงอันกว้างขวางกว่าของประเทศชาติ ถ้าหากโอบามาจะกลับหัวกลับหางแนวทางการปฏิบัติในเรื่องนี้ ก็จะกลายเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่และก่อให้เกิดผลเสียหายในนโยบายด้านการค้าของสหรัฐฯทีเดียว
ข้อพิพาทเรื่องยางรถนี้กำลังเป็นประเด็นปัญหาที่ได้รับความสนใจกันอย่างกว้างขวางในประเทศจีน โดยได้ขึ้นเป็นข่าวหน้าหนึ่งของหนังสือพิมพ์ทั้งหลาย และพวกเจ้าหน้าที่จีนก็ประกาศว่าจะดำเนินการตอบโต้อย่างรุนแรง ถ้าหากสหรัฐฯตัดสินใจขึ้นภาษีศุลกากร พวกเขามองเรื่องนี้ว่าเป็นการที่ฝ่ายอเมริกันทรยศหักหลังต่อคำมั่นสัญญาเรื่องการค้าเสรี และก็เป็นการหักมุมแบบน่าสังเวชต่อการที่สหรัฐฯใช้ความพยายามอย่างเหลือเกินเพื่อเปิดตลาดจีนโดยอ้างเรื่องการค้าเสรี
ตัวอย่างเช่น เว็บไซต์ของ “ไชน่า เดลี่” (China Daily) หนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษของทางการจีน รายงานข่าวเอาไว้ว่า “พวกสหภาพแรงงานเป็นปัจจัยทางการเมืองที่สำคัญและมีบทบาทมากของประธานาธิบดีผู้เพิ่งครองอำนาจมาได้ค่อนปีผู้นี้ โดยมีรายงานว่าได้บริจาคเงินประมาณ 400 ล้านดอลลาร์ให้แก่การรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งของเขา”
“เขา(โอบามา)จะต้องหาจุดสมดุลให้แก่ผลประโยชน์ของทั้งสองส่วน [ส่วนของความสัมพันธ์จีน-สหรัฐฯ และส่วนของพวกสหภาพแรงงาน] และทำให้ทั้งสองส่วนต่างก็พึงพอใจ” รายงานข่าวชิ้นนี้อ้างคำพูดของศาสตราจารย์ หวังหลงจวิน แห่งสถาบันอเมริกันศึกษา (Institute of American Studies) ของบัณฑิตสถานทางสังคมศาสตร์แห่งประเทศจีน (Chinese Academy of Social Sciences) “มันเป็นเกมของสติปัญญา การตัดสินใจในเรื่องนี้มีความสำคัญมากในเชิงสัญลักษณ์”
พวกโรงงานผลิตยางรถของจีน “โดยส่วนใหญ่แล้วไม่ได้แข่งขันกับทางโรงงานผลิตยางรถอเมริกันในสหรัฐฯ” หากแต่พุ่งเป้าไปที่ “ตลาดยางรถแบบราคาถูกและไม่มีแบรนด์ที่สามารถใช้ทดแทนยางรถมีแบรนด์ได้ ซึ่งเหมาะสำหรับพวกผู้บริโภคสหรัฐฯที่มีความจำกัดในเรื่องงบประมาณอย่างรุนแรง” ดังนั้น นี่จึงเป็นภาคส่วนตลาดที่พวกผู้ผลิตยางสหรัฐฯ “ทอดทิ้งไปตั้งนานแล้ว และไม่ได้ปรารถนาเลยที่จะกลับเข้าไปอีก” รายงานข่าวชิ้นนี้บอก โดยอ้างข้อความของหนังสือฉบับหนึ่ง ที่หอการค้าของผู้นำเข้าและผู้ส่งออกด้านโลหะ, แร่, และเคมีภัณฑ์แห่งประเทศจีน (China Chamber of Commerce of Metals, Minerals & Chemicals Importers & Exporters) ส่งถึงโอบามา
นอกจากนั้นการนำเข้ายางรถจีนไปยังสหรัฐฯ ก็ไม่ได้กำลังพุ่งทะยานขึ้นอย่างฉับพลันทันใดอะไรเลย โดยที่เพิ่มขึ้นเพียง 2.7%ในปีที่แล้ว และกำลังหดตัวลงในไตรมาสแรกปีนี้ด้วยซ้ำ รายงานข่าวของไชน่า เดลี่ระบุ นอกจากนั้น รายงานข่าวชิ้นนี้ยังหยิบยกเอาตัวเลขอีกด้านหนึ่งที่ตัดแย้งกันเป็นตรงกันข้ามมาเสนอต่อผู้อ่าน นั่นก็คือ ในรอบ 6 เดือนแรกของปีนี้ จีนนำเข้ารถยนต์จากสหรัฐฯเป็นมูลค่ากว่า 1,000 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 9.1% จากระยะเดียวกันของปีที่แล้ว
จีนไม่ได้เป็นประเทศเดียวที่กำลังเฝ้ามองดูเรื่องนี้ด้วยความสนอกสนใจยิ่ง ยังมีเกาหลีใต้, โคลอมเบีย, และปานามา ที่ล้วนแล้วแต่ได้ลงนามในข้อตกลงการค้าเสรีกับสหรัฐฯไปแล้ว และกำลังคอยให้โอบามาตัดสินใจเสนอข้อตกลงเหล่านั้นไปให้รัฐสภารับรองให้สัตยาบัน ประเทศเหล่านี้รวมทั้งคู่ค้าอื่นๆ ของสหรัฐฯต่างกำลังรอดูสัญญาณต่างๆ ซึ่งจะบ่งบอกให้ทราบว่าพวกเขาเองจะได้รับการปฏิบัติอย่างไรจากคณะรัฐบาลสหรัฐฯชุดนี้
แม้กระทั่งในระหว่างการหาเสียงชิงตำแหน่งประธานาธิบดี โอบามาก็ยังพยายามทำให้ตนเองได้ประโยชน์จากทั้งสองฝ่ายในประเด็นทางด้านการค้า เป็นต้นว่า ตอนช่วงหาเสียงตามมลรัฐต่างๆ เพื่อชิงชัยเป็นผู้สมัครของพรรคเดโมแครต เขาเคยพูดปราศรัยในที่ชุมนุมตามมลรัฐที่มีคนงานอุตสาหกรรมเป็นฐานเสียงสำคัญ ว่าหากได้รับเลือกตั้ง เขาจะเปิดการเจรจาเรื่องข้อตกลงการค้าเสรีอเมริกาเหนือ (North America Free Trade Agreement หรือ NAFTA) กันใหม่ (นอกเหนือจากสหรัฐฯแล้ว อีก 2 ชาติที่เป็นสมาชิกอยู่ในนาฟตา ได้แก่ แคนาดา และเม็กซิโก) แต่แล้วในเวลาเดียวกัน พวกที่ปรึกษาของเขาก็โทรศัพท์ไปถึงสถานเอกอัครราชทูตแคนาดาอย่างเงียบๆ เพื่อทำให้ฝ่ายแคนาดามั่นใจว่าเขาไม่ได้หมายความว่าจะทำเช่นนั้นจริงๆ
เขายังได้ให้สัญญากับพวกผู้สนับสนุนที่เป็นสหภาพแรงงานว่า เขาจะเล่นงานจีนในด้านการค้า แต่กลับบอกกับคณะผู้แทนฝ่ายจีนในการประชุมสนทนาทางยุทธศาสตร์และเศรษฐกิจ (Strategic and Economic Dialogue หรือ S&ED) เมื่อเร็วๆ นี้ว่า เขาต้องการที่จะทำงานร่วมกับฝ่ายจีนในฐานะที่เป็นหุ้นส่วนที่มีคุณค่า
อย่างไรก็ตาม ในที่สุดเมื่อมาถึงตอนนี้ มันก็ถึงเวลาที่จะต้องตัดสินใจกันแล้ว คงต้องมีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งซึ่งจะเดินจากไปอย่างไม่พอใจ ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายพันธมิตรสหภาพแรงงานของเขา หรือจะเป็นฝ่ายพวกผู้สร้างงานชาวอเมริกันและพวกหุ้นส่วนการค้ารายสำคัญๆ ของสหรัฐฯ แล้วโลกก็จะได้ทราบกันเสียทีว่า จริงๆ แล้วโอบามามีจุดยืนอย่างไรในเรื่องการค้า
แพทริก โชวาเนก เป็นรองศาสตราจารย์ แห่งคณะเศรษฐศาสตร์และการบริหาร มหาวิทยาลัยชิงหวา กรุงปักกิ่ง, ประเทศจีน เขาสอนในวิชาว่าด้วยความสัมพันธ์สหรัฐฯ-จีน
Obama in showdown over Chinese tires
By Patrick Chovanec
09/09/2009
ประธานาธิบดีบารัค โอบามา แห่งสหรัฐฯ กำลังจะมาถึงจุดหมดมุก ต้องยุติความพยายามที่จะเอาใจทุกๆ ฝ่ายในทุกๆ เรื่องซึ่งเกี่ยวกับประเด็นปัญหาด้านการค้าแล้ว เมื่อพวกสหภาพแรงงานที่หนุนหลังเขาอย่างแข็งขันในระหว่างการรณรงค์หาเสียง บังคับกดดันให้ต้องมีการตัดสินใจว่าจะลงโทษขึ้นอัตราภาษีศุลกากรกับยางรถที่นำเข้าจากจีนหรือไม่ โดยที่ทางฝ่ายจีนเองก็มีกลุ่มพันธมิตรในอเมริกาคอยสนับสนุนเหมือนกัน นั่นคือพวกบริษัทโรงงานอุตสาหกรรมผลิตยางรถสหรัฐฯ
ปักกิ่ง– ระยะเวลาค่อนปีที่เข้ารับตำแหน่งในทำเนียบขาว ประธานาธิบดีบารัค โอบามา แห่งสหรัฐฯพยายามหลีกเลี่ยงการแสดงจุดยืนในประเด็นปัญหาทางการค้าเรื่อยมา แต่เห็นทีว่าเขาจะทำเช่นนั้นอีกไม่ได้แล้วเมื่อช่วงหยุดพักผ่อนฤดูร้อนของเขาสิ้นสุดลง เพราะถึงตอนนั้นเขาจำเป็นจะต้องตัดสินใจในสิ่งที่อาจถึงขั้นกลายเป็นชนวนระเบิดสงครามการค้ากับประเทศจีน
สิ่งที่กำลังเป็นประเด็นขัดแย้งอยู่ก็คือ คำร้องเรียนที่ยื่นเอาไว้ตั้งแต่เดือนเมษายน ซึ่งกล่าวหาว่ามีการนำยางรถประเภทต่างๆ ที่ผลิตในจีนเข้าสู่สหรัฐฯเพิ่มขึ้นอย่างสูงลิ่ว กรณีฟ้องร้องรายนี้จัดว่ามีมูลค่าสูงที่สุดในการฟ้องร้องประเภทเดียวกันทีเดียว โดยเกี่ยวพันกับการค้า 2,200 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ พวกเจ้าหน้าที่สหรัฐฯระดับล่างๆ ลงมาได้ออกคำตัดสินมาแล้วว่า ให้ขึ้นอัตราภาษีศุลกากรเพื่อเป็นการลงโทษกับบรรดายางรถที่นำเข้าจากจีน เริ่มต้นที่อัตรา 55% ผู้แทนการค้าสหรัฐฯ (US Trade Representative หรือ USTR) ก็ได้ยื่นข้อเสนอแนะขั้นสุดท้ายของเขาในสัปดาห์นี้ว่าเห็นชอบด้วย และโอบามาจะต้องเป็นผู้ทำการตัดสินใจขั้นท้ายสุดภายในวันที่ 17 กันยายน ว่าจะเดินหน้าดำเนินมาตรการลงโทษดังกล่าวนี้หรือไม่
ตามธรรมดาแล้ว คำร้องเรียนที่อ้างว่าได้รับความเดือดร้อนจากการค้าที่ไม่เป็นธรรม ย่อมต้องยื่นโดยพวกโรงงานอุตสาหกรรมสหรัฐฯที่กำลังต่อสู้ดิ้นรนด้วยความยากลำบาก ทว่าในกรณีนี้กลับไม่ใช่ ผู้ที่ยื่นคำร้องเรียนกลายเป็นสหภาพแรงงาน “ยูไนเต็ด สตีลเวิร์กเกอส์” (United Steelworkers) ซึ่งแม้ชื่อบ่งบอกว่าเป็นสหภาพแรงงานของคนงานเหล็กกล้า ทว่าก็เป็นตัวแทนของพวกคนงานในโรงงานผลิตยางรถในสหรัฐฯประมาณครึ่งหนึ่ง พวกเขาและองค์การแม่ของพวกเขา ซึ่งก็คือ สหพันธ์แรงงานเอเอฟแอล-ซีไอโอ (AFL-CIO) แสดงบทบาทสำคัญทีเดียวในการช่วยให้โอบามาได้รับเลือกตั้งเข้าสู่ทำเนียบขาว และทำให้พรรคเดโมแครตได้ครองเสียงข้างมากในรัฐสภา และเวลานี้พวกเขาก็กำลังวาดหวังที่จะให้เขากระทำตามคำมั่นสัญญาในตอนหาเสียงที่ว่าจะหยุดยั้งการสูญเสียตำแหน่งงานสืบเนื่องจากการเข้ามาแข่งขันของต่างชาติ
สำหรับพวกผู้ผลิตยางรถของสหรัฐฯเอง ซึ่งควรที่จะเป็นผู้ได้รับการปกป้องคุ้มครองในกรณีนี้ กลับคัดค้านการร้องเรียนที่ริเริ่มโดยฝ่ายสหภาพแรงงาน บริษัทคูเปอร์ ไทร์ แอนด์ รับเบอร์ (Cooper Tire & Rubber) ผู้ผลิตยางรถใหญ่อันดับสองของสหรัฐฯ และก็เป็นหน่วยงานในสหรัฐฯของบริษัทโตโย ไทร์ แอนด์ รับเบอร์ (Toyo Tire & Rubber) ซึ่งมีโรงงานแห่งหนึ่งตั้งอยู่ที่เมืองแอตแลนตา ไปไกลถึงขั้นยื่นรายงานสรุปอย่างเป็นทางการต่อยูเอสทีอาร์ เพื่อแสดงความไม่เห็นด้วยกับการลงโทษยางรถจากจีนด้วยซ้ำ การแสดงท่าทีคัดค้านของพวกเขาเช่นนี้ทำให้โอบามาตกอยู่ในฐานะที่อิหลักอิเหลื่อ ในเมื่อต้องพยายามที่จะปกป้องโรงงานอุตสาหกรรมอเมริกันที่ระบุออกมาอย่างชัดเจนว่าพวกเขาไม่ได้ต้องการการปกป้องคุ้มครองของเขาเลย
พวกบริษัทสหรัฐฯนั้นมองเห็นว่าทางรอดเพียงประการเดียวของพวกเขา อยู่ที่ต้องวางยุทธศาสตร์การผลิตแบบบูรณาการทั้งจากภายในสหรัฐฯเองและจากภายนอกประเทศ อันได้แก่การหันไปผลิตยางรถประเภทสำหรับใช้ทดแทน ที่เป็นยางไร้แบรนด์และมีราคาถูก ณ ประเทศจีน เป็นการเสริมรับกับพวกยางรถระดับพรีเมียมที่พวกเขาผลิตอยู่ในอเมริกา
สหรัฐฯนั้นไม่ได้มีความได้เปรียบในการแข่งขันหลงเหลืออยู่อีกแล้ว หากต้องลงไปต่อสู้ในภาคส่วนระดับล่างสุดของตลาดยางรถ และในคณะกรรมาธิการการค้าระหว่างประเทศ (International Trade Commission) ที่มีกรรมาธิการจำนวน 6 คน ก็มีอยู่ 2 คนที่ตัดสินไม่เห็นด้วยกับการลงโทษ ด้วยเหตุผลที่ว่ามันจะไม่ช่วยรักษาตำแหน่งงานให้ชาวอเมริกันแต่อย่างใด ทั้งนี้ผู้สังเกตการณ์จำนวนมากเชื่อว่า การผลิตยางรถระดับล่างๆ ราคาถูกๆ เหล่านี้ ก็แค่เพียงจะโยกย้ายไปผลิตกันในละตินอเมริกาเท่านั้น
จากการศึกษาของ ธอมัส พรูซา (Thomas Prusa) ศาสตราจารย์ทางเศรษฐศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยรัตเจอร์ส ชี้ให้เห็นด้วยซ้ำว่า ราคายางรถที่เพิ่มสูงเนื่องจากการขึ้นอัตราภาษีศุลกากรเพื่อลงโทษ อาจทำให้ผู้บริโภคชาวอเมริกันต้องจ่ายเงินเพิ่มขึ้น 600 – 700 ล้านดอลลาร์ต่อปี และทำให้รายได้ประชาชาติลดต่ำลง 250 – 300 ล้านดอลลาร์ต่อปี ขณะที่ถ้าหากมันใช้ได้ผลในการรักษาตำแหน่งงานของชาวอเมริกัน มาตรการเช่นนี้ก็จะสิ้นค่าใช่จ่ายถึง 300,000 ดอลลาร์ต่อทุกๆ ตำแหน่งงานทางโรงงานอุตสาหกรรมที่ปกป้องรักษาเอาไว้ได้ แถมยังจะทำลายตำแหน่งงานในส่วนอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องเป็นจำนวน 12 เท่าตัวของที่รักษาเอาไว้ได้อีกด้วย
การศึกษาของศาสตราจารย์พรูซาแจกแจงว่า อุตสาหกรรมยางรถของสหรัฐฯว่าจ้างคนงานจำนวน 31,242 คนเมื่อปี 2008 และการขึ้นอัตราภาษาศุลกากรให้สูงลิ่วจะรักษาตำแหน่งงานเหล่านี้เอาไว้ได้เพียงไม่กี่ร้อยตำแหน่ง ดังนั้นจึงเป็นต้นทุนที่สูงลิ่วเมื่อถัวเฉลี่ยเป็นรายตำแหน่ง เขาประมาณการด้วยว่า อัตราภาษีศุลกากรเพิ่มมากๆ กลับจะทำให้ต้องสูญเสียตำแหน่งงานไปราวๆ 25,000 ตำแหน่งในส่วนอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เป็นต้นว่า ด้านการขาย, การตลาด, และการจัดจำหน่ายและกระจายสินค้า
รายงานข่าวของพวกสื่อมวลชนมักเรียกคำร้องของสหภาพแรงงานยูไนเต็ด สตีลเวิร์กเกอส์ ว่า เป็นคำร้องในกรณีการต่อต้านการทุ่มตลาด ซึ่งไม่ถูกต้องเลย แท้ที่จริงแล้วนี่เป็นคำร้องที่ยื่นตามมาตรา 421 อันเป็นมาตราพิเศษที่มุ่งเล่นงานจีนโดยเฉพาะ และไม่ได้มีอะไรเกี่ยวข้องกับการปฏิบัติทางการค้าที่ไม่เป็นธรรมใดๆ เลย มันเป็นมาตรการแบบลัทธิกีดกันการค้าอย่างสุดๆ ขนานแท้ เมื่อสมัยคณะรัฐบาลอดีตประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู บุช ได้เคยพิจารณาคำร้องตามมาตรา 421 นี้รวม 7 รายและก็ปฏิเสธไม่ดำเนินการทั้ง 7 ราย หลังจากมีข้อสรุปว่าการใช้มาตรการลงโทษจะสร้างความเสียหายให้แก่ผลประโยชน์ในแวดวงอันกว้างขวางกว่าของประเทศชาติ ถ้าหากโอบามาจะกลับหัวกลับหางแนวทางการปฏิบัติในเรื่องนี้ ก็จะกลายเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่และก่อให้เกิดผลเสียหายในนโยบายด้านการค้าของสหรัฐฯทีเดียว
ข้อพิพาทเรื่องยางรถนี้กำลังเป็นประเด็นปัญหาที่ได้รับความสนใจกันอย่างกว้างขวางในประเทศจีน โดยได้ขึ้นเป็นข่าวหน้าหนึ่งของหนังสือพิมพ์ทั้งหลาย และพวกเจ้าหน้าที่จีนก็ประกาศว่าจะดำเนินการตอบโต้อย่างรุนแรง ถ้าหากสหรัฐฯตัดสินใจขึ้นภาษีศุลกากร พวกเขามองเรื่องนี้ว่าเป็นการที่ฝ่ายอเมริกันทรยศหักหลังต่อคำมั่นสัญญาเรื่องการค้าเสรี และก็เป็นการหักมุมแบบน่าสังเวชต่อการที่สหรัฐฯใช้ความพยายามอย่างเหลือเกินเพื่อเปิดตลาดจีนโดยอ้างเรื่องการค้าเสรี
ตัวอย่างเช่น เว็บไซต์ของ “ไชน่า เดลี่” (China Daily) หนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษของทางการจีน รายงานข่าวเอาไว้ว่า “พวกสหภาพแรงงานเป็นปัจจัยทางการเมืองที่สำคัญและมีบทบาทมากของประธานาธิบดีผู้เพิ่งครองอำนาจมาได้ค่อนปีผู้นี้ โดยมีรายงานว่าได้บริจาคเงินประมาณ 400 ล้านดอลลาร์ให้แก่การรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งของเขา”
“เขา(โอบามา)จะต้องหาจุดสมดุลให้แก่ผลประโยชน์ของทั้งสองส่วน [ส่วนของความสัมพันธ์จีน-สหรัฐฯ และส่วนของพวกสหภาพแรงงาน] และทำให้ทั้งสองส่วนต่างก็พึงพอใจ” รายงานข่าวชิ้นนี้อ้างคำพูดของศาสตราจารย์ หวังหลงจวิน แห่งสถาบันอเมริกันศึกษา (Institute of American Studies) ของบัณฑิตสถานทางสังคมศาสตร์แห่งประเทศจีน (Chinese Academy of Social Sciences) “มันเป็นเกมของสติปัญญา การตัดสินใจในเรื่องนี้มีความสำคัญมากในเชิงสัญลักษณ์”
พวกโรงงานผลิตยางรถของจีน “โดยส่วนใหญ่แล้วไม่ได้แข่งขันกับทางโรงงานผลิตยางรถอเมริกันในสหรัฐฯ” หากแต่พุ่งเป้าไปที่ “ตลาดยางรถแบบราคาถูกและไม่มีแบรนด์ที่สามารถใช้ทดแทนยางรถมีแบรนด์ได้ ซึ่งเหมาะสำหรับพวกผู้บริโภคสหรัฐฯที่มีความจำกัดในเรื่องงบประมาณอย่างรุนแรง” ดังนั้น นี่จึงเป็นภาคส่วนตลาดที่พวกผู้ผลิตยางสหรัฐฯ “ทอดทิ้งไปตั้งนานแล้ว และไม่ได้ปรารถนาเลยที่จะกลับเข้าไปอีก” รายงานข่าวชิ้นนี้บอก โดยอ้างข้อความของหนังสือฉบับหนึ่ง ที่หอการค้าของผู้นำเข้าและผู้ส่งออกด้านโลหะ, แร่, และเคมีภัณฑ์แห่งประเทศจีน (China Chamber of Commerce of Metals, Minerals & Chemicals Importers & Exporters) ส่งถึงโอบามา
นอกจากนั้นการนำเข้ายางรถจีนไปยังสหรัฐฯ ก็ไม่ได้กำลังพุ่งทะยานขึ้นอย่างฉับพลันทันใดอะไรเลย โดยที่เพิ่มขึ้นเพียง 2.7%ในปีที่แล้ว และกำลังหดตัวลงในไตรมาสแรกปีนี้ด้วยซ้ำ รายงานข่าวของไชน่า เดลี่ระบุ นอกจากนั้น รายงานข่าวชิ้นนี้ยังหยิบยกเอาตัวเลขอีกด้านหนึ่งที่ตัดแย้งกันเป็นตรงกันข้ามมาเสนอต่อผู้อ่าน นั่นก็คือ ในรอบ 6 เดือนแรกของปีนี้ จีนนำเข้ารถยนต์จากสหรัฐฯเป็นมูลค่ากว่า 1,000 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 9.1% จากระยะเดียวกันของปีที่แล้ว
จีนไม่ได้เป็นประเทศเดียวที่กำลังเฝ้ามองดูเรื่องนี้ด้วยความสนอกสนใจยิ่ง ยังมีเกาหลีใต้, โคลอมเบีย, และปานามา ที่ล้วนแล้วแต่ได้ลงนามในข้อตกลงการค้าเสรีกับสหรัฐฯไปแล้ว และกำลังคอยให้โอบามาตัดสินใจเสนอข้อตกลงเหล่านั้นไปให้รัฐสภารับรองให้สัตยาบัน ประเทศเหล่านี้รวมทั้งคู่ค้าอื่นๆ ของสหรัฐฯต่างกำลังรอดูสัญญาณต่างๆ ซึ่งจะบ่งบอกให้ทราบว่าพวกเขาเองจะได้รับการปฏิบัติอย่างไรจากคณะรัฐบาลสหรัฐฯชุดนี้
แม้กระทั่งในระหว่างการหาเสียงชิงตำแหน่งประธานาธิบดี โอบามาก็ยังพยายามทำให้ตนเองได้ประโยชน์จากทั้งสองฝ่ายในประเด็นทางด้านการค้า เป็นต้นว่า ตอนช่วงหาเสียงตามมลรัฐต่างๆ เพื่อชิงชัยเป็นผู้สมัครของพรรคเดโมแครต เขาเคยพูดปราศรัยในที่ชุมนุมตามมลรัฐที่มีคนงานอุตสาหกรรมเป็นฐานเสียงสำคัญ ว่าหากได้รับเลือกตั้ง เขาจะเปิดการเจรจาเรื่องข้อตกลงการค้าเสรีอเมริกาเหนือ (North America Free Trade Agreement หรือ NAFTA) กันใหม่ (นอกเหนือจากสหรัฐฯแล้ว อีก 2 ชาติที่เป็นสมาชิกอยู่ในนาฟตา ได้แก่ แคนาดา และเม็กซิโก) แต่แล้วในเวลาเดียวกัน พวกที่ปรึกษาของเขาก็โทรศัพท์ไปถึงสถานเอกอัครราชทูตแคนาดาอย่างเงียบๆ เพื่อทำให้ฝ่ายแคนาดามั่นใจว่าเขาไม่ได้หมายความว่าจะทำเช่นนั้นจริงๆ
เขายังได้ให้สัญญากับพวกผู้สนับสนุนที่เป็นสหภาพแรงงานว่า เขาจะเล่นงานจีนในด้านการค้า แต่กลับบอกกับคณะผู้แทนฝ่ายจีนในการประชุมสนทนาทางยุทธศาสตร์และเศรษฐกิจ (Strategic and Economic Dialogue หรือ S&ED) เมื่อเร็วๆ นี้ว่า เขาต้องการที่จะทำงานร่วมกับฝ่ายจีนในฐานะที่เป็นหุ้นส่วนที่มีคุณค่า
อย่างไรก็ตาม ในที่สุดเมื่อมาถึงตอนนี้ มันก็ถึงเวลาที่จะต้องตัดสินใจกันแล้ว คงต้องมีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งซึ่งจะเดินจากไปอย่างไม่พอใจ ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายพันธมิตรสหภาพแรงงานของเขา หรือจะเป็นฝ่ายพวกผู้สร้างงานชาวอเมริกันและพวกหุ้นส่วนการค้ารายสำคัญๆ ของสหรัฐฯ แล้วโลกก็จะได้ทราบกันเสียทีว่า จริงๆ แล้วโอบามามีจุดยืนอย่างไรในเรื่องการค้า
แพทริก โชวาเนก เป็นรองศาสตราจารย์ แห่งคณะเศรษฐศาสตร์และการบริหาร มหาวิทยาลัยชิงหวา กรุงปักกิ่ง, ประเทศจีน เขาสอนในวิชาว่าด้วยความสัมพันธ์สหรัฐฯ-จีน