(เก็บความจากเอเชียไทมส์ออนไลน์www.atimes.com)
Washington’s Afghan clock ticking
By Daniel Luban
02/09/2009
ขณะที่เสียงสนับสนุนของชาวอเมริกันต่อการทำสงครามในอัฟกานิสถาน กำลังอยู่ในระดับต่ำสุดเท่าที่เคยมีมา ก็มีผู้รอบรู้คนสำคัญของฝ่ายขวาออกมาเรียกร้องให้วอชิงตันถอนตัวออกจากประเทศนั้น การแสดงความคิดเห็นของเขาไม่ผิดอะไรกับการเรียกลมพายุลูกใหญ่เข้ามาซัดกระหน่ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในความรู้สึกของพวกหมู่เพื่อนสายเหยี่ยวของเขาเอง ทางด้านประธานาธิบดีบารัค โอบามา นั้นอาจจะกำลังพิจารณาที่จะดำเนินการไปในทิศทางตรงกันข้าม นั่นคือจะเพิ่มกำลังทหารเข้าไปในอัฟกานิสถานให้มากขึ้นด้วยซ้ำ กระนั้นก็ตามที เขาก็จำเป็นจะต้องทำให้นโยบายของเขาบังเกิดผลลัพธ์ที่เป็นจริงเป็นจังขึ้นมาให้ได้ และต้องทำให้เกิดผลกันเร็วๆ ด้วย
วอชิงตัน – ผู้รอบรู้คนสำคัญของฝ่ายขวาผู้หนึ่ง เพิ่งออกมาเรียกร้องให้สหรัฐฯถอนกำลังทหารออกจากอัฟกานิสถาน มันคือสัญญาณล่าสุดที่สะท้อนให้เห็นข้อเท็จจริงที่ว่า ภายในสหรัฐฯกำลังหมดความสนใจลงเรื่อยๆ เกี่ยวกับสงครามในสมรภูมิแห่งนั้น
ในข้อเขียนประจำฉบับวันอังคาร(1)ที่ผ่านมาของเขา จอร์จ เอฟ วิลล์ (George F Will) คอลัมนิสต์ของหนังสือพิมพ์วอชิงตันโพสต์ ตั้งชื่อเรื่องเอาไว้อย่างตรงไปตรงมาว่า "Time to Get Out of Afghanistan" (ถึงเวลาที่จะถอนตัวจากอัฟกานิสถานแล้ว) และก็ถูกพวกนักวิเคราะห์ข่าวสายเหยี่ยวรุมโจมตีเอาอย่างหนักหน่วง
ถึงแม้ในระยะหลังๆ มานี้ มีนักวิเคราะห์จำนวนเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ที่ตั้งคำถามเอากับเส้นทางการทำสงครามในอัฟกานิสถาน แต่สิ่งที่วิลล์เขียนเอาไว้ในคอลัมน์คราวนี้ก็ถือว่าโดดเด่นเตะตาเป็นพิเศษอยู่ดี เพราะมันมาจากเสาหลักเสาหนึ่งของสื่อมวลชนฝ่ายขวาอันทรงอำนาจอิทธิพลในกรุงวอชิงตัน และทำให้เสียงเรียกร้องให้ถอนทหารของเขา ยากยิ่งที่จะบอกปัดไม่ใยดีโดยเพียงระบุว่าเป็นผลิตผลของอารมณ์ต่อต้านสงครามแบบเสรีนิยม
อันที่จริง เสียงสนับสนุนสงครามคราวนี้ในหมู่สาธารณชนชาวอเมริกันก็กำลังลดฮวบฮาบในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา โดยตามผลการสำรวจหยั่งเสียงในเดือนสิงหาคมของวอชิงตันโพสต์-เอบีซีนิวส์ ผู้ตอบคำถามถึง 51% ทีเดียวเชื่อว่าไม่คุ้มค่าที่จะสู้รบในสงครามนี้
การเรียกร้องของวิลล์ที่ให้สหรัฐฯถอนทหารออกมา บังเกิดขึ้นในช่วงจังหวะเวลาที่คณะรัฐบาลบารัค โอบามา ดูเหมือนกำลังเอนเอียงไปในทางที่จะไต่บันไดเพิ่มความพยายามทำสงครามให้เข้มข้นขึ้นกว่าเดิม
ตามรายงานข่าวของสื่อมวลชน เมื่อวันจันทร์(31ก.ค.) พล.อ.สแตนลีย์ แมคคริสตัล (Stanley McChrystal) ผู้บัญชาการทหารสหรัฐฯในอัฟกานิสถาน ได้เสนอรายงานลับประเมินสงครามคราวนี้ โดยที่มีข้อเรียกร้องให้ปรับเปลี่ยนยุทธศาสตร์ทางภาคพื้นดินกันเสียใหม่ รายงานฉบับนี้ของแมคคริสตัล เป็นที่จับตามองกันอย่างกว้างขวางว่า เป็นการปูพื้นให้แก่การเพิ่มทหารสหรัฐฯเข้าไปในอัฟกานิสถาน เพื่อสมทบกับจำนวน 68,000 คนที่ประจำการอยู่ที่นั่นแล้วในเวลานี้
แต่วิลล์กลับกำลังเสนอให้ทำสิ่งตรงกันข้าม โดยเรียกร้องให้ “เร่งพลิกกลับเส้นทางโคจรของการเข้าไปพัวพันอยู่ในอัฟกานิสถานของอเมริกา” ด้วยการลดกำลังทหารลงเป็นจำนวนมาก
วิลล์บอกว่าแทนที่จะใช้ความพยายามอย่างเต็มที่เพื่อกระทำสิ่งที่เป็นภารกิจแห่งการสร้างชาติ (nation-building) ซึ่งเขาตราหน้าว่าเป็นภารกิจที่ “เป็นไปไม่ได้” เขาเสนอว่าควรที่จะดำเนินยุทธศาสตร์อีกอย่างหนึ่งมากกว่า นั่นคือ “อเมริกาควรกระทำแค่สิ่งที่สามารถกระทำได้ลักษณะที่ตัวเองอยู่นอกชายฝั่งไม่ต้องขึ้นไปบนบก แล้วด้วยการพึ่งพาอาศัยข่าวกรอง, เครื่องบินแบบไร้นักบิน, ขีปนาวุธลาดตระเวน, การโจมตีทางอากาศ, และทหารรบพิเศษหน่วยเล็กๆแต่ทรงประสิทธิภาพ” เข้าทำการโจมตีพวกอัลกออิดะห์และกลุ่มผู้ก่อการร้ายกลุ่มอื่นๆ
เขาอ้างรายงานประมาณการที่ระบุว่า รัฐบาลอัฟกันสามารถควบคุมพื้นที่ได้เพียงแค่หนึ่งในสามของประเทศ และเขียนเย้ยหยันความพยายามที่จะกำจัดการค้าฝิ่นในอัฟกานิสถานว่าเป็น “ปฏิบัติการซิสซิฟัส” (Operation Sisyphus) ตามชื่อของ “ซิสซิฟัส” ตัวละครในเทพนิยายกรีก ผู้ถูกสาปให้ผลักก้อนหินยักษ์ขึ้นภูเขา แต่พอใกล้จะถึงยอดเขา ก้อนหินก็จะไหลกลิ้งลงมาอีก เขาจึงจะต้องทำงานที่ไม่มีวันสำเร็จนี้ไปตลอดกาล
เป็นเรื่องที่คาดหมายได้อยู่แล้วว่า การเรียกร้องให้ถอนตัวของวิลล์ต้องกระตุ้นให้เกิดการตอบโต้อย่างทันควันและดุเดือด ทั้งจากพวกอนุรักษนิยมใหม่ (neo-conservative) และพวกสายเหยี่ยวปีกขวาอื่นๆ
“มันเป็นข้อเขียนซึ่งเหมือนกับเขียนด้วยภาษาญี่ปุ่นบนเรือรบยูเอสเอส มิสซูรี” ปีเตอร์ เวห์เนอร์ (Peter Wehner) อดีตเจ้าหน้าที่ในคณะรัฐบาลจอร์จ ดับเบิลยู บุช เขียนเอาไว้ในเว็บไซต์ของนิตยสาร คอมเมนทารี (Commentary) ทั้งนี้เขากำลังเหน็บแนมเปรียบเทียบถึงตอนที่คณะผู้แทนญี่ปุ่นลงนามในข้อตกลงยอมแพ้บนเรือรบสหรัฐฯลำดังกล่าวเมื่อตอนสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สองนั่นเอง
เวห์เนอร์เรียกวิลล์ว่า เป็น “นักลัทธิยอมจำนน” ผู้ซึ่ง “พูดจาคล้ายๆ ไมเคิล มัวร์ (Michael Moore) มากกว่า เฮนรี คิสซิงเจอร์ (Henry Kissinger)”
วิลเลียม คริสโตล (William Kristol) บรรณาธิการหัวอนุรักษนิยมใหม่ของนิตยสาร “วีกลี่ สแตนดาร์ด” (Weekly Standard) กล่าวหาวิลล์ว่า “กำลังเร่งรัดให้ถอยหนี และกำลังยอมรับความพ่ายแพ้”
และ เฟรเดอริก คาแกน (Frederick Kagan) นักประวัติศาสตร์การทหารแห่ง สถาบันวิสาหกิจอเมริกัน (American Enterprise Institute) ซึ่งกำลังกลายเป็นผู้เรียกร้องสนับสนุนระดับแนวหน้า ให้เพิ่มกำลังทหารสหรัฐฯเป็นจำนวนมากๆ เข้าไปในอัฟกานิสถาน ได้เรียกข้อเขียนของวิลล์ว่า “สมควรที่จะถูกประณาม”
แน่นอนทีเดียวว่า วิลล์มิได้เป็นบุคคลสำคัญเพียงคนเดียว ที่ตั้งคำถามเอากับความพยายามกระทำภารกิจการสร้างชาติอย่างไม่มีกำหนดสิ้นสุดและยกระดับเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ในอัฟกานิสถาน
ตัวอย่างเช่น เมื่อวันศุกร์(28ก.ค.) วุฒิสมาชิกสหรัฐฯ รัสส์ เฟนโกลด์ (Russ Feingold) แห่งมลรัฐวิสคอนซิน สังกัดพรรคเดโมแครต ก็ได้เรียกร้องให้โอบามากำหนดตารางเวลาสำหรับการถอนทหารออกจากอัฟกานิสถาน ในข้อเขียนซึ่งตีพิมพ์ในหน้าบทความของหนังสือพิมพ์วอลล์สตรีทเจอร์นัล
ทว่าพวกสายเหยี่ยวชมชอบที่จะวาดภาพพวกตั้งข้อสงสัยกับการทำสงครามทั้งหลาย ว่าเป็นคนแบบเฟนโกลด์ นั่นคือมีหัวเสรีนิยมและเป็นสายพิราบจ๋องๆ หงอๆ ฝ่ายสายเหยี่ยวพยายามนักหนาที่จะเสนอแนะว่า การคัดค้านสงครามคือปรากฏการณ์ของพวกฝ่ายซ้ายแทบจะเพียงพวกเดียวเท่านั้น และจะถูกประณามคัดค้านจากทั้งฝ่ายกลางๆ และฝ่ายขวา
“พวกอนุรักษนิยมให้ความสนับสนุนประธานาธิบดีคนที่โดยทั่วไปแล้วพวกเขาไม่ไว้วางใจเลย ก็เพราะพวกเขาคิดว่ามันเป็นเรื่องสำคัญที่ประเทศจะต้องชนะสงครามในอัฟกานิสถาน” คริสโตลเขียนเอาไว้ในวิกลี่ สแตนดาร์ด เมื่อเดือนสิงหาคม “สำหรับพวกเสรีนิยมในทุกวันนี้แล้ว พวกเขาไม่ได้ต้องการให้อเมริกาชนะสงครามอะไรทั้งนั้นไม่ใช่หรือ พวกเขาพรักพร้อม, ปรารถนา, และสามารถที่จะเห็นอเมริกาปราชัยในอัฟกานิสถาน”
แต่การที่วิลล์หันกลับมาคัดค้านสงครามคราวนี้ ยังบังเกิดขึ้นภายหลังผลการหยั่งเสียงในช่วงหลังๆ นี้ต่างแสดงให้เห็นว่า พลเมืองสหรัฐฯส่วนข้างมากคัดค้านสงครามในอัฟกานิสถาน ดังนั้นจึงยิ่งเป็นการตอกย้ำว่า ความไม่พอใจในเรื่องนี้ไม่ได้จำกัดอยู่แต่เฉพาะฝ่ายซ้ายเลย
ในทางเป็นจริงแล้ว แนวความคิดคับแคบของวิลล์เกี่ยวกับผลประโยชน์แห่งชาติของสหรัฐฯ ตลอดจนความระแวงสงสัยต่อความพยายามกระทำภารกิจการสร้างชาตินั้น แต่ไหนแต่ไรมาก็เป็นสิ่งที่ปรากฏอยู่ในหมู่พวกฝ่ายขวามากกว่าพวกฝ่ายซ้าย อย่างน้อยที่สุดก็จนกระทั่งเกิดเหตุการณ์โจมตีสหรัฐฯในวันที่ 11 กันยายน 2001
ระหว่างการโต้วาทีของ 2 ผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯในปี 2000 คำพูดหนึ่งซึ่งมีชื่อเสียงมากที่ จอร์จ ดับเบิลยู บุช ตัวแทนของพรรครีพับลิกัน ใช้โจมตี อัล กอร์ ตัวแทนของพรรคเดโมแครต ก็คือ การกล่าวหากอร์ว่า “กำลังใช้ทหารของเราไปกระทำภารกิจการสร้างชาติ”
เมื่อเกิดเหตุการณ์สหรัฐฯถูกโจมตีในวันที่ 11 กันยายน หลักการด้านนโยบายการต่างประเทศของพวกอนุรักษนิยมเหล่านี้ก็ถูกลดความสำคัญลงไป โดยที่แนวคิดแบบอนุรักษนิยมใหม่ ซึ่งมีความโน้มเอียงที่จะเป็นนักแทรกแซงกิจการประเทศอื่นๆ ด้วยความต้องการที่จะให้สหรัฐฯแสดงตนเป็น “เจ้าโลกผู้มีความเมตตากรุณา” ได้ผงาดขึ้นมาเป็นแนวคิดอันโดดเด่นที่สุดของพวกฝ่ายขวา
แต่สงครามอิรัก (ซึ่งในที่สุดแล้วคณะรัฐบาลจอร์จ ดับเบิลยู บุช ก็ได้ออกมาอ้างเหตุผลความชอบธรรมในการก่อสงครามคราวนี้ขึ้นว่า เพื่อเป็นการแสดงพลังซึ่งเป็นการส่งเสริมประชาธิปไตย) ไม่ต้องสงสัยเลยว่าได้ทำให้ทั้งสาธารณชนและทั้งพวกผู้ทรงอำนาจทางด้านนโยบายการต่างประเทศ ต่างเข็ดหลาบในเรื่องการใช้ความพยายามด้วยกำลังอาวุธเพื่อกระทำภารกิจการสร้างชาติ
วิลล์ผู้ซึ่งในช่วงแรกๆ สนับสนุนสงครามอิรัก ในเวลาต่อมาได้เรียกสงครามคราวนี้ว่า “น่าจะเป็นความหายนะทางด้านนโยบายการต่างประเทศครั้งเลวร้ายที่สุดในประวัติศาสตร์ของประเทศนี้”
และขณะที่ยังแทบไม่มีสัญญาณใดๆ เลยว่า แนวความคิดอนุรักษนิยมใหม่ใกล้ที่จะถูกเขี่ยออกจากการเป็นหลักการสำคัญที่สุดในด้านนโยบายการต่างประเทศภายในหมู่สมาชิกพรรครีพับลิกัน แต่ก็มีพวกนักอนุรักษนิยมจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ ที่ออกมาตั้งคำถามเอากับการทำสงครามในอัฟกานิสถาน
รอรี สตวร์ต (Rory Stewart) ศาสตราจารย์มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ผู้ซึ่งเมื่อไม่นานมานี้เพิ่งประกาศแผนการที่จะลงสมัครชิงตำแหน่ง ส.ส.ในประเทศอังกฤษในนามพรรคอนุรักษนิยม ได้เขียนบทความตีพิมพ์ในนิตยสาร “ลอนดอน รีวิว ออฟ บุ๊กส์” (London Review of Books) เมื่อเดือนกรกฎาคม ซึ่งก่อให้เกิดการถกเถียงกันอย่างกว้างขวาง โดยเขาแสดงความสงสัยอย่างล้ำลึกต่อความพยายามทั้งหลายทั้งปวงในการทำสงครามในอัฟกานิสถาน พร้อมกับเรียกความพยายามกระทำภารกิจการสร้างชาติในอัฟกานิสถานว่า กำลังพยายามกระทำสิ่งที่ “เป็นไปไม่ได้”
ประธานสภาว่าด้วยความสัมพันธ์ต่างประเทศ (Council on Foreign Relations)คนปัจจุบัน ริชาร์ด ฮาสส์ (Richard Haass) ซึ่งเคยทำงานให้แก่ทั้งคณะรัฐบาลของจอร์จ เอช ดับเบิลยู บุช และ จอร์จ ดับเบิลยู บุช ได้เสนอแนะเอาไว้ในหนังสือพิมพ์นิวยอร์กไทมส์เมื่อเร็วๆ นี้ว่า สงครามในอัฟกานิสถาน เป็น “สงครามที่เลือกทำหรือไม่ทำก็ได้” ไม่ใช่เป็นสงครามที่จำเป็นจะต้องทำ
ฮาสส์แนะนำให้คณะรัฐบาลโอบามาพิจารณานโยบายทางเลือกอื่นๆ โดยรวมถึงการถอนทหารทั้งหมดออกจากอัฟกานิสถานด้วย ถึงแม้เขาจะไม่ถึงกับออกมารับรองให้ใช้นโยบายเหล่านี้อย่างเต็มตัว
เวลานี้โอบามาจึงกำลังเผชิญกับการตัดสินอันยากลำบากเกี่ยวกับสงครามอัฟกานิสถาน โดยในด้านหนึ่งเขาถูกพวกสายเหยี่ยวเรียกร้องให้เพิ่มกำลังทหารและเพิ่มทรัพยากรเข้าไปในสมรภูมิแห่งนั้น แต่ในอีกด้านหนึ่งสาธารณชนทั่วไปก็กำลังให้การสนับสนุนสงครามคราวนี้ลดน้อยลงเรื่อยๆ
การเลือกตั้งประธานาธิบดีอัฟกานิสถานในวันที่ 20 สงหาคม ซึ่งมัวหมองเนื่องจากเสียงกล่าวหาเรื่องการทุจริตโกงการเลือกตั้งอย่างอึงคะนึงนั้น ก็ไม่ได้ช่วยทำอะไรให้สาธารณชนอเมริกันเกิดความเชื่อมั่นมากขึ้นเลย
ในการนับคะแนนเบื้องต้นเท่าที่เปิดเผยออกมาจนถึงเวลานี้ ประธานาธิบดีฮามิด คาร์ไซ กำลังได้คะแนนนำ ถึงแม้ยังไม่เพียงพอที่จะหลีกเลี่ยงไม่ต้องลงชิงชัยรอบสองกับคู่แข่งคนสำคัญอย่าง อับดุลเลาะห์ อับดุลเลาะห์
กระนั้นก็ตาม แทบไม่มีใครในกรุงวอชิงตันตั้งความคาดหวังสูงสุดเอาไว้กับผู้สมัครสำคัญ 2 คนนี้ ไม่ว่าจะในเรื่องความสามารถในการปกครองประเทศ หรือความสามารถที่จะทำหน้าที่เป็นหุ้นส่วนที่ทรงประสิทธิภาพในการสู้รบปราบปรามพวกตอลิบาน
เจ้าหน้าที่สหรัฐฯระดับท็อปหลายคน ออกมาเรียกร้องขอให้พวกที่ยังระแวงสงสัยอยู่ ให้เวลาแก่ พล.อ.แมคคริสตัล 12 – 18 เดือน ในการปฏิบัติตามยุทธศาสตร์ใหม่ของเขา ว่าจะบังเกิดความก้าวหน้าอะไรได้จริงหรือไม่
แต่ดังที่การโต้แย้งอันดุเดือดสืบเนื่องจากข้อเขียนในคอลัมน์ของวิลล์ได้ชี้ให้เห็นแล้ว เวลานี้ในสหรัฐฯดูเหมือนแทบไม่เหลือความอดทนใดๆ ให้แก่ความพยายามทำสงครามอย่างยืดเยื้อออกไปและเสียค่าใช้จ่ายแพงลิ่ว ในกรุงวอชิงตัน นาฬิกาทางการเมืองกำลังดังติ๊กๆ เวลาสำหรับสงครามในอัฟกานิสถานกำลังหดหายลดน้อยลงไปทุกทีแล้ว
(สำนักข่าวอินเตอร์เพรสเซอร์วิส)
Washington’s Afghan clock ticking
By Daniel Luban
02/09/2009
ขณะที่เสียงสนับสนุนของชาวอเมริกันต่อการทำสงครามในอัฟกานิสถาน กำลังอยู่ในระดับต่ำสุดเท่าที่เคยมีมา ก็มีผู้รอบรู้คนสำคัญของฝ่ายขวาออกมาเรียกร้องให้วอชิงตันถอนตัวออกจากประเทศนั้น การแสดงความคิดเห็นของเขาไม่ผิดอะไรกับการเรียกลมพายุลูกใหญ่เข้ามาซัดกระหน่ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในความรู้สึกของพวกหมู่เพื่อนสายเหยี่ยวของเขาเอง ทางด้านประธานาธิบดีบารัค โอบามา นั้นอาจจะกำลังพิจารณาที่จะดำเนินการไปในทิศทางตรงกันข้าม นั่นคือจะเพิ่มกำลังทหารเข้าไปในอัฟกานิสถานให้มากขึ้นด้วยซ้ำ กระนั้นก็ตามที เขาก็จำเป็นจะต้องทำให้นโยบายของเขาบังเกิดผลลัพธ์ที่เป็นจริงเป็นจังขึ้นมาให้ได้ และต้องทำให้เกิดผลกันเร็วๆ ด้วย
วอชิงตัน – ผู้รอบรู้คนสำคัญของฝ่ายขวาผู้หนึ่ง เพิ่งออกมาเรียกร้องให้สหรัฐฯถอนกำลังทหารออกจากอัฟกานิสถาน มันคือสัญญาณล่าสุดที่สะท้อนให้เห็นข้อเท็จจริงที่ว่า ภายในสหรัฐฯกำลังหมดความสนใจลงเรื่อยๆ เกี่ยวกับสงครามในสมรภูมิแห่งนั้น
ในข้อเขียนประจำฉบับวันอังคาร(1)ที่ผ่านมาของเขา จอร์จ เอฟ วิลล์ (George F Will) คอลัมนิสต์ของหนังสือพิมพ์วอชิงตันโพสต์ ตั้งชื่อเรื่องเอาไว้อย่างตรงไปตรงมาว่า "Time to Get Out of Afghanistan" (ถึงเวลาที่จะถอนตัวจากอัฟกานิสถานแล้ว) และก็ถูกพวกนักวิเคราะห์ข่าวสายเหยี่ยวรุมโจมตีเอาอย่างหนักหน่วง
ถึงแม้ในระยะหลังๆ มานี้ มีนักวิเคราะห์จำนวนเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ที่ตั้งคำถามเอากับเส้นทางการทำสงครามในอัฟกานิสถาน แต่สิ่งที่วิลล์เขียนเอาไว้ในคอลัมน์คราวนี้ก็ถือว่าโดดเด่นเตะตาเป็นพิเศษอยู่ดี เพราะมันมาจากเสาหลักเสาหนึ่งของสื่อมวลชนฝ่ายขวาอันทรงอำนาจอิทธิพลในกรุงวอชิงตัน และทำให้เสียงเรียกร้องให้ถอนทหารของเขา ยากยิ่งที่จะบอกปัดไม่ใยดีโดยเพียงระบุว่าเป็นผลิตผลของอารมณ์ต่อต้านสงครามแบบเสรีนิยม
อันที่จริง เสียงสนับสนุนสงครามคราวนี้ในหมู่สาธารณชนชาวอเมริกันก็กำลังลดฮวบฮาบในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา โดยตามผลการสำรวจหยั่งเสียงในเดือนสิงหาคมของวอชิงตันโพสต์-เอบีซีนิวส์ ผู้ตอบคำถามถึง 51% ทีเดียวเชื่อว่าไม่คุ้มค่าที่จะสู้รบในสงครามนี้
การเรียกร้องของวิลล์ที่ให้สหรัฐฯถอนทหารออกมา บังเกิดขึ้นในช่วงจังหวะเวลาที่คณะรัฐบาลบารัค โอบามา ดูเหมือนกำลังเอนเอียงไปในทางที่จะไต่บันไดเพิ่มความพยายามทำสงครามให้เข้มข้นขึ้นกว่าเดิม
ตามรายงานข่าวของสื่อมวลชน เมื่อวันจันทร์(31ก.ค.) พล.อ.สแตนลีย์ แมคคริสตัล (Stanley McChrystal) ผู้บัญชาการทหารสหรัฐฯในอัฟกานิสถาน ได้เสนอรายงานลับประเมินสงครามคราวนี้ โดยที่มีข้อเรียกร้องให้ปรับเปลี่ยนยุทธศาสตร์ทางภาคพื้นดินกันเสียใหม่ รายงานฉบับนี้ของแมคคริสตัล เป็นที่จับตามองกันอย่างกว้างขวางว่า เป็นการปูพื้นให้แก่การเพิ่มทหารสหรัฐฯเข้าไปในอัฟกานิสถาน เพื่อสมทบกับจำนวน 68,000 คนที่ประจำการอยู่ที่นั่นแล้วในเวลานี้
แต่วิลล์กลับกำลังเสนอให้ทำสิ่งตรงกันข้าม โดยเรียกร้องให้ “เร่งพลิกกลับเส้นทางโคจรของการเข้าไปพัวพันอยู่ในอัฟกานิสถานของอเมริกา” ด้วยการลดกำลังทหารลงเป็นจำนวนมาก
วิลล์บอกว่าแทนที่จะใช้ความพยายามอย่างเต็มที่เพื่อกระทำสิ่งที่เป็นภารกิจแห่งการสร้างชาติ (nation-building) ซึ่งเขาตราหน้าว่าเป็นภารกิจที่ “เป็นไปไม่ได้” เขาเสนอว่าควรที่จะดำเนินยุทธศาสตร์อีกอย่างหนึ่งมากกว่า นั่นคือ “อเมริกาควรกระทำแค่สิ่งที่สามารถกระทำได้ลักษณะที่ตัวเองอยู่นอกชายฝั่งไม่ต้องขึ้นไปบนบก แล้วด้วยการพึ่งพาอาศัยข่าวกรอง, เครื่องบินแบบไร้นักบิน, ขีปนาวุธลาดตระเวน, การโจมตีทางอากาศ, และทหารรบพิเศษหน่วยเล็กๆแต่ทรงประสิทธิภาพ” เข้าทำการโจมตีพวกอัลกออิดะห์และกลุ่มผู้ก่อการร้ายกลุ่มอื่นๆ
เขาอ้างรายงานประมาณการที่ระบุว่า รัฐบาลอัฟกันสามารถควบคุมพื้นที่ได้เพียงแค่หนึ่งในสามของประเทศ และเขียนเย้ยหยันความพยายามที่จะกำจัดการค้าฝิ่นในอัฟกานิสถานว่าเป็น “ปฏิบัติการซิสซิฟัส” (Operation Sisyphus) ตามชื่อของ “ซิสซิฟัส” ตัวละครในเทพนิยายกรีก ผู้ถูกสาปให้ผลักก้อนหินยักษ์ขึ้นภูเขา แต่พอใกล้จะถึงยอดเขา ก้อนหินก็จะไหลกลิ้งลงมาอีก เขาจึงจะต้องทำงานที่ไม่มีวันสำเร็จนี้ไปตลอดกาล
เป็นเรื่องที่คาดหมายได้อยู่แล้วว่า การเรียกร้องให้ถอนตัวของวิลล์ต้องกระตุ้นให้เกิดการตอบโต้อย่างทันควันและดุเดือด ทั้งจากพวกอนุรักษนิยมใหม่ (neo-conservative) และพวกสายเหยี่ยวปีกขวาอื่นๆ
“มันเป็นข้อเขียนซึ่งเหมือนกับเขียนด้วยภาษาญี่ปุ่นบนเรือรบยูเอสเอส มิสซูรี” ปีเตอร์ เวห์เนอร์ (Peter Wehner) อดีตเจ้าหน้าที่ในคณะรัฐบาลจอร์จ ดับเบิลยู บุช เขียนเอาไว้ในเว็บไซต์ของนิตยสาร คอมเมนทารี (Commentary) ทั้งนี้เขากำลังเหน็บแนมเปรียบเทียบถึงตอนที่คณะผู้แทนญี่ปุ่นลงนามในข้อตกลงยอมแพ้บนเรือรบสหรัฐฯลำดังกล่าวเมื่อตอนสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สองนั่นเอง
เวห์เนอร์เรียกวิลล์ว่า เป็น “นักลัทธิยอมจำนน” ผู้ซึ่ง “พูดจาคล้ายๆ ไมเคิล มัวร์ (Michael Moore) มากกว่า เฮนรี คิสซิงเจอร์ (Henry Kissinger)”
วิลเลียม คริสโตล (William Kristol) บรรณาธิการหัวอนุรักษนิยมใหม่ของนิตยสาร “วีกลี่ สแตนดาร์ด” (Weekly Standard) กล่าวหาวิลล์ว่า “กำลังเร่งรัดให้ถอยหนี และกำลังยอมรับความพ่ายแพ้”
และ เฟรเดอริก คาแกน (Frederick Kagan) นักประวัติศาสตร์การทหารแห่ง สถาบันวิสาหกิจอเมริกัน (American Enterprise Institute) ซึ่งกำลังกลายเป็นผู้เรียกร้องสนับสนุนระดับแนวหน้า ให้เพิ่มกำลังทหารสหรัฐฯเป็นจำนวนมากๆ เข้าไปในอัฟกานิสถาน ได้เรียกข้อเขียนของวิลล์ว่า “สมควรที่จะถูกประณาม”
แน่นอนทีเดียวว่า วิลล์มิได้เป็นบุคคลสำคัญเพียงคนเดียว ที่ตั้งคำถามเอากับความพยายามกระทำภารกิจการสร้างชาติอย่างไม่มีกำหนดสิ้นสุดและยกระดับเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ในอัฟกานิสถาน
ตัวอย่างเช่น เมื่อวันศุกร์(28ก.ค.) วุฒิสมาชิกสหรัฐฯ รัสส์ เฟนโกลด์ (Russ Feingold) แห่งมลรัฐวิสคอนซิน สังกัดพรรคเดโมแครต ก็ได้เรียกร้องให้โอบามากำหนดตารางเวลาสำหรับการถอนทหารออกจากอัฟกานิสถาน ในข้อเขียนซึ่งตีพิมพ์ในหน้าบทความของหนังสือพิมพ์วอลล์สตรีทเจอร์นัล
ทว่าพวกสายเหยี่ยวชมชอบที่จะวาดภาพพวกตั้งข้อสงสัยกับการทำสงครามทั้งหลาย ว่าเป็นคนแบบเฟนโกลด์ นั่นคือมีหัวเสรีนิยมและเป็นสายพิราบจ๋องๆ หงอๆ ฝ่ายสายเหยี่ยวพยายามนักหนาที่จะเสนอแนะว่า การคัดค้านสงครามคือปรากฏการณ์ของพวกฝ่ายซ้ายแทบจะเพียงพวกเดียวเท่านั้น และจะถูกประณามคัดค้านจากทั้งฝ่ายกลางๆ และฝ่ายขวา
“พวกอนุรักษนิยมให้ความสนับสนุนประธานาธิบดีคนที่โดยทั่วไปแล้วพวกเขาไม่ไว้วางใจเลย ก็เพราะพวกเขาคิดว่ามันเป็นเรื่องสำคัญที่ประเทศจะต้องชนะสงครามในอัฟกานิสถาน” คริสโตลเขียนเอาไว้ในวิกลี่ สแตนดาร์ด เมื่อเดือนสิงหาคม “สำหรับพวกเสรีนิยมในทุกวันนี้แล้ว พวกเขาไม่ได้ต้องการให้อเมริกาชนะสงครามอะไรทั้งนั้นไม่ใช่หรือ พวกเขาพรักพร้อม, ปรารถนา, และสามารถที่จะเห็นอเมริกาปราชัยในอัฟกานิสถาน”
แต่การที่วิลล์หันกลับมาคัดค้านสงครามคราวนี้ ยังบังเกิดขึ้นภายหลังผลการหยั่งเสียงในช่วงหลังๆ นี้ต่างแสดงให้เห็นว่า พลเมืองสหรัฐฯส่วนข้างมากคัดค้านสงครามในอัฟกานิสถาน ดังนั้นจึงยิ่งเป็นการตอกย้ำว่า ความไม่พอใจในเรื่องนี้ไม่ได้จำกัดอยู่แต่เฉพาะฝ่ายซ้ายเลย
ในทางเป็นจริงแล้ว แนวความคิดคับแคบของวิลล์เกี่ยวกับผลประโยชน์แห่งชาติของสหรัฐฯ ตลอดจนความระแวงสงสัยต่อความพยายามกระทำภารกิจการสร้างชาตินั้น แต่ไหนแต่ไรมาก็เป็นสิ่งที่ปรากฏอยู่ในหมู่พวกฝ่ายขวามากกว่าพวกฝ่ายซ้าย อย่างน้อยที่สุดก็จนกระทั่งเกิดเหตุการณ์โจมตีสหรัฐฯในวันที่ 11 กันยายน 2001
ระหว่างการโต้วาทีของ 2 ผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯในปี 2000 คำพูดหนึ่งซึ่งมีชื่อเสียงมากที่ จอร์จ ดับเบิลยู บุช ตัวแทนของพรรครีพับลิกัน ใช้โจมตี อัล กอร์ ตัวแทนของพรรคเดโมแครต ก็คือ การกล่าวหากอร์ว่า “กำลังใช้ทหารของเราไปกระทำภารกิจการสร้างชาติ”
เมื่อเกิดเหตุการณ์สหรัฐฯถูกโจมตีในวันที่ 11 กันยายน หลักการด้านนโยบายการต่างประเทศของพวกอนุรักษนิยมเหล่านี้ก็ถูกลดความสำคัญลงไป โดยที่แนวคิดแบบอนุรักษนิยมใหม่ ซึ่งมีความโน้มเอียงที่จะเป็นนักแทรกแซงกิจการประเทศอื่นๆ ด้วยความต้องการที่จะให้สหรัฐฯแสดงตนเป็น “เจ้าโลกผู้มีความเมตตากรุณา” ได้ผงาดขึ้นมาเป็นแนวคิดอันโดดเด่นที่สุดของพวกฝ่ายขวา
แต่สงครามอิรัก (ซึ่งในที่สุดแล้วคณะรัฐบาลจอร์จ ดับเบิลยู บุช ก็ได้ออกมาอ้างเหตุผลความชอบธรรมในการก่อสงครามคราวนี้ขึ้นว่า เพื่อเป็นการแสดงพลังซึ่งเป็นการส่งเสริมประชาธิปไตย) ไม่ต้องสงสัยเลยว่าได้ทำให้ทั้งสาธารณชนและทั้งพวกผู้ทรงอำนาจทางด้านนโยบายการต่างประเทศ ต่างเข็ดหลาบในเรื่องการใช้ความพยายามด้วยกำลังอาวุธเพื่อกระทำภารกิจการสร้างชาติ
วิลล์ผู้ซึ่งในช่วงแรกๆ สนับสนุนสงครามอิรัก ในเวลาต่อมาได้เรียกสงครามคราวนี้ว่า “น่าจะเป็นความหายนะทางด้านนโยบายการต่างประเทศครั้งเลวร้ายที่สุดในประวัติศาสตร์ของประเทศนี้”
และขณะที่ยังแทบไม่มีสัญญาณใดๆ เลยว่า แนวความคิดอนุรักษนิยมใหม่ใกล้ที่จะถูกเขี่ยออกจากการเป็นหลักการสำคัญที่สุดในด้านนโยบายการต่างประเทศภายในหมู่สมาชิกพรรครีพับลิกัน แต่ก็มีพวกนักอนุรักษนิยมจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ ที่ออกมาตั้งคำถามเอากับการทำสงครามในอัฟกานิสถาน
รอรี สตวร์ต (Rory Stewart) ศาสตราจารย์มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ผู้ซึ่งเมื่อไม่นานมานี้เพิ่งประกาศแผนการที่จะลงสมัครชิงตำแหน่ง ส.ส.ในประเทศอังกฤษในนามพรรคอนุรักษนิยม ได้เขียนบทความตีพิมพ์ในนิตยสาร “ลอนดอน รีวิว ออฟ บุ๊กส์” (London Review of Books) เมื่อเดือนกรกฎาคม ซึ่งก่อให้เกิดการถกเถียงกันอย่างกว้างขวาง โดยเขาแสดงความสงสัยอย่างล้ำลึกต่อความพยายามทั้งหลายทั้งปวงในการทำสงครามในอัฟกานิสถาน พร้อมกับเรียกความพยายามกระทำภารกิจการสร้างชาติในอัฟกานิสถานว่า กำลังพยายามกระทำสิ่งที่ “เป็นไปไม่ได้”
ประธานสภาว่าด้วยความสัมพันธ์ต่างประเทศ (Council on Foreign Relations)คนปัจจุบัน ริชาร์ด ฮาสส์ (Richard Haass) ซึ่งเคยทำงานให้แก่ทั้งคณะรัฐบาลของจอร์จ เอช ดับเบิลยู บุช และ จอร์จ ดับเบิลยู บุช ได้เสนอแนะเอาไว้ในหนังสือพิมพ์นิวยอร์กไทมส์เมื่อเร็วๆ นี้ว่า สงครามในอัฟกานิสถาน เป็น “สงครามที่เลือกทำหรือไม่ทำก็ได้” ไม่ใช่เป็นสงครามที่จำเป็นจะต้องทำ
ฮาสส์แนะนำให้คณะรัฐบาลโอบามาพิจารณานโยบายทางเลือกอื่นๆ โดยรวมถึงการถอนทหารทั้งหมดออกจากอัฟกานิสถานด้วย ถึงแม้เขาจะไม่ถึงกับออกมารับรองให้ใช้นโยบายเหล่านี้อย่างเต็มตัว
เวลานี้โอบามาจึงกำลังเผชิญกับการตัดสินอันยากลำบากเกี่ยวกับสงครามอัฟกานิสถาน โดยในด้านหนึ่งเขาถูกพวกสายเหยี่ยวเรียกร้องให้เพิ่มกำลังทหารและเพิ่มทรัพยากรเข้าไปในสมรภูมิแห่งนั้น แต่ในอีกด้านหนึ่งสาธารณชนทั่วไปก็กำลังให้การสนับสนุนสงครามคราวนี้ลดน้อยลงเรื่อยๆ
การเลือกตั้งประธานาธิบดีอัฟกานิสถานในวันที่ 20 สงหาคม ซึ่งมัวหมองเนื่องจากเสียงกล่าวหาเรื่องการทุจริตโกงการเลือกตั้งอย่างอึงคะนึงนั้น ก็ไม่ได้ช่วยทำอะไรให้สาธารณชนอเมริกันเกิดความเชื่อมั่นมากขึ้นเลย
ในการนับคะแนนเบื้องต้นเท่าที่เปิดเผยออกมาจนถึงเวลานี้ ประธานาธิบดีฮามิด คาร์ไซ กำลังได้คะแนนนำ ถึงแม้ยังไม่เพียงพอที่จะหลีกเลี่ยงไม่ต้องลงชิงชัยรอบสองกับคู่แข่งคนสำคัญอย่าง อับดุลเลาะห์ อับดุลเลาะห์
กระนั้นก็ตาม แทบไม่มีใครในกรุงวอชิงตันตั้งความคาดหวังสูงสุดเอาไว้กับผู้สมัครสำคัญ 2 คนนี้ ไม่ว่าจะในเรื่องความสามารถในการปกครองประเทศ หรือความสามารถที่จะทำหน้าที่เป็นหุ้นส่วนที่ทรงประสิทธิภาพในการสู้รบปราบปรามพวกตอลิบาน
เจ้าหน้าที่สหรัฐฯระดับท็อปหลายคน ออกมาเรียกร้องขอให้พวกที่ยังระแวงสงสัยอยู่ ให้เวลาแก่ พล.อ.แมคคริสตัล 12 – 18 เดือน ในการปฏิบัติตามยุทธศาสตร์ใหม่ของเขา ว่าจะบังเกิดความก้าวหน้าอะไรได้จริงหรือไม่
แต่ดังที่การโต้แย้งอันดุเดือดสืบเนื่องจากข้อเขียนในคอลัมน์ของวิลล์ได้ชี้ให้เห็นแล้ว เวลานี้ในสหรัฐฯดูเหมือนแทบไม่เหลือความอดทนใดๆ ให้แก่ความพยายามทำสงครามอย่างยืดเยื้อออกไปและเสียค่าใช้จ่ายแพงลิ่ว ในกรุงวอชิงตัน นาฬิกาทางการเมืองกำลังดังติ๊กๆ เวลาสำหรับสงครามในอัฟกานิสถานกำลังหดหายลดน้อยลงไปทุกทีแล้ว
(สำนักข่าวอินเตอร์เพรสเซอร์วิส)