(เก็บความจากเอเชียไทมส์ออนไลน์ www.atimes.com)
Gas clash fuels Ambani divide
By Raja Murthy
31/07/2009
สองศรีพี่น้องตระกูลอัมบานีที่ร่ำรวยสุดๆ ของอินเดีย กำลังเพิ่มระดับของเกมแห่งความเกลียดชังระหว่างกันภายในครอบครัวให้สูงขึ้นไปอีก โดยคราวนี้อะนิลผู้น้องชายกล่าวหามุเคชผู้พี่ชายว่ากำลังก่อคดีพิพาทอื้อฉาวเรื่องราคาก๊าซเพื่อหวังฮุบกำไรถึงกว่าหมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ แถมในการต่อสู้กัน ทั้งคู่ยังลากดึงเอากระทรวงน้ำมันปิโตรเลียม,ศาลสูงสุด,และรัฐสภาเข้ามาพัวพันด้วย อย่างไรก็ตาม สิ่งหนึ่งที่สะท้อนให้เห็นชัดเจนจากการทะเลาะเบาะแว้งกันครั้งนี้ ก็คือการดำเนินกิจการของตระกูลนี้ยังไม่ชวนให้ใครคิดไว้เนื้อเชื่อใจ
มุมไบ – มุเคช อัมบานี (Mukesh Ambani) และ อะนิล อัมบานี (Anil Ambani) สองอภิมหาเศรษฐีหมื่นล้านดอลลาร์ชาวอินเดีย กำลังเพิ่มความเสื่อมเสียให้แก่ความเป็นพี่น้องถือกำเนิดจากครรภ์มารดาเดียวกันอีกแล้ว คราวนี้ด้วยข้อพิพาทเกี่ยวกับราคาขายก๊าซ อะนิลผู้น้องชาย (วัย 50 ปี) ระบุว่า เรื่องที่กำลังวิวาทกันนี้เป็น “เรื่องอื้อฉาวซึ่งใหญ่โตมโหฬารมาก” เพราะเกี่ยวข้องกับผลกำไรจำนวนถึง 10,310 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งมุเคช (วัย 52 ปี) พี่ชายของเขาจะได้รับ จากการ “เบี้ยว” สัญญาที่ทำกับเขาเมื่อ 4 ปีที่แล้วฉบับหนึ่ง
สัญญาฉบับนี้เป็นการตกลงกันว่า บริษัท รีไลแอนซ์ อินดัสตรีส์ ลิมิเต็ด (Reliance Industries Ltd. หรือ RIL) ของมุเคช จะส่งก๊าซเป็นจำนวนวันละ 28 ล้านลูกบาศก์เมตร ให้แก่บริษัทพลังงานของอะนิลที่ชื่อว่า รีไลแอนซ์ เนเจอรัล รีซอร์สเซส ลิมิเต็ด (Reliance Natural Resources Ltd.) ณ ระดับราคา 2.34 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อล้านบีทียู
แต่มาถึงตอนนี้มุเคชต้องการขายในราคา 4.20 ดอลลาร์ต่อล้านบีทียู โดยบอกว่าเป็นราคาที่รัฐบาลกำหนดขึ้นใหม่ ภายหลังจากที่มีการพิจารณาทบทวนเกี่ยวกับก๊าซ ที่บริษัทของเขาขุดเจาะขึ้นมาได้จากแปลง ดี6 ของแอ่งกฤษณะ-โกทาวารี (Krishna-Godavari basin) ในอ่าวเบงกอล ทั้งนี้รัฐบาลคือเจ้าของก๊าซเหล่านี้ตัวจริง
ทางด้านอะนิลโอดครวญว่า การขึ้นราคามากมายเช่นนี้เป็นเรื่องไม่ยุติธรรม, ผิดกฎหมาย, และจะทำให้บริษัทอาร์ไอแอลได้กำไรอย่างมหาศาล โดยผู้ที่สูญเสียประโยชน์ไม่ใช่มีเพียงผู้ถือหุ้นในบริษัทของเขาที่มีเป็นจำนวนล้านๆ ราย ตลอดจนบรรดาผู้บริโภคเท่านั้น หากแต่ยังรวมถึงรัฐบาลด้วย
ตามรายงานของสำนักข่าวบลูมเบิร์กเมื่อวันพฤหัสบดี(30ก.ค.) ซึ่งได้อ้างข้อความจากอีเมลตอบโต้กันระหว่างพี่น้องคู่นี้ ทางอะนิลยังโต้แย้งว่า ราคาขายก๊าซตามที่ “รัฐบาลกำหนด” ซึ่งมุเคชอ้างนั้น เป็นสิ่งที่ไม่ได้มีอยู่จริง
สองศรีพี่น้องคลานตามกันมาแห่งตระกูลอัมบานีคู่นี้ แม้จะอาฆาตพยาบาทกันมายาวนานแล้ว แต่ในคราวนี้พวกเขาอาจจะไปไกลเกินไป เพราะการทะเลาะเบาะแว้งกันล่าสุดนี้ พวกเขาได้ดึงลากเอาทั้งกระทรวงน้ำมันปิโตรเลียม, ศาลสูงสุด, ศาลสูงแห่งนครมุมไบ, พวกผู้นำทางการเมืองที่เป็นฝ่ายค้าน, รวมทั้งรัฐสภา เข้ามาในการวิวาทด้วย จนทำให้บรรดานักลงทุนรู้สึกวิตกว่า มันจะลุกลามใหญ่โตโดยไม่รู้จะลงเอยกันอย่างไร
อะนิลอ้างว่า กรณีพิพาทคราวนี้กระทบกระเทือน “ผู้ถือหุ้น 15 ล้านคน (ในบริษัทของเขา) และก็มีผลกระทบต่อธุรกิจพลังงานระดับโลกอีกด้วย”
แต่ผู้จัดการอาวุโสด้านการตลาดในมุมไบผู้หนึ่งบอกกับเอเชียไทมส์ออนไลน์ว่า พี่น้องอัมบานีกำลังทำตัวเองให้เป็นที่หัวเราะเยาะของคนอื่นเท่านั้น “ผู้คน [ในตลาด] ต่างพูดกันว่า พี่น้องคู่นี้กำลังต่อสู้กันอย่างดุเดือดเหมือนกับกำลังแย่งชิงทรัพย์สมบัติของคุณพ่อของพวกเขายังงั้นแหละ ทั้งที่ความจริงแล้วมันเป็นทรัพย์สมบัติของรัฐบาล” เขากล่าว
อันที่จริงตัวอะนิลเองก็ได้กล่าวอ้างอิงถึง ธีรุไภย (Dhirubhai ชาตะ1932 มรณะ 2002) บิดาของเขาอยู่หลายครั้ง ระหว่างกล่าวรายงานในการประชุมใหญ่ประจำปีผู้ถือหุ้นของบริษัทของเขา ที่เมืองมุมไบเมื่อวันที่ 28 กรกฎาคมที่ผ่านมา โดยเนื้อหาและลีลาของการกล่าวรายงานดังกล่าวนี้ น่าจะเป็นชนิดที่ภาคบริษัทอุตสาหกรรมอินเดียไม่เคยได้ยินได้ฟังกันมาก่อนเลย
ทั้งนี้ เขาได้ทำการโจมตีอย่างยาวเหยียดและอย่างดุเดือดเลือดพล่านต่อกระทรวงน้ำมันปิโตรเลียม โดยบอกว่าเข้ามาแทรกแซงในการที่เขาวิวาทกับพี่ชาย ขณะเดียวกันเขาก็ไม่ลืมที่จะยืนยันว่า มุเคซนั้นปฏิเสธไม่ยอมรับความพยายามทุกๆ อย่างของเขาที่จะหาทางประนีประนอมกันนอกศาล
สองศรีพี่น้องคู่นี้อยู่ในภาวะสงครามกันมาตั้งแต่ปี 2005 แล้ว เมื่ออะนิลนำเอาบรรดากิจการที่ตัวเองดูแลอยู่ แยกออกมาจากบริษัทแม่ คือ รีไลแอนซ์ อินดัสตรีส์ ซึ่งบิดาของเขาเป็นผู้ก่อตั้งขึ้น
กล่าวได้ว่าอินเดียอยู่ในอาการเบื่อหน่ายการทะเลาะเบาะแว้งของพี่น้องคู่นี้เต็มที ทั้งในหมู่นักลงทุนและแวดวงการเมืองต่างมีเสียงเรียกร้องดังขึ้นเรื่อยๆ ให้หามาตรการระยะยาวที่จะทำให้เกิดความมั่นใจได้ว่า เศรษฐกิจของประเทศจะไม่ถูกครอบงำโดยธุรกิจครอบครัวแบบของพวกอัมบานี โดยเฉพาะอย่างยิ่งทรัพย์สินของประเทศชาติอย่างบ่อน้ำมัน
แต่ความเป็นจริงยังคงมีอยู่ว่า กิจการที่สองพี่น้องครอบครองเวลานี้อยู่ในขั้นอักโขมโหฬารจริงๆ กลุ่มบริษัทต่างๆ ของพวกเขาเมื่อนำมารวมกันแล้วจะมีรายรับเกินกว่า 60,000 ล้านดอลลาร์ต่อปี และติดอันดับอยู่ในกลุ่มบริษัทขนาดใหญ่ที่สุดของโลกได้อย่างสบาย แล้วก็เลยเกิดความหวั่นเกรงกันมากขึ้นทุกทีว่า เรื่องราวของครอบครัวนี้ซึ่งพิสดารโลดโผนยิ่งกว่านิยายเสียอีก จะสร้างความอกสั่นขวัญผวาให้แก่พวกนักลงทุนที่กำลังเที่ยวมองหาผลตอบแทนงามๆ ไม่ได้อยากดูละตรน้ำเน่า
ความวิตกกังวลเช่นนี้ไม่ใช่เรื่องเล่นๆ เลย กลุ่มรีไลแอนซ์-อะนิล ธีรุไภย อัมบานี กรุ๊ป (Reliance-Anil Dhirubhai Ambani หรือ R-ADG) ของอะนิล บอกว่าตนเองมีฐานผู้ถือหุ้นเป็นจำนวนถึง 12 ล้านราย ถือว่ามากที่สุดแห่งหนึ่งของโลกทีเดียว ส่วนกลุ่ม รีไลแอนซ์ อินดัสตรีส์ ลิมิเต็ด กรุ๊ป ของมุเคช ก็เป็นบริษัทภาคเอกชนรายใหญ่ที่สุดของอินเดีย โดยมีรายรับกว่า 30,000 ล้านดอลลาร์ต่อปี
สองพี่น้องได้เคยคิดอาศัยบารมีของศาลสถิตยุติธรรมมาช่วยแก้ไขข้อพิพาทระหว่างกันคราวนี้ ทว่าก็ยังไม่ถึงที่สุด เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน ศาลสูงนครมุมไบพิพากษายืนคำตัดสิน 2 ครั้งก่อนหน้านี้ของตน ที่ให้ยึดถือตามการกำหนดราคาในข้อตกลงฉบับดั้งเดิม ซึ่งมีอายุบังคับใช้ไป 17 ปี
แต่แล้วเรื่องก็ขึ้นไปถึงขั้นศาลสูงสุดของอินเดีย ภายหลังกระทรวงน้ำมันปิโตรเลียมเข้ามาแทรกแซง โดยยื่นขอให้ศาลสูงสุดตัดสินยกคำพิพากษาของศาลสูงนครมุมไบ ท่าทีเช่นนี้เห็นได้ชัดเจนว่าเป็นการเข้าข้าง อาร์ไอแอล ของมุเคช และเรื่องนี้ก็ทำให้อะนิลหงุดหงิดไม่พอใจมาก
ภายหลังการกล่าวรายงานอันลือลั่นของอะนิลในที่ประชุมใหญ่ประจำปีผู้ถือหุ้น กระทรวงน้ำมันปิโตรเลียมก็ออกมาแก้ต่างเรื่องที่ถูกอัมบานีผู้น้องโจมตีอย่างเผ็ดร้อนเช่นนั้น โดยยืนยันว่าต้องอุทธรณ์คดีไปถึงขั้นศาลสูงสุด เนื่องจากก๊าซที่พิพาทกันระหว่างพี่น้องนั้น แท้ที่จริงเป็นทรัพย์สมบัติของประเทศชาติ กระนั้นก็ตาม พวกนักการเมืองฝ่ายค้านก็กล่าวหาว่า เหตุผลแท้จริงอยู่ที่ว่า มูรลี เดโอรา รัฐมนตรีดูแลกิจการน้ำมันปิโตรเลียมและก๊าซธรรมชาติ คือผู้สนับสนุนมุเคชนั่นเอง
กรณีทะเลาะเบาะแว้งเรื่องก๊าซของพี่น้องอัมบาลีได้ลามไปถึงรัฐสภาเมื่อวันอังคาร(28ก.ค.) เนื่องจากมีพวกผู้นำทางการเมืองหยิบยกประเด็นขึ้นมาและทำให้เกิดการเอะอะวุ่นวาย พี่น้องคู่นี้ต่างก็มีกลุ่มก้อนสนับสนุนพวกเขาทั้งในฝ่ายการเมืองและในสื่อมวลชน ต่างมีช่องทางของตัวเองในการเข้าไปให้ถึงเจ้าหน้าที่ระดับบนสุดของรัฐบาลและพวกบรรณาธิการอาวุโสที่สุดในอินเดีย มันจึงเป็นความโกลาหลยุ่งเหยิงที่น่าเกลียดเอามากๆ
ยิ่งกว่านั้น ทางรัฐบาลตลอดจนพวกนักการเมืองระดับสูงนั้น ย่อมไม่สามารถอยู่เฉยทำเป็นทองไม่รู้ร้อนอีกต่อไป ภายหลังจากที่อะนิลไปกล่าวอย่างดุเดือดขนาดนั้นต่อที่ประชุมประจำปีผู้ถือหุ้น ตามรายงานของผู้สื่อข่าวด้านธุรกิจผู้หนึ่งซึ่งอยู่ภายในที่ประชุมด้วย อะนิลกล่าวรายงานที่มีความยาวประมาณ 20 หน้านี้แบบใส่อารมณ์เต็มที่ บางครั้งถึงขนาดใกล้จะน้ำตาไหลทีเดียว โดยเนื้อหาสำคัญเป็นการโจมตีอย่างดุเดือดต่อ อาร์ไอแอลของมุเคช ซึ่งที่จริงก็เป็นบริษัทเก่าของเขาเอง และกระทรวงน้ำมันปิโตรเลียม ทั้งนี้มีการใช้ถ้อยคำอันรุนแรงอย่างที่ไม่ค่อยได้พบเห็นกัน
“โชคไม่ดีเลยที่อาร์ไอแอลกำลังพยายามใช้เล่ห์เหลี่ยมทุกๆ อย่างที่สอนกันในตำรา ตลอดจนดูเหมือนยังมีอีกจำนวนมากที่อยู่นอกตำราด้วย เพื่อไม่ปฏิบัติตามข้อผูกพันตามสัญญาที่เป็นทางการและมีผลทางกฎหมาย” อะนิลบอก และกล่าวหากระทรวงน้ำมันปิโตรเลียมว่า “เข้ามาแทรกแซงโดยไร้ความจำเป็นในศาลสูงสุดอันทรงเกียรติ”
เวลานี้รัฐบาลดูเหมือนว่าจะปรับเปลี่ยนท่าทีหันมาเน้นที่การควบคุมจำกัดความเสียหายให้เกิดขึ้นน้อยที่สุด มีรายงานหลายกระแสแพร่กระจายออกมาว่า เป็นไปได้ที่จะมีการทบทวนคำรองของกระทรวงน้ำมันปิโตรเลียมที่ยื่นต่อศาลสูงสุด เพื่อคัดค้านคำพิพากษาของศาลสูงแห่งมุมไบ ทั้งนี้เพื่อทำให้อะนิลพออกพอใจขึ้นมาบ้าง
จากตัวอย่างของการพิพาทระหว่างสองศรีพี่น้องคราวนี้ ทำให้เห็นชัดเจนว่า เมื่อเอ่ยชื่อ “อัมบานี” ขึ้นมา ย่อมชวนให้เรานึกไปถึงเรื่องราวตื่นเต้นเร้าอารมณ์, ความรู้สึกนึกรังเกียจ, การก่อเรื่องชวนทะเลาะขัดแย้ง, การต่อสู้แย่งชิงอำนาจ, การทำข้อตกลงแบบคลุมเครือไม่โปร่งใส เปรียบเทียบกับกลุ่มบริษัทอินเดียระดับยักษ์ใหญ่อีกกลุ่มหนึ่ง คือ “ทาทา” (Tata) แล้ว ชื่อของกลุ่มหลังนี้จะทำให้คิดถึง “ความไว้วางใจได้” ขึ้นมาแทบเป็นอัตโนมัติทีเดียว
กลุ่มทาทาอาจจะมีจุดอ่อนข้อบกพร่องและทำความผิดพลาดเหมือนคนอื่นๆ ทว่าในฐานะที่เป็นนักหนังสือพิมพ์อาชีพมา 17 ปี ผมไม่เคยได้ยินใครสักคนกล่าวหากลุ่มทาทาว่าทุจริตฉ้อโกง, ติดสินบนนักการเมืองและนักข่าว, และหลอกลวงผู้บริโภคโดยจงใจเรียกเก็บเงินแพงเกินจริง นอกจากนั้น กลุ่มนี้ยังไม่เคยถูกครหาว่าไปตั้งบริษัทบังหน้าขึ้นตามศูนย์การเงินออฟชอร์ อย่างเช่น ไอล์ออฟแมน (Isle of Man) เพื่อการลงทุนและหลบเลี่ยงการเสียภาษี, ใช้วิธีออกใบหุ้นซ้ำซ้อนตลอดจนใช้ข้อมูลภายในเพื่อปั่นราคาในตลาดหลักทรัพย์บอมเบย์, หรือจัดทำบัญชีปลอมเพื่อให้เสียภาษีน้อยลง
เมื่อได้ยินชื่อบริษัท “อัมบานี” แล้ว คำๆ แรกที่ผุดขึ้นมาในใจทันทีย่อมไม่ใช่คำว่า “ไว้วางใจได้” อย่างแน่นอน
ความเป็นอัมบานีที่ทั้งชวนให้ระลึกถึงความระแวงสงสัย, ความยุ่งยากย่ำแย่, และความแตกแยกนี้ อันที่จริงก็สะท้อนถึงการสั่งสมทรัพย์สินความมั่งคั่งใหม่ๆ อย่างน่าอัศจรรย์ของอินเดีย และก็เป็นส่วนที่เลวร้ายที่สุดของเศรษฐกิจแดนภารตะด้วย การแตกแยกร้าวฉานกันระหว่างสองพี่น้องมุเคชและอะนิล ดูจะเป็นสิ่งที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ เมื่อพิจารณาถึงมรดกแห่งความวุ่นวายแปรปรวนซึ่งธีรุไภยผู้เป็นบิดาถ่ายทอดต่อมาถึงพี่น้องคู่นี้
ในหนังสือชีวประวัติที่ใช้ชื่อว่า “Polyester Prince: The Rise of Dhirubhai Ambani” (เจ้าชายแห่งเส้นใยโพลิเอสเตอร์: การผงาดขึ้นมาของธีรุไภย อัมบานี) ผู้เขียนซึ่งคือ ฮามิช แมคโดนัลด์ (Hamish McDonald) บอกว่า “ธีรุไภย อัมบานี ได้รับทั้งคำเยินยอสรรเสริญและทั้งความระแวงไม่ไว้วางใจ โดยสำหรับพวกนักลงทุนนับล้านๆ ของเขาซึ่งได้เห็นราคาหุ้นของพวกเขาทะยานขึ้นมาหลายเท่าตัว บุคคลผู้นี้คือพระเจ้าผู้การุณย์แห่งแวดวงธุรกิจ แต่สำหรับนักเขียนผู้หนึ่งแล้ว เขาคือ ‘ปีศาจแฟรงเกนสไตน์’ ซึ่งถูกสร้างขึ้นมาจากประสบการณ์ตามแบบฉบับของอินเดีย ที่รัฐบาลเข้าควบคุมเศรษฐกิจอย่างใกล้ชิด”
น่าสังเกตว่าในตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์ก ซึ่งเป็นตลาดหุ้นใหญ่ที่สุดในโลกและขึ้นชื่อเรื่องข้อกำหนดให้บริษัทจดทะเบียนทั้งหลายต้องแสดงความโปร่งใสอย่างเข้มงวด และดำเนินงานด้วยบรรทัดฐานทางด้านบรรษัทธรรมาภิบาลอย่างจริงจังนั้น ปรากฏว่ามีบริษัทอินเดียสามารถฝ่าด่านนำหุ้นเข้าไปจดทะเบียนซื้อขายได้รวมทั้งสิ้น 12 แห่ง โดยที่กลุ่มทาทาสามารถส่งเข้าไปได้ 2 แห่ง แต่อาณาจักรอัมบานี ซึ่งเป็นกลุ่มกิจการภาคเอกชนที่ใหญ่ที่สุดของอินเดีย กลับไม่มีบริษัทในเครือแม้สักแห่งเดียวที่เข้าจดทะเบียนในตลาดแห่งนี้
วัฒนธรรมอินเดียนั้นเชิดชูเรื่องความรักระหว่างพี่น้อง ดังสะท้อนให้เห็นจากวรรณคดีเรื่องเอกอย่าง “มหาภารตยุทธ์” และกระทั่งในวรรณคดีเรื่องเอกอีกเรื่องหนึ่ง คือ “รามายาณะ” ก็ยังมีการสะท้อนคุณค่านี้เอาไว้ในตัวละครสำคัญอย่างพระรามกับพระลักษมณ์ ดังนั้นแม้กระทั่งในการกล่าวรายงานอันดุเดือดต่อที่ประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้นประจำปี อะนิลก็ยังพูดถึงมุเคชด้วยถ้อยคำอันสุภาพนอบน้อม เป็นต้นว่า “พี่ชายผู้เป็นที่เคารพของผม” ทว่ากรณีการวิวาทกันล่าสุดในเรื่องก๊าซ กลับแสดงให้เห็นว่า ระหว่างสองศรีพี่น้องตระกูลอัมบานี ไม่ได้มีความรักหรือความเคารพอะไรหลงเหลืออยู่อีกแล้ว
อันที่จริงทั้งคู่มีอะไรหลายๆ อย่างที่ตรงกันข้ามกัน อะนิลซึ่งทรัพย์สมบัติส่วนตัวของเขาได้รับการคำนวณว่ามีมูลค่า 42,000 ล้านดอลลาร์ถูกจัดให้เป็นอภิมหาเศรษฐีอันดับ 6 ของโลก เขาค่อนข้างเป็นคนมีสีสันฉูดฉาดกว่าพี่ชาย เป็นต้นว่า เขายินดีปรีดาที่จะกลายเป็นข่าวพาดหัวเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม จากการลงนามในข้อตกลงมูลค่า 825 ล้านดอลลาร์กับ ดรีมเวิร์กส์ สตูดิโอ ของ สตีเวน สปีลเบิร์ก เพื่อผลิตภาพยนตร์ที่จะนำออกฉายไปทั่วโลก
เขายังตกเป็นข่าวในปีที่แล้วว่าไปเจรจาซื้อทีมฟุตบอลพรีเมียร์ลีกอังกฤษอย่าง เอฟเวอร์ตัน และ นิวคาสเซิล ยูไนเต็ด โดยที่เขาอาจจะทุ่มเงินถึง 160 ล้านดอลลาร์ แม้เรื่องเหล่านี้จะไม่ได้มีความคืบหน้าเป็นจริงเป็นจัง แต่สิ่งที่เป็นลักษณะโดดเด่นประจำตัวอะนิลอย่างหนึ่ง ก็คือ ความหลงใหลในเรื่องการออกกำลังกาย โดยบ่อยครั้งสามารถพบเห็นเขาสวมชุดวอร์มวิ่งจ๊อกกิ้งไปรอบๆ เมืองมุมไบ
สำหรับมุเคซผู้พี่ชายซึ่งเกิดที่เยเมน และมีทรัพย์สินส่วนตัวราว 63,200 ล้านดอลลาร์นั้น ถูกจัดให้เป็นอภิมหาเศรษฐีอันดับ 4 ของโลก และเป็นอันดับ 1 ในเอเชีย
เขาเป็นคนเงียบๆ กว่าและดูเหมือนจะสุขุมเยือกเย็นกว่าน้องชาย มีรายงานข่าวว่าเขาจ้างกุ๊กฝีมือดีมาคอยปรุงอาหารให้ และกำลังสร้างบ้านหลังหนึ่งในมุมไบที่มีมูลค่า 3,000 ล้านดอลลาร์ รวมทั้งเป็นเจ้าของทีมคริกเก็ตในพรีเมียร์ลีกของอินเดีย ในปี 2007 เขาให้ของขวัญวันเกิดแก่ นิต้า ภรรยาของเขา เป็นเครื่องบินไอพ่นแอร์บัส เอ-319 ที่ตกแต่งอย่างหรูหรา ซึ่งมีมูลค่าประมาณ 61 ล้านดอลลาร์
สองพี่น้องอัมบานีจะต้องสิ้นเปลืองไปขนาดไหนจากการวิวาทเรื่องก๊าซของพวกเขา น่าจะปรากฏชัดเจนในหลายสัปดาห์หรือหลายเดือนข้างหน้า เมื่อศาลสูงสุดมีคำพิพากษา
“ความจริงจักต้องปรากฏออกมา” เป็นถ้อยคำหนึ่งซึ่งอะนิลหล่นเอาไว้ในการกล่าวรายงานอันเผ็ดร้อนต่อที่ประชุมใหญ่ประจำปีผู้ถือหุ้น ทว่าคำถามก็คือพี่น้องสองศรีจะพออกพอใจหรือไม่ เมื่อความจริง –หรืออย่างน้อยก็ความจริงในสายตาของศาลสูงสุด ปรากฏออกมาแล้ว
Gas clash fuels Ambani divide
By Raja Murthy
31/07/2009
สองศรีพี่น้องตระกูลอัมบานีที่ร่ำรวยสุดๆ ของอินเดีย กำลังเพิ่มระดับของเกมแห่งความเกลียดชังระหว่างกันภายในครอบครัวให้สูงขึ้นไปอีก โดยคราวนี้อะนิลผู้น้องชายกล่าวหามุเคชผู้พี่ชายว่ากำลังก่อคดีพิพาทอื้อฉาวเรื่องราคาก๊าซเพื่อหวังฮุบกำไรถึงกว่าหมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ แถมในการต่อสู้กัน ทั้งคู่ยังลากดึงเอากระทรวงน้ำมันปิโตรเลียม,ศาลสูงสุด,และรัฐสภาเข้ามาพัวพันด้วย อย่างไรก็ตาม สิ่งหนึ่งที่สะท้อนให้เห็นชัดเจนจากการทะเลาะเบาะแว้งกันครั้งนี้ ก็คือการดำเนินกิจการของตระกูลนี้ยังไม่ชวนให้ใครคิดไว้เนื้อเชื่อใจ
มุมไบ – มุเคช อัมบานี (Mukesh Ambani) และ อะนิล อัมบานี (Anil Ambani) สองอภิมหาเศรษฐีหมื่นล้านดอลลาร์ชาวอินเดีย กำลังเพิ่มความเสื่อมเสียให้แก่ความเป็นพี่น้องถือกำเนิดจากครรภ์มารดาเดียวกันอีกแล้ว คราวนี้ด้วยข้อพิพาทเกี่ยวกับราคาขายก๊าซ อะนิลผู้น้องชาย (วัย 50 ปี) ระบุว่า เรื่องที่กำลังวิวาทกันนี้เป็น “เรื่องอื้อฉาวซึ่งใหญ่โตมโหฬารมาก” เพราะเกี่ยวข้องกับผลกำไรจำนวนถึง 10,310 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งมุเคช (วัย 52 ปี) พี่ชายของเขาจะได้รับ จากการ “เบี้ยว” สัญญาที่ทำกับเขาเมื่อ 4 ปีที่แล้วฉบับหนึ่ง
สัญญาฉบับนี้เป็นการตกลงกันว่า บริษัท รีไลแอนซ์ อินดัสตรีส์ ลิมิเต็ด (Reliance Industries Ltd. หรือ RIL) ของมุเคช จะส่งก๊าซเป็นจำนวนวันละ 28 ล้านลูกบาศก์เมตร ให้แก่บริษัทพลังงานของอะนิลที่ชื่อว่า รีไลแอนซ์ เนเจอรัล รีซอร์สเซส ลิมิเต็ด (Reliance Natural Resources Ltd.) ณ ระดับราคา 2.34 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อล้านบีทียู
แต่มาถึงตอนนี้มุเคชต้องการขายในราคา 4.20 ดอลลาร์ต่อล้านบีทียู โดยบอกว่าเป็นราคาที่รัฐบาลกำหนดขึ้นใหม่ ภายหลังจากที่มีการพิจารณาทบทวนเกี่ยวกับก๊าซ ที่บริษัทของเขาขุดเจาะขึ้นมาได้จากแปลง ดี6 ของแอ่งกฤษณะ-โกทาวารี (Krishna-Godavari basin) ในอ่าวเบงกอล ทั้งนี้รัฐบาลคือเจ้าของก๊าซเหล่านี้ตัวจริง
ทางด้านอะนิลโอดครวญว่า การขึ้นราคามากมายเช่นนี้เป็นเรื่องไม่ยุติธรรม, ผิดกฎหมาย, และจะทำให้บริษัทอาร์ไอแอลได้กำไรอย่างมหาศาล โดยผู้ที่สูญเสียประโยชน์ไม่ใช่มีเพียงผู้ถือหุ้นในบริษัทของเขาที่มีเป็นจำนวนล้านๆ ราย ตลอดจนบรรดาผู้บริโภคเท่านั้น หากแต่ยังรวมถึงรัฐบาลด้วย
ตามรายงานของสำนักข่าวบลูมเบิร์กเมื่อวันพฤหัสบดี(30ก.ค.) ซึ่งได้อ้างข้อความจากอีเมลตอบโต้กันระหว่างพี่น้องคู่นี้ ทางอะนิลยังโต้แย้งว่า ราคาขายก๊าซตามที่ “รัฐบาลกำหนด” ซึ่งมุเคชอ้างนั้น เป็นสิ่งที่ไม่ได้มีอยู่จริง
สองศรีพี่น้องคลานตามกันมาแห่งตระกูลอัมบานีคู่นี้ แม้จะอาฆาตพยาบาทกันมายาวนานแล้ว แต่ในคราวนี้พวกเขาอาจจะไปไกลเกินไป เพราะการทะเลาะเบาะแว้งกันล่าสุดนี้ พวกเขาได้ดึงลากเอาทั้งกระทรวงน้ำมันปิโตรเลียม, ศาลสูงสุด, ศาลสูงแห่งนครมุมไบ, พวกผู้นำทางการเมืองที่เป็นฝ่ายค้าน, รวมทั้งรัฐสภา เข้ามาในการวิวาทด้วย จนทำให้บรรดานักลงทุนรู้สึกวิตกว่า มันจะลุกลามใหญ่โตโดยไม่รู้จะลงเอยกันอย่างไร
อะนิลอ้างว่า กรณีพิพาทคราวนี้กระทบกระเทือน “ผู้ถือหุ้น 15 ล้านคน (ในบริษัทของเขา) และก็มีผลกระทบต่อธุรกิจพลังงานระดับโลกอีกด้วย”
แต่ผู้จัดการอาวุโสด้านการตลาดในมุมไบผู้หนึ่งบอกกับเอเชียไทมส์ออนไลน์ว่า พี่น้องอัมบานีกำลังทำตัวเองให้เป็นที่หัวเราะเยาะของคนอื่นเท่านั้น “ผู้คน [ในตลาด] ต่างพูดกันว่า พี่น้องคู่นี้กำลังต่อสู้กันอย่างดุเดือดเหมือนกับกำลังแย่งชิงทรัพย์สมบัติของคุณพ่อของพวกเขายังงั้นแหละ ทั้งที่ความจริงแล้วมันเป็นทรัพย์สมบัติของรัฐบาล” เขากล่าว
อันที่จริงตัวอะนิลเองก็ได้กล่าวอ้างอิงถึง ธีรุไภย (Dhirubhai ชาตะ1932 มรณะ 2002) บิดาของเขาอยู่หลายครั้ง ระหว่างกล่าวรายงานในการประชุมใหญ่ประจำปีผู้ถือหุ้นของบริษัทของเขา ที่เมืองมุมไบเมื่อวันที่ 28 กรกฎาคมที่ผ่านมา โดยเนื้อหาและลีลาของการกล่าวรายงานดังกล่าวนี้ น่าจะเป็นชนิดที่ภาคบริษัทอุตสาหกรรมอินเดียไม่เคยได้ยินได้ฟังกันมาก่อนเลย
ทั้งนี้ เขาได้ทำการโจมตีอย่างยาวเหยียดและอย่างดุเดือดเลือดพล่านต่อกระทรวงน้ำมันปิโตรเลียม โดยบอกว่าเข้ามาแทรกแซงในการที่เขาวิวาทกับพี่ชาย ขณะเดียวกันเขาก็ไม่ลืมที่จะยืนยันว่า มุเคซนั้นปฏิเสธไม่ยอมรับความพยายามทุกๆ อย่างของเขาที่จะหาทางประนีประนอมกันนอกศาล
สองศรีพี่น้องคู่นี้อยู่ในภาวะสงครามกันมาตั้งแต่ปี 2005 แล้ว เมื่ออะนิลนำเอาบรรดากิจการที่ตัวเองดูแลอยู่ แยกออกมาจากบริษัทแม่ คือ รีไลแอนซ์ อินดัสตรีส์ ซึ่งบิดาของเขาเป็นผู้ก่อตั้งขึ้น
กล่าวได้ว่าอินเดียอยู่ในอาการเบื่อหน่ายการทะเลาะเบาะแว้งของพี่น้องคู่นี้เต็มที ทั้งในหมู่นักลงทุนและแวดวงการเมืองต่างมีเสียงเรียกร้องดังขึ้นเรื่อยๆ ให้หามาตรการระยะยาวที่จะทำให้เกิดความมั่นใจได้ว่า เศรษฐกิจของประเทศจะไม่ถูกครอบงำโดยธุรกิจครอบครัวแบบของพวกอัมบานี โดยเฉพาะอย่างยิ่งทรัพย์สินของประเทศชาติอย่างบ่อน้ำมัน
แต่ความเป็นจริงยังคงมีอยู่ว่า กิจการที่สองพี่น้องครอบครองเวลานี้อยู่ในขั้นอักโขมโหฬารจริงๆ กลุ่มบริษัทต่างๆ ของพวกเขาเมื่อนำมารวมกันแล้วจะมีรายรับเกินกว่า 60,000 ล้านดอลลาร์ต่อปี และติดอันดับอยู่ในกลุ่มบริษัทขนาดใหญ่ที่สุดของโลกได้อย่างสบาย แล้วก็เลยเกิดความหวั่นเกรงกันมากขึ้นทุกทีว่า เรื่องราวของครอบครัวนี้ซึ่งพิสดารโลดโผนยิ่งกว่านิยายเสียอีก จะสร้างความอกสั่นขวัญผวาให้แก่พวกนักลงทุนที่กำลังเที่ยวมองหาผลตอบแทนงามๆ ไม่ได้อยากดูละตรน้ำเน่า
ความวิตกกังวลเช่นนี้ไม่ใช่เรื่องเล่นๆ เลย กลุ่มรีไลแอนซ์-อะนิล ธีรุไภย อัมบานี กรุ๊ป (Reliance-Anil Dhirubhai Ambani หรือ R-ADG) ของอะนิล บอกว่าตนเองมีฐานผู้ถือหุ้นเป็นจำนวนถึง 12 ล้านราย ถือว่ามากที่สุดแห่งหนึ่งของโลกทีเดียว ส่วนกลุ่ม รีไลแอนซ์ อินดัสตรีส์ ลิมิเต็ด กรุ๊ป ของมุเคช ก็เป็นบริษัทภาคเอกชนรายใหญ่ที่สุดของอินเดีย โดยมีรายรับกว่า 30,000 ล้านดอลลาร์ต่อปี
สองพี่น้องได้เคยคิดอาศัยบารมีของศาลสถิตยุติธรรมมาช่วยแก้ไขข้อพิพาทระหว่างกันคราวนี้ ทว่าก็ยังไม่ถึงที่สุด เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน ศาลสูงนครมุมไบพิพากษายืนคำตัดสิน 2 ครั้งก่อนหน้านี้ของตน ที่ให้ยึดถือตามการกำหนดราคาในข้อตกลงฉบับดั้งเดิม ซึ่งมีอายุบังคับใช้ไป 17 ปี
แต่แล้วเรื่องก็ขึ้นไปถึงขั้นศาลสูงสุดของอินเดีย ภายหลังกระทรวงน้ำมันปิโตรเลียมเข้ามาแทรกแซง โดยยื่นขอให้ศาลสูงสุดตัดสินยกคำพิพากษาของศาลสูงนครมุมไบ ท่าทีเช่นนี้เห็นได้ชัดเจนว่าเป็นการเข้าข้าง อาร์ไอแอล ของมุเคช และเรื่องนี้ก็ทำให้อะนิลหงุดหงิดไม่พอใจมาก
ภายหลังการกล่าวรายงานอันลือลั่นของอะนิลในที่ประชุมใหญ่ประจำปีผู้ถือหุ้น กระทรวงน้ำมันปิโตรเลียมก็ออกมาแก้ต่างเรื่องที่ถูกอัมบานีผู้น้องโจมตีอย่างเผ็ดร้อนเช่นนั้น โดยยืนยันว่าต้องอุทธรณ์คดีไปถึงขั้นศาลสูงสุด เนื่องจากก๊าซที่พิพาทกันระหว่างพี่น้องนั้น แท้ที่จริงเป็นทรัพย์สมบัติของประเทศชาติ กระนั้นก็ตาม พวกนักการเมืองฝ่ายค้านก็กล่าวหาว่า เหตุผลแท้จริงอยู่ที่ว่า มูรลี เดโอรา รัฐมนตรีดูแลกิจการน้ำมันปิโตรเลียมและก๊าซธรรมชาติ คือผู้สนับสนุนมุเคชนั่นเอง
กรณีทะเลาะเบาะแว้งเรื่องก๊าซของพี่น้องอัมบาลีได้ลามไปถึงรัฐสภาเมื่อวันอังคาร(28ก.ค.) เนื่องจากมีพวกผู้นำทางการเมืองหยิบยกประเด็นขึ้นมาและทำให้เกิดการเอะอะวุ่นวาย พี่น้องคู่นี้ต่างก็มีกลุ่มก้อนสนับสนุนพวกเขาทั้งในฝ่ายการเมืองและในสื่อมวลชน ต่างมีช่องทางของตัวเองในการเข้าไปให้ถึงเจ้าหน้าที่ระดับบนสุดของรัฐบาลและพวกบรรณาธิการอาวุโสที่สุดในอินเดีย มันจึงเป็นความโกลาหลยุ่งเหยิงที่น่าเกลียดเอามากๆ
ยิ่งกว่านั้น ทางรัฐบาลตลอดจนพวกนักการเมืองระดับสูงนั้น ย่อมไม่สามารถอยู่เฉยทำเป็นทองไม่รู้ร้อนอีกต่อไป ภายหลังจากที่อะนิลไปกล่าวอย่างดุเดือดขนาดนั้นต่อที่ประชุมประจำปีผู้ถือหุ้น ตามรายงานของผู้สื่อข่าวด้านธุรกิจผู้หนึ่งซึ่งอยู่ภายในที่ประชุมด้วย อะนิลกล่าวรายงานที่มีความยาวประมาณ 20 หน้านี้แบบใส่อารมณ์เต็มที่ บางครั้งถึงขนาดใกล้จะน้ำตาไหลทีเดียว โดยเนื้อหาสำคัญเป็นการโจมตีอย่างดุเดือดต่อ อาร์ไอแอลของมุเคช ซึ่งที่จริงก็เป็นบริษัทเก่าของเขาเอง และกระทรวงน้ำมันปิโตรเลียม ทั้งนี้มีการใช้ถ้อยคำอันรุนแรงอย่างที่ไม่ค่อยได้พบเห็นกัน
“โชคไม่ดีเลยที่อาร์ไอแอลกำลังพยายามใช้เล่ห์เหลี่ยมทุกๆ อย่างที่สอนกันในตำรา ตลอดจนดูเหมือนยังมีอีกจำนวนมากที่อยู่นอกตำราด้วย เพื่อไม่ปฏิบัติตามข้อผูกพันตามสัญญาที่เป็นทางการและมีผลทางกฎหมาย” อะนิลบอก และกล่าวหากระทรวงน้ำมันปิโตรเลียมว่า “เข้ามาแทรกแซงโดยไร้ความจำเป็นในศาลสูงสุดอันทรงเกียรติ”
เวลานี้รัฐบาลดูเหมือนว่าจะปรับเปลี่ยนท่าทีหันมาเน้นที่การควบคุมจำกัดความเสียหายให้เกิดขึ้นน้อยที่สุด มีรายงานหลายกระแสแพร่กระจายออกมาว่า เป็นไปได้ที่จะมีการทบทวนคำรองของกระทรวงน้ำมันปิโตรเลียมที่ยื่นต่อศาลสูงสุด เพื่อคัดค้านคำพิพากษาของศาลสูงแห่งมุมไบ ทั้งนี้เพื่อทำให้อะนิลพออกพอใจขึ้นมาบ้าง
จากตัวอย่างของการพิพาทระหว่างสองศรีพี่น้องคราวนี้ ทำให้เห็นชัดเจนว่า เมื่อเอ่ยชื่อ “อัมบานี” ขึ้นมา ย่อมชวนให้เรานึกไปถึงเรื่องราวตื่นเต้นเร้าอารมณ์, ความรู้สึกนึกรังเกียจ, การก่อเรื่องชวนทะเลาะขัดแย้ง, การต่อสู้แย่งชิงอำนาจ, การทำข้อตกลงแบบคลุมเครือไม่โปร่งใส เปรียบเทียบกับกลุ่มบริษัทอินเดียระดับยักษ์ใหญ่อีกกลุ่มหนึ่ง คือ “ทาทา” (Tata) แล้ว ชื่อของกลุ่มหลังนี้จะทำให้คิดถึง “ความไว้วางใจได้” ขึ้นมาแทบเป็นอัตโนมัติทีเดียว
กลุ่มทาทาอาจจะมีจุดอ่อนข้อบกพร่องและทำความผิดพลาดเหมือนคนอื่นๆ ทว่าในฐานะที่เป็นนักหนังสือพิมพ์อาชีพมา 17 ปี ผมไม่เคยได้ยินใครสักคนกล่าวหากลุ่มทาทาว่าทุจริตฉ้อโกง, ติดสินบนนักการเมืองและนักข่าว, และหลอกลวงผู้บริโภคโดยจงใจเรียกเก็บเงินแพงเกินจริง นอกจากนั้น กลุ่มนี้ยังไม่เคยถูกครหาว่าไปตั้งบริษัทบังหน้าขึ้นตามศูนย์การเงินออฟชอร์ อย่างเช่น ไอล์ออฟแมน (Isle of Man) เพื่อการลงทุนและหลบเลี่ยงการเสียภาษี, ใช้วิธีออกใบหุ้นซ้ำซ้อนตลอดจนใช้ข้อมูลภายในเพื่อปั่นราคาในตลาดหลักทรัพย์บอมเบย์, หรือจัดทำบัญชีปลอมเพื่อให้เสียภาษีน้อยลง
เมื่อได้ยินชื่อบริษัท “อัมบานี” แล้ว คำๆ แรกที่ผุดขึ้นมาในใจทันทีย่อมไม่ใช่คำว่า “ไว้วางใจได้” อย่างแน่นอน
ความเป็นอัมบานีที่ทั้งชวนให้ระลึกถึงความระแวงสงสัย, ความยุ่งยากย่ำแย่, และความแตกแยกนี้ อันที่จริงก็สะท้อนถึงการสั่งสมทรัพย์สินความมั่งคั่งใหม่ๆ อย่างน่าอัศจรรย์ของอินเดีย และก็เป็นส่วนที่เลวร้ายที่สุดของเศรษฐกิจแดนภารตะด้วย การแตกแยกร้าวฉานกันระหว่างสองพี่น้องมุเคชและอะนิล ดูจะเป็นสิ่งที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ เมื่อพิจารณาถึงมรดกแห่งความวุ่นวายแปรปรวนซึ่งธีรุไภยผู้เป็นบิดาถ่ายทอดต่อมาถึงพี่น้องคู่นี้
ในหนังสือชีวประวัติที่ใช้ชื่อว่า “Polyester Prince: The Rise of Dhirubhai Ambani” (เจ้าชายแห่งเส้นใยโพลิเอสเตอร์: การผงาดขึ้นมาของธีรุไภย อัมบานี) ผู้เขียนซึ่งคือ ฮามิช แมคโดนัลด์ (Hamish McDonald) บอกว่า “ธีรุไภย อัมบานี ได้รับทั้งคำเยินยอสรรเสริญและทั้งความระแวงไม่ไว้วางใจ โดยสำหรับพวกนักลงทุนนับล้านๆ ของเขาซึ่งได้เห็นราคาหุ้นของพวกเขาทะยานขึ้นมาหลายเท่าตัว บุคคลผู้นี้คือพระเจ้าผู้การุณย์แห่งแวดวงธุรกิจ แต่สำหรับนักเขียนผู้หนึ่งแล้ว เขาคือ ‘ปีศาจแฟรงเกนสไตน์’ ซึ่งถูกสร้างขึ้นมาจากประสบการณ์ตามแบบฉบับของอินเดีย ที่รัฐบาลเข้าควบคุมเศรษฐกิจอย่างใกล้ชิด”
น่าสังเกตว่าในตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์ก ซึ่งเป็นตลาดหุ้นใหญ่ที่สุดในโลกและขึ้นชื่อเรื่องข้อกำหนดให้บริษัทจดทะเบียนทั้งหลายต้องแสดงความโปร่งใสอย่างเข้มงวด และดำเนินงานด้วยบรรทัดฐานทางด้านบรรษัทธรรมาภิบาลอย่างจริงจังนั้น ปรากฏว่ามีบริษัทอินเดียสามารถฝ่าด่านนำหุ้นเข้าไปจดทะเบียนซื้อขายได้รวมทั้งสิ้น 12 แห่ง โดยที่กลุ่มทาทาสามารถส่งเข้าไปได้ 2 แห่ง แต่อาณาจักรอัมบานี ซึ่งเป็นกลุ่มกิจการภาคเอกชนที่ใหญ่ที่สุดของอินเดีย กลับไม่มีบริษัทในเครือแม้สักแห่งเดียวที่เข้าจดทะเบียนในตลาดแห่งนี้
วัฒนธรรมอินเดียนั้นเชิดชูเรื่องความรักระหว่างพี่น้อง ดังสะท้อนให้เห็นจากวรรณคดีเรื่องเอกอย่าง “มหาภารตยุทธ์” และกระทั่งในวรรณคดีเรื่องเอกอีกเรื่องหนึ่ง คือ “รามายาณะ” ก็ยังมีการสะท้อนคุณค่านี้เอาไว้ในตัวละครสำคัญอย่างพระรามกับพระลักษมณ์ ดังนั้นแม้กระทั่งในการกล่าวรายงานอันดุเดือดต่อที่ประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้นประจำปี อะนิลก็ยังพูดถึงมุเคชด้วยถ้อยคำอันสุภาพนอบน้อม เป็นต้นว่า “พี่ชายผู้เป็นที่เคารพของผม” ทว่ากรณีการวิวาทกันล่าสุดในเรื่องก๊าซ กลับแสดงให้เห็นว่า ระหว่างสองศรีพี่น้องตระกูลอัมบานี ไม่ได้มีความรักหรือความเคารพอะไรหลงเหลืออยู่อีกแล้ว
อันที่จริงทั้งคู่มีอะไรหลายๆ อย่างที่ตรงกันข้ามกัน อะนิลซึ่งทรัพย์สมบัติส่วนตัวของเขาได้รับการคำนวณว่ามีมูลค่า 42,000 ล้านดอลลาร์ถูกจัดให้เป็นอภิมหาเศรษฐีอันดับ 6 ของโลก เขาค่อนข้างเป็นคนมีสีสันฉูดฉาดกว่าพี่ชาย เป็นต้นว่า เขายินดีปรีดาที่จะกลายเป็นข่าวพาดหัวเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม จากการลงนามในข้อตกลงมูลค่า 825 ล้านดอลลาร์กับ ดรีมเวิร์กส์ สตูดิโอ ของ สตีเวน สปีลเบิร์ก เพื่อผลิตภาพยนตร์ที่จะนำออกฉายไปทั่วโลก
เขายังตกเป็นข่าวในปีที่แล้วว่าไปเจรจาซื้อทีมฟุตบอลพรีเมียร์ลีกอังกฤษอย่าง เอฟเวอร์ตัน และ นิวคาสเซิล ยูไนเต็ด โดยที่เขาอาจจะทุ่มเงินถึง 160 ล้านดอลลาร์ แม้เรื่องเหล่านี้จะไม่ได้มีความคืบหน้าเป็นจริงเป็นจัง แต่สิ่งที่เป็นลักษณะโดดเด่นประจำตัวอะนิลอย่างหนึ่ง ก็คือ ความหลงใหลในเรื่องการออกกำลังกาย โดยบ่อยครั้งสามารถพบเห็นเขาสวมชุดวอร์มวิ่งจ๊อกกิ้งไปรอบๆ เมืองมุมไบ
สำหรับมุเคซผู้พี่ชายซึ่งเกิดที่เยเมน และมีทรัพย์สินส่วนตัวราว 63,200 ล้านดอลลาร์นั้น ถูกจัดให้เป็นอภิมหาเศรษฐีอันดับ 4 ของโลก และเป็นอันดับ 1 ในเอเชีย
เขาเป็นคนเงียบๆ กว่าและดูเหมือนจะสุขุมเยือกเย็นกว่าน้องชาย มีรายงานข่าวว่าเขาจ้างกุ๊กฝีมือดีมาคอยปรุงอาหารให้ และกำลังสร้างบ้านหลังหนึ่งในมุมไบที่มีมูลค่า 3,000 ล้านดอลลาร์ รวมทั้งเป็นเจ้าของทีมคริกเก็ตในพรีเมียร์ลีกของอินเดีย ในปี 2007 เขาให้ของขวัญวันเกิดแก่ นิต้า ภรรยาของเขา เป็นเครื่องบินไอพ่นแอร์บัส เอ-319 ที่ตกแต่งอย่างหรูหรา ซึ่งมีมูลค่าประมาณ 61 ล้านดอลลาร์
สองพี่น้องอัมบานีจะต้องสิ้นเปลืองไปขนาดไหนจากการวิวาทเรื่องก๊าซของพวกเขา น่าจะปรากฏชัดเจนในหลายสัปดาห์หรือหลายเดือนข้างหน้า เมื่อศาลสูงสุดมีคำพิพากษา
“ความจริงจักต้องปรากฏออกมา” เป็นถ้อยคำหนึ่งซึ่งอะนิลหล่นเอาไว้ในการกล่าวรายงานอันเผ็ดร้อนต่อที่ประชุมใหญ่ประจำปีผู้ถือหุ้น ทว่าคำถามก็คือพี่น้องสองศรีจะพออกพอใจหรือไม่ เมื่อความจริง –หรืออย่างน้อยก็ความจริงในสายตาของศาลสูงสุด ปรากฏออกมาแล้ว