xs
xsm
sm
md
lg

นักวิจัยมะกันใช้ภาพถ่ายดาวเทียมติดตาม “สึนามิ”

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

ภาพถ่ายดาวเทียมเกาะภูเก็ตของไทย เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม
เอเจนซี - ทีมนักวิจัยของรัฐบาลสหรัฐฯ ศึกษาภาพถ่ายดาวเทียมย้อนหลังในช่วงที่เกิดคลื่นยักษ์สึนามิเมื่อปลายปี 2004 และพบแนวเส้นขอบของคลื่นดังกล่าวชัดเจน จึงอาจเป็นหนทางใหม่ในการตรวจจับคลื่นยักษ์ได้อย่างรวดเร็วในอนาคต และประกาศเตือนประชาชนได้ทันท่วงที

ทีมนักวิจัยดังกล่าวได้ย้อนกลับไปตรวจดูภาพถ่ายดาวเทียมในมหาสมุทรอินเดียในช่วงเวลาที่เกิดคลื่นสึนามิ เมื่อเดือนธันวาคม 2004 ซึ่งเข้าซัดทำลายบริเวณชายฝั่งทะเลในอินโดนีเซีย ไทย ศรีลังกา และอีกหลายประเทศ จนทำให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 228,000 คน

“เราพบระลอกคลื่นบนผิวน้ำ ซึ่งจะเป็นตัวชี้วัดอย่างดีถึงความรุนแรงแท้จริงของคลื่นสึนามิตลอดแนวเส้นขอบของคลื่น” โอเลก โกดิน แห่งสำนักงานบริหารด้านมหาสมุทรและภูมิอากาศแห่งชาติ ซึ่งตั้งอยู่ที่เมืองโบลเดอร์ มลรัฐโคโลราโดแถลง

เหตุการณ์สีนามิดังกล่าวมีจุดเริ่มต้นจากการเกิดแผ่นดินไหวอย่างรุนแรงในอินโดนีเซีย

ที่ผ่านมา รัฐบาลหลายประเทศต่างเร่งติดตั้งระบบเตือนภัยล่วงหน้าโดยอาศัยการสังเกตทุ่นลอยกลางมหาสมุทรเป็นอุปกรณ์ตรวจจับความผิดปกติของคลื่นที่กำลังซัดเข้าฝั่ง

ทว่า ระบบดังกล่าวยังขาดความสมบูรณ์และยังอาจระบุเป้าหมายผิดพลาด อีกทั้งการติดตั้งทุ่นลอยก็ไม่สามารถทำได้ทุกจุด ยิ่งกว่านั้นโดยปกติแล้วคลื่นสึนามิจะตรวจพบได้ก็ต่อเมื่อเข้าสู่เขตน้ำตื้นแล้ว แต่ในเขตน้ำลึกกลางมหาสมุทรจะแทบไม่พบความผิดปกติบนผิวน้ำเลย
ดาวเทียมสามารถตรวจพบระลอกคลื่นแม้เพียงเล็กน้อยได้ อย่างไรก็ตาม ดาวเทียมที่มีใช้อยู่ตอนนี้ ไม่ได้จับภาพครอบคลุมเขตทะเลมหาสมุทรไปหมดทั่วทั้งโลก

ทีมนักวิจัยของโกดิน พบว่า ในขณะที่คลื่นสึนามิกำลังเคลื่อนตัวผ่านบริเวณกลางมหาสมุทร มันจะกวนให้น้ำวนและบริเวณผิวน้ำจะกลายเป็นสีคล้ำกว่าปกติไปตลอดแนวขอบของคลื่นทีเดียว

มีดาวเทียมธรรมดาจำนวนมากเคยตรวจพบผิวน้ำสีดำเช่นนี้ด้วยเช่นกัน และมีการรายงานไว้ในวารสาร Natural Hazards and Earth System Sciences
กำลังโหลดความคิดเห็น