(จากเอเชียไทมส์ออนไลน์www.atimes.com)
China makes a choice in Iran
By Francesco Sisci
24/06/2009
ก็เหมือนกับเมื่อครั้ง “เส้นทางสายแพรไหม” ในอดีตกาล ตามที่ปรากฏในภาพยนตร์จีนเรื่อง “จักรวรรดิแห่งเงินยวง” ที่เพิ่งนำออกมาฉายกันเมื่อไม่นานมานี้ การมุ่งที่จะรักษาสภาพเดิมเอาไว้ ยังคงเป็นมนตราทางการเมืองของจีนจวบจนปัจจุบัน นโยบายเช่นนี้เองได้ถูกนำมาใช้กับอิหร่าน ที่ซึ่งปักกิ่งคำนวณแล้วเห็นว่าจะสามารถรักษาผลประโยชน์ของตนเองเอาไว้ได้ดีที่สุด ถ้าหากความปั่นป่วนวุ่นวายเกี่ยวกับการได้รับเลือกตั้งอีกสมัยของประธานาธิบดีมาห์มูด อาห์มาดิเนจัด จะมีการคลี่คลายผ่านพ้นไปอย่างรวดเร็ว
ปักกิ่ง – ภาพพยนตร์เรื่อง “จักรวรรดิแห่งเงินยวง” (The Empire of Silver) ของ กั๋วไถ่หมิง (Guo Taiming) ที่เพิ่งนำออกมาฉายภายในประเทศเมื่อไม่นานมานี้ ได้บรรยายให้เห็นทั้งความเจ้าเล่ห์, การทรยศหักหลัง, การต่อสู้, ความลำบากยากแค้น, และความมุ่งมั่นเร่าร้อน ซึ่งปรากฏควบคู่มากับรายได้และโชคลาภของพวกพ่อค้าชาวจีนตาม “เส้นทางสายแพรไหม” (Silk Road) คฤหาสน์อันมโหฬารของพวกเขาหลายต่อหลายหลัง ที่ยังคงยืนตระหง่านอยู่ในมณฑลซานซีแห่งยุคใหม่ ตรงบริเวณรอบๆ เมืองผิงเหยา (Pingyao) คือพยานยืนยันถึงความมั่งคั่งรุ่มรวยที่พวกเขาเฝ้าเพียรพยายามสะสมมาได้
ตัวเมืองผิงแหยาเอง แม้บัดนี้จะกลายเป็นเมืองเล็กๆ ที่แทบจะถูกพระเจ้าทอดทิ้งแล้ว โดยอยู่ห่างเพียงไม่กี่กิโลเมตรจากแผ่นผืนของทะเลทรายที่รุกคืบเข้ามาเรื่อยๆ ก็กำลังได้รับการเฉลิมฉลองยกย่องในประเทศจีน ในฐานะที่เป็นอดีตเมืองหลวงเก่าแห่งภาคการเงินของจีน มันเป็นสถานที่ซึ่งพวกเครื่องมือสำคัญยิ่งของกระแสเงินตราในยุคสมัยปัจจุบัน เป็นต้นว่า เช็ก และธนบัตร ได้รับการประดิษฐ์คิดสร้างและใช้กันเป็นที่แรก
ประวัติศาสตร์ของผิงเหยาเป็นเครื่องพิสูจน์ให้เห็นว่า ประเทศจีนได้เคยมีความรู้สึกและก็ยังคงมีความรู้สึก ต่อเสถียรภาพของเส้นทางสายแพรไหมกันอย่างไร ถึงว่าเวลานี้การค้าเกือบทั้งหมดของจีนกระทำผ่านชายฝั่งทะเล ไม่เหมือนกับในอดีตกาลจวบจนกระทั่งเมื่อประมาณ 150 ปีมานี้เอง ที่การค้าต้องใช้เส้นทางข้ามทวีปอันเหยียดยาวผ่านเอเชียกลางและอิหร่าน
ดินแดนต่างๆ เหล่านี้ไม่ใช่เป็นแค่เพียงประดาชิ้นส่วนอันห่างไกลในเกมโดมิโนภูมิรัฐศาสตร์ หรือเป็นซัปพลายเออร์พวกสินค้าเชื้อเพลิงและวัตถุดิบผู้ไม่มีความแน่นอนเอาเสียเลยเท่านั้น หากแต่พวกเขาเป็นส่วนหนึ่งแห่งเส้นโลหิตเส้นชีวิตที่ประเทศจีนไม่สามารถเข้าไปควบคุมด้วยกำลังทหาร (ไม่เหมือนกับอเมริกาที่สามารถควบคุมเส้นทางเดินเรือทะเลในยุคใหม่ของตน) ทว่าก็มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งต่อภาคส่วนต่างๆ ของเศรษฐกิจจีน ด้วยเหตุนี้เอง การทูตและเงินทองของจีนจึงได้เข้าไปช่วยเหลือมุ่งทำให้เกิดเสถียรภาพขึ้นในพื้นที่แถบนั้น ไม่ว่าสถานการณ์จะผันแปรไปอย่างไรก็ตามที เมื่อกล่าวถึงที่สุดแล้ว ทำอย่างไรให้สินค้ายังคงขนส่งไหลเวียนอยู่ได้ คือสิ่งที่สำคัญสำหรับผิงเหยา หาใช่การหาทางให้เกิดการตกลงรอมชอมทางการเมือง อย่างเช่นในอิหร่าน ที่อาจต้องกระทำกันเป็นมื้อเป็นคราว
ประวัติศาสตร์ในอดีตเหล่านี้ ก็ยังคงสะท้อนให้เห็นอยู่ในวิธีคิดของคนจีน ในเวลาที่มองความปั่นป่วนทางการเมืองในอิหร่านในขณะนี้
ในทันทีหลังจากผลการเลือกตั้งเมื่อเร็วๆ นี้ในอิหร่านได้ถูกประกาศออกมา พวกผู้เชี่ยวชาญชาวจีนก็ได้กลิ่นของความไม่ชอบมาพากล แม้กระทั่งในประเทศสมัยใหม่ที่มีเครื่องมืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และมีการจัดตั้งองค์กรมารองรับแบบไร้ที่ตำหนิ มันก็ยังต้องใช้เวลาหลายวันกว่าที่จะได้ผลการเลือกตั้งขั้นสุดท้าย
ในอิหร่าน องค์กรรองรับการจัดการเลือกตั้ง ส่วนใหญ่แล้วยังอยู่ในสภาพที่หยาบๆ ง่ายๆ และแทบไม่มีหรือกระทั่งไม่มีเครือข่ายเครื่องมืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เอาเลย ทว่าผู้นำระดับสูงสุดกลับสามารถประกาศชัยชนะอีกสมัยของประธานาธิบดีมาห์มูด อาห์มาดิเนจัด (Mahmud Ahmadinejad)ได้ในเวลาเพียงแค่ 2 ชั่วโมงภายหลังการลงคะแนนสิ้นสุดลง ยิ่งกว่านั้น การสอบสวนและการตรวจสอบแบบสุ่มตรวจเป็นบางจุด บ่งชี้ให้เห็นว่าแท้ที่จริงแล้วอาห์มาดิเนจัดได้คะแนนเสียงเป็นแค่อันดับ 3 ตามหลัง มีร์ ฮุสเซน มูซาวี (Mir Hussein Mousavi) ผู้เป็นคนทางจังหวัดอีสต์ อาซาร์ไบจัน (East Azabaijan) และกระทั่งยังตามหลังผู้สมัครหัวปฏิรูปอีกคนหนึ่ง นั่นคือ เมห์ดี คาร์รูบี (Mehdi Karroubi) ตามผลการนับคะแนนอย่างเป็นทางการนั้น มูซาวีพ่ายแพ้แม้แต่ในบรรดาหมู่บ้านทางบ้านเกิดของเขา ซึ่งประชากรเป็นชาวอาซาร์ (Azar) ผู้ยึดมั่นในเรื่องตระกูลเรื่องพวกพ้องอย่างเหนียวแน่น แถมในบางพื้นที่ปรากฏว่ามีบัตรลงคะแนนในหีบเท่ากับ 140% ของผู้มีสิทธิออกเสียง
เหล่านี้เป็นเหตุผลอธิบายว่าทำไมในตอนเริ่มต้นสัปดาห์ที่แล้ว พวกหนังสือพิมพ์จีนจึงพากันวิพากษ์วิจารณ์และเยาะหยันอาห์มาดิเนจัด และผู้นำสูงสุด อยาโตลเลาะห์ อาลี คาเมเนอี (Ayatollah Ali Khamenei) ผู้อุปถัมภ์ทางการเมืองของอาห์มาดิเนจัด และก็เป็นผู้นำระดับสูงที่สุดของอิหร่านด้วย จากการที่พวกเขาทั้งคู่กล่าวอ้างชัยชนะโดยที่บอกว่าได้คะแนนเสียงรวมทั้งสิ้นถึง 71% พวกหนังสือพิมพ์ยังสามารถพูดอะไรได้ตามใจ เนื่องจากแม้กระทั่งเหล่าผู้วางนโยบายระดับสูงของจีนเอง ก็คงคิดว่าอาห์มาดิเนจัดทำอะไรเกินเลยไปแล้ว
อย่างไรก็ตาม ในอีกสองสามวันต่อมา มันก็เป็นที่ชัดเจนเช่นกันว่าจะไม่มีการยกเลิกผลการเลือกตั้งอย่างเป็นทางการนี้ คาเมเนอีออกคำสั่งให้มีการนับคะแนนใหม่เป็นบางส่วน ซึ่งก็กลับเป็นการยืนยันตัวเลขดั้งเดิม พวกผู้เดินขบวนที่นิยมมูซาวี อาจจะออกมาตามท้องถนน อีกทั้งอาจหวังที่จะสร้างความโกลาหลอลหม่านในกรุงเตหะราน อันเป็นที่พำนักอาศัยของประชากรราวหนึ่งในหกของอิหร่าน ทว่าพวกเขาไม่สามารถหวังได้หรอกว่าจะสามารถโค่นล้มอาห์มาดิเนจัดได้โดยไม่ต้องมีการประจันหน้ากันด้วยความรุนแรง ประธานาธิบดีผู้นี้สามารถควบคุมกองทัพ และที่สำคัญที่สุดคือ เครือข่ายอันกว้างขวางของกองกำลังพิทักษ์การปฏิวัติอิหร่าน (Iranian Revolutionary Guards Corps) ซึ่งมีผลประโยชน์ต่างๆ อยู่มากมายจนต้องรักษาสถานะเดิมของอิหร่านเอาไว้ให้ได้
และแล้วในเวลานี้มันก็เหมือนกับวันเวลาในอดีตในภาพยนตร์เรื่อง “จักรวรรดิแห่งเงินยวง” การรักษาสถานะเดิมก็กลายเป็นมนตราทางการเมืองของปักกิ่งไปด้วย
จีนมีความกังวลสนใจเป็นอย่างยิ่งในเรื่องเสถียรภาพทางการเมืองตามแนวพรมแดนของตน เพราะมันเป็นสิ่งหนึ่งที่สามารถบ่อนทำลายเสถียรภาพภายในประเทศจีนเอง ซึ่งเป็นเงื่อนไขอันจำเป็นสำหรับการดำเนินโครงการปฏิรูปและการเปลี่ยนแปลงไปสู่ความทันสมัยของแดนมังกร ภาวะจลาจลวุ่นวายในอิหร่านยังดูมีอันตรายมากเป็นพิเศษด้วย ในเมื่อเวลานี้ อิรักก็อยู่ในความปั่นป่วนวุ่นวายอยู่แล้ว, อัฟกานิสถานต้องการกำลังทหารเพิ่ม ซึ่งหมายถึงว่าต้องมีกิจกรรมทางการทหารมากขึ้น, ในปากีสถาน พวกตอลิบานกำลังต่อสู้ช่วงชิงอำนาจทางการเมือง, และแคว้นแคชเมียร์ ซึ่งเป็นดินแดนที่ปากีสถานกับอินเดียพิพาทกันอยู่ ก็ยังคงมีสภาพเสมือนถังดินระเบิด
ถ้าหากอิหร่านดำดิ่งลงไปในการปฏิวัติครั้งใหม่หรือสงครามกลางเมืองครั้งใหม่ ปากีสถานผู้เป็นเพื่อนบ้านติดกันก็อาจจะติดตามลงไปในไม่ช้า และไม่ว่าจะเป็นกรณีของประเทศไหน ความสงบทางการเมืองจะฟื้นฟูกลับคืนมาได้ก็มีแต่ด้วยราคาของการปราบปรามอย่างรุนแรงเท่านั้น ซึ่งคงจะเป็นที่ยอมรับเห็นชอบถ้าเป็นที่ปากีสถาน (ที่ซึ่งรัฐบาลเป็นพวกนิยมตะวันตก) และจะเป็นที่คัดค้านไม่เห็นด้วยในอิหร่าน (ที่ซึ่งพวกผู้นำเป็นผู้ต่อต้านฝ่ายตะวันตก) ในส่วนของอินเดียคงเป็นไปได้ยากทีเดียวที่จะหลีกเลี่ยงการมีส่วนเกิดความยุ่งยากวุ่นวายไปด้วย ในเมื่อมีชนส่วนน้อยชาวมุสลิมเป็นจำนวนมากและควบคุมได้ยาก ศูนย์กลางทางการเงินในนครมุมไบ (บอมเบย์) ตั้งอยู่ไม่ห่างจากปากีสถานและมีเขตชุมชนแออัดของชาวมุสลิมขนาดใหญ่ทีเดียว จึงอาจจะถูกโจมตีจากพวกผู้ก่อการร้ายอีกครั้งหนึ่ง จีนเองก็ต้องอยู่ในภาวะเตรียมพร้อมรับมือกับอันตราย พื้นที่ชาวมุสลิมของจีนในซินเจียง (ซินเกียง) ประกอบด้วยชนส่วนน้อยชาวอุยกูร์ (เป็นกลุ่มคนที่พูดภาษาเตอร์คิค –Turkic) ที่ต้องการแยกตัวเป็นเอกราชและสร้างความกังวลใจอยู่เรื่อยมา อาจจะได้รับแรงบันดาลใจที่จะจุดประกายให้เกิดการประท้วงของพวกเขาเองขึ้นมา
ไม่ว่าจะเกิดเหตุการณ์แบบไหน ก็ล้วนแต่สามารถทำให้ทั่วทั้งภูมิภาคตกอยู่ท่ามกลางเปลิวเพลิงในเวลาไม่นานนัก จากนั้นราคาน้ำมันอาจจะพุ่งทะยานขึ้นอีกครั้ง เนื่องจากความปั่นป่วนวุ่นวายในอิหร่านย่อมคุกคามความมั่นคงปลอดภัยในแถบอ่าวอาหรับและคาบสมุทรอาระเบีย
ในเวลาอันรวดเร็วทีเดียว สงครามอิรักก็จะดูเป็นปัญหาเล็กๆ ไปเลยเมื่อเปรียบเทียบกับฝันร้ายที่กำลังเริ่มต้นขึ้นในอิหร่าน ยิ่งไปกว่านั้น ด้วยแรงบันดาลใจจากอิหร่าน เกาหลีเหนือก็อาจพยายามที่จะก่อกวนให้เกิดความโกลาหลอลหม่านขึ้นมาบ้าง บางทีอาจจะเพื่อเรียกร้องเอาผลประโยชน์ใหม่ๆ และอันตรายจากการเจรจา 6 ฝ่าย ในจังหวะเวลาที่รัฐบาลชาติอื่นๆ อาจจะกำลังมีความวิตกมากเกินไปอยู่แล้วเกี่ยวกับอิหร่าน จึงไม่มีเวลาที่จะมาจุกจิกจู้จี้เกี่ยวกับเรื่องการอ่อนข้อต่างๆ ให้แก่เปียงยาง
จากภูมิหลังเช่นนี้เอง ในบทบรรณาธิการฉบับวันที่ 18 มิถุนายนของหนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษ “ไชน่า เดลี่” (Chian Daily) ของทางการ ประเทศจีนจึงได้แสดงความปรารถนาให้เตหะรานสามารถฟื้นฟูสันติภาพขึ้นมาโดยเร็ว พร้อมกับให้กำลังใจสหรัฐฯ ในการที่ไม่ผลีผลามถูกยั่วใจให้เร่งผลักดันให้เกิดการปฏิวัติ “สี” ใหม่ๆ ขึ้นในอิหร่าน
จีนยังมีการคิดคำนวณทางการเมืองแบบหลายซับหลายซ้อนอีกด้วย ถ้าหากอาห์มาดิเนจัดที่มีความอ่อนแอภายในประเทศอยู่แล้ว ยังต้องก้าวขึ้นมาจากการเลือกตั้งที่ทุกๆ คนทราบดีว่าเขาแพ้ และต้องออกมาข้างหน้าเพื่อพูดจาในเรื่องโครงการนิวเคลียร์ของอิหร่านแล้ว เขาก็น่าที่จะอยู่ในฐานะอ่อนแอมากๆ และดังนั้นจึงย่อมมีความปรารถนาที่จะทำความตกลงอ่อนข้อให้แก่ข้อเรียกร้องของต่างชาติ ในทางกลับกัน ถ้าหากใครบางคนเป็นต้นว่ามูซาวี ปรากฏตัวผงาดขึ้นมาจากการเดินขบวนที่ดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง เขาก็จะมีฐานสนับสนุนจากประชาชนอันเข้มแข็ง และดังนั้นก็อาจจะไม่ปรารถนาที่จะยอมอ่อนข้อในเรื่องที่ได้รับการพิจารณาว่าเป็นเรื่องของความมั่นคงแห่งชาติและศักดิ์ศรีของชาติ ซึ่งโครงการนิวเคลียร์อิหร่านย่อมจัดอยู่ในข้อพิจารณานี้อย่างไม่ต้องสงสัย
ปักกิ่งคาดคำนวณทางการเมืองแบบวางอยู่บนพื้นฐานของการมีความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจและทางการเมืองอย่างต่อเนื่องและเพิ่มพูนขึ้นเรื่อยๆ กับอิหร่าน จึงกำลังช่วยหาทางออกให้แก่ประธานาธิบดีผู้กำลังครองอำนาจอยู่ สำหรับอเมริกา ซึ่งตัดขาดจากอิหร่านมาเป็นเวลา 30 ปีแล้ว จึงไม่มีความสัมพันธ์ทางการเมืองอะไรให้พูดถึง และดังนั้นจึงไม่ได้มีบารมีที่จะช่วยเหลืออะไรด้วยเช่นกัน เป็นเรื่องง่ายสำหรับจีนที่จะคิดติดต่อคบค้ากับบุรุษผู้ดำรงอยู่ในเวลานี้อยู่แล้ว ซึ่งก็คืออาห์มาดิเนจัด ส่วนสำหรับอเมริกาซึ่งไม่ได้มีความไว้วางใจใครเลย จึงเป็นการง่ายที่จะวางเดิมพันฝั่งมูซาวี ผู้เป็นคนใหม่ ซึ่งวอชิงตันย่อมมองว่า ถึงอย่างไรก็คงไม่สามารถที่จะเลวร้ายไปกว่าคนปัจจุบันสักเท่าใดเลย
ยิ่งกว่านั้น สหรัฐฯอาจจะขบคิดว่า ตราบเท่าที่ยังเกิดการประท้วงในเตหะราน แรงกดดันจากอิสราเอลเพื่อให้ดำเนินการโจมตีทางอากาศต่อบรรดาที่ตั้งทางนิวเคลียร์ของอิหร่าน ซึ่งย่อมจะก่อให้เกิดความยุ่งยากขึ้นมาอย่างมากมายนั้น ก็สามารถที่จะหยุดพิจารณาชั่วคราวเก็บใส่ลิ้นชักเอาไว้ก่อน
เมื่อมองในทางยุทธศาสตร์ โลกเวลานี้อยู่ท่ามกลางวิกฤตทางเศรษฐกิจอันร้ายแรงอยู่แล้ว จึงย่อมยากที่จะสละเวลาและพลังงานไปรับมือกับการขยายตัวของวิกฤตทางภูมิรัฐศาสตร์ในปัจจุบัน ซึ่งก็ได้แผ่กระจายจากอิรักไปถึงปากีสถานอยู่แล้ว สภาพเช่นนี้ย่อมเป็นผลดีต่อผลประโยชน์ของจีนที่มุ่งมั่นทำให้เกิดสถานะเดิม
อย่างไรก็ตาม เมื่อมองในทางยุทธวิธี ความหวังของจีนที่จะได้เห็นทางออกอันรวดเร็วและเป็นไปอย่างสันติ อาจจะมลายหายไปก็ได้ ถึงแม้จะได้พยายามคาดคำนวณทุกสิ่งทุกอย่างแล้ว ทว่ากระบวนการทางประวัติศาสตร์และการประท้วงต่อต้านก็ย่อมมีหนทางในการพัฒนาคลี่คลายของมันเองอย่างเป็นอิสระจากการวางแผนเลือดเย็นทางการเมืองใดๆ แน่นอนทีเดียวว่าเมื่ออารมณ์ความรู้สึกของประชาชนเดือดพล่าน ดังที่เกิดขึ้นในอิหร่านตอนนี้ มันย่อมง่ายดายกว่าที่จะสาดกระจายเปลวเพลิงแห่งความไม่สยบยินยอม ยิ่งกว่าจะไปขจัดเปลวเพลิงเหล่านี้ให้ดับมอด
สภาพเช่นนี้อาจจะนำความยุ่งยากมาสู่ประเทศจีน ทว่าหากเป็นเช่นนั้นจริงๆ ก็คงแทบไม่มีใครอื่นเลยเช่นกันที่จะสามารถรอดพ้นไปได้
ฟรานเชสโก ซิสซี เป็นบรรณาธิการด้านเอเชีย ของหนังสือพิม์ ลา สตัมปา แห่งอิตาลี
China makes a choice in Iran
By Francesco Sisci
24/06/2009
ก็เหมือนกับเมื่อครั้ง “เส้นทางสายแพรไหม” ในอดีตกาล ตามที่ปรากฏในภาพยนตร์จีนเรื่อง “จักรวรรดิแห่งเงินยวง” ที่เพิ่งนำออกมาฉายกันเมื่อไม่นานมานี้ การมุ่งที่จะรักษาสภาพเดิมเอาไว้ ยังคงเป็นมนตราทางการเมืองของจีนจวบจนปัจจุบัน นโยบายเช่นนี้เองได้ถูกนำมาใช้กับอิหร่าน ที่ซึ่งปักกิ่งคำนวณแล้วเห็นว่าจะสามารถรักษาผลประโยชน์ของตนเองเอาไว้ได้ดีที่สุด ถ้าหากความปั่นป่วนวุ่นวายเกี่ยวกับการได้รับเลือกตั้งอีกสมัยของประธานาธิบดีมาห์มูด อาห์มาดิเนจัด จะมีการคลี่คลายผ่านพ้นไปอย่างรวดเร็ว
ปักกิ่ง – ภาพพยนตร์เรื่อง “จักรวรรดิแห่งเงินยวง” (The Empire of Silver) ของ กั๋วไถ่หมิง (Guo Taiming) ที่เพิ่งนำออกมาฉายภายในประเทศเมื่อไม่นานมานี้ ได้บรรยายให้เห็นทั้งความเจ้าเล่ห์, การทรยศหักหลัง, การต่อสู้, ความลำบากยากแค้น, และความมุ่งมั่นเร่าร้อน ซึ่งปรากฏควบคู่มากับรายได้และโชคลาภของพวกพ่อค้าชาวจีนตาม “เส้นทางสายแพรไหม” (Silk Road) คฤหาสน์อันมโหฬารของพวกเขาหลายต่อหลายหลัง ที่ยังคงยืนตระหง่านอยู่ในมณฑลซานซีแห่งยุคใหม่ ตรงบริเวณรอบๆ เมืองผิงเหยา (Pingyao) คือพยานยืนยันถึงความมั่งคั่งรุ่มรวยที่พวกเขาเฝ้าเพียรพยายามสะสมมาได้
ตัวเมืองผิงแหยาเอง แม้บัดนี้จะกลายเป็นเมืองเล็กๆ ที่แทบจะถูกพระเจ้าทอดทิ้งแล้ว โดยอยู่ห่างเพียงไม่กี่กิโลเมตรจากแผ่นผืนของทะเลทรายที่รุกคืบเข้ามาเรื่อยๆ ก็กำลังได้รับการเฉลิมฉลองยกย่องในประเทศจีน ในฐานะที่เป็นอดีตเมืองหลวงเก่าแห่งภาคการเงินของจีน มันเป็นสถานที่ซึ่งพวกเครื่องมือสำคัญยิ่งของกระแสเงินตราในยุคสมัยปัจจุบัน เป็นต้นว่า เช็ก และธนบัตร ได้รับการประดิษฐ์คิดสร้างและใช้กันเป็นที่แรก
ประวัติศาสตร์ของผิงเหยาเป็นเครื่องพิสูจน์ให้เห็นว่า ประเทศจีนได้เคยมีความรู้สึกและก็ยังคงมีความรู้สึก ต่อเสถียรภาพของเส้นทางสายแพรไหมกันอย่างไร ถึงว่าเวลานี้การค้าเกือบทั้งหมดของจีนกระทำผ่านชายฝั่งทะเล ไม่เหมือนกับในอดีตกาลจวบจนกระทั่งเมื่อประมาณ 150 ปีมานี้เอง ที่การค้าต้องใช้เส้นทางข้ามทวีปอันเหยียดยาวผ่านเอเชียกลางและอิหร่าน
ดินแดนต่างๆ เหล่านี้ไม่ใช่เป็นแค่เพียงประดาชิ้นส่วนอันห่างไกลในเกมโดมิโนภูมิรัฐศาสตร์ หรือเป็นซัปพลายเออร์พวกสินค้าเชื้อเพลิงและวัตถุดิบผู้ไม่มีความแน่นอนเอาเสียเลยเท่านั้น หากแต่พวกเขาเป็นส่วนหนึ่งแห่งเส้นโลหิตเส้นชีวิตที่ประเทศจีนไม่สามารถเข้าไปควบคุมด้วยกำลังทหาร (ไม่เหมือนกับอเมริกาที่สามารถควบคุมเส้นทางเดินเรือทะเลในยุคใหม่ของตน) ทว่าก็มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งต่อภาคส่วนต่างๆ ของเศรษฐกิจจีน ด้วยเหตุนี้เอง การทูตและเงินทองของจีนจึงได้เข้าไปช่วยเหลือมุ่งทำให้เกิดเสถียรภาพขึ้นในพื้นที่แถบนั้น ไม่ว่าสถานการณ์จะผันแปรไปอย่างไรก็ตามที เมื่อกล่าวถึงที่สุดแล้ว ทำอย่างไรให้สินค้ายังคงขนส่งไหลเวียนอยู่ได้ คือสิ่งที่สำคัญสำหรับผิงเหยา หาใช่การหาทางให้เกิดการตกลงรอมชอมทางการเมือง อย่างเช่นในอิหร่าน ที่อาจต้องกระทำกันเป็นมื้อเป็นคราว
ประวัติศาสตร์ในอดีตเหล่านี้ ก็ยังคงสะท้อนให้เห็นอยู่ในวิธีคิดของคนจีน ในเวลาที่มองความปั่นป่วนทางการเมืองในอิหร่านในขณะนี้
ในทันทีหลังจากผลการเลือกตั้งเมื่อเร็วๆ นี้ในอิหร่านได้ถูกประกาศออกมา พวกผู้เชี่ยวชาญชาวจีนก็ได้กลิ่นของความไม่ชอบมาพากล แม้กระทั่งในประเทศสมัยใหม่ที่มีเครื่องมืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และมีการจัดตั้งองค์กรมารองรับแบบไร้ที่ตำหนิ มันก็ยังต้องใช้เวลาหลายวันกว่าที่จะได้ผลการเลือกตั้งขั้นสุดท้าย
ในอิหร่าน องค์กรรองรับการจัดการเลือกตั้ง ส่วนใหญ่แล้วยังอยู่ในสภาพที่หยาบๆ ง่ายๆ และแทบไม่มีหรือกระทั่งไม่มีเครือข่ายเครื่องมืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เอาเลย ทว่าผู้นำระดับสูงสุดกลับสามารถประกาศชัยชนะอีกสมัยของประธานาธิบดีมาห์มูด อาห์มาดิเนจัด (Mahmud Ahmadinejad)ได้ในเวลาเพียงแค่ 2 ชั่วโมงภายหลังการลงคะแนนสิ้นสุดลง ยิ่งกว่านั้น การสอบสวนและการตรวจสอบแบบสุ่มตรวจเป็นบางจุด บ่งชี้ให้เห็นว่าแท้ที่จริงแล้วอาห์มาดิเนจัดได้คะแนนเสียงเป็นแค่อันดับ 3 ตามหลัง มีร์ ฮุสเซน มูซาวี (Mir Hussein Mousavi) ผู้เป็นคนทางจังหวัดอีสต์ อาซาร์ไบจัน (East Azabaijan) และกระทั่งยังตามหลังผู้สมัครหัวปฏิรูปอีกคนหนึ่ง นั่นคือ เมห์ดี คาร์รูบี (Mehdi Karroubi) ตามผลการนับคะแนนอย่างเป็นทางการนั้น มูซาวีพ่ายแพ้แม้แต่ในบรรดาหมู่บ้านทางบ้านเกิดของเขา ซึ่งประชากรเป็นชาวอาซาร์ (Azar) ผู้ยึดมั่นในเรื่องตระกูลเรื่องพวกพ้องอย่างเหนียวแน่น แถมในบางพื้นที่ปรากฏว่ามีบัตรลงคะแนนในหีบเท่ากับ 140% ของผู้มีสิทธิออกเสียง
เหล่านี้เป็นเหตุผลอธิบายว่าทำไมในตอนเริ่มต้นสัปดาห์ที่แล้ว พวกหนังสือพิมพ์จีนจึงพากันวิพากษ์วิจารณ์และเยาะหยันอาห์มาดิเนจัด และผู้นำสูงสุด อยาโตลเลาะห์ อาลี คาเมเนอี (Ayatollah Ali Khamenei) ผู้อุปถัมภ์ทางการเมืองของอาห์มาดิเนจัด และก็เป็นผู้นำระดับสูงที่สุดของอิหร่านด้วย จากการที่พวกเขาทั้งคู่กล่าวอ้างชัยชนะโดยที่บอกว่าได้คะแนนเสียงรวมทั้งสิ้นถึง 71% พวกหนังสือพิมพ์ยังสามารถพูดอะไรได้ตามใจ เนื่องจากแม้กระทั่งเหล่าผู้วางนโยบายระดับสูงของจีนเอง ก็คงคิดว่าอาห์มาดิเนจัดทำอะไรเกินเลยไปแล้ว
อย่างไรก็ตาม ในอีกสองสามวันต่อมา มันก็เป็นที่ชัดเจนเช่นกันว่าจะไม่มีการยกเลิกผลการเลือกตั้งอย่างเป็นทางการนี้ คาเมเนอีออกคำสั่งให้มีการนับคะแนนใหม่เป็นบางส่วน ซึ่งก็กลับเป็นการยืนยันตัวเลขดั้งเดิม พวกผู้เดินขบวนที่นิยมมูซาวี อาจจะออกมาตามท้องถนน อีกทั้งอาจหวังที่จะสร้างความโกลาหลอลหม่านในกรุงเตหะราน อันเป็นที่พำนักอาศัยของประชากรราวหนึ่งในหกของอิหร่าน ทว่าพวกเขาไม่สามารถหวังได้หรอกว่าจะสามารถโค่นล้มอาห์มาดิเนจัดได้โดยไม่ต้องมีการประจันหน้ากันด้วยความรุนแรง ประธานาธิบดีผู้นี้สามารถควบคุมกองทัพ และที่สำคัญที่สุดคือ เครือข่ายอันกว้างขวางของกองกำลังพิทักษ์การปฏิวัติอิหร่าน (Iranian Revolutionary Guards Corps) ซึ่งมีผลประโยชน์ต่างๆ อยู่มากมายจนต้องรักษาสถานะเดิมของอิหร่านเอาไว้ให้ได้
และแล้วในเวลานี้มันก็เหมือนกับวันเวลาในอดีตในภาพยนตร์เรื่อง “จักรวรรดิแห่งเงินยวง” การรักษาสถานะเดิมก็กลายเป็นมนตราทางการเมืองของปักกิ่งไปด้วย
จีนมีความกังวลสนใจเป็นอย่างยิ่งในเรื่องเสถียรภาพทางการเมืองตามแนวพรมแดนของตน เพราะมันเป็นสิ่งหนึ่งที่สามารถบ่อนทำลายเสถียรภาพภายในประเทศจีนเอง ซึ่งเป็นเงื่อนไขอันจำเป็นสำหรับการดำเนินโครงการปฏิรูปและการเปลี่ยนแปลงไปสู่ความทันสมัยของแดนมังกร ภาวะจลาจลวุ่นวายในอิหร่านยังดูมีอันตรายมากเป็นพิเศษด้วย ในเมื่อเวลานี้ อิรักก็อยู่ในความปั่นป่วนวุ่นวายอยู่แล้ว, อัฟกานิสถานต้องการกำลังทหารเพิ่ม ซึ่งหมายถึงว่าต้องมีกิจกรรมทางการทหารมากขึ้น, ในปากีสถาน พวกตอลิบานกำลังต่อสู้ช่วงชิงอำนาจทางการเมือง, และแคว้นแคชเมียร์ ซึ่งเป็นดินแดนที่ปากีสถานกับอินเดียพิพาทกันอยู่ ก็ยังคงมีสภาพเสมือนถังดินระเบิด
ถ้าหากอิหร่านดำดิ่งลงไปในการปฏิวัติครั้งใหม่หรือสงครามกลางเมืองครั้งใหม่ ปากีสถานผู้เป็นเพื่อนบ้านติดกันก็อาจจะติดตามลงไปในไม่ช้า และไม่ว่าจะเป็นกรณีของประเทศไหน ความสงบทางการเมืองจะฟื้นฟูกลับคืนมาได้ก็มีแต่ด้วยราคาของการปราบปรามอย่างรุนแรงเท่านั้น ซึ่งคงจะเป็นที่ยอมรับเห็นชอบถ้าเป็นที่ปากีสถาน (ที่ซึ่งรัฐบาลเป็นพวกนิยมตะวันตก) และจะเป็นที่คัดค้านไม่เห็นด้วยในอิหร่าน (ที่ซึ่งพวกผู้นำเป็นผู้ต่อต้านฝ่ายตะวันตก) ในส่วนของอินเดียคงเป็นไปได้ยากทีเดียวที่จะหลีกเลี่ยงการมีส่วนเกิดความยุ่งยากวุ่นวายไปด้วย ในเมื่อมีชนส่วนน้อยชาวมุสลิมเป็นจำนวนมากและควบคุมได้ยาก ศูนย์กลางทางการเงินในนครมุมไบ (บอมเบย์) ตั้งอยู่ไม่ห่างจากปากีสถานและมีเขตชุมชนแออัดของชาวมุสลิมขนาดใหญ่ทีเดียว จึงอาจจะถูกโจมตีจากพวกผู้ก่อการร้ายอีกครั้งหนึ่ง จีนเองก็ต้องอยู่ในภาวะเตรียมพร้อมรับมือกับอันตราย พื้นที่ชาวมุสลิมของจีนในซินเจียง (ซินเกียง) ประกอบด้วยชนส่วนน้อยชาวอุยกูร์ (เป็นกลุ่มคนที่พูดภาษาเตอร์คิค –Turkic) ที่ต้องการแยกตัวเป็นเอกราชและสร้างความกังวลใจอยู่เรื่อยมา อาจจะได้รับแรงบันดาลใจที่จะจุดประกายให้เกิดการประท้วงของพวกเขาเองขึ้นมา
ไม่ว่าจะเกิดเหตุการณ์แบบไหน ก็ล้วนแต่สามารถทำให้ทั่วทั้งภูมิภาคตกอยู่ท่ามกลางเปลิวเพลิงในเวลาไม่นานนัก จากนั้นราคาน้ำมันอาจจะพุ่งทะยานขึ้นอีกครั้ง เนื่องจากความปั่นป่วนวุ่นวายในอิหร่านย่อมคุกคามความมั่นคงปลอดภัยในแถบอ่าวอาหรับและคาบสมุทรอาระเบีย
ในเวลาอันรวดเร็วทีเดียว สงครามอิรักก็จะดูเป็นปัญหาเล็กๆ ไปเลยเมื่อเปรียบเทียบกับฝันร้ายที่กำลังเริ่มต้นขึ้นในอิหร่าน ยิ่งไปกว่านั้น ด้วยแรงบันดาลใจจากอิหร่าน เกาหลีเหนือก็อาจพยายามที่จะก่อกวนให้เกิดความโกลาหลอลหม่านขึ้นมาบ้าง บางทีอาจจะเพื่อเรียกร้องเอาผลประโยชน์ใหม่ๆ และอันตรายจากการเจรจา 6 ฝ่าย ในจังหวะเวลาที่รัฐบาลชาติอื่นๆ อาจจะกำลังมีความวิตกมากเกินไปอยู่แล้วเกี่ยวกับอิหร่าน จึงไม่มีเวลาที่จะมาจุกจิกจู้จี้เกี่ยวกับเรื่องการอ่อนข้อต่างๆ ให้แก่เปียงยาง
จากภูมิหลังเช่นนี้เอง ในบทบรรณาธิการฉบับวันที่ 18 มิถุนายนของหนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษ “ไชน่า เดลี่” (Chian Daily) ของทางการ ประเทศจีนจึงได้แสดงความปรารถนาให้เตหะรานสามารถฟื้นฟูสันติภาพขึ้นมาโดยเร็ว พร้อมกับให้กำลังใจสหรัฐฯ ในการที่ไม่ผลีผลามถูกยั่วใจให้เร่งผลักดันให้เกิดการปฏิวัติ “สี” ใหม่ๆ ขึ้นในอิหร่าน
จีนยังมีการคิดคำนวณทางการเมืองแบบหลายซับหลายซ้อนอีกด้วย ถ้าหากอาห์มาดิเนจัดที่มีความอ่อนแอภายในประเทศอยู่แล้ว ยังต้องก้าวขึ้นมาจากการเลือกตั้งที่ทุกๆ คนทราบดีว่าเขาแพ้ และต้องออกมาข้างหน้าเพื่อพูดจาในเรื่องโครงการนิวเคลียร์ของอิหร่านแล้ว เขาก็น่าที่จะอยู่ในฐานะอ่อนแอมากๆ และดังนั้นจึงย่อมมีความปรารถนาที่จะทำความตกลงอ่อนข้อให้แก่ข้อเรียกร้องของต่างชาติ ในทางกลับกัน ถ้าหากใครบางคนเป็นต้นว่ามูซาวี ปรากฏตัวผงาดขึ้นมาจากการเดินขบวนที่ดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง เขาก็จะมีฐานสนับสนุนจากประชาชนอันเข้มแข็ง และดังนั้นก็อาจจะไม่ปรารถนาที่จะยอมอ่อนข้อในเรื่องที่ได้รับการพิจารณาว่าเป็นเรื่องของความมั่นคงแห่งชาติและศักดิ์ศรีของชาติ ซึ่งโครงการนิวเคลียร์อิหร่านย่อมจัดอยู่ในข้อพิจารณานี้อย่างไม่ต้องสงสัย
ปักกิ่งคาดคำนวณทางการเมืองแบบวางอยู่บนพื้นฐานของการมีความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจและทางการเมืองอย่างต่อเนื่องและเพิ่มพูนขึ้นเรื่อยๆ กับอิหร่าน จึงกำลังช่วยหาทางออกให้แก่ประธานาธิบดีผู้กำลังครองอำนาจอยู่ สำหรับอเมริกา ซึ่งตัดขาดจากอิหร่านมาเป็นเวลา 30 ปีแล้ว จึงไม่มีความสัมพันธ์ทางการเมืองอะไรให้พูดถึง และดังนั้นจึงไม่ได้มีบารมีที่จะช่วยเหลืออะไรด้วยเช่นกัน เป็นเรื่องง่ายสำหรับจีนที่จะคิดติดต่อคบค้ากับบุรุษผู้ดำรงอยู่ในเวลานี้อยู่แล้ว ซึ่งก็คืออาห์มาดิเนจัด ส่วนสำหรับอเมริกาซึ่งไม่ได้มีความไว้วางใจใครเลย จึงเป็นการง่ายที่จะวางเดิมพันฝั่งมูซาวี ผู้เป็นคนใหม่ ซึ่งวอชิงตันย่อมมองว่า ถึงอย่างไรก็คงไม่สามารถที่จะเลวร้ายไปกว่าคนปัจจุบันสักเท่าใดเลย
ยิ่งกว่านั้น สหรัฐฯอาจจะขบคิดว่า ตราบเท่าที่ยังเกิดการประท้วงในเตหะราน แรงกดดันจากอิสราเอลเพื่อให้ดำเนินการโจมตีทางอากาศต่อบรรดาที่ตั้งทางนิวเคลียร์ของอิหร่าน ซึ่งย่อมจะก่อให้เกิดความยุ่งยากขึ้นมาอย่างมากมายนั้น ก็สามารถที่จะหยุดพิจารณาชั่วคราวเก็บใส่ลิ้นชักเอาไว้ก่อน
เมื่อมองในทางยุทธศาสตร์ โลกเวลานี้อยู่ท่ามกลางวิกฤตทางเศรษฐกิจอันร้ายแรงอยู่แล้ว จึงย่อมยากที่จะสละเวลาและพลังงานไปรับมือกับการขยายตัวของวิกฤตทางภูมิรัฐศาสตร์ในปัจจุบัน ซึ่งก็ได้แผ่กระจายจากอิรักไปถึงปากีสถานอยู่แล้ว สภาพเช่นนี้ย่อมเป็นผลดีต่อผลประโยชน์ของจีนที่มุ่งมั่นทำให้เกิดสถานะเดิม
อย่างไรก็ตาม เมื่อมองในทางยุทธวิธี ความหวังของจีนที่จะได้เห็นทางออกอันรวดเร็วและเป็นไปอย่างสันติ อาจจะมลายหายไปก็ได้ ถึงแม้จะได้พยายามคาดคำนวณทุกสิ่งทุกอย่างแล้ว ทว่ากระบวนการทางประวัติศาสตร์และการประท้วงต่อต้านก็ย่อมมีหนทางในการพัฒนาคลี่คลายของมันเองอย่างเป็นอิสระจากการวางแผนเลือดเย็นทางการเมืองใดๆ แน่นอนทีเดียวว่าเมื่ออารมณ์ความรู้สึกของประชาชนเดือดพล่าน ดังที่เกิดขึ้นในอิหร่านตอนนี้ มันย่อมง่ายดายกว่าที่จะสาดกระจายเปลวเพลิงแห่งความไม่สยบยินยอม ยิ่งกว่าจะไปขจัดเปลวเพลิงเหล่านี้ให้ดับมอด
สภาพเช่นนี้อาจจะนำความยุ่งยากมาสู่ประเทศจีน ทว่าหากเป็นเช่นนั้นจริงๆ ก็คงแทบไม่มีใครอื่นเลยเช่นกันที่จะสามารถรอดพ้นไปได้
ฟรานเชสโก ซิสซี เป็นบรรณาธิการด้านเอเชีย ของหนังสือพิม์ ลา สตัมปา แห่งอิตาลี