(เก็บความจากเอเชียไทมส์ออนไลน์www.atimes.com)
Rafsanjani’s gambit backfires
By M K Bhadrakumar
15/06/2009
เบื้องหลังฉากของการเลือกตั้งประธานาธิบดีอิหร่านคราวนี้ ก็คือสงครามตัวแทนที่คุกรุ่นมานานระหว่างผู้นำสูงสุด อยาโตลเลาะห์ อาลี คาเมเนอี กับ ผู้อาวุโสเก่าแก่แห่งวงการเมืองอิหร่าน อดีตประธานาธิบดี อักบาร์ ฮาเชมี รัฟซันจานี และจากความพ่ายแพ้อย่างย่อยยับของ มีร์ ฮอสเซน มูซาวี ครั้งนี้ ก็อาจหมายถึงจุดจบแห่งชีวิตการงานอันอึกทึกครึกโครมของ “ฉลามร้าย” อันเป็นฉายาที่รัฟซันจานีได้มา ในฐานะเป็นนักไล่ล่าเหยื่อแห่งวงการเมือง ตั้งแต่ช่วงปีแรกๆ ของการปฏิวัติอิหร่าน
*ข้อเขียนนี้แบ่งเป็น 2 ตอน นี่คือตอนที่ 2 ซึ่งเป็นตอนจบ*
(ต่อจากตอนแรก)
ระบอบปกครองปัจจุบันของอิหร่านกำลังเดินหน้าในการรณรงค์หาเสียงคราวนี้ไปแล้ว เมื่อพวกเขาเกิดตระหนักขึ้นมาว่าเบื้องหลังเสียงโห่ร้องต้องการความเปลี่ยนแปลงในผู้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีนั้น แท้จริงแล้วคือการท้าทายจากรัฟซันจานี ซึ่งมีจุดมุ่งหมายอยู่ที่การนำของคาเมเนอี และการเลือกตั้งครั้งนี้ก็เป็นสงครามตัวแทน รากเหง้าของความแตกร้าวระหว่างรัฟซันจารี-คาเมเนอี สามารถสาวย้อนไปถึงช่วงปลายทศวรรษ 1980 เมื่อคาเมเนอีเข้ารับตำแหน่งประธานสูงสุดในปี 1989
รัฟซันจารีเป็นหนึ่งในบุคคลผู้เป็นที่ไว้วางใจที่สุด ซึ่งอิหม่าม โคไมนี (Imam Khomeini) แต่งตั้งเข้าไปในสภาเพื่อการปฏิวัติ (Revolutionary Council) ชุดแรก ขณะที่คาเมเนอีเข้ามาร่วมทีหลังตอนที่สภานี้ขยายจำนวนสมาชิกเพิ่มขึ้น ดังนั้น รัฟซันจานีจึงมักตัดพ้อด้วยความคับแค้นว่า คาเมเนอีชิงเอาตำแหน่งผู้นำสูงสุดไปจากเขา พวกคณะนักการศาสนาที่ใกล้ชิดกับรัฟซันจานีก็คอยแพร่กระจายถ้อยคำที่ว่า คาเมเนอีขาดคุณสมบัติความน่าเชื่อถือทางศาสนาที่จำเป็นแก่การดำรงตำแหน่งผู้นำสูงสุด, ว่าเขาเป็นคนไม่กล้าตัดสินใจจึงไม่เหมาะแก่การดำรงตำแหน่งที่เสมือนเป็นประธานสูงสุดทางฝ่ายบริหารเช่นนี้, และว่ากระบวนการเลือกตั้งตัวเขาขึ้นมาก็มีปัญหาน่าสงสัยข้องใจ, ซึ่งล้วนแล้วแต่ก่อให้เกิดคำถามขึ้นมาว่าการแต่งตั้งคาเมเนอีเป็นสิ่งที่ถูกต้องตามกฎหมายแล้วหรือ
พวกนักการศาสนาทรงอำนาจ ซึ่งได้รับการกระตุ้นจากรัฟซันจานี ได้ออกมาเสนอว่าผู้ดำรงตำแหน่งผู้นำสูงสุด ไม่เพียงจะต้องเป็นผู้ทรงอำนาจทางศาสนา (mujtahid) เท่านั้น หากยังพึงได้รับการคาดหมายด้วยว่าจะกลายเป็นแบบอย่างให้แก่คนอื่นๆ (marja หรือ mujtahid ที่มีสานุศิษย์ทางศาสนา) และในข้อนี้เองที่คาเมเนอียังขาดคุณสมบัติที่ครบครัน –ไม่เหมือนกับตัวรัฟซันจานี การทำลายชื่อเสียงของคาเมเนอีเช่นนี้ อาศัยข้อโต้แย้งที่ภายนอกแลดูเหมือนกับมีเหตุมีผล นั่นคือ การตั้งคำถามเกี่ยวกับการศึกษาทางด้านศาสนาของเขา ทั้งนี้ การป้ายร้ายของพวกนักการศาสนาที่เกี่ยวข้องอยู่กับรัฟซันจานีเช่นนี้ดำเนินต่อเนื่องเรื่อยมาจนถึงตอนต้นทศวรรษ 1990 ด้วยเหตุนี้ คาเมเนอีจึงมีการแสดงท่าทีที่แตกต่างออกไปอยู่บ้างตามช่วงจังหวะสถานการณ์ โดยระหว่างเวลาส่วนใหญ่ที่รัฟซันจานีครองอำนาจในฐานะประธานาธิบดีของประเทศ (ปี 1989-1997) เขาก็ปฏิบัติหน้าที่ไปอย่างไม่ให้กลายเป็นข่าวเกรียวกราว ด้วยตระหนักในสภาพการณ์ของเขาเป็นอันดี
ผลลัพธ์ก็คือ รัฟซันจานีสามารถใช้อำนาจในฐานะประธานาธิบดีได้อย่างกว้างขวางยิ่งกว่าใครๆ ที่ครองตำแหน่งนี้ไม่ว่าในช่วงเวลาไหนในอิหร่าน ทว่าคาเมเนอีก็เฝ้าอดทนรอคอยเวลาของเขาขณะที่ค่อยๆ เริ่มต้นขยายอำนาจสิทธิ์ขาดของเขาไปเรื่อยๆ ถ้าเขาไม่มีสถาบันนักการศาสนาของอิหร่านมาห้อมล้อม เขาก็สามารถชดเชยได้เกินพอเสียอีกด้วยการดึงดูดพวกสถาบันด้านความมั่นคงให้มาเคียงข้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กระทรวงข่าวกรอง, กองกำลังพิทักษ์การปฏิวัติอิหร่าน (ไออาร์จีซี), และกองกำลังท้องถิ่นรักษาดินแดน บาซิจ (Basij militias)
ขณะที่รัฟซันจานีเที่ยวคบหาสมาคมกับพวกนักการศาสนาและคนในตลาดบาซาร์ คาเมเนอีกลับหันไปหากลุ่มนักการเมืองหนุ่มๆ ที่ชาญฉลาดและมีภูมิหลังด้านสติปัญญาหรือด้านความมั่นคง ซึ่งเป็นพวกที่เพิ่งกลับคืนบ้านจากสมรภูมิของสงครามอิหร่าน-อิรัก เป็นต้นว่า อาลี ลาริจานี (Ali Larijani) ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติคนปัจจุบัน, ซาอิด จาลิลี (Said Jalili) ซึ่งเวลานี้เป็นเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ, เอซซอโตลเลาะห์ ซอร์กามี (Ezzatollah Zarghami) ผู้อำนวยการองค์การวิทยุและโทรทัศน์แห่งรัฐ, และก็แน่นอน อาห์มาดิเนจัด ด้วย
เป็นธรรมดาอยู่แล้วที่อำนาจย่อมต้องสะสมพอกพูนอยู่ที่คาเมเนอี ในทันทีที่เขาสามารถเรียกความจงรักภักดีจาก ไออาร์จีซี และ บาซิจ ได้สำเร็จ เมื่อถึงตอนที่วาระการดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีของรัฟซันจานีสิ้นสุดลง คาเมเนอีก็กลายเป็นหัวหน้าของทั้ง 3 อำนาจของรัฐบาล รวมทั้งสื่อของรัฐ, เป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุดของกองทัพ, และแม้กระทั่งพวกสถาบันที่มีฐานะร่ำรวยมั่งคั่ง เป็นต้นว่า วิหารอิหม่ามเรซา (Imam Reza Shrine) หรือ มูลนิธิเพื่อผู้ถูกกดขี่ (Oppressed Foundation) ซึ่งมีศักยภาพในระดับแทบไม่มีข้อจำกัดเลยสำหรับแผ่ขยายการอุปถัมภ์ทางการเมือง
ดังนั้น พวกนักวิเคราะห์ผู้มีความเข้าอกเข้าใจทั้งหลายจึงจับเรื่องราวได้อย่างมั่นคง ขณะไปสู่ข้อสรุปที่ว่ามันไม่มีทางเป็นความประสงค์อันแท้จริงของตัวอาห์มาดิเนจัดไปได้เลย ในการที่เขาได้ไปปรากฏตัวต่อสาธารณชนและกล่าวโจมตีตรงๆ ต่อรัฟซันจานี ในระหว่างการโต้วาทีทางทีวีกับมูซาวี เมื่อวันที่ 4 มิถุนายนที่กรุงเตหะราน ซึ่งเป็นการโต้วาทีที่ได้ก่อให้เกิดความขัดแย้งกันมาก
อาห์มาดิเนจัดบอกว่า “ทุกวันนี้มันไม่ใช่มิสเตอร์มูซาวีเพียงคนเดียวที่กำลังประจันหน้าต่อสู้กับผม เนื่องจากมีคณะรัฐบาลชุดต่างๆ ต่อเนื่องกัน 3 ชุดของมิสเตอร์มูซาวี, มิสเตอร์คาตามี, และมิสเตอร์ฮาเชมี [รัฟซันจานี] ซึ่งต่างเข้าแถวมาต่อต้านผม” เขากระหน่ำโจมตีอย่างรุนแรงเข้าใส่รัฟซันจานี โดยระบุว่าเป็นจอมบงการวางกลอุบายเพื่อโค่นล้มเขา เขากล่าวว่ารัฟซันจานีได้ไปสัญญากับรัฐบาลซาอุดีอาระเบียว่ารัฐบาลของเขาจะต้องล้มครืน ทางด้านรัฟซันจานีได้ตอบโต้กลับในเวลาไม่กี่วันต่อมา ด้วยการพูดจาสื่อสารไปถึงคาเมเนอี โดยเรียกร้องให้อาห์มาดิเนจัดถอนคำพูด “จะได้ไม่จำเป็นต้องมีการลงไม้ลงมือกันทางกฎหมาย”
“ผมกำลังคาดหมายให้คุณเข้ามาแก้ไขสถานการณ์เพื่อที่จะได้ดับไฟกองนี้ ซึ่งควันของมันสามารถมองเห็นได้ในชั้นบรรยากาศ และเพื่อจะได้ลงมือยับยั้งแผนอุบายต่างๆ ที่เต็มไปด้วยอันตราย ถึงแม้ผมอาจจะอดทนต่อสถานการณ์นี้ได้ แต่ก็ไม่ต้องสงสัยเลยว่ามีผู้คนบางคน, พรรคบางพรรค, และฝ่ายบางฝ่าย จะไม่อดทนต่อสถานการณ์เช่นนี้” รัฟซันจานีกล่าวเตือนคาเมเนอีอย่างกราดเกรี้ยว
ในเวลาเดียวกัน รัฟซันจานียังได้ระดมเรียกความสนับสนุนจากฐานของเขาในสถาบันนักการศาสนา มีกลุ่มนักการศาสนาระดับอาวุโสในเมืองกุมจำนวน 14 คน ร่วมกันออกคำแถลงที่เป็นการเข้าข้างเขา มันช่างเป็นพฤติกรรมแบบสิ้นหวังของพวกเจ้าของผลประโยชน์ต่างๆ ที่กำลังรู้สึกท้อแท้มากขึ้นเรื่อยๆ เมื่อเห็นการผงาดขึ้นอย่างน่าหวั่นใจของกองกำลังพิทักษ์การปฏิวัติอิหร่าน (ไออาร์ซีจี) ในระยะไม่กี่หลังมานี้ แต่ถ้ารัฟซันจานีดีดลูกคิดรางแก้วเอาไว้ว่า “การก่อกบฎ” ขึ้นภายในสถาบันนักการศาสนาจะสามารถทำให้คาเมเนอีเกิดความว้าวุ่นหวั่นไหวได้ เขาก็กำลังคาดคำนวณคณิตศาสตร์แห่งอำนาจในเตหะรานผิดพลาดไปมาก คาเมเนอีกลับตอบสนองด้วยการกระทำสิ่งที่ให้ผลเลวร้ายที่สุดสำหรับรัฟซันจานี อันได้แก่การเมินเฉยไม่สนใจใยดีกับ “ฉลามร้าย”
ทั้งสมาชิกกองกำลังพิทักษ์การปฏิวัติอิหร่าน (ไออาร์ซีจี) และกองกำลังท้องถิ่นรักษาดินแดนบาซิจ ซึ่งมีจำนวนเป็นหลายสิบล้านคน ต่างได้รับการปลุกระดมอย่างรวดเร็ว พวกเขารวมตัวเข้ากับคนยากคนจนตามชนบทอีกเป็นล้านๆ ซึ่งต่างเคารพยกย่องอาห์มาดิเนจัด ว่าเป็นผู้นำของพวกเขา มันก็กลายเป็นการซ้ำรอยการเลือกตั้งปี 2005 อีกคำรบหนึ่ง จำนวนผู้มาใช้สิทธิออกเสียงอยู่ในระดับ 85% ซึ่งสูงลิ่วอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน ภายในไม่กี่ชั่วโมงหลังมีการประกาศชัยชนะอย่างกึกก้องของอาห์มาดิเนจัด คาเมเนอีก็ได้ออกมาประทับตราแสดงความเห็นชอบ ด้วยการปรบมือยกย่องที่มีผู้ใช้สิทธิกันมากมายจนสมควรที่จะเรียกร้องให้มี “การเฉลิมฉลองกันอย่างแท้จริง”
เขากล่าวว่า “ผมขอแสดงความยินดี ... ต่อประชาชนทั้งหลายสำหรับชัยชนะอันมโหฬารเช่นนี้ และเรียกร้องให้ทุกๆ คนมีความสำนึกรู้คุณถึงการอำนวยพรเช่นนี้ของพระเป็นเจ้า” เขายังเตือนบรรดาเยาวชนและ “พวกผู้สนับสนุนผู้สมัครที่ได้รับเลือกตั้ง และพวกผู้สนับสนุนผู้สมัครคนอื่นๆ” ให้ “มีความระมัดระวังเตรียมพร้อมอย่างเต็มที่ และหลีกเลี่ยงการกระทำและคำพูดที่เป็นการยั่วยุและที่น่าสงสัยทุกๆ อย่าง”
ข้อความที่คาเมเนอีส่งไปถึงรัฟซันจานีจากคำปราศรัยคราวนี้ช่างโจ่งแจ้งตรงไปตรงมา: จงยอมรับความพ่ายแพ้อย่างมีศักดิ์ศรี และถอยห่างออกไปอย่าได้ก่อกวนสร้างความเสียหายอะไรขึ้นมาอีก การเลือกตั้งเมื่อวันศุกร์(12) จึงเป็นการสร้างความมั่นใจขึ้นมาว่า สำนักของผู้นำสูงสุด คาเมเนอี จักยังคงเป็นจุดศูนย์รวมแห่งอำนาจอยู่ต่อไป สำนักแห่งนี้จะเป็นทั้งสำนักงานใหญ่ของประธานาธิบดีของประเทศ, กองทัพอิหร่าน, และโดยเฉพาะอย่างยิ่งกองกำลังพิทักษ์การปฏิวัติอิหร่าน (ไออาร์ซีจี) สำนักแห่งนี้จะเป็นต้นธารของอำนาจทั้ง 3 ของคณะรัฐบาล และก็เป็นปุ่มปมแห่งการงอกเงยปรากฏของบรรดานโยบายทางด้านการต่างประเทศ, ความมั่นคง, และเศรษฐกิจ
โอบามาน่าจะต้องขบคิดหาทางที่จะคบค้าเกี่ยวข้องโดยตรงกับคาเมเนอี มันจะเป็นปัญหาท้าทายที่ยากลำบากเรื่องหนึ่งทีเดียว
เอกอัครราชทูต เอ็ม เค ภัทรกุมาร เคยรับราชการเป็นนักการทูตอาชีพในกระทรวงการต่างประเทศอินเดีย เขาเคยได้รับมอบหมายให้ไปประจำอยู่ในหลายๆ ประเทศ อาทิ สหภาพโซเวียต, เกาหลีใต้, ศรีลังกา, เยอรมนี, อัฟกานิสถาน, ปากีสถาน, อุซเบกิสถาน, คูเวต, และตุรกี
กลอุบายของของ‘รัฟซันจานี’หวนกลับมาเล่นงานตัวเอง (ตอนแรก)
Rafsanjani’s gambit backfires
By M K Bhadrakumar
15/06/2009
เบื้องหลังฉากของการเลือกตั้งประธานาธิบดีอิหร่านคราวนี้ ก็คือสงครามตัวแทนที่คุกรุ่นมานานระหว่างผู้นำสูงสุด อยาโตลเลาะห์ อาลี คาเมเนอี กับ ผู้อาวุโสเก่าแก่แห่งวงการเมืองอิหร่าน อดีตประธานาธิบดี อักบาร์ ฮาเชมี รัฟซันจานี และจากความพ่ายแพ้อย่างย่อยยับของ มีร์ ฮอสเซน มูซาวี ครั้งนี้ ก็อาจหมายถึงจุดจบแห่งชีวิตการงานอันอึกทึกครึกโครมของ “ฉลามร้าย” อันเป็นฉายาที่รัฟซันจานีได้มา ในฐานะเป็นนักไล่ล่าเหยื่อแห่งวงการเมือง ตั้งแต่ช่วงปีแรกๆ ของการปฏิวัติอิหร่าน
*ข้อเขียนนี้แบ่งเป็น 2 ตอน นี่คือตอนที่ 2 ซึ่งเป็นตอนจบ*
(ต่อจากตอนแรก)
ระบอบปกครองปัจจุบันของอิหร่านกำลังเดินหน้าในการรณรงค์หาเสียงคราวนี้ไปแล้ว เมื่อพวกเขาเกิดตระหนักขึ้นมาว่าเบื้องหลังเสียงโห่ร้องต้องการความเปลี่ยนแปลงในผู้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีนั้น แท้จริงแล้วคือการท้าทายจากรัฟซันจานี ซึ่งมีจุดมุ่งหมายอยู่ที่การนำของคาเมเนอี และการเลือกตั้งครั้งนี้ก็เป็นสงครามตัวแทน รากเหง้าของความแตกร้าวระหว่างรัฟซันจารี-คาเมเนอี สามารถสาวย้อนไปถึงช่วงปลายทศวรรษ 1980 เมื่อคาเมเนอีเข้ารับตำแหน่งประธานสูงสุดในปี 1989
รัฟซันจารีเป็นหนึ่งในบุคคลผู้เป็นที่ไว้วางใจที่สุด ซึ่งอิหม่าม โคไมนี (Imam Khomeini) แต่งตั้งเข้าไปในสภาเพื่อการปฏิวัติ (Revolutionary Council) ชุดแรก ขณะที่คาเมเนอีเข้ามาร่วมทีหลังตอนที่สภานี้ขยายจำนวนสมาชิกเพิ่มขึ้น ดังนั้น รัฟซันจานีจึงมักตัดพ้อด้วยความคับแค้นว่า คาเมเนอีชิงเอาตำแหน่งผู้นำสูงสุดไปจากเขา พวกคณะนักการศาสนาที่ใกล้ชิดกับรัฟซันจานีก็คอยแพร่กระจายถ้อยคำที่ว่า คาเมเนอีขาดคุณสมบัติความน่าเชื่อถือทางศาสนาที่จำเป็นแก่การดำรงตำแหน่งผู้นำสูงสุด, ว่าเขาเป็นคนไม่กล้าตัดสินใจจึงไม่เหมาะแก่การดำรงตำแหน่งที่เสมือนเป็นประธานสูงสุดทางฝ่ายบริหารเช่นนี้, และว่ากระบวนการเลือกตั้งตัวเขาขึ้นมาก็มีปัญหาน่าสงสัยข้องใจ, ซึ่งล้วนแล้วแต่ก่อให้เกิดคำถามขึ้นมาว่าการแต่งตั้งคาเมเนอีเป็นสิ่งที่ถูกต้องตามกฎหมายแล้วหรือ
พวกนักการศาสนาทรงอำนาจ ซึ่งได้รับการกระตุ้นจากรัฟซันจานี ได้ออกมาเสนอว่าผู้ดำรงตำแหน่งผู้นำสูงสุด ไม่เพียงจะต้องเป็นผู้ทรงอำนาจทางศาสนา (mujtahid) เท่านั้น หากยังพึงได้รับการคาดหมายด้วยว่าจะกลายเป็นแบบอย่างให้แก่คนอื่นๆ (marja หรือ mujtahid ที่มีสานุศิษย์ทางศาสนา) และในข้อนี้เองที่คาเมเนอียังขาดคุณสมบัติที่ครบครัน –ไม่เหมือนกับตัวรัฟซันจานี การทำลายชื่อเสียงของคาเมเนอีเช่นนี้ อาศัยข้อโต้แย้งที่ภายนอกแลดูเหมือนกับมีเหตุมีผล นั่นคือ การตั้งคำถามเกี่ยวกับการศึกษาทางด้านศาสนาของเขา ทั้งนี้ การป้ายร้ายของพวกนักการศาสนาที่เกี่ยวข้องอยู่กับรัฟซันจานีเช่นนี้ดำเนินต่อเนื่องเรื่อยมาจนถึงตอนต้นทศวรรษ 1990 ด้วยเหตุนี้ คาเมเนอีจึงมีการแสดงท่าทีที่แตกต่างออกไปอยู่บ้างตามช่วงจังหวะสถานการณ์ โดยระหว่างเวลาส่วนใหญ่ที่รัฟซันจานีครองอำนาจในฐานะประธานาธิบดีของประเทศ (ปี 1989-1997) เขาก็ปฏิบัติหน้าที่ไปอย่างไม่ให้กลายเป็นข่าวเกรียวกราว ด้วยตระหนักในสภาพการณ์ของเขาเป็นอันดี
ผลลัพธ์ก็คือ รัฟซันจานีสามารถใช้อำนาจในฐานะประธานาธิบดีได้อย่างกว้างขวางยิ่งกว่าใครๆ ที่ครองตำแหน่งนี้ไม่ว่าในช่วงเวลาไหนในอิหร่าน ทว่าคาเมเนอีก็เฝ้าอดทนรอคอยเวลาของเขาขณะที่ค่อยๆ เริ่มต้นขยายอำนาจสิทธิ์ขาดของเขาไปเรื่อยๆ ถ้าเขาไม่มีสถาบันนักการศาสนาของอิหร่านมาห้อมล้อม เขาก็สามารถชดเชยได้เกินพอเสียอีกด้วยการดึงดูดพวกสถาบันด้านความมั่นคงให้มาเคียงข้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กระทรวงข่าวกรอง, กองกำลังพิทักษ์การปฏิวัติอิหร่าน (ไออาร์จีซี), และกองกำลังท้องถิ่นรักษาดินแดน บาซิจ (Basij militias)
ขณะที่รัฟซันจานีเที่ยวคบหาสมาคมกับพวกนักการศาสนาและคนในตลาดบาซาร์ คาเมเนอีกลับหันไปหากลุ่มนักการเมืองหนุ่มๆ ที่ชาญฉลาดและมีภูมิหลังด้านสติปัญญาหรือด้านความมั่นคง ซึ่งเป็นพวกที่เพิ่งกลับคืนบ้านจากสมรภูมิของสงครามอิหร่าน-อิรัก เป็นต้นว่า อาลี ลาริจานี (Ali Larijani) ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติคนปัจจุบัน, ซาอิด จาลิลี (Said Jalili) ซึ่งเวลานี้เป็นเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ, เอซซอโตลเลาะห์ ซอร์กามี (Ezzatollah Zarghami) ผู้อำนวยการองค์การวิทยุและโทรทัศน์แห่งรัฐ, และก็แน่นอน อาห์มาดิเนจัด ด้วย
เป็นธรรมดาอยู่แล้วที่อำนาจย่อมต้องสะสมพอกพูนอยู่ที่คาเมเนอี ในทันทีที่เขาสามารถเรียกความจงรักภักดีจาก ไออาร์จีซี และ บาซิจ ได้สำเร็จ เมื่อถึงตอนที่วาระการดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีของรัฟซันจานีสิ้นสุดลง คาเมเนอีก็กลายเป็นหัวหน้าของทั้ง 3 อำนาจของรัฐบาล รวมทั้งสื่อของรัฐ, เป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุดของกองทัพ, และแม้กระทั่งพวกสถาบันที่มีฐานะร่ำรวยมั่งคั่ง เป็นต้นว่า วิหารอิหม่ามเรซา (Imam Reza Shrine) หรือ มูลนิธิเพื่อผู้ถูกกดขี่ (Oppressed Foundation) ซึ่งมีศักยภาพในระดับแทบไม่มีข้อจำกัดเลยสำหรับแผ่ขยายการอุปถัมภ์ทางการเมือง
ดังนั้น พวกนักวิเคราะห์ผู้มีความเข้าอกเข้าใจทั้งหลายจึงจับเรื่องราวได้อย่างมั่นคง ขณะไปสู่ข้อสรุปที่ว่ามันไม่มีทางเป็นความประสงค์อันแท้จริงของตัวอาห์มาดิเนจัดไปได้เลย ในการที่เขาได้ไปปรากฏตัวต่อสาธารณชนและกล่าวโจมตีตรงๆ ต่อรัฟซันจานี ในระหว่างการโต้วาทีทางทีวีกับมูซาวี เมื่อวันที่ 4 มิถุนายนที่กรุงเตหะราน ซึ่งเป็นการโต้วาทีที่ได้ก่อให้เกิดความขัดแย้งกันมาก
อาห์มาดิเนจัดบอกว่า “ทุกวันนี้มันไม่ใช่มิสเตอร์มูซาวีเพียงคนเดียวที่กำลังประจันหน้าต่อสู้กับผม เนื่องจากมีคณะรัฐบาลชุดต่างๆ ต่อเนื่องกัน 3 ชุดของมิสเตอร์มูซาวี, มิสเตอร์คาตามี, และมิสเตอร์ฮาเชมี [รัฟซันจานี] ซึ่งต่างเข้าแถวมาต่อต้านผม” เขากระหน่ำโจมตีอย่างรุนแรงเข้าใส่รัฟซันจานี โดยระบุว่าเป็นจอมบงการวางกลอุบายเพื่อโค่นล้มเขา เขากล่าวว่ารัฟซันจานีได้ไปสัญญากับรัฐบาลซาอุดีอาระเบียว่ารัฐบาลของเขาจะต้องล้มครืน ทางด้านรัฟซันจานีได้ตอบโต้กลับในเวลาไม่กี่วันต่อมา ด้วยการพูดจาสื่อสารไปถึงคาเมเนอี โดยเรียกร้องให้อาห์มาดิเนจัดถอนคำพูด “จะได้ไม่จำเป็นต้องมีการลงไม้ลงมือกันทางกฎหมาย”
“ผมกำลังคาดหมายให้คุณเข้ามาแก้ไขสถานการณ์เพื่อที่จะได้ดับไฟกองนี้ ซึ่งควันของมันสามารถมองเห็นได้ในชั้นบรรยากาศ และเพื่อจะได้ลงมือยับยั้งแผนอุบายต่างๆ ที่เต็มไปด้วยอันตราย ถึงแม้ผมอาจจะอดทนต่อสถานการณ์นี้ได้ แต่ก็ไม่ต้องสงสัยเลยว่ามีผู้คนบางคน, พรรคบางพรรค, และฝ่ายบางฝ่าย จะไม่อดทนต่อสถานการณ์เช่นนี้” รัฟซันจานีกล่าวเตือนคาเมเนอีอย่างกราดเกรี้ยว
ในเวลาเดียวกัน รัฟซันจานียังได้ระดมเรียกความสนับสนุนจากฐานของเขาในสถาบันนักการศาสนา มีกลุ่มนักการศาสนาระดับอาวุโสในเมืองกุมจำนวน 14 คน ร่วมกันออกคำแถลงที่เป็นการเข้าข้างเขา มันช่างเป็นพฤติกรรมแบบสิ้นหวังของพวกเจ้าของผลประโยชน์ต่างๆ ที่กำลังรู้สึกท้อแท้มากขึ้นเรื่อยๆ เมื่อเห็นการผงาดขึ้นอย่างน่าหวั่นใจของกองกำลังพิทักษ์การปฏิวัติอิหร่าน (ไออาร์ซีจี) ในระยะไม่กี่หลังมานี้ แต่ถ้ารัฟซันจานีดีดลูกคิดรางแก้วเอาไว้ว่า “การก่อกบฎ” ขึ้นภายในสถาบันนักการศาสนาจะสามารถทำให้คาเมเนอีเกิดความว้าวุ่นหวั่นไหวได้ เขาก็กำลังคาดคำนวณคณิตศาสตร์แห่งอำนาจในเตหะรานผิดพลาดไปมาก คาเมเนอีกลับตอบสนองด้วยการกระทำสิ่งที่ให้ผลเลวร้ายที่สุดสำหรับรัฟซันจานี อันได้แก่การเมินเฉยไม่สนใจใยดีกับ “ฉลามร้าย”
ทั้งสมาชิกกองกำลังพิทักษ์การปฏิวัติอิหร่าน (ไออาร์ซีจี) และกองกำลังท้องถิ่นรักษาดินแดนบาซิจ ซึ่งมีจำนวนเป็นหลายสิบล้านคน ต่างได้รับการปลุกระดมอย่างรวดเร็ว พวกเขารวมตัวเข้ากับคนยากคนจนตามชนบทอีกเป็นล้านๆ ซึ่งต่างเคารพยกย่องอาห์มาดิเนจัด ว่าเป็นผู้นำของพวกเขา มันก็กลายเป็นการซ้ำรอยการเลือกตั้งปี 2005 อีกคำรบหนึ่ง จำนวนผู้มาใช้สิทธิออกเสียงอยู่ในระดับ 85% ซึ่งสูงลิ่วอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน ภายในไม่กี่ชั่วโมงหลังมีการประกาศชัยชนะอย่างกึกก้องของอาห์มาดิเนจัด คาเมเนอีก็ได้ออกมาประทับตราแสดงความเห็นชอบ ด้วยการปรบมือยกย่องที่มีผู้ใช้สิทธิกันมากมายจนสมควรที่จะเรียกร้องให้มี “การเฉลิมฉลองกันอย่างแท้จริง”
เขากล่าวว่า “ผมขอแสดงความยินดี ... ต่อประชาชนทั้งหลายสำหรับชัยชนะอันมโหฬารเช่นนี้ และเรียกร้องให้ทุกๆ คนมีความสำนึกรู้คุณถึงการอำนวยพรเช่นนี้ของพระเป็นเจ้า” เขายังเตือนบรรดาเยาวชนและ “พวกผู้สนับสนุนผู้สมัครที่ได้รับเลือกตั้ง และพวกผู้สนับสนุนผู้สมัครคนอื่นๆ” ให้ “มีความระมัดระวังเตรียมพร้อมอย่างเต็มที่ และหลีกเลี่ยงการกระทำและคำพูดที่เป็นการยั่วยุและที่น่าสงสัยทุกๆ อย่าง”
ข้อความที่คาเมเนอีส่งไปถึงรัฟซันจานีจากคำปราศรัยคราวนี้ช่างโจ่งแจ้งตรงไปตรงมา: จงยอมรับความพ่ายแพ้อย่างมีศักดิ์ศรี และถอยห่างออกไปอย่าได้ก่อกวนสร้างความเสียหายอะไรขึ้นมาอีก การเลือกตั้งเมื่อวันศุกร์(12) จึงเป็นการสร้างความมั่นใจขึ้นมาว่า สำนักของผู้นำสูงสุด คาเมเนอี จักยังคงเป็นจุดศูนย์รวมแห่งอำนาจอยู่ต่อไป สำนักแห่งนี้จะเป็นทั้งสำนักงานใหญ่ของประธานาธิบดีของประเทศ, กองทัพอิหร่าน, และโดยเฉพาะอย่างยิ่งกองกำลังพิทักษ์การปฏิวัติอิหร่าน (ไออาร์ซีจี) สำนักแห่งนี้จะเป็นต้นธารของอำนาจทั้ง 3 ของคณะรัฐบาล และก็เป็นปุ่มปมแห่งการงอกเงยปรากฏของบรรดานโยบายทางด้านการต่างประเทศ, ความมั่นคง, และเศรษฐกิจ
โอบามาน่าจะต้องขบคิดหาทางที่จะคบค้าเกี่ยวข้องโดยตรงกับคาเมเนอี มันจะเป็นปัญหาท้าทายที่ยากลำบากเรื่องหนึ่งทีเดียว
เอกอัครราชทูต เอ็ม เค ภัทรกุมาร เคยรับราชการเป็นนักการทูตอาชีพในกระทรวงการต่างประเทศอินเดีย เขาเคยได้รับมอบหมายให้ไปประจำอยู่ในหลายๆ ประเทศ อาทิ สหภาพโซเวียต, เกาหลีใต้, ศรีลังกา, เยอรมนี, อัฟกานิสถาน, ปากีสถาน, อุซเบกิสถาน, คูเวต, และตุรกี