(จากเอเชียไทมส์ออนไลน์www.atimes.com)
Obama’s China policy takes shape
By Jing-dong Yuan
08/06/2009
น้ำเสียงและท่าทีที่ปรากฏออกมาเมื่อตอนที่รัฐมนตรีคลังสหรัฐฯ ทิโมธี ไกธ์เนอร์ เยือนปักกิ่งในสัปดาห์ที่แล้ว บ่งบอกให้เห็นว่าคณะรัฐบาลบารัค โอบามา จะยังคงเดินตามแนวทางส่วนใหญ่ของคณะรัฐบาลสหรัฐฯชุดที่แล้ว ในการคบค้าสมาคมกับจีน โดยที่เรื่องการต่อสู้การก่อการร้าย, การเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ, และการกระตุ้นเศรษฐกิจ กำลังมีความสำคัญเหนือกว่าประเด็นที่อ่อนไหวอย่างเรื่องสิทธิมนุษยชน กระนั้นก็ตามที มันไม่ใช่เป็นเรื่องของความต่อเนื่องไปเสียทั้งหมด เนื่องจากวิกฤตทางการเงินที่เกิดขึ้นมาคราวนี้ ได้เปลี่ยนแปลงสายสัมพันธ์ระหว่างจีนกับสหรัฐฯไปตลอดกาลเสียแล้ว
มอนเทอเรย์, แคลิฟอร์เนีย – รัฐมนตรีคลังสหรัฐฯ ทิโมธี ไกธ์เนอร์ ปิดฉากการเยือนจีนของเขาในสัปดาห์ที่แล้วด้วยการแสดงท่าทีในเชิงบวก การเยี่ยมเยียนของเขา ซึ่งบังเกิดขึ้นตามหลังการเยือนของประธานสภาผู้แทนราษฎร แนนซี เปโลซี และรัฐมนตรีต่างประเทศ ฮิลลารี คลินตัน เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ บ่งบอกให้เห็นเป็นอันมากทีเดียว เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงและความต่อเนื่องในนโยบายต่อจีนของคณะรัฐบาล บารัค โอบามา
การเรียกร้องความเปลี่ยนแปลงนั้น ถือเป็นเครื่องหมายสัญลักษณ์ประจำตัวของโอบามาในระหว่างการรณรงค์หาเสียงชิงตำแหน่งประธานาธิบดี แต่เมื่อขึ้นเป็นผู้นำประเทศ และในเรื่องเกี่ยวกับจีน การดูแลความสัมพันธ์ระดับทวิภาคที่ทรงความสำคัญที่สุดของอเมริกานี้ของคณะรัฐบาลโอบามา ก็กลับโดดเด่นในเรื่องความต่อเนื่อง ทั้งนี้การเข้าไปคบค้าสมาคมด้วย ไม่ใช่การเผชิญหน้ากัน คือสาระสำคัญของแนวทางนี้ และก็จะเป็นสิ่งที่ชี้นำวอชิงตันในการพัฒนาสายสัมพันธ์ “ที่เป็นด้านบวก, มีความร่วมมือระหว่างกัน, และครอบคลุมรอบด้าน” กับปักกิ่ง
ความริเริ่มอันสำคัญที่สุดในการสนทนาและการปรึกษาหารือระดับทวิภาคี ที่เริ่มต้นขึ้นในสมัยที่สองของคณะรัฐบาลจอร์จ ดับเบิลยู บุช ซึ่งก็คือ “การสนทนาระดับอาวุโสและการสนทนาทางเศรษฐกิจเชิงยุทธศาสตร์” (Senior Dialogue and the Strategic Economic Dialogue) ยังคงมีการดำเนินการกันต่อ อีกทั้งยกสู่ระดับที่สูงขึ้นด้วย กล่าวคือ การสนทนาทางยุทธศาสตร์และทางเศรษฐกิจสหรัฐฯ-จีน (US-China Strategic and Economic Dialogue) อันเป็นชื่อที่เรียกขานกันในตอนนี้ ทางฝ่ายสหรัฐฯจะนำโดยรัฐมนตรีคลินตัน และรัฐมนตรีไกธ์เนอร์ ส่วนทางฝ่ายจีนก็มีรองนายกรัฐมนตรีหวังฉีซาน และมุขมนตรีแห่งรัฐ ไต้ปิงกว๋อ เป็นผู้นำ
โดยที่การประชุมหารือครั้งแรกจะจัดขึ้นที่กรุงวอชิงตันในสัปดาห์สุดท้ายของเดือนกรกฎาคม
อย่างไรก็ดี การเปลี่ยนแปลงก็ได้บังเกิดขึ้นเช่นเดียวกัน โดยเป็นการเปลี่ยนแปลงทั้งในด้านเนื้อหาสาระและในด้านรูปแบบท่วงทำนอง ไม่มีอีกแล้ววันเวลาที่พวกเจ้าหน้าที่สหรัฐฯจะคอยเล็กเซอร์สั่งสอนคู่เจรจาฝ่ายจีนในประเด็นปัญหาต่างๆ ตั้งแต่อัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา ไปจนถึงการปฏิรูปทางการเงินในจีน มาถึงยุคนี้ การเจรจาหารือจะรวมศูนย์เน้นไปที่เรื่องจะทำอะไรกันอย่างไร เนื่องจากในฐานะที่เป็นระบบเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดเป็นอันดับหนึ่งและอันดับสามของโลก โดยเป็นผู้นำเข้าพลังงานรวมกันเป็นปริมาณมากกว่า 50% ของโลก ตลอดจนเป็นผู้ปล่อยไอเสียก๊าซเรือนกระจกกว่า 30% ของโลก สหรัฐฯและจีนจึงสามารถที่จะทำงานร่วมกันเพื่อแก้ไขรับมือกับปัญหาท้าทายต่างๆ จำนวนมากที่โลกกำลังเผชิญอยู่
ในนโยบายต่อจีน คณะรัฐบาลโอบามาได้เน้นย้ำถึงผลประโยชน์ที่มีอยู่ร่วมกันมากกว่าสิ่งที่ทั้งสองฝ่ายมีความแตกต่างกัน “พวกเราต่างก็อยู่ในปัญหานี้ด้วยกัน” ดูจะกลายเป็นมนตร์บทซึ่งพวกเจ้าหน้าที่สหรัฐฯตั้งแต่เปโลซีจนถึงไกธ์เนอร์ นิยมท่องบ่นให้ฝ่ายจีนฟัง เรื่องพลังงานสะอาด, การเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ, และการกระตุ้นเศรษฐกิจ กลายเป็นวาระทางนโยบายต่อจีนที่สำคัญที่สุดของวอชิงตันไปแล้ว ไม่ใช่เรื่องสิทธิมนุษยชน และการกล่าวหาจีนปั่นค่าเงินตรา
มีเหตุผลดีๆ หลายๆ ประการที่ทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนจุดโฟกัสเช่นนี้ คณะรัฐบาลโอบามาต้องแบกรับมรดกวิกฤตเศรษฐกิจที่อาจจะร้ายแรงที่สุดนับตั้งแต่ภาวะเศรษฐกิจถดถอยอย่างรุนแรงทั่วโลกในยุคทศวรรษ 1930 ในการรับมือกับปัญหาคนว่างงานเพิ่มสูงขึ้นทุกที, และการขาดดุลงบประมาณอย่างมหาศาล คณะรัฐบาลโอบามาจำเป็นจะต้องร่วมมือประสานนโยบายเพื่อฟื้นเศรษฐกิจของตน อย่างใกล้ชิดกับมหาอำนาจระหว่างประเทศใหญ่ๆ อื่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับประเทศจีน
สถานการณ์กำลังเรียกร้องให้ต้องดำเนินการปรับเปลี่ยนครั้งใหญ่ในนโยบายต่างๆ ทางด้านเศรษฐกิจ ทั้งนี้ไม่เพียงเพื่อต่อสู้กับวิกฤตที่กำลังเกิดขึ้นในปัจจุบันเท่านั้น แต่ยังเป็นการวางรากฐานอันแน่นหนาแข็งแกร่งสำหรับการเจริญเติบโตอย่างยั่งยืนต่อไปอีกด้วย สำหรับสหรัฐฯแล้ว สิ่งนี้หมายความว่าสหรัฐฯไม่สามารถที่จะจับจ่ายใช้สอยเกินตัวได้อีก และสำหรับจีนแล้ว สิ่งนี้เรียกร้องให้ต้องมีการปรับเปลี่ยนจากเศรษฐกิจแบบมุ่งเน้นการส่งออก มาเป็นเศรษฐกิจที่พึ่งพาการบริโภคภายในประเทศ สิ่งที่ทั้งสองประเทศต้องกระทำเหล่านี้ ย่อมไม่ใช่เรื่องง่ายดายเลย
อัตราเติบโตทางเศรษฐกิจอันสูงลิบลิ่วระดับเป็นปรากฏการณ์ตลอดช่วง 2 ทศวรรษที่ผ่านมาของจีน จะสามารถประคับประคองให้เดินหน้าไปได้ ตราบเท่าที่ตลาดภายนอกประเทศยังสามารถดูดซับสินค้าผลิตภัณฑ์ทั้งหลายของแดนมังกร แต่การพึ่งพาอาศัยการส่งออกอย่างมากมายเช่นนี้ ก็เป็นตัวการทำให้ตำแหน่งงานในประเทศจีนต้องสูญหายไปกว่า 20 ล้านตำแหน่งแล้ว สืบเนื่องจากอุปสงค์ความต้องการสินค้าทำโดยคนจีนกำลังลดฮวบฮาบเพราะผลของวิกฤตทางการเงิน ปักกิ่งกำลังพยายามตอบโต้รับมือด้วยการอัดฉีดเงินใช้จ่ายกระตุ้นเศรษฐกิจเป็นมูลค่ามากกว่า 600,000 ล้านดอลลาร์ แต่ความพยายามเช่นนี้ยังไม่ทันได้ก่อให้เกิดผลอันใหญ่โตมากมายในตอนนี้
พิจารณาจากเครือข่ายหลักประกันทางสังคมของจีนที่ยังมีอยู่ไม่เพียงพอแล้ว ฐานผู้บริโภคภายในประเทศของจีนจึงยังคงมีศักยภาพที่จำกัด ทำให้การปรับเปลี่ยนจากการส่งออกไปสู่การบริโภคภายในประเทศนั้นเป็นเรื่องที่ทำได้ยากขึ้นไปอีก ต่อเมื่อมีการประกาศใช้โครงการหรือมีการปรับปรุงโครงการทางด้านระบบบำนาญยามเกษียณอายุ, บริการดูแลรักษาสุขภาพของภาครัฐ, และการเข้าถึงสินเชื่อต่างๆ แล้ว จึงจะสามารถทำให้ครัวเรือนชาวจีนใช้จ่ายเพิ่มมากขึ้นและประหยัดอดออมน้อยลง
แต่ฝ่ายสหรัฐฯก็มีภาระหน้าที่อันหนักหนาสาหัสพอๆ กัน ในการดำเนินการปฏิรูปอย่างเคร่งครัดจริงจัง รวมทั้งการฟื้นฟูวินัยการคลังของตนด้วยการทำให้ส่วนผสมระหว่างรายได้และการใช้จ่ายมีความสมดุลมากยิ่งขึ้น การใช้จ่ายอย่างควบคุมไม่อยู่และการขาดดุลที่เพิ่มขึ้นทุกทีของวอชิงตัน ทำให้ปักกิ่งบังเกิดความวิตกขึ้นมาแล้ว เมื่อขบคิดพิจารณาถึงความมั่นคงปลอดภัยของหนี้สินสหรัฐฯจำนวนมหาศาลที่ฝ่ายจีนถือครองอยู่ เป็นต้นว่า พันธบัตรและตั๋วเงินกระทรวงการคลังสหรัฐฯมูลค่า 768,000 ล้านดอลลาร์ ในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่ฝ่ายจีนไล่ตั้งแต่นายกรัฐมนตรีเวินเจียเป่า ไปจนถึงผู้ว่าการธนาคารกลางโจวเสี่ยวชวน ต่างออกมาแสดงความกังวลอย่างจริงจังเกี่ยวกับหนี้สินเหล่านี้
ปักกิ่งมีแรงจูงใจทุกๆ ประการที่จะลดระดับความเสี่ยงจากการถือครองหนี้สินสกุลดอลลาร์อเมริกันมากเกินไปเช่นนี้ ทว่าเจ้าหนี้รายใหญ่ที่สุดของอเมริการายนี้ยังไม่น่าที่จะถอดปลั๊กเลิกให้กู้ไปเลยในช่วงเร็ววันนี้ เนื่องจากความเสียหายที่จะเกิดขึ้นแบบคู่ขนานกับความเคลื่อนไหวอันรุนแรงดังกล่าวนี้ จะใหญ่โตมโหฬารอย่างยิ่ง ดังนั้น จีนจึงจะยังคงพึ่งพาอาศัยตลาดสหรัฐฯและมูลค่าของเงินดอลลาร์สหรัฐฯ เพื่อมาช่วยลดอัตราการว่างงานในประเทศตนที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และทำให้สภาพที่ทรัพย์สินของตนกำลังเสื่อมค่าลงทุกทีนั้น ให้อยู่ในระดับต่ำที่สุด
นอกเหนือจากประเด็นปัญหาทางเศรษฐกิจแล้ว ปักกิ่งกับวอชิงตันยังมีผลประโยชน์ร่วมกันที่สำคัญในการรับมือกับประเด็นปัญหาอื่นๆ ตั้งแต่การหยุดยั้งการแพร่กระจายอาวุธทำลายร้ายแรง ไปจนถึงภัยโจรสลัดระหว่างประเทศที่กำลังเพิ่มขึ้น จีนและสหรัฐฯยังกำลังร่วมมือกันในการแก้ไขประเด็นปัญหาเรื่องนิวเคลียร์ของเกาหลีเหนือและอิหร่าน รวมทั้งคณะรัฐบาลโอบามาก็กำลังแสดงท่าทีมากขึ้นเรื่อยๆ ว่าต้องการความช่วยเหลือจากจีนในเรื่องการสงครามที่เกิดขึ้นในอัฟกานิสถานและปากีสถาน
ไม่เหมือนกับอดีตประธานาธิบดีอเมริกันคนก่อนหน้า คณะรัฐบาลโอบามาเริ่มต้นวาระของตนด้วยการมีจุดยืนที่มั่นคงหนักแน่นว่า จะสร้างความสัมพันธ์ในเชิงบวกและร่วมไม้ร่วมมือกันกับประเทศจีน ทว่านี่ไม่ได้หมายความว่าไม่มีความแตกต่างระหว่างกันดำรงอยู่ หรือควรที่จะเก็บความแตกต่างเหล่านี้เอาไว้ก่อน อันที่จริงแล้ว เป็นเรื่องที่แน่นอนเลยว่า ความตึงเครียดจะต้องโผล่ขึ้นมาจนได้ และการพิพาทขัดแย้งกันก็จะเป็นส่วนหนึ่งแห่งปฏิสัมพันธ์ของพวกเขา
ดร. จิงตง หยวน เป็นผู้อำนวยการโครงการการศึกษาการไม่แพร่กระจายอาวุธในเอเชียตะวันออก (East Asia Non-proliferation Studies) ณ ศูนย์เจมส์ มาร์ติน เพื่อการศึกษาการไม่แพร่กระจายอาวุธ (James Martin Center for Non-proliferation Studies) และเป็นรองศาสตราจารย์ด้านนโยบายระหว่างประเทศศึกษา (International Policy Studies) ที่สถาบันมอนเทอเรย์เพื่อการระหว่างประเทศศึกษา (Monterey Institute of International Studies)
Obama’s China policy takes shape
By Jing-dong Yuan
08/06/2009
น้ำเสียงและท่าทีที่ปรากฏออกมาเมื่อตอนที่รัฐมนตรีคลังสหรัฐฯ ทิโมธี ไกธ์เนอร์ เยือนปักกิ่งในสัปดาห์ที่แล้ว บ่งบอกให้เห็นว่าคณะรัฐบาลบารัค โอบามา จะยังคงเดินตามแนวทางส่วนใหญ่ของคณะรัฐบาลสหรัฐฯชุดที่แล้ว ในการคบค้าสมาคมกับจีน โดยที่เรื่องการต่อสู้การก่อการร้าย, การเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ, และการกระตุ้นเศรษฐกิจ กำลังมีความสำคัญเหนือกว่าประเด็นที่อ่อนไหวอย่างเรื่องสิทธิมนุษยชน กระนั้นก็ตามที มันไม่ใช่เป็นเรื่องของความต่อเนื่องไปเสียทั้งหมด เนื่องจากวิกฤตทางการเงินที่เกิดขึ้นมาคราวนี้ ได้เปลี่ยนแปลงสายสัมพันธ์ระหว่างจีนกับสหรัฐฯไปตลอดกาลเสียแล้ว
มอนเทอเรย์, แคลิฟอร์เนีย – รัฐมนตรีคลังสหรัฐฯ ทิโมธี ไกธ์เนอร์ ปิดฉากการเยือนจีนของเขาในสัปดาห์ที่แล้วด้วยการแสดงท่าทีในเชิงบวก การเยี่ยมเยียนของเขา ซึ่งบังเกิดขึ้นตามหลังการเยือนของประธานสภาผู้แทนราษฎร แนนซี เปโลซี และรัฐมนตรีต่างประเทศ ฮิลลารี คลินตัน เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ บ่งบอกให้เห็นเป็นอันมากทีเดียว เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงและความต่อเนื่องในนโยบายต่อจีนของคณะรัฐบาล บารัค โอบามา
การเรียกร้องความเปลี่ยนแปลงนั้น ถือเป็นเครื่องหมายสัญลักษณ์ประจำตัวของโอบามาในระหว่างการรณรงค์หาเสียงชิงตำแหน่งประธานาธิบดี แต่เมื่อขึ้นเป็นผู้นำประเทศ และในเรื่องเกี่ยวกับจีน การดูแลความสัมพันธ์ระดับทวิภาคที่ทรงความสำคัญที่สุดของอเมริกานี้ของคณะรัฐบาลโอบามา ก็กลับโดดเด่นในเรื่องความต่อเนื่อง ทั้งนี้การเข้าไปคบค้าสมาคมด้วย ไม่ใช่การเผชิญหน้ากัน คือสาระสำคัญของแนวทางนี้ และก็จะเป็นสิ่งที่ชี้นำวอชิงตันในการพัฒนาสายสัมพันธ์ “ที่เป็นด้านบวก, มีความร่วมมือระหว่างกัน, และครอบคลุมรอบด้าน” กับปักกิ่ง
ความริเริ่มอันสำคัญที่สุดในการสนทนาและการปรึกษาหารือระดับทวิภาคี ที่เริ่มต้นขึ้นในสมัยที่สองของคณะรัฐบาลจอร์จ ดับเบิลยู บุช ซึ่งก็คือ “การสนทนาระดับอาวุโสและการสนทนาทางเศรษฐกิจเชิงยุทธศาสตร์” (Senior Dialogue and the Strategic Economic Dialogue) ยังคงมีการดำเนินการกันต่อ อีกทั้งยกสู่ระดับที่สูงขึ้นด้วย กล่าวคือ การสนทนาทางยุทธศาสตร์และทางเศรษฐกิจสหรัฐฯ-จีน (US-China Strategic and Economic Dialogue) อันเป็นชื่อที่เรียกขานกันในตอนนี้ ทางฝ่ายสหรัฐฯจะนำโดยรัฐมนตรีคลินตัน และรัฐมนตรีไกธ์เนอร์ ส่วนทางฝ่ายจีนก็มีรองนายกรัฐมนตรีหวังฉีซาน และมุขมนตรีแห่งรัฐ ไต้ปิงกว๋อ เป็นผู้นำ
โดยที่การประชุมหารือครั้งแรกจะจัดขึ้นที่กรุงวอชิงตันในสัปดาห์สุดท้ายของเดือนกรกฎาคม
อย่างไรก็ดี การเปลี่ยนแปลงก็ได้บังเกิดขึ้นเช่นเดียวกัน โดยเป็นการเปลี่ยนแปลงทั้งในด้านเนื้อหาสาระและในด้านรูปแบบท่วงทำนอง ไม่มีอีกแล้ววันเวลาที่พวกเจ้าหน้าที่สหรัฐฯจะคอยเล็กเซอร์สั่งสอนคู่เจรจาฝ่ายจีนในประเด็นปัญหาต่างๆ ตั้งแต่อัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา ไปจนถึงการปฏิรูปทางการเงินในจีน มาถึงยุคนี้ การเจรจาหารือจะรวมศูนย์เน้นไปที่เรื่องจะทำอะไรกันอย่างไร เนื่องจากในฐานะที่เป็นระบบเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดเป็นอันดับหนึ่งและอันดับสามของโลก โดยเป็นผู้นำเข้าพลังงานรวมกันเป็นปริมาณมากกว่า 50% ของโลก ตลอดจนเป็นผู้ปล่อยไอเสียก๊าซเรือนกระจกกว่า 30% ของโลก สหรัฐฯและจีนจึงสามารถที่จะทำงานร่วมกันเพื่อแก้ไขรับมือกับปัญหาท้าทายต่างๆ จำนวนมากที่โลกกำลังเผชิญอยู่
ในนโยบายต่อจีน คณะรัฐบาลโอบามาได้เน้นย้ำถึงผลประโยชน์ที่มีอยู่ร่วมกันมากกว่าสิ่งที่ทั้งสองฝ่ายมีความแตกต่างกัน “พวกเราต่างก็อยู่ในปัญหานี้ด้วยกัน” ดูจะกลายเป็นมนตร์บทซึ่งพวกเจ้าหน้าที่สหรัฐฯตั้งแต่เปโลซีจนถึงไกธ์เนอร์ นิยมท่องบ่นให้ฝ่ายจีนฟัง เรื่องพลังงานสะอาด, การเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ, และการกระตุ้นเศรษฐกิจ กลายเป็นวาระทางนโยบายต่อจีนที่สำคัญที่สุดของวอชิงตันไปแล้ว ไม่ใช่เรื่องสิทธิมนุษยชน และการกล่าวหาจีนปั่นค่าเงินตรา
มีเหตุผลดีๆ หลายๆ ประการที่ทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนจุดโฟกัสเช่นนี้ คณะรัฐบาลโอบามาต้องแบกรับมรดกวิกฤตเศรษฐกิจที่อาจจะร้ายแรงที่สุดนับตั้งแต่ภาวะเศรษฐกิจถดถอยอย่างรุนแรงทั่วโลกในยุคทศวรรษ 1930 ในการรับมือกับปัญหาคนว่างงานเพิ่มสูงขึ้นทุกที, และการขาดดุลงบประมาณอย่างมหาศาล คณะรัฐบาลโอบามาจำเป็นจะต้องร่วมมือประสานนโยบายเพื่อฟื้นเศรษฐกิจของตน อย่างใกล้ชิดกับมหาอำนาจระหว่างประเทศใหญ่ๆ อื่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับประเทศจีน
สถานการณ์กำลังเรียกร้องให้ต้องดำเนินการปรับเปลี่ยนครั้งใหญ่ในนโยบายต่างๆ ทางด้านเศรษฐกิจ ทั้งนี้ไม่เพียงเพื่อต่อสู้กับวิกฤตที่กำลังเกิดขึ้นในปัจจุบันเท่านั้น แต่ยังเป็นการวางรากฐานอันแน่นหนาแข็งแกร่งสำหรับการเจริญเติบโตอย่างยั่งยืนต่อไปอีกด้วย สำหรับสหรัฐฯแล้ว สิ่งนี้หมายความว่าสหรัฐฯไม่สามารถที่จะจับจ่ายใช้สอยเกินตัวได้อีก และสำหรับจีนแล้ว สิ่งนี้เรียกร้องให้ต้องมีการปรับเปลี่ยนจากเศรษฐกิจแบบมุ่งเน้นการส่งออก มาเป็นเศรษฐกิจที่พึ่งพาการบริโภคภายในประเทศ สิ่งที่ทั้งสองประเทศต้องกระทำเหล่านี้ ย่อมไม่ใช่เรื่องง่ายดายเลย
อัตราเติบโตทางเศรษฐกิจอันสูงลิบลิ่วระดับเป็นปรากฏการณ์ตลอดช่วง 2 ทศวรรษที่ผ่านมาของจีน จะสามารถประคับประคองให้เดินหน้าไปได้ ตราบเท่าที่ตลาดภายนอกประเทศยังสามารถดูดซับสินค้าผลิตภัณฑ์ทั้งหลายของแดนมังกร แต่การพึ่งพาอาศัยการส่งออกอย่างมากมายเช่นนี้ ก็เป็นตัวการทำให้ตำแหน่งงานในประเทศจีนต้องสูญหายไปกว่า 20 ล้านตำแหน่งแล้ว สืบเนื่องจากอุปสงค์ความต้องการสินค้าทำโดยคนจีนกำลังลดฮวบฮาบเพราะผลของวิกฤตทางการเงิน ปักกิ่งกำลังพยายามตอบโต้รับมือด้วยการอัดฉีดเงินใช้จ่ายกระตุ้นเศรษฐกิจเป็นมูลค่ามากกว่า 600,000 ล้านดอลลาร์ แต่ความพยายามเช่นนี้ยังไม่ทันได้ก่อให้เกิดผลอันใหญ่โตมากมายในตอนนี้
พิจารณาจากเครือข่ายหลักประกันทางสังคมของจีนที่ยังมีอยู่ไม่เพียงพอแล้ว ฐานผู้บริโภคภายในประเทศของจีนจึงยังคงมีศักยภาพที่จำกัด ทำให้การปรับเปลี่ยนจากการส่งออกไปสู่การบริโภคภายในประเทศนั้นเป็นเรื่องที่ทำได้ยากขึ้นไปอีก ต่อเมื่อมีการประกาศใช้โครงการหรือมีการปรับปรุงโครงการทางด้านระบบบำนาญยามเกษียณอายุ, บริการดูแลรักษาสุขภาพของภาครัฐ, และการเข้าถึงสินเชื่อต่างๆ แล้ว จึงจะสามารถทำให้ครัวเรือนชาวจีนใช้จ่ายเพิ่มมากขึ้นและประหยัดอดออมน้อยลง
แต่ฝ่ายสหรัฐฯก็มีภาระหน้าที่อันหนักหนาสาหัสพอๆ กัน ในการดำเนินการปฏิรูปอย่างเคร่งครัดจริงจัง รวมทั้งการฟื้นฟูวินัยการคลังของตนด้วยการทำให้ส่วนผสมระหว่างรายได้และการใช้จ่ายมีความสมดุลมากยิ่งขึ้น การใช้จ่ายอย่างควบคุมไม่อยู่และการขาดดุลที่เพิ่มขึ้นทุกทีของวอชิงตัน ทำให้ปักกิ่งบังเกิดความวิตกขึ้นมาแล้ว เมื่อขบคิดพิจารณาถึงความมั่นคงปลอดภัยของหนี้สินสหรัฐฯจำนวนมหาศาลที่ฝ่ายจีนถือครองอยู่ เป็นต้นว่า พันธบัตรและตั๋วเงินกระทรวงการคลังสหรัฐฯมูลค่า 768,000 ล้านดอลลาร์ ในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่ฝ่ายจีนไล่ตั้งแต่นายกรัฐมนตรีเวินเจียเป่า ไปจนถึงผู้ว่าการธนาคารกลางโจวเสี่ยวชวน ต่างออกมาแสดงความกังวลอย่างจริงจังเกี่ยวกับหนี้สินเหล่านี้
ปักกิ่งมีแรงจูงใจทุกๆ ประการที่จะลดระดับความเสี่ยงจากการถือครองหนี้สินสกุลดอลลาร์อเมริกันมากเกินไปเช่นนี้ ทว่าเจ้าหนี้รายใหญ่ที่สุดของอเมริการายนี้ยังไม่น่าที่จะถอดปลั๊กเลิกให้กู้ไปเลยในช่วงเร็ววันนี้ เนื่องจากความเสียหายที่จะเกิดขึ้นแบบคู่ขนานกับความเคลื่อนไหวอันรุนแรงดังกล่าวนี้ จะใหญ่โตมโหฬารอย่างยิ่ง ดังนั้น จีนจึงจะยังคงพึ่งพาอาศัยตลาดสหรัฐฯและมูลค่าของเงินดอลลาร์สหรัฐฯ เพื่อมาช่วยลดอัตราการว่างงานในประเทศตนที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และทำให้สภาพที่ทรัพย์สินของตนกำลังเสื่อมค่าลงทุกทีนั้น ให้อยู่ในระดับต่ำที่สุด
นอกเหนือจากประเด็นปัญหาทางเศรษฐกิจแล้ว ปักกิ่งกับวอชิงตันยังมีผลประโยชน์ร่วมกันที่สำคัญในการรับมือกับประเด็นปัญหาอื่นๆ ตั้งแต่การหยุดยั้งการแพร่กระจายอาวุธทำลายร้ายแรง ไปจนถึงภัยโจรสลัดระหว่างประเทศที่กำลังเพิ่มขึ้น จีนและสหรัฐฯยังกำลังร่วมมือกันในการแก้ไขประเด็นปัญหาเรื่องนิวเคลียร์ของเกาหลีเหนือและอิหร่าน รวมทั้งคณะรัฐบาลโอบามาก็กำลังแสดงท่าทีมากขึ้นเรื่อยๆ ว่าต้องการความช่วยเหลือจากจีนในเรื่องการสงครามที่เกิดขึ้นในอัฟกานิสถานและปากีสถาน
ไม่เหมือนกับอดีตประธานาธิบดีอเมริกันคนก่อนหน้า คณะรัฐบาลโอบามาเริ่มต้นวาระของตนด้วยการมีจุดยืนที่มั่นคงหนักแน่นว่า จะสร้างความสัมพันธ์ในเชิงบวกและร่วมไม้ร่วมมือกันกับประเทศจีน ทว่านี่ไม่ได้หมายความว่าไม่มีความแตกต่างระหว่างกันดำรงอยู่ หรือควรที่จะเก็บความแตกต่างเหล่านี้เอาไว้ก่อน อันที่จริงแล้ว เป็นเรื่องที่แน่นอนเลยว่า ความตึงเครียดจะต้องโผล่ขึ้นมาจนได้ และการพิพาทขัดแย้งกันก็จะเป็นส่วนหนึ่งแห่งปฏิสัมพันธ์ของพวกเขา
ดร. จิงตง หยวน เป็นผู้อำนวยการโครงการการศึกษาการไม่แพร่กระจายอาวุธในเอเชียตะวันออก (East Asia Non-proliferation Studies) ณ ศูนย์เจมส์ มาร์ติน เพื่อการศึกษาการไม่แพร่กระจายอาวุธ (James Martin Center for Non-proliferation Studies) และเป็นรองศาสตราจารย์ด้านนโยบายระหว่างประเทศศึกษา (International Policy Studies) ที่สถาบันมอนเทอเรย์เพื่อการระหว่างประเทศศึกษา (Monterey Institute of International Studies)