เอเอฟพี – ผู้พิพากษาของอินเดียลงความเห็นเมื่อวันจันทร์ ว่า ใครก็ตามที่ถูกตัดสินมีความผิดฐานฆ่าสตรีจากปัญหาเรื่องสินสมรส สมควรจะได้รับการลงโทษโดยการแขวนคอ
“ในประเทศอินเดีย สตรีผู้บริสุทธิ์หลายพันคนถูกฆ่าทิ้งด้วยการจุดไฟเผา” ผู้พิพากษากล่าวในระหว่างการพิจารณาคำขอประกันตัวของ มาห์เอนเดอร์ คูมาร์ กูลาตี ซึ่งถูกตัดสินว่ามีความผิดฐานฆ่าภรรยาตนเอง
“มันเป็นการกระทำที่ป่าเถื่อน ทำไปได้อย่างไร คนพวกนี้ควรถูกแขวนคอเสีย” มาร์คานดียา คัทจู และ ธีพัก เวอร์มา ผู้พิพากษาศาลสูงสุด กล่าวในข้อสังเกตการณ์ที่เป็นลายลักษณ์อักษร จากการรายงานของสื่ออินเดีย
แม้ว่าในอินเดียยังคงมีโทษประหาร แต่การประหารชีวิตจริงๆ เกิดขึ้นน้อยมาก และมีไว้สำหรับกรณีที่รุนแรงสุดๆ ซึ่งการแขวนคอครั้งสุดท้ายเกิดขึ้นในปี 2004
ธรรมเนียมที่ฝ่ายเจ้าบ่าวเรียกร้องครอบครัวฝ่ายเจ้าสาวให้จัดหาสินสมรสทั้งในรูปของเงินสด เครื่องเพชรพลอยหรือสิ่งของราคาแพง ได้ถูกสั่งห้ามไปตั้งแต่ปี 1961 แต่ก็ยังมีให้พบเห็นอยู่บ่อยๆ
ปัญหาสตรีถูกข่มขู่และจุดไฟเผา หากครอบครัวของฝ่ายชาย มองว่า สินสมรสที่ได้รับนั้นน้อยเกินไปยังคงมีอยู่อย่างแพร่หลาย
“คุณจุดไฟเผาภรรยาคุณตายด้วยการราดน้ำมันก๊าด ทำไมคุณถึงป่าเถื่อนได้ขนาดนั้น มันเป็นการกระทำที่ไร้อารยธรรม” ผู้พิพากษาพูดถึงกรณีของกูลาตี
พร้อมกันนี้ ศาลอินเดียได้ลงความเห็นว่าจะไม่อนุญาตให้ชายผู้นี้ได้ประกันตัว
จากการเปิดเผยข้อมูลของกลุ่มสิทธิสตรี มีผู้หญิงในอินเดียถูกฆ่าตายถึงปีละ 7,000 คน โดยเฉลี่ย จากปัญหาเรื่องสินสมรส
ตามกฎหมายของอินเดีย หากสตรีคนใดเสียชีวิตจากการถูกเผาหรือบาดเจ็บทางกาย ในสภาวะที่ผิดปกติภายในระยะเวลา 7 ปีของชีวิตสมรส และสามารถพิสูจน์ว่าถูกข่มขู่ในเรื่องของสินสมรส กรณีลักษณะนี้จะถูกพิจารณาว่าเป็น “การเสียชีวิตจากสินสมรส”
ในปัจจุบัน ผู้ที่ถูกตัดสินมีความผิดฐานฆ่าสตรีในลักษณะนี้ จะได้รับโทษจำคุกตั้งแต่ 7 ปีจนถึงตลอดชีวิต
“ในประเทศอินเดีย สตรีผู้บริสุทธิ์หลายพันคนถูกฆ่าทิ้งด้วยการจุดไฟเผา” ผู้พิพากษากล่าวในระหว่างการพิจารณาคำขอประกันตัวของ มาห์เอนเดอร์ คูมาร์ กูลาตี ซึ่งถูกตัดสินว่ามีความผิดฐานฆ่าภรรยาตนเอง
“มันเป็นการกระทำที่ป่าเถื่อน ทำไปได้อย่างไร คนพวกนี้ควรถูกแขวนคอเสีย” มาร์คานดียา คัทจู และ ธีพัก เวอร์มา ผู้พิพากษาศาลสูงสุด กล่าวในข้อสังเกตการณ์ที่เป็นลายลักษณ์อักษร จากการรายงานของสื่ออินเดีย
แม้ว่าในอินเดียยังคงมีโทษประหาร แต่การประหารชีวิตจริงๆ เกิดขึ้นน้อยมาก และมีไว้สำหรับกรณีที่รุนแรงสุดๆ ซึ่งการแขวนคอครั้งสุดท้ายเกิดขึ้นในปี 2004
ธรรมเนียมที่ฝ่ายเจ้าบ่าวเรียกร้องครอบครัวฝ่ายเจ้าสาวให้จัดหาสินสมรสทั้งในรูปของเงินสด เครื่องเพชรพลอยหรือสิ่งของราคาแพง ได้ถูกสั่งห้ามไปตั้งแต่ปี 1961 แต่ก็ยังมีให้พบเห็นอยู่บ่อยๆ
ปัญหาสตรีถูกข่มขู่และจุดไฟเผา หากครอบครัวของฝ่ายชาย มองว่า สินสมรสที่ได้รับนั้นน้อยเกินไปยังคงมีอยู่อย่างแพร่หลาย
“คุณจุดไฟเผาภรรยาคุณตายด้วยการราดน้ำมันก๊าด ทำไมคุณถึงป่าเถื่อนได้ขนาดนั้น มันเป็นการกระทำที่ไร้อารยธรรม” ผู้พิพากษาพูดถึงกรณีของกูลาตี
พร้อมกันนี้ ศาลอินเดียได้ลงความเห็นว่าจะไม่อนุญาตให้ชายผู้นี้ได้ประกันตัว
จากการเปิดเผยข้อมูลของกลุ่มสิทธิสตรี มีผู้หญิงในอินเดียถูกฆ่าตายถึงปีละ 7,000 คน โดยเฉลี่ย จากปัญหาเรื่องสินสมรส
ตามกฎหมายของอินเดีย หากสตรีคนใดเสียชีวิตจากการถูกเผาหรือบาดเจ็บทางกาย ในสภาวะที่ผิดปกติภายในระยะเวลา 7 ปีของชีวิตสมรส และสามารถพิสูจน์ว่าถูกข่มขู่ในเรื่องของสินสมรส กรณีลักษณะนี้จะถูกพิจารณาว่าเป็น “การเสียชีวิตจากสินสมรส”
ในปัจจุบัน ผู้ที่ถูกตัดสินมีความผิดฐานฆ่าสตรีในลักษณะนี้ จะได้รับโทษจำคุกตั้งแต่ 7 ปีจนถึงตลอดชีวิต