(จากเอเชียไทมส์ออนไลน์www.atimes.com)
The second shockwave
By Michael Klare
19/03/2009
โลกกำลังพัฒนายังจะต้องเจอผลกระทบแบบเต็มๆ จากวิกฤตการเงินโลกอีกมากมายนัก กล่าวคือ ขณะที่ต้องเผชิญกับเรื่องร้ายๆ จำพวกว่า รายได้จากการขายของให้ประเทศมหาเศรษฐี พอแปลงเป็นเงินท้องถิ่นจะเหลือมูลค่าน้อยวูบลงอย่างฉกรรจ์แล้ว ยังจะต้องเจอปัญหาการหดตัวในภาคส่งออก ตลอดจนปัญหาที่ว่าการเอาชีวิตให้อยู่รอดได้โดยไม่มีระบบประกันสังคมที่เพียงพอนั้น จะยากเข็ญมากขึ้นเรื่อยๆ ยิ่งกว่านั้น ปัญหาว่าด้วย “การขาดไร้เสถียรภาพซึ่งเป็นภัยคุกคามต่อระบอบการปกครอง” จะเป็นปัญหาหนักรายการต่อไปในหนทางแห่งความอับจนข้างหน้า
*รายงานชิ้นนี้แบ่งเป็น 2 ตอน นี่คือตอนแรก *
ขณะที่การหดตัวทางเศรษฐกิจเริ่มชะลอความรุนแรงลงให้เห็นภายในประเทศอุตสาหกรรมก้าวหน้าทั้งหลาย และอาจแตะจุดต่ำสุดในอนาคตอันไม่ไกลนักนั้น การหดตัวทางเศรษฐกิจเพิ่งเริ่มสะสมโมเมนตั้มอยู่ในโลกกำลังพัฒนา ซึ่งที่ผ่านมา ยังนับว่าปลอดจากแรงกระหน่ำจากภาวะเศรษฐกิจอ่อนตัวช่วงต้น
เนื่องจากวิกฤตเกิดขึ้นด้วยสาเหตุใหญ่คือปัญหาการล่มจมของตลาดที่อยู่อาศัยในสหรัฐอเมริกา แล้วส่งผลต่อเนื่องเป็นปัญหาการแตกสลายของผลิตภัณฑ์การเงินที่เกิดจากการนำหนี้จดจำนองเจ้าปัญหาทั้งหลายมาทำซีเคียวริไทเซชั่น เท่าที่ผ่านมา ชาติกำลังพัฒนาส่วนใหญ่ยังไม่ถูกกระทบจริงจังจากช่วงต้นๆ ที่เศรษฐกิจอ่อนตัวลงมา ซึ่งเหตุผลก็ง่ายๆ แค่ว่าชาติเหล่านี้แทบจะไม่ได้เข้าไปลงทุนในสินทรัพย์เจ้าปัญหาดังกล่าว
มาในบัดนี้ ในเมื่อชาติร่ำรวยมากกว่าพากันร้างราจากการลงทุนในโลกกำลังพัฒนา อีกทั้งร้างราจากการซื้อหาสินค้าจากโลกกำลังพัฒนา วิกฤตจึงเริ่มจะเล่นงานพวกชาติซึ่งรวยน้อยกว่า หนำซ้ำไปกว่านั้น สภาพการณ์มาย่ำแย่เอาในช่วงที่ภัยแล้งกำลังเล่นงานหลายๆ พื้นที่ที่เป็นแหล่งผลิตอาหารของโลก โดยที่พวกเกษตรยากจนอยู่ในภาวะขาดแคลนทุนรอนไว้ซื้อหาเมล็ดพันธุ์ ปุ๋ย และน้ำมันเชื้อเพลิง
ผลพวงที่น่าจะเกิดขึ้นคือ การเกิดวิกฤตอาหารรุนแรงในหลายพื้นที่ที่กำลังเดือดร้อนหนักจากภาวะเศรษฐกิจโลกทรุดฮวบ
ตลอดที่ผ่านมา โลกพุ่งโฟกัสมาจ่ออยู่กับความวิตกถึงผลกระทบจากวิกฤตโลกต่อมนุษยชาติ ไม่ว่าจะในประเด็นปัญหาการว่างงาน และปัญหาความทุกข์ยากทางเศรษฐกิจในสหรัฐฯ ยุโรป และบรรดาประเทศอดีตสหภาพโซเวียต นอกจากนั้น ภายในพื้นที่ล่อแหลมเหล่านี้ เริ่มได้ยินกันหนาหูเกี่ยวกับการเล่าขานเรื่องราวแห่งหายนะที่เกิดจากการปิดโรงงาน การล้มละลาย และการยึดทรัพย์ที่ครัวเรือนใช้เป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันเงินกู้
ในเวลาเดียวกัน บทวิเคราะห์ข่าวในส่วนของผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อผู้คนในโลกกำลังพัฒนากลับไม่ค่อยจะเป็นข่าวหรือถูกเอ่ยถึง อย่างไรก็ตาม ขณะที่วิกฤตได้แผ่ลามเข้าสู่ประเทศร่ำรวยน้อยอยู่นั้น มีความเป็นไปได้ที่ผู้คนเหล่านี้จะต้องประสบกับความทุกข์ยากทุกสิ่งอันอย่างรุนแรงไม่น้อยกว่าผู้คนในประเทศร่ำรวยกว่า และอันที่จริงแล้ว คงจะทุกข์ตรมสาหัสกว่ากันนักหนาในหลายๆ กรณี
ข้อน่ากังวลอย่างที่สุดอยู่ในประเด็นที่ว่า ส่วนใหญ่ของกำไรที่เคยได้รับและสะสมไว้ในช่วงห่างไกลความยากจนตอนทศวรรษที่แล้ว จะระเหยหายไปหมดสิ้น พร้อมกับบีบมนุษย์นับพันล้านคนจากชนชั้นแรงงาน และกลุ่มล่างๆ ของชนชั้นกลาง ให้หวนกลับสู่ความอดอยากยากไร้ที่คนเหล่านี้หนีจากมานาน นอกจากนั้น เรื่องที่น่ากังวลมากพอๆ กันคือความเสี่ยงที่จะเกิดปัญหาอาหารขาดแคลน ซึ่งจะส่งผลต่อเนื่องในเรื่องภาวะขาดแคลนโภชนาการ อดอยาก และอดตาย เหล่านี้ย่อมจะสร้างความทุกข์ทรมานแสนสาหัส ความป่วยไข้ และการตายก่อนวัยอันควร อีกทั้งอาจส่งผลเป็นความวุ่นวายทางสังคมและทางการเมืองในหลายหลากรูปแบบ ไม่ว่าจะการจลาจล การก่อกบฏ และความขัดแย้งทางเชื้อชาติ
ประธานาธิบดีบารัค โอบามา แห่งสหรัฐฯ สภาคองเกรส อีกทั้งสื่อมวลชนอเมริกันรายใหญ่ ส่วนมากแล้วไม่ได้หยิบภัยพิบัติเหล่านี้ขึ้นมาหารือ เหมือนเช่นที่เคยเป็นมาคือความสนใจของสาธารณชนเอาแต่จะมุ่งไปในเรื่องว่าวิกฤตทั้งหลายจะกระทบต่อสหรัฐฯ และประเทศมหาอำนาจทั้งหลายในลักษณะอันใดบ้าง อย่างไรก็ตาม ยังพอจะมีหน่วยงานระหว่างประเทศที่พอจะให้ความใส่ใจบ้าง อาทิ ธนาคารโลก องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ กับหน่วยงานด้านข่าวกรองของสหรัฐฯ โดยเมื่อไม่นานนี้มีการออกรายงานมาทั้งสิ้น 3 ฉบับ รายงานแต่ละฉบับให้ความใส่ใจอย่างมากกับแนวโน้มที่จะเกิดคลื่นถล่มเศรษฐกิจโลกระลอกสอง และจะเป็นวิบัติที่กระทบต่อโลกกำลังพัฒนา
**จมดิ่งกลับสู่ความอดอยากยากจน**
ปลายเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่ธนาคารโลกผลิตเอกสารสนับสนุนการประชุมระดับรัฐมนตรีคลัง กลุ่มจี-20 ซึ่งจัดกันในประเทศอังกฤษเมื่อวันที่ 13-14 มีนาคม เอกสารดังกล่าวซึ่งตั้งชื่อเรื่องว่า “ว่ายทวนน้ำ : ประเทศกำลังพัฒนาจะรับมือกับวิกฤตโลกอย่างไร” ได้ให้การประเมินเบื้องต้นเกี่ยวกับผลกระทบของเศรษฐกิจทรุดตัวต่อประเทศที่มีรายได้ต่ำ (Low-Income Countries - LICs) แม้ภาพที่นำเสนอยังออกจะเคลือบคลุมไม่แจ่มชัด แต่ก็เป็นภาพที่แสดงถึงภัยที่หยั่งรากลึกขึ้นเรื่อยๆ
ประเทศกลุ่ม LICs ส่วนใหญ่ถูกกั้นห่างจากผลกระทบช่วงแรกของวิกฤตชะงักงันในกระแสไหลเวียนของทุนเอกชน เพราะชาติเหล่านี้ไม่สู้จะสามารถเข้าถึงตลาดการเงินหมวดที่ปะทุเป็นปัญหาขึ้นมา “แต่แม้ปัญหาจะปรากฏตัวช้า” รายงานเขียนไว้อย่างนั้นว่า “ผลกระทบจากวิกฤตต่อ LICs ก็รุนแรงไม่น้อยกว่าที่กลุ่มประเทศอื่นๆ ต้องเผชิญกันทั่วหน้า” มีการยกตัวอย่างว่า “รัฐบาลของชาติ LICs มากมากแห่ไปพึ่งพิงรายได้จากการส่งออกสินค้าโภคภัณฑ์มากเกินไป แล้วปรากฏว่าราคาสินค้าโภคภัณฑ์ก็กลับดิ่งฮวบลงมาตามอุปสงค์โลก” ทำนองเดียวกัน การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศก็ลดต่ำลง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การลงทุนโดยตรงในภาคที่เป็นทรัพยากรธรรมชาติ หนำซ้ำกว่านั้น มูลค่าเงินตราที่ประเทศเหล่านี้เคยได้รับจากญาติพี่น้องที่อพยพไปทำมาหากินในประเทศร่ำรวยแล้วส่งเงินกลับไปจุนเจือคนทางบ้านนั้น ก็มีมูลค่าน้อยลงมากเมื่อแปลงกลับเป็นเงินตราท้องถิ่น ซึ่งเท่ากับเป็นการหดตัวของแหล่งรายได้ที่ป้อนสู่ชุมชนยากจนทั้งหลายนั่นเอง
เมื่อประมวลเข้าด้วยกัน มันจึงมีแนวโน้มมากว่า “การชะลอตัวในอัตราขยายตัวทางเศรษฐกิจคงจะทำให้คนซึ่งยากไร้อยู่แล้ว ยิ่งถูกทอดทิ้งไว้ข้างหลังสาหัสมากขึ้น” ยิ่งกว่านั้น ในหลายประเทศกลุ่ม LICs “กลุ่มชนจำนวนมหาศาลมีฐานะทางเศรษฐกิจที่พ้นเส้นความยากจนขึ้นมาได้เพียงเล็กน้อย ดังนั้น จึงพวกเขาเป็นคนกลุ่มใหญ่ที่อยู่ในความสุ่มเสี่ยงสูงว่าจะเดือดร้อนเกินใครภายในความผันผวนและการชะลอตัวทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นทั่วโลก” ขณะที่วิกฤตทวีความรุนแรง ผู้คนเหล่านี้ที่จะโดนหางเลขจะมีจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ ไม่ว่าจะเป็นการตกงาน หรือสูญเสียแหล่งรายได้อื่นๆ และดังนั้น ก็จะถูกผลักไสกลับลงไปต่ำภายใต้เส้นความยากจน ผลที่จะเกิดตามมาคือ “วิกฤตเศรษฐกิจคงจะทำให้มีคนยากจนเพิ่มขึ้นราว 46 ล้านคนในปี 2009”
ภาพในรายงานธนาคารโลกดังกล่าวซึ่งให้ไว้แก่ที่ประชุมกลุ่มจี-20 ยิ่งทวีความมืดมนเมื่อเดินประเด็นไปถึงการประเมินศักยภาพของบรรดาประเทศ LICs ในอันที่จะแก้ปัญหาปากท้องของคนยากจนกลุ่มใหม่ในประเทศตน ในเมื่อรายได้ส่วนใหญ่ของประเทศเหล่านี้ที่มาจากการขายสินค้าโภคภัณฑ์แก่ตลาดโลก มีมูลค่าลดน้อยฮวบฮาบทั้งในแง่ของยอดขาย ทั้งในแง่ของการที่อาจต้องลดราคาสินค้าเพื่อดึงดูดแรงซื้อ ตลอดทั้งในแง่ของตัวเงินที่น้อยลงแปลงเป็นเงินสกุลท้องถิ่น ยิ่งกว่านั้น เม็ดเงินจากต่างประเทศในรูปของเงินกู้และเงินลงทุนต่างก็แห้งเหือดกันไปมหาศาล ดังนั้น รัฐบาลของประเทศเหล่านี้จึงแทบจะไม่เหลืองบประมาณแผ่นดินไว้บริหารประเทศมากมายอะไรนัก ด้วยเหตุนี้ นัยแห่งผลกระทบที่ประเทศกลุ่ม LICs จะต้องเผชิญจึงน่าวิตกกังวลอย่างร้ายกาจ
“เมื่อความช่วยเหลือจากภาครัฐขาดหายไป ครัวเรือนอาจถูกบีบให้ต้องเร่งเพิ่มการขายสินทรัพย์ของตนทั้งที่มันเป็นสินทรัพย์ที่ต้องใช้ยังชีพ เช่น เรือกสวนที่นา และปศุสัตว์ อีกทั้งอาจต้องงดส่งบุตรหลานไปโรงเรียนเพื่อลดค่าใช้จ่าย ต้องตัดงบด้านการรักษาพยาบาล ต้องตัดลดปริมาณและคุณค่าของอาหารในครัวเรือนแม้จะนำไปสู่การขาดแคลนสารอาหาร” ผลสืบเนื่องในระยะยาวจากการปรับตัวชนิดจนตรอกทั้งหลายนี้นับว่ารุนแรง “ความตกต่ำในด้านสุขภาพและโภชนาการที่เด็กๆ ต้องเผชิญเนื่องจากการถูกลดอาหารเพื่อตัดค่าใช้จ่ายนั้น เป็นความเสียหายที่ไม่สามารถจะแก้ไขให้กลับเป็นปกติได้ จากการประเมินหลายครั้งที่ผ่านมา พบว่าวิกฤตอาหารได้...ก่อให้เกิดปัญหาการขาดแคลนโภชนาการบ้างแล้ว ซึ่งในกาลข้างหน้าจะมีจำนวนคนที่เป็นโรคนี้เพิ่มขึ้นราว 44 ล้านคน”
การประเมินทั้งสองเรื่องดังกล่าวข้างต้นนับว่าเกินกว่าที่เคยมีการประมาณการไว้ในรายงานอื่นๆ ก่อนหน้านี้ กระนั้นก็ตาม เราต้องมองว่าเป็นแค่ตัวเลขเบื้องต้น โดยที่ตัวเลขจริงนั้นต้องขึ้นอยู่กับช่วงเวลาและความรุนแรงของปัญหาเศรษฐกิจโลกอ่อนตัว หากการทำนายของธนาคารโลกปรากฏเป็นจริงขึ้นมา ตัวเลขพวกนี้จะพุ่งสูงกว่านี้มาก
**ความไร้เสถียรภาพด้านอาหารจะร้ายกาจยิ่ง**
ฤดูกาลเพาะปลูกได้เริ่มต้นแล้วในหลายพื้นที่ของโลก ขณะที่ผู้เชี่ยวชาญด้านเกษตรที่ตระหนักถึงวี่แววปัญหาก็ได้คำนวณแล้วถึงความเป็นไปได้ถึงปริมาณผลผลิตที่จะออกสู่ตลาดในหลายเดือนข้างหน้า ความวิตกของผู้เชี่ยวชาญนับว่ามีมูลฐานทีเดียว ในฤดูใบไม้ผลิและฤดูร้อนของปีที่แล้วนั้น ปัญหาน้ำมันราคาพุ่งแพงและปัญหาขาดแคลนอาหารในระดับท้องถิ่นได้นำไปสู่การจลาจลในหลายประเทศ อาทิ คาเมรูน อียิปต์ เอธิโอเปีย ไฮติ อินโดนีเซีย ไอโวรี โคสต์ และเซเนกัล (ราคาอาหารมีความผูกพันอยู่กับราคาน้ำมัน เพราะเกษตรกรรมยุคใหม่ต้องพึ่งพิงอย่างมากกับน้ำมันและผลิตภัณฑ์จากน้ำมันที่ต้องใช้ในการเพาะปลูก เก็บเกี่ยว ขนส่งสู่ตลาด การฆ่าแมลง และการผลิตปุ๋ยเคมี)
ราคาอาหารตกต่ำมาโดยตลอดโดยควบคู่กับการตกต่ำของราคาน้ำมันไม่มากก็น้อย ขณะที่อุปทานด้านอาหารก็มีความเสี่ยงที่จะลดน้อยฮวบฮาบเพราะภาวะฝนแล้งในหลายส่วนของโลก เหล่านี้นำไปสู่ความวิกตกถึงปริมาณอาหารที่โลกจะมีไว้บริโภคในปีนี้
การประเมินปริมาณการผลิตอาหารของโลกในปี 2009 มีการตีพิมพ์ออกมาแล้วโดยองค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ(เอฟเอโอ) โดยเป็นการประมาณการไม่ใช่การให้คำมั่นสัญญา รายงานดังกล่าวซึ่งมีหัวเรื่องว่า “ประมาณการผลผลิตพันธุ์พืชและสถานการณ์ด้านอาหาร” แบ่งหัวข้อการรีวิวปริมาณผลผลิตการเกษตรเป็นรายภูมิภาคทั่วโลก ขณะที่บางพื้นที่ได้รับการประเมินว่าจะมีผลผลิตดีกว่าเกณฑ์เฉลี่ย แต่พื้นที่ส่วนใหญ่ถูกประเมินในทางตรงข้าม ข้อสรุปหลักของรายงานคือ “ตัวชี้วัดต่างๆ ที่ได้มาในช่วงต้นปี ชี้ถึงการลดต่ำในผลผลิตด้านธัญญาหารของโลกในปี 2009 ซึ่งเปรียบเทียบกับปี 2008 พื้นที่เพาะปลูกที่ลดน้อยลง และภูมิอากาศที่ย่ำแย่น่าจะทำให้ผลผลิตลดลงในพื้นที่ส่วนใหญ่ของโลก”
ผลการศึกษาที่สำคัญที่สุดคือการประเมินภาพรวมการเพาะปลูกในระดับทวีป ซึ่งสองเขตใหญ่คือเอเชียและอเมริกาใต้ มีความเสี่ยงสูงเป็นพิเศษ เพราะจะเผชิญปัญหาฝนแล้งทวีความรุนแรง
ในกรณีของเอเชีย รายงานระบุว่า “ภาวะความแห้งแล้งรุนแรงมีแววให้เห็นในทางตอนเหนือและตะวันตกของจีน โดยจะมีระดับปริมาณฝนต่ำกว่าปกติในช่วง 70-90%” ทั้งนี้ รายงานระบุว่าพื้นที่ประมาณ 10 ล้านไร่ที่จีนเพาะปลูกข้าวสาลีวินเทอร์วีท(ชนิดปลูกข้ามฤดูหนาว) หรือประมาณ 44% ของพื้นที่ที่จีนใช้ผลิตพืชชนิดนี้ ได้รับความเสียหายรุนแรงจากความผันผวนในดินฟ้าอากาศ ซึ่งได้แก่ พื้นที่เพาะปลูกในมลฑล Hebei, Shandong, Henan, Shanxi, Anhai, Shaanxi and Gansu provinces.
ประมาณการผลผลิตของข้าวสาลีวินเทอร์วีทในจีนยังนับว่าแย่น้อยกว่ากรณีของอินเดีย คือเหตุการณ์จะเลวร้ายเพิ่มขึ้นด้วยปัญหาฝนแล้งในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา แนวโน้มที่จะเกิดขึ้นคือผลผลิตธัญญาพืชในสองประเทศซึ่งเป็นถิ่นฐานของพลโลกส่วนใหญ่ จะลดต่ำลงอย่างรุนแรงในปีนี้เมื่อเทียบกับหลายๆ ปีที่ผ่านมา แล้วจะส่งแรงกระทบสู่ระดับราคาสินค้าซึ่งจะแพงพรวดขึ้นตามระดับอุปสงค์อุปทานทั่วโลก
สภาพการณ์จะยิ่งย่ำแย่ในตอนล่างของทวีปอเมริกาใต้ ซึ่งจะมีภาวะอดอยากร้ายแรงในอาร์เจนตินาและบราซิล ผลผลิตข้าวสาลีในอาร์เจนตินาในฤดูเพาะปลูก 2008-2009 ซึ่งเพิ่งเสร็จสิ้นไปนี้ ปรากฏว่าต่ำที่สุดในรอบ 20 ปี คือมีเพียงครึ่งเดียวของสถิติปี 2007 นี้หมายความว่าการส่งออกข้าวสาลีโดยอาร์เจนตินา ที่เป็นหนึ่งในผู้ผลิตรายใหญ่ของโลก น้อยกว่าปกติถึง 60%เมื่อเทียบกับสถิติเฉลี่ยในรอบ 5 ปีที่แล้วมา สถานการ์เช่นนี้เป็นหายนะอย่างแท้จริงต่อระดับราคาในระดับโลกที่จะพุ่งกระฉูดตามอุปทานที่ขาดหายไปมหาศาลเช่นนี้
ด้านการผลิตข้าวโพดก็คาดว่าจะลดต่ำลงทั่วพื้นที่ตอนล่างของอเมริกาใต้ “ปัญหาปริมาณฝนที่ลดต่ำและเอาแน่นอนไม่ได้ ปัญหาอุณหภูมิที่ร้อนจัด และปัญหาระดับราคาปัจจัยการผลิตที่พุ่งสูง (ส่วนใหญ่เป็นผลจากการที่ผลิตภัณฑ์จากปิโตรเคมีมีราคาแพง) ทำให้การลงมือเพาะปลูกต้องเนิ่นช้าออกไป และในบางกรณีทำให้ไม่สามารถทำการเพาะปลูกได้เลย” รายงานของเอฟเอโอระบุอย่างนั้น และชี้ว่าความเสียหายจากฝนแล้งอาจอยู่ในระดับ 40%-60% ของพื้นที่การผลิตต่างๆ ในอาร์เจนตินา และขณะนี้มีการประกาศให้หลายพื้นที่เป็นพื้นที่ฉุกเฉินด้านการเกษตร สถานการณ์ทำนองนี้เกิดขึ้นในบราซิลตอนใต้ด้วย และทำให้มีการทำนายว่าจะมีผลผลิตการเกษตรลดลงเช่นกัน
สำหรับพื้นที่การผลิตสำคัญอื่นๆ ปัจจัยด้านน้ำอาจจะมีเพียงพอ แต่ไม่สามารถทำการเพาะปลูกได้เต็มศักยภาพ เพราะขาดแคลนเมล็ดพันธุ์ ปุ๋ย ตลอดจนปัจจัยการผลิตอื่นๆ เรื่องนี้เป็นจริงอย่างยิ่งในบรรดาประเทศที่เรียกกันว่า “รายได้ต่ำและขาดแคลนอาหาร” หรือกลุ่ม Low-Income, Food-Deficit Countries – LIFDCs อันเป็นชาติที่เผชิญปัญหายากจนและอดอยากมาอย่างต่อเนื่อง ตัวอย่างคือ ซิมบับเว “ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ว่าแม้สภาพดินฟ้าอากาศเอื้อแก่การเกษตร แต่ในแง่ของซัปพลายด้านเมล็ดพันธุ์พืช ปุ๋ย เคมีภัณฑ์ทางการเกษตรคุณภาพดีทั้งหลาย ตลอดจนพลังงานเพื่อใช้ในการตระเตรียมดิน กลับเป็นสิ่งที่ขาดแคลนอย่างยิ่ง หรือไม่เช่นนั้นก็มีราคาแพงเกินกว่าที่จะลงทุนกันไหว ดังนั้นจึงกลายเป็นประเทศที่มีความจำกัดอย่างรุนแรงในอันที่จะผลิตข้าวโพด”
ประเทศอื่นๆ ที่เผชิญกับการขาดความมั่นคงทางด้าน ด้วยสาเหตุจากทั้งเรื่องของความยากจน ความแห้งแล้ง ภัยจากพายุ และปัญหาการสู้รบภายในประเทศ ได้แก่ อัฟกานิสถาน สาธารณรัฐอัฟริกากลาง ชาด เขตดาร์ฟูร์ของซูดาน สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก เอริเทรีย เอธิโอเปีย ฉนวนกาซา ไฮติ อิรัค เมียร์มาร์ เกาหลีเหนือ โซมาเลีย และทาจิกิสถาน
ประเทศเหล่านี้และกลุ่ม LIFDCs อีก 17 ประเทศ มีสัดส่วนของประชากรที่เผชิญกับปัญหาถาวรในด้านความยากจน ขาดสารอาหาร และอดอยาก ยิ่งกว่านั้น จำนวนดังกล่าวมีแต่จะเพิ่มขึ้นอย่างแน่นอน ในยามที่ผลกระทบที่พรรณนาไว้ในรายงานของธนาคารโลกเริ่มขยายความรุนแรงออกมาในหลายๆ เดือนข้างหน้า ขณะที่ผู้คนที่ตกเข้าสู่ภาวะความยากจนมีจำนวนมากขึ้นในที่ต่างๆ ทั่วโลก และขณะที่ราคาอาหารจะพุ่งสูงขึ้นผกผันกับความตกต่ำของจำนวนผลผลิตการเกษตร จำนวนของผู้คนที่ต้องเผชิญกับภาวะขาดไร้เสถียรภาพทางด้านอาหารก็มีแต่จะเพิ่มทวีมากขึ้นเรื่อยๆ
ไมเคิล แคลร์ เป็นศาสตราจารย์ด้านการศึกษาถึงสันติภาพและความมั่นคงของโลกที่แฮมเชียร์ คอลเลจ ท่านเป็นผู้เขียนหนังสือเรื่อง Rising Powers, Shrinking Planet: The New Geopolitics of Energy (สำนักพิมพ์เมโทรโพลิตัน บุ๊คส์, ปี 2008) และเป็นคอลัมนิสต์ของ Foreign Policy In Focus”
(อ่านต่อตอน2 ซึ่งเป็นตอนจบ)
คลื่นถล่มเศรษฐกิจโลกระลอกสอง(ตอนจบ)
The second shockwave
By Michael Klare
19/03/2009
โลกกำลังพัฒนายังจะต้องเจอผลกระทบแบบเต็มๆ จากวิกฤตการเงินโลกอีกมากมายนัก กล่าวคือ ขณะที่ต้องเผชิญกับเรื่องร้ายๆ จำพวกว่า รายได้จากการขายของให้ประเทศมหาเศรษฐี พอแปลงเป็นเงินท้องถิ่นจะเหลือมูลค่าน้อยวูบลงอย่างฉกรรจ์แล้ว ยังจะต้องเจอปัญหาการหดตัวในภาคส่งออก ตลอดจนปัญหาที่ว่าการเอาชีวิตให้อยู่รอดได้โดยไม่มีระบบประกันสังคมที่เพียงพอนั้น จะยากเข็ญมากขึ้นเรื่อยๆ ยิ่งกว่านั้น ปัญหาว่าด้วย “การขาดไร้เสถียรภาพซึ่งเป็นภัยคุกคามต่อระบอบการปกครอง” จะเป็นปัญหาหนักรายการต่อไปในหนทางแห่งความอับจนข้างหน้า
*รายงานชิ้นนี้แบ่งเป็น 2 ตอน นี่คือตอนแรก *
ขณะที่การหดตัวทางเศรษฐกิจเริ่มชะลอความรุนแรงลงให้เห็นภายในประเทศอุตสาหกรรมก้าวหน้าทั้งหลาย และอาจแตะจุดต่ำสุดในอนาคตอันไม่ไกลนักนั้น การหดตัวทางเศรษฐกิจเพิ่งเริ่มสะสมโมเมนตั้มอยู่ในโลกกำลังพัฒนา ซึ่งที่ผ่านมา ยังนับว่าปลอดจากแรงกระหน่ำจากภาวะเศรษฐกิจอ่อนตัวช่วงต้น
เนื่องจากวิกฤตเกิดขึ้นด้วยสาเหตุใหญ่คือปัญหาการล่มจมของตลาดที่อยู่อาศัยในสหรัฐอเมริกา แล้วส่งผลต่อเนื่องเป็นปัญหาการแตกสลายของผลิตภัณฑ์การเงินที่เกิดจากการนำหนี้จดจำนองเจ้าปัญหาทั้งหลายมาทำซีเคียวริไทเซชั่น เท่าที่ผ่านมา ชาติกำลังพัฒนาส่วนใหญ่ยังไม่ถูกกระทบจริงจังจากช่วงต้นๆ ที่เศรษฐกิจอ่อนตัวลงมา ซึ่งเหตุผลก็ง่ายๆ แค่ว่าชาติเหล่านี้แทบจะไม่ได้เข้าไปลงทุนในสินทรัพย์เจ้าปัญหาดังกล่าว
มาในบัดนี้ ในเมื่อชาติร่ำรวยมากกว่าพากันร้างราจากการลงทุนในโลกกำลังพัฒนา อีกทั้งร้างราจากการซื้อหาสินค้าจากโลกกำลังพัฒนา วิกฤตจึงเริ่มจะเล่นงานพวกชาติซึ่งรวยน้อยกว่า หนำซ้ำไปกว่านั้น สภาพการณ์มาย่ำแย่เอาในช่วงที่ภัยแล้งกำลังเล่นงานหลายๆ พื้นที่ที่เป็นแหล่งผลิตอาหารของโลก โดยที่พวกเกษตรยากจนอยู่ในภาวะขาดแคลนทุนรอนไว้ซื้อหาเมล็ดพันธุ์ ปุ๋ย และน้ำมันเชื้อเพลิง
ผลพวงที่น่าจะเกิดขึ้นคือ การเกิดวิกฤตอาหารรุนแรงในหลายพื้นที่ที่กำลังเดือดร้อนหนักจากภาวะเศรษฐกิจโลกทรุดฮวบ
ตลอดที่ผ่านมา โลกพุ่งโฟกัสมาจ่ออยู่กับความวิตกถึงผลกระทบจากวิกฤตโลกต่อมนุษยชาติ ไม่ว่าจะในประเด็นปัญหาการว่างงาน และปัญหาความทุกข์ยากทางเศรษฐกิจในสหรัฐฯ ยุโรป และบรรดาประเทศอดีตสหภาพโซเวียต นอกจากนั้น ภายในพื้นที่ล่อแหลมเหล่านี้ เริ่มได้ยินกันหนาหูเกี่ยวกับการเล่าขานเรื่องราวแห่งหายนะที่เกิดจากการปิดโรงงาน การล้มละลาย และการยึดทรัพย์ที่ครัวเรือนใช้เป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันเงินกู้
ในเวลาเดียวกัน บทวิเคราะห์ข่าวในส่วนของผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อผู้คนในโลกกำลังพัฒนากลับไม่ค่อยจะเป็นข่าวหรือถูกเอ่ยถึง อย่างไรก็ตาม ขณะที่วิกฤตได้แผ่ลามเข้าสู่ประเทศร่ำรวยน้อยอยู่นั้น มีความเป็นไปได้ที่ผู้คนเหล่านี้จะต้องประสบกับความทุกข์ยากทุกสิ่งอันอย่างรุนแรงไม่น้อยกว่าผู้คนในประเทศร่ำรวยกว่า และอันที่จริงแล้ว คงจะทุกข์ตรมสาหัสกว่ากันนักหนาในหลายๆ กรณี
ข้อน่ากังวลอย่างที่สุดอยู่ในประเด็นที่ว่า ส่วนใหญ่ของกำไรที่เคยได้รับและสะสมไว้ในช่วงห่างไกลความยากจนตอนทศวรรษที่แล้ว จะระเหยหายไปหมดสิ้น พร้อมกับบีบมนุษย์นับพันล้านคนจากชนชั้นแรงงาน และกลุ่มล่างๆ ของชนชั้นกลาง ให้หวนกลับสู่ความอดอยากยากไร้ที่คนเหล่านี้หนีจากมานาน นอกจากนั้น เรื่องที่น่ากังวลมากพอๆ กันคือความเสี่ยงที่จะเกิดปัญหาอาหารขาดแคลน ซึ่งจะส่งผลต่อเนื่องในเรื่องภาวะขาดแคลนโภชนาการ อดอยาก และอดตาย เหล่านี้ย่อมจะสร้างความทุกข์ทรมานแสนสาหัส ความป่วยไข้ และการตายก่อนวัยอันควร อีกทั้งอาจส่งผลเป็นความวุ่นวายทางสังคมและทางการเมืองในหลายหลากรูปแบบ ไม่ว่าจะการจลาจล การก่อกบฏ และความขัดแย้งทางเชื้อชาติ
ประธานาธิบดีบารัค โอบามา แห่งสหรัฐฯ สภาคองเกรส อีกทั้งสื่อมวลชนอเมริกันรายใหญ่ ส่วนมากแล้วไม่ได้หยิบภัยพิบัติเหล่านี้ขึ้นมาหารือ เหมือนเช่นที่เคยเป็นมาคือความสนใจของสาธารณชนเอาแต่จะมุ่งไปในเรื่องว่าวิกฤตทั้งหลายจะกระทบต่อสหรัฐฯ และประเทศมหาอำนาจทั้งหลายในลักษณะอันใดบ้าง อย่างไรก็ตาม ยังพอจะมีหน่วยงานระหว่างประเทศที่พอจะให้ความใส่ใจบ้าง อาทิ ธนาคารโลก องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ กับหน่วยงานด้านข่าวกรองของสหรัฐฯ โดยเมื่อไม่นานนี้มีการออกรายงานมาทั้งสิ้น 3 ฉบับ รายงานแต่ละฉบับให้ความใส่ใจอย่างมากกับแนวโน้มที่จะเกิดคลื่นถล่มเศรษฐกิจโลกระลอกสอง และจะเป็นวิบัติที่กระทบต่อโลกกำลังพัฒนา
**จมดิ่งกลับสู่ความอดอยากยากจน**
ปลายเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่ธนาคารโลกผลิตเอกสารสนับสนุนการประชุมระดับรัฐมนตรีคลัง กลุ่มจี-20 ซึ่งจัดกันในประเทศอังกฤษเมื่อวันที่ 13-14 มีนาคม เอกสารดังกล่าวซึ่งตั้งชื่อเรื่องว่า “ว่ายทวนน้ำ : ประเทศกำลังพัฒนาจะรับมือกับวิกฤตโลกอย่างไร” ได้ให้การประเมินเบื้องต้นเกี่ยวกับผลกระทบของเศรษฐกิจทรุดตัวต่อประเทศที่มีรายได้ต่ำ (Low-Income Countries - LICs) แม้ภาพที่นำเสนอยังออกจะเคลือบคลุมไม่แจ่มชัด แต่ก็เป็นภาพที่แสดงถึงภัยที่หยั่งรากลึกขึ้นเรื่อยๆ
ประเทศกลุ่ม LICs ส่วนใหญ่ถูกกั้นห่างจากผลกระทบช่วงแรกของวิกฤตชะงักงันในกระแสไหลเวียนของทุนเอกชน เพราะชาติเหล่านี้ไม่สู้จะสามารถเข้าถึงตลาดการเงินหมวดที่ปะทุเป็นปัญหาขึ้นมา “แต่แม้ปัญหาจะปรากฏตัวช้า” รายงานเขียนไว้อย่างนั้นว่า “ผลกระทบจากวิกฤตต่อ LICs ก็รุนแรงไม่น้อยกว่าที่กลุ่มประเทศอื่นๆ ต้องเผชิญกันทั่วหน้า” มีการยกตัวอย่างว่า “รัฐบาลของชาติ LICs มากมากแห่ไปพึ่งพิงรายได้จากการส่งออกสินค้าโภคภัณฑ์มากเกินไป แล้วปรากฏว่าราคาสินค้าโภคภัณฑ์ก็กลับดิ่งฮวบลงมาตามอุปสงค์โลก” ทำนองเดียวกัน การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศก็ลดต่ำลง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การลงทุนโดยตรงในภาคที่เป็นทรัพยากรธรรมชาติ หนำซ้ำกว่านั้น มูลค่าเงินตราที่ประเทศเหล่านี้เคยได้รับจากญาติพี่น้องที่อพยพไปทำมาหากินในประเทศร่ำรวยแล้วส่งเงินกลับไปจุนเจือคนทางบ้านนั้น ก็มีมูลค่าน้อยลงมากเมื่อแปลงกลับเป็นเงินตราท้องถิ่น ซึ่งเท่ากับเป็นการหดตัวของแหล่งรายได้ที่ป้อนสู่ชุมชนยากจนทั้งหลายนั่นเอง
เมื่อประมวลเข้าด้วยกัน มันจึงมีแนวโน้มมากว่า “การชะลอตัวในอัตราขยายตัวทางเศรษฐกิจคงจะทำให้คนซึ่งยากไร้อยู่แล้ว ยิ่งถูกทอดทิ้งไว้ข้างหลังสาหัสมากขึ้น” ยิ่งกว่านั้น ในหลายประเทศกลุ่ม LICs “กลุ่มชนจำนวนมหาศาลมีฐานะทางเศรษฐกิจที่พ้นเส้นความยากจนขึ้นมาได้เพียงเล็กน้อย ดังนั้น จึงพวกเขาเป็นคนกลุ่มใหญ่ที่อยู่ในความสุ่มเสี่ยงสูงว่าจะเดือดร้อนเกินใครภายในความผันผวนและการชะลอตัวทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นทั่วโลก” ขณะที่วิกฤตทวีความรุนแรง ผู้คนเหล่านี้ที่จะโดนหางเลขจะมีจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ ไม่ว่าจะเป็นการตกงาน หรือสูญเสียแหล่งรายได้อื่นๆ และดังนั้น ก็จะถูกผลักไสกลับลงไปต่ำภายใต้เส้นความยากจน ผลที่จะเกิดตามมาคือ “วิกฤตเศรษฐกิจคงจะทำให้มีคนยากจนเพิ่มขึ้นราว 46 ล้านคนในปี 2009”
ภาพในรายงานธนาคารโลกดังกล่าวซึ่งให้ไว้แก่ที่ประชุมกลุ่มจี-20 ยิ่งทวีความมืดมนเมื่อเดินประเด็นไปถึงการประเมินศักยภาพของบรรดาประเทศ LICs ในอันที่จะแก้ปัญหาปากท้องของคนยากจนกลุ่มใหม่ในประเทศตน ในเมื่อรายได้ส่วนใหญ่ของประเทศเหล่านี้ที่มาจากการขายสินค้าโภคภัณฑ์แก่ตลาดโลก มีมูลค่าลดน้อยฮวบฮาบทั้งในแง่ของยอดขาย ทั้งในแง่ของการที่อาจต้องลดราคาสินค้าเพื่อดึงดูดแรงซื้อ ตลอดทั้งในแง่ของตัวเงินที่น้อยลงแปลงเป็นเงินสกุลท้องถิ่น ยิ่งกว่านั้น เม็ดเงินจากต่างประเทศในรูปของเงินกู้และเงินลงทุนต่างก็แห้งเหือดกันไปมหาศาล ดังนั้น รัฐบาลของประเทศเหล่านี้จึงแทบจะไม่เหลืองบประมาณแผ่นดินไว้บริหารประเทศมากมายอะไรนัก ด้วยเหตุนี้ นัยแห่งผลกระทบที่ประเทศกลุ่ม LICs จะต้องเผชิญจึงน่าวิตกกังวลอย่างร้ายกาจ
“เมื่อความช่วยเหลือจากภาครัฐขาดหายไป ครัวเรือนอาจถูกบีบให้ต้องเร่งเพิ่มการขายสินทรัพย์ของตนทั้งที่มันเป็นสินทรัพย์ที่ต้องใช้ยังชีพ เช่น เรือกสวนที่นา และปศุสัตว์ อีกทั้งอาจต้องงดส่งบุตรหลานไปโรงเรียนเพื่อลดค่าใช้จ่าย ต้องตัดงบด้านการรักษาพยาบาล ต้องตัดลดปริมาณและคุณค่าของอาหารในครัวเรือนแม้จะนำไปสู่การขาดแคลนสารอาหาร” ผลสืบเนื่องในระยะยาวจากการปรับตัวชนิดจนตรอกทั้งหลายนี้นับว่ารุนแรง “ความตกต่ำในด้านสุขภาพและโภชนาการที่เด็กๆ ต้องเผชิญเนื่องจากการถูกลดอาหารเพื่อตัดค่าใช้จ่ายนั้น เป็นความเสียหายที่ไม่สามารถจะแก้ไขให้กลับเป็นปกติได้ จากการประเมินหลายครั้งที่ผ่านมา พบว่าวิกฤตอาหารได้...ก่อให้เกิดปัญหาการขาดแคลนโภชนาการบ้างแล้ว ซึ่งในกาลข้างหน้าจะมีจำนวนคนที่เป็นโรคนี้เพิ่มขึ้นราว 44 ล้านคน”
การประเมินทั้งสองเรื่องดังกล่าวข้างต้นนับว่าเกินกว่าที่เคยมีการประมาณการไว้ในรายงานอื่นๆ ก่อนหน้านี้ กระนั้นก็ตาม เราต้องมองว่าเป็นแค่ตัวเลขเบื้องต้น โดยที่ตัวเลขจริงนั้นต้องขึ้นอยู่กับช่วงเวลาและความรุนแรงของปัญหาเศรษฐกิจโลกอ่อนตัว หากการทำนายของธนาคารโลกปรากฏเป็นจริงขึ้นมา ตัวเลขพวกนี้จะพุ่งสูงกว่านี้มาก
**ความไร้เสถียรภาพด้านอาหารจะร้ายกาจยิ่ง**
ฤดูกาลเพาะปลูกได้เริ่มต้นแล้วในหลายพื้นที่ของโลก ขณะที่ผู้เชี่ยวชาญด้านเกษตรที่ตระหนักถึงวี่แววปัญหาก็ได้คำนวณแล้วถึงความเป็นไปได้ถึงปริมาณผลผลิตที่จะออกสู่ตลาดในหลายเดือนข้างหน้า ความวิตกของผู้เชี่ยวชาญนับว่ามีมูลฐานทีเดียว ในฤดูใบไม้ผลิและฤดูร้อนของปีที่แล้วนั้น ปัญหาน้ำมันราคาพุ่งแพงและปัญหาขาดแคลนอาหารในระดับท้องถิ่นได้นำไปสู่การจลาจลในหลายประเทศ อาทิ คาเมรูน อียิปต์ เอธิโอเปีย ไฮติ อินโดนีเซีย ไอโวรี โคสต์ และเซเนกัล (ราคาอาหารมีความผูกพันอยู่กับราคาน้ำมัน เพราะเกษตรกรรมยุคใหม่ต้องพึ่งพิงอย่างมากกับน้ำมันและผลิตภัณฑ์จากน้ำมันที่ต้องใช้ในการเพาะปลูก เก็บเกี่ยว ขนส่งสู่ตลาด การฆ่าแมลง และการผลิตปุ๋ยเคมี)
ราคาอาหารตกต่ำมาโดยตลอดโดยควบคู่กับการตกต่ำของราคาน้ำมันไม่มากก็น้อย ขณะที่อุปทานด้านอาหารก็มีความเสี่ยงที่จะลดน้อยฮวบฮาบเพราะภาวะฝนแล้งในหลายส่วนของโลก เหล่านี้นำไปสู่ความวิกตกถึงปริมาณอาหารที่โลกจะมีไว้บริโภคในปีนี้
การประเมินปริมาณการผลิตอาหารของโลกในปี 2009 มีการตีพิมพ์ออกมาแล้วโดยองค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ(เอฟเอโอ) โดยเป็นการประมาณการไม่ใช่การให้คำมั่นสัญญา รายงานดังกล่าวซึ่งมีหัวเรื่องว่า “ประมาณการผลผลิตพันธุ์พืชและสถานการณ์ด้านอาหาร” แบ่งหัวข้อการรีวิวปริมาณผลผลิตการเกษตรเป็นรายภูมิภาคทั่วโลก ขณะที่บางพื้นที่ได้รับการประเมินว่าจะมีผลผลิตดีกว่าเกณฑ์เฉลี่ย แต่พื้นที่ส่วนใหญ่ถูกประเมินในทางตรงข้าม ข้อสรุปหลักของรายงานคือ “ตัวชี้วัดต่างๆ ที่ได้มาในช่วงต้นปี ชี้ถึงการลดต่ำในผลผลิตด้านธัญญาหารของโลกในปี 2009 ซึ่งเปรียบเทียบกับปี 2008 พื้นที่เพาะปลูกที่ลดน้อยลง และภูมิอากาศที่ย่ำแย่น่าจะทำให้ผลผลิตลดลงในพื้นที่ส่วนใหญ่ของโลก”
ผลการศึกษาที่สำคัญที่สุดคือการประเมินภาพรวมการเพาะปลูกในระดับทวีป ซึ่งสองเขตใหญ่คือเอเชียและอเมริกาใต้ มีความเสี่ยงสูงเป็นพิเศษ เพราะจะเผชิญปัญหาฝนแล้งทวีความรุนแรง
ในกรณีของเอเชีย รายงานระบุว่า “ภาวะความแห้งแล้งรุนแรงมีแววให้เห็นในทางตอนเหนือและตะวันตกของจีน โดยจะมีระดับปริมาณฝนต่ำกว่าปกติในช่วง 70-90%” ทั้งนี้ รายงานระบุว่าพื้นที่ประมาณ 10 ล้านไร่ที่จีนเพาะปลูกข้าวสาลีวินเทอร์วีท(ชนิดปลูกข้ามฤดูหนาว) หรือประมาณ 44% ของพื้นที่ที่จีนใช้ผลิตพืชชนิดนี้ ได้รับความเสียหายรุนแรงจากความผันผวนในดินฟ้าอากาศ ซึ่งได้แก่ พื้นที่เพาะปลูกในมลฑล Hebei, Shandong, Henan, Shanxi, Anhai, Shaanxi and Gansu provinces.
ประมาณการผลผลิตของข้าวสาลีวินเทอร์วีทในจีนยังนับว่าแย่น้อยกว่ากรณีของอินเดีย คือเหตุการณ์จะเลวร้ายเพิ่มขึ้นด้วยปัญหาฝนแล้งในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา แนวโน้มที่จะเกิดขึ้นคือผลผลิตธัญญาพืชในสองประเทศซึ่งเป็นถิ่นฐานของพลโลกส่วนใหญ่ จะลดต่ำลงอย่างรุนแรงในปีนี้เมื่อเทียบกับหลายๆ ปีที่ผ่านมา แล้วจะส่งแรงกระทบสู่ระดับราคาสินค้าซึ่งจะแพงพรวดขึ้นตามระดับอุปสงค์อุปทานทั่วโลก
สภาพการณ์จะยิ่งย่ำแย่ในตอนล่างของทวีปอเมริกาใต้ ซึ่งจะมีภาวะอดอยากร้ายแรงในอาร์เจนตินาและบราซิล ผลผลิตข้าวสาลีในอาร์เจนตินาในฤดูเพาะปลูก 2008-2009 ซึ่งเพิ่งเสร็จสิ้นไปนี้ ปรากฏว่าต่ำที่สุดในรอบ 20 ปี คือมีเพียงครึ่งเดียวของสถิติปี 2007 นี้หมายความว่าการส่งออกข้าวสาลีโดยอาร์เจนตินา ที่เป็นหนึ่งในผู้ผลิตรายใหญ่ของโลก น้อยกว่าปกติถึง 60%เมื่อเทียบกับสถิติเฉลี่ยในรอบ 5 ปีที่แล้วมา สถานการ์เช่นนี้เป็นหายนะอย่างแท้จริงต่อระดับราคาในระดับโลกที่จะพุ่งกระฉูดตามอุปทานที่ขาดหายไปมหาศาลเช่นนี้
ด้านการผลิตข้าวโพดก็คาดว่าจะลดต่ำลงทั่วพื้นที่ตอนล่างของอเมริกาใต้ “ปัญหาปริมาณฝนที่ลดต่ำและเอาแน่นอนไม่ได้ ปัญหาอุณหภูมิที่ร้อนจัด และปัญหาระดับราคาปัจจัยการผลิตที่พุ่งสูง (ส่วนใหญ่เป็นผลจากการที่ผลิตภัณฑ์จากปิโตรเคมีมีราคาแพง) ทำให้การลงมือเพาะปลูกต้องเนิ่นช้าออกไป และในบางกรณีทำให้ไม่สามารถทำการเพาะปลูกได้เลย” รายงานของเอฟเอโอระบุอย่างนั้น และชี้ว่าความเสียหายจากฝนแล้งอาจอยู่ในระดับ 40%-60% ของพื้นที่การผลิตต่างๆ ในอาร์เจนตินา และขณะนี้มีการประกาศให้หลายพื้นที่เป็นพื้นที่ฉุกเฉินด้านการเกษตร สถานการณ์ทำนองนี้เกิดขึ้นในบราซิลตอนใต้ด้วย และทำให้มีการทำนายว่าจะมีผลผลิตการเกษตรลดลงเช่นกัน
สำหรับพื้นที่การผลิตสำคัญอื่นๆ ปัจจัยด้านน้ำอาจจะมีเพียงพอ แต่ไม่สามารถทำการเพาะปลูกได้เต็มศักยภาพ เพราะขาดแคลนเมล็ดพันธุ์ ปุ๋ย ตลอดจนปัจจัยการผลิตอื่นๆ เรื่องนี้เป็นจริงอย่างยิ่งในบรรดาประเทศที่เรียกกันว่า “รายได้ต่ำและขาดแคลนอาหาร” หรือกลุ่ม Low-Income, Food-Deficit Countries – LIFDCs อันเป็นชาติที่เผชิญปัญหายากจนและอดอยากมาอย่างต่อเนื่อง ตัวอย่างคือ ซิมบับเว “ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ว่าแม้สภาพดินฟ้าอากาศเอื้อแก่การเกษตร แต่ในแง่ของซัปพลายด้านเมล็ดพันธุ์พืช ปุ๋ย เคมีภัณฑ์ทางการเกษตรคุณภาพดีทั้งหลาย ตลอดจนพลังงานเพื่อใช้ในการตระเตรียมดิน กลับเป็นสิ่งที่ขาดแคลนอย่างยิ่ง หรือไม่เช่นนั้นก็มีราคาแพงเกินกว่าที่จะลงทุนกันไหว ดังนั้นจึงกลายเป็นประเทศที่มีความจำกัดอย่างรุนแรงในอันที่จะผลิตข้าวโพด”
ประเทศอื่นๆ ที่เผชิญกับการขาดความมั่นคงทางด้าน ด้วยสาเหตุจากทั้งเรื่องของความยากจน ความแห้งแล้ง ภัยจากพายุ และปัญหาการสู้รบภายในประเทศ ได้แก่ อัฟกานิสถาน สาธารณรัฐอัฟริกากลาง ชาด เขตดาร์ฟูร์ของซูดาน สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก เอริเทรีย เอธิโอเปีย ฉนวนกาซา ไฮติ อิรัค เมียร์มาร์ เกาหลีเหนือ โซมาเลีย และทาจิกิสถาน
ประเทศเหล่านี้และกลุ่ม LIFDCs อีก 17 ประเทศ มีสัดส่วนของประชากรที่เผชิญกับปัญหาถาวรในด้านความยากจน ขาดสารอาหาร และอดอยาก ยิ่งกว่านั้น จำนวนดังกล่าวมีแต่จะเพิ่มขึ้นอย่างแน่นอน ในยามที่ผลกระทบที่พรรณนาไว้ในรายงานของธนาคารโลกเริ่มขยายความรุนแรงออกมาในหลายๆ เดือนข้างหน้า ขณะที่ผู้คนที่ตกเข้าสู่ภาวะความยากจนมีจำนวนมากขึ้นในที่ต่างๆ ทั่วโลก และขณะที่ราคาอาหารจะพุ่งสูงขึ้นผกผันกับความตกต่ำของจำนวนผลผลิตการเกษตร จำนวนของผู้คนที่ต้องเผชิญกับภาวะขาดไร้เสถียรภาพทางด้านอาหารก็มีแต่จะเพิ่มทวีมากขึ้นเรื่อยๆ
ไมเคิล แคลร์ เป็นศาสตราจารย์ด้านการศึกษาถึงสันติภาพและความมั่นคงของโลกที่แฮมเชียร์ คอลเลจ ท่านเป็นผู้เขียนหนังสือเรื่อง Rising Powers, Shrinking Planet: The New Geopolitics of Energy (สำนักพิมพ์เมโทรโพลิตัน บุ๊คส์, ปี 2008) และเป็นคอลัมนิสต์ของ Foreign Policy In Focus”
(อ่านต่อตอน2 ซึ่งเป็นตอนจบ)