เอเจนซี - คาดอีก 5-10 ปีข้างหน้าโลกธุรกิจมีเรื่องต้องกังวลเพิ่มขึ้นอีกจากการที่ต้นทุนการทำธุรกิจจะสูงขึ้นเพราะการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือที่เรียกว่า "ecoflation" โดยจะมาซ้ำเติมระบบเศรษฐกิจที่ได้ผลกระทบจากทั้งภาวะเงินเฟ้อและเงินฝืดอยู่แล้ว
ทั้งนี้ เป็นการคาดการณ์ในรายงานของสถาบันทรัพยากรโลก และบริษัทที่ปรึกษาด้านการบริหารระดับโลก เอ.ที.เคียร์นีย์ ซึ่งเผยแพร่เมื่อวันที่ 2 ธ.ค. โดยรายงานระบุว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลกจะทำให้ราคาสินค้าสูงขึ้นในอนาคต บริษัทผลิตสินค้าอุปโภคบริโภคตั้งแต่ประเภทอาหารซีเรียลไปจนถึงยาสระผม จะมีรายได้ลดลงราว 13-31 เปอร์เซ็นต์ภายในปี 2013 และลดลง 19-47 เปอร์เซ็นต์ภายในปี 2018 หากไม่มีการปรับแนวทางการทำธุรกิจให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
แอนดรูว์ ออลิซี แห่งสถาบันทรัพยากรโลกบอกว่า ต้นทุนที่เกิดจากสภาวะโลกร้อนในขณะนี้ก็คือคลื่นความร้อน ภาวะความแห้งแล้ง ไฟป่า และอาจรวมถึงพายุเขตร้อนที่รุนแรงมากขึ้นด้วย แต่เป็นต้นทุนที่ยังไม่ปรากฏอยู่ในราคาสินค้า เพราะผู้แบกรับภาระดังกล่าวคือรัฐบาลและสังคม ดังนั้นหากว่าที่ประธานาธิบดีสหรัฐฯ และสภาคองเกรสร่วมมือกันผลักดันให้มีระบบการคิดราคาการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ซึ่งเป็นสาเหตุของภาวะโลกร้อนได้ สถานการณ์ก็อาจเปลี่ยนแปลงไป
ทว่าระบบดังกล่าวก็คงจะต้องรอไปจนถึงปี 2010 หลังจากครบกำหนดเส้นตายในการจัดทำข้อตกลงระหว่างประเทศเพื่อแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในเดือนธันวาคมปีหน้าไปแล้ว
อย่างไรก็ตาม แดเนียล มาห์เลอร์แห่งเอ.ที.เคียร์นีย์บอกว่า ขณะนี้มีบางบริษัทที่กำลังมองหาวิธีการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ก่อนที่จะมีการบังคับใช้ข้อกำหนดแล้ว อย่างเช่น พร็อคเตอร์แอนด์แกมเบิล (พีแอนด์จี) ได้จัดตั้งทีมงานสำรวจการทำธุรกิจของบริษัท ไม่ว่าจะเป็นผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับการซักเสื้อผ้า ผลิตภัณฑ์ดูแลผม หรือผลิตภัณฑ้ด้านสุขอนามัย เพื่อดูว่าจะสามารถลดการใช้พลาสติกลงได้อย่างไร เนื่องจากพลาสติกเป็นวัตถุดิบอย่างหนึ่งที่ผลิตมาจากเชื้อเพลิงฟอสซิล (พวกน้ำมัน,ก๊าซ,ถ่านหิน) แต่มาห์เลอร์เห็นว่าการเปลี่ยนแปลงจำเป็นต้องทั้งลงลึกและขยายกว้างให้ครอบคลุมถึงการบริหารจัดการสายการป้อนวัตถุดิบในขั้นพื้นฐานทีเดียว
เขายกตัวอย่างเสริมว่า บริษัทที่คิดว่าต้นทุนค่าขนส่งของสหรัฐฯต่ำ ส่วนต้นทุนค่าแรงสูง มักเลือกไปผลิตสินค้าในประเทศอื่นที่มีค่าแรงต่ำกว่า ทว่าเมื่อมีการคิดต้นทุนใหม่จากปริมาณคาร์บอนที่ปล่อยออกไปในระหว่างการขนส่งเป็นระยะทางไกลนั้น ก็จะเปลี่ยนสมการดังกล่าว ทำให้การผลิตในต่างประเทศไม่น่าดึงดูดใจอีกต่อไป
ดังนั้นบริษัทในสหรัฐฯ จึงควรเปลี่ยนรูปแบบการผลิตจากโรงงานแบบรวมศูนย์ขนาดใหญ่ไปเป็นโรงงานขนาดเล็กๆ กระจายกันอยู่ทั่วไป มาห์เลอร์บอกว่า "นี่ไม่ใช่การเปลี่ยนแปลงยุทธวิธีเล็กๆ น้อยๆ แต่เป็นการเปลี่ยนที่โครงสร้างพื้นฐานซึ่งเราจะได้เห็นบริษัททั้งหลาย... เอาจริงเอาจังกับเรื่องนี้มากกว่าที่เคยเป็นมา"
ส่วนออลิซีเสริมว่า จากภาวะ "ecoflation" นี้ ประเทศผู้นำเศรษฐกิจโลกคงจะคิดต้นทุนการปล่อยก๊าซคาร์บอนเพิ่มตันละ 50 ดอลลาร์
ทั้งนี้ เป็นการคาดการณ์ในรายงานของสถาบันทรัพยากรโลก และบริษัทที่ปรึกษาด้านการบริหารระดับโลก เอ.ที.เคียร์นีย์ ซึ่งเผยแพร่เมื่อวันที่ 2 ธ.ค. โดยรายงานระบุว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลกจะทำให้ราคาสินค้าสูงขึ้นในอนาคต บริษัทผลิตสินค้าอุปโภคบริโภคตั้งแต่ประเภทอาหารซีเรียลไปจนถึงยาสระผม จะมีรายได้ลดลงราว 13-31 เปอร์เซ็นต์ภายในปี 2013 และลดลง 19-47 เปอร์เซ็นต์ภายในปี 2018 หากไม่มีการปรับแนวทางการทำธุรกิจให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
แอนดรูว์ ออลิซี แห่งสถาบันทรัพยากรโลกบอกว่า ต้นทุนที่เกิดจากสภาวะโลกร้อนในขณะนี้ก็คือคลื่นความร้อน ภาวะความแห้งแล้ง ไฟป่า และอาจรวมถึงพายุเขตร้อนที่รุนแรงมากขึ้นด้วย แต่เป็นต้นทุนที่ยังไม่ปรากฏอยู่ในราคาสินค้า เพราะผู้แบกรับภาระดังกล่าวคือรัฐบาลและสังคม ดังนั้นหากว่าที่ประธานาธิบดีสหรัฐฯ และสภาคองเกรสร่วมมือกันผลักดันให้มีระบบการคิดราคาการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ซึ่งเป็นสาเหตุของภาวะโลกร้อนได้ สถานการณ์ก็อาจเปลี่ยนแปลงไป
ทว่าระบบดังกล่าวก็คงจะต้องรอไปจนถึงปี 2010 หลังจากครบกำหนดเส้นตายในการจัดทำข้อตกลงระหว่างประเทศเพื่อแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในเดือนธันวาคมปีหน้าไปแล้ว
อย่างไรก็ตาม แดเนียล มาห์เลอร์แห่งเอ.ที.เคียร์นีย์บอกว่า ขณะนี้มีบางบริษัทที่กำลังมองหาวิธีการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ก่อนที่จะมีการบังคับใช้ข้อกำหนดแล้ว อย่างเช่น พร็อคเตอร์แอนด์แกมเบิล (พีแอนด์จี) ได้จัดตั้งทีมงานสำรวจการทำธุรกิจของบริษัท ไม่ว่าจะเป็นผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับการซักเสื้อผ้า ผลิตภัณฑ์ดูแลผม หรือผลิตภัณฑ้ด้านสุขอนามัย เพื่อดูว่าจะสามารถลดการใช้พลาสติกลงได้อย่างไร เนื่องจากพลาสติกเป็นวัตถุดิบอย่างหนึ่งที่ผลิตมาจากเชื้อเพลิงฟอสซิล (พวกน้ำมัน,ก๊าซ,ถ่านหิน) แต่มาห์เลอร์เห็นว่าการเปลี่ยนแปลงจำเป็นต้องทั้งลงลึกและขยายกว้างให้ครอบคลุมถึงการบริหารจัดการสายการป้อนวัตถุดิบในขั้นพื้นฐานทีเดียว
เขายกตัวอย่างเสริมว่า บริษัทที่คิดว่าต้นทุนค่าขนส่งของสหรัฐฯต่ำ ส่วนต้นทุนค่าแรงสูง มักเลือกไปผลิตสินค้าในประเทศอื่นที่มีค่าแรงต่ำกว่า ทว่าเมื่อมีการคิดต้นทุนใหม่จากปริมาณคาร์บอนที่ปล่อยออกไปในระหว่างการขนส่งเป็นระยะทางไกลนั้น ก็จะเปลี่ยนสมการดังกล่าว ทำให้การผลิตในต่างประเทศไม่น่าดึงดูดใจอีกต่อไป
ดังนั้นบริษัทในสหรัฐฯ จึงควรเปลี่ยนรูปแบบการผลิตจากโรงงานแบบรวมศูนย์ขนาดใหญ่ไปเป็นโรงงานขนาดเล็กๆ กระจายกันอยู่ทั่วไป มาห์เลอร์บอกว่า "นี่ไม่ใช่การเปลี่ยนแปลงยุทธวิธีเล็กๆ น้อยๆ แต่เป็นการเปลี่ยนที่โครงสร้างพื้นฐานซึ่งเราจะได้เห็นบริษัททั้งหลาย... เอาจริงเอาจังกับเรื่องนี้มากกว่าที่เคยเป็นมา"
ส่วนออลิซีเสริมว่า จากภาวะ "ecoflation" นี้ ประเทศผู้นำเศรษฐกิจโลกคงจะคิดต้นทุนการปล่อยก๊าซคาร์บอนเพิ่มตันละ 50 ดอลลาร์