(จากเอเชียไทมส์ออนไลน์ www.atimes.com)
NATO reaches into the Indian Ocean
By M K Bhadrakumar
20/10/2008
องค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ (นาโต้) เคลื่อนกำลังทางนาวีเข้าไปในมหาสมุทรอินเดีย โดยอ้างเหตุผลต่อภายนอกว่าเพื่อต่อสู้ปราบปรามโจรสลัด ความเคลื่อนไหวครั้งนี้ถือเป็นหลักหมายสำคัญในการเปลี่ยนโฉมองค์การพันธมิตรทางทหารแห่งนี้ นอกจากนั้น การที่อินเดียได้ตัดสินใจส่งเรือรบลำหนึ่งเข้าไปยังอาณาบริเวณดังกล่าวด้วย ก็ไม่ได้เป็นเหตุพ้องกันโดยบังเอิญเลย หากแต่แดนภารตะกำลังกลายเป็นตัวเชื่อมโยงอันสำคัญยิ่งยวด ในสายโซ่แห่งอิทธิพลที่สหรัฐฯวางแผนสร้างขึ้น ซึ่งจะรวมเอาศรีลังกา และสิงคโปร์เข้ามาด้วย อย่างไรก็ตาม ทางด้านรัสเซียไม่ได้อยู่เฉย หากดำเนินการตอบโต้ในทันที เพื่อแสดงให้เห็นว่า มอสโกก็มีสมรรถนะและมีเจตนารมณ์ที่จะสู้รบใน “สงครามต่อสู้การก่อการร้าย” ในย่านมหาสมุทรอินเดียเช่นกัน
*รายงานชิ้นนี้แบ่งเป็น 2 ตอน นี่คือตอนแรก *
การประชุมอย่างไม่เป็นทางการของบรรดารัฐมนตรีกลาโหมจากชาติสมาชิกองค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ (นาโต้) ในกรุงบูดาเปสต์ ประเทศฮังการี เมื่อวันที่ 9-10 ตุลาคม เป็นเรื่องที่ควรต้องให้ความสนใจด้วยเหตุผล 3 ประการ
ประการแรก มันเป็นการพบปะหารือครั้งสุดท้ายของรัฐมนตรีกลาโหมสหรัฐฯ รอเบิร์ต เกตส์ กับเพื่อนๆ รัฐมนตรีในองค์การนาโต้ด้วยกัน ไม่น่าแปลกใจเลยที่มีความกระหายใคร่รู้กันว่า เกตส์จะนำเอาความคิดใหม่ใดๆ มาเสนอซึ่งจะส่งผลต่อสงครามที่นาโต้กำลังทำอยู่ในอัฟกานิสถานหรือไม่ แต่ปรากฏว่าเขายังไม่ได้พูดอะไรออกมา อาจจะเนื่องจากการศึกษาทบทวนทางยุทธศาสตร์ในกรุงวอชิงตัน ยังไม่ทันที่จะเสร็จสิ้น
ประการที่สอง ปรากฏว่าที่ประชุมคราวนี้เห็นชอบให้เพิ่มอำนาจอย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้นแก่การทำสงครามอัฟกานิสถาน ด้วยการอนุมัตินาโต้ให้สามารถใช้กำลังเข้าปราบปรามชาวอัฟกันที่เป็นพวกปลูกฝิ่นและพวกลักลอบค้ายาเสพติด อันเป็นการตัดสินใจที่ก่อให้เกิดการโต้แย้งอยู่มาก เพราะประเทศสมาชิกจำนวนไม่น้อยเลยยังรู้สึกไม่สบายใจเกี่ยวกับบทบาทอันนี้
ประการที่สาม การหารือบูดาเปสต์มีการพิจารณาประเด็นปัญหาต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนรูปแปลงโฉมองค์การพันธมิตรทางทหารแห่งนี้ ถึงแม้กำลังอยู่ในภาวะที่เกิดวิกฤตทางการเงินแผ่ลามไปทั่วโลก ทว่าสหรัฐฯก็ยังไม่ได้สูญเสียฐานะความเป็นเจ้าเหนือคนอื่นๆ ไปเลย คณะกรรมการนาโต้-จอร์เจีย ซึ่งก่อตั้งขึ้นด้วยการผลักดันเรียกร้องของสหรัฐฯ ได้พบปะหารือกันเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม และพันธมิตรนาโต้ก็แถลงย้ำคำมั่นสัญญาของตนที่จะดำเนินกระบวนการแห่งการตรวจสอบความพรักพร้อมของจอร์เจียนี้ต่อไป หลังจากจุดประกายเริ่มต้นขึ้นในการประชุมระดับผู้นำของนาโต้ ณ กรุงบูคาเรสต์ ประเทศโรมาเนีย ในเดือนเมษายนที่ผ่านมา “ด้วยทัศนะที่เข้าใจถึงความมุ่งมาดปรารถนาแห่งการเป็นส่วนหนึ่งของ แอตแลนติกแห่งยุโรป ของจอร์เจีย” ทั้งนี้แม้การใช้ถ้อยคำที่ยังดูค่อนข้างกำกวมเช่นนี้ อาจจะยังไม่ได้สนองความคาดหวังแห่งการเข้าเป็นสมาชิกนาโต้ของกรุงทบิลิซีอย่างเต็มที่ กระนั้นมันก็เป็นการก้าวคืบหน้าไปอีกก้าวหนึ่งบนเส้นทางแห่งการขยายองค์การพันธมิตรแห่งนี้ ตามที่สหรัฐฯวางแผนวาดผังเตรียมเอาไว้
**ความเคลื่อนไหวที่วางแผนไว้พร้อมพรัก**
แต่การตัดสินใจในที่ประชุมบูดาเปสต์ซึ่งมีผลกว้างไกลที่สุด ก็คือมติของนาโต้ที่ให้ส่งกองกำลังเรือรบเข้าไปในมหาสมุทรอินเดีย โดยอ้างเหตุผลต่อภายนอกว่าเพื่อทำหน้าที่คุ้มครองเรือสินค้าต่างๆ ของโครงการอาหารโลกแห่งสหประชาชาติ ที่กำลังบรรทุกสิ่งของบรรเทาทุกข์ไปให้โซมาเลีย ที่ประสบภาวะอดอยากขาดแคลนอาหาร
ในการประกาศมตินี้เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม โฆษกของนาโต้แถลงว่า “สหประชาชาติได้ขอความช่วยเหลือจากนาโต้ในการแก้ไขปัญหานี้ [ภัยโจรสลัดที่ปฏิบัติการในบริเวณนอกชายฝั่งโซมาเลีย] วันนี้ ที่ประชุมรัฐมนตรีเห็นพ้องกันว่านาโต้ควรที่จะรับบทบาทดังกล่าว นาโต้จะจัดส่ง “กองกำลังนาวีข้ามสมุทรประจำการในภาวะเตรียมพร้อม” (Standing Naval Maritime Group) ของตน ซึ่งประกอบด้วยเรือรบ 7 ลำ เข้าไปยังภูมิภาคดังกล่าวภายในเวลา 2 สัปดาห์” โฆษกผู้นี้กล่าวเสริมอีกว่า นาโต้จะปฏิบัติงานร่วมกับ “พันธมิตรทั้งหลายที่มีเรืออยู่ในพื้นที่ดังกล่าวในเวลานี้”
พอถึงวันที่ 15 ตุลาคม เรือรบ 7 ลำจากกองทัพเรือของชาติสมาชิกนาโต้ ก็สามารถเดินทางผ่านคลองสุเอซได้เรียบร้อย ในเส้นทางมุ่งสู่มหาสมุทรอินเดีย ในระหว่างการเดินทางคราวนี้ กองเรือนี้จะแวะจอดเยี่ยมเยียนท่าเรือริมอ่าวเปอร์เซียหลายๆ แห่ง ซึ่งอยู่ในประเทศเพื่อนบ้านทั้งหลายของอิหร่าน ได้แก่ บาห์เรน, คูเวต, กาตาร์, และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ โดยที่ชาติเหล่านี้ต่างมีฐานะเป็น “หุ้นส่วน” ของนาโต้ ภายใต้กรอบโครงของแผนการที่ใช้ชื่อว่า “ความริเริ่มเพื่อการร่วมมือกันแห่งอิสตันบูล” ทั้งนี้ กองกำลังนาวีนาโต้กองนี้ ประกอบด้วยเรือรบจากสหรัฐฯ, อังกฤษ, เยอรมนี, อิตาลี, กรีซ, และตุรกี
ผู้บัญชาการทหารสูงสุดกองกำลังพันธมิตรยุโรปของนาโต้ พล.อ.จอห์น แครดด็อก ยอมรับว่าภารกิจคราวนี้เป็นความคืบหน้าในการบรรลุความมุ่งมาดปรารถนาของพันธมิตรทางทหารแห่งนี้ ที่จะกลายเป็นองค์การทางการเมืองระดับโลก เขากล่าวว่า “ภัยคุกคามของโจรสลัดเป็นสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นจริงๆ และกำลังขยายตัวมากขึ้นๆ ในหลายๆ ส่วนของโลกในทุกวันนี้ และการตอบโต้คราวนี้ก็แสดงให้เห็นเป็นอย่างดี ถึงความสามารถของนาโต้ในการปรับตัวได้อย่างรวดเร็วเพื่อรับมือกับการท้าทายใหม่ๆ ทางด้านความมั่นคงปลอดภัย”
มีหลักฐานปรากฏชัดเจนว่า นาโต้มีการเตรียมตัววางแผนการกันอย่างรอบคอบมาก่อนแล้วเพื่อการเคลื่อนกำลังเข้าสู่มหาสมุทรอินเดียคราวนี้ จากความรวดเร็วของการส่งกองเรือรบออกเดินทาง ทำให้เห็นได้ว่ามิใช่การปฏิบัติการอย่างรีบร้อนเลย เหมือนกับคาดการณ์ล่วงหน้าแล้วว่า อาจจะมีรัฐติดมหาสมุทรอินเดียบางรายออกมาแสดงการคัดค้านการส่งกำลังนาวีเช่นนี้ขององค์การพันธมิตรทางทหารฝ่ายตะวันตก แต่ด้วยการปฏิบัติการอย่างเร็วรี่ดุจสายฟ้าแลบและโดยไม่ได้มีการตีฆ้องร้องป่าวให้เอิกเกริก นาโต้ก็สามารถมั่นใจได้ว่า กว่าที่ใครจะคิดต่อต้านอะไร ตนก็ปฏิบัติสำเร็จกิจดังประสงค์ไปแล้ว
**หลายความเคลื่อนไหวที่คล้องจ้องกันจนไม่ใช่เรื่องบังเอิญ**
ไม่ว่าจะพิจารณาในแง่มุมใด การเคลื่อนกองกำลังเรือรบเข้าไปในมหาสมุทรอินเดียของนาโต้ ก็ต้องถือเป็นความเคลื่อนไหวครั้งประวัติศาสตร์ อีกทั้งเป็นหลักหมายสำคัญในการแปรรูปเปลี่ยนโฉมของพันธมิตรทางทหารแห่งนี้ ในอดีตที่ผ่านมาแม้กระทั่งในช่วงความขัดแย้งขึ้นถึงสูงสุดในยุคสงครามเย็น องค์การพันธมิตรนี้ก็ยังไม่ได้ไปปรากฏตัวในมหาสมุทรอินเดีย ทั้งนี้การเคลื่อนกำลังทหารในลักษณะเช่นนี้ มีความโน้มเอียงที่มักจะกลายเป็นการประจำการต่อไปเรื่อยๆ อยู่แล้ว
เมื่อมองย้อนหลังกลับไป การที่นาโต้ส่งกองกำลังนาวีออกไปเยือนมหาสมุทรอินเดียเป็นครั้งแรกตอนกลางเดือนกันยายนปีที่แล้ว ต้องถือว่าเป็นการซ้อมใหญ่เพื่อที่จะบรรลุจุดหมายในคราวนี้นั่นเอง กองบัญชาการใหญ่ของนาโต้ที่กรุงบรัสเซลส์แถลงในตอนนั้นว่า “จุดมุ่งหมายของภารกิจคราวนี้ก็เพื่อสาธิตให้เห็นถึงสมรรถนะของนาโต้ในการค้ำจุนสนับสนุนความมั่นคงและกฎหมายระหว่างประเทศในเขตทะเลหลวง และเพื่อสร้างความสัมพันธ์เชื่อมโยงกับกองทัพเรือต่างๆ ในภูมิภาคแถบนี้” ในปี 2007 นั้น กองกำลังนาวีของนาโต้ได้ไปเยือน เซเชลส์ ประเทศหมู่เกาะในมหาสมุทรอินเดีย และโซมาเลีย รวมทั้งำเนินการซ้อมรบในมหาสมุทรอินเดีย จากนั้นจึงเดินทางกลับเข้าสู่ทะเลเมดิเตอร์เรเนียม โดยผ่านทางทะเลแดง เมื่อตอนสิ้นเดือนกันยายน
การเคลื่อนกองเรือรบเข้าสู่มหาสมุทรอินเดียของนาโต้ในคราวล่าสุดนี้ ได้ก่อให้เกิดผลกระทบติดตามมาที่น่าสนใจบางประการขึ้นแล้ว เหมือนๆ กับเป็นการบังเอิญที่ออกจะน่าประหลาดทีเดียว ในวันที่ 16 ตุลาคม ขณะที่กองกำลังนาวีของนาโต้เพิ่งเคลื่อนไปถึงอ่าวเปอร์เซียนั้นเอง โฆษกกระทรวงกลาโหมอินเดียก็แถลงข่าวในกรุงนิวเดลีว่า “รัฐบาล [อินเดีย] อนุมัติในวันนี้ ให้ส่งเรือรบของกองทัพเรืออินเดีย 1 ลำไปยังอ่าวเอเดน เพื่อทำการลาดตระเวนตามเส้นทางปกติที่บรรดาเรือชักธงอินเดียทั้งหลายจะต้องแล่นไป ระหว่างการเดินทางจากเมืองท่า ซาลาลาห์ ในโอมาน ไปยังกรุงเอเดน ในเยเมน การลาดตระเวนดังกล่าวนี้ให้เริ่มดำเนินการในทันที”
จังหวะเวลาของความเคลื่อนไหวคราวนี้ดูจะเป็นการเตรียมการกันไว้ก่อนแล้ว รายงานของสื่อหลายกระแสบ่งชี้ว่า รัฐบาลอินเดียได้พิจารณาเรื่องนี้มาหลายเดือน เหมือนๆ กับฝ่ายนาโต้ ทางการนิวเดลีก็ปฏิบัติการอย่างเร่งด่วนเมื่อถึงเวลาลงมือจริง และเรือรบอินเดียลำหนึ่งก็ออกเดินทางไปแล้ว ในตอนแรกกรุงนิวเดลีบรรยายสรุปต่อสื่อมวลชนว่า การเคลื่อนเรือรบคราวนี้สืบเนื่องจากเหตุการณ์ที่พวกโจรสลัดโซมาเลียจี้จับเรือสินค้าที่เป็นของญี่ปุ่นลำหนึ่งเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม โดยที่มีชาวอินเดียอยู่ในเรือดังกล่าวจำนวน 18 คน ทว่าต่อมา ทางการอินเดียกลับเปลี่ยนคำพูด และพยายามแถลงด้วยน้ำเสียงที่มองภาพกว้างมากขึ้น โดยกล่าวว่า “อย่างไรก็ตาม การตัดสินใจในขณะนี้ที่จะทำการลาดตระเวนน่านน้ำแอฟริกานั้น ไม่ได้มีความเกี่ยวข้องโดยตรง [กับเหตุการณ์ในเดือนสิงหาคม]”
คำแถลงของอินเดียบอกว่า “การส่งเรือรบของกองทัพเรืออินเดีย 1 ลำเข้าไปในพื้นที่แถบนี้ มีความสำคัญมาก เนื่องจากอ่าวเอเดนเป็นจุดสำคัญยิ่งทางยุทธศาสตร์ในเขตมหาสมุทรอินเดีย อีกทั้งยังเป็นช่องทางเข้าสู่คลองสุเอซ อันเป็นเส้นทางการเดินเรือที่การค้าจำนวนมากของอินเดียต้องผ่านเข้าออก”
เจ้าหน้าที่อินเดียหลายคนกล่าวว่า เรือรบลำนี้จะปฏิบัติงานโดยประสานร่วมมือกับกองทัพเรือต่างๆ ของชาติตะวันตกที่ส่งกำลังเข้าไปในภูมิภาคดังกล่าว และจะเข้าร่วมเสริมเติมเป็นกองกำลังขนาดใหญ่ถ้าหากมีความจำเป็น โดยที่เรือรบลำนี้จะติดอาวุธอย่างพร้อมพรัก ทว่านิวเดลีกลับกำลังกลบเกลื่อนความเป็นจริงที่ว่า กองกำลังนาวีของฝ่ายตะวันตกนั้น ปฏิบัติการภายใต้รมธงขององค์การนาโต้ และการที่อินเดียจะร่วมมือประสานงานใดๆ กับกองทัพเรือชาติตะวันตกดังที่กล่าวไว้ ก็ย่อมจะต้องเกี่ยวข้องกับองค์การพันธมิตรตะวันตกแห่งนี้ เมื่อพิจารณาจากการดำเนินนโยบายแต่ไหนแต่ไรมาของอินเดีย ซึ่งจะต้องพยายามหลีกเลี่ยงไม่ยุ่งเกี่ยวกับกลุ่มการทหารใดๆ จึงย่อมเป็นสิ่งที่เข้าใจได้ว่าทำไมนิวเดลีจึงแสดงท่าทีอ่อนไหวกับความเคลื่อนไหวคราวนี้นัก
เป็นที่ชัดแจ้งว่า ในที่สุดแล้วเรือรบอินเดียลำนี้จะต้องปฏิบัติงานเคียงคู่ไปกับกองกำลังนาวีของนาโต้ นี่จะเป็นครั้งแรกที่กองทัพอินเดียมีการทำงานเคียงบ่าเคียงไหล่กับกองกำลังนาโต้ในปฏิบัติการทางทหารจริงๆ ไม่ว่าจะในน่านน้ำของดินแดนประเทศหนึ่งประเทศใด หรือในน่านน้ำสากล
การปฏิบัติการดังกล่าวเหล่านี้มีความเป็นไปได้ว่าจะปรับเปลี่ยนสายสัมพันธ์ที่อินเดียมีอยู่กับนาโต้ให้ก้าวขึ้นสู่ระดับใหม่ในเชิงคุณภาพ สหรัฐฯนั้นกำลังส่งเสริมสนับสนุนอยู่แล้วให้อินเดียกระชับความสัมพันธ์กับนาโต้ รวมทั้งแสดงบทบาทมากขึ้นในกิจการความมั่นคงทางทะเล ประเทศทั้งสองได้ทำพิธีสารทวิภาคีฉบับหนึ่งในเรื่องเกี่ยวกับความร่วมมือกันด้านความปลอดภัยทางทะเลนี้ โดยได้ลงนามกันไปในปี 2006 ทั้งนี้ พิธีสารฉบับนี้กล่าวในตอนเกริ่นนำว่า “เพื่อให้สอดคล้องกับความเป็นหุ้นส่วนกันทางยุทธศาสตร์ทั่วโลกของทั้งสองประเทศ ตลอดจนกรอบโครงใหม่เพื่อความสัมพันธ์ด้านการป้องกันประเทศของทั้งสองฝ่าย อินดียกับสหรัฐฯจึงให้คำมั่นที่จะผูกพันดำเนินความร่วมมือกันอย่างทั่วด้าน เพื่อรับประกันให้เกิดอาณาบริเวณการเดินเรือทะเลที่มีความมั่นคงปลอดภัย ทั้งนี้เพื่อให้บรรลุผลดังกล่าวข้างต้น ทั้งสองประเทศให้สัญญาที่จะทำงานร่วมกัน และทำงานร่วมกับหุ้นส่วนอื่นๆ ในภูมิภาคเมื่อมีความจำเป็น”
กองบัญชาการทหารเรืออินเดียได้แสดงความกระตือรือร้นมาระยะหนึ่งแล้ว ที่จะก้าวไปในทิศทางแห่งการเป็นหุ้นส่วนใกล้ชิดกับกองทัพเรือสหรัฐฯ เพื่อจะได้เข้ารับผิดชอบด้านความมั่นคงปลอดภัยในอาณาบริเวณที่ไกลโพ้นออกไปจากน่านน้ำอาณาเขตของตน กองทัพเรือของทั้งสองประเทศได้ตกลงดำเนินการซ้อมรบขนาดใหญ่ประจำปีในเขตมหาสมุทรอินเดีย อันเรียกกันว่า การซ้อมรบมาลาบาร์ สำหรับปีนี้นั้น การซ้อมรบเช่นนี้ก็กำลังดำเนินอยู่ในขณะนี้ตามแนวชายฝั่งภาคตะวันตกของอินเดีย
เอกอัครราชทูต เอ็ม เค ภัทรกุมาร เคยทำงานเป็นนักการทูตอาชีพของกระทรวงการต่างประเทศอินเดีย เขาเคยไปประจำตามประเทศต่างๆ จำนวนมาก อาทิ สหภาพโซเวียต, เกาหลีใต้, ศรีลังกา, เยอรมนี, อัฟกานิสถาน, ปากีสถาน, อุซเบกิสถาน, คูเวต, และตุรกี
(อ่านต่อตอน 2 ซึ่งเป็นตอนจบ)
นาโต้บุกเข้ามหาสมุทรอินเดีย(ตอนจบ)
NATO reaches into the Indian Ocean
By M K Bhadrakumar
20/10/2008
องค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ (นาโต้) เคลื่อนกำลังทางนาวีเข้าไปในมหาสมุทรอินเดีย โดยอ้างเหตุผลต่อภายนอกว่าเพื่อต่อสู้ปราบปรามโจรสลัด ความเคลื่อนไหวครั้งนี้ถือเป็นหลักหมายสำคัญในการเปลี่ยนโฉมองค์การพันธมิตรทางทหารแห่งนี้ นอกจากนั้น การที่อินเดียได้ตัดสินใจส่งเรือรบลำหนึ่งเข้าไปยังอาณาบริเวณดังกล่าวด้วย ก็ไม่ได้เป็นเหตุพ้องกันโดยบังเอิญเลย หากแต่แดนภารตะกำลังกลายเป็นตัวเชื่อมโยงอันสำคัญยิ่งยวด ในสายโซ่แห่งอิทธิพลที่สหรัฐฯวางแผนสร้างขึ้น ซึ่งจะรวมเอาศรีลังกา และสิงคโปร์เข้ามาด้วย อย่างไรก็ตาม ทางด้านรัสเซียไม่ได้อยู่เฉย หากดำเนินการตอบโต้ในทันที เพื่อแสดงให้เห็นว่า มอสโกก็มีสมรรถนะและมีเจตนารมณ์ที่จะสู้รบใน “สงครามต่อสู้การก่อการร้าย” ในย่านมหาสมุทรอินเดียเช่นกัน
*รายงานชิ้นนี้แบ่งเป็น 2 ตอน นี่คือตอนแรก *
การประชุมอย่างไม่เป็นทางการของบรรดารัฐมนตรีกลาโหมจากชาติสมาชิกองค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ (นาโต้) ในกรุงบูดาเปสต์ ประเทศฮังการี เมื่อวันที่ 9-10 ตุลาคม เป็นเรื่องที่ควรต้องให้ความสนใจด้วยเหตุผล 3 ประการ
ประการแรก มันเป็นการพบปะหารือครั้งสุดท้ายของรัฐมนตรีกลาโหมสหรัฐฯ รอเบิร์ต เกตส์ กับเพื่อนๆ รัฐมนตรีในองค์การนาโต้ด้วยกัน ไม่น่าแปลกใจเลยที่มีความกระหายใคร่รู้กันว่า เกตส์จะนำเอาความคิดใหม่ใดๆ มาเสนอซึ่งจะส่งผลต่อสงครามที่นาโต้กำลังทำอยู่ในอัฟกานิสถานหรือไม่ แต่ปรากฏว่าเขายังไม่ได้พูดอะไรออกมา อาจจะเนื่องจากการศึกษาทบทวนทางยุทธศาสตร์ในกรุงวอชิงตัน ยังไม่ทันที่จะเสร็จสิ้น
ประการที่สอง ปรากฏว่าที่ประชุมคราวนี้เห็นชอบให้เพิ่มอำนาจอย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้นแก่การทำสงครามอัฟกานิสถาน ด้วยการอนุมัตินาโต้ให้สามารถใช้กำลังเข้าปราบปรามชาวอัฟกันที่เป็นพวกปลูกฝิ่นและพวกลักลอบค้ายาเสพติด อันเป็นการตัดสินใจที่ก่อให้เกิดการโต้แย้งอยู่มาก เพราะประเทศสมาชิกจำนวนไม่น้อยเลยยังรู้สึกไม่สบายใจเกี่ยวกับบทบาทอันนี้
ประการที่สาม การหารือบูดาเปสต์มีการพิจารณาประเด็นปัญหาต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนรูปแปลงโฉมองค์การพันธมิตรทางทหารแห่งนี้ ถึงแม้กำลังอยู่ในภาวะที่เกิดวิกฤตทางการเงินแผ่ลามไปทั่วโลก ทว่าสหรัฐฯก็ยังไม่ได้สูญเสียฐานะความเป็นเจ้าเหนือคนอื่นๆ ไปเลย คณะกรรมการนาโต้-จอร์เจีย ซึ่งก่อตั้งขึ้นด้วยการผลักดันเรียกร้องของสหรัฐฯ ได้พบปะหารือกันเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม และพันธมิตรนาโต้ก็แถลงย้ำคำมั่นสัญญาของตนที่จะดำเนินกระบวนการแห่งการตรวจสอบความพรักพร้อมของจอร์เจียนี้ต่อไป หลังจากจุดประกายเริ่มต้นขึ้นในการประชุมระดับผู้นำของนาโต้ ณ กรุงบูคาเรสต์ ประเทศโรมาเนีย ในเดือนเมษายนที่ผ่านมา “ด้วยทัศนะที่เข้าใจถึงความมุ่งมาดปรารถนาแห่งการเป็นส่วนหนึ่งของ แอตแลนติกแห่งยุโรป ของจอร์เจีย” ทั้งนี้แม้การใช้ถ้อยคำที่ยังดูค่อนข้างกำกวมเช่นนี้ อาจจะยังไม่ได้สนองความคาดหวังแห่งการเข้าเป็นสมาชิกนาโต้ของกรุงทบิลิซีอย่างเต็มที่ กระนั้นมันก็เป็นการก้าวคืบหน้าไปอีกก้าวหนึ่งบนเส้นทางแห่งการขยายองค์การพันธมิตรแห่งนี้ ตามที่สหรัฐฯวางแผนวาดผังเตรียมเอาไว้
**ความเคลื่อนไหวที่วางแผนไว้พร้อมพรัก**
แต่การตัดสินใจในที่ประชุมบูดาเปสต์ซึ่งมีผลกว้างไกลที่สุด ก็คือมติของนาโต้ที่ให้ส่งกองกำลังเรือรบเข้าไปในมหาสมุทรอินเดีย โดยอ้างเหตุผลต่อภายนอกว่าเพื่อทำหน้าที่คุ้มครองเรือสินค้าต่างๆ ของโครงการอาหารโลกแห่งสหประชาชาติ ที่กำลังบรรทุกสิ่งของบรรเทาทุกข์ไปให้โซมาเลีย ที่ประสบภาวะอดอยากขาดแคลนอาหาร
ในการประกาศมตินี้เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม โฆษกของนาโต้แถลงว่า “สหประชาชาติได้ขอความช่วยเหลือจากนาโต้ในการแก้ไขปัญหานี้ [ภัยโจรสลัดที่ปฏิบัติการในบริเวณนอกชายฝั่งโซมาเลีย] วันนี้ ที่ประชุมรัฐมนตรีเห็นพ้องกันว่านาโต้ควรที่จะรับบทบาทดังกล่าว นาโต้จะจัดส่ง “กองกำลังนาวีข้ามสมุทรประจำการในภาวะเตรียมพร้อม” (Standing Naval Maritime Group) ของตน ซึ่งประกอบด้วยเรือรบ 7 ลำ เข้าไปยังภูมิภาคดังกล่าวภายในเวลา 2 สัปดาห์” โฆษกผู้นี้กล่าวเสริมอีกว่า นาโต้จะปฏิบัติงานร่วมกับ “พันธมิตรทั้งหลายที่มีเรืออยู่ในพื้นที่ดังกล่าวในเวลานี้”
พอถึงวันที่ 15 ตุลาคม เรือรบ 7 ลำจากกองทัพเรือของชาติสมาชิกนาโต้ ก็สามารถเดินทางผ่านคลองสุเอซได้เรียบร้อย ในเส้นทางมุ่งสู่มหาสมุทรอินเดีย ในระหว่างการเดินทางคราวนี้ กองเรือนี้จะแวะจอดเยี่ยมเยียนท่าเรือริมอ่าวเปอร์เซียหลายๆ แห่ง ซึ่งอยู่ในประเทศเพื่อนบ้านทั้งหลายของอิหร่าน ได้แก่ บาห์เรน, คูเวต, กาตาร์, และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ โดยที่ชาติเหล่านี้ต่างมีฐานะเป็น “หุ้นส่วน” ของนาโต้ ภายใต้กรอบโครงของแผนการที่ใช้ชื่อว่า “ความริเริ่มเพื่อการร่วมมือกันแห่งอิสตันบูล” ทั้งนี้ กองกำลังนาวีนาโต้กองนี้ ประกอบด้วยเรือรบจากสหรัฐฯ, อังกฤษ, เยอรมนี, อิตาลี, กรีซ, และตุรกี
ผู้บัญชาการทหารสูงสุดกองกำลังพันธมิตรยุโรปของนาโต้ พล.อ.จอห์น แครดด็อก ยอมรับว่าภารกิจคราวนี้เป็นความคืบหน้าในการบรรลุความมุ่งมาดปรารถนาของพันธมิตรทางทหารแห่งนี้ ที่จะกลายเป็นองค์การทางการเมืองระดับโลก เขากล่าวว่า “ภัยคุกคามของโจรสลัดเป็นสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นจริงๆ และกำลังขยายตัวมากขึ้นๆ ในหลายๆ ส่วนของโลกในทุกวันนี้ และการตอบโต้คราวนี้ก็แสดงให้เห็นเป็นอย่างดี ถึงความสามารถของนาโต้ในการปรับตัวได้อย่างรวดเร็วเพื่อรับมือกับการท้าทายใหม่ๆ ทางด้านความมั่นคงปลอดภัย”
มีหลักฐานปรากฏชัดเจนว่า นาโต้มีการเตรียมตัววางแผนการกันอย่างรอบคอบมาก่อนแล้วเพื่อการเคลื่อนกำลังเข้าสู่มหาสมุทรอินเดียคราวนี้ จากความรวดเร็วของการส่งกองเรือรบออกเดินทาง ทำให้เห็นได้ว่ามิใช่การปฏิบัติการอย่างรีบร้อนเลย เหมือนกับคาดการณ์ล่วงหน้าแล้วว่า อาจจะมีรัฐติดมหาสมุทรอินเดียบางรายออกมาแสดงการคัดค้านการส่งกำลังนาวีเช่นนี้ขององค์การพันธมิตรทางทหารฝ่ายตะวันตก แต่ด้วยการปฏิบัติการอย่างเร็วรี่ดุจสายฟ้าแลบและโดยไม่ได้มีการตีฆ้องร้องป่าวให้เอิกเกริก นาโต้ก็สามารถมั่นใจได้ว่า กว่าที่ใครจะคิดต่อต้านอะไร ตนก็ปฏิบัติสำเร็จกิจดังประสงค์ไปแล้ว
**หลายความเคลื่อนไหวที่คล้องจ้องกันจนไม่ใช่เรื่องบังเอิญ**
ไม่ว่าจะพิจารณาในแง่มุมใด การเคลื่อนกองกำลังเรือรบเข้าไปในมหาสมุทรอินเดียของนาโต้ ก็ต้องถือเป็นความเคลื่อนไหวครั้งประวัติศาสตร์ อีกทั้งเป็นหลักหมายสำคัญในการแปรรูปเปลี่ยนโฉมของพันธมิตรทางทหารแห่งนี้ ในอดีตที่ผ่านมาแม้กระทั่งในช่วงความขัดแย้งขึ้นถึงสูงสุดในยุคสงครามเย็น องค์การพันธมิตรนี้ก็ยังไม่ได้ไปปรากฏตัวในมหาสมุทรอินเดีย ทั้งนี้การเคลื่อนกำลังทหารในลักษณะเช่นนี้ มีความโน้มเอียงที่มักจะกลายเป็นการประจำการต่อไปเรื่อยๆ อยู่แล้ว
เมื่อมองย้อนหลังกลับไป การที่นาโต้ส่งกองกำลังนาวีออกไปเยือนมหาสมุทรอินเดียเป็นครั้งแรกตอนกลางเดือนกันยายนปีที่แล้ว ต้องถือว่าเป็นการซ้อมใหญ่เพื่อที่จะบรรลุจุดหมายในคราวนี้นั่นเอง กองบัญชาการใหญ่ของนาโต้ที่กรุงบรัสเซลส์แถลงในตอนนั้นว่า “จุดมุ่งหมายของภารกิจคราวนี้ก็เพื่อสาธิตให้เห็นถึงสมรรถนะของนาโต้ในการค้ำจุนสนับสนุนความมั่นคงและกฎหมายระหว่างประเทศในเขตทะเลหลวง และเพื่อสร้างความสัมพันธ์เชื่อมโยงกับกองทัพเรือต่างๆ ในภูมิภาคแถบนี้” ในปี 2007 นั้น กองกำลังนาวีของนาโต้ได้ไปเยือน เซเชลส์ ประเทศหมู่เกาะในมหาสมุทรอินเดีย และโซมาเลีย รวมทั้งำเนินการซ้อมรบในมหาสมุทรอินเดีย จากนั้นจึงเดินทางกลับเข้าสู่ทะเลเมดิเตอร์เรเนียม โดยผ่านทางทะเลแดง เมื่อตอนสิ้นเดือนกันยายน
การเคลื่อนกองเรือรบเข้าสู่มหาสมุทรอินเดียของนาโต้ในคราวล่าสุดนี้ ได้ก่อให้เกิดผลกระทบติดตามมาที่น่าสนใจบางประการขึ้นแล้ว เหมือนๆ กับเป็นการบังเอิญที่ออกจะน่าประหลาดทีเดียว ในวันที่ 16 ตุลาคม ขณะที่กองกำลังนาวีของนาโต้เพิ่งเคลื่อนไปถึงอ่าวเปอร์เซียนั้นเอง โฆษกกระทรวงกลาโหมอินเดียก็แถลงข่าวในกรุงนิวเดลีว่า “รัฐบาล [อินเดีย] อนุมัติในวันนี้ ให้ส่งเรือรบของกองทัพเรืออินเดีย 1 ลำไปยังอ่าวเอเดน เพื่อทำการลาดตระเวนตามเส้นทางปกติที่บรรดาเรือชักธงอินเดียทั้งหลายจะต้องแล่นไป ระหว่างการเดินทางจากเมืองท่า ซาลาลาห์ ในโอมาน ไปยังกรุงเอเดน ในเยเมน การลาดตระเวนดังกล่าวนี้ให้เริ่มดำเนินการในทันที”
จังหวะเวลาของความเคลื่อนไหวคราวนี้ดูจะเป็นการเตรียมการกันไว้ก่อนแล้ว รายงานของสื่อหลายกระแสบ่งชี้ว่า รัฐบาลอินเดียได้พิจารณาเรื่องนี้มาหลายเดือน เหมือนๆ กับฝ่ายนาโต้ ทางการนิวเดลีก็ปฏิบัติการอย่างเร่งด่วนเมื่อถึงเวลาลงมือจริง และเรือรบอินเดียลำหนึ่งก็ออกเดินทางไปแล้ว ในตอนแรกกรุงนิวเดลีบรรยายสรุปต่อสื่อมวลชนว่า การเคลื่อนเรือรบคราวนี้สืบเนื่องจากเหตุการณ์ที่พวกโจรสลัดโซมาเลียจี้จับเรือสินค้าที่เป็นของญี่ปุ่นลำหนึ่งเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม โดยที่มีชาวอินเดียอยู่ในเรือดังกล่าวจำนวน 18 คน ทว่าต่อมา ทางการอินเดียกลับเปลี่ยนคำพูด และพยายามแถลงด้วยน้ำเสียงที่มองภาพกว้างมากขึ้น โดยกล่าวว่า “อย่างไรก็ตาม การตัดสินใจในขณะนี้ที่จะทำการลาดตระเวนน่านน้ำแอฟริกานั้น ไม่ได้มีความเกี่ยวข้องโดยตรง [กับเหตุการณ์ในเดือนสิงหาคม]”
คำแถลงของอินเดียบอกว่า “การส่งเรือรบของกองทัพเรืออินเดีย 1 ลำเข้าไปในพื้นที่แถบนี้ มีความสำคัญมาก เนื่องจากอ่าวเอเดนเป็นจุดสำคัญยิ่งทางยุทธศาสตร์ในเขตมหาสมุทรอินเดีย อีกทั้งยังเป็นช่องทางเข้าสู่คลองสุเอซ อันเป็นเส้นทางการเดินเรือที่การค้าจำนวนมากของอินเดียต้องผ่านเข้าออก”
เจ้าหน้าที่อินเดียหลายคนกล่าวว่า เรือรบลำนี้จะปฏิบัติงานโดยประสานร่วมมือกับกองทัพเรือต่างๆ ของชาติตะวันตกที่ส่งกำลังเข้าไปในภูมิภาคดังกล่าว และจะเข้าร่วมเสริมเติมเป็นกองกำลังขนาดใหญ่ถ้าหากมีความจำเป็น โดยที่เรือรบลำนี้จะติดอาวุธอย่างพร้อมพรัก ทว่านิวเดลีกลับกำลังกลบเกลื่อนความเป็นจริงที่ว่า กองกำลังนาวีของฝ่ายตะวันตกนั้น ปฏิบัติการภายใต้รมธงขององค์การนาโต้ และการที่อินเดียจะร่วมมือประสานงานใดๆ กับกองทัพเรือชาติตะวันตกดังที่กล่าวไว้ ก็ย่อมจะต้องเกี่ยวข้องกับองค์การพันธมิตรตะวันตกแห่งนี้ เมื่อพิจารณาจากการดำเนินนโยบายแต่ไหนแต่ไรมาของอินเดีย ซึ่งจะต้องพยายามหลีกเลี่ยงไม่ยุ่งเกี่ยวกับกลุ่มการทหารใดๆ จึงย่อมเป็นสิ่งที่เข้าใจได้ว่าทำไมนิวเดลีจึงแสดงท่าทีอ่อนไหวกับความเคลื่อนไหวคราวนี้นัก
เป็นที่ชัดแจ้งว่า ในที่สุดแล้วเรือรบอินเดียลำนี้จะต้องปฏิบัติงานเคียงคู่ไปกับกองกำลังนาวีของนาโต้ นี่จะเป็นครั้งแรกที่กองทัพอินเดียมีการทำงานเคียงบ่าเคียงไหล่กับกองกำลังนาโต้ในปฏิบัติการทางทหารจริงๆ ไม่ว่าจะในน่านน้ำของดินแดนประเทศหนึ่งประเทศใด หรือในน่านน้ำสากล
การปฏิบัติการดังกล่าวเหล่านี้มีความเป็นไปได้ว่าจะปรับเปลี่ยนสายสัมพันธ์ที่อินเดียมีอยู่กับนาโต้ให้ก้าวขึ้นสู่ระดับใหม่ในเชิงคุณภาพ สหรัฐฯนั้นกำลังส่งเสริมสนับสนุนอยู่แล้วให้อินเดียกระชับความสัมพันธ์กับนาโต้ รวมทั้งแสดงบทบาทมากขึ้นในกิจการความมั่นคงทางทะเล ประเทศทั้งสองได้ทำพิธีสารทวิภาคีฉบับหนึ่งในเรื่องเกี่ยวกับความร่วมมือกันด้านความปลอดภัยทางทะเลนี้ โดยได้ลงนามกันไปในปี 2006 ทั้งนี้ พิธีสารฉบับนี้กล่าวในตอนเกริ่นนำว่า “เพื่อให้สอดคล้องกับความเป็นหุ้นส่วนกันทางยุทธศาสตร์ทั่วโลกของทั้งสองประเทศ ตลอดจนกรอบโครงใหม่เพื่อความสัมพันธ์ด้านการป้องกันประเทศของทั้งสองฝ่าย อินดียกับสหรัฐฯจึงให้คำมั่นที่จะผูกพันดำเนินความร่วมมือกันอย่างทั่วด้าน เพื่อรับประกันให้เกิดอาณาบริเวณการเดินเรือทะเลที่มีความมั่นคงปลอดภัย ทั้งนี้เพื่อให้บรรลุผลดังกล่าวข้างต้น ทั้งสองประเทศให้สัญญาที่จะทำงานร่วมกัน และทำงานร่วมกับหุ้นส่วนอื่นๆ ในภูมิภาคเมื่อมีความจำเป็น”
กองบัญชาการทหารเรืออินเดียได้แสดงความกระตือรือร้นมาระยะหนึ่งแล้ว ที่จะก้าวไปในทิศทางแห่งการเป็นหุ้นส่วนใกล้ชิดกับกองทัพเรือสหรัฐฯ เพื่อจะได้เข้ารับผิดชอบด้านความมั่นคงปลอดภัยในอาณาบริเวณที่ไกลโพ้นออกไปจากน่านน้ำอาณาเขตของตน กองทัพเรือของทั้งสองประเทศได้ตกลงดำเนินการซ้อมรบขนาดใหญ่ประจำปีในเขตมหาสมุทรอินเดีย อันเรียกกันว่า การซ้อมรบมาลาบาร์ สำหรับปีนี้นั้น การซ้อมรบเช่นนี้ก็กำลังดำเนินอยู่ในขณะนี้ตามแนวชายฝั่งภาคตะวันตกของอินเดีย
เอกอัครราชทูต เอ็ม เค ภัทรกุมาร เคยทำงานเป็นนักการทูตอาชีพของกระทรวงการต่างประเทศอินเดีย เขาเคยไปประจำตามประเทศต่างๆ จำนวนมาก อาทิ สหภาพโซเวียต, เกาหลีใต้, ศรีลังกา, เยอรมนี, อัฟกานิสถาน, ปากีสถาน, อุซเบกิสถาน, คูเวต, และตุรกี
(อ่านต่อตอน 2 ซึ่งเป็นตอนจบ)