(เก็บความจากเอเชียไทมส์ออนไลน์ www.atimes.com)
Free media amplifies Thai protests
By Marwaan Macan-Markar
5/09/2008
เบื้องหลังของวิกฤตทางการเมืองที่กำลังลุกลามอยู่ในกรุงเทพฯเวลานี้ ยังมีการต่อสู้อันดุเดือดในสมรภูมิสื่อ ระหว่างสถานีโทรทัศน์ต่อต้านรัฐบาลแห่งหนึ่งที่กำลังเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วจากการเสนอเนื้อหาอย่างอิสระเสรีและก่อให้เกิดการถกเถียงขัดแย้ง กับบรรดาสื่อที่อยู่ในความควบคุมของรัฐไทย
กรุงเทพ – ความรู้สึกประทับใจทีแรกสุดก็คือ วิกฤตทางการเมืองที่กำลังลุกลามออกไปทุกทีในประเทศไทยเวลานี้ ดูเหมือนกับเป็นความพยายามของกลุ่มคนกลุ่มหนึ่ง ที่ต้องการปรับแต่งอนาคตของประชาธิปไตย ในราชอาณาจักรซึ่งตลอดช่วงประวัติศาสตร์สมัยใหม่ ได้เป็นประจักษ์พยานของการรัฐประหารโดยฝ่ายทหารรวมทั้งสิ้น 18 ครั้ง
แต่ความโกรธเกรี้ยวที่เป็นแรงผลักดันขบวนการประท้วง ซึ่งเวลานี้ตั้งค่ายพักแรมกันอยู่รอบๆ พื้นที่ทำเนียบรัฐบาล และมีวัตถุประสงค์มุ่งโค่นล้มคณะผู้บริหารประเทศที่มาจากการเลือกตั้งนั้น ก็ต้องดำเนินการต่อสู้กับเครือข่ายสื่อมวลชนเก่าที่อยู่ในความควบคุมของรัฐไทยไปพร้อมๆ กันด้วย
เอเอสทีวี (Asia Satellite Television – ASTV) แทบไม่ได้ใช้ความพยายามที่จะปิดบังภารกิจทางการเมืองของตนเลย โดยดำเนินการถ่ายทอดสดความเคลื่อนไหวในการประท้วงของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยตลอด 24 ชั่วโมง และการติดตามนำเสนออย่างไม่ขาดระยะของสถานีโทรทัศน์แห่งนี้เอง ก็เป็นการเพิ่มศักยภาพทางการเมืองให้แก่การโจมตีต่อต้านรัฐบาลของทางพันธมิตร ในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมาเอเอสทีวีได้เสนอภาพเหตุการณ์ที่ตำรวจพยายามใช้กำลังเข้ารื้อถอนเวทีของกลุ่มพันธมิตร ตลอดจนความรุนแรงระหว่างกลุ่มสนับสนุนและกลุ่มต่อต้านรัฐบาลตอนต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา ซึ่งส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตไป 1 คน และบาดเจ็บอีกหลายสิบคน
เมื่อนายกรัฐมนตรี สมัคร สุนทรเวช ประกาศภาวะฉุกเฉินในวันอังคาร(2) ภายหลังการปะทะกันดังกล่าว ทำให้ พล.อ.อนุพงศ์ เผ่าจินดา ผู้บัญชาการทหารบกมีอำนาจตามกฎหมายที่จะปิดสถานีโทรทัศน์แห่งนี้ได้ ถ้าเนื้อหาที่นำออกอากาศถูกพิจารณาว่ากระตุ้นให้เกิดความไม่สงบ ปรากฏว่าในตอนเย็นวันนั้น พวกผู้ประท้วงของพันธมิตรที่มีไม้กอล์ฟและท่อนไม้เป็นอาวุธ ได้ช่วยกันนำยางรถยนต์มาสร้างเป็นเครื่องกีดขวาง ด้วยความพยายามที่จะสกัดกั้นในกรณีที่ทหารอาจพยายามเข้าจู่โจมสำนักงานใหญ่ของทางสถานีซึ่งตั้งอยู่ริมแม่น้ำในย่านพระอาทิตย์ อย่างไรก็ตาม จนถึงขณะนี้ฝ่ายทหารก็ไม่ได้เข้ามารบกวนการปฏิบัติงานของสถานีแห่งนี้แต่อย่างใด
เจ้าของและผู้ก่อตั้งเอเอสทีวี สนธิ ลิ้มทองกุล นักพูดไฮปาร์กผู้มีคารมร้อนแรง เป็นหนึ่งในคณะผู้นำของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย การกล่าวโจมตีอย่างไม่หยุดยั้งของเขาต่อคณะรัฐบาลและสถานะของประชาธิปไตยไทย โดยรวมถึงข้อกล่าวหาที่ว่าระบบซึ่งอิงกับการเลือกตั้งที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันนั้นมีข้อบกพร่องใช้งานไม่ได้ผล และประเทศชาติจะเดินไปได้ดีกว่านี้ถ้าหากเปลี่ยนไปใช้รัฐสภาที่สมาชิกจำนวนมากมาจากการแต่งตั้ง ได้รับการขานรับจากผู้คนนับพันนับหมื่น ซึ่งเข้าไปร่วมการชุมนุมของพันธมิตรโดยที่ได้ยินข้อเรียกร้องอันก่อให้เกิดการขัดแย้งโต้เถียงกันมากนี้ทีแรกสุดจากทางเอเอสทีวี
เอเอสทีวีซึ่งสามารถเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วนี้ เป็นสถานีทีวีหน้าใหม่ที่เพิ่งเข้าสู่อุตสาหกรรมสื่อวิทยุและโทรทัศน์ที่ถูกควบคุมอย่างแน่นหนาของประเทศไทย โดยที่วงการนี้ถูกครอบงำจากพวกสถานีโทรทัศน์ซึ่งรัฐเป็นเจ้าของและมุ่งหาผลประโยชน์เชิงพาณิชย์เป็นสำคัญ รายการหลักๆ ที่พวกเขานำเสนอโดยทั่วไป จะเป็นจำพวกทอล์กโชว์เบาๆ, ละครน้ำเน่า, และเรื่องซุบซิบนินทา สำหรับรายการข่าวที่นำเสนอทางช่องเหล่านี้ ที่ผ่านมาก็จะเป็นข่าวที่ถูกปรับแต่งอย่างเข้มงวด ตลอดจนเสนอภาพลักษณ์ของรัฐบาลที่กำลังครองอำนาจอยู่ในทางนิยมชมชื่นอย่างสม่ำเสมอ
สภาพแห่งการผูกขาดข่าวสารดังกล่าวนี้ กำลังถูกท้าทายโดยตรงจากความขัดแย้งที่กำลังแผ่ลามขยายตัวคราวนี้ด้วย โดยที่กลุ่มผู้ประท้วงของพันธมิตร ซึ่งมีรายงานว่าบางคนมีปืนเป็นอาวุธด้วย ได้บุกเข้าไประงับการออกอากาศของสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย กรมประชาสัมพันธ์ (เอ็นบีที) อยู่ช่วงระยะหนึ่งเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม ทั้งนี้สถานีโทรทัศน์แห่งนี้บริหารและดำเนินงานโดยสำนักนายกรัฐมนตรี อีกทั้งถูกมองกันอย่างกว้างขวางว่าเป็นกระบอกเสียงของรัฐ พวกนักข่าวของสถานีโทรทัศน์กระแสหลักรายอื่นๆ อาทิ จากช่อง 3 เมื่อไม่นานมานี้ก็ได้ถูกข่มขู่และถูกรังควาญที่บริเวณการชุมนุมของพันธมิตร
กระนั้นก็ตาม จำนวนผู้ชมของเอเอสทีวีก็กำลังเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหมู่ชาวไทยวัยกลางคนและวัยอาวุโสที่เป็นพำนักอาศัยอยู่ในเขตเมือง ในหมู่ผู้ชมที่เลื่อมใสศรัทธาเอเอสทีวี ซึ่งกำลังขยายตัวเติบใหญ่ขึ้นทุกที และยังคงรู้สึกเห็นอกเห็นใจแม้เมื่อเกิดปฏิกิริยาในทางลบต่อการต่อต้านรัฐบาลของพันธมิตรนั้น มีพี่น้องสองสาวที่ต่างก็อยู่ในวัย 50 ปลายๆ รวมอยู่ด้วย
“สถานีโทรทัศน์พวกนั้นแทบไม่มีรายการประเภทที่เราต้องการดูเลย อย่างเรื่องการเมืองในประเทศไทย, การเปิดโปงทุจริตคอร์รัปชั่น, รัฐบาลใช้อำนาจในทางไม่ถูกต้องยังไงมั่ง” ฮุ่ยเหล็ง คนน้องของพี่น้องสองสาวคนไทยเชื้อสายจีนดังกล่าวพูดขึ้น โดยหมายถึงพวกสถานีโทรทัศน์ของรัฐบาลซึ่งเข้าครอบงำคลื่นออกอากาศของประเทศไทยมานานแล้ว อาทิ ช่อง 3 และ ช่อง 7 สถานีโทรทัศน์ภาษาไทยทั้ง 2 ช่องที่กล่าวถึงนี้ ซึ่งต่างก็ดำเนินงานโดยบริษัทเอกชนที่ได้รับสัมปทานนั้น รวมกันแล้วยึดครองส่วนแบ่งตลาดผู้ชมทีวีของประเทศไปถึง 60%
“เราต้องการรู้ให้มากขึ้นเกี่ยวกับความจริงที่กำลังเกิดขึ้นในประเทศของเรา เราต้องการรู้ข่าวคราวที่เป็นผลลบต่อรัฐบาลชุดนี้” ฮุ่ยเหล็งซึ่งเป็นชาวกรุงเทพฯพูดต่อ ขณะที่เธอนั่งอยู่หน้าทีวีซึ่งเปิดช่องเอเอสทีวี “คุณไม่สามารถได้ข่าวมูลข่าวสารแบบนี้จากช่องอื่นๆ หรอก”
ตั้งแต่ปลายเดือนพฤษภาคมเป็นต้น รายงานต่างๆ ของเอเอสทีวีส่วนใหญ่แล้วเป็นคำปราศรัยของทางพันธมิตรที่ถ่ายทอดจากเวทีซึ่งมีการโยกย้ายไปมาหลายที่ในกรุงเทพฯ การชุมนุมของพันธมิตรที่จัดสอดคล้องกับการออกอากาศทางทีวีอย่างเหมาะเจาะ มีเนื้อหาเต็มไปด้วยการวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลที่นำโดยนายสมัคร ผู้ได้รับเลือกตั้งในนามของพรรคพลังประชาชน ในการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อเดือนธันวาคมปีที่แล้ว กลุ่มผู้ประท้วงกลุ่มนี้กล่าวหานายสมัครว่ากำลังทำตนเป็นตัวแทนของอดีตนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ผู้ซึ่งถูกขับออกจากอำนาจด้วยการรัฐประหารของฝ่ายทหารในปี 2006 และเวลานี้กำลังหลบหนีคดีอยู่ในอังกฤษ
นอกเหนือจากข้อกล่าวหาในเรื่องการทุจริตและการใช้อำนาจในทางมิชอบแล้ว คณะรัฐบาลของนายสมัครยังถูกกลุ่มพันธมิตรกล่าวหาด้วยว่า ไม่รักชาติและไม่จงรักภักดีต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ผู้เป็นที่เคารพรักของประชาชนในประเทศนี้
“รายงานทั้งหมดของเราในเวลานี้ มอบให้ทั้งหมดเลยแก่สิ่งที่กำลังพูดปราศรัยกันอยู่ในที่ชุมนุมของกลุ่มพันธมิตร” เป็นคำกล่าวของ ชฎาภรณ์ ลิน บรรณาธิการบริหารของช่องภาษาอังกฤษของสถานีโทรทัศน์แห่งนี้ “คำปราศรัยเช่นนี้สามารถดึงดูดผู้ชมของเรา ถึงแม้วัสดุเหล่านี้จะใช้ภาษาที่แรง, อัตวิสัย, และมีอคติ แต่คำปราศรัยในเรื่องเกี่ยวกับการทุจริตและการใช้อำนาจในทางมิชอบ คือสิ่งที่สาธารณชนจะไม่ได้รับชมจากพวกสถานีทีวีเพื่อการค้าช่องอื่นๆ เลย”
ส่วนที่ผสมผสานไปกับคำปราศรัยจากเวทีพันธมิตร คือสิ่งที่มาจากทีมผู้สื่อข่าวรวม 15 ทีมของทางสถานีเอง ซึ่งผลิตออกมาจากศูนย์บัญชาการแห่งใหม่ของพันะมิตร นั่นคือทำเนียบรัฐบาล ซึ่งผู้ประท้วงต่อต้านรัฐบาลเหล่านี้ได้บุกเข้าไปเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม ในการแสดงออกซึ่งการประท้วงในรูปของอารยะขัดขืนที่ไม่ยังไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน รายงานของทีมผู้สื่อข่าวเหล่านี้ อาทิ ข่าวการข่มขู่คุกคามต่อผู้ประท้วง เมื่อได้มีการส่งต่อไปออกอากาศยังสถานี ก็ทำให้มีผู้เห็นอกเห็นใจพันธมิตรหลั่งไหลกันมาที่ทำเนียบรัฐบาลกันเพิ่มขึ้นอีกมาก
การระดมพลในลักษณะนี้สามารถกระทำได้ ส่วนสำคัญทีเดียวเนื่องมาจากการที่เอเอสทีวีสามารถเข้าถึงผู้ชมทั่วประเทศ โดยที่ชฎาภรณ์กล่าวในการให้สัมภาษณ์ว่า ปัจจุบันมีผู้ชมเอเอสทีวีอยู่ประมาณ 20 ล้านคน “ผู้ชมของเราเพิ่มจำนวนขึ้นเป็นสองเท่าตัวตั้งแต่ปี 2006 โดยที่ตอนนั้นเรามีผู้ชมอยู่ 10 ล้านคน เนื่องจากเรานำเสนอข่าวสารการเมืองในด้านที่ไม่อาจหาดูได้จากทีวีของรัฐ”
จำนวนผู้ชมเอเอสทีวีที่เพิ่มมากขึ้น ยังปรากฏหลักฐานในรูปของจานดาวเทียมสีเหลืองที่ติดเครื่องหมายของเอเอสทีวี ซึ่งงอกเงยให้เห็นอย่างรวดเร็วเป็นดอกเห็ดตามหลังคาและระเบียงของบ้านพักและอาคารอพาร์ตเมนต์ทั้งในกรุงเทพฯและต่างจังหวัด เฉพาะในกรุงเทพฯแห่งเดียว สถานีสามารถขายจานดาวเทียมไปได้ 200,000 ชุด ซึ่งเป็นหนึ่งในห้าของจานดาวเทียม 1 ล้านชุดที่ขายไปทั่วประเทศโดย ทรู วิชั่น บริษัทเคเบิลทีวีรายใหญ่ที่สุดของประเทศไทยเวลานี้
แต่หากผู้ชมไม่สามารถเปิดชมเอเอสทีวีผ่านทางจานดาวเทียม หรือผ่านบริษัทเคเบิลทีวีในต่างจังหวัดได้แล้ว ก็ยังมีอีกช่องทางหนึ่งนั่นคือทางอินเทอร์เน็ต เว็บไซต์ผู้จัดการ อันเป็นชื่อหนังสือพิมพ์ที่ผลิตโดยบริษัทแม่ของเอเอสทีวี มีจำนวนของผู้ที่เข้าชมประจำเพิ่มขึ้นอย่างน่าตื่นใจเช่นกัน และเวลานี้ติดอันดับ 3 ใน 10 เว็บไซต์ภาษาไทยซึ่งได้รับความนิยมสูงสุด ทั้งนี้ตามการสำรวจของเว็บไซต์ที่คอยติดตามการสัญจรบนอินเทอร์เน็ต นอกจากนั้น ในบรรดาเว็บไซต์อื่นๆ อีก 9 แห่งใน 10 ยอดนิยมเหล่านี้ มี 8 แห่งที่เป็นเว็บไซต์ซึ่งโฟกัสไปที่เรื่องเกม, ดนตรี, ความสนใจของวัยรุ่น, และการหาคู่
เอเอสทีวีได้รับเครดิตในฐานะที่กำลังผลักดันประเทศไทยให้เคลื่อนเข้าสู่แนวโน้มทางเทคโนโลยีใหม่ที่กำลังขยายตัวไปทั่วโลก นั่นคือ เทคโนโลยีแห่งข้อมูลข่าวสารที่หลั่งไหลผ่านการแพร่ภาพออกอากาศโดยดาวเทียม “เอเอสทีวีเป็นตัวช่วยเร่งความเคลื่อนไหวไปสู่ระบบทีวีที่อิงกับดาวเทียม ซึ่งแตกต่างจากทีวีแพร่ภาพออกอากาศกระจายไปทั่วแบบเก่า” เป็นความเห็นของ ลอเรนต์ มาเลสไพน์ นักวิเคราะห์ด้านสื่อไทย “มันเป็นการท้าทายแวดวงสื่อเก่าในประเทศนี้”
(รายงานข่าวของสำนักข่าวอินเตอร์เพรสเซอร์วิส และเพิ่มเติมโดย เอเชียไทมส์ออนไลน์)
Free media amplifies Thai protests
By Marwaan Macan-Markar
5/09/2008
เบื้องหลังของวิกฤตทางการเมืองที่กำลังลุกลามอยู่ในกรุงเทพฯเวลานี้ ยังมีการต่อสู้อันดุเดือดในสมรภูมิสื่อ ระหว่างสถานีโทรทัศน์ต่อต้านรัฐบาลแห่งหนึ่งที่กำลังเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วจากการเสนอเนื้อหาอย่างอิสระเสรีและก่อให้เกิดการถกเถียงขัดแย้ง กับบรรดาสื่อที่อยู่ในความควบคุมของรัฐไทย
กรุงเทพ – ความรู้สึกประทับใจทีแรกสุดก็คือ วิกฤตทางการเมืองที่กำลังลุกลามออกไปทุกทีในประเทศไทยเวลานี้ ดูเหมือนกับเป็นความพยายามของกลุ่มคนกลุ่มหนึ่ง ที่ต้องการปรับแต่งอนาคตของประชาธิปไตย ในราชอาณาจักรซึ่งตลอดช่วงประวัติศาสตร์สมัยใหม่ ได้เป็นประจักษ์พยานของการรัฐประหารโดยฝ่ายทหารรวมทั้งสิ้น 18 ครั้ง
แต่ความโกรธเกรี้ยวที่เป็นแรงผลักดันขบวนการประท้วง ซึ่งเวลานี้ตั้งค่ายพักแรมกันอยู่รอบๆ พื้นที่ทำเนียบรัฐบาล และมีวัตถุประสงค์มุ่งโค่นล้มคณะผู้บริหารประเทศที่มาจากการเลือกตั้งนั้น ก็ต้องดำเนินการต่อสู้กับเครือข่ายสื่อมวลชนเก่าที่อยู่ในความควบคุมของรัฐไทยไปพร้อมๆ กันด้วย
เอเอสทีวี (Asia Satellite Television – ASTV) แทบไม่ได้ใช้ความพยายามที่จะปิดบังภารกิจทางการเมืองของตนเลย โดยดำเนินการถ่ายทอดสดความเคลื่อนไหวในการประท้วงของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยตลอด 24 ชั่วโมง และการติดตามนำเสนออย่างไม่ขาดระยะของสถานีโทรทัศน์แห่งนี้เอง ก็เป็นการเพิ่มศักยภาพทางการเมืองให้แก่การโจมตีต่อต้านรัฐบาลของทางพันธมิตร ในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมาเอเอสทีวีได้เสนอภาพเหตุการณ์ที่ตำรวจพยายามใช้กำลังเข้ารื้อถอนเวทีของกลุ่มพันธมิตร ตลอดจนความรุนแรงระหว่างกลุ่มสนับสนุนและกลุ่มต่อต้านรัฐบาลตอนต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา ซึ่งส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตไป 1 คน และบาดเจ็บอีกหลายสิบคน
เมื่อนายกรัฐมนตรี สมัคร สุนทรเวช ประกาศภาวะฉุกเฉินในวันอังคาร(2) ภายหลังการปะทะกันดังกล่าว ทำให้ พล.อ.อนุพงศ์ เผ่าจินดา ผู้บัญชาการทหารบกมีอำนาจตามกฎหมายที่จะปิดสถานีโทรทัศน์แห่งนี้ได้ ถ้าเนื้อหาที่นำออกอากาศถูกพิจารณาว่ากระตุ้นให้เกิดความไม่สงบ ปรากฏว่าในตอนเย็นวันนั้น พวกผู้ประท้วงของพันธมิตรที่มีไม้กอล์ฟและท่อนไม้เป็นอาวุธ ได้ช่วยกันนำยางรถยนต์มาสร้างเป็นเครื่องกีดขวาง ด้วยความพยายามที่จะสกัดกั้นในกรณีที่ทหารอาจพยายามเข้าจู่โจมสำนักงานใหญ่ของทางสถานีซึ่งตั้งอยู่ริมแม่น้ำในย่านพระอาทิตย์ อย่างไรก็ตาม จนถึงขณะนี้ฝ่ายทหารก็ไม่ได้เข้ามารบกวนการปฏิบัติงานของสถานีแห่งนี้แต่อย่างใด
เจ้าของและผู้ก่อตั้งเอเอสทีวี สนธิ ลิ้มทองกุล นักพูดไฮปาร์กผู้มีคารมร้อนแรง เป็นหนึ่งในคณะผู้นำของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย การกล่าวโจมตีอย่างไม่หยุดยั้งของเขาต่อคณะรัฐบาลและสถานะของประชาธิปไตยไทย โดยรวมถึงข้อกล่าวหาที่ว่าระบบซึ่งอิงกับการเลือกตั้งที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันนั้นมีข้อบกพร่องใช้งานไม่ได้ผล และประเทศชาติจะเดินไปได้ดีกว่านี้ถ้าหากเปลี่ยนไปใช้รัฐสภาที่สมาชิกจำนวนมากมาจากการแต่งตั้ง ได้รับการขานรับจากผู้คนนับพันนับหมื่น ซึ่งเข้าไปร่วมการชุมนุมของพันธมิตรโดยที่ได้ยินข้อเรียกร้องอันก่อให้เกิดการขัดแย้งโต้เถียงกันมากนี้ทีแรกสุดจากทางเอเอสทีวี
เอเอสทีวีซึ่งสามารถเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วนี้ เป็นสถานีทีวีหน้าใหม่ที่เพิ่งเข้าสู่อุตสาหกรรมสื่อวิทยุและโทรทัศน์ที่ถูกควบคุมอย่างแน่นหนาของประเทศไทย โดยที่วงการนี้ถูกครอบงำจากพวกสถานีโทรทัศน์ซึ่งรัฐเป็นเจ้าของและมุ่งหาผลประโยชน์เชิงพาณิชย์เป็นสำคัญ รายการหลักๆ ที่พวกเขานำเสนอโดยทั่วไป จะเป็นจำพวกทอล์กโชว์เบาๆ, ละครน้ำเน่า, และเรื่องซุบซิบนินทา สำหรับรายการข่าวที่นำเสนอทางช่องเหล่านี้ ที่ผ่านมาก็จะเป็นข่าวที่ถูกปรับแต่งอย่างเข้มงวด ตลอดจนเสนอภาพลักษณ์ของรัฐบาลที่กำลังครองอำนาจอยู่ในทางนิยมชมชื่นอย่างสม่ำเสมอ
สภาพแห่งการผูกขาดข่าวสารดังกล่าวนี้ กำลังถูกท้าทายโดยตรงจากความขัดแย้งที่กำลังแผ่ลามขยายตัวคราวนี้ด้วย โดยที่กลุ่มผู้ประท้วงของพันธมิตร ซึ่งมีรายงานว่าบางคนมีปืนเป็นอาวุธด้วย ได้บุกเข้าไประงับการออกอากาศของสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย กรมประชาสัมพันธ์ (เอ็นบีที) อยู่ช่วงระยะหนึ่งเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม ทั้งนี้สถานีโทรทัศน์แห่งนี้บริหารและดำเนินงานโดยสำนักนายกรัฐมนตรี อีกทั้งถูกมองกันอย่างกว้างขวางว่าเป็นกระบอกเสียงของรัฐ พวกนักข่าวของสถานีโทรทัศน์กระแสหลักรายอื่นๆ อาทิ จากช่อง 3 เมื่อไม่นานมานี้ก็ได้ถูกข่มขู่และถูกรังควาญที่บริเวณการชุมนุมของพันธมิตร
กระนั้นก็ตาม จำนวนผู้ชมของเอเอสทีวีก็กำลังเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหมู่ชาวไทยวัยกลางคนและวัยอาวุโสที่เป็นพำนักอาศัยอยู่ในเขตเมือง ในหมู่ผู้ชมที่เลื่อมใสศรัทธาเอเอสทีวี ซึ่งกำลังขยายตัวเติบใหญ่ขึ้นทุกที และยังคงรู้สึกเห็นอกเห็นใจแม้เมื่อเกิดปฏิกิริยาในทางลบต่อการต่อต้านรัฐบาลของพันธมิตรนั้น มีพี่น้องสองสาวที่ต่างก็อยู่ในวัย 50 ปลายๆ รวมอยู่ด้วย
“สถานีโทรทัศน์พวกนั้นแทบไม่มีรายการประเภทที่เราต้องการดูเลย อย่างเรื่องการเมืองในประเทศไทย, การเปิดโปงทุจริตคอร์รัปชั่น, รัฐบาลใช้อำนาจในทางไม่ถูกต้องยังไงมั่ง” ฮุ่ยเหล็ง คนน้องของพี่น้องสองสาวคนไทยเชื้อสายจีนดังกล่าวพูดขึ้น โดยหมายถึงพวกสถานีโทรทัศน์ของรัฐบาลซึ่งเข้าครอบงำคลื่นออกอากาศของประเทศไทยมานานแล้ว อาทิ ช่อง 3 และ ช่อง 7 สถานีโทรทัศน์ภาษาไทยทั้ง 2 ช่องที่กล่าวถึงนี้ ซึ่งต่างก็ดำเนินงานโดยบริษัทเอกชนที่ได้รับสัมปทานนั้น รวมกันแล้วยึดครองส่วนแบ่งตลาดผู้ชมทีวีของประเทศไปถึง 60%
“เราต้องการรู้ให้มากขึ้นเกี่ยวกับความจริงที่กำลังเกิดขึ้นในประเทศของเรา เราต้องการรู้ข่าวคราวที่เป็นผลลบต่อรัฐบาลชุดนี้” ฮุ่ยเหล็งซึ่งเป็นชาวกรุงเทพฯพูดต่อ ขณะที่เธอนั่งอยู่หน้าทีวีซึ่งเปิดช่องเอเอสทีวี “คุณไม่สามารถได้ข่าวมูลข่าวสารแบบนี้จากช่องอื่นๆ หรอก”
ตั้งแต่ปลายเดือนพฤษภาคมเป็นต้น รายงานต่างๆ ของเอเอสทีวีส่วนใหญ่แล้วเป็นคำปราศรัยของทางพันธมิตรที่ถ่ายทอดจากเวทีซึ่งมีการโยกย้ายไปมาหลายที่ในกรุงเทพฯ การชุมนุมของพันธมิตรที่จัดสอดคล้องกับการออกอากาศทางทีวีอย่างเหมาะเจาะ มีเนื้อหาเต็มไปด้วยการวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลที่นำโดยนายสมัคร ผู้ได้รับเลือกตั้งในนามของพรรคพลังประชาชน ในการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อเดือนธันวาคมปีที่แล้ว กลุ่มผู้ประท้วงกลุ่มนี้กล่าวหานายสมัครว่ากำลังทำตนเป็นตัวแทนของอดีตนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ผู้ซึ่งถูกขับออกจากอำนาจด้วยการรัฐประหารของฝ่ายทหารในปี 2006 และเวลานี้กำลังหลบหนีคดีอยู่ในอังกฤษ
นอกเหนือจากข้อกล่าวหาในเรื่องการทุจริตและการใช้อำนาจในทางมิชอบแล้ว คณะรัฐบาลของนายสมัครยังถูกกลุ่มพันธมิตรกล่าวหาด้วยว่า ไม่รักชาติและไม่จงรักภักดีต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ผู้เป็นที่เคารพรักของประชาชนในประเทศนี้
“รายงานทั้งหมดของเราในเวลานี้ มอบให้ทั้งหมดเลยแก่สิ่งที่กำลังพูดปราศรัยกันอยู่ในที่ชุมนุมของกลุ่มพันธมิตร” เป็นคำกล่าวของ ชฎาภรณ์ ลิน บรรณาธิการบริหารของช่องภาษาอังกฤษของสถานีโทรทัศน์แห่งนี้ “คำปราศรัยเช่นนี้สามารถดึงดูดผู้ชมของเรา ถึงแม้วัสดุเหล่านี้จะใช้ภาษาที่แรง, อัตวิสัย, และมีอคติ แต่คำปราศรัยในเรื่องเกี่ยวกับการทุจริตและการใช้อำนาจในทางมิชอบ คือสิ่งที่สาธารณชนจะไม่ได้รับชมจากพวกสถานีทีวีเพื่อการค้าช่องอื่นๆ เลย”
ส่วนที่ผสมผสานไปกับคำปราศรัยจากเวทีพันธมิตร คือสิ่งที่มาจากทีมผู้สื่อข่าวรวม 15 ทีมของทางสถานีเอง ซึ่งผลิตออกมาจากศูนย์บัญชาการแห่งใหม่ของพันะมิตร นั่นคือทำเนียบรัฐบาล ซึ่งผู้ประท้วงต่อต้านรัฐบาลเหล่านี้ได้บุกเข้าไปเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม ในการแสดงออกซึ่งการประท้วงในรูปของอารยะขัดขืนที่ไม่ยังไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน รายงานของทีมผู้สื่อข่าวเหล่านี้ อาทิ ข่าวการข่มขู่คุกคามต่อผู้ประท้วง เมื่อได้มีการส่งต่อไปออกอากาศยังสถานี ก็ทำให้มีผู้เห็นอกเห็นใจพันธมิตรหลั่งไหลกันมาที่ทำเนียบรัฐบาลกันเพิ่มขึ้นอีกมาก
การระดมพลในลักษณะนี้สามารถกระทำได้ ส่วนสำคัญทีเดียวเนื่องมาจากการที่เอเอสทีวีสามารถเข้าถึงผู้ชมทั่วประเทศ โดยที่ชฎาภรณ์กล่าวในการให้สัมภาษณ์ว่า ปัจจุบันมีผู้ชมเอเอสทีวีอยู่ประมาณ 20 ล้านคน “ผู้ชมของเราเพิ่มจำนวนขึ้นเป็นสองเท่าตัวตั้งแต่ปี 2006 โดยที่ตอนนั้นเรามีผู้ชมอยู่ 10 ล้านคน เนื่องจากเรานำเสนอข่าวสารการเมืองในด้านที่ไม่อาจหาดูได้จากทีวีของรัฐ”
จำนวนผู้ชมเอเอสทีวีที่เพิ่มมากขึ้น ยังปรากฏหลักฐานในรูปของจานดาวเทียมสีเหลืองที่ติดเครื่องหมายของเอเอสทีวี ซึ่งงอกเงยให้เห็นอย่างรวดเร็วเป็นดอกเห็ดตามหลังคาและระเบียงของบ้านพักและอาคารอพาร์ตเมนต์ทั้งในกรุงเทพฯและต่างจังหวัด เฉพาะในกรุงเทพฯแห่งเดียว สถานีสามารถขายจานดาวเทียมไปได้ 200,000 ชุด ซึ่งเป็นหนึ่งในห้าของจานดาวเทียม 1 ล้านชุดที่ขายไปทั่วประเทศโดย ทรู วิชั่น บริษัทเคเบิลทีวีรายใหญ่ที่สุดของประเทศไทยเวลานี้
แต่หากผู้ชมไม่สามารถเปิดชมเอเอสทีวีผ่านทางจานดาวเทียม หรือผ่านบริษัทเคเบิลทีวีในต่างจังหวัดได้แล้ว ก็ยังมีอีกช่องทางหนึ่งนั่นคือทางอินเทอร์เน็ต เว็บไซต์ผู้จัดการ อันเป็นชื่อหนังสือพิมพ์ที่ผลิตโดยบริษัทแม่ของเอเอสทีวี มีจำนวนของผู้ที่เข้าชมประจำเพิ่มขึ้นอย่างน่าตื่นใจเช่นกัน และเวลานี้ติดอันดับ 3 ใน 10 เว็บไซต์ภาษาไทยซึ่งได้รับความนิยมสูงสุด ทั้งนี้ตามการสำรวจของเว็บไซต์ที่คอยติดตามการสัญจรบนอินเทอร์เน็ต นอกจากนั้น ในบรรดาเว็บไซต์อื่นๆ อีก 9 แห่งใน 10 ยอดนิยมเหล่านี้ มี 8 แห่งที่เป็นเว็บไซต์ซึ่งโฟกัสไปที่เรื่องเกม, ดนตรี, ความสนใจของวัยรุ่น, และการหาคู่
เอเอสทีวีได้รับเครดิตในฐานะที่กำลังผลักดันประเทศไทยให้เคลื่อนเข้าสู่แนวโน้มทางเทคโนโลยีใหม่ที่กำลังขยายตัวไปทั่วโลก นั่นคือ เทคโนโลยีแห่งข้อมูลข่าวสารที่หลั่งไหลผ่านการแพร่ภาพออกอากาศโดยดาวเทียม “เอเอสทีวีเป็นตัวช่วยเร่งความเคลื่อนไหวไปสู่ระบบทีวีที่อิงกับดาวเทียม ซึ่งแตกต่างจากทีวีแพร่ภาพออกอากาศกระจายไปทั่วแบบเก่า” เป็นความเห็นของ ลอเรนต์ มาเลสไพน์ นักวิเคราะห์ด้านสื่อไทย “มันเป็นการท้าทายแวดวงสื่อเก่าในประเทศนี้”
(รายงานข่าวของสำนักข่าวอินเตอร์เพรสเซอร์วิส และเพิ่มเติมโดย เอเชียไทมส์ออนไลน์)