(จากเอเชียไทมส์ออนไลน์ www.atimes.com)
Fukuda s heir faces daunting task
By Kosuke Takahashi
2/09/2008
ทาโร อาโซะ คงไม่ต้องเผชิญกับอุปสรรคอะไรนักในการขึ้นมาแทนที่ ยาสุโอะ ฟุคุดะ ผู้ประกาศลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นอย่างเหนือความคาดคิดเมื่อวันจันทร์(1)ที่ผ่านมา ทว่าบททดสอบที่แท้จริงสำหรับอาโซะ จะอยู่ที่การพลิกฟื้นโชคชะตาของพรรครัฐบาล นั่นคือพรรค ลิเบอรัล เดโมแครติก ปาร์ตี้ ให้สามารถรอดพ้นความปราชัยในการเลือกตั้งทั่วไป ที่ใครๆ ต่างเล็งกันว่าคงจะต้องจัดขึ้นก่อนกำหนดวาระ
โตเกียว – การประกาศแบบสุดเซอร์ไพรซ์ของนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น ยาสุโอะ ฟุคุดะ เมื่อคืนวันจันทร์(1) ว่าเขาจะก้าวลงจากตำแหน่ง นับเป็นการซ้ำรอยผู้นำรัฐบาลแดนอาทิตย์อุทัยคนก่อนหน้าเขา ซึ่งก็คือ ชินโซ อาเบะ ผู้ขอถอนตัวจากตำแหน่งหัวหน้าคณะผู้บริหารประเทศอย่างกะทันหันเหมือนกัน ในช่วงเวลาประมาณเดียวกันนี้ของปีที่แล้ว
ความผันผวนวุ่นวายเช่นนี้สะท้อนให้เห็นถึงภาวะความบกพร่องไม่อาจทำหน้าที่ได้อย่างสมบูรณ์ของระบบการเมืองของประเทศเจ้าของเศรษฐกิจที่ใหญ่โตเป็นอันดับสองของโลก โดยที่ด้านหนึ่งต้องเจอแรงกระทบกระแทกจากฝ่ายค้านที่มีพลังเข้มแข็ง ขณะที่อีกด้านหนึ่งก็ต้องประสบภาวะเศรษฐกิจตกทรุดอย่างรุนแรง ทาโร อาโซะ บุคคลที่กำลังกลายเป็นความหวังที่สุดของพรรค ลิเบอรัล เดโมแครติก ปาร์ตี้ (แอลดีพี) อันเป็นแกนนำคณะรัฐบาลผสม น่าที่จะขึ้นมาแทนที่ฟุคุดะได้อย่างไม่ยากเย็นอะไร แต่ว่าอาโซะก็จะต้องก้าวเดินไปข้างหน้าบนหนทางที่ลำบากขรุขระ กระทั่งอาจจะต้องจัดการเลือกตั้งสภาล่างก่อนกำหนดวาระ โดยที่อาจลงเอยด้วยการเปลี่ยนพรรครัฐบาล ซึ่งจะกลายเป็นการพลิกผันเปลี่ยนขั้วอำนาจครั้งสำคัญมากสำหรับญี่ปุ่น ประเทศที่ในทางพฤตินัยแล้วมีการปกครองโดยพรรคแอลดีพีพรรคเดียวมาเป็นเวลากว่าครึ่งศตวรรษ
ฟุคุดะ ผู้อยู่ในวัย 72 ปี แถลงในวันจันทร์ว่า เขาต้องลาออกเพราะประสบกับทางตันทางการเมือง ซึ่งทำให้เขาไม่สามารถที่จะนำเอานโยบายสำคัญๆ มาปฏิบัติได้ ภาวะไร้ทางออกทางการเมืองเช่นนี้ที่สำคัญแล้วก็สืบเนื่องจากการพ่ายแพ้ของพรรคแอลดีพีในการเลือกตั้งสมาชิกสภาสูงเมื่อเดือนกรกฎาคม 2007 ที่พวกฝ่ายค้านนำโดยพรรค เดโมแครติก ปาร์ตี้ ออฟ แจแปน (ดีพีเจ) สามารถครองเสียงข้างมากได้สำเร็จ
แอลดีพีกำหนดที่จะจัดเลือกตั้งตำแหน่งประธานพรรคคนใหม่ในวันที่ 22 กันยายนนี้ และเนื่องจากพรรคเป็นแกนนำรัฐบาลผสมอยู่แล้ว บุคคลผู้นี้ก็จะได้ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีคนต่อไปโดยอัตโนมัติ ทางพรรคดูจะมุ่งมั่นให้การเลือกตั้งประธานพรรคคราวนี้ ซึ่งจะมีการรณรงค์แข่งขันกันที่มีการถ่ายทอดออกอากาศทางโทรทัศน์ สามารถกลายเป็นจุดดึงดูดความสนใจของประชาชน อันจะช่วยแอลดีพีทำคะแนนเป็นที่ยอมรับของผู้ออกเสียงให้กระเตื้องดีขึ้น จนมีโอกาสที่จะเป็นผู้ชนะในการเลือกตั้งสมาชิกสภาล่างคราวต่อไป เห็นกันว่าครั้งนี้อาจเป็นโอกาสหนสุดท้ายของแอลดีพีแล้วที่จะทำให้พรรคกลับมีความแข็งแกร่งขึ้นอีกครั้งหนึ่ง
ทางด้านพรรคดีพีเจ ที่เป็นพรรคฝ่ายค้านสำคัญที่สุด ก็จะมีการเลือกตั้งตำแหน่งประธานพรรคเช่นกันในวันที่ 8 กันยายน ทว่าคาดหมายกันแล้วว่า อิชิโร โอซาวะ ผู้นำพรรคคนปัจจุบันจะได้ดำรงตำแหน่งต่อไปโดยไม่มีใครมาท้าทายขอแข่งขันด้วย ซึ่งก็เท่ากับตัดโอกาสที่จะประชาสัมพันธ์นโยบายหลักๆ ของดีพีเจให้สาธารณชนได้รับรู้ไปด้วย
อาโซะ ปัจจุบันมีอายุ 67 ปี ถือเป็นพันธมิตรทางการเมืองของฟุคุดะ และปัจจุบันเป็นหมายเลขสองอยู่ในแอลดีพี โดยดำรงตำแหน่งเลขาธิการพรรค เป็นที่คาดหมายกันว่าเขาน่าจะสามารถเอาชนะผู้ที่อาจประกาศตัวแข่งขันชิงเก้าอี้ประธานพรรคกับเขา ไม่ว่าจะเป็น ยูริโกะ โคอิเกะ อดีตผู้ประกาศข่าวทีวีสตรีซึ่งเป็นที่รู้จักกันในวงกว้าง หรือ ซาดาคาซุ ทานิงากิ อดีตรัฐมนตรีคลัง ตลอดจนคนอื่นๆ
“เท่าที่ผ่านมาอาโซะยังคงเป็นนักการเมืองที่ได้รับความนิยมจากสาธารณชนมากที่สุดอยู่ดี” เจอรัลด์ เคอร์ติส ศาสตราจารย์ด้านการเมืองญี่ปุ่นแห่งมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย บอกกับเอเชียไทมส์ออนไลน์ ในการให้สัมภาษณ์ผ่านทางอีเมล์ “เขาอาจจะประกาศจัดการเลือกตั้งทั่วไปขึ้นมาภายในเวลาหนึ่งหรือสองเดือนหลังนั่งเก้าอี้นายกรัฐมนตรีแล้ว ทั้งนี้เพื่อพยายามใช้ประโยชน์จากคะแนนนิยมของเขาที่น่าจะต้องพุ่งสูงขึ้นมาเมื่อเขาเข้าดำรงตำแหน่ง ให้กลายเป็นคะแนนเสียงเลือกพรรคแอลดีพีให้ได้ ก่อนที่สาธารณชนจะค้นพบว่าเขาเองก็ทำไม่ได้ดีไปกว่าฟุคุดะเลย ในการพยายามผลักดันสิ่งต่างๆ จำนวนมาก ซึ่งพรรคดีพีเจคัดค้านอยู่”
**ปัญหารุมเร้าทุกด้าน**
“จากการเฝ้ามองความเปลี่ยนแปลงของอากาศอย่างรอบคอบของผม สิ่งต่างๆ ไม่ได้เอื้ออำนวยให้ผมรักษาตำแหน่งเอาไว้เลย” ฟุคุดะกล่าวในระหว่างการแถลงข่าวถ่ายทอดออกอากาศทางโทรทัศน์ทั่วประเทศ ซึ่งจัดขึ้นอย่างเร่งด่วนเมื่อคืนวันจันทร์ “ผมสามารถที่จะมองเห็นตัวเองด้วยสายตาแบบภววิสัยไม่มีอคติ ผมน่ะแตกต่างจากคุณ” เขาพูดขึ้นเสียงแบบมีอารมณ์ เมื่อถูกนักข่าวผู้หนึ่งตั้งคำถามพาดพิงถึงท่าทีที่ดูเยือกเย็นมากของเขา ในการประกาศลาออกจากตำแหน่งแบบเหนือความคาดหมายเช่นนี้
ทางพรรคฝ่ายค้านได้วิพากษ์โจมตีฟุคุดะทันที โดยบอกว่าเขา “ช่างไร้ความรับผิดชอบเหลือเกิน” ในการถอดใจยุติการกุมบังเหียนรัฐบาลเสียดื้อๆ
การประกาศลาออกอย่างกะทันหันของฟุคุดะ บังเกิดขึ้นขณะรัฐบาลและพวกพรรคร่วมรัฐบาลได้ประชุมหารือกันในวันศุกร์ที่แล้ว(29ส.ค.) เพื่อจัดทำแผนการกระตุ้นเศรษฐกิจอันประกอบด้วยมาตรการจำนวนมากรวมเป็นมูลค่าราว 108,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพื่อรับมือกับภาวะราคาสินค้าผู้บริโภคและน้ำมันดิบต่างขยับขึ้นลิ่ว
ฟุคุดะอาจจะตระหนักอย่างชัดเจนว่าเขาตกอยู่ในฐานะที่ไม่สามารถแสดงความเป็นผู้นำอะไรได้ อีกทั้งต้องเผชิญปัญหาแรงกดดันรุมเร้าจากทุกๆ ด้านทั้งภายในและภายนอกพรรคแอลดีพี เขาเคยประกาศที่จะให้ความสำคัญกับเรื่องวินัยทางการคลัง มากกว่าเรื่องการตั้งงบประมาณใช้จ่ายเพิ่มเติม ทว่าแผนการกระตุ้นเศรษฐกิจคราวนี้กลับมีมาตรการอย่างเช่น การลดหย่อนภาษีเป็นเวลา 1 ปีให้แก่กลุ่มผู้มีรายได้น้อยและรายได้ปานกลาง พรรคนิว โคเมอิโตะ ซึ่งเป็นพรรคร่วมจัดตั้งรัฐบาลกับแอลดีพี เป็นผู้นำที่แข็งขันในการผลักดันมาตรการลดหย่อนภาษีนี้ โดยร่วมมือประสานงานอย่างใกล้ชิดกับอาโซะ และนี่อาจสร้างความหงุดหงิดไม่พอใจให้แก่ฟุคุดะ
สิ่งที่ทำให้เรื่องยิ่งเลวร้ายลงไปอีกก็คือ ทั้งๆ ที่ญี่ปุ่นมีโอกาสเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมซัมมิตกลุ่ม 8 ชาติอุตสาหกรรมชั้นนำของโลก (จี8) ในเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา รวมทั้งฟุคุดะก็ได้ประกาศปรับปรุงคณะรัฐมนตรีครั้งแรกไปเมื่อเดือนสิงหาคม ตลอดจนเขายังให้คำมั่นสัญญาที่จะลดหย่อนภาษี ทว่าสิ่งเหล่านี้กลับไม่ได้ส่งผลในทางเพิ่มคะแนนนิยมของตัวเขาและคณะรัฐบาลของเขาเลย ผลสำรวจประชามติครั้งหลังๆ มานี้ชี้ว่า อัตราความยอมรับในคณะรัฐบาลของเขายังคงอยู่แถวๆ 20 เปอร์เซ็นต์กลางๆ ไปจนถึงปลายๆ สภาพเช่นนี้คล้ายคลึงกับคณะรัฐบาลของนายกรัฐมนตรีโยชิโร โมริ ซึ่งไม่เป็นที่นิยมของประชาชนและต้องไขก๊อกออกไปในปี 2001 ภายหลังดำรงตำแหน่งมาได้เพียงประมาณ 1 ปี ตัวฟุคุดะก็อยู่ในราวๆ นั้นเช่นกัน โดยขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีในเดือนกันยายนปีที่แล้ว ภายหลังการลาออกของ ชินโซ อาเบะ
โมริ ซึ่งยังคงมีอิทธิพลอย่างสูงภายในมุ้งใหญ่ที่สุดและทรงอิทธิพลที่สุดของแอลดีพี ที่เวลานี้นำโดยเลขาธิการคณะรัฐมนตรี นาบุทากะ มาชิมูระ ได้ออกมาพูดย้ำหลายครั้งว่าอาโซะควรได้เป็นนายกรัฐมนตรีคนต่อไป โดยชี้ว่าอาโซะมีความสามารถที่จะนำพาพรรคเข้าสู่การเลือกตั้งระดับชาติครั้งต่อไป
เหตุผลอีกประการหนึ่งที่ทำให้ฟุคุดะตัดสินใจลาออก อาจจะเป็นการที่มีโอกาสน้อยเหลือเกิน ที่จะผ่านร่างกฎหมายเพื่อขยายเวลาปฏิบัติภารกิจในมหาสมุทรอินเดีย ของกองกำลังป้องกันตนเองทางทะเล (กองทัพเรือ) ของญี่ปุ่น ในการทำหน้าที่เติมน้ำมันให้แก่ปฏิบัติการต่อต้านการก่อการร้ายทั้งในและรอบๆ อัฟกานิสถาน ในระหว่างที่จะมีการเปิดประชุมไดเอต (รัฐสภา) สมัยวิสามัญ ร่างกฎหมายฉบับนี้ถือว่าเป็นประเด็นที่มีลำดับความสำคัญสูงสำหรับพรรคแนวทางอนุรักษนิยมอย่างแอลดีพี โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อการปฏิบัติภารกิจนี้ถือเป็นเสาหลักต้นหนึ่งของความเป็นพันธมิตรทางทหารระหว่างญี่ปุ่นกับสหรัฐฯ ตลอดจนของการปฏิบัติตามคำมั่นสัญญาของญี่ปุ่นในความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อต่อสู้กับการก่อการร้าย
ปีที่แล้วแอลดีพีประสบความล้มเหลวมาครั้งหนึ่งแล้ว ในการผลักดันให้รัฐสภายืดอายุกฎหมายฉบับเดิมที่อนุญาตให้ปฏิบัติภารกิจดังกล่าวนี้ สืบเนื่องจากสภาสูงที่พวกฝ่ายค้านควบคุมอยู่ ได้ลงมติให้ร่างแก้ไขต่ออายุต้องตกไป ขณะเดียวกัน ในเวลานี้พรรคนิว โคเมอิโตะ ที่เป็นพรรคร่วมรัฐบาลของแอลดีพี ก็ยังคงแสดงความไม่ค่อยเต็มใจนักที่จะมีความร่วมมือทางทหารกับสหรัฐฯ
“ตัวฟุคุดะเองไม่ได้มีความสามารถที่จะออกไปพูดจาโน้มน้าวสาธารณชนให้เห็นดีเห็นงามกับนโยบายของเขา” เคอร์ติส ศาสตราจารย์ด้านการเมืองญี่ปุ่นแห่งมหาวิทยาลัยโคลัมเบียให้ความเห็น “เมื่อเขาตระหนักว่าพรรคดีพีเจกำลังจะคัดค้านเขาในประเด็นเรื่องภารกิจที่มหาสมุทรอินเดีย เช่นเดียวกับที่เคยคัดค้านเรื่องอื่นๆ ทุกเรื่องมาแล้ว และเมื่อคะแนนความเชื่อถือของประชาชนในตัวเขาก็ไม่ได้พุ่งขึ้นเลยทั้งๆ ที่เขาได้ปรับปรุงคณะรัฐมนตรีไปแล้ว แถมพรรคโคเมอิโตะยังทำท่าต้องการให้มีการเลือกตั้งโดยเร็ว เหล่านี้เขาจึงได้ข้อสรุปว่า การประชุมไดเอตสมัยนี้ก็จะต้องเต็มไปด้วยการโต้แย้งเอาชนะคะคานกันเหมือนกับสมัยที่แล้ว โดยที่เขาเองก็ไม่เป็นที่นิยมของประชาชนจนเกินกว่าที่จะนำพาพรรคเข้าสู่การเลือกตั้ง ดังนั้น เขาจึงตัดสินใจที่จะถอนตัวออกมาก่อนไดเอตจะเปิดสมัยประชุม”
อย่างไรก็ตาม แม้อาโซะจะเป็นที่นิยมชมชื่นของคนวัยหนุ่มสาว จากการที่เขาไม่ลังเลที่จะประกาศว่าเขาชอบอ่านหนังสือการ์ตูนญี่ปุ่นและชมภาพยนตร์การ์ตูนญี่ปุ่น แต่เขาก็ยังจะต้องเผชิญกับภารกิจอันน่าหนักใจอย่างเดียวกับที่ฟุคุดะประสบมา ยิ่งการลาออกของฟุคุดะกำลังกลายเป็นการเพิ่มความปั่นป่วนผันผวนทางการเมือง ทำให้คาดหมายกันว่าจะต้องมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาล่างก่อนกำหนดวาระ โดยเป็นไปได้ว่าอาจจะภายในปีนี้ และผลการเลือกตั้งอาจจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงในคณะรัฐบาล
กระนั้นก็ตาม เคอร์ติสซึ่งได้ไปรับประทานอาหารค่ำกับอาโซะในเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา กล่าวว่า อาโซะ “มีความมั่นอกมั่นใจมากว่าเขาจะได้รับความนิยมจากประชาชนมากกว่าผู้นำฝ่ายค้านอย่างโอซาวะ”
ในอีกด้านหนึ่ง หากอาโซะได้รับเลือกเป็นนายกรัฐมนตรี แม้เขาอาจจะเป็นที่ชื่นชอบของผู้คนในญี่ปุ่น ทว่าความสัมพันธ์ทางการทูตของญี่ปุ่นกับพวกประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะเกาหลีใต้ อาจจะอยู่ในอาการตึงเครียด เนื่องจากเขามีจุดยืนแบบเหยี่ยวในด้านนโยบายการต่างประเทศ เฉกเช่นเดียวกับอดีตนายกรัฐมนตรี ชินโซ อาเบะ คำพูดของอาโซะที่ว่า ระหว่างที่ญี่ปุ่นปกครองเกาหลีแบบอาณานิคมอยู่นั้น ประชาชนชาวเกาหลีหันมาใช้ชื่อแบบญี่ปุ่นด้วยความสมัครใจเอง เรื่องนี้ทำให้คนเกาหลีโกรธกริ้วมาก จนกระทั่งเกิดการประท้วงคัดค้านทั้งจากรัฐบาลเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้ และจากชาวเกาหลีทั้งที่อยู่ในประเทศและต่างประเทศ เวลานี้พวกหนังสือพิมพ์เกาหลีใต้ก็ได้แสดงความกังวลใจแล้ว ในเรื่องที่เหยี่ยวร้ายตัวกลั่นอย่างอาโซะจะก้าวขึ้นสู่อำนาจ
โคสุเกะ ทาคาฮาชิ เคยเป็นนักเขียนประจำกองบรรณาธิการหนังสือพิมพ์อาซาฮีชิมบุง เวลานี้เป็นผู้สื่อข่าวอิสระที่พำนักอยู่ในกรุงโตเกียว สามารถติดต่อเขาได้ที่ letters@kosuke.net
Fukuda s heir faces daunting task
By Kosuke Takahashi
2/09/2008
ทาโร อาโซะ คงไม่ต้องเผชิญกับอุปสรรคอะไรนักในการขึ้นมาแทนที่ ยาสุโอะ ฟุคุดะ ผู้ประกาศลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นอย่างเหนือความคาดคิดเมื่อวันจันทร์(1)ที่ผ่านมา ทว่าบททดสอบที่แท้จริงสำหรับอาโซะ จะอยู่ที่การพลิกฟื้นโชคชะตาของพรรครัฐบาล นั่นคือพรรค ลิเบอรัล เดโมแครติก ปาร์ตี้ ให้สามารถรอดพ้นความปราชัยในการเลือกตั้งทั่วไป ที่ใครๆ ต่างเล็งกันว่าคงจะต้องจัดขึ้นก่อนกำหนดวาระ
โตเกียว – การประกาศแบบสุดเซอร์ไพรซ์ของนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น ยาสุโอะ ฟุคุดะ เมื่อคืนวันจันทร์(1) ว่าเขาจะก้าวลงจากตำแหน่ง นับเป็นการซ้ำรอยผู้นำรัฐบาลแดนอาทิตย์อุทัยคนก่อนหน้าเขา ซึ่งก็คือ ชินโซ อาเบะ ผู้ขอถอนตัวจากตำแหน่งหัวหน้าคณะผู้บริหารประเทศอย่างกะทันหันเหมือนกัน ในช่วงเวลาประมาณเดียวกันนี้ของปีที่แล้ว
ความผันผวนวุ่นวายเช่นนี้สะท้อนให้เห็นถึงภาวะความบกพร่องไม่อาจทำหน้าที่ได้อย่างสมบูรณ์ของระบบการเมืองของประเทศเจ้าของเศรษฐกิจที่ใหญ่โตเป็นอันดับสองของโลก โดยที่ด้านหนึ่งต้องเจอแรงกระทบกระแทกจากฝ่ายค้านที่มีพลังเข้มแข็ง ขณะที่อีกด้านหนึ่งก็ต้องประสบภาวะเศรษฐกิจตกทรุดอย่างรุนแรง ทาโร อาโซะ บุคคลที่กำลังกลายเป็นความหวังที่สุดของพรรค ลิเบอรัล เดโมแครติก ปาร์ตี้ (แอลดีพี) อันเป็นแกนนำคณะรัฐบาลผสม น่าที่จะขึ้นมาแทนที่ฟุคุดะได้อย่างไม่ยากเย็นอะไร แต่ว่าอาโซะก็จะต้องก้าวเดินไปข้างหน้าบนหนทางที่ลำบากขรุขระ กระทั่งอาจจะต้องจัดการเลือกตั้งสภาล่างก่อนกำหนดวาระ โดยที่อาจลงเอยด้วยการเปลี่ยนพรรครัฐบาล ซึ่งจะกลายเป็นการพลิกผันเปลี่ยนขั้วอำนาจครั้งสำคัญมากสำหรับญี่ปุ่น ประเทศที่ในทางพฤตินัยแล้วมีการปกครองโดยพรรคแอลดีพีพรรคเดียวมาเป็นเวลากว่าครึ่งศตวรรษ
ฟุคุดะ ผู้อยู่ในวัย 72 ปี แถลงในวันจันทร์ว่า เขาต้องลาออกเพราะประสบกับทางตันทางการเมือง ซึ่งทำให้เขาไม่สามารถที่จะนำเอานโยบายสำคัญๆ มาปฏิบัติได้ ภาวะไร้ทางออกทางการเมืองเช่นนี้ที่สำคัญแล้วก็สืบเนื่องจากการพ่ายแพ้ของพรรคแอลดีพีในการเลือกตั้งสมาชิกสภาสูงเมื่อเดือนกรกฎาคม 2007 ที่พวกฝ่ายค้านนำโดยพรรค เดโมแครติก ปาร์ตี้ ออฟ แจแปน (ดีพีเจ) สามารถครองเสียงข้างมากได้สำเร็จ
แอลดีพีกำหนดที่จะจัดเลือกตั้งตำแหน่งประธานพรรคคนใหม่ในวันที่ 22 กันยายนนี้ และเนื่องจากพรรคเป็นแกนนำรัฐบาลผสมอยู่แล้ว บุคคลผู้นี้ก็จะได้ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีคนต่อไปโดยอัตโนมัติ ทางพรรคดูจะมุ่งมั่นให้การเลือกตั้งประธานพรรคคราวนี้ ซึ่งจะมีการรณรงค์แข่งขันกันที่มีการถ่ายทอดออกอากาศทางโทรทัศน์ สามารถกลายเป็นจุดดึงดูดความสนใจของประชาชน อันจะช่วยแอลดีพีทำคะแนนเป็นที่ยอมรับของผู้ออกเสียงให้กระเตื้องดีขึ้น จนมีโอกาสที่จะเป็นผู้ชนะในการเลือกตั้งสมาชิกสภาล่างคราวต่อไป เห็นกันว่าครั้งนี้อาจเป็นโอกาสหนสุดท้ายของแอลดีพีแล้วที่จะทำให้พรรคกลับมีความแข็งแกร่งขึ้นอีกครั้งหนึ่ง
ทางด้านพรรคดีพีเจ ที่เป็นพรรคฝ่ายค้านสำคัญที่สุด ก็จะมีการเลือกตั้งตำแหน่งประธานพรรคเช่นกันในวันที่ 8 กันยายน ทว่าคาดหมายกันแล้วว่า อิชิโร โอซาวะ ผู้นำพรรคคนปัจจุบันจะได้ดำรงตำแหน่งต่อไปโดยไม่มีใครมาท้าทายขอแข่งขันด้วย ซึ่งก็เท่ากับตัดโอกาสที่จะประชาสัมพันธ์นโยบายหลักๆ ของดีพีเจให้สาธารณชนได้รับรู้ไปด้วย
อาโซะ ปัจจุบันมีอายุ 67 ปี ถือเป็นพันธมิตรทางการเมืองของฟุคุดะ และปัจจุบันเป็นหมายเลขสองอยู่ในแอลดีพี โดยดำรงตำแหน่งเลขาธิการพรรค เป็นที่คาดหมายกันว่าเขาน่าจะสามารถเอาชนะผู้ที่อาจประกาศตัวแข่งขันชิงเก้าอี้ประธานพรรคกับเขา ไม่ว่าจะเป็น ยูริโกะ โคอิเกะ อดีตผู้ประกาศข่าวทีวีสตรีซึ่งเป็นที่รู้จักกันในวงกว้าง หรือ ซาดาคาซุ ทานิงากิ อดีตรัฐมนตรีคลัง ตลอดจนคนอื่นๆ
“เท่าที่ผ่านมาอาโซะยังคงเป็นนักการเมืองที่ได้รับความนิยมจากสาธารณชนมากที่สุดอยู่ดี” เจอรัลด์ เคอร์ติส ศาสตราจารย์ด้านการเมืองญี่ปุ่นแห่งมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย บอกกับเอเชียไทมส์ออนไลน์ ในการให้สัมภาษณ์ผ่านทางอีเมล์ “เขาอาจจะประกาศจัดการเลือกตั้งทั่วไปขึ้นมาภายในเวลาหนึ่งหรือสองเดือนหลังนั่งเก้าอี้นายกรัฐมนตรีแล้ว ทั้งนี้เพื่อพยายามใช้ประโยชน์จากคะแนนนิยมของเขาที่น่าจะต้องพุ่งสูงขึ้นมาเมื่อเขาเข้าดำรงตำแหน่ง ให้กลายเป็นคะแนนเสียงเลือกพรรคแอลดีพีให้ได้ ก่อนที่สาธารณชนจะค้นพบว่าเขาเองก็ทำไม่ได้ดีไปกว่าฟุคุดะเลย ในการพยายามผลักดันสิ่งต่างๆ จำนวนมาก ซึ่งพรรคดีพีเจคัดค้านอยู่”
**ปัญหารุมเร้าทุกด้าน**
“จากการเฝ้ามองความเปลี่ยนแปลงของอากาศอย่างรอบคอบของผม สิ่งต่างๆ ไม่ได้เอื้ออำนวยให้ผมรักษาตำแหน่งเอาไว้เลย” ฟุคุดะกล่าวในระหว่างการแถลงข่าวถ่ายทอดออกอากาศทางโทรทัศน์ทั่วประเทศ ซึ่งจัดขึ้นอย่างเร่งด่วนเมื่อคืนวันจันทร์ “ผมสามารถที่จะมองเห็นตัวเองด้วยสายตาแบบภววิสัยไม่มีอคติ ผมน่ะแตกต่างจากคุณ” เขาพูดขึ้นเสียงแบบมีอารมณ์ เมื่อถูกนักข่าวผู้หนึ่งตั้งคำถามพาดพิงถึงท่าทีที่ดูเยือกเย็นมากของเขา ในการประกาศลาออกจากตำแหน่งแบบเหนือความคาดหมายเช่นนี้
ทางพรรคฝ่ายค้านได้วิพากษ์โจมตีฟุคุดะทันที โดยบอกว่าเขา “ช่างไร้ความรับผิดชอบเหลือเกิน” ในการถอดใจยุติการกุมบังเหียนรัฐบาลเสียดื้อๆ
การประกาศลาออกอย่างกะทันหันของฟุคุดะ บังเกิดขึ้นขณะรัฐบาลและพวกพรรคร่วมรัฐบาลได้ประชุมหารือกันในวันศุกร์ที่แล้ว(29ส.ค.) เพื่อจัดทำแผนการกระตุ้นเศรษฐกิจอันประกอบด้วยมาตรการจำนวนมากรวมเป็นมูลค่าราว 108,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพื่อรับมือกับภาวะราคาสินค้าผู้บริโภคและน้ำมันดิบต่างขยับขึ้นลิ่ว
ฟุคุดะอาจจะตระหนักอย่างชัดเจนว่าเขาตกอยู่ในฐานะที่ไม่สามารถแสดงความเป็นผู้นำอะไรได้ อีกทั้งต้องเผชิญปัญหาแรงกดดันรุมเร้าจากทุกๆ ด้านทั้งภายในและภายนอกพรรคแอลดีพี เขาเคยประกาศที่จะให้ความสำคัญกับเรื่องวินัยทางการคลัง มากกว่าเรื่องการตั้งงบประมาณใช้จ่ายเพิ่มเติม ทว่าแผนการกระตุ้นเศรษฐกิจคราวนี้กลับมีมาตรการอย่างเช่น การลดหย่อนภาษีเป็นเวลา 1 ปีให้แก่กลุ่มผู้มีรายได้น้อยและรายได้ปานกลาง พรรคนิว โคเมอิโตะ ซึ่งเป็นพรรคร่วมจัดตั้งรัฐบาลกับแอลดีพี เป็นผู้นำที่แข็งขันในการผลักดันมาตรการลดหย่อนภาษีนี้ โดยร่วมมือประสานงานอย่างใกล้ชิดกับอาโซะ และนี่อาจสร้างความหงุดหงิดไม่พอใจให้แก่ฟุคุดะ
สิ่งที่ทำให้เรื่องยิ่งเลวร้ายลงไปอีกก็คือ ทั้งๆ ที่ญี่ปุ่นมีโอกาสเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมซัมมิตกลุ่ม 8 ชาติอุตสาหกรรมชั้นนำของโลก (จี8) ในเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา รวมทั้งฟุคุดะก็ได้ประกาศปรับปรุงคณะรัฐมนตรีครั้งแรกไปเมื่อเดือนสิงหาคม ตลอดจนเขายังให้คำมั่นสัญญาที่จะลดหย่อนภาษี ทว่าสิ่งเหล่านี้กลับไม่ได้ส่งผลในทางเพิ่มคะแนนนิยมของตัวเขาและคณะรัฐบาลของเขาเลย ผลสำรวจประชามติครั้งหลังๆ มานี้ชี้ว่า อัตราความยอมรับในคณะรัฐบาลของเขายังคงอยู่แถวๆ 20 เปอร์เซ็นต์กลางๆ ไปจนถึงปลายๆ สภาพเช่นนี้คล้ายคลึงกับคณะรัฐบาลของนายกรัฐมนตรีโยชิโร โมริ ซึ่งไม่เป็นที่นิยมของประชาชนและต้องไขก๊อกออกไปในปี 2001 ภายหลังดำรงตำแหน่งมาได้เพียงประมาณ 1 ปี ตัวฟุคุดะก็อยู่ในราวๆ นั้นเช่นกัน โดยขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีในเดือนกันยายนปีที่แล้ว ภายหลังการลาออกของ ชินโซ อาเบะ
โมริ ซึ่งยังคงมีอิทธิพลอย่างสูงภายในมุ้งใหญ่ที่สุดและทรงอิทธิพลที่สุดของแอลดีพี ที่เวลานี้นำโดยเลขาธิการคณะรัฐมนตรี นาบุทากะ มาชิมูระ ได้ออกมาพูดย้ำหลายครั้งว่าอาโซะควรได้เป็นนายกรัฐมนตรีคนต่อไป โดยชี้ว่าอาโซะมีความสามารถที่จะนำพาพรรคเข้าสู่การเลือกตั้งระดับชาติครั้งต่อไป
เหตุผลอีกประการหนึ่งที่ทำให้ฟุคุดะตัดสินใจลาออก อาจจะเป็นการที่มีโอกาสน้อยเหลือเกิน ที่จะผ่านร่างกฎหมายเพื่อขยายเวลาปฏิบัติภารกิจในมหาสมุทรอินเดีย ของกองกำลังป้องกันตนเองทางทะเล (กองทัพเรือ) ของญี่ปุ่น ในการทำหน้าที่เติมน้ำมันให้แก่ปฏิบัติการต่อต้านการก่อการร้ายทั้งในและรอบๆ อัฟกานิสถาน ในระหว่างที่จะมีการเปิดประชุมไดเอต (รัฐสภา) สมัยวิสามัญ ร่างกฎหมายฉบับนี้ถือว่าเป็นประเด็นที่มีลำดับความสำคัญสูงสำหรับพรรคแนวทางอนุรักษนิยมอย่างแอลดีพี โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อการปฏิบัติภารกิจนี้ถือเป็นเสาหลักต้นหนึ่งของความเป็นพันธมิตรทางทหารระหว่างญี่ปุ่นกับสหรัฐฯ ตลอดจนของการปฏิบัติตามคำมั่นสัญญาของญี่ปุ่นในความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อต่อสู้กับการก่อการร้าย
ปีที่แล้วแอลดีพีประสบความล้มเหลวมาครั้งหนึ่งแล้ว ในการผลักดันให้รัฐสภายืดอายุกฎหมายฉบับเดิมที่อนุญาตให้ปฏิบัติภารกิจดังกล่าวนี้ สืบเนื่องจากสภาสูงที่พวกฝ่ายค้านควบคุมอยู่ ได้ลงมติให้ร่างแก้ไขต่ออายุต้องตกไป ขณะเดียวกัน ในเวลานี้พรรคนิว โคเมอิโตะ ที่เป็นพรรคร่วมรัฐบาลของแอลดีพี ก็ยังคงแสดงความไม่ค่อยเต็มใจนักที่จะมีความร่วมมือทางทหารกับสหรัฐฯ
“ตัวฟุคุดะเองไม่ได้มีความสามารถที่จะออกไปพูดจาโน้มน้าวสาธารณชนให้เห็นดีเห็นงามกับนโยบายของเขา” เคอร์ติส ศาสตราจารย์ด้านการเมืองญี่ปุ่นแห่งมหาวิทยาลัยโคลัมเบียให้ความเห็น “เมื่อเขาตระหนักว่าพรรคดีพีเจกำลังจะคัดค้านเขาในประเด็นเรื่องภารกิจที่มหาสมุทรอินเดีย เช่นเดียวกับที่เคยคัดค้านเรื่องอื่นๆ ทุกเรื่องมาแล้ว และเมื่อคะแนนความเชื่อถือของประชาชนในตัวเขาก็ไม่ได้พุ่งขึ้นเลยทั้งๆ ที่เขาได้ปรับปรุงคณะรัฐมนตรีไปแล้ว แถมพรรคโคเมอิโตะยังทำท่าต้องการให้มีการเลือกตั้งโดยเร็ว เหล่านี้เขาจึงได้ข้อสรุปว่า การประชุมไดเอตสมัยนี้ก็จะต้องเต็มไปด้วยการโต้แย้งเอาชนะคะคานกันเหมือนกับสมัยที่แล้ว โดยที่เขาเองก็ไม่เป็นที่นิยมของประชาชนจนเกินกว่าที่จะนำพาพรรคเข้าสู่การเลือกตั้ง ดังนั้น เขาจึงตัดสินใจที่จะถอนตัวออกมาก่อนไดเอตจะเปิดสมัยประชุม”
อย่างไรก็ตาม แม้อาโซะจะเป็นที่นิยมชมชื่นของคนวัยหนุ่มสาว จากการที่เขาไม่ลังเลที่จะประกาศว่าเขาชอบอ่านหนังสือการ์ตูนญี่ปุ่นและชมภาพยนตร์การ์ตูนญี่ปุ่น แต่เขาก็ยังจะต้องเผชิญกับภารกิจอันน่าหนักใจอย่างเดียวกับที่ฟุคุดะประสบมา ยิ่งการลาออกของฟุคุดะกำลังกลายเป็นการเพิ่มความปั่นป่วนผันผวนทางการเมือง ทำให้คาดหมายกันว่าจะต้องมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาล่างก่อนกำหนดวาระ โดยเป็นไปได้ว่าอาจจะภายในปีนี้ และผลการเลือกตั้งอาจจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงในคณะรัฐบาล
กระนั้นก็ตาม เคอร์ติสซึ่งได้ไปรับประทานอาหารค่ำกับอาโซะในเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา กล่าวว่า อาโซะ “มีความมั่นอกมั่นใจมากว่าเขาจะได้รับความนิยมจากประชาชนมากกว่าผู้นำฝ่ายค้านอย่างโอซาวะ”
ในอีกด้านหนึ่ง หากอาโซะได้รับเลือกเป็นนายกรัฐมนตรี แม้เขาอาจจะเป็นที่ชื่นชอบของผู้คนในญี่ปุ่น ทว่าความสัมพันธ์ทางการทูตของญี่ปุ่นกับพวกประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะเกาหลีใต้ อาจจะอยู่ในอาการตึงเครียด เนื่องจากเขามีจุดยืนแบบเหยี่ยวในด้านนโยบายการต่างประเทศ เฉกเช่นเดียวกับอดีตนายกรัฐมนตรี ชินโซ อาเบะ คำพูดของอาโซะที่ว่า ระหว่างที่ญี่ปุ่นปกครองเกาหลีแบบอาณานิคมอยู่นั้น ประชาชนชาวเกาหลีหันมาใช้ชื่อแบบญี่ปุ่นด้วยความสมัครใจเอง เรื่องนี้ทำให้คนเกาหลีโกรธกริ้วมาก จนกระทั่งเกิดการประท้วงคัดค้านทั้งจากรัฐบาลเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้ และจากชาวเกาหลีทั้งที่อยู่ในประเทศและต่างประเทศ เวลานี้พวกหนังสือพิมพ์เกาหลีใต้ก็ได้แสดงความกังวลใจแล้ว ในเรื่องที่เหยี่ยวร้ายตัวกลั่นอย่างอาโซะจะก้าวขึ้นสู่อำนาจ
โคสุเกะ ทาคาฮาชิ เคยเป็นนักเขียนประจำกองบรรณาธิการหนังสือพิมพ์อาซาฮีชิมบุง เวลานี้เป็นผู้สื่อข่าวอิสระที่พำนักอยู่ในกรุงโตเกียว สามารถติดต่อเขาได้ที่ letters@kosuke.net