(เก็บความจากเอเชียไทมส์ออนไลน์ www.atimes.com)
Japan’s premiers doomed to failure
By Yasuhiro Tase
11/12/2008
ช่างไม่เหมือนกับในสหรัฐอเมริกาเลย สำหรับบุคคลที่ก้าวขึ้นเป็นผู้นำประเทศในญี่ปุ่นนั้น ตั้งแต่เริ่มต้นทีเดียว อัตราต่อรองของเขาจะหนักไปทางข้างประสบความล้มเหลวมากกว่าประสบความสำเร็จ ในสภาพที่ต้องอยู่ท่ามกลางระบบราชการซึ่งคำนึงถึงผลประโยชน์ของตัวเอง , ต้องเผชิญกับผลสำรวจคะแนนนิยมที่รุกคืบกดดันอยู่ตลอดเวลา, ไปจนถึงการไร้มืออาชีพมาช่วยเขียนร่างคำปราศรัย นายกรัฐมนตรีแดนอาทิตย์อุทัยไม่ว่าคนไหนก็ตาม จึงเหมือนกับถูกปล่อยปละทอดทิ้ง จนไม่สามารถที่จะหว่านเสน่ห์เรียกความสนับสนุนจากสาธารณชน หรือดำเนินการให้เป็นไปตามนโยบายต่างๆ ที่ประกาศเอาไว้
บุคคลผู้สืบทอดตำแหน่งนายกรัฐมนตรีต่อจาก จุนอิชิโร โคอิซูมิ อันได้แก่ ชินโซ อาเบะ และ ยาสุโอะ ฟุคุดะ ต่างต้องลาออกภายหลังครองเก้าอี้อยู่ได้แค่ราวปีเดียว รวมทั้งนายกรัฐมนตรีคนปัจจุบัน ทาโร อาโซะ ก็ส่อเค้าแล้วว่ากำลังจะประสบชะตากรรมเดียวกัน ตัวผมเองเริ่มต้นทำข่าวเกี่ยวกับการเมืองญี่ปุ่นเมื่อปี 1972 และได้รับเกียรติให้เข้าสัมภาษณ์นายกรัฐมนตรีถึง 21 คนตลอดระยะเวลา 36 ปีที่ผ่านมา เนื่องจากคุณภาพของการเมืองญี่ปุ่นไม่เคยปรับปรุงยกระดับขึ้นมาเลย ผมจึงไม่เคยขาดแคลนวัตถุดิบที่จะเอามาใช้เขียนบทวิจารณ์ทางการเมืองเลยเช่นกัน
ทำไมนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นคนแล้วคนเล่าจึงอยู่ในตำแหน่งได้แค่ช่วงสั้นๆ เช่นนี้หนอ บ่อยครั้งผู้คนจะกล่าวโทษว่ามันเป็นเรื่องคุณภาพของนักการเมือง แต่มันเป็นอย่างนั้นจริงๆ ละหรือ ผมไม่สามารถยอมรับอย่างง่ายๆ ได้หรอกว่าคุณสมบัติของพวกนักการเมืองญี่ปุ่นนั้นย่ำแย่เลวร้ายกว่าพวกนักการเมืองอเมริกัน ผมเคยพบปะกับประธานาธิบดีอเมริกันรวม 4 คน ได้แก่ โรนัลด์ เรแกน, จอร์จ เอช ดับเบิลยู บุช, จอร์จ ดับเบิลยู บุช, และ บิลล์ คลินตัน พวกเขาต่างก็เป็นนักสื่อสารที่ยิ่งใหญ่และเต็มไปด้วยเสน่ห์ดึงดูดใจผู้คน แต่เมื่อมาถึงเรื่องคุณสมบัติของพวกเขาในการเป็นผู้นำของประเทศๆ หนึ่งแล้ว ผมคิดว่ามันไม่ได้มีความแตกต่างอะไรมากนักหรอกระหว่างพวกเขากับพวกนายกรัฐมนตรีของญี่ปุ่น
ลองมาดูที่ บารัค โอบามา ว่าที่ประธานาธิบดีสหรัฐฯคนต่อไป เมื่อสิบปีที่แล้วเขายังเป็นบุคคลที่ไม่ค่อยมีใครรู้จัก นอกจากนั้นเขายังไม่ได้มีประสบการณ์มากมายอะไรเลยเมื่อเข้าดำรงตำแหน่งวุฒิสมาชิก แต่แล้วทำไมจึงไม่ค่อยมีความวิตกกังวลอะไรนักหนาเกี่ยวกับประสบการณ์ของเขา สิ่งที่แตกต่างออกไปก็คือ ในสหรัฐฯนั้นเมื่อมีการเปลี่ยนตัวประธานาธิบดี ก็จะมีการเปลี่ยนตัวเจ้าหน้าที่จำนวนเป็นพันๆ คนในทำเนียบขาวและตามกระทรวงทบวงกรมต่างๆ เปิดโอกาสให้มืออาชีพในแวดวงต่างๆ ได้รับคัดสรรจากทั่วทั้งประเทศให้มาช่วยทำงานให้แก่ประธานาธิบดี ในฐานะที่เป็นนักข่าวสายทำเนียบขาว ระหว่างยุคประธานาธิบดีเรแกน ผมรู้สึกแปลกใจมากที่ได้เห็นว่าปัจจุบันมีการยกย่องสรรเสริญเรแกนกันมากมายเหลือเกิน จนถึงขนาดที่มีการขนานนามสนามบินแห่งหนึ่งและถนนอีกสายหนึ่งตามชื่อของเขา
เมื่อตอนที่เขาเข้าดำรงตำแหน่งในปี 1981 นั้น ไม่มีใครเลยที่คิดจินตนาการว่าเรแกนจะได้รับการจัดอันดับให้เป็นประธานาธิบดีคนสำคัญคนหนึ่งในประวัติศาสตร์อเมริกัน เขายังมีจุดอ่อนที่พูดจาอะไรผิดๆ พลาดๆ อยู่เรื่อยๆ สิ่งที่ทำให้เขาสามารถนำพาประเทศฝ่าฟันช่วงเวลาอันยากลำบากในเวลานั้นซึ่งเป็นตอนสิ้นสุดยุคสงครามเย็น ได้อย่างประสบความสำเร็จงดงาม ก็เนื่องเพราะความช่วยเหลืออย่างไม่ขาดสายของพวกผู้ช่วยมากความรู้ความสามารถเฉกเช่น จอร์จ ชูลซ์, โฮเวิร์ด เบเกอร์, และ แคสปาร์ ไวน์เบอร์เกอร์ สิ่งนี้แหละที่กำลังขาดแคลนในญี่ปุ่น พวกรัฐมนตรีญี่ปุ่นที่ได้รับแต่งตั้งจากนายกรัฐมนตรีคนใหม่ ต้องพาตัวเองกระโจนเข้าไปในกระทรวงต่างๆ ซึ่งอุดมไปด้วยข้าราชการผู้เก่งกาจสามารถ ในสหรัฐฯนั้น กระทั่งรัฐมนตรีกระทรวงต่างๆ ก็ยังถูกเรียกขานตำแหน่งว่าเป็นเลขาธิการรับผิดชอบงานด้านนั้นๆ ของประธานาธิบดี และเลขาธิการทั้งหลายทั้งปวงของประธานาธิบดี ต่างก็ทุ่มเททำงานให้แก่ผู้นำประเทศอย่างเต็มที่ ทว่าในญี่ปุ่น แม้กระทั่งเลขาธิการของนายกรัฐมนตรี ยังโน้มเอียงที่จะทำงานเพื่อพิทักษ์รักษาตำแหน่งของเขาเอง แทนที่จะมุ่งปกป้องนายกรัฐมนตรี เนื่องจากการได้นั่งตำแหน่งเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ก็คือการที่เขาได้รับเลื่อนขึ้นสู่ตำแหน่งระดับสูงสุดของระบบราชการนั่นเอง
ภายใต้สภาพการณ์เช่นนี้ นายกรัฐมนตรีไม่ว่าคนไหนก็ตามที จะสามารถประสบความสำเร็จอันโดดเด่นขึ้นมาได้อย่างไรกัน ยกเว้นแต่เลขานุการที่รับผิดชอบฝ่ายกิจการการเมืองแล้ว พวกคนทำงานที่แวดล้อมอยู่รอบๆ ตัวนายกรัฐมนตรี ปกติแล้วล้วนแต่ไม่เคยพบกับนายกรัฐมนตรีมาก่อนเลย ภารกิจสำคัญที่สุดสำหรับนายกรัฐมนตรีผู้เพิ่งได้รับเลือกตั้งขึ้นมาใหม่ๆ เอี่ยมๆ ก็คือการแถลงนโยบายและการจัดแถลงข่าวต่อสื่อมวลชน ซึ่งเขาจะต้องเสนอแนวความคิดต่างๆ ของเขาต่อสาธารณชน ทว่าในญี่ปุ่นนั้นไม่มีคนที่เป็นมืออาชีพด้านร่างคำปราศรัย บรรดาคำปราศรัยและคำแถลงทั้งหลายของนายกรัฐมนตรีต่างก็ร่างโดยข้าราชการ แต่งานหลักของข้าราชการย่อมเป็นเรื่องของการอธิบายว่าทำไมพวกเขาจึงไม่สามารถดำเนินการให้เป็นไปตามนโยบายนั้นนโยบายนี้ แล้วพวกเขาจะสามารถร่างคำปราศรัยที่มีเสน่ห์ดึงดูดอารมณ์ความรู้สึกของสาธารณชนได้อย่างไรกันล่ะ
ยิ่งกว่านั้น แม้ว่านายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นต้องก้าวย่างเข้าไปในสำนักนายกรัฐมนตรีแบบตัวคนเดียวแท้ๆ เช่นนี้แล้ว ก็ใช่ว่าจะมีการเตรียมทุกสิ่งทุกอย่างมาคอยสนองอย่างพรักพร้อม เมื่อตอนที่อดีตนายกรัฐมนตรี เคโซ โอบูชิ ถึงแก่อสัญกรรมขณะดำรงตำแหน่งนั้น เป็นที่เห็นพ้องต้องกันว่าจะต้องให้มีแพทย์ 1 คนและพยาบาล 1 คนมาประจำที่ทำเนียบของนายกรัฐมนตรี แต่จนแล้วจนรอดก็ยังไม่มีการดำเนินการในเรื่องดังกล่าวนี้ นอกจากนั้น นายกรัฐมนตรีถูกถือเสมือนว่าจะต้องพำนักอาศัยอยู่ในบ้านพักประจำตำแหน่ง ทว่าที่นั่นกลับไม่มีการจัดสรรตำแหน่งกุ๊กเอาไว้ให้ เวลาที่ต้องจัดเลี้ยงแขกเหรื่อ นายกรัฐมนตรีก็เลยต้องพึ่งพาพวกบริการรับจัดเลี้ยงจากภายนอก หรือบริการจัดส่งอาหาร “เดมาเอะ” ซึ่งในญี่ปุ่นมักถือกันว่าเป็นการรับประทานแบบสบายๆ ไม่เป็นทางการ
การที่สื่อมวลชนต่างๆ คอยจัดทำโพลสำรวจคะแนนนิยมจากประชาชนอยู่เป็นประจำทุกเดือน ก็เป็นปัจจัยอีกประการหนึ่งที่มีส่วนทำให้ช่วงเวลาแห่งการดำรงตำแหน่งของนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นหดสั้นแสนสั้น พวกสื่อญี่ปุ่นจะคอยตามติดอย่างละเอียดลออว่าเรตติ้งความยอมรับในตัวนายกรัฐมนตรี ได้ตกลงจากในสัปดาห์แรกของการขึ้นเป็นรัฐบาลชุดใหม่ไปมากน้อยแค่ไหนแล้ว ช่วงเวลาฮันนีมูน 100 วันที่จะไม่มีการจี้ไชแคะคุ้ยคณะรัฐบาลชุดใหม่ ซึ่งเป็นที่ยอมรับปฏิบัติกันในสหรัฐฯนั้น ต้องถือเป็นความฝันเลยสำหรับญี่ปุ่น อันที่จริงคณะรัฐมนตรีญี่ปุ่นบางชุดอยู่ได้ไม่ถึง 100 วันด้วยซ้ำ นอกจากนั้น เรตติ้งการยอมรับมักเป็นผลจากบุคลิกภาพของนายกรัฐมนตรี, วิธีที่เขารับมือกับกล้องทีวี, ตลอดจนการแสดงความรู้สึกทางใบหน้าของเขา มากกว่าจะเป็นผลจากเนื้อหาแห่งนโยบาย ทว่ามีนักการเมืองแดนอาทิตย์ไม่กี่คนหรอกที่สามารถฝ่าฟันจนประสบความเสร็จในด้านต่างๆ ดังกล่าวเหล่านั้น
ผลก็คือ เรตติ้งความยอมรับในตัวนายกรัฐมนตรีมีแต่ตกลงมาทุกวี่วัน และตลาดหลักทรัพย์ก็อ่อนไหวกับตัวเลขนี้เป็นอันมาก จึงทำให้ดัชนีหุ้นนิกเกอิหล่นวูบ ซึ่งย่อมส่งผลย้อนกลับไปดึงลากให้คะแนนนิยมในตัวนายกฯลดต่ำลงอีก การเมืองของญี่ปุ่นจึงตกอยู่ในวงจรอุบาทว์โดยแท้ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นถูกคาดหมายให้ต้องทำงานที่เป็นไปไม่ได้ โดยที่ทั้งต้องดำเนินนโยบายต่างๆ ซึ่งเป็นที่ชื่นชอบของสาธารณชน, รักษาบุคลิกภาพแบบที่ทำให้ผู้คนนิยมรักใคร่, และก็ต้องแสดงความเป็นผู้นำที่เข้มแข็งบนเวทีโลกไปในขณะเดียวกันด้วย นี่เองทำให้เกิดเรื่องแบบที่นายกรัฐมนตรีผู้มีเงินรายได้ปีละประมาณ 30 ล้านเยน (325,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ) ถูกวิพากษ์วิจารณ์โดยพวกนักจัดรายการทีวีผู้ทำเงินได้ปีละหลายร้อยล้านเยนว่า “ไม่คำนึงถึงประชาชน”
อีกไม่นานหรอกคงจะมาถึงวันที่จะไม่มีใครปรารถนาที่จะขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีของญี่ปุ่นกันเลย
ยาสุฮิโร ทาเซะ เป็นศาสตราจารย์ของ วิทยาลัยบริหารรัฐกิจโอคุมะ แห่งมหาวิทยาลัยวาเซดะ และเป็นคอลัมนิสต์ที่เขียนเป็นครั้งคราวให้แก่หนังสือพิมพ์นิฮงเคไซชิมบุง เขาเคยทำงานอยู่กับนิฮงเคไซชิมบุงมาเป็นเวลา 39 ปีจวบจนกระทั่งถึงปี 2006 โดยทำข่าวเกี่ยวกับการเมืองญี่ปุ่นเป็นเวลา 36 ปี อีกทั้งเคยรับหน้าที่เป็นหัวหน้าสำนักงานประจำกรุงวอชิงตัน, ผู้เขียนบทบรรณาธิการ, สมาชิกคณะบรรณาธิการ, และคอลัมนิสต์ประจำ ทัศนะในบทความชิ้นนี้เป็นของผู้เขียนเอง และไม่ควรถือว่าเกี่ยวข้องกับ สมาคมแห่งสถาบันการศึกษาด้านยุทธศาสตร์ของญี่ปุ่น (The Association of Japanese Institutes of Strategic Studies หรือ AJISS)
(บทความนี้นำมาจาก AJISS-Commentary อันเป็นสิ่งตีพิมพ์ประเภททัศนะ-ความเห็น ซึ่งออกมาเผยแพร่เป็นครั้งคราว ของทางสมาคม AJISS ทั้งนี้สมาคมแห่งนี้ประกอบด้วยหน่วยงานศึกษาวิจัยชั้นนำของญี่ปุ่นรวม 3 แห่ง ได้แก่ สถาบันเพื่อการศึกษาด้านนโยบายระหว่างประเทศ (Institute for International Policy Studies หรือ IIPS), สถาบันกิจการระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (The Japan Institute of International Affairs หรือ JIIA), และสถาบันวิจัยเพื่อสันติภาพและความมั่นคง (Research Institute for Peace and Security หรือ RIPS)
Japan’s premiers doomed to failure
By Yasuhiro Tase
11/12/2008
ช่างไม่เหมือนกับในสหรัฐอเมริกาเลย สำหรับบุคคลที่ก้าวขึ้นเป็นผู้นำประเทศในญี่ปุ่นนั้น ตั้งแต่เริ่มต้นทีเดียว อัตราต่อรองของเขาจะหนักไปทางข้างประสบความล้มเหลวมากกว่าประสบความสำเร็จ ในสภาพที่ต้องอยู่ท่ามกลางระบบราชการซึ่งคำนึงถึงผลประโยชน์ของตัวเอง , ต้องเผชิญกับผลสำรวจคะแนนนิยมที่รุกคืบกดดันอยู่ตลอดเวลา, ไปจนถึงการไร้มืออาชีพมาช่วยเขียนร่างคำปราศรัย นายกรัฐมนตรีแดนอาทิตย์อุทัยไม่ว่าคนไหนก็ตาม จึงเหมือนกับถูกปล่อยปละทอดทิ้ง จนไม่สามารถที่จะหว่านเสน่ห์เรียกความสนับสนุนจากสาธารณชน หรือดำเนินการให้เป็นไปตามนโยบายต่างๆ ที่ประกาศเอาไว้
บุคคลผู้สืบทอดตำแหน่งนายกรัฐมนตรีต่อจาก จุนอิชิโร โคอิซูมิ อันได้แก่ ชินโซ อาเบะ และ ยาสุโอะ ฟุคุดะ ต่างต้องลาออกภายหลังครองเก้าอี้อยู่ได้แค่ราวปีเดียว รวมทั้งนายกรัฐมนตรีคนปัจจุบัน ทาโร อาโซะ ก็ส่อเค้าแล้วว่ากำลังจะประสบชะตากรรมเดียวกัน ตัวผมเองเริ่มต้นทำข่าวเกี่ยวกับการเมืองญี่ปุ่นเมื่อปี 1972 และได้รับเกียรติให้เข้าสัมภาษณ์นายกรัฐมนตรีถึง 21 คนตลอดระยะเวลา 36 ปีที่ผ่านมา เนื่องจากคุณภาพของการเมืองญี่ปุ่นไม่เคยปรับปรุงยกระดับขึ้นมาเลย ผมจึงไม่เคยขาดแคลนวัตถุดิบที่จะเอามาใช้เขียนบทวิจารณ์ทางการเมืองเลยเช่นกัน
ทำไมนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นคนแล้วคนเล่าจึงอยู่ในตำแหน่งได้แค่ช่วงสั้นๆ เช่นนี้หนอ บ่อยครั้งผู้คนจะกล่าวโทษว่ามันเป็นเรื่องคุณภาพของนักการเมือง แต่มันเป็นอย่างนั้นจริงๆ ละหรือ ผมไม่สามารถยอมรับอย่างง่ายๆ ได้หรอกว่าคุณสมบัติของพวกนักการเมืองญี่ปุ่นนั้นย่ำแย่เลวร้ายกว่าพวกนักการเมืองอเมริกัน ผมเคยพบปะกับประธานาธิบดีอเมริกันรวม 4 คน ได้แก่ โรนัลด์ เรแกน, จอร์จ เอช ดับเบิลยู บุช, จอร์จ ดับเบิลยู บุช, และ บิลล์ คลินตัน พวกเขาต่างก็เป็นนักสื่อสารที่ยิ่งใหญ่และเต็มไปด้วยเสน่ห์ดึงดูดใจผู้คน แต่เมื่อมาถึงเรื่องคุณสมบัติของพวกเขาในการเป็นผู้นำของประเทศๆ หนึ่งแล้ว ผมคิดว่ามันไม่ได้มีความแตกต่างอะไรมากนักหรอกระหว่างพวกเขากับพวกนายกรัฐมนตรีของญี่ปุ่น
ลองมาดูที่ บารัค โอบามา ว่าที่ประธานาธิบดีสหรัฐฯคนต่อไป เมื่อสิบปีที่แล้วเขายังเป็นบุคคลที่ไม่ค่อยมีใครรู้จัก นอกจากนั้นเขายังไม่ได้มีประสบการณ์มากมายอะไรเลยเมื่อเข้าดำรงตำแหน่งวุฒิสมาชิก แต่แล้วทำไมจึงไม่ค่อยมีความวิตกกังวลอะไรนักหนาเกี่ยวกับประสบการณ์ของเขา สิ่งที่แตกต่างออกไปก็คือ ในสหรัฐฯนั้นเมื่อมีการเปลี่ยนตัวประธานาธิบดี ก็จะมีการเปลี่ยนตัวเจ้าหน้าที่จำนวนเป็นพันๆ คนในทำเนียบขาวและตามกระทรวงทบวงกรมต่างๆ เปิดโอกาสให้มืออาชีพในแวดวงต่างๆ ได้รับคัดสรรจากทั่วทั้งประเทศให้มาช่วยทำงานให้แก่ประธานาธิบดี ในฐานะที่เป็นนักข่าวสายทำเนียบขาว ระหว่างยุคประธานาธิบดีเรแกน ผมรู้สึกแปลกใจมากที่ได้เห็นว่าปัจจุบันมีการยกย่องสรรเสริญเรแกนกันมากมายเหลือเกิน จนถึงขนาดที่มีการขนานนามสนามบินแห่งหนึ่งและถนนอีกสายหนึ่งตามชื่อของเขา
เมื่อตอนที่เขาเข้าดำรงตำแหน่งในปี 1981 นั้น ไม่มีใครเลยที่คิดจินตนาการว่าเรแกนจะได้รับการจัดอันดับให้เป็นประธานาธิบดีคนสำคัญคนหนึ่งในประวัติศาสตร์อเมริกัน เขายังมีจุดอ่อนที่พูดจาอะไรผิดๆ พลาดๆ อยู่เรื่อยๆ สิ่งที่ทำให้เขาสามารถนำพาประเทศฝ่าฟันช่วงเวลาอันยากลำบากในเวลานั้นซึ่งเป็นตอนสิ้นสุดยุคสงครามเย็น ได้อย่างประสบความสำเร็จงดงาม ก็เนื่องเพราะความช่วยเหลืออย่างไม่ขาดสายของพวกผู้ช่วยมากความรู้ความสามารถเฉกเช่น จอร์จ ชูลซ์, โฮเวิร์ด เบเกอร์, และ แคสปาร์ ไวน์เบอร์เกอร์ สิ่งนี้แหละที่กำลังขาดแคลนในญี่ปุ่น พวกรัฐมนตรีญี่ปุ่นที่ได้รับแต่งตั้งจากนายกรัฐมนตรีคนใหม่ ต้องพาตัวเองกระโจนเข้าไปในกระทรวงต่างๆ ซึ่งอุดมไปด้วยข้าราชการผู้เก่งกาจสามารถ ในสหรัฐฯนั้น กระทั่งรัฐมนตรีกระทรวงต่างๆ ก็ยังถูกเรียกขานตำแหน่งว่าเป็นเลขาธิการรับผิดชอบงานด้านนั้นๆ ของประธานาธิบดี และเลขาธิการทั้งหลายทั้งปวงของประธานาธิบดี ต่างก็ทุ่มเททำงานให้แก่ผู้นำประเทศอย่างเต็มที่ ทว่าในญี่ปุ่น แม้กระทั่งเลขาธิการของนายกรัฐมนตรี ยังโน้มเอียงที่จะทำงานเพื่อพิทักษ์รักษาตำแหน่งของเขาเอง แทนที่จะมุ่งปกป้องนายกรัฐมนตรี เนื่องจากการได้นั่งตำแหน่งเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ก็คือการที่เขาได้รับเลื่อนขึ้นสู่ตำแหน่งระดับสูงสุดของระบบราชการนั่นเอง
ภายใต้สภาพการณ์เช่นนี้ นายกรัฐมนตรีไม่ว่าคนไหนก็ตามที จะสามารถประสบความสำเร็จอันโดดเด่นขึ้นมาได้อย่างไรกัน ยกเว้นแต่เลขานุการที่รับผิดชอบฝ่ายกิจการการเมืองแล้ว พวกคนทำงานที่แวดล้อมอยู่รอบๆ ตัวนายกรัฐมนตรี ปกติแล้วล้วนแต่ไม่เคยพบกับนายกรัฐมนตรีมาก่อนเลย ภารกิจสำคัญที่สุดสำหรับนายกรัฐมนตรีผู้เพิ่งได้รับเลือกตั้งขึ้นมาใหม่ๆ เอี่ยมๆ ก็คือการแถลงนโยบายและการจัดแถลงข่าวต่อสื่อมวลชน ซึ่งเขาจะต้องเสนอแนวความคิดต่างๆ ของเขาต่อสาธารณชน ทว่าในญี่ปุ่นนั้นไม่มีคนที่เป็นมืออาชีพด้านร่างคำปราศรัย บรรดาคำปราศรัยและคำแถลงทั้งหลายของนายกรัฐมนตรีต่างก็ร่างโดยข้าราชการ แต่งานหลักของข้าราชการย่อมเป็นเรื่องของการอธิบายว่าทำไมพวกเขาจึงไม่สามารถดำเนินการให้เป็นไปตามนโยบายนั้นนโยบายนี้ แล้วพวกเขาจะสามารถร่างคำปราศรัยที่มีเสน่ห์ดึงดูดอารมณ์ความรู้สึกของสาธารณชนได้อย่างไรกันล่ะ
ยิ่งกว่านั้น แม้ว่านายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นต้องก้าวย่างเข้าไปในสำนักนายกรัฐมนตรีแบบตัวคนเดียวแท้ๆ เช่นนี้แล้ว ก็ใช่ว่าจะมีการเตรียมทุกสิ่งทุกอย่างมาคอยสนองอย่างพรักพร้อม เมื่อตอนที่อดีตนายกรัฐมนตรี เคโซ โอบูชิ ถึงแก่อสัญกรรมขณะดำรงตำแหน่งนั้น เป็นที่เห็นพ้องต้องกันว่าจะต้องให้มีแพทย์ 1 คนและพยาบาล 1 คนมาประจำที่ทำเนียบของนายกรัฐมนตรี แต่จนแล้วจนรอดก็ยังไม่มีการดำเนินการในเรื่องดังกล่าวนี้ นอกจากนั้น นายกรัฐมนตรีถูกถือเสมือนว่าจะต้องพำนักอาศัยอยู่ในบ้านพักประจำตำแหน่ง ทว่าที่นั่นกลับไม่มีการจัดสรรตำแหน่งกุ๊กเอาไว้ให้ เวลาที่ต้องจัดเลี้ยงแขกเหรื่อ นายกรัฐมนตรีก็เลยต้องพึ่งพาพวกบริการรับจัดเลี้ยงจากภายนอก หรือบริการจัดส่งอาหาร “เดมาเอะ” ซึ่งในญี่ปุ่นมักถือกันว่าเป็นการรับประทานแบบสบายๆ ไม่เป็นทางการ
การที่สื่อมวลชนต่างๆ คอยจัดทำโพลสำรวจคะแนนนิยมจากประชาชนอยู่เป็นประจำทุกเดือน ก็เป็นปัจจัยอีกประการหนึ่งที่มีส่วนทำให้ช่วงเวลาแห่งการดำรงตำแหน่งของนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นหดสั้นแสนสั้น พวกสื่อญี่ปุ่นจะคอยตามติดอย่างละเอียดลออว่าเรตติ้งความยอมรับในตัวนายกรัฐมนตรี ได้ตกลงจากในสัปดาห์แรกของการขึ้นเป็นรัฐบาลชุดใหม่ไปมากน้อยแค่ไหนแล้ว ช่วงเวลาฮันนีมูน 100 วันที่จะไม่มีการจี้ไชแคะคุ้ยคณะรัฐบาลชุดใหม่ ซึ่งเป็นที่ยอมรับปฏิบัติกันในสหรัฐฯนั้น ต้องถือเป็นความฝันเลยสำหรับญี่ปุ่น อันที่จริงคณะรัฐมนตรีญี่ปุ่นบางชุดอยู่ได้ไม่ถึง 100 วันด้วยซ้ำ นอกจากนั้น เรตติ้งการยอมรับมักเป็นผลจากบุคลิกภาพของนายกรัฐมนตรี, วิธีที่เขารับมือกับกล้องทีวี, ตลอดจนการแสดงความรู้สึกทางใบหน้าของเขา มากกว่าจะเป็นผลจากเนื้อหาแห่งนโยบาย ทว่ามีนักการเมืองแดนอาทิตย์ไม่กี่คนหรอกที่สามารถฝ่าฟันจนประสบความเสร็จในด้านต่างๆ ดังกล่าวเหล่านั้น
ผลก็คือ เรตติ้งความยอมรับในตัวนายกรัฐมนตรีมีแต่ตกลงมาทุกวี่วัน และตลาดหลักทรัพย์ก็อ่อนไหวกับตัวเลขนี้เป็นอันมาก จึงทำให้ดัชนีหุ้นนิกเกอิหล่นวูบ ซึ่งย่อมส่งผลย้อนกลับไปดึงลากให้คะแนนนิยมในตัวนายกฯลดต่ำลงอีก การเมืองของญี่ปุ่นจึงตกอยู่ในวงจรอุบาทว์โดยแท้ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นถูกคาดหมายให้ต้องทำงานที่เป็นไปไม่ได้ โดยที่ทั้งต้องดำเนินนโยบายต่างๆ ซึ่งเป็นที่ชื่นชอบของสาธารณชน, รักษาบุคลิกภาพแบบที่ทำให้ผู้คนนิยมรักใคร่, และก็ต้องแสดงความเป็นผู้นำที่เข้มแข็งบนเวทีโลกไปในขณะเดียวกันด้วย นี่เองทำให้เกิดเรื่องแบบที่นายกรัฐมนตรีผู้มีเงินรายได้ปีละประมาณ 30 ล้านเยน (325,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ) ถูกวิพากษ์วิจารณ์โดยพวกนักจัดรายการทีวีผู้ทำเงินได้ปีละหลายร้อยล้านเยนว่า “ไม่คำนึงถึงประชาชน”
อีกไม่นานหรอกคงจะมาถึงวันที่จะไม่มีใครปรารถนาที่จะขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีของญี่ปุ่นกันเลย
ยาสุฮิโร ทาเซะ เป็นศาสตราจารย์ของ วิทยาลัยบริหารรัฐกิจโอคุมะ แห่งมหาวิทยาลัยวาเซดะ และเป็นคอลัมนิสต์ที่เขียนเป็นครั้งคราวให้แก่หนังสือพิมพ์นิฮงเคไซชิมบุง เขาเคยทำงานอยู่กับนิฮงเคไซชิมบุงมาเป็นเวลา 39 ปีจวบจนกระทั่งถึงปี 2006 โดยทำข่าวเกี่ยวกับการเมืองญี่ปุ่นเป็นเวลา 36 ปี อีกทั้งเคยรับหน้าที่เป็นหัวหน้าสำนักงานประจำกรุงวอชิงตัน, ผู้เขียนบทบรรณาธิการ, สมาชิกคณะบรรณาธิการ, และคอลัมนิสต์ประจำ ทัศนะในบทความชิ้นนี้เป็นของผู้เขียนเอง และไม่ควรถือว่าเกี่ยวข้องกับ สมาคมแห่งสถาบันการศึกษาด้านยุทธศาสตร์ของญี่ปุ่น (The Association of Japanese Institutes of Strategic Studies หรือ AJISS)
(บทความนี้นำมาจาก AJISS-Commentary อันเป็นสิ่งตีพิมพ์ประเภททัศนะ-ความเห็น ซึ่งออกมาเผยแพร่เป็นครั้งคราว ของทางสมาคม AJISS ทั้งนี้สมาคมแห่งนี้ประกอบด้วยหน่วยงานศึกษาวิจัยชั้นนำของญี่ปุ่นรวม 3 แห่ง ได้แก่ สถาบันเพื่อการศึกษาด้านนโยบายระหว่างประเทศ (Institute for International Policy Studies หรือ IIPS), สถาบันกิจการระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (The Japan Institute of International Affairs หรือ JIIA), และสถาบันวิจัยเพื่อสันติภาพและความมั่นคง (Research Institute for Peace and Security หรือ RIPS)