(จากเอเชียไทมส์ออนไลน์ www.atimes.com)
The death of Doha
By Gustavo Capdevila
30/07/2008
ผู้อำนวยการใหญ่องค์การการค้าโลก (WTO) ปาสกัล ลามี ยืนยันว่าเขายังไม่ยอมยกธงขาว และยังคงพยายามหาทางให้มีการทำข้อตกลงการค้าระดับโลกขึ้นมาให้ได้ ภายหลังจากที่ความแตกร้าวระหว่างพวกประเทศร่ำรวยกับพวกประเทศกำลังพัฒนา ได้สังหารการเจรจาการค้ารอบโดฮาที่ยืดเยื้อมานานถึงเกือบ 7 ปีไปเสียแล้ว
เจนีวา – รอบโดฮาแห่งการเจรจาการค้าพหุภาคี ได้ถึงกาลพังครืนลงไปเมื่อคืนวันอังคาร(29) ด้วยประดาความแตกต่างที่ไม่อาจลงรอยกันได้เดิมๆ ระหว่างประเทศรวยกับประเทศจน ซึ่งปรากฎให้เห็นมาโดยตลอดตั้งแต่เริ่มต้นการเจรจาที่ดำเนินการมาเกือบ 7 ปีแล้ว
ความร้าวฉานที่ไม่สามารถประสานกันได้ ระหว่างสหรัฐฯฝ่ายหนึ่ง และจีนกับอินเดียในอีกฝ่ายหนึ่ง ทำให้ต้องปิดฉากการเจรจาหารือฉุกเฉินระดับรัฐมนตรี ซึ่งเรียกประชุมขึ้นโดยองค์การการค้าโลก (WTO) และดำเนินมาอย่างทรหดจนเข้าวันที่ 9 แล้ว
รัฐมนตรีต่างประเทศอาร์เจนตินา จอร์เก ตาเอียนา ตีความการล้มพังพาบของการเจรจาคราวนี้ว่า เป็นความล้มเหลวของความพยายามของพวกประเทศอุตสาหกรรม ที่จะยอมเสียให้น้อยๆ และเรียกร้องให้ได้เยอะๆ ซึ่งแน่นอนว่าเมื่อพูดกันในแง่องค์รวมแล้ว ก็ต้องไม่เป็นที่ยอมรับ ของทางฝ่ายประเทศกำลังพัฒนา เขาบอกกับสำนักข่าวอินเตอร์ เพรส เซอร์วิส (ไอพีเอส)เช่นนี้
เรื่องที่เป็นตัวจุดชนวนในท้ายที่สุด ให้บังเกิดสิ่งที่ผู้เข้าร่วมประชุมจำนวนมากเห็นว่าเป็นความหายนะระหว่างประเทศคราวนี้ขึ้นมา ก็คือประเด็นซึ่งเป็นที่ต้องการของบรรดาประเทศกำลังพัฒนาทั้งหลาย นั่นคือ การจัดตั้งกลไกเพื่อการคุ้มครองพิเศษ (special safeguard mechanism) ซึ่งจะเปิดทางให้พวกประเทศกำลังพัฒนา สามารถที่จะขึ้นภาษีศุลกากรเอากับสินค้าการเกษตรนำเข้าได้ เมื่อสินค้าเหล่านี้ทะลักเข้ามามากจนถึงระดับที่กำหนดไว้ และเริ่มที่จะคุกคามชีวิตความเป็นอยู่ของเกษตรกรผู้ยากจนในประเทศตนเองแล้ว
“เป็นเรื่องเหลือเชื่อมากที่เราต้องมาประสบความล้มเหลวเนื่องจากประเด็นปัญหาประเด็นหนึ่งเท่านั้น” รัฐมนตรีต่างประเทศบราซิล เซลโซ อาโมริม กล่าว “ไม่ใช่ว่าประเด็นนี้ไม่ใช่เรื่องที่สำคัญสำหรับหลายๆ ประเทศนะ แต่ว่าก็มีประเด็นที่ทำท่าจะแก้ไขกันไม่ได้อื่นๆ อีกตั้งหลายประเด็น ซึ่งสามารถเอาชนะผ่านกันมาจนได้”
ผู้อำนวยการใหญ่ WTO ปาสกัล ลามี ก็กล่าวย้ำในจุดนี้ว่า สามารถทำข้อตกลงกันได้แล้วใน 18 ประเด็นปัญหาจากรายการทั้งหมดที่มีอยู่ 20 ประเด็นปัญหา แต่แล้วก็ไม่อาจอุดช่องว่างกันได้ในประเด็นปัญหาหมายเลข 19
สหรัฐฯนั้นคัดค้านอย่างเต็มที่ต่อการจัดตั้งกลไกเพื่อการคุ้มครองพิเศษ โดยให้เหตุผลว่าจะเป็นการเปิดทางให้มีการนำไปใช้ในทางมิชอบกันมากขึ้นเรื่อยๆ ขณะที่จีนกับอินเดียเรียกร้องต้องการกลไกดังกล่าวนี้ โดยมองว่าจะเป็นวิธีในการคุ้มครองชีวิตความเป็นอยู่, ความมั่นคงทางด้านอาหาร, และการพัฒนาชนบท สำหรับเกษตรกรในบรรดาประเทศกำลังพัฒนา
ความแตกต่างกันเช่นนี้ ทำให้เหล่ารัฐมนตรีจากราวๆ 30 ประเทศที่มาร่วมประชุมเจรจากันตั้งแต่สัปดาห์ที่แล้ว ตลอดจนผู้แทนจากรัฐสมาชิกอื่นๆ ใน 153 รัฐสมาชิกของ WTO ไม่สามารถที่จะบรรลุข้อตกลงกันได้ เกี่ยวกับขอบข่ายกรอบโครงต่างๆ สำหรับการเจรจาต่อรองกันในเรื่องสินค้าภาคเกษตรกรรม และเรื่องการเข้าถึงตลาดนอกภาคเกษตรกรรม
การเจรจาการค้าโลกภายใต้ WTO รอบที่เรียกกันว่า “รอบโดฮา” นี้ เริ่มเปิดฉากขึ้นที่กรุงโดฮา เมืองหลวงของกาตาร์ ในเดือนพฤศจิกายน 2001 ด้วยจุดมุ่งหมายที่จะเป็นการส่งสารแห่งความสมานฉันท์ มายังโลกที่กำลังอกสั่นขวัญแขวน จากการโจมตีก่อวินาศกรรมนครนิวยอร์กและกรุงวอชิงตันของผู้ก่อการร้ายในกรณี 11 กันยายน แล้วมันก็กำลังล้มครืนลงท่ามกลางภัยคุกคามที่จะเกิดวิกฤตครั้งใหม่ๆ อันเกี่ยวเนื่องกับราคาอาหารและน้ำมัน ตลอดจนปัญหาความเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ
“ในขณะที่กำลังต้องเผชิญกับวิกฤตราคาอาหารทั่วโลกเฉกเช่นเวลานี้ เราไม่สามารถที่จะยอมรับผลการเจรจาชนิดที่จะเพิ่มการตั้งกำแพงกีดกันการค้าอาหารโลกให้มากขึ้นได้หรอก” ซูซาน ชว็อป ผู้แทนการค้าสหรัฐฯ กล่าวยืนกรานทัศนะของฝ่ายอเมริกัน
ขณะที่ แคริน สมอลเลอร์ แห่งสถาบันเพื่อเกษตรกรรมและนโยบายการค้า (Institute for Agriculture and Trade Policy หรือ IATP) อธิบายให้เห็นภาพของความขัดแย้งชัดเจนขึ้นว่า “สหรัฐฯนั้นโต้แย้งโดยยกเหตุผลว่า การทำให้ที่ต่างๆ เปิดตลาดออกมาให้กว้างๆ คือวิธีที่ดีที่สุด” ที่จะสร้างความมั่นคงทางด้านอาหารขึ้นมา และที่จะส่งเสริมยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน “ตรงกันข้าม อินเดียกับจีน ด้วยความสนับสนุนของพวกสมาชิกจากประเทศกำลังพัฒนาส่วนใหญ่ เรียกร้องให้มีกลไกเพื่อการคุ้มครองที่เข้มแข็งขึ้นมา เพื่อปกป้องความมั่นคงทางด้านอาหารและชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน ในกรณีที่เกิดความยุ่งเหยิงวุ่นวายอย่างใหญ่ๆ ต่อตลาดภาคเกษตรกรรม”
ผู้อำนวยการใหญ่ลามียอมรับว่า การประชุมหารือรอบโดฮาต้องถือว่าพังพาบไปเสียแล้ว และการเจรจาของ WTO ในอนาคตนั้น “เราจะต้องรอให้ฝุ่นที่ตลบอยู่จางลงมาสักหน่อยก่อน” เขากล่าว อย่างไรก็ตาม เขายืนยันว่า เขายังไม่ได้ “โยนผ้ายอมแพ้”
ทางด้านรัฐมนตรีช่วยว่าการคลังของเม็กซิโก บีอาตริซ เลย์เซกุย บอกว่า ความล้มเหลวของการเจรจารอบโดฮา คือความสูญเสียของทั่วทั้งโลก เพราะมันเกิดขึ้นในจังหวะเวลาที่กำลังเกิดวิกฤตเศรษฐกิจที่ร้ายแรง, เกิดขึ้นในท่ามกลางลัทธิกีดกันการค้า, และเป็นการสูญเสียความน่าเชื่อถือของระบบพหุภาคี เธอมีความเห็นว่า ภายใต้เงื่อนไขต่างๆ เหล่านี้ จึงต้องถือเป็นเรื่องเร่งด่วนที่จะต้องรีบทำข้อตกลงกันให้ได้
อัลเฟรโด เชียราดา เลขาธิการสำนักงานความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างประเทศ แห่งกระทรวงการต่างประเทศอาร์เจนตินา กล่าวเสริมแบบให้มีความหวังว่า ในการเจรจารอบสุดท้ายของบรรดารัฐมนตรีเมื่อวันอังคาร มีบางคนแสดงความสนใจที่จะพยายามฟื้นชีพการหารือขึ้นมาใหม่
รัฐมนตรีช่วยเลย์เซกุยบอกว่า เม็กซิโกเรียกร้องอย่าได้ “โยนทุกสิ่งทุกอย่างที่สามารถตกลงกันได้แล้วลงถังขยะไปหมด” หลังจากที่ได้เจรจาอย่างทรหดกันมาถึง 9 วัน “มันเป็นเรื่องที่น่าหงุดหงิดผิดหวังมาก เพราะเราคิดว่ากำลังใกล้จะทำข้อตกลงกันได้แล้ว แต่แล้วก็ปรากฏว่าความมุ่งมั่นร่วมกันในทางการเมืองยังมีไม่เพียงพอ”
แอนน์-ลอร์ คอนสแตนติน ผู้เชี่ยวชาญอีกคนหนึ่งของสถาบันไอเอทีพี บอกกับสำนักข่าวไอพีเอสว่า เธอหวังว่าบรรดาประเทศสมาชิก WTO “จะมีความสร้างสรรค์เพียงพอที่จะขบคิดเกี่ยวกับวิธีการอย่างอื่น ที่จะมาแก้ไขปัญหาเรื่องการค้าในระดับพหุภาคี โดยควรต้องเป็นวิธีการซึ่งสอดคล้องกับเงื่อนไขใหม่ๆ ที่ดำรงอยู่ในปัจจุบันให้มากขึ้น และสามารถช่วยเหลือประเทศต่างๆ ได้จริงๆ ในการรับมือกับวิกฤตทั้งหลายที่พวกเขาต้องเผชิญ ไม่ว่าจะในเรื่องอาหาร, พลังงาน, หรือ ภูมิอากาศ”
รัฐมนตรีตาเอียนาของอาร์เจนตินาชี้ว่า การเจรจารอบโดฮานี้มุ่งหมายที่จะให้เป็นรอบแห่งการพัฒนา ซึ่งเอื้อประโยชน์แก่บรรดาประเทศยากจนที่สุด และเรื่องนี้จึงยิ่งทำให้ความล้มเหลวของรอบโดฮา เป็นสิ่งที่ชวนให้หงุดหงิดผิดหวังมากเป็นพิเศษ
ขณะที่ เจเรมี ฮอบบ์ ผู้อำนวยการองค์การการกุศลชื่อดัง ออกซ์แฟม อินเตอร์เนชั่นแนล ก็มองว่า “เรื่องนี้ถือเป็นความผิดหวังครั้งใหญ่ เพราะในเวลานี้ที่ราคาอาหารและเชื้อเพลิงกำลังสูงลิ่ว และทิศทางอนาคตของเศรษฐกิจโลกก็ไม่มีความแน่นอน ประชาชนผู้ยากจนที่สุดของโลกจึงกำลังอยู่ในภาวะที่อ่อนแอมากขึ้นเรื่อยๆ การมีข้อตกลงทางการค้าที่ดีพอสมควร ย่อมจะทำให้พวกเขามีโอกาสที่จะป้องกันไม่ให้จมลงไปในความยากจนอย่างเลวร้ายยิ่งขึ้นไปอีก”
อัฟตับ อาลัม ข่าน แห่งกลุ่มแอคชั่นเอด บอกว่า “ความล้มเหลวคราวนี้ถือเป็นความรับผิดชอบเท่าๆ กันของสหรัฐฯและอียู ที่ไม่สามารถขบคิดไปให้ไกลเกินกว่าผลประโยชน์ของพวกธุรกิจข้ามชาติอันใหญ่โตมโหฬารของพวกเขา ซึ่งต้องการที่จะกวาดยึดเอาโอกาสทางการตลาดในหมู่ประเทศยากจนให้ได้มากขึ้นและมากขึ้น การที่สหรัฐฯและอียูจะไปประณามจีนและอินเดียว่าเป็นตัวการทำให้เกิดความล้มเหลวนั้น จึงเป็นเพียงเรื่องที่น่าหัวเราะเยาะเท่านั้น”
ขณะที่ในทัศนะของรัฐมนตรีอาโมริมแห่งบราซิล “ผู้สังเกตการณ์จากภายนอกไม่ว่าคนไหนก็ตาม ย่อมจะไม่เชื่อเลยว่าหลังจากมีความก้าวหน้าอย่างที่ทำกันได้แล้ว เราก็ยังไม่สามารถที่จะทำให้การเจรจาเสร็จสิ้นลงไปได้”
(สำนักข่าวอินเตอร์เพรสเซอร์วิส)
The death of Doha
By Gustavo Capdevila
30/07/2008
ผู้อำนวยการใหญ่องค์การการค้าโลก (WTO) ปาสกัล ลามี ยืนยันว่าเขายังไม่ยอมยกธงขาว และยังคงพยายามหาทางให้มีการทำข้อตกลงการค้าระดับโลกขึ้นมาให้ได้ ภายหลังจากที่ความแตกร้าวระหว่างพวกประเทศร่ำรวยกับพวกประเทศกำลังพัฒนา ได้สังหารการเจรจาการค้ารอบโดฮาที่ยืดเยื้อมานานถึงเกือบ 7 ปีไปเสียแล้ว
เจนีวา – รอบโดฮาแห่งการเจรจาการค้าพหุภาคี ได้ถึงกาลพังครืนลงไปเมื่อคืนวันอังคาร(29) ด้วยประดาความแตกต่างที่ไม่อาจลงรอยกันได้เดิมๆ ระหว่างประเทศรวยกับประเทศจน ซึ่งปรากฎให้เห็นมาโดยตลอดตั้งแต่เริ่มต้นการเจรจาที่ดำเนินการมาเกือบ 7 ปีแล้ว
ความร้าวฉานที่ไม่สามารถประสานกันได้ ระหว่างสหรัฐฯฝ่ายหนึ่ง และจีนกับอินเดียในอีกฝ่ายหนึ่ง ทำให้ต้องปิดฉากการเจรจาหารือฉุกเฉินระดับรัฐมนตรี ซึ่งเรียกประชุมขึ้นโดยองค์การการค้าโลก (WTO) และดำเนินมาอย่างทรหดจนเข้าวันที่ 9 แล้ว
รัฐมนตรีต่างประเทศอาร์เจนตินา จอร์เก ตาเอียนา ตีความการล้มพังพาบของการเจรจาคราวนี้ว่า เป็นความล้มเหลวของความพยายามของพวกประเทศอุตสาหกรรม ที่จะยอมเสียให้น้อยๆ และเรียกร้องให้ได้เยอะๆ ซึ่งแน่นอนว่าเมื่อพูดกันในแง่องค์รวมแล้ว ก็ต้องไม่เป็นที่ยอมรับ ของทางฝ่ายประเทศกำลังพัฒนา เขาบอกกับสำนักข่าวอินเตอร์ เพรส เซอร์วิส (ไอพีเอส)เช่นนี้
เรื่องที่เป็นตัวจุดชนวนในท้ายที่สุด ให้บังเกิดสิ่งที่ผู้เข้าร่วมประชุมจำนวนมากเห็นว่าเป็นความหายนะระหว่างประเทศคราวนี้ขึ้นมา ก็คือประเด็นซึ่งเป็นที่ต้องการของบรรดาประเทศกำลังพัฒนาทั้งหลาย นั่นคือ การจัดตั้งกลไกเพื่อการคุ้มครองพิเศษ (special safeguard mechanism) ซึ่งจะเปิดทางให้พวกประเทศกำลังพัฒนา สามารถที่จะขึ้นภาษีศุลกากรเอากับสินค้าการเกษตรนำเข้าได้ เมื่อสินค้าเหล่านี้ทะลักเข้ามามากจนถึงระดับที่กำหนดไว้ และเริ่มที่จะคุกคามชีวิตความเป็นอยู่ของเกษตรกรผู้ยากจนในประเทศตนเองแล้ว
“เป็นเรื่องเหลือเชื่อมากที่เราต้องมาประสบความล้มเหลวเนื่องจากประเด็นปัญหาประเด็นหนึ่งเท่านั้น” รัฐมนตรีต่างประเทศบราซิล เซลโซ อาโมริม กล่าว “ไม่ใช่ว่าประเด็นนี้ไม่ใช่เรื่องที่สำคัญสำหรับหลายๆ ประเทศนะ แต่ว่าก็มีประเด็นที่ทำท่าจะแก้ไขกันไม่ได้อื่นๆ อีกตั้งหลายประเด็น ซึ่งสามารถเอาชนะผ่านกันมาจนได้”
ผู้อำนวยการใหญ่ WTO ปาสกัล ลามี ก็กล่าวย้ำในจุดนี้ว่า สามารถทำข้อตกลงกันได้แล้วใน 18 ประเด็นปัญหาจากรายการทั้งหมดที่มีอยู่ 20 ประเด็นปัญหา แต่แล้วก็ไม่อาจอุดช่องว่างกันได้ในประเด็นปัญหาหมายเลข 19
สหรัฐฯนั้นคัดค้านอย่างเต็มที่ต่อการจัดตั้งกลไกเพื่อการคุ้มครองพิเศษ โดยให้เหตุผลว่าจะเป็นการเปิดทางให้มีการนำไปใช้ในทางมิชอบกันมากขึ้นเรื่อยๆ ขณะที่จีนกับอินเดียเรียกร้องต้องการกลไกดังกล่าวนี้ โดยมองว่าจะเป็นวิธีในการคุ้มครองชีวิตความเป็นอยู่, ความมั่นคงทางด้านอาหาร, และการพัฒนาชนบท สำหรับเกษตรกรในบรรดาประเทศกำลังพัฒนา
ความแตกต่างกันเช่นนี้ ทำให้เหล่ารัฐมนตรีจากราวๆ 30 ประเทศที่มาร่วมประชุมเจรจากันตั้งแต่สัปดาห์ที่แล้ว ตลอดจนผู้แทนจากรัฐสมาชิกอื่นๆ ใน 153 รัฐสมาชิกของ WTO ไม่สามารถที่จะบรรลุข้อตกลงกันได้ เกี่ยวกับขอบข่ายกรอบโครงต่างๆ สำหรับการเจรจาต่อรองกันในเรื่องสินค้าภาคเกษตรกรรม และเรื่องการเข้าถึงตลาดนอกภาคเกษตรกรรม
การเจรจาการค้าโลกภายใต้ WTO รอบที่เรียกกันว่า “รอบโดฮา” นี้ เริ่มเปิดฉากขึ้นที่กรุงโดฮา เมืองหลวงของกาตาร์ ในเดือนพฤศจิกายน 2001 ด้วยจุดมุ่งหมายที่จะเป็นการส่งสารแห่งความสมานฉันท์ มายังโลกที่กำลังอกสั่นขวัญแขวน จากการโจมตีก่อวินาศกรรมนครนิวยอร์กและกรุงวอชิงตันของผู้ก่อการร้ายในกรณี 11 กันยายน แล้วมันก็กำลังล้มครืนลงท่ามกลางภัยคุกคามที่จะเกิดวิกฤตครั้งใหม่ๆ อันเกี่ยวเนื่องกับราคาอาหารและน้ำมัน ตลอดจนปัญหาความเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ
“ในขณะที่กำลังต้องเผชิญกับวิกฤตราคาอาหารทั่วโลกเฉกเช่นเวลานี้ เราไม่สามารถที่จะยอมรับผลการเจรจาชนิดที่จะเพิ่มการตั้งกำแพงกีดกันการค้าอาหารโลกให้มากขึ้นได้หรอก” ซูซาน ชว็อป ผู้แทนการค้าสหรัฐฯ กล่าวยืนกรานทัศนะของฝ่ายอเมริกัน
ขณะที่ แคริน สมอลเลอร์ แห่งสถาบันเพื่อเกษตรกรรมและนโยบายการค้า (Institute for Agriculture and Trade Policy หรือ IATP) อธิบายให้เห็นภาพของความขัดแย้งชัดเจนขึ้นว่า “สหรัฐฯนั้นโต้แย้งโดยยกเหตุผลว่า การทำให้ที่ต่างๆ เปิดตลาดออกมาให้กว้างๆ คือวิธีที่ดีที่สุด” ที่จะสร้างความมั่นคงทางด้านอาหารขึ้นมา และที่จะส่งเสริมยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน “ตรงกันข้าม อินเดียกับจีน ด้วยความสนับสนุนของพวกสมาชิกจากประเทศกำลังพัฒนาส่วนใหญ่ เรียกร้องให้มีกลไกเพื่อการคุ้มครองที่เข้มแข็งขึ้นมา เพื่อปกป้องความมั่นคงทางด้านอาหารและชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน ในกรณีที่เกิดความยุ่งเหยิงวุ่นวายอย่างใหญ่ๆ ต่อตลาดภาคเกษตรกรรม”
ผู้อำนวยการใหญ่ลามียอมรับว่า การประชุมหารือรอบโดฮาต้องถือว่าพังพาบไปเสียแล้ว และการเจรจาของ WTO ในอนาคตนั้น “เราจะต้องรอให้ฝุ่นที่ตลบอยู่จางลงมาสักหน่อยก่อน” เขากล่าว อย่างไรก็ตาม เขายืนยันว่า เขายังไม่ได้ “โยนผ้ายอมแพ้”
ทางด้านรัฐมนตรีช่วยว่าการคลังของเม็กซิโก บีอาตริซ เลย์เซกุย บอกว่า ความล้มเหลวของการเจรจารอบโดฮา คือความสูญเสียของทั่วทั้งโลก เพราะมันเกิดขึ้นในจังหวะเวลาที่กำลังเกิดวิกฤตเศรษฐกิจที่ร้ายแรง, เกิดขึ้นในท่ามกลางลัทธิกีดกันการค้า, และเป็นการสูญเสียความน่าเชื่อถือของระบบพหุภาคี เธอมีความเห็นว่า ภายใต้เงื่อนไขต่างๆ เหล่านี้ จึงต้องถือเป็นเรื่องเร่งด่วนที่จะต้องรีบทำข้อตกลงกันให้ได้
อัลเฟรโด เชียราดา เลขาธิการสำนักงานความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างประเทศ แห่งกระทรวงการต่างประเทศอาร์เจนตินา กล่าวเสริมแบบให้มีความหวังว่า ในการเจรจารอบสุดท้ายของบรรดารัฐมนตรีเมื่อวันอังคาร มีบางคนแสดงความสนใจที่จะพยายามฟื้นชีพการหารือขึ้นมาใหม่
รัฐมนตรีช่วยเลย์เซกุยบอกว่า เม็กซิโกเรียกร้องอย่าได้ “โยนทุกสิ่งทุกอย่างที่สามารถตกลงกันได้แล้วลงถังขยะไปหมด” หลังจากที่ได้เจรจาอย่างทรหดกันมาถึง 9 วัน “มันเป็นเรื่องที่น่าหงุดหงิดผิดหวังมาก เพราะเราคิดว่ากำลังใกล้จะทำข้อตกลงกันได้แล้ว แต่แล้วก็ปรากฏว่าความมุ่งมั่นร่วมกันในทางการเมืองยังมีไม่เพียงพอ”
แอนน์-ลอร์ คอนสแตนติน ผู้เชี่ยวชาญอีกคนหนึ่งของสถาบันไอเอทีพี บอกกับสำนักข่าวไอพีเอสว่า เธอหวังว่าบรรดาประเทศสมาชิก WTO “จะมีความสร้างสรรค์เพียงพอที่จะขบคิดเกี่ยวกับวิธีการอย่างอื่น ที่จะมาแก้ไขปัญหาเรื่องการค้าในระดับพหุภาคี โดยควรต้องเป็นวิธีการซึ่งสอดคล้องกับเงื่อนไขใหม่ๆ ที่ดำรงอยู่ในปัจจุบันให้มากขึ้น และสามารถช่วยเหลือประเทศต่างๆ ได้จริงๆ ในการรับมือกับวิกฤตทั้งหลายที่พวกเขาต้องเผชิญ ไม่ว่าจะในเรื่องอาหาร, พลังงาน, หรือ ภูมิอากาศ”
รัฐมนตรีตาเอียนาของอาร์เจนตินาชี้ว่า การเจรจารอบโดฮานี้มุ่งหมายที่จะให้เป็นรอบแห่งการพัฒนา ซึ่งเอื้อประโยชน์แก่บรรดาประเทศยากจนที่สุด และเรื่องนี้จึงยิ่งทำให้ความล้มเหลวของรอบโดฮา เป็นสิ่งที่ชวนให้หงุดหงิดผิดหวังมากเป็นพิเศษ
ขณะที่ เจเรมี ฮอบบ์ ผู้อำนวยการองค์การการกุศลชื่อดัง ออกซ์แฟม อินเตอร์เนชั่นแนล ก็มองว่า “เรื่องนี้ถือเป็นความผิดหวังครั้งใหญ่ เพราะในเวลานี้ที่ราคาอาหารและเชื้อเพลิงกำลังสูงลิ่ว และทิศทางอนาคตของเศรษฐกิจโลกก็ไม่มีความแน่นอน ประชาชนผู้ยากจนที่สุดของโลกจึงกำลังอยู่ในภาวะที่อ่อนแอมากขึ้นเรื่อยๆ การมีข้อตกลงทางการค้าที่ดีพอสมควร ย่อมจะทำให้พวกเขามีโอกาสที่จะป้องกันไม่ให้จมลงไปในความยากจนอย่างเลวร้ายยิ่งขึ้นไปอีก”
อัฟตับ อาลัม ข่าน แห่งกลุ่มแอคชั่นเอด บอกว่า “ความล้มเหลวคราวนี้ถือเป็นความรับผิดชอบเท่าๆ กันของสหรัฐฯและอียู ที่ไม่สามารถขบคิดไปให้ไกลเกินกว่าผลประโยชน์ของพวกธุรกิจข้ามชาติอันใหญ่โตมโหฬารของพวกเขา ซึ่งต้องการที่จะกวาดยึดเอาโอกาสทางการตลาดในหมู่ประเทศยากจนให้ได้มากขึ้นและมากขึ้น การที่สหรัฐฯและอียูจะไปประณามจีนและอินเดียว่าเป็นตัวการทำให้เกิดความล้มเหลวนั้น จึงเป็นเพียงเรื่องที่น่าหัวเราะเยาะเท่านั้น”
ขณะที่ในทัศนะของรัฐมนตรีอาโมริมแห่งบราซิล “ผู้สังเกตการณ์จากภายนอกไม่ว่าคนไหนก็ตาม ย่อมจะไม่เชื่อเลยว่าหลังจากมีความก้าวหน้าอย่างที่ทำกันได้แล้ว เราก็ยังไม่สามารถที่จะทำให้การเจรจาเสร็จสิ้นลงไปได้”
(สำนักข่าวอินเตอร์เพรสเซอร์วิส)