(จากเอเชียไทมส์ออนไลน์ www.atimes.com)
China’s pride versus Western prejudice
By Da Wei
01/05/2008
รัฐบาลจีนไม่ได้คาดหมายว่า มหกรรมกีฬาโอลิมปิกจะถูกทำให้กลายเป็นเรื่องการเมืองในขนาดขอบเขตที่กำลังเป็นอยู่ในเวลานี้ และผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นคือความสูญเสียใหญ่สำหรับฝ่ายปักกิ่ง นอกจากนั้นมันยังทำลายภาพลักษณ์แห่งความเป็น “สังคมที่สอดคล้องกลมกลืนกัน” ของจีน ตลอดจนกระตุ้นให้เกิดคลื่นแห่งลัทธิชาตินิยมจีนระลอกใหม่ ชาวจีนจำนวนมากขณะนี้รู้สึกว่าถูกอุดมการณ์ของฝ่ายตะวันตกมองว่าเป็นศัตรู ซึ่งนับเป็นครั้งแรกในรอบหลายๆ ปีทีเดียวที่รู้สึกกันเช่นนี้
ไม่มีใครคาดการณ์ล่วงหน้าถึงพลวัตที่จุดชนวนขึ้นโดยการจลาจลในทิเบตเมื่อวันที่ 14 มีนาคม จุดโฟกัสของความสนใจได้ปรับเปลี่ยนจากพวกก่อจลาจลที่ต่อสู้กับตำรวจติดอาวุธตามท้องถนนในนครลาซา ไปยังพวกนักเคลื่อนไหวที่คอยก่อกวนผู้วิ่งคบเพลิงโอลิมปิกทั้งในลอนดอน, ปารีส, และซานฟรานซิสโก และสุดท้ายก็มาสู่ชาวจีนโดยทั่วไปซึ่งโกรธเกรี้ยวพวกที่ “สร้างความเจ็บช้ำให้แก่ความรู้สึกของประชาชนจีน” (เมื่อมองจากทัศนะมุมมองของฝ่ายคนจีน) ยุติธรรมหรือไม่ก็ตามที แต่รายชื่อของ “คนเลว” (จากทัศนะมุมมองของฝ่ายคนจีน) มีอาทิ “ก๊วนทะไล”, ซีเอ็นเอ็น, และ คาร์ฟูร์ เครือข่ายซูเปอร์มาร์เก็ตสัญชาติฝรั่งเศส
**คลื่นระลอกใหม่แห่งลัทธิชาตินิยมจีน**
ครั้งนี้อย่างน้อยก็เป็นครั้งที่สี่แล้วในรอบสิบปีที่ผ่านมาของกระแสลัทธิรักชาติหรือลัทธิชาตินิยมของคนจีน โดยครั้งก่อนๆ สิ่งที่จุดชนวนได้แก่ การทิ้งระเบิดใส่สถานเอกอัครราชทูตจีนในยูโกสลาเวียเมื่อปี 1999, เหตุการณ์เครื่องบินตรวจการณ์อิเล็กทรอนิกส์แบบ อีพี-3 ของสหรัฐฯในปี 2001, และการประท้วงต่อต้านนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นที่ไปสักการะศาลเจ้ายาสุคุนิในปี 2005
คลื่นระลอกล่าสุดของลัทธิชาตินิยมคราวนี้ มีลักษณะใหม่ๆ หลายประการ ประการแรกทีเดียว จากทัศนะมุมมองของคนจีนแล้ว มันไม่ได้จุดชนวนด้วยเหตุการณ์เดียวโดดๆ เหมือนกรณี อีพี-3 ซึ่งเครื่องบินสอดแนมลำหนึ่งของกองทัพเรือสหรัฐฯตกลงบนเกาะไหหลำ กล่าวคือ พวกองค์การของชาวทิเบตลี้ภัยได้มีการตระเตรียมอย่างถี่ถ้วนที่จะใช้มหกรรมกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อนที่ปักกิ่งเพื่อดึงความสนใจของนานาชาติ, พวกนักเคลื่อนไหวด้านสิทธิมนุษยชนของฝ่ายตะวันตกเริ่มทำให้โอลิมปิกคราวนี้กลายเป็นเรื่องการเมือง ด้วยการประโคมประเด็นปัญหาต่างๆ อย่างเช่น เรื่องแคว้นดาร์ฟูร์, ประเทศซูดาน มาตั้งแต่หลายปีก่อนหน้านี้แล้ว ประการที่สอง มันไม่ใช่เป็นความขัดแย้งกับประเทศหนึ่งใดเพียงประเทศเดียว ชาวจีนรู้สึกว่าพวกเขากำลังเผชิญกับการประสานเสียงกันของทั่วทั้งโลกตะวันตก ประการที่สาม “การประสานเสียง” เช่นนี้ มิใช่แค่ประกอบไปด้วยรัฐบาลต่างๆ ของฝ่ายตะวันตกเท่านั้น หากยังรวมถึงสื่อตะวันตกและภาคประชาสังคมตะวันตกอีกด้วย
ทั้งหมดเหล่านี้ทำให้ชาวจีนจำนวนมาก รู้สึกขึ้นมาเป็นครั้งแรกในรอบหลายๆ ปีว่า พวกเขากำลังเผชิญหน้ากับอุดมการณ์ของฝ่ายตะวันตก ดังนั้น สถานการณ์นี้จึงมีความนัยใหญ่หลวงยิ่งกว่าคลื่นลัทธิชาตินิยมระลอกที่ผ่านๆ มา การประจันหน้ากันคราวนี้จึงไม่ควรมองแบบง่ายๆ เพียงแค่เป็นการปะทะกันระหว่างถูกกับผิด อย่างที่เคยเกิดขึ้นในช่วงที่มีความขัดแย้งทางอุดมการณ์ของสหรัฐฯ-สหภาพโซเวียตยุคสงครามเย็น ตรงกันข้าม มันคือการปะทะกันระหว่างความทระนงของจีนกับความมีอคติของฝ่ายตะวันตก
ในการตอบโต้คราวนี้ เราจึงเห็นชาวจีนรุ่นหนุ่มสาวพากันระดมกำลังกันในอินเทอร์เน็ตด้วยอัตราเร็วและขนาดที่ไม่เคยพบไม่เคยเห็นกันมาก่อน และเป็นครั้งแรกในรอบสิบปีที่คนจีนโพ้นทะเลก็แสดงบทบาทอย่างสำคัญด้วย ชาวจีนโพ้นทะเลจัดการเดินขบวนและการชุมนุมเพื่อสนับสนุนจีน ทั้งในปารีส, ลอนดอน, ลอสแองเจลิส, และนครอื่นๆ ความรวดเร็วของพวกเขาก็น่าตื่นใจยิ่ง ในวันที่ 16 เมษายน เพียงแค่วันเดียว ผู้ใช้บริการ MSN messenger ชาวจีนกว่า 2 ล้านคน (ส่วนมากเป็นนักวิชาชีพทำงานออฟฟิศที่อยู่ในวัยหนุ่มสาวและพำนักตามเมืองใหญ่) ต่างรับเอาสัญลักษณ์รูปหัวใจเคียงคู่กับคำว่า “ประเทศจีน” (ซึ่งหมายความว่า “รักประเทศจีน”) มาเป็นลายเซ็นเอ็มเอสเอ็นของพวกตน ขบวนการ “รักประเทศจีน”นี้จัดตั้งขึ้นมาโดยชาวเน็ตในไม่ช้าก็แพร่หลายไปทั่วทั้งชาติ
**ระยะสั้น: สถานการณ์ที่มีแต่แพ้กับแพ้**
เมื่อสุ้มเสียงอึกทีกและความเดือดดาลค่อยจางหายไป เราก็สามารถตรวจสอบผลได้และผลเสียของฝ่ายต่างๆ ทั้งฝ่ายทะไลลามะ, จีน, และพวกประเทศตะวันตก
เห็นชัดเจนว่า ทะไลลามะและผู้สนับสนุนของเขาประสบความสำเร็จในการดึงความสนใจของนานาชาติมาสู่ประเด็นปัญหาเรื่องทิเบต ทว่าการได้รับความสนใจจากนานาชาติไม่ได้เป็นหนทางเดียวที่จะทำให้ได้วิธีแก้ไขซึ่งเป็นที่พอใจของพวกเขา หนทางแก้ไขอย่างถาวรต่อปัญหาเรื่องทิเบต ซึ่งจะเป็นที่พออกพอใจของทุกๆ ฝ่ายที่เกี่ยวข้องนั้น สามารถที่จะบรรลุได้ก็ด้วยการสนับสนุนของชาวจีนสามัญธรรมดาเท่านั้น อย่างไรก็ดี การจลาจลและการปลุกปั่นที่บังเกิดขึ้นระหว่างการวิ่งคบเพลิงโอลิมปิกนั้น กลับผลักไสทะไลลามะ, รัฐบาลลี้ภัยของเขา, และองค์กรอย่างเช่น สมัชชาเยาวชนทิเบต ให้ถอยห่างไปจากชาวจีนส่วนข้างมาก
สำหรับนักเคลื่อนไหวด้านสิทธิมนุษยชนและพวกเห็นอกเห็นใจทะไลลามะในหมู่ประเทศตะวันตก การกระทำของพวกเขาสามารถเรียกได้ว่าประสบความล้มเหลว ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นขณะมีการวิ่งคบเพลิงโอลิมปิกนั้น ได้เปลี่ยนจุดสนใจจากปัญหาเรื่องทิเบต ไปเป็นเรื่องความแตกแยกทางอุดมการณ์ต่างๆ สัมฤทธิผลเพียงประการเดียวของพวกเขาคือการทำให้รัฐบาลจีนต้องอับอายขายหน้า ขณะเดียวกัน พวกเขาก็ทำให้ชาวจีนส่วนข้างมากรู้สึกไม่พอใจจากความพยายามที่จะดับคบเพลิงโอลิมปิก ซึ่งเป็นจุดรวมของความหวังและไมตรีจิตของประชาชนจีน จึงถือเป็นการทำให้ชาวจีนสามัญธรรมดารู้สึกอับอายขายหน้าและรู้สึกถูกดูหมิ่นเหยียดหยาม
กล่าวในส่วนของปักกิ่งแล้ว นี่คือความสูญเสียครั้งใหญ่ รัฐบาลจีนไม่ได้คาดหมายมาก่อนว่ากีฬาโอลิมปิกจะถูกทำให้กลายเป็นเรื่องการเมืองกันถึงขนาดนี้ นอกจากนั้นมันยังสร้างความเสียหายอย่างสาหัสให้แก่ภาพลักษณ์ “การพัฒนาอย่างสันติ” ของจีน ตลอดจนภาพลักษณ์ “สังคมที่สอดคล้องกลมกลืนกัน” ของจีน
**ทิเบตและการสร้างชาติขึ้นในจีน**
กุญแจสำคัญที่จะเข้าใจถึงการตอบโต้ต่อพลวัตรเหล่านี้ของชาวจีนสามัญธรรมดา ก็คือการมองปัญหาทิเบตจากแว่นของกระบวนการสร้างชาติของจีน
เอเชียตะวันออกโบราณโดยพื้นฐานแล้วเป็น “โลกเล็กๆ” ที่นิยามด้วยคำภาษาจีนว่า “เทียนเซี่ย” หรือ “ทุกสิ่งใต้สวรรค์ลงมา” บรรดาผู้มีอำนาจทางการเมืองและผู้มีอำนาจของชนชาติที่แตกต่างหลากหลายนานา ต่างมีปฏิสัมพันธ์กันภายในแวดวงของเทียนเซี่ย ทั้งนี้การนำเอาแนวคิดยุโรปสมัยใหม่ว่าด้วยเรื่องรัฐชาติ และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ มาใช้บรรยายความสัมพันธ์ในหมู่ผู้มีอำนาจเหล่านั้น ย่อมเป็นการกระทำที่ทำให้เรื่องซับซ้อนกลายเป็นเรื่องง่ายหยาบจนเกินไป
ระบบนี้เริ่มแปรเปลี่ยนเข้าสู่รัฐชาติในแบบของยุค “สันติภาพแห่งเวสต์ฟาเลีย” เมื่อราชวงศ์ชิงพ่ายแพ้แก่ชาวยุโรปในกลางคริสต์ศตวรรษที่ 19 เหล่าปัญญาชนและเหล่านักปฏิวัติได้นิยามคำว่า “จงกั๋ว” กันเสียใหม่ และใช้ศัพท์ใหม่ในฐานะที่เป็นนามของรัฐชาติใหม่ที่แปรเปลี่ยนไปนี้ ในทำนองเดียวกันก็มีการสร้างแนวคิดกันใหม่ให้กับคำว่า “ชาติจีน” (จงหวาหมินจู๋) โดยที่ ดร.ซุนยัตเซ็น ให้หมายถึงบรรดากลุ่มชนชาติใหญ่ๆ ทั้งหมดที่อยู่ในประเทศจีน การสร้างใหม่เหล่านี้ทั้งหมดล้วนวางอยู่บนพื้นฐานข้อเท็จจริงทางการเมืองและทางดินแดนของปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 เมื่อทิเบตเป็นส่วนหนึ่งของประชาคมซึ่งต่อมาได้พัฒนากลายเป็นประเทศจีนสมัยใหม่
ความสำคัญของประเด็นปัญหาทิเบต คือการสะท้อนถึงบทบาทของทิเบตในแนวคิดที่ถือว่าประเทศจีนเป็นรัฐชาติที่มีหลายๆ ชนชาติและหลายๆ วัฒนธรรม กระบวนการสร้างชาติเช่นนี้ขึ้นมา เป็นผลผลิตของความพยายามร่วมกันของชาวจีน (ซึ่งรวมถึงชาวจีนชนชาติทิเบตด้วย) รุ่นแล้วรุ่นเล่า ดังนั้น ปัญหาทิเบตจึงเป็นเหมือนกระดาษลิตมัสสำหรับทดสอบ ตลอดจนเป็นพื้นที่สำหรับการพิสูจน์เรื่องความเป็นรัฐชาติของประเทศจีน
**วิกฤตสามารถเปลี่ยนเป็นโอกาสได้ไหม**
อย่างไรก็ตาม ยังมีเหตุผลอยู่หลายประการที่ทำให้เกิดความหวัง ฝ่ายทะไลลามะ, รัฐบาลจีน, และฝ่ายตะวันตก สามารถที่จะมีปฏิสัมพันธ์กันแบบทุกฝ่ายชนะหมดได้ หากทุกฝ่ายคิดและกระทำภายใต้การยอมรับรู้ร่วมกันว่า จีนคือรัฐชาติที่มีหลายชนชาติ, หลายวัฒนธรรม, และมีบูรณภาพเป็นหนึ่งเดียว
ทฤษฎีพื้นฐานไม่ว่าจะเป็นสาธารณรัฐจีนของซุนยัตเซ็น และสาธารณรัฐประชาชนจีนในปัจจุบัน ต่างไปไกลเกินกว่าแนวความคิดเรื่อง “หนึ่งกลุ่มชนชาติ หนึ่งรัฐ” กันทั้งนั้น สาธารณรัฐประชาชนจีนไปไกลถึงขั้นสถาปนาเขตปกครองตนเองขึ้น 3 ระดับ และกำลังดำเนินนโยบายต่างๆ ในเรื่อง “สิทธิปกครองตนเองในระดับภูมิภาคของชนชาติต่างๆ” แต่แน่นอนทีเดียว ยังมีอะไรอีกมากที่จะต้องกระทำต่อไป
ในด้านหนึ่ง รัฐบาลจีนจำเป็นต้องมีธรรมาภิบาลอันทรงประสิทธิผลในระดับท้องถิ่น นโยบายเช่นนี้สามารถที่จะรวมเอาเรื่องการปกป้องและขยายสิทธิมนุษยชน, ตลอดจนการประยุกต์ใช้ปฏิบัติการเพื่อให้สิทธิพิเศษด้านใหม่ๆ ในพื้นที่ปกครองตนเอง อย่างเช่น การจ้างงาน ซึ่งจัดทำกันขึ้นมาโดยปรับให้สอดคล้องกับสภาพการพัฒนาเศรษฐกิจตลาดในทิเบต
รัฐบาลจีนยังจำเป็นต้องเพิ่มความแข็งแกร่งให้แก่ฐานะบทบาทของชาวทิเบตและชนกลุ่มน้อยที่เป็นชนชาติกลุ่มอื่นๆ ในการอภิปรายทางการเมืองอย่างเป็นทางการของประเทศ ตัวอย่างเช่น จำเป็นต้องมีการวิจัยและการศึกษาประวัติศาสตร์ของชนชาติต่างๆ เหตุผลที่ต้องทำเรื่องเหล่านี้ก็ง่ายๆ ชัดเจนอยู่แล้ว นั่นคือ หากชาวทิเบตรู้สึกภาคภูมิใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของประเทศจีนเสียแล้ว ขบวนการเรียกร้องเอกราชก็จะสูญเสียรากฐานของขบวนการไปเลย
สำหรับเรื่องของโอลิมปิก ชาวจีนจำเป็นจะต้องทำความเข้าใจให้ดียิ่งขึ้นว่า คนอเมริกันและคนยุโรปนั้นไม่ได้จงใจทำร้ายพวกเขา เมื่อวัฒนธรรมที่แตกต่างกันมาเจอะเจอเผชิญหน้ากัน และประชาชนไม่ได้มีความเข้าใจอันลึกซึ้งต่อกันและกันแล้ว ย่อมหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องเกิดความขัดแย้งขึ้น ภารกิจเร่งด่วนสำหรับปัญญาชนจีนและคนรุ่นหนุ่มสาวของจีนก็คือ การแสวงหาอุดมการณ์ ตลอดจนการปรับแต่งความประณีตซับซ้อนให้แก่อุดมการณ์ที่เหมาะสมสอดคล้องกับประเทศจีน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พวกเขาจะต้องระบุให้ได้ชัดเจนว่า ระหว่างอุดมการณ์ดังกล่าวของจีนกับของฝ่ายตะวันตกนั้น มีคุณค่าอะไรบ้างที่เชื่อมต่อกันได้ และคุณค่าอะไรบ้างที่ขัดแย้งแยกห่างจากกัน ตลอดจนตอบคำถามที่ว่า จีนสามารถมีคุณูปการให้แก่โลกได้ในด้านแนวคิดประเภทใด
ถ้าทะไลลามะมีความจริงใจในคำพูดของเขาที่ว่าเขาไม่ได้เรียกร้องให้ทิเบตเป็นเอกราช เขาและผู้คนรอบๆ ตัวเขาก็ควรตระหนักว่า ข้อเรียกร้องต้องการให้มี “มหาทิเบต” หรือ “พื้นที่สันติภาพ” นั้น ล้วนแต่เป็นไปไม่ได้ หรือไม่เอื้อต่อการสร้างรัฐชาติที่ประกอบด้วยหลายชนชาติเลย ข้อเรียกร้องเหล่านี้มีแต่จะเกิดผลประการเดียว นั่นคือ ทำให้ชาวจีนอื่นๆ รู้สึกว่าข้อเรียกร้องเหล่านี้คือกระดานหกสำหรับกระโจนไปสู่การเป็นเอกราชต่อไปในอนาคต ถ้าหากทะไลลามะคำนึงถึงมรดกทางศาสนาและวัฒนธรรมของทิเบตอย่างแท้จริงแล้ว เขาก็ควรพูดให้มากขึ้นเกี่ยวกับนโยบายในเรื่องเหล่านั้น แทนที่จะพูดเรื่องการบริหารปกครองและเขตอำนาจของจีน ถ้าเขาคิดอย่างจริงใจว่าทิเบตเป็นส่วนหนึ่งของจีนแล้ว ก็จักเป็นการดีกว่าที่เขาจะปล่อยให้นักประวัติศาสตร์เป็นผู้ถกเถียงเรื่องประเด็นปัญหาทางประวัติศาสตร์ทั้งหลาย และเลิกโต้แย้งว่าในอดีตนั้นทิเบตไม่ได้เคยเป็นส่วนหนึ่งของจีน
คนอเมริกันและคนยุโรปไม่ควรรู้สึกหวั่นผวาต่ออารมณ์ความรู้สึกแบบชาตินิยมของชาวจีน ลัทธิชาตินิยมไม่ได้เป็นคุณค่าทางด้านลบ รัฐชาติทั้งหลายรวมทั้งสหรัฐฯและพวกประเทศทางยุโรปต่างก็ก่อตั้งขึ้นมาโดยขบวนการชาตินิยมทั้งนั้น แน่นอนว่าย่อมเป็นการดีกว่า ถ้าประเทศตะวันตกจะมีความเข้าใจต่อจีนอย่างลึกซึ้งและประณีตซับซ้อนยิ่งขึ้น แต่มันก็ยังจะได้ประโยชน์อยู่ หากบรรดานักสังเกตการณ์ชาวตะวันตกจะขบคิดพิจารณาถึงประเด็น 3 ประเด็นดังต่อไปนี้
---ทิเบตเป็นส่วนหนึ่งของจีนหรือไม่ คำถามข้อนี้ไม่อาจหาคำตอบกันได้ง่ายๆ เนื่องจากในประวัติศาสตร์นั้นไม่ได้มีรัฐชาติแบบที่เราเรียกว่า “ประเทศจีน” ผู้คนซึ่งมีสมมุติฐานที่แตกต่างกันอาจสามารถหาหลักฐานมาสนับสนุนทัศนะของพวกเขาได้ทั้งสิ้น ทว่าเป็นเรื่องปฏิเสธไม่ได้เลยว่าทิเบตมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงใกล้ชิดทางประวัติศาสตร์กับส่วนอื่นๆ ของประเทศจีน ดังนั้น การอ้างว่าทิเบตไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของจีน ไม่แต่เพียงขัดแย้งกับจุดยืนของรัฐบาลทั้งหลายในโลกตะวันตก (และไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะรัฐบาลของโลกตะวันตกเท่านั้นด้วย) แต่ยังเป็นการขาดความลึกซึ้งทางสติปัญญาอีกด้วย
---มีปัญหาสิทธิมนุษยชนในทิเบต เฉกเช่นเดียวกับในพื้นที่อื่นๆ ในประเทศจีน และส่วนอื่นๆ ของโลก ทว่าปัญหาสิทธิมนุษยชนในทิเบตโดยหลักใหญ่แล้วเป็นปัญหาของธรรมาภิบาล ไม่ใช่ปัญหาทางชนชาติหรือวัฒนธรรม ไม่ว่าลัทธิคอมมิวนิสต์หรืออุดมการณ์อื่นใด ก็ล้วนไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเรื่องนี้
---แนวคิดเรื่องประเทศจีนนั้นครอบคลุมถึงจีนทั้งหมดทั้งสิ้น แนวคิดเรื่องชาวจีนก็ครอบคลุมถึงกลุ่มชนชาติทั้งหมดทั้งสิ้นในประเทศจีน ดังนั้น โปรดยุติการใช้ถ้อยคำที่เป็นการแบ่งแยก อย่างเช่น ทิเบต ปะทะกับ จีน หรือ ชาวทิเบต ปะทะกับ ชาวจีน เพราะชาวจีนชนชาติทิเบตย่อมเป็นชาวจีน เฉกเช่นเดียวกับชาวอเมริกันเชื้อสายแอฟริกันย่อมเป็นชาวอเมริกัน
ต้าเหว่ย เป็นรองศาสตราจารย์ด้านการวิจัยแห่งสถาบันความสัมพันธ์ระหว่างประเทศร่วมสมัยแห่งประเทศจีน (CICIR) ปัจจุบันเขาเป็นผู้ร่วมงานตามโครงการแลกเปลี่ยน อยู่ที่วิทยาลัยการระหว่างประเทศศึกษาชั้นสูง (SAIS) มหาวิทยาลัยจอห์นฮอปกินส์ ทัศนะต่างๆ ที่แสดงไว้ในบทความนี้เป็นทัศนะส่วนตัวของผู้เขียน และไม่ได้สะท้อนถึงทัศนะขององค์การใดๆ ที่เขาเกี่ยวข้องอยู่ด้วย
(เผยแพร่โดยได้รับอนุญาตจาก Pacific Forum CSIS)
China’s pride versus Western prejudice
By Da Wei
01/05/2008
รัฐบาลจีนไม่ได้คาดหมายว่า มหกรรมกีฬาโอลิมปิกจะถูกทำให้กลายเป็นเรื่องการเมืองในขนาดขอบเขตที่กำลังเป็นอยู่ในเวลานี้ และผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นคือความสูญเสียใหญ่สำหรับฝ่ายปักกิ่ง นอกจากนั้นมันยังทำลายภาพลักษณ์แห่งความเป็น “สังคมที่สอดคล้องกลมกลืนกัน” ของจีน ตลอดจนกระตุ้นให้เกิดคลื่นแห่งลัทธิชาตินิยมจีนระลอกใหม่ ชาวจีนจำนวนมากขณะนี้รู้สึกว่าถูกอุดมการณ์ของฝ่ายตะวันตกมองว่าเป็นศัตรู ซึ่งนับเป็นครั้งแรกในรอบหลายๆ ปีทีเดียวที่รู้สึกกันเช่นนี้
ไม่มีใครคาดการณ์ล่วงหน้าถึงพลวัตที่จุดชนวนขึ้นโดยการจลาจลในทิเบตเมื่อวันที่ 14 มีนาคม จุดโฟกัสของความสนใจได้ปรับเปลี่ยนจากพวกก่อจลาจลที่ต่อสู้กับตำรวจติดอาวุธตามท้องถนนในนครลาซา ไปยังพวกนักเคลื่อนไหวที่คอยก่อกวนผู้วิ่งคบเพลิงโอลิมปิกทั้งในลอนดอน, ปารีส, และซานฟรานซิสโก และสุดท้ายก็มาสู่ชาวจีนโดยทั่วไปซึ่งโกรธเกรี้ยวพวกที่ “สร้างความเจ็บช้ำให้แก่ความรู้สึกของประชาชนจีน” (เมื่อมองจากทัศนะมุมมองของฝ่ายคนจีน) ยุติธรรมหรือไม่ก็ตามที แต่รายชื่อของ “คนเลว” (จากทัศนะมุมมองของฝ่ายคนจีน) มีอาทิ “ก๊วนทะไล”, ซีเอ็นเอ็น, และ คาร์ฟูร์ เครือข่ายซูเปอร์มาร์เก็ตสัญชาติฝรั่งเศส
**คลื่นระลอกใหม่แห่งลัทธิชาตินิยมจีน**
ครั้งนี้อย่างน้อยก็เป็นครั้งที่สี่แล้วในรอบสิบปีที่ผ่านมาของกระแสลัทธิรักชาติหรือลัทธิชาตินิยมของคนจีน โดยครั้งก่อนๆ สิ่งที่จุดชนวนได้แก่ การทิ้งระเบิดใส่สถานเอกอัครราชทูตจีนในยูโกสลาเวียเมื่อปี 1999, เหตุการณ์เครื่องบินตรวจการณ์อิเล็กทรอนิกส์แบบ อีพี-3 ของสหรัฐฯในปี 2001, และการประท้วงต่อต้านนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นที่ไปสักการะศาลเจ้ายาสุคุนิในปี 2005
คลื่นระลอกล่าสุดของลัทธิชาตินิยมคราวนี้ มีลักษณะใหม่ๆ หลายประการ ประการแรกทีเดียว จากทัศนะมุมมองของคนจีนแล้ว มันไม่ได้จุดชนวนด้วยเหตุการณ์เดียวโดดๆ เหมือนกรณี อีพี-3 ซึ่งเครื่องบินสอดแนมลำหนึ่งของกองทัพเรือสหรัฐฯตกลงบนเกาะไหหลำ กล่าวคือ พวกองค์การของชาวทิเบตลี้ภัยได้มีการตระเตรียมอย่างถี่ถ้วนที่จะใช้มหกรรมกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อนที่ปักกิ่งเพื่อดึงความสนใจของนานาชาติ, พวกนักเคลื่อนไหวด้านสิทธิมนุษยชนของฝ่ายตะวันตกเริ่มทำให้โอลิมปิกคราวนี้กลายเป็นเรื่องการเมือง ด้วยการประโคมประเด็นปัญหาต่างๆ อย่างเช่น เรื่องแคว้นดาร์ฟูร์, ประเทศซูดาน มาตั้งแต่หลายปีก่อนหน้านี้แล้ว ประการที่สอง มันไม่ใช่เป็นความขัดแย้งกับประเทศหนึ่งใดเพียงประเทศเดียว ชาวจีนรู้สึกว่าพวกเขากำลังเผชิญกับการประสานเสียงกันของทั่วทั้งโลกตะวันตก ประการที่สาม “การประสานเสียง” เช่นนี้ มิใช่แค่ประกอบไปด้วยรัฐบาลต่างๆ ของฝ่ายตะวันตกเท่านั้น หากยังรวมถึงสื่อตะวันตกและภาคประชาสังคมตะวันตกอีกด้วย
ทั้งหมดเหล่านี้ทำให้ชาวจีนจำนวนมาก รู้สึกขึ้นมาเป็นครั้งแรกในรอบหลายๆ ปีว่า พวกเขากำลังเผชิญหน้ากับอุดมการณ์ของฝ่ายตะวันตก ดังนั้น สถานการณ์นี้จึงมีความนัยใหญ่หลวงยิ่งกว่าคลื่นลัทธิชาตินิยมระลอกที่ผ่านๆ มา การประจันหน้ากันคราวนี้จึงไม่ควรมองแบบง่ายๆ เพียงแค่เป็นการปะทะกันระหว่างถูกกับผิด อย่างที่เคยเกิดขึ้นในช่วงที่มีความขัดแย้งทางอุดมการณ์ของสหรัฐฯ-สหภาพโซเวียตยุคสงครามเย็น ตรงกันข้าม มันคือการปะทะกันระหว่างความทระนงของจีนกับความมีอคติของฝ่ายตะวันตก
ในการตอบโต้คราวนี้ เราจึงเห็นชาวจีนรุ่นหนุ่มสาวพากันระดมกำลังกันในอินเทอร์เน็ตด้วยอัตราเร็วและขนาดที่ไม่เคยพบไม่เคยเห็นกันมาก่อน และเป็นครั้งแรกในรอบสิบปีที่คนจีนโพ้นทะเลก็แสดงบทบาทอย่างสำคัญด้วย ชาวจีนโพ้นทะเลจัดการเดินขบวนและการชุมนุมเพื่อสนับสนุนจีน ทั้งในปารีส, ลอนดอน, ลอสแองเจลิส, และนครอื่นๆ ความรวดเร็วของพวกเขาก็น่าตื่นใจยิ่ง ในวันที่ 16 เมษายน เพียงแค่วันเดียว ผู้ใช้บริการ MSN messenger ชาวจีนกว่า 2 ล้านคน (ส่วนมากเป็นนักวิชาชีพทำงานออฟฟิศที่อยู่ในวัยหนุ่มสาวและพำนักตามเมืองใหญ่) ต่างรับเอาสัญลักษณ์รูปหัวใจเคียงคู่กับคำว่า “ประเทศจีน” (ซึ่งหมายความว่า “รักประเทศจีน”) มาเป็นลายเซ็นเอ็มเอสเอ็นของพวกตน ขบวนการ “รักประเทศจีน”นี้จัดตั้งขึ้นมาโดยชาวเน็ตในไม่ช้าก็แพร่หลายไปทั่วทั้งชาติ
**ระยะสั้น: สถานการณ์ที่มีแต่แพ้กับแพ้**
เมื่อสุ้มเสียงอึกทีกและความเดือดดาลค่อยจางหายไป เราก็สามารถตรวจสอบผลได้และผลเสียของฝ่ายต่างๆ ทั้งฝ่ายทะไลลามะ, จีน, และพวกประเทศตะวันตก
เห็นชัดเจนว่า ทะไลลามะและผู้สนับสนุนของเขาประสบความสำเร็จในการดึงความสนใจของนานาชาติมาสู่ประเด็นปัญหาเรื่องทิเบต ทว่าการได้รับความสนใจจากนานาชาติไม่ได้เป็นหนทางเดียวที่จะทำให้ได้วิธีแก้ไขซึ่งเป็นที่พอใจของพวกเขา หนทางแก้ไขอย่างถาวรต่อปัญหาเรื่องทิเบต ซึ่งจะเป็นที่พออกพอใจของทุกๆ ฝ่ายที่เกี่ยวข้องนั้น สามารถที่จะบรรลุได้ก็ด้วยการสนับสนุนของชาวจีนสามัญธรรมดาเท่านั้น อย่างไรก็ดี การจลาจลและการปลุกปั่นที่บังเกิดขึ้นระหว่างการวิ่งคบเพลิงโอลิมปิกนั้น กลับผลักไสทะไลลามะ, รัฐบาลลี้ภัยของเขา, และองค์กรอย่างเช่น สมัชชาเยาวชนทิเบต ให้ถอยห่างไปจากชาวจีนส่วนข้างมาก
สำหรับนักเคลื่อนไหวด้านสิทธิมนุษยชนและพวกเห็นอกเห็นใจทะไลลามะในหมู่ประเทศตะวันตก การกระทำของพวกเขาสามารถเรียกได้ว่าประสบความล้มเหลว ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นขณะมีการวิ่งคบเพลิงโอลิมปิกนั้น ได้เปลี่ยนจุดสนใจจากปัญหาเรื่องทิเบต ไปเป็นเรื่องความแตกแยกทางอุดมการณ์ต่างๆ สัมฤทธิผลเพียงประการเดียวของพวกเขาคือการทำให้รัฐบาลจีนต้องอับอายขายหน้า ขณะเดียวกัน พวกเขาก็ทำให้ชาวจีนส่วนข้างมากรู้สึกไม่พอใจจากความพยายามที่จะดับคบเพลิงโอลิมปิก ซึ่งเป็นจุดรวมของความหวังและไมตรีจิตของประชาชนจีน จึงถือเป็นการทำให้ชาวจีนสามัญธรรมดารู้สึกอับอายขายหน้าและรู้สึกถูกดูหมิ่นเหยียดหยาม
กล่าวในส่วนของปักกิ่งแล้ว นี่คือความสูญเสียครั้งใหญ่ รัฐบาลจีนไม่ได้คาดหมายมาก่อนว่ากีฬาโอลิมปิกจะถูกทำให้กลายเป็นเรื่องการเมืองกันถึงขนาดนี้ นอกจากนั้นมันยังสร้างความเสียหายอย่างสาหัสให้แก่ภาพลักษณ์ “การพัฒนาอย่างสันติ” ของจีน ตลอดจนภาพลักษณ์ “สังคมที่สอดคล้องกลมกลืนกัน” ของจีน
**ทิเบตและการสร้างชาติขึ้นในจีน**
กุญแจสำคัญที่จะเข้าใจถึงการตอบโต้ต่อพลวัตรเหล่านี้ของชาวจีนสามัญธรรมดา ก็คือการมองปัญหาทิเบตจากแว่นของกระบวนการสร้างชาติของจีน
เอเชียตะวันออกโบราณโดยพื้นฐานแล้วเป็น “โลกเล็กๆ” ที่นิยามด้วยคำภาษาจีนว่า “เทียนเซี่ย” หรือ “ทุกสิ่งใต้สวรรค์ลงมา” บรรดาผู้มีอำนาจทางการเมืองและผู้มีอำนาจของชนชาติที่แตกต่างหลากหลายนานา ต่างมีปฏิสัมพันธ์กันภายในแวดวงของเทียนเซี่ย ทั้งนี้การนำเอาแนวคิดยุโรปสมัยใหม่ว่าด้วยเรื่องรัฐชาติ และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ มาใช้บรรยายความสัมพันธ์ในหมู่ผู้มีอำนาจเหล่านั้น ย่อมเป็นการกระทำที่ทำให้เรื่องซับซ้อนกลายเป็นเรื่องง่ายหยาบจนเกินไป
ระบบนี้เริ่มแปรเปลี่ยนเข้าสู่รัฐชาติในแบบของยุค “สันติภาพแห่งเวสต์ฟาเลีย” เมื่อราชวงศ์ชิงพ่ายแพ้แก่ชาวยุโรปในกลางคริสต์ศตวรรษที่ 19 เหล่าปัญญาชนและเหล่านักปฏิวัติได้นิยามคำว่า “จงกั๋ว” กันเสียใหม่ และใช้ศัพท์ใหม่ในฐานะที่เป็นนามของรัฐชาติใหม่ที่แปรเปลี่ยนไปนี้ ในทำนองเดียวกันก็มีการสร้างแนวคิดกันใหม่ให้กับคำว่า “ชาติจีน” (จงหวาหมินจู๋) โดยที่ ดร.ซุนยัตเซ็น ให้หมายถึงบรรดากลุ่มชนชาติใหญ่ๆ ทั้งหมดที่อยู่ในประเทศจีน การสร้างใหม่เหล่านี้ทั้งหมดล้วนวางอยู่บนพื้นฐานข้อเท็จจริงทางการเมืองและทางดินแดนของปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 เมื่อทิเบตเป็นส่วนหนึ่งของประชาคมซึ่งต่อมาได้พัฒนากลายเป็นประเทศจีนสมัยใหม่
ความสำคัญของประเด็นปัญหาทิเบต คือการสะท้อนถึงบทบาทของทิเบตในแนวคิดที่ถือว่าประเทศจีนเป็นรัฐชาติที่มีหลายๆ ชนชาติและหลายๆ วัฒนธรรม กระบวนการสร้างชาติเช่นนี้ขึ้นมา เป็นผลผลิตของความพยายามร่วมกันของชาวจีน (ซึ่งรวมถึงชาวจีนชนชาติทิเบตด้วย) รุ่นแล้วรุ่นเล่า ดังนั้น ปัญหาทิเบตจึงเป็นเหมือนกระดาษลิตมัสสำหรับทดสอบ ตลอดจนเป็นพื้นที่สำหรับการพิสูจน์เรื่องความเป็นรัฐชาติของประเทศจีน
**วิกฤตสามารถเปลี่ยนเป็นโอกาสได้ไหม**
อย่างไรก็ตาม ยังมีเหตุผลอยู่หลายประการที่ทำให้เกิดความหวัง ฝ่ายทะไลลามะ, รัฐบาลจีน, และฝ่ายตะวันตก สามารถที่จะมีปฏิสัมพันธ์กันแบบทุกฝ่ายชนะหมดได้ หากทุกฝ่ายคิดและกระทำภายใต้การยอมรับรู้ร่วมกันว่า จีนคือรัฐชาติที่มีหลายชนชาติ, หลายวัฒนธรรม, และมีบูรณภาพเป็นหนึ่งเดียว
ทฤษฎีพื้นฐานไม่ว่าจะเป็นสาธารณรัฐจีนของซุนยัตเซ็น และสาธารณรัฐประชาชนจีนในปัจจุบัน ต่างไปไกลเกินกว่าแนวความคิดเรื่อง “หนึ่งกลุ่มชนชาติ หนึ่งรัฐ” กันทั้งนั้น สาธารณรัฐประชาชนจีนไปไกลถึงขั้นสถาปนาเขตปกครองตนเองขึ้น 3 ระดับ และกำลังดำเนินนโยบายต่างๆ ในเรื่อง “สิทธิปกครองตนเองในระดับภูมิภาคของชนชาติต่างๆ” แต่แน่นอนทีเดียว ยังมีอะไรอีกมากที่จะต้องกระทำต่อไป
ในด้านหนึ่ง รัฐบาลจีนจำเป็นต้องมีธรรมาภิบาลอันทรงประสิทธิผลในระดับท้องถิ่น นโยบายเช่นนี้สามารถที่จะรวมเอาเรื่องการปกป้องและขยายสิทธิมนุษยชน, ตลอดจนการประยุกต์ใช้ปฏิบัติการเพื่อให้สิทธิพิเศษด้านใหม่ๆ ในพื้นที่ปกครองตนเอง อย่างเช่น การจ้างงาน ซึ่งจัดทำกันขึ้นมาโดยปรับให้สอดคล้องกับสภาพการพัฒนาเศรษฐกิจตลาดในทิเบต
รัฐบาลจีนยังจำเป็นต้องเพิ่มความแข็งแกร่งให้แก่ฐานะบทบาทของชาวทิเบตและชนกลุ่มน้อยที่เป็นชนชาติกลุ่มอื่นๆ ในการอภิปรายทางการเมืองอย่างเป็นทางการของประเทศ ตัวอย่างเช่น จำเป็นต้องมีการวิจัยและการศึกษาประวัติศาสตร์ของชนชาติต่างๆ เหตุผลที่ต้องทำเรื่องเหล่านี้ก็ง่ายๆ ชัดเจนอยู่แล้ว นั่นคือ หากชาวทิเบตรู้สึกภาคภูมิใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของประเทศจีนเสียแล้ว ขบวนการเรียกร้องเอกราชก็จะสูญเสียรากฐานของขบวนการไปเลย
สำหรับเรื่องของโอลิมปิก ชาวจีนจำเป็นจะต้องทำความเข้าใจให้ดียิ่งขึ้นว่า คนอเมริกันและคนยุโรปนั้นไม่ได้จงใจทำร้ายพวกเขา เมื่อวัฒนธรรมที่แตกต่างกันมาเจอะเจอเผชิญหน้ากัน และประชาชนไม่ได้มีความเข้าใจอันลึกซึ้งต่อกันและกันแล้ว ย่อมหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องเกิดความขัดแย้งขึ้น ภารกิจเร่งด่วนสำหรับปัญญาชนจีนและคนรุ่นหนุ่มสาวของจีนก็คือ การแสวงหาอุดมการณ์ ตลอดจนการปรับแต่งความประณีตซับซ้อนให้แก่อุดมการณ์ที่เหมาะสมสอดคล้องกับประเทศจีน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พวกเขาจะต้องระบุให้ได้ชัดเจนว่า ระหว่างอุดมการณ์ดังกล่าวของจีนกับของฝ่ายตะวันตกนั้น มีคุณค่าอะไรบ้างที่เชื่อมต่อกันได้ และคุณค่าอะไรบ้างที่ขัดแย้งแยกห่างจากกัน ตลอดจนตอบคำถามที่ว่า จีนสามารถมีคุณูปการให้แก่โลกได้ในด้านแนวคิดประเภทใด
ถ้าทะไลลามะมีความจริงใจในคำพูดของเขาที่ว่าเขาไม่ได้เรียกร้องให้ทิเบตเป็นเอกราช เขาและผู้คนรอบๆ ตัวเขาก็ควรตระหนักว่า ข้อเรียกร้องต้องการให้มี “มหาทิเบต” หรือ “พื้นที่สันติภาพ” นั้น ล้วนแต่เป็นไปไม่ได้ หรือไม่เอื้อต่อการสร้างรัฐชาติที่ประกอบด้วยหลายชนชาติเลย ข้อเรียกร้องเหล่านี้มีแต่จะเกิดผลประการเดียว นั่นคือ ทำให้ชาวจีนอื่นๆ รู้สึกว่าข้อเรียกร้องเหล่านี้คือกระดานหกสำหรับกระโจนไปสู่การเป็นเอกราชต่อไปในอนาคต ถ้าหากทะไลลามะคำนึงถึงมรดกทางศาสนาและวัฒนธรรมของทิเบตอย่างแท้จริงแล้ว เขาก็ควรพูดให้มากขึ้นเกี่ยวกับนโยบายในเรื่องเหล่านั้น แทนที่จะพูดเรื่องการบริหารปกครองและเขตอำนาจของจีน ถ้าเขาคิดอย่างจริงใจว่าทิเบตเป็นส่วนหนึ่งของจีนแล้ว ก็จักเป็นการดีกว่าที่เขาจะปล่อยให้นักประวัติศาสตร์เป็นผู้ถกเถียงเรื่องประเด็นปัญหาทางประวัติศาสตร์ทั้งหลาย และเลิกโต้แย้งว่าในอดีตนั้นทิเบตไม่ได้เคยเป็นส่วนหนึ่งของจีน
คนอเมริกันและคนยุโรปไม่ควรรู้สึกหวั่นผวาต่ออารมณ์ความรู้สึกแบบชาตินิยมของชาวจีน ลัทธิชาตินิยมไม่ได้เป็นคุณค่าทางด้านลบ รัฐชาติทั้งหลายรวมทั้งสหรัฐฯและพวกประเทศทางยุโรปต่างก็ก่อตั้งขึ้นมาโดยขบวนการชาตินิยมทั้งนั้น แน่นอนว่าย่อมเป็นการดีกว่า ถ้าประเทศตะวันตกจะมีความเข้าใจต่อจีนอย่างลึกซึ้งและประณีตซับซ้อนยิ่งขึ้น แต่มันก็ยังจะได้ประโยชน์อยู่ หากบรรดานักสังเกตการณ์ชาวตะวันตกจะขบคิดพิจารณาถึงประเด็น 3 ประเด็นดังต่อไปนี้
---ทิเบตเป็นส่วนหนึ่งของจีนหรือไม่ คำถามข้อนี้ไม่อาจหาคำตอบกันได้ง่ายๆ เนื่องจากในประวัติศาสตร์นั้นไม่ได้มีรัฐชาติแบบที่เราเรียกว่า “ประเทศจีน” ผู้คนซึ่งมีสมมุติฐานที่แตกต่างกันอาจสามารถหาหลักฐานมาสนับสนุนทัศนะของพวกเขาได้ทั้งสิ้น ทว่าเป็นเรื่องปฏิเสธไม่ได้เลยว่าทิเบตมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงใกล้ชิดทางประวัติศาสตร์กับส่วนอื่นๆ ของประเทศจีน ดังนั้น การอ้างว่าทิเบตไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของจีน ไม่แต่เพียงขัดแย้งกับจุดยืนของรัฐบาลทั้งหลายในโลกตะวันตก (และไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะรัฐบาลของโลกตะวันตกเท่านั้นด้วย) แต่ยังเป็นการขาดความลึกซึ้งทางสติปัญญาอีกด้วย
---มีปัญหาสิทธิมนุษยชนในทิเบต เฉกเช่นเดียวกับในพื้นที่อื่นๆ ในประเทศจีน และส่วนอื่นๆ ของโลก ทว่าปัญหาสิทธิมนุษยชนในทิเบตโดยหลักใหญ่แล้วเป็นปัญหาของธรรมาภิบาล ไม่ใช่ปัญหาทางชนชาติหรือวัฒนธรรม ไม่ว่าลัทธิคอมมิวนิสต์หรืออุดมการณ์อื่นใด ก็ล้วนไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเรื่องนี้
---แนวคิดเรื่องประเทศจีนนั้นครอบคลุมถึงจีนทั้งหมดทั้งสิ้น แนวคิดเรื่องชาวจีนก็ครอบคลุมถึงกลุ่มชนชาติทั้งหมดทั้งสิ้นในประเทศจีน ดังนั้น โปรดยุติการใช้ถ้อยคำที่เป็นการแบ่งแยก อย่างเช่น ทิเบต ปะทะกับ จีน หรือ ชาวทิเบต ปะทะกับ ชาวจีน เพราะชาวจีนชนชาติทิเบตย่อมเป็นชาวจีน เฉกเช่นเดียวกับชาวอเมริกันเชื้อสายแอฟริกันย่อมเป็นชาวอเมริกัน
ต้าเหว่ย เป็นรองศาสตราจารย์ด้านการวิจัยแห่งสถาบันความสัมพันธ์ระหว่างประเทศร่วมสมัยแห่งประเทศจีน (CICIR) ปัจจุบันเขาเป็นผู้ร่วมงานตามโครงการแลกเปลี่ยน อยู่ที่วิทยาลัยการระหว่างประเทศศึกษาชั้นสูง (SAIS) มหาวิทยาลัยจอห์นฮอปกินส์ ทัศนะต่างๆ ที่แสดงไว้ในบทความนี้เป็นทัศนะส่วนตัวของผู้เขียน และไม่ได้สะท้อนถึงทัศนะขององค์การใดๆ ที่เขาเกี่ยวข้องอยู่ด้วย
(เผยแพร่โดยได้รับอนุญาตจาก Pacific Forum CSIS)