Government web-wary in Singapore
Alex Au
23/04/2008
เช่นเดียวกับประเทศอื่นๆ ในเอเชีย บรรดาบล็อกเกอร์ของสิงคโปร์กำลังมีบทบาทอย่างรวดเร็วยิ่ง ในการเปลี่ยนแปลงสภาพของการถกเถียงอภิปรายปัญหาต่างๆ ในระดับชาติ โดยกำลังเข้าไปช่วงชิงอิทธิพลจากสื่อต่างๆ ซึ่งรัฐบาลควบคุมอยู่ และเคยเป็นผู้ครอบงำเรื่องข่าวและทัศนะความเห็นต่างๆ ของประเทศเรื่อยมา การกระทำเช่นนี้นับว่าเป็นการเล่นเกมอันตรายสำหรับชาวเน็ตเหล่านี้ เนื่องจากสิงคโปร์มีระเบียบกฎหมายอันเข้มงวดที่สุดจำนวนหนึ่ง ในการจำกัดการแสดงความคิดเห็นอย่างเสรีบนอินเทอร์เน็ต ทว่านโยบายคุมเข้มสุดขีดเหล่านี้ของภาครัฐ ก็กำลังกลายเป็นความน่าอับอายขายหน้าแห่งชาติยิ่งขึ้นทุกที ในเมื่อรัฐบาลเองกำลังเตรียมตัวชูให้รัฐแห่งนี้มีฐานะเป็นศูนย์กลางสำคัญของมีเดียต่างๆ ในระดับภูมิภาค
สิงคโปร์ – ตอนที่นายกรัฐมนตรีลีเซียนลุงแห่งสิงคโปร์ แสดงท่าทีเอาไว้ในการให้สัมภาษณ์คราวหนึ่งเมื่อเร็วๆ นี้ ว่า รัฐบาลของเขาจะพิจารณาผ่อนคลายระเบียบกฎเกณฑ์ที่กำลังใช้ควบคุมอินเทอร์เน็ตอยู่นั้น มีบางคนอ่านความเห็นอันตรงไปตรงมาของเขาคราวนี้ว่า เป็นการประกาศยอมรับความพ่ายแพ้
ยังไม่เป็นที่ชัดเจนหรอกว่ารายละเอียดของการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวนี้จะเป็นอย่างไรบ้าง แต่เรื่องที่รัฐบาลซึ่งรวมศูนย์อำนาจและมุ่งเน้นการควบคุมบังคับของลี กำลังถูกท้าทายอย่างเปิดเผยจากการปฏิวัติดิจิตอล จนสูญเสียความสามารถในการตีกรอบบงการการแปลความหมายข่าวและเหตุการณ์ต่างๆ นั้น เป็นสิ่งที่นักท่องเว็บทั้งหลายสามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจนแล้ว และขณะที่พวกบล็อกเกอร์ผู้มีจิตใจวิพากษ์วิจารณ์กำลังมีอิทธิพลบารมีเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ อยู่นี้ เมื่อพิจารณาจากประสบการณ์ช่วงไม่นานมานี้ของทางมาเลเซียแล้ว บางคนจึงเชื่อว่ามันสามารถมีอิทธิพลต่อผลการเลือกตั้งของสิงคโปร์ในอนาคตได้ทีเดียว
“การเลือกตั้งทั่วไปครั้งต่อไปจะมีขึ้นในอีก 3-4 ปีข้างหน้า แน่นอนว่าจะต้องมีพัฒนาการใหม่ๆ เกิดขึ้นในสื่อใหม่ๆ” ลีกล่าวต่อ ซึ่งดูเหมือนจะเป็นการเผยให้เห็นถึงความวิตกข้อสำคัญที่สุดของเขา “มันไม่ใช่เรื่องแปลกใหม่อะไรอีกแล้วสำหรับชาวสิงคโปร์ที่จะสร้างบล็อกออนไลน์ขึ้นมา เวลานี้ผู้คนสามารถทำคลิปวิดีโอ ก่อนหน้านี้มันยังอยู่ในรูปของพ็อดแคส เวลานี้มันกลายเป็น ว็อดแคส ไปแล้ว ผู้คนบันทึกภาพวิดีโอคลิปของตัวเอง แล้วก็อัปโหลดเอาไปไว้บน ยูทูป”
เช่นเดียวกับประเทศอื่นๆ ในเอเชีย บรรดาบล็อกเกอร์และนักวิจารณ์ทางออนไลน์รูปแบบอื่นๆ ของสิงคโปร์กำลังมีบทบาทอย่างรวดเร็วยิ่ง ในการเปลี่ยนแปลงสภาพของการถกเถียงอภิปรายปัญหาต่างๆ ในระดับชาติ โดยกำลังเข้าไปช่วงชิงอิทธิพลจากสื่อกระแสหลักต่างๆ ที่รัฐบาลควบคุมอยู่และเป็นผู้ครอบงำเรื่องข่าวและทัศนะความเห็นต่างๆ มายาวนาน รายงานบางชิ้นบ่งชี้ว่า ชาวสิงคโปร์ที่อยู่ในวัย 20 ปีเศษจำนวนมากถึงสองในสามทีเดียว ถ้าไม่สร้างบล็อกของตัวเองขึ้นมา ก็จะเข้าร่วมพวกเวทีแสดงทัศนะทางออนไลน์ นอกจากนั้นการสร้างบล็อกยังเป็นเรื่องที่ทำกันทั่วไปในหมู่ผู้คนวัย 30 ปีเศษ และ 40 ปีเศษอีกด้วย
“The Online Citizen” กลายเป็นหนึ่งในบล็อกที่มีผู้เข้าไปอ่านกันมากที่สุด ขณะที่เว็บไซต์อันเป็นที่นิยมและมักแสดงความคิดเห็นเชิงวิพากษ์แห่งอื่นๆ ยังมีอาทิ Mr Wang Says So ตลอดจนเว็บรวบรวมข่าวอย่าง Singapore Surf ทว่าในขณะเดียวกัน ชาวเน็ตในสิงคโปร์ก็กำลังทำสิ่งต่างๆ เหล่านี้ ภายใต้ภัยคุกคามของประดากฎหมายที่มีเนื้อหามุ่งจำกัดควบคุม ทำให้พวกเขาเองตกอยู่ในความเสี่ยงที่จะถูกปรับหรือกระทั่งถูกจำคุก จากเนื้อหาทางออนไลน์ซึ่งพวกเจ้าหน้าที่รับผิดชอบมองว่าเป็นการดูหมิ่นละเมิด หรือเป็นภัยคุกคามความมั่นคงแห่งชาติ
ตามการรวบรวมของ OpenNet Initiative อันเป็นโครงการวิจัยเรื่องการเซ็นเซอร์ทางอินเทอร์เน็ต ที่ร่วมกันจัดทำโดยมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด, เคมบริดจ์, และโตรอนโต นับจนถึงปี 2005 สิงคโปร์ยังคงเป็นประเทศที่มีการจำกัดการแสดงความคิดเห็นอย่างเสรีทางอินเทอร์เน็ตอย่างเข้มงวดที่สุดในบางลักษณะ ทว่าแทนที่จะใช้เทคโนโลยีมาเป็นตัวกรอง สิงคโปร์กลับกระทำเช่นนี้โดยอาศัยการคุกคามที่จะฟ้องร้องดำเนินคดีทางกฎหมาย ตลอดจนการตั้งข้อจำกัดในการเข้าถึงเว็บไซต์แสดงความคิดเห็น
ปัจจุบัน เนื้อหาทางอินเทอร์เน็ตใดๆ ก็ตามที่ถกเถียงอภิปรายกันใน “ประเด็นทางการเมืองหรือทางศาสนาที่เกี่ยวข้องกับสิงคโปร์” คือสิ่งที่ผิดกฎหมาย หากมิได้รับใบอนุญาตตามประกาศว่าด้วยการแพร่ภาพกระจายเสียง ขณะเดียวกัน รัฐบัญญัติภาพยนตร์ก็ยังห้ามการนำเอาภาพเคลื่อนไหวใดๆ รวมทั้งคลิปจากยูทูป มาฝังเข้าไปในบล็อก เว้นแต่จะได้รับอนุมัติจากคณะผู้ตรวจพิจารณาของคณะกรรมาธิการภาพยนตร์ นอกจากนั้น พวกบริษัทผู้ให้บริการต่อเชื่อมอินเทอร์เน็ต (ISPs) ก็มีหน้าที่ต้องคอยควบคุมห้ามการนำเอาสิ่งที่พิจารณาเห็นว่าจะเป็นอันตรายต่อรัฐ มาเผยแพร่ทางออนไลน์
การที่ระเบียบกฎหมายเหล่านี้ ขัดแย้งกันอย่างถนัดชัดแจ้งกับนโยบายของรัฐที่จะส่งเสริมสื่อใหม่ๆ กำลังกลายป็นความน่าอับอายขายหน้าแห่งชาติขึ้นมาแล้ว สภาพเช่นนี้ยิ่งเป็นจริงเข้าไปใหญ่จากการที่รัฐบาลกำลังเตรียมที่จะเผยแพร่แผนแม่บทฉบับใหม่ ซึ่งรู้จักกันในนามว่า Singapore Media Fusion 2015 (แผนการหลอมรวมผสมผสานสื่อต่างๆ ของสิงคโปร์ ปี 2015) ซึ่งวางฐานะให้รัฐแห่งนี้เป็นศูนย์กลางสำคัญของมีเดียต่างๆ ในระดับภูมิภาค รายละเอียดอันแน่นอนชัดๆ ของแผนการใหม่นี้ยังไม่เคยมีการเผยแพร่ แต่เป็นที่คาดหมายกันว่ารัฐบาลจะลงทุนตามแผนการนี้เป็นจำนวนหลายร้อยล้าน หรือกระทั่งเป็นพันๆ ล้านดอลลาร์ และมุ่งหมายที่จะดึงดูดพวกที่มีความรู้ความสามารถทางด้านสื่อในระดับท็อปของโลก ให้มาทำงานที่สิงคโปร์
อย่างไรก็ตาม เวลานี้ผู้มีความรู้ความสามารถที่เจริญเติบโตขึ้นมาในสิงคโปร์เอง กลับต้องเผชิญกับการรบกวนจองล้างจองผลาญอย่างทารุณของทางการ ตัวอย่างเช่น เมื่อปี 2005 มาร์ติน ซี ผู้สร้างภาพยนตร์ชาวสิงคโปร์ผู้หนึ่ง ยื่นขอให้คณะกรรมาธิการตรวจพิจารณาภาพยนตร์ ทำการจัดอันดับให้แก่หนังสารคดีของเขาที่มีชื่อว่า Singapore Rebel อันมีเนื้อหาว่าด้วยผู้นำฝ่ายค้าน ชีซุนจวน เขาก็ถูกคุกคามว่าจะถูกฟ้องศาลดำเนินคดีด้วยความผิดฐานสร้างภาพยนตร์เพื่อประโยชน์ทางการเมือง ตัวภาพยนตร์เรื่องนี้เองถูกห้ามฉาย ทว่าผู้เล่นเน็ตก็สามารถเข้าไปชมได้ที่ยูทูป ซึ่งรัฐบาลตัดสินใจไม่สกัดกั้นขัดขวาง รวมทั้งตามเว็บอื่นๆ อีก
ความพยายามที่จะปิดปากซี กลับทำให้เขากลายเป็นคนดังทางออนไลน์ และทำให้หนังของเขาได้รับการเผยแพร่ในวงกว้างยิ่งกว่าที่เขาเคยคาดหวังไว้ ภาพยนตร์เรื่องล่าสุดของซี คือ Speakers Concerned ซึ่งก็เป็นเรื่องราวว่าด้วยชีซุนจวน ปรากฏว่าคณะกรรมาธิการยอมผ่านให้นำออกฉายได้เมื่อต้นเดือนนี้ ถึงแม้กำหนดเงื่อนไขไว้ว่า ห้ามเยาวชนชมหนังที่มีจุดมุ่งหมายทางการเมืองเรื่องนี้
**เทคโนโลยีแห่งการเปลี่ยนแปลง**
ผู้คนจำนวนมากมองการปฏิบัติด้วยท่าทีผ่อนปรนมากขึ้นของคณะกรรมาธิการว่า คือการที่รัฐบาลยอมรับว่าบรรดากฎหมายเกี่ยวกับเนื้อหาในอินเทอร์เน็ตของตนนั้น ไร้ความหมายไม่อาจบรรลุจุดประสงค์ในการเซ็นเซอร์ในทางปฏิบัติเสียแล้ว ขณะเดียวกัน จำนวนผู้อ่านหนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษฉบับสำคัญที่สุดของสิงคโปร์ ซึ่งก็คือ สเตรทส์ไทมส์ ก็อยู่ในสภาพชะงักงันหยุดนิ่งมานานปีแล้ว
ตรงกันข้าม ชาวสิงคโปร์จำนวนมากขึ้นทุกทีกำลังหันไปหาอินเทอร์เน็ตเมื่อต้องการรับรู้ข่าวสาร อันเป็นแนวโน้มที่เป็นอันตรายอย่างแท้จริงต่อรัฐบาลสิงคโปร์ ซึ่งแต่ไหนแต่ไรมาได้อาศัยพึ่งพาหนังสือพิมพ์ที่ว่านอนสอนง่าย มาปรับแต่งมติมหาชนให้เป็นไปในทางที่รัฐบาลปรารถนา ตัวอย่างหนึ่งที่แสดงให้เห็นว่าเสียงแสดงความเห็นในแวดวงดิจิตอล กำลังเริ่มมีบทบาทกำหนดวาระทางการเมืองแล้ว ปรากฏให้เห็นเมื่อเร็วๆ นี้ในรัฐสภาสิงคโปร์
ในการประชุมสภาสัปดาห์นี้ ซึ่งมีการอภิปรายกันเรื่องการหลบหนีของ ผู้ถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้ก่อการร้ายคนสำคัญ นั่นคือ มัส เซลามัต คัสตารี เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ สมาชิกรัฐสภาหลายคนได้ตั้งคำถามหลายๆ ประเด็น ซึ่งได้ถูกหยิบยกขึ้นมาทีแรกสุดในแวดวงบล็อก ไม่ใช่ในสื่อกระแสหลัก อาทิ คณะกรรมการสอบสวนนั้นเป็นอิสระจริงหรือไม่ และ ทำไมตำรวจจึงให้ข่าวสารข้อมูลผิดๆ แก่สาธารณชนหลังจากที่ผู้ต้องสงสัยหลบหนีไปได้
นอกจากนั้นยังมีบทเรียนในระดับภูมิภาคที่เกิดขึ้นใกล้ๆ บ้านเมื่อไม่นานมานี้อีกด้วย กล่าวคือ ในมาเลเซียผู้เป็นเพื่อนบ้านติดกันกับสิงคโปร์นั้น การปรับเปลี่ยนดุลแห่งอิทธิพล ระหว่างมีเดียกระแสหลักกับมีเดียใหม่ กำลังเป็นสิ่งที่ปรากฏให้เห็นอย่างแจ่มกระจ่างยิ่ง เมื่อพวกพรรคฝ่ายค้านซึ่งใช้อินเทอร์เน็ตกันอย่างแสนจะจ๊าบ ประสบความสำเร็จอย่างไม่มีใครคาดหมายในระหว่างการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อเดือนที่แล้ว
ทำนองเดียวกับที่เกิดขึ้นในสิงคโปร์ รัฐบาลพันธมิตรแห่งชาติที่นำโดยพรรคอัมโนของมาเลเซียเป็นผู้ควบคุมสื่อกระแสหลักเอาไว้ เหลือทิ้งอินเทอร์เน็ตให้เป็นช่องทางเพียงช่องทางเดียวที่พวกฝ่ายค้านทางการเมืองจะสามารถแสดงทัศนะของพวกเขาได้ ครั้นเมื่อพวกพรรคฝ่ายค้านชนะสามารถควบคุมการปกครองท้องถิ่นใน 5 รัฐจากทั้งประเทศ 13 รัฐ ซึ่งเพิ่มขึ้นอย่างน่าตื่นตะลึงจากที่เคยควบคุมได้เพียง 1 รัฐก่อนหน้านี้ นายกรัฐมนตรี อับดุลเลาะห์ บาดาวี ของมาเลเซียก็แถลงยอมรับว่า เขาประเมินพลานุภาพทางการเมืองของอินเทอร์เน็ตต่ำเกินไป
ขณะที่จวบจนถึงเวลานี้ พวกเจ้าหน้าที่สิงคโปร์ยังคงปิดปากไม่พูดอะไรเกี่ยวกับผลเลือกตั้งในมาเลเซีย ทว่าเห็นชัดเจนว่าพวกเขาเฝ้าจับตามองเรื่องที่ฝ่ายค้านที่ประเทศนั้นใช้ประโยชน์จากอินเทอร์เน็ตจนทำให้ได้เปรียบในการเลือกตั้งกันอย่างไร ตัวอย่างเรื่อง เจฟฟ์ อุย บล็อกเกอร์ชาวมาเลเซียซึ่งเป็นที่นิยมติดตามอ่านกันมาก สามารถระดมหาเงินบริจาคผ่านทางบล็อกของเขา เพื่อนำไปใช้แข่งขันหาเสียงและในที่สุดก็ชนะได้ที่นั่งในการเลือกตั้งของมาเลเซีย ดูจะเป็นสิ่งที่ลีกำลังเอ่ยอ้างถึง ตอนที่เขากล่าวเมื่อไม่นานมานี้ว่า:
“ผู้คนจำนวนมากยินดีที่จะบริจาคเงินให้แก่พรรคการเมืองซึ่งกำลังต้องการเงิน ทว่าการบริจาคเงินทางการเมืองนั้นไม่เคยเลยที่จะไม่มีเงื่อนไขพ่วงมาด้วย คุณชนะการเลือกตั้ง และหลังจากนั้นพอคุณขึ้นมามีอำนาจ พวกผู้บริจาคก็จะ ‘ติดตามขอให้ใช้หนี้’ ด้วยท่าทีสุภาพ แล้วคุณจะทำยังไงกับหนี้สินที่จะต้องกตัญญูรู้คุณกันแบบนี้ล่ะ”
ความเห็นเช่นนี้ของลีทำให้บล็อกเกอร์ชาวสิงคโปร์บางรายมองว่าเป็นเพียงการพูดเพื่อเบี่ยงเบนความสนใจ เพราะความต้องการที่จะให้ชดใช้คืนย่อมต้องเกิดขึ้นอยู่แล้ว ไม่ว่าการบริจาคจะผ่านมาทางอินเทอร์เน็ต หรือผ่านช่องทางดั้งเดิมอื่นๆ ความพยายามอย่างเชยๆ ของลีที่จะทำให้ประเด็นนี้เกิดความสับสน จึงทำให้บางคนมองว่ามันคือการสาธิตให้เห็นการดิ้นรนของรัฐบาลของเขา ที่จะตอบคำถามเรื่องจะเปิดเสรีอินเทอร์เน็ตตามที่ถูกบังคับจากเทคโนโลยีอันเปลี่ยนแปลงรวดเร็วเหลือเกินกันอย่างไร โดยขณะเดียวกับที่ยังสามารถประคับประคองให้พรรคของเขากุมอำนาจทางการเมืองอย่างเหนียวแน่นเอาไว้ต่อไป
พวกผู้สังเกตการณ์ทางการเมืองประสบการณ์สูงทั้งหลายต่างพยากรณ์ว่า เมื่อในท้ายที่สุดสิงคโปร์มีการเปลี่ยนแปลงกฎหมายอันเกี่ยวข้องกับอินเทอร์เน็ตเข้าจนได้ มันก็น่าจะเป็นแค่การเปลี่ยนแปลงเชิงสัญลักษณ์มากกว่าในทางเนื้อหาสาระ และวางแผนจัดทำขึ้นด้วยความมุ่งหวังที่จะทำคะแนนนิยมในหมู่คนรุ่นหนุ่มสาว ซึ่งพรรคกำลังมีความเสี่ยงที่จะสูญเสียพวกเขาไปในการเลือกตั้งครั้งต่อๆ ไปข้างหน้า
ตัวลีเองก็พูดออกมาแล้วว่า “เราจะเดินหน้าไปด้วยความระมัดระวังเพื่อหลีกเลี่ยงไม่ก่อให้เกิดผลกระทบเชิงลบ” คำกล่าวของเชืองยิบเส็ง อดีตบรรณาธิการใหญ่ผู้เกษียณอายุแล้วของสเตรทส์ไทมส์ ดูจะเป็นการขยายความการเรียกร้องให้ระมัดระวังนี้ “วิดีโอสามารถที่จะเป็นสื่อที่ทรงพลังและปลุกเร้าอารมณ์ความรู้สึกได้มาก หากใช้กันในทางที่ผิด มันก็สามารถลดคุณภาพของการถกเถียงอภิปรายสาธารณะและการเมืองลงได้”
เชืองเวลานี้เป็นประธานของคณะกรรมการที่ปรึกษาจำนวน 13 คน ซึ่งก่อตั้งขึ้นในปี 2007 เพื่อศึกษา “ผลกระทบของสื่อใหม่ที่มีต่อสังคม” คณะกรรมการชุดนี้เคยวางแผนไว้ว่าจะออกรายงานภายในไตรมาสแรกของปีนี้ ทว่าเวลานี้กลับแจ้งว่าวางแผนจะจัดทำเอกสารสรุปผลการปรึกษาหารือ ออกมาในตอนกลางปีนี้
ถึงแม้คณะกรรมการอ้างว่ากำลังจัดการปรึกษาหารือกับฝ่ายต่างๆ อย่างกว้างขวาง แต่พวกบล็อกเกอร์ทรงอิทธิพลหลายๆ คนกลับบอกว่า พวกเขายังไม่เคยได้รับการติดต่ออะไรเลย และเพื่อเป็นการตอบโต้ บล็อกเกอร์ 15 คนจึงได้ก่อตั้งกลุ่มศึกษาของพวกเขาเองขึ้นมาเพื่อเป็นทางเลือกอีกทางหนึ่งเมื่อเดือนธันวาคมปีที่แล้ว โดยที่ผู้เขียนรายงานข่าวนี้ก็อยู่ในกลุ่มนี้ด้วย ทั้งนี้เพื่อจัดทำชุดข้อเสนอแนะว่าด้วยการผ่อนคลายการกำกับควบคุมอินเทอร์เน็ตของพวกเขาเองออกมาเผยแพร่
กลุ่มนี้ได้ยื่นข้อเสนอของพวกเขาต่อทางรัฐบาลเมื่อวันที่ 21 เมษายน โดยเรียกร้องให้ปรับปรุงยกเครื่องระบบกำกับควบคุมครั้งใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การยกเลิกระเบียบกฎเกณฑ์ทั้งหลายซึ่งควบคุมการแสดงความคิดเห็นทางการเมือง ถึงแม้ไม่เป็นที่คาดหมายกันหรอกว่ารัฐบาลจะยอมรับข้อเสนอแนะหลักข้อใดๆ จากการศึกษาของทางกลุ่ม แต่มันก็แสดงให้เห็นอีกครั้งหนึ่งว่า ชาวเน็ตในสิงคโปร์กำลังเคลื่อนไหวกันอย่างไร เพื่อนิยามเงื่อนไขต่างๆ ในการอภิปรายทางการเมืองของรัฐแห่งนี้กันเสียใหม่ ไม่ว่ารัฐบาลยินดีต้อนรับสิ่งเหล่านี้หรือไม่ก็ตามที
อเล็กซ์ อาว เป็นนักวิจารณ์สังคมและการเมืองที่มีแนวคิดเป็นตัวของตัวเอง เป็นนักเขียนและบล็อกเกอร์อิสระซึ่งพำนักอยู่ในสิงคโปร์ เขาขึ้นพูดตามเวทีสาธารณะบ่อยครั้งในประเด็นทางด้านการเมือง, วัฒนธรรม, และเรื่องของชาวรักร่วมเพศ
Alex Au
23/04/2008
เช่นเดียวกับประเทศอื่นๆ ในเอเชีย บรรดาบล็อกเกอร์ของสิงคโปร์กำลังมีบทบาทอย่างรวดเร็วยิ่ง ในการเปลี่ยนแปลงสภาพของการถกเถียงอภิปรายปัญหาต่างๆ ในระดับชาติ โดยกำลังเข้าไปช่วงชิงอิทธิพลจากสื่อต่างๆ ซึ่งรัฐบาลควบคุมอยู่ และเคยเป็นผู้ครอบงำเรื่องข่าวและทัศนะความเห็นต่างๆ ของประเทศเรื่อยมา การกระทำเช่นนี้นับว่าเป็นการเล่นเกมอันตรายสำหรับชาวเน็ตเหล่านี้ เนื่องจากสิงคโปร์มีระเบียบกฎหมายอันเข้มงวดที่สุดจำนวนหนึ่ง ในการจำกัดการแสดงความคิดเห็นอย่างเสรีบนอินเทอร์เน็ต ทว่านโยบายคุมเข้มสุดขีดเหล่านี้ของภาครัฐ ก็กำลังกลายเป็นความน่าอับอายขายหน้าแห่งชาติยิ่งขึ้นทุกที ในเมื่อรัฐบาลเองกำลังเตรียมตัวชูให้รัฐแห่งนี้มีฐานะเป็นศูนย์กลางสำคัญของมีเดียต่างๆ ในระดับภูมิภาค
สิงคโปร์ – ตอนที่นายกรัฐมนตรีลีเซียนลุงแห่งสิงคโปร์ แสดงท่าทีเอาไว้ในการให้สัมภาษณ์คราวหนึ่งเมื่อเร็วๆ นี้ ว่า รัฐบาลของเขาจะพิจารณาผ่อนคลายระเบียบกฎเกณฑ์ที่กำลังใช้ควบคุมอินเทอร์เน็ตอยู่นั้น มีบางคนอ่านความเห็นอันตรงไปตรงมาของเขาคราวนี้ว่า เป็นการประกาศยอมรับความพ่ายแพ้
ยังไม่เป็นที่ชัดเจนหรอกว่ารายละเอียดของการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวนี้จะเป็นอย่างไรบ้าง แต่เรื่องที่รัฐบาลซึ่งรวมศูนย์อำนาจและมุ่งเน้นการควบคุมบังคับของลี กำลังถูกท้าทายอย่างเปิดเผยจากการปฏิวัติดิจิตอล จนสูญเสียความสามารถในการตีกรอบบงการการแปลความหมายข่าวและเหตุการณ์ต่างๆ นั้น เป็นสิ่งที่นักท่องเว็บทั้งหลายสามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจนแล้ว และขณะที่พวกบล็อกเกอร์ผู้มีจิตใจวิพากษ์วิจารณ์กำลังมีอิทธิพลบารมีเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ อยู่นี้ เมื่อพิจารณาจากประสบการณ์ช่วงไม่นานมานี้ของทางมาเลเซียแล้ว บางคนจึงเชื่อว่ามันสามารถมีอิทธิพลต่อผลการเลือกตั้งของสิงคโปร์ในอนาคตได้ทีเดียว
“การเลือกตั้งทั่วไปครั้งต่อไปจะมีขึ้นในอีก 3-4 ปีข้างหน้า แน่นอนว่าจะต้องมีพัฒนาการใหม่ๆ เกิดขึ้นในสื่อใหม่ๆ” ลีกล่าวต่อ ซึ่งดูเหมือนจะเป็นการเผยให้เห็นถึงความวิตกข้อสำคัญที่สุดของเขา “มันไม่ใช่เรื่องแปลกใหม่อะไรอีกแล้วสำหรับชาวสิงคโปร์ที่จะสร้างบล็อกออนไลน์ขึ้นมา เวลานี้ผู้คนสามารถทำคลิปวิดีโอ ก่อนหน้านี้มันยังอยู่ในรูปของพ็อดแคส เวลานี้มันกลายเป็น ว็อดแคส ไปแล้ว ผู้คนบันทึกภาพวิดีโอคลิปของตัวเอง แล้วก็อัปโหลดเอาไปไว้บน ยูทูป”
เช่นเดียวกับประเทศอื่นๆ ในเอเชีย บรรดาบล็อกเกอร์และนักวิจารณ์ทางออนไลน์รูปแบบอื่นๆ ของสิงคโปร์กำลังมีบทบาทอย่างรวดเร็วยิ่ง ในการเปลี่ยนแปลงสภาพของการถกเถียงอภิปรายปัญหาต่างๆ ในระดับชาติ โดยกำลังเข้าไปช่วงชิงอิทธิพลจากสื่อกระแสหลักต่างๆ ที่รัฐบาลควบคุมอยู่และเป็นผู้ครอบงำเรื่องข่าวและทัศนะความเห็นต่างๆ มายาวนาน รายงานบางชิ้นบ่งชี้ว่า ชาวสิงคโปร์ที่อยู่ในวัย 20 ปีเศษจำนวนมากถึงสองในสามทีเดียว ถ้าไม่สร้างบล็อกของตัวเองขึ้นมา ก็จะเข้าร่วมพวกเวทีแสดงทัศนะทางออนไลน์ นอกจากนั้นการสร้างบล็อกยังเป็นเรื่องที่ทำกันทั่วไปในหมู่ผู้คนวัย 30 ปีเศษ และ 40 ปีเศษอีกด้วย
“The Online Citizen” กลายเป็นหนึ่งในบล็อกที่มีผู้เข้าไปอ่านกันมากที่สุด ขณะที่เว็บไซต์อันเป็นที่นิยมและมักแสดงความคิดเห็นเชิงวิพากษ์แห่งอื่นๆ ยังมีอาทิ Mr Wang Says So ตลอดจนเว็บรวบรวมข่าวอย่าง Singapore Surf ทว่าในขณะเดียวกัน ชาวเน็ตในสิงคโปร์ก็กำลังทำสิ่งต่างๆ เหล่านี้ ภายใต้ภัยคุกคามของประดากฎหมายที่มีเนื้อหามุ่งจำกัดควบคุม ทำให้พวกเขาเองตกอยู่ในความเสี่ยงที่จะถูกปรับหรือกระทั่งถูกจำคุก จากเนื้อหาทางออนไลน์ซึ่งพวกเจ้าหน้าที่รับผิดชอบมองว่าเป็นการดูหมิ่นละเมิด หรือเป็นภัยคุกคามความมั่นคงแห่งชาติ
ตามการรวบรวมของ OpenNet Initiative อันเป็นโครงการวิจัยเรื่องการเซ็นเซอร์ทางอินเทอร์เน็ต ที่ร่วมกันจัดทำโดยมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด, เคมบริดจ์, และโตรอนโต นับจนถึงปี 2005 สิงคโปร์ยังคงเป็นประเทศที่มีการจำกัดการแสดงความคิดเห็นอย่างเสรีทางอินเทอร์เน็ตอย่างเข้มงวดที่สุดในบางลักษณะ ทว่าแทนที่จะใช้เทคโนโลยีมาเป็นตัวกรอง สิงคโปร์กลับกระทำเช่นนี้โดยอาศัยการคุกคามที่จะฟ้องร้องดำเนินคดีทางกฎหมาย ตลอดจนการตั้งข้อจำกัดในการเข้าถึงเว็บไซต์แสดงความคิดเห็น
ปัจจุบัน เนื้อหาทางอินเทอร์เน็ตใดๆ ก็ตามที่ถกเถียงอภิปรายกันใน “ประเด็นทางการเมืองหรือทางศาสนาที่เกี่ยวข้องกับสิงคโปร์” คือสิ่งที่ผิดกฎหมาย หากมิได้รับใบอนุญาตตามประกาศว่าด้วยการแพร่ภาพกระจายเสียง ขณะเดียวกัน รัฐบัญญัติภาพยนตร์ก็ยังห้ามการนำเอาภาพเคลื่อนไหวใดๆ รวมทั้งคลิปจากยูทูป มาฝังเข้าไปในบล็อก เว้นแต่จะได้รับอนุมัติจากคณะผู้ตรวจพิจารณาของคณะกรรมาธิการภาพยนตร์ นอกจากนั้น พวกบริษัทผู้ให้บริการต่อเชื่อมอินเทอร์เน็ต (ISPs) ก็มีหน้าที่ต้องคอยควบคุมห้ามการนำเอาสิ่งที่พิจารณาเห็นว่าจะเป็นอันตรายต่อรัฐ มาเผยแพร่ทางออนไลน์
การที่ระเบียบกฎหมายเหล่านี้ ขัดแย้งกันอย่างถนัดชัดแจ้งกับนโยบายของรัฐที่จะส่งเสริมสื่อใหม่ๆ กำลังกลายป็นความน่าอับอายขายหน้าแห่งชาติขึ้นมาแล้ว สภาพเช่นนี้ยิ่งเป็นจริงเข้าไปใหญ่จากการที่รัฐบาลกำลังเตรียมที่จะเผยแพร่แผนแม่บทฉบับใหม่ ซึ่งรู้จักกันในนามว่า Singapore Media Fusion 2015 (แผนการหลอมรวมผสมผสานสื่อต่างๆ ของสิงคโปร์ ปี 2015) ซึ่งวางฐานะให้รัฐแห่งนี้เป็นศูนย์กลางสำคัญของมีเดียต่างๆ ในระดับภูมิภาค รายละเอียดอันแน่นอนชัดๆ ของแผนการใหม่นี้ยังไม่เคยมีการเผยแพร่ แต่เป็นที่คาดหมายกันว่ารัฐบาลจะลงทุนตามแผนการนี้เป็นจำนวนหลายร้อยล้าน หรือกระทั่งเป็นพันๆ ล้านดอลลาร์ และมุ่งหมายที่จะดึงดูดพวกที่มีความรู้ความสามารถทางด้านสื่อในระดับท็อปของโลก ให้มาทำงานที่สิงคโปร์
อย่างไรก็ตาม เวลานี้ผู้มีความรู้ความสามารถที่เจริญเติบโตขึ้นมาในสิงคโปร์เอง กลับต้องเผชิญกับการรบกวนจองล้างจองผลาญอย่างทารุณของทางการ ตัวอย่างเช่น เมื่อปี 2005 มาร์ติน ซี ผู้สร้างภาพยนตร์ชาวสิงคโปร์ผู้หนึ่ง ยื่นขอให้คณะกรรมาธิการตรวจพิจารณาภาพยนตร์ ทำการจัดอันดับให้แก่หนังสารคดีของเขาที่มีชื่อว่า Singapore Rebel อันมีเนื้อหาว่าด้วยผู้นำฝ่ายค้าน ชีซุนจวน เขาก็ถูกคุกคามว่าจะถูกฟ้องศาลดำเนินคดีด้วยความผิดฐานสร้างภาพยนตร์เพื่อประโยชน์ทางการเมือง ตัวภาพยนตร์เรื่องนี้เองถูกห้ามฉาย ทว่าผู้เล่นเน็ตก็สามารถเข้าไปชมได้ที่ยูทูป ซึ่งรัฐบาลตัดสินใจไม่สกัดกั้นขัดขวาง รวมทั้งตามเว็บอื่นๆ อีก
ความพยายามที่จะปิดปากซี กลับทำให้เขากลายเป็นคนดังทางออนไลน์ และทำให้หนังของเขาได้รับการเผยแพร่ในวงกว้างยิ่งกว่าที่เขาเคยคาดหวังไว้ ภาพยนตร์เรื่องล่าสุดของซี คือ Speakers Concerned ซึ่งก็เป็นเรื่องราวว่าด้วยชีซุนจวน ปรากฏว่าคณะกรรมาธิการยอมผ่านให้นำออกฉายได้เมื่อต้นเดือนนี้ ถึงแม้กำหนดเงื่อนไขไว้ว่า ห้ามเยาวชนชมหนังที่มีจุดมุ่งหมายทางการเมืองเรื่องนี้
**เทคโนโลยีแห่งการเปลี่ยนแปลง**
ผู้คนจำนวนมากมองการปฏิบัติด้วยท่าทีผ่อนปรนมากขึ้นของคณะกรรมาธิการว่า คือการที่รัฐบาลยอมรับว่าบรรดากฎหมายเกี่ยวกับเนื้อหาในอินเทอร์เน็ตของตนนั้น ไร้ความหมายไม่อาจบรรลุจุดประสงค์ในการเซ็นเซอร์ในทางปฏิบัติเสียแล้ว ขณะเดียวกัน จำนวนผู้อ่านหนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษฉบับสำคัญที่สุดของสิงคโปร์ ซึ่งก็คือ สเตรทส์ไทมส์ ก็อยู่ในสภาพชะงักงันหยุดนิ่งมานานปีแล้ว
ตรงกันข้าม ชาวสิงคโปร์จำนวนมากขึ้นทุกทีกำลังหันไปหาอินเทอร์เน็ตเมื่อต้องการรับรู้ข่าวสาร อันเป็นแนวโน้มที่เป็นอันตรายอย่างแท้จริงต่อรัฐบาลสิงคโปร์ ซึ่งแต่ไหนแต่ไรมาได้อาศัยพึ่งพาหนังสือพิมพ์ที่ว่านอนสอนง่าย มาปรับแต่งมติมหาชนให้เป็นไปในทางที่รัฐบาลปรารถนา ตัวอย่างหนึ่งที่แสดงให้เห็นว่าเสียงแสดงความเห็นในแวดวงดิจิตอล กำลังเริ่มมีบทบาทกำหนดวาระทางการเมืองแล้ว ปรากฏให้เห็นเมื่อเร็วๆ นี้ในรัฐสภาสิงคโปร์
ในการประชุมสภาสัปดาห์นี้ ซึ่งมีการอภิปรายกันเรื่องการหลบหนีของ ผู้ถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้ก่อการร้ายคนสำคัญ นั่นคือ มัส เซลามัต คัสตารี เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ สมาชิกรัฐสภาหลายคนได้ตั้งคำถามหลายๆ ประเด็น ซึ่งได้ถูกหยิบยกขึ้นมาทีแรกสุดในแวดวงบล็อก ไม่ใช่ในสื่อกระแสหลัก อาทิ คณะกรรมการสอบสวนนั้นเป็นอิสระจริงหรือไม่ และ ทำไมตำรวจจึงให้ข่าวสารข้อมูลผิดๆ แก่สาธารณชนหลังจากที่ผู้ต้องสงสัยหลบหนีไปได้
นอกจากนั้นยังมีบทเรียนในระดับภูมิภาคที่เกิดขึ้นใกล้ๆ บ้านเมื่อไม่นานมานี้อีกด้วย กล่าวคือ ในมาเลเซียผู้เป็นเพื่อนบ้านติดกันกับสิงคโปร์นั้น การปรับเปลี่ยนดุลแห่งอิทธิพล ระหว่างมีเดียกระแสหลักกับมีเดียใหม่ กำลังเป็นสิ่งที่ปรากฏให้เห็นอย่างแจ่มกระจ่างยิ่ง เมื่อพวกพรรคฝ่ายค้านซึ่งใช้อินเทอร์เน็ตกันอย่างแสนจะจ๊าบ ประสบความสำเร็จอย่างไม่มีใครคาดหมายในระหว่างการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อเดือนที่แล้ว
ทำนองเดียวกับที่เกิดขึ้นในสิงคโปร์ รัฐบาลพันธมิตรแห่งชาติที่นำโดยพรรคอัมโนของมาเลเซียเป็นผู้ควบคุมสื่อกระแสหลักเอาไว้ เหลือทิ้งอินเทอร์เน็ตให้เป็นช่องทางเพียงช่องทางเดียวที่พวกฝ่ายค้านทางการเมืองจะสามารถแสดงทัศนะของพวกเขาได้ ครั้นเมื่อพวกพรรคฝ่ายค้านชนะสามารถควบคุมการปกครองท้องถิ่นใน 5 รัฐจากทั้งประเทศ 13 รัฐ ซึ่งเพิ่มขึ้นอย่างน่าตื่นตะลึงจากที่เคยควบคุมได้เพียง 1 รัฐก่อนหน้านี้ นายกรัฐมนตรี อับดุลเลาะห์ บาดาวี ของมาเลเซียก็แถลงยอมรับว่า เขาประเมินพลานุภาพทางการเมืองของอินเทอร์เน็ตต่ำเกินไป
ขณะที่จวบจนถึงเวลานี้ พวกเจ้าหน้าที่สิงคโปร์ยังคงปิดปากไม่พูดอะไรเกี่ยวกับผลเลือกตั้งในมาเลเซีย ทว่าเห็นชัดเจนว่าพวกเขาเฝ้าจับตามองเรื่องที่ฝ่ายค้านที่ประเทศนั้นใช้ประโยชน์จากอินเทอร์เน็ตจนทำให้ได้เปรียบในการเลือกตั้งกันอย่างไร ตัวอย่างเรื่อง เจฟฟ์ อุย บล็อกเกอร์ชาวมาเลเซียซึ่งเป็นที่นิยมติดตามอ่านกันมาก สามารถระดมหาเงินบริจาคผ่านทางบล็อกของเขา เพื่อนำไปใช้แข่งขันหาเสียงและในที่สุดก็ชนะได้ที่นั่งในการเลือกตั้งของมาเลเซีย ดูจะเป็นสิ่งที่ลีกำลังเอ่ยอ้างถึง ตอนที่เขากล่าวเมื่อไม่นานมานี้ว่า:
“ผู้คนจำนวนมากยินดีที่จะบริจาคเงินให้แก่พรรคการเมืองซึ่งกำลังต้องการเงิน ทว่าการบริจาคเงินทางการเมืองนั้นไม่เคยเลยที่จะไม่มีเงื่อนไขพ่วงมาด้วย คุณชนะการเลือกตั้ง และหลังจากนั้นพอคุณขึ้นมามีอำนาจ พวกผู้บริจาคก็จะ ‘ติดตามขอให้ใช้หนี้’ ด้วยท่าทีสุภาพ แล้วคุณจะทำยังไงกับหนี้สินที่จะต้องกตัญญูรู้คุณกันแบบนี้ล่ะ”
ความเห็นเช่นนี้ของลีทำให้บล็อกเกอร์ชาวสิงคโปร์บางรายมองว่าเป็นเพียงการพูดเพื่อเบี่ยงเบนความสนใจ เพราะความต้องการที่จะให้ชดใช้คืนย่อมต้องเกิดขึ้นอยู่แล้ว ไม่ว่าการบริจาคจะผ่านมาทางอินเทอร์เน็ต หรือผ่านช่องทางดั้งเดิมอื่นๆ ความพยายามอย่างเชยๆ ของลีที่จะทำให้ประเด็นนี้เกิดความสับสน จึงทำให้บางคนมองว่ามันคือการสาธิตให้เห็นการดิ้นรนของรัฐบาลของเขา ที่จะตอบคำถามเรื่องจะเปิดเสรีอินเทอร์เน็ตตามที่ถูกบังคับจากเทคโนโลยีอันเปลี่ยนแปลงรวดเร็วเหลือเกินกันอย่างไร โดยขณะเดียวกับที่ยังสามารถประคับประคองให้พรรคของเขากุมอำนาจทางการเมืองอย่างเหนียวแน่นเอาไว้ต่อไป
พวกผู้สังเกตการณ์ทางการเมืองประสบการณ์สูงทั้งหลายต่างพยากรณ์ว่า เมื่อในท้ายที่สุดสิงคโปร์มีการเปลี่ยนแปลงกฎหมายอันเกี่ยวข้องกับอินเทอร์เน็ตเข้าจนได้ มันก็น่าจะเป็นแค่การเปลี่ยนแปลงเชิงสัญลักษณ์มากกว่าในทางเนื้อหาสาระ และวางแผนจัดทำขึ้นด้วยความมุ่งหวังที่จะทำคะแนนนิยมในหมู่คนรุ่นหนุ่มสาว ซึ่งพรรคกำลังมีความเสี่ยงที่จะสูญเสียพวกเขาไปในการเลือกตั้งครั้งต่อๆ ไปข้างหน้า
ตัวลีเองก็พูดออกมาแล้วว่า “เราจะเดินหน้าไปด้วยความระมัดระวังเพื่อหลีกเลี่ยงไม่ก่อให้เกิดผลกระทบเชิงลบ” คำกล่าวของเชืองยิบเส็ง อดีตบรรณาธิการใหญ่ผู้เกษียณอายุแล้วของสเตรทส์ไทมส์ ดูจะเป็นการขยายความการเรียกร้องให้ระมัดระวังนี้ “วิดีโอสามารถที่จะเป็นสื่อที่ทรงพลังและปลุกเร้าอารมณ์ความรู้สึกได้มาก หากใช้กันในทางที่ผิด มันก็สามารถลดคุณภาพของการถกเถียงอภิปรายสาธารณะและการเมืองลงได้”
เชืองเวลานี้เป็นประธานของคณะกรรมการที่ปรึกษาจำนวน 13 คน ซึ่งก่อตั้งขึ้นในปี 2007 เพื่อศึกษา “ผลกระทบของสื่อใหม่ที่มีต่อสังคม” คณะกรรมการชุดนี้เคยวางแผนไว้ว่าจะออกรายงานภายในไตรมาสแรกของปีนี้ ทว่าเวลานี้กลับแจ้งว่าวางแผนจะจัดทำเอกสารสรุปผลการปรึกษาหารือ ออกมาในตอนกลางปีนี้
ถึงแม้คณะกรรมการอ้างว่ากำลังจัดการปรึกษาหารือกับฝ่ายต่างๆ อย่างกว้างขวาง แต่พวกบล็อกเกอร์ทรงอิทธิพลหลายๆ คนกลับบอกว่า พวกเขายังไม่เคยได้รับการติดต่ออะไรเลย และเพื่อเป็นการตอบโต้ บล็อกเกอร์ 15 คนจึงได้ก่อตั้งกลุ่มศึกษาของพวกเขาเองขึ้นมาเพื่อเป็นทางเลือกอีกทางหนึ่งเมื่อเดือนธันวาคมปีที่แล้ว โดยที่ผู้เขียนรายงานข่าวนี้ก็อยู่ในกลุ่มนี้ด้วย ทั้งนี้เพื่อจัดทำชุดข้อเสนอแนะว่าด้วยการผ่อนคลายการกำกับควบคุมอินเทอร์เน็ตของพวกเขาเองออกมาเผยแพร่
กลุ่มนี้ได้ยื่นข้อเสนอของพวกเขาต่อทางรัฐบาลเมื่อวันที่ 21 เมษายน โดยเรียกร้องให้ปรับปรุงยกเครื่องระบบกำกับควบคุมครั้งใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การยกเลิกระเบียบกฎเกณฑ์ทั้งหลายซึ่งควบคุมการแสดงความคิดเห็นทางการเมือง ถึงแม้ไม่เป็นที่คาดหมายกันหรอกว่ารัฐบาลจะยอมรับข้อเสนอแนะหลักข้อใดๆ จากการศึกษาของทางกลุ่ม แต่มันก็แสดงให้เห็นอีกครั้งหนึ่งว่า ชาวเน็ตในสิงคโปร์กำลังเคลื่อนไหวกันอย่างไร เพื่อนิยามเงื่อนไขต่างๆ ในการอภิปรายทางการเมืองของรัฐแห่งนี้กันเสียใหม่ ไม่ว่ารัฐบาลยินดีต้อนรับสิ่งเหล่านี้หรือไม่ก็ตามที
อเล็กซ์ อาว เป็นนักวิจารณ์สังคมและการเมืองที่มีแนวคิดเป็นตัวของตัวเอง เป็นนักเขียนและบล็อกเกอร์อิสระซึ่งพำนักอยู่ในสิงคโปร์ เขาขึ้นพูดตามเวทีสาธารณะบ่อยครั้งในประเด็นทางด้านการเมือง, วัฒนธรรม, และเรื่องของชาวรักร่วมเพศ