เอเจนซี - บรรดาเจ้าหน้าที่ยุโรปและเอเชียยังคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจในปีนี้ยังคงเติบโตเร็วในปีนี้ ดังที่คาดการณ์ไว้เมื่อปีที่แล้ว ถึงแม้ทั่วโลกกำลังจับตาดูแนวโน้มที่เศรษฐกิจสหรัฐฯ ทำท่าไถลเข้าสู่ภาวะถดถอย อย่างไรก็ตามสำหรับนักลงทุนแล้วพวกเขาเห็นว่าจะต้องเตรียมพร้อมรับมือกับสิ่งเลวร้ายที่สุดที่อาจเกิดขึ้น
ฌอง โคลด ตริเชต์ ประธานธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) ยังคาดการณ์ว่า เศรษฐกิจในแถบยูโรโซน โดยทั่วไปน่าจะยังคงเติบโตได้เต็มความสามารถ ขณะที่โฆษกของประธานาธิบดีนิโกลา ซาร์โกซี แห่งฝรั่งเศส แถลงเมื่อวันศุกร์ (18) ว่า ฝรั่งเศสไม่ได้รับผลกระทบจากการที่เศรษฐกิจสหรัฐฯ ชะลอตัว และยังคงยึดตามตัวเลขพยากรณ์เศรษฐกิจปี 2008
ทางด้านญี่ปุ่นก็ยังคงมีมุมมองว่า เศรษฐกิจของตนกำลังฟื้นตัว ถึงแม้จะยอมรับว่ากำลังจับตาดูแนวโน้มที่เศรษฐกิจสหรัฐฯ จะทรุดตัวอย่างใกล้ชิด
ทว่า หากพิจารณาจากตลาดการเงินทั่วโลกจะเห็นว่าไม่มีการปิดบังท่าทีกระวนกระจายใจอย่างรุนแรงเลยแม้แต่น้อย ขณะที่นักลงทุนยอมรับว่าจริงๆ แล้ว โลกคงไม่สามารถหนีจากภาวะเศรษฐกิจสหรัฐฯ ทรุดตัวโดยไม่บอบช้ำ
แม้แต่หุ้นที่ดีที่สุดในบรรดาหุ้นบลูชิป หรือหลักทรัพย์คุณภาพดี ซึ่งบ่อยครั้งนักลงทุนมองว่าเป็นที่หลบภัยอันปลอดภัยในตลาดการเงินที่ปั่นป่วนโกลาหลนั้น ก็ยังต้องกระเสือกกระสนอย่างหนัก ทั้งนี้ ดัชนีดาวโจนส์โกลบัลไททันส์ ซึ่งวัดความเคลื่อนไหวของราคาหุ้นของบริษัทยักษ์ใหญ่ที่สุดในโลกลดลง 7% ในช่วงต้นปีนี้
อัลเบิร์ต เอ็ดเวิร์ดส์ นักยุทธศาสตร์โลกแห่งโซซิเต เจเนรัล ครอส แอสเซต รีเสิร์ช กล่าวว่า ตลาดหุ้นทั่วโลกจะดิ่งลงครึ่งหนึ่งจากระดับสูงสุด ขณะที่ผลตอบแทนของพันธบัตรสหรัฐฯ ก็จะลดลงเหลือ 2% เนื่องจากเศรษฐกิจสหรัฐฯ ถดถอยหนัก
ในสัปดาห์นี้ กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) จะแถลงรายงานพยากรณ์การเติบโตของเศรษฐกิจโลกฉบับใหม่ล่าสุด คาดกันว่าไอเอ็มเอฟจะลดตัวเลขคาดการณ์เศรษฐกิจสหรัฐฯ ในปีนี้ ลงอย่างมาก ขณะที่เศรษฐกิจยุโรปก็มีแนวโน้มถูกลดเกรดด้วยเช่นกัน รวมทั้งแม้แต่เศรษฐกิจเกิดใหม่ที่เติบโตอย่างรวดเร็ว เช่นจีนและอินเดีย
ในสหรัฐฯ นั้น หลักฐานที่ชี้ให้เห็นถึงภาวะเศรษฐกิจทรุดลงอย่างหนักกำลังสะสมเพิ่มพูนมากขึ้นเรื่อยๆ เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว มีการแถลงรายงานที่ชี้ว่า กิจกรรมการผลิตในแถบมิดแอตแลนติกในสหรัฐฯ หดตัวอย่างมาก ยิ่งทำให้ผู้คนสงสัยกันมากขึ้นว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ อาจเข้าสู่ภาวะถดถอยเรียบร้อยแล้ว
นักเศรษฐศาสตร์ภาคเอกชน มองว่า พิษจากภาวะเศรษฐกิจถดถอยในสหรัฐฯ บางส่วนได้แพร่กระจายสู่เศรษฐกิจโลกแล้ว ทั้งนี้ ผลสำรวจความคิดเห็นของนักเศรษฐศาสตร์ 250 คน จัดทำโดยสำนักข่าวรอยเตอร์ เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ชี้ว่านักเศรษฐศาสตร์มองว่าโอกาสเกิดภาวะถดถอยในสหรัฐฯอยู่ที่ 45% เพิ่มขึ้นจาก 40% เมื่อเดือนที่แล้ว โพลยังชี้ว่านักเศรษฐศาสตร์ได้ลดตัวเลขคาดการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจทั่วกลุ่ม 7 ชาติอุตสาหกรรมชั้นนำของโลก (จี7)
อย่างไรก็ดี ผู้นำของชาติเอเชียและยุโรปยังคงมีแนวคำตอบอย่างเป็นทางการว่า เศรษฐกิจตนยังสามารถต้านทานภาวะตกต่ำของเศรษฐกิจสหรัฐฯได้ ขัดแย้งกับมุมมองความเห็นของตลาดการเงิน
ทว่าอารมณ์ที่หม่นหมองลงกำลังส่งผลกระทบต่อความรู้สึกของคนทั่วโลก โดยที่ญี่ปุ่นนั้น ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในเดือนธันวาคมลดลงมาอยู่ในระดับต่ำสุด ในรอบ 4 ปีครึ่ง สืบเนื่องจากตลาดหุ้นโตเกียวดิ่งฮวบ และราคาพลังงานและสินค้าอุปโภคบริโภคที่เพิ่มสูงขึ้น ทำให้งบประมาณของครัวเรือนลดลง
ขณะที่เยอรมนี ชาติเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในยุโรป กำลังเผชิญกับภาวะเดียวกันกับที่ญี่ปุ่น โดยความเชื่อมั่นของนักลงทุนในเดือนนี้ ลดลงมาอยู่ในระดับต่ำสุดในรอบ 15 ปี เนื่องจากนักลงทุนหวั่นวิตกต่อภาวะเศรษฐกิจถดถอยในสหรัฐฯ และความปั่นป่วนในตลาดการเงิน
หากความเชื่อมั่นของนักลงทุนที่ซวนเซลงเช่นนี้ แปรเปลี่ยนกลายเป็นดีมานด์ที่ชะลอตัวลง สิ่งนี้ก็จะสร้างความเสียหายต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างเห็นได้ชัด ทั้งนี้ ยอดการซื้อสินค้าในช่วงเทศกาลคริสต์มาสจนถึงปีใหม่ที่ผ่านมาซึ่งอยู่ในระดับที่น่าผิดหวัง ชี้ให้เห็นว่าภาวะข้างต้นได้เริ่มเกิดขึ้นแล้ว
ในยุโรปกำลังมีแรงกดดันจากฝ่ายต่างๆ เพิ่มขึ้นมากเป็นพิเศษ มุ่งบีบให้อีซีบียอมรับว่าเศรษฐกิจมีแนวโน้มเติบโตช้าลง และดำเนินการตามธนาคารกลางสหรัฐฯ ธนาคารแห่งประเทศอังกฤษ และธนาคารแห่งแคนาดาในการตัดลดดอกเบี้ย
ฌอง โคลด ตริเชต์ ประธานธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) ยังคาดการณ์ว่า เศรษฐกิจในแถบยูโรโซน โดยทั่วไปน่าจะยังคงเติบโตได้เต็มความสามารถ ขณะที่โฆษกของประธานาธิบดีนิโกลา ซาร์โกซี แห่งฝรั่งเศส แถลงเมื่อวันศุกร์ (18) ว่า ฝรั่งเศสไม่ได้รับผลกระทบจากการที่เศรษฐกิจสหรัฐฯ ชะลอตัว และยังคงยึดตามตัวเลขพยากรณ์เศรษฐกิจปี 2008
ทางด้านญี่ปุ่นก็ยังคงมีมุมมองว่า เศรษฐกิจของตนกำลังฟื้นตัว ถึงแม้จะยอมรับว่ากำลังจับตาดูแนวโน้มที่เศรษฐกิจสหรัฐฯ จะทรุดตัวอย่างใกล้ชิด
ทว่า หากพิจารณาจากตลาดการเงินทั่วโลกจะเห็นว่าไม่มีการปิดบังท่าทีกระวนกระจายใจอย่างรุนแรงเลยแม้แต่น้อย ขณะที่นักลงทุนยอมรับว่าจริงๆ แล้ว โลกคงไม่สามารถหนีจากภาวะเศรษฐกิจสหรัฐฯ ทรุดตัวโดยไม่บอบช้ำ
แม้แต่หุ้นที่ดีที่สุดในบรรดาหุ้นบลูชิป หรือหลักทรัพย์คุณภาพดี ซึ่งบ่อยครั้งนักลงทุนมองว่าเป็นที่หลบภัยอันปลอดภัยในตลาดการเงินที่ปั่นป่วนโกลาหลนั้น ก็ยังต้องกระเสือกกระสนอย่างหนัก ทั้งนี้ ดัชนีดาวโจนส์โกลบัลไททันส์ ซึ่งวัดความเคลื่อนไหวของราคาหุ้นของบริษัทยักษ์ใหญ่ที่สุดในโลกลดลง 7% ในช่วงต้นปีนี้
อัลเบิร์ต เอ็ดเวิร์ดส์ นักยุทธศาสตร์โลกแห่งโซซิเต เจเนรัล ครอส แอสเซต รีเสิร์ช กล่าวว่า ตลาดหุ้นทั่วโลกจะดิ่งลงครึ่งหนึ่งจากระดับสูงสุด ขณะที่ผลตอบแทนของพันธบัตรสหรัฐฯ ก็จะลดลงเหลือ 2% เนื่องจากเศรษฐกิจสหรัฐฯ ถดถอยหนัก
ในสัปดาห์นี้ กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) จะแถลงรายงานพยากรณ์การเติบโตของเศรษฐกิจโลกฉบับใหม่ล่าสุด คาดกันว่าไอเอ็มเอฟจะลดตัวเลขคาดการณ์เศรษฐกิจสหรัฐฯ ในปีนี้ ลงอย่างมาก ขณะที่เศรษฐกิจยุโรปก็มีแนวโน้มถูกลดเกรดด้วยเช่นกัน รวมทั้งแม้แต่เศรษฐกิจเกิดใหม่ที่เติบโตอย่างรวดเร็ว เช่นจีนและอินเดีย
ในสหรัฐฯ นั้น หลักฐานที่ชี้ให้เห็นถึงภาวะเศรษฐกิจทรุดลงอย่างหนักกำลังสะสมเพิ่มพูนมากขึ้นเรื่อยๆ เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว มีการแถลงรายงานที่ชี้ว่า กิจกรรมการผลิตในแถบมิดแอตแลนติกในสหรัฐฯ หดตัวอย่างมาก ยิ่งทำให้ผู้คนสงสัยกันมากขึ้นว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ อาจเข้าสู่ภาวะถดถอยเรียบร้อยแล้ว
นักเศรษฐศาสตร์ภาคเอกชน มองว่า พิษจากภาวะเศรษฐกิจถดถอยในสหรัฐฯ บางส่วนได้แพร่กระจายสู่เศรษฐกิจโลกแล้ว ทั้งนี้ ผลสำรวจความคิดเห็นของนักเศรษฐศาสตร์ 250 คน จัดทำโดยสำนักข่าวรอยเตอร์ เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ชี้ว่านักเศรษฐศาสตร์มองว่าโอกาสเกิดภาวะถดถอยในสหรัฐฯอยู่ที่ 45% เพิ่มขึ้นจาก 40% เมื่อเดือนที่แล้ว โพลยังชี้ว่านักเศรษฐศาสตร์ได้ลดตัวเลขคาดการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจทั่วกลุ่ม 7 ชาติอุตสาหกรรมชั้นนำของโลก (จี7)
อย่างไรก็ดี ผู้นำของชาติเอเชียและยุโรปยังคงมีแนวคำตอบอย่างเป็นทางการว่า เศรษฐกิจตนยังสามารถต้านทานภาวะตกต่ำของเศรษฐกิจสหรัฐฯได้ ขัดแย้งกับมุมมองความเห็นของตลาดการเงิน
ทว่าอารมณ์ที่หม่นหมองลงกำลังส่งผลกระทบต่อความรู้สึกของคนทั่วโลก โดยที่ญี่ปุ่นนั้น ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในเดือนธันวาคมลดลงมาอยู่ในระดับต่ำสุด ในรอบ 4 ปีครึ่ง สืบเนื่องจากตลาดหุ้นโตเกียวดิ่งฮวบ และราคาพลังงานและสินค้าอุปโภคบริโภคที่เพิ่มสูงขึ้น ทำให้งบประมาณของครัวเรือนลดลง
ขณะที่เยอรมนี ชาติเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในยุโรป กำลังเผชิญกับภาวะเดียวกันกับที่ญี่ปุ่น โดยความเชื่อมั่นของนักลงทุนในเดือนนี้ ลดลงมาอยู่ในระดับต่ำสุดในรอบ 15 ปี เนื่องจากนักลงทุนหวั่นวิตกต่อภาวะเศรษฐกิจถดถอยในสหรัฐฯ และความปั่นป่วนในตลาดการเงิน
หากความเชื่อมั่นของนักลงทุนที่ซวนเซลงเช่นนี้ แปรเปลี่ยนกลายเป็นดีมานด์ที่ชะลอตัวลง สิ่งนี้ก็จะสร้างความเสียหายต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างเห็นได้ชัด ทั้งนี้ ยอดการซื้อสินค้าในช่วงเทศกาลคริสต์มาสจนถึงปีใหม่ที่ผ่านมาซึ่งอยู่ในระดับที่น่าผิดหวัง ชี้ให้เห็นว่าภาวะข้างต้นได้เริ่มเกิดขึ้นแล้ว
ในยุโรปกำลังมีแรงกดดันจากฝ่ายต่างๆ เพิ่มขึ้นมากเป็นพิเศษ มุ่งบีบให้อีซีบียอมรับว่าเศรษฐกิจมีแนวโน้มเติบโตช้าลง และดำเนินการตามธนาคารกลางสหรัฐฯ ธนาคารแห่งประเทศอังกฤษ และธนาคารแห่งแคนาดาในการตัดลดดอกเบี้ย