ซีน่าเน็ต – ตัวเลขเงินที่อธิบายจากต่างชาติในเดือนเมษายนพุ่งขึ้นถึง 50,180 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ทำให้ผู้เชี่ยวชาญมองว่าเงินร้อนที่ไหลเข้ามาเก็งกำไรระยะสั้นในจีนนั้นพุ่งมากและเร็วขึ้น อย่างไรก็ตามการที่เงินเวียดนามอ่อนค่าลงอาจจะทำให้เงินร้อนในเดือนพฤษภาคมของจีนบรรเทาเบาบางลง
จากตัวเลขเมื่อปลายเดือนเมษายนที่ผ่านมา ประเทศจีนมีปริมาณเงินสำรองเงินตราต่างประเทศทั้งสิ้น 1,756,640 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยในเดือนเมษายนได้เพิ่มขึ้นทั้งสิ้น 74,460 ล้านเหรียญสหรัฐฯ สร้างสถิติเงินสำรองต่างประเทศเพิ่มขึ้นรายเดือนสูงที่สุด
โดยสำนักข่าวของจีนได้รายงานว่า จำนวนเงินสำรองเงินตราต่างประเทศที่เพิ่มเข้ามานั้น เมื่อหักเงินลงทุนตรงจากต่างประเทศกับตัวเลขการเกินดุลการค้าต่างประเทศแล้ว ก็ยังมี “เงินที่อธิบายที่มาไม่ได้” อีกมากถึง 50,180 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
ต่อกรณีที่เงินสำรองเงินตราต่างประเทศเพิ่มขึ้นอย่างมากนั้น นายฮา จี้หมิงนักเศรษฐศาสตร์และประธานของบริษัทไชน่า อินเตอร์เนชันแนล แคปิตอล คอร์ปอเรชัน (ซีไอซีซี) ได้เปิดเผยว่า เงินสำรองเงินตราต่างประเทศของจีนนั้นไม่ใช่สินทรัพย์ในรูปแบบดอลลาร์สหรัฐฯทั้งหมด เพราะนอกจากทรัพย์สินที่เป็นดอลลาร์สหรัฐฯที่อ่อนค่าลงเรื่อยๆแล้ว เงินสกุลอื่นส่วนใหญ่แข็งค่าขึ้น ในส่วนนี้คาดว่าน่าจะมีประมาณ 50,000 หยวน นอกจากนั้นการที่เงินสำรองเงินตราต่างประเทศเพิ่มขึ้นยังมีความเกี่ยวข้องกับการที่มีวิสาหกิจที่ไปจดทะเบียนในตลาดต่างประเทศ และไปลงทุนในเงินตราต่างประเทศและได้รับผลตอบแทนกลับมา บวกกับเงินสำรองเงินตราต่างประเทศอีกจำนวนหนึ่งที่มีมูลค่าเพิ่มมากขึ้นตามมูลค่าของพันธบัตรสหรัฐฯ
ทว่ามีนักวิเคราะห์อีกกลุ่มหนึ่งที่ระบุว่า เงินจำนวนมหาศาล ที่เป็นเงินที่อธิบายไม่ได้ในเงินสำรองเงินตราต่างประเทศของจีนนั้น เป็นสัญญาณที่ชี้ให้เห็นว่า “เงินร้อน” ได้บุกเข้าสู่ประเทศจีนในอัตราความเร่งที่สูงขึ้น จากรายงานนโยบายทางการเงินไตรมากแรกของธนาคารกลางแห่งประเทศจีนที่ได้ระบุว่า การที่วิกฤตซับไพรม์จากสหรัฐฯยังดำเนินต่อไป บวกกับความผันผวนในตลาดการเงินโลก จะทำให้ประเทศจีนกลายเป็น “แหล่งหลบภัย” ของวงการการเงินนานาชาติ โดยเฉพาะเมื่อจีนกับสหรัฐฯมีอัตราดอกเบี้ยที่แตกต่าง ทำให้นานาชาติมีโอกาสเก็งกำไรในจีนมากขึ้น เงินที่ไหลเข้ามาลงทุนเพื่อช้อนกำไรระยะสั้นก็เพิ่มมากขึ้นด้วย
นายเสิ่น หมิงเกานักเศรษฐศาสตร์และประธานซิตี้แบงก์ (จีน) ได้เปิดเผยว่า สำหรับประเด็นเงินร้อนนั้นยังยากที่จะฟันธงได้ แต่สิ่งหนึ่งที่ควรสังเกตก็คือในช่วงเดือนมกราคม-เมษายนที่ผ่านมามีเงินลงทุนจากต่างประเทศเข้ามาในจีนเพิ่มขึ้น 59% ในขณะที่การลงทุนในทรัพย์สินถาวรจากต่างชาติกลับลดลง ซึ่งพอจะแสดงให้เห็นว่ามีเงินจำนวนหนึ่งที่เข้ามาในจีนแล้วไม่ได้นำมาลงทุน
ฮา จี้หมิงยังมองอีกว่า ปัจจุบันบรรดามาตรการคุมเงินเร้อนในขณะนี้นั้นได้ทำให้เงินหยวนแข็งค่าช้ากว่าที่หลายฝ่ายคาด และเมื่อมองจากจุดของคาดการณ์การแข็งค่าเงิน ตัวเลขเกินดุลการค้าต่างประเทศ กับจุดเด่นต่างๆของตลาดทุนแล้ว การที่ทุนต่างชาติจะถอนทุนออกจากจีนในระยะสั้นนี้คงเป็นไปได้ยาก
อย่างไรก็ตาม ฮา จี้หมิงก็ได้ระบุว่าเงินของเวียดนามนั้นกำลังเผชิญหน้ากับการอ่อนค่าอย่างแรง ซึ่งกรณีนี้อาจจะทำให้มีการดึงเงินร้อนส่วนหนึ่งไปลงทุนที่นั่นเพื่อกระจายความเสี่ยง จนทำให้ภาวะเงินร้อนในเดือนพ.ค.ที่ผ่านมานั้นชะลอตัวลง
ทั้งนี้จากการคำนวณของจง เหว่ยนักวิชาการด้านการเงินชื่อดังนั้น นั้นในปีค.ศ.2005 ในประเทศจีนมีเงินร้อนมากกว่า 320,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ปลายปีค.ศ. 2006 กับ 2007 มีอยู่ราว 400,000 กับ 500,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯตามลำดับ และคาดว่าในปีนี้กับปีหน้าจะเพิ่มมากขึ้นเป็น 650,000 ล้านเหรียญกับ 800,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งเงินร้อนเหล่านี้นอกจากเข้ามาเพื่อหลบความเสี่ยงจากความผันผวนในวงการการเงินโลกแล้ว ยังสามารถหาประโยชน์จากการเก็งกำไรเงินหยวน ตลาดหุ้น และตลาดอสังหาริมทรัพย์ในจีนได้ด้วย
ข้อมูลในรายงานระบุว่า ในช่วงปลายปีค.ศ. 1996 ก่อนเกิดวิกฤตต้มยำกุ้งนั้น มีเงินร้อนที่ไหลทะลักเข้ามาในเอเชียตะวันออกและตะวันออกเฉียงใต้ราว 560,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ กระทั่งปีค.ศ.1998 หลังเกิดวิกฤตการเงินขึ้นแล้ว มีเงินร้อนในเอเชียตะวันออกราว 800,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ จง เหว่ยชี้ว่าขณะนี้จำนวนเงินร้อนที่จีนกำลังเผชิญหน้าในขณะนี้ มีปริมาณพอๆกับที่เกิดในเอเชียตะวันออกสมัยทศวรรษที่ 90 ดังนั้นจีนจึงมีความจำเป็นจะต้องหาทางป้องกันความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นกับระบบเศรษฐกิจ
จากตัวเลขเมื่อปลายเดือนเมษายนที่ผ่านมา ประเทศจีนมีปริมาณเงินสำรองเงินตราต่างประเทศทั้งสิ้น 1,756,640 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยในเดือนเมษายนได้เพิ่มขึ้นทั้งสิ้น 74,460 ล้านเหรียญสหรัฐฯ สร้างสถิติเงินสำรองต่างประเทศเพิ่มขึ้นรายเดือนสูงที่สุด
โดยสำนักข่าวของจีนได้รายงานว่า จำนวนเงินสำรองเงินตราต่างประเทศที่เพิ่มเข้ามานั้น เมื่อหักเงินลงทุนตรงจากต่างประเทศกับตัวเลขการเกินดุลการค้าต่างประเทศแล้ว ก็ยังมี “เงินที่อธิบายที่มาไม่ได้” อีกมากถึง 50,180 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
ต่อกรณีที่เงินสำรองเงินตราต่างประเทศเพิ่มขึ้นอย่างมากนั้น นายฮา จี้หมิงนักเศรษฐศาสตร์และประธานของบริษัทไชน่า อินเตอร์เนชันแนล แคปิตอล คอร์ปอเรชัน (ซีไอซีซี) ได้เปิดเผยว่า เงินสำรองเงินตราต่างประเทศของจีนนั้นไม่ใช่สินทรัพย์ในรูปแบบดอลลาร์สหรัฐฯทั้งหมด เพราะนอกจากทรัพย์สินที่เป็นดอลลาร์สหรัฐฯที่อ่อนค่าลงเรื่อยๆแล้ว เงินสกุลอื่นส่วนใหญ่แข็งค่าขึ้น ในส่วนนี้คาดว่าน่าจะมีประมาณ 50,000 หยวน นอกจากนั้นการที่เงินสำรองเงินตราต่างประเทศเพิ่มขึ้นยังมีความเกี่ยวข้องกับการที่มีวิสาหกิจที่ไปจดทะเบียนในตลาดต่างประเทศ และไปลงทุนในเงินตราต่างประเทศและได้รับผลตอบแทนกลับมา บวกกับเงินสำรองเงินตราต่างประเทศอีกจำนวนหนึ่งที่มีมูลค่าเพิ่มมากขึ้นตามมูลค่าของพันธบัตรสหรัฐฯ
ทว่ามีนักวิเคราะห์อีกกลุ่มหนึ่งที่ระบุว่า เงินจำนวนมหาศาล ที่เป็นเงินที่อธิบายไม่ได้ในเงินสำรองเงินตราต่างประเทศของจีนนั้น เป็นสัญญาณที่ชี้ให้เห็นว่า “เงินร้อน” ได้บุกเข้าสู่ประเทศจีนในอัตราความเร่งที่สูงขึ้น จากรายงานนโยบายทางการเงินไตรมากแรกของธนาคารกลางแห่งประเทศจีนที่ได้ระบุว่า การที่วิกฤตซับไพรม์จากสหรัฐฯยังดำเนินต่อไป บวกกับความผันผวนในตลาดการเงินโลก จะทำให้ประเทศจีนกลายเป็น “แหล่งหลบภัย” ของวงการการเงินนานาชาติ โดยเฉพาะเมื่อจีนกับสหรัฐฯมีอัตราดอกเบี้ยที่แตกต่าง ทำให้นานาชาติมีโอกาสเก็งกำไรในจีนมากขึ้น เงินที่ไหลเข้ามาลงทุนเพื่อช้อนกำไรระยะสั้นก็เพิ่มมากขึ้นด้วย
นายเสิ่น หมิงเกานักเศรษฐศาสตร์และประธานซิตี้แบงก์ (จีน) ได้เปิดเผยว่า สำหรับประเด็นเงินร้อนนั้นยังยากที่จะฟันธงได้ แต่สิ่งหนึ่งที่ควรสังเกตก็คือในช่วงเดือนมกราคม-เมษายนที่ผ่านมามีเงินลงทุนจากต่างประเทศเข้ามาในจีนเพิ่มขึ้น 59% ในขณะที่การลงทุนในทรัพย์สินถาวรจากต่างชาติกลับลดลง ซึ่งพอจะแสดงให้เห็นว่ามีเงินจำนวนหนึ่งที่เข้ามาในจีนแล้วไม่ได้นำมาลงทุน
ฮา จี้หมิงยังมองอีกว่า ปัจจุบันบรรดามาตรการคุมเงินเร้อนในขณะนี้นั้นได้ทำให้เงินหยวนแข็งค่าช้ากว่าที่หลายฝ่ายคาด และเมื่อมองจากจุดของคาดการณ์การแข็งค่าเงิน ตัวเลขเกินดุลการค้าต่างประเทศ กับจุดเด่นต่างๆของตลาดทุนแล้ว การที่ทุนต่างชาติจะถอนทุนออกจากจีนในระยะสั้นนี้คงเป็นไปได้ยาก
อย่างไรก็ตาม ฮา จี้หมิงก็ได้ระบุว่าเงินของเวียดนามนั้นกำลังเผชิญหน้ากับการอ่อนค่าอย่างแรง ซึ่งกรณีนี้อาจจะทำให้มีการดึงเงินร้อนส่วนหนึ่งไปลงทุนที่นั่นเพื่อกระจายความเสี่ยง จนทำให้ภาวะเงินร้อนในเดือนพ.ค.ที่ผ่านมานั้นชะลอตัวลง
ทั้งนี้จากการคำนวณของจง เหว่ยนักวิชาการด้านการเงินชื่อดังนั้น นั้นในปีค.ศ.2005 ในประเทศจีนมีเงินร้อนมากกว่า 320,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ปลายปีค.ศ. 2006 กับ 2007 มีอยู่ราว 400,000 กับ 500,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯตามลำดับ และคาดว่าในปีนี้กับปีหน้าจะเพิ่มมากขึ้นเป็น 650,000 ล้านเหรียญกับ 800,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งเงินร้อนเหล่านี้นอกจากเข้ามาเพื่อหลบความเสี่ยงจากความผันผวนในวงการการเงินโลกแล้ว ยังสามารถหาประโยชน์จากการเก็งกำไรเงินหยวน ตลาดหุ้น และตลาดอสังหาริมทรัพย์ในจีนได้ด้วย
ข้อมูลในรายงานระบุว่า ในช่วงปลายปีค.ศ. 1996 ก่อนเกิดวิกฤตต้มยำกุ้งนั้น มีเงินร้อนที่ไหลทะลักเข้ามาในเอเชียตะวันออกและตะวันออกเฉียงใต้ราว 560,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ กระทั่งปีค.ศ.1998 หลังเกิดวิกฤตการเงินขึ้นแล้ว มีเงินร้อนในเอเชียตะวันออกราว 800,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ จง เหว่ยชี้ว่าขณะนี้จำนวนเงินร้อนที่จีนกำลังเผชิญหน้าในขณะนี้ มีปริมาณพอๆกับที่เกิดในเอเชียตะวันออกสมัยทศวรรษที่ 90 ดังนั้นจีนจึงมีความจำเป็นจะต้องหาทางป้องกันความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นกับระบบเศรษฐกิจ