นายธวัชชัย สมบูรณ์ รองผู้อำนวยการสำนักการโยธา กรุงเทพมหานคร เปิดเผยแผนการเคลื่อนย้ายซากโครงเหล็ก หรือลอนเชอร์ ออกจากที่เกิดเหตุทางยกระดับถล่ม ซึ่งเป็นอุปกรณ์ในการยกดึง และเคลื่อนแผ่นปูนสำหรับทำผิวสะพานออกจากที่เกิดเหตุ ว่า โดยลอนเชอร์มีควายาวด้านละ 110 เมตร น้ำหนักข้างละ 150 ตัน จะใช้วิธีการตัดทอนเป็นท่อนลักษณะเหมือนตัดชิ้นเค้ก โดยเริ่มตัดจากส่วนหัว และส่วนท้ายของลอนเชอร์ก่อน ความยาวท่อนละ 7 เมตร น้ำหนักท่อนละ 7 ตัน ส่วนตัวลอนเชอร์ จะตัดซอยท่อนละ 12 เมตร น้ำหนักท่อนละ 30 ตัน และจะใช้เครน 200 ตัดพยุงและยกออกจากพื้นที่ ซึ่งต้องระวังการดีดตัวของเหล็ก เนื่องจากเป็นการถล่มที่ชิ้นส่วนเหล็กทับซ้อนกันอยู่ โดยขณะนี้ตัดส่วนหัวและท้ายเสร็จแล้ว รอการเคลื่อนย้ายในช่วงเวลากลางคืนเพื่อความปลอดภัย และบางส่วนต้องนำไปเก็บไว้เพราะเป็นหลักฐานทางคดี คาดว่าจะใช้เวลา 3 วัน เคลียร์ลอนเชอร์ออกจากที่เกิดเหตุ เพื่อเปิดผิวการจราจร ขณะที่ในช่วงบ่ายวันนี้จะเริ่มจ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับประชาชนและผู้ประกอบการในพื้นที่
ด้านนายชัชชญา ขำจันทร์ ผู้อำนวยการเขตลาดกระบัง กล่าวว่า ได้มีการติดต่อผู้รับเหมาเข้าให้ข้อมูลแล้วบางส่วน และประสานกับตำรวจในการสอบสวนหาสาเหตุ ซึ่งต้องดำเนินการอย่างละเอียด
ด้านนายชัชชญา ขำจันทร์ ผู้อำนวยการเขตลาดกระบัง กล่าวว่า ได้มีการติดต่อผู้รับเหมาเข้าให้ข้อมูลแล้วบางส่วน และประสานกับตำรวจในการสอบสวนหาสาเหตุ ซึ่งต้องดำเนินการอย่างละเอียด