xs
xsm
sm
md
lg

"จาตุรนต์"ยันปกป้องชัยชนะประชาชน เดินหน้าจัดตั้งรัฐบาลประชาธิปไตย

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์


นายจาตุรนต์ ฉายแสง ส.ส.บัญชีรายชื่อ และ คณะกรรมการยุทธศาสตร์และทิศทางการเมือง พรรคเพื่อไทย กล่าวระหว่างรวมแสดงความคิดเห็นบนเวที PRIDI Talks #21 : “เราจะรักษาชัยชนะก้าวแรกของประชาชน (และก้าวต่อๆ ไป) ไว้ได้อย่างไร?” เพื่อร่วมกันทบทวนบทเรียนในอดีต ทำความเข้าใจปัจจุบัน และร่วมสร้างสรรค์อนาคตของประชาธิปไตยสมบูรณ์ ที่จัดขึ้นโดยสถาบันปรีดี พนมยงค์ ชี้ให้เห็นจุดอ่อนในชนะของประชาชนในอดีตและโอกาสในการเดินหน้าไปสู่ประชาธิปไตยหลังการเลือกตั้งที่สะท้อนความต้องการของประชาชน ที่แม้วันนี้จะสามารถพูดได้ว่าเป็นชัยชนะของประชาชนแล้วก็ตาม แต่ยังถือว่าปัญหาที่รออยู่ข้างหน้ายังหนักมากและจำเป็นจะต้องช่วยกันผ่านมันไปให้ได้ หากต้องการเปลี่ยนแปลงประเทศไปสู่ประชาธิปไตย

1.เหตุการณ์ทางการเมืองในอดีตหลายๆ เหตุการณ์ รวมไปถึงเหตุการณ์ 14 ตุลา 16 ที่มาจนกระทั่ง 6 ตุลา 19 หรือเหตุการณ์ พฤษภา 35 เมื่อฝ่ายประชาชนได้รับชัยชนะมาจากฝ่ายที่ยึดอำนาจแล้ว แต่น่าเสียดายที่ไม่มีการกระจายชัยชนะไปสู่มวลชนอย่างกว้างขวาง ไม่มีการปลูกฝังอุดมการณ์เสรีประชาธิปไตยหรือเรื่องความสำคัญของสิทธิเสรีภาพ หรือระบบยุติธรรมที่ดีว่าเป็นอย่างไร จึงไม่เกิดการเปลี่ยนระบบโครงสร้างอย่างถาวร

2.แต่ก็ยังพอมีข้อดีอยู่บ้าง คือ มีการปฏิรูปการเมืองในบางครั้ง เช่นการมีรัฐธรรมนูญ 2540 มีการเลือกตั้งและเกิดปรากฎการณ์ที่เรียกกันว่า “ประชาธิปไตยกินได้” ที่ทำให้ประชาชนมีความรู้สึกและมีความทรงจำที่ดีว่าการเลือกตั้งมีผลต่อชีวิตความเป็นอยู่ของเขา

3. เหตุการณ์รัฐประหาร 2 ครั้งหลังสุด คือในปี 2549 และ 2557 ทำให้เกิดรัฐธรรมนูญที่ไม่เป็นประชาธิปไตย อำนาจไม่อยู่กับประชาชน แต่ไปอยู่กับองค์กรที่ไม่ยึดโยงกับประชาชนเท่านั้น อีกทั้งยังซับซ้อนและแยบยลมากขึ้น คือ คณะรัฐประหารใช้กลไกของประชาธิปไตย 3 อย่าง คือ รัฐธรรมนูญ ประชามติและการเลือกตั้งอย่างฉ้อฉล ให้ได้กติกาที่พิกลพิการและการเลือกตั้งที่ไม่มีความหมาย

4. กลุ่มผู้ยึดอำนาจได้สร้างกลไกขึ้นมาพร้อมที่จะจัดการกับพรรคการเมืองใดที่เป็นรัฐบาลหากไม่ได้เป็นฝ่ายเดียวกับผู้ยึดอำนาจ โดยเฉพาะการรัฐประหาร 2557 ทำให้ประเทศย้อนหลังไปมากๆ นำไปสู่การปกครองแบบเผด็จการเบ็ดเสร็จเด็ดขาดทั้งหมดและยาวนานและอำนาจนั้นยังต่อเนื่องมาจนถึงวันนี้

5. ชัยชนะในการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมา ซึ่งประชาชนแสดงออกถึงการไม่ยอมรับพวกที่มาจากการยึดอำนาจ พรรคการเมืองที่เชื่อมโยงกับผู้ทำรัฐประหาร และสนับสนุนพรรคการเมืองที่ต้องการยุติการสืบทอดอำนาจและต้องการให้บ้านเมืองเป็นประชาธิปไตย เป็นชัยชนะและความก้าวหน้าที่สำคัญ แต่ก็ยังน่ากังวลเพราะยังต้องอยู่ภายใต้กติกาที่ ส.ว. 250 สามารถลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีได้ หมายความว่าแม้จะมี 312 - 313 เสียง ก็ยังไม่สามารถจัดตั้งรัฐบาลได้ และยังคงต้องเผชิญกับความเคลื่อนไหวไม่อยากให้จัดตั้งรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน

6. การจะรักษาชัยชนะจากการเลือกตั้งของประชาชนในครั้งนี้ได้ ในขั้นแรกคือเราจะตั้งรัฐบาลประชาธิปไตยอย่างไร ทำอย่างไรไม่ให้พรรคการเมืองที่รวมกันอยู่ไม่แตกกันไปเสียก่อนและจะทำอย่างไรไม่ให้เกิดการสลับขั้วย้ายข้าง ที่สำคัญมากกว่านั้นคือ จะรักษาศักยภาพความเข้าใจและความหวังของประชาชนเอาไว้ได้อย่างไร จะทำอย่างไรให้ประชาชนเข้าใจมากขึ้นและรู้สึกว่าตัวเองมีพลังในการเปลี่ยนแปลง เพราะเรื่องใหญ่ที่เราจะต้องทำต่อไปคือ ต้องแก้ไขกติกาที่ไม่เป็นประชาธิปไตย แก้ไขรัฐธรรมนูญให้เป็นประชาธิปไตยและบ้านเมืองเป็นประชาธิปไต