สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 1,044 คน (สำรวจทางออนไลน์) ระหว่างวันที่ 19-24 พฤศจิกายน 2565 เรื่อง "อาหารไทย เอกลักษณ์ไทย" โดยผลการสำรวจมีรายละเอียด ดังนี้
ประชาชนคิดว่าเอกลักษณ์ของอาหารไทย คืออะไร ?
ร้อยละ 83.96 ระบุ ความพิถีพิถัน ความประณีตสวยงาม
ร้อยละ 81.17 ระบุ อาหารไทยมีประโยชน์ เป็นยา มีคุณค่าตามหลักโภชนาการ
ร้อยละ 75.98 ระบุ มาจากภูมิปัญญาท้องถิ่น เป็น Soft Power มีต้นทุนทางวัฒนธรรม
ประชาชนคิดว่าการประชุม APEC 2022 จะช่วยส่งเสริม "อาหารไทย...เอกลักษณ์ไทย" ไปสู่สายตาชาวต่างชาติได้มากน้อยเพียงใด
ร้อยละ 51.44 ระบุ ค่อนข้างมาก
ร้อยละ 29.79 ระบุ มากที่สุด
ร้อยละ 17.43 ระบุ ค่อนข้างน้อย
ร้อยละ 1.34 ระบุ น้อยที่สุด
ใคร/หน่วยงานใด ที่จะช่วยส่งเสริมอาหารไทยให้เป็นเอกลักษณ์ของไทยต่อไป
ร้อยละ 70.00 ระบุ ประชาชนคนไทยทุกคน
ร้อยละ 65.38 ระบุ กระทรวงวัฒนธรรม
ร้อยละ 63.37 ระบุ คนเก่าแก่ ปราชญ์ชาวบ้าน
ประชาชนคิดว่าควรทำอย่างไรจึงจะรักษาเอกลักษณ์ของอาหารไทยไว้ได้
ร้อยละ 88.85 ระบุ ภาครัฐส่งเสริมอย่างจริงจัง ผลักดันเป็น Soft Power
ร้อยละ 82.50 ระบุ ปลูกฝังให้กับคนรุ่นหลังได้เห็นถึงคุณค่า ความสำคัญและสานต่อ
ร้อยละ 77.31 ระบุ ประชาสัมพันธ์ให้คนไทยช่วยกันรักษารากเหง้าเอกลักษณ์ของอาหารไทย
5 อันดับ เมนูอาหารไทยที่เป็นเอกลักษณ์ไทย
ร้อยละ 57.65 ต้มยำกุ้ง
ร้อยละ 33.17 ผัดไทย
ร้อยละ 23.89 ส้มตำ
ร้อยละ 22.11 แกงเขียวหวาน
ร้อยละ 13.23 แกงมัสมั่น
สิ่งที่เป็นห่วงหรือกังวลเกี่ยวกับอาหารไทย
ร้อยละ 90.75 ระบุ การรักษาสูตรต้นตำรับ รสชาติดั้งเดิม
ร้อยละ 74.95 ระบุ การรักษาคุณภาพของอาหารไทย วัตถุดิบของไทย
ร้อยละ 68.02 ระบุ คนสนใจเรียนอาหารไทยลดลง ไม่มีผู้สืบทอด สานต่อ
ผศ.อัครพล ไวเชียงค้า อาจารย์ประจำหลักสูตรคหกรรมศาสตร์ โรงเรียนการเรือน มหาวิทยาลัยสวนดุสิตจากการจัดสนทนากลุ่มเรื่องอาหารไทย…เอกลักษณ์ไทย พบว่า อาหารไทยเป็นอาหารที่มีเรื่องราวและความเก่าแก่มายาวนาน มีจุดเชื่อมโยงมาจาก “ข้าว” ซึ่งเป็นอาหารหลักในภูมิภาคนี้ อาหารไทยปัจจุบันผ่านการรับรู้และนำไปประกอบอาชีพทั้งในและต่างประเทศ การส่งเสริมเพื่อสร้างความยั่งยืนให้กับอาหารไทยมองว่าหลายภาคส่วนต้องทำงานร่วมกัน การส่งเสริมอาหารไทยจึงควรสร้างการดึงดูดและการมีส่วนร่วมให้กับผู้รับประทาน ผ่านการนำเสนอด้วยการเล่าเรื่องราว (Story Telling) ผ่านช่องทางต่าง ๆ โดยเฉพาะสื่อดิจิทัลเพื่อให้เกิดการรับรู้และสานต่ออาหารไทยในมุมมองอันหลากหลาย
ผศ.กาญจนา เฟื่องศรี อาจารย์ประจำหลักสูตรคหกรรมศาสตร์ โรงเรียนการเรือน มหาวิทยาลัยสวนดุสิตอาหารไทยเป็นอาหารที่มีเอกลักษณ์เฉพาะในหลายมิติด้วยกัน อาทิ อาหารไทยที่มีเอกลักษณ์ตามภูมิศาสตร์ ภูมิปัญญา ฤดูกาล รสชาติ วัตถุดิบ ความประณีต ความพิถีพิถัน เป็นต้น ซึ่งทั้งหมดนี้ล้วนเป็นจุดเชื่อมโยงผ่านการรับประทานอาหารแบบสำรับซึ่งก็เป็นเอกลักษณ์ของอาหารไทยที่มีมาอย่างช้านาน นอกจากนี้การทราบเรื่องราวความเป็นมาและคุณสมบัติของอาหารผ่านการเรียนรู้ในรูปแบบต่างๆ เป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้เอกลักษณ์ของอาหารไทยสามารถคงอยู่และต่อยอดได้ในอนาคต ดังนั้น สถาบันการศึกษาจึงมีบทบาทสำคัญ และทุกภาคส่วนจะต้องร่วมมือกันเพื่อผลักดันอาหารไทย…เอกลักษณ์ไทยต่อไป
ประชาชนคิดว่าเอกลักษณ์ของอาหารไทย คืออะไร ?
ร้อยละ 83.96 ระบุ ความพิถีพิถัน ความประณีตสวยงาม
ร้อยละ 81.17 ระบุ อาหารไทยมีประโยชน์ เป็นยา มีคุณค่าตามหลักโภชนาการ
ร้อยละ 75.98 ระบุ มาจากภูมิปัญญาท้องถิ่น เป็น Soft Power มีต้นทุนทางวัฒนธรรม
ประชาชนคิดว่าการประชุม APEC 2022 จะช่วยส่งเสริม "อาหารไทย...เอกลักษณ์ไทย" ไปสู่สายตาชาวต่างชาติได้มากน้อยเพียงใด
ร้อยละ 51.44 ระบุ ค่อนข้างมาก
ร้อยละ 29.79 ระบุ มากที่สุด
ร้อยละ 17.43 ระบุ ค่อนข้างน้อย
ร้อยละ 1.34 ระบุ น้อยที่สุด
ใคร/หน่วยงานใด ที่จะช่วยส่งเสริมอาหารไทยให้เป็นเอกลักษณ์ของไทยต่อไป
ร้อยละ 70.00 ระบุ ประชาชนคนไทยทุกคน
ร้อยละ 65.38 ระบุ กระทรวงวัฒนธรรม
ร้อยละ 63.37 ระบุ คนเก่าแก่ ปราชญ์ชาวบ้าน
ประชาชนคิดว่าควรทำอย่างไรจึงจะรักษาเอกลักษณ์ของอาหารไทยไว้ได้
ร้อยละ 88.85 ระบุ ภาครัฐส่งเสริมอย่างจริงจัง ผลักดันเป็น Soft Power
ร้อยละ 82.50 ระบุ ปลูกฝังให้กับคนรุ่นหลังได้เห็นถึงคุณค่า ความสำคัญและสานต่อ
ร้อยละ 77.31 ระบุ ประชาสัมพันธ์ให้คนไทยช่วยกันรักษารากเหง้าเอกลักษณ์ของอาหารไทย
5 อันดับ เมนูอาหารไทยที่เป็นเอกลักษณ์ไทย
ร้อยละ 57.65 ต้มยำกุ้ง
ร้อยละ 33.17 ผัดไทย
ร้อยละ 23.89 ส้มตำ
ร้อยละ 22.11 แกงเขียวหวาน
ร้อยละ 13.23 แกงมัสมั่น
สิ่งที่เป็นห่วงหรือกังวลเกี่ยวกับอาหารไทย
ร้อยละ 90.75 ระบุ การรักษาสูตรต้นตำรับ รสชาติดั้งเดิม
ร้อยละ 74.95 ระบุ การรักษาคุณภาพของอาหารไทย วัตถุดิบของไทย
ร้อยละ 68.02 ระบุ คนสนใจเรียนอาหารไทยลดลง ไม่มีผู้สืบทอด สานต่อ
ผศ.อัครพล ไวเชียงค้า อาจารย์ประจำหลักสูตรคหกรรมศาสตร์ โรงเรียนการเรือน มหาวิทยาลัยสวนดุสิตจากการจัดสนทนากลุ่มเรื่องอาหารไทย…เอกลักษณ์ไทย พบว่า อาหารไทยเป็นอาหารที่มีเรื่องราวและความเก่าแก่มายาวนาน มีจุดเชื่อมโยงมาจาก “ข้าว” ซึ่งเป็นอาหารหลักในภูมิภาคนี้ อาหารไทยปัจจุบันผ่านการรับรู้และนำไปประกอบอาชีพทั้งในและต่างประเทศ การส่งเสริมเพื่อสร้างความยั่งยืนให้กับอาหารไทยมองว่าหลายภาคส่วนต้องทำงานร่วมกัน การส่งเสริมอาหารไทยจึงควรสร้างการดึงดูดและการมีส่วนร่วมให้กับผู้รับประทาน ผ่านการนำเสนอด้วยการเล่าเรื่องราว (Story Telling) ผ่านช่องทางต่าง ๆ โดยเฉพาะสื่อดิจิทัลเพื่อให้เกิดการรับรู้และสานต่ออาหารไทยในมุมมองอันหลากหลาย
ผศ.กาญจนา เฟื่องศรี อาจารย์ประจำหลักสูตรคหกรรมศาสตร์ โรงเรียนการเรือน มหาวิทยาลัยสวนดุสิตอาหารไทยเป็นอาหารที่มีเอกลักษณ์เฉพาะในหลายมิติด้วยกัน อาทิ อาหารไทยที่มีเอกลักษณ์ตามภูมิศาสตร์ ภูมิปัญญา ฤดูกาล รสชาติ วัตถุดิบ ความประณีต ความพิถีพิถัน เป็นต้น ซึ่งทั้งหมดนี้ล้วนเป็นจุดเชื่อมโยงผ่านการรับประทานอาหารแบบสำรับซึ่งก็เป็นเอกลักษณ์ของอาหารไทยที่มีมาอย่างช้านาน นอกจากนี้การทราบเรื่องราวความเป็นมาและคุณสมบัติของอาหารผ่านการเรียนรู้ในรูปแบบต่างๆ เป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้เอกลักษณ์ของอาหารไทยสามารถคงอยู่และต่อยอดได้ในอนาคต ดังนั้น สถาบันการศึกษาจึงมีบทบาทสำคัญ และทุกภาคส่วนจะต้องร่วมมือกันเพื่อผลักดันอาหารไทย…เอกลักษณ์ไทยต่อไป