xs
xsm
sm
md
lg

ดุสิตโพลชูอาหารไทยเอกลักษณ์พิถีพิถัน ห่วงรักษารสดั้งเดิม จี้ดัน soft power ชี้ เอเปกช่วยหนุน

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



สวนดุสิตโพล สำรวจเรื่องอาหารไทย เอกลักษณ์ไทย มองเอกลักษณ์ คือ ความพิถีพิถัน ต้มยำกุ้ง นำตามด้วย ผัดไทย ห่วงการรักษารสชาติดั้งเดิม แนะภาครัฐดัน soft power ปชช.ช่วยส่งเสริม มองประชุมเอเปกช่วยหนุนค่อนข้างมาก

วันนี้ (27 พ.ย.) อาหารไทยเป็นอาหารที่มีเสน่ห์ ครบรส สวยงาม เป็นหนึ่งในเอกลักษณ์วัฒนธรรมไทยที่ได้รับความนิยมทั้งในและต่างประเทศ และจากการประชุม APEC 2022 ที่เพิ่งเสร็จสิ้นไป กระแสของอาหารไทยก็ยังคงได้รับการชื่นชมพูดถึงอย่างแพร่หลาย โดยหวังว่า อาหารไทยจะเป็น Soft Power ที่จะมาช่วยผลักดันเศรษฐกิจได้ เพื่อสะท้อนความคิดเห็นของประชาชน “สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ เรื่องอาหารไทย เอกลักษณ์ไทย จำนวนทั้งสิ้น 1,044 คน (สำรวจทางออนไลน์) ระหว่างวันที่ 19-24 พฤศจิกายน 2565 สรุปผลได้ ดังนี้

1. ประชาชนคิดว่าเอกลักษณ์ของอาหารไทยคืออะไร
อันดับ 1ความพิถีพิถัน ประณีตสวยงาม 83.96%
อันดับ 2อาหารไทยมีประโยชน์ เป็นยา มีคุณค่าตามหลักโภชนาการ81.17%
อันดับ 3มาจากภูมิปัญญาท้องถิ่น เป็น Soft Power มีต้นทุนทางวัฒนธรรม 75.98%

2. “5 อันดับ” เมนูอาหารไทยที่เป็นเอกลักษณ์ไทย
อันดับ 1ต้มยำกุ้ง57.65%
อันดับ 2ผัดไทย33.17%
อันดับ 3ส้มตำ23.89%
อันดับ 4แกงเขียวหวาน22.11%
อันดับ 5แกงมัสมั่น13.23%

3. สิ่งที่เป็นห่วงหรือกังวลเกี่ยวกับอาหารไทย
อันดับ 1การรักษาสูตรต้นตำรับ รสชาติดั้งเดิม90.75%
อันดับ 2การรักษาคุณภาพของอาหารไทย วัตถุดิบของไทย 74.95%
อันดับ 3คนสนใจเรียนอาหารไทยลดลง ไม่มีผู้สืบทอด สานต่อ 68.02%

4. ประชาชนคิดว่าควรทำอย่างไรจึงจะรักษาเอกลักษณ์ของอาหารไทยไว้ได้
อันดับ 1ภาครัฐส่งเสริมอย่างจริงจัง ผลักดันเป็น Soft power 88.85%
อันดับ 2ปลูกฝังให้กับคนรุ่นหลังได้เห็นถึงคุณค่า ความสำคัญและสานต่อ 82.50%
อันดับ 3ประชาสัมพันธ์ให้คนไทยช่วยกันรักษารากเหง้า เอกลักษณ์ของอาหารไทย77.31%

5. ใคร/หน่วยงานใด ที่จะช่วยส่งเสริมอาหารไทยให้เป็นเอกลักษณ์ของไทยต่อไป
อันดับ 1ประชาชนคนไทยทุกคน 70.00%
อันดับ 2กระทรวงวัฒนธรรม 65.38%
อันดับ 3คนเก่าแก่ ปราชญ์ชาวบ้าน 63.37%

6. ประชาชนคิดว่าการประชุม APEC 2022 จะช่วยส่งเสริม “อาหารไทย...เอกลักษณ์ไทย” ไปสู่สายตาชาวต่างชาติได้มากน้อยเพียงใด
ค่อนข้างมาก 51.44% มากที่สุด 29.79% ค่อนข้างน้อย 17.43% น้อยที่สุด 1.34%


กำลังโหลดความคิดเห็น