เพจศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน โพสต์ระบุว่า วันที่ 17 พ.ค. 2565 เวลา 13.30 น. ที่ศาลอาญา รัชดาฯ ศาลนัดไต่สวนคำร้องคัดค้านการขอฝากขัง “ตะวัน” ทานตะวัน ตัวตุลานนท์ ในผัดที่ 7 ในคดีมาตรา 112 ซึ่งถูกกล่าวหาจากการไลฟ์สดก่อนมีขบวนเสด็จ เมื่อวันที่ 5 มี.ค. 2565 หลังพนักงานสอบสวน สน.นางเลิ้ง ยื่นขอให้ศาลฝากขังต่อไปอีกเป็นเวลา 12 วัน โดยอ้างว่าทำสำนวนคดีเสร็จแล้ว แต่ต้องส่งสำนวนให้ผู้บังคับบัญชาพิจารณาสั่งตามลำดับ ต่อมาศาลมีคำสั่งให้ฝากขังตะวันต่อไปอีก 5 วัน ตั้งแต่วันที่ 17 – 21 พ.ค. 2565 ตามคำร้องของพนักงานสอบสวน แม้ทนายความยื่นคัดค้าน ขณะตะวันถูกขังพร้อมอดอาหารเป็นวันที่ 28 แล้ว
หลังศาลเพิกถอนประกันตะวันในคดีนี้ เมื่อวันที่ 20 เม.ย. 2565 ทำให้เธอถูกฝากขังระหว่างสอบสวนมาตั้งแต่ผัดที่ 4 และศาลอนุญาตให้ฝากขังเรื่อยมาจนถึงผัดที่ 6 ซึ่งครบกำหนดฝากขังในวันนี้ (17 พ.ค. 2565) เช้าวันนี้พนักงานสอบสวน สน.นางเลิ้ง จึงมายื่นคำร้องขอฝากขังตะวันต่อเป็นผัดที่ 7 ขณะที่ทนายความได้ยื่นคัดค้านการฝากขังต่อ ศาลจึงนัดไต่สวนคำร้องขอฝากขัง
ไต่สวนค้านฝากขัง ตร.อ้างขอขังต่ออีก 12 วัน เหตุรอความเห็นของผู้บังคับบัญชา ยอมรับ “แม้ไม่ขังผู้ต้องหาไว้ก็ไม่เป็นอุปสรรคต่อการสำนวนคดี”
ณ ห้องพิจารณา 711 ศาลไม่อนุญาตให้เบิกตัวตะวันมาศาล แม้ก่อนหน้านี้ทนายความจะยื่นคำร้องไปแล้วก็ตาม โดยศาลระบุถึงมาตรการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด และให้เข้าร่วมการไต่สวนผ่านระบบวิดีโอคอนเฟอร์เรนซ์จากทัณฑสถานหญิงกลางแทน
แต่เมื่อถ่ายทอดสัญญาณจากทัณฑสถานหญิงกลาง กลับพบปัญหาสัญญาณเสียงขัดข้อง เจ้าหน้าที่ศาลจึงพยายามแก้ไขอยู่ประมาณเกือบครึ่งชั่วโมง กระทั่งศาลแจ้งว่าจะดำเนินการไต่สวนโดยไม่มีตัวผู้ต้องหา แต่ทนายค้านว่า ให้ศาลรอเวลาเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวให้แล้วเสร็จก่อนได้หรือไม่ เพราะการไต่สวนครั้งที่ผ่านมา ผู้ต้องหาก็ไม่ได้เข้าร่วมไต่สวนและถามค้านด้วย ท้ายที่สุดศาลได้เปลี่ยนไปใช้ช่องทางการถ่ายทอดสัญญาณอื่น จึงสามารถแก้ไขปัญหาเสียงขัดข้องได้
การไต่สวนเริ่มขึ้น โดยมีพยาน 1 ปาก คือ พ.ต.ท.อรรถวิท เรืองโภควิทย์ พนักงานสอบสวน สน.นางเลิ้ง ให้การว่า ในคดีนี้พนักงานสอบสวนเจ้าของสำนวน คือ พ.ต.ท.สำเนียง โสธร ซึ่งในวันนี้ติดภารกิจอื่น พยานจึงได้มาทำหน้าที่เป็นตัวแทนผู้ร้อง
ในคดีนี้พยานไม่ทราบว่าได้ทำการสอบปากคำพยานไปแล้วกี่ปาก พยานไม่เคยสอบปากคำพยานในคดีนี้เลย และไม่ทราบว่าในคดีนี้มีพยานบุคคลพยานหรือวัตถุอยู่ทั้งหมดกี่ลำดับ พยานรู้จักผู้ต้องหา และเป็นผู้ยื่นขอฝากขังผู้ต้องหาต่อศาลขณะผู้ต้องหาถูกจับกุมในคดีนี้
ด้านเหตุผลในการฝากขังต่ออีก 12 วันนั้น เนื่องจากจำเป็นจะต้องเสนอสำนวนคดีให้ผู้บังคับบัญชาพิจารณา โดยจะต้องเสนอไปยังกองบังคับการตำรวจ (บก.) และกองบัญชาการตำรวจนครบาล (บช.น.) ตามลำดับ ซึ่งคาดว่าน่าจะใช้เวลาประมาณ 4 วัน หรือภายในวันที่ 21 พ.ค. 2565 โดยพยานจะตามเร่งรัดกับผู้บังคับบัญชาให้แล้วเสร็จโดยเร็วที่สุด แต่ในวันนี้พยานได้ยื่นคำร้องขอฝากขังผู้ต้องหาเป็นเวลา 12 วันไว้ก่อนเพื่อเผื่อเวลาไว้หากผู้บังคับบัญชาตีสำนวนกลับให้สอบปากคำพยานเพิ่มเติมอีก
ตะวันถามค้านว่า เมื่อตำรวจทำสำนวนเสร็จแล้วและรายงานต่อผู้บังคับบัญชาแล้ว มีเหตุผลใดที่จะต้องขอฝากขังตนต่อไปอีก แล้วยังขอเผื่อเวลาอีกด้วย และได้พูดอีกว่า “ขอเหตุผลที่มีน้ำหนักกว่านี้จะได้หรือไม่” ตำรวจตอบว่า ไม่ทราบว่าผู้บังคับบัญชาจะพิจารณาสำนวนแล้วเสร็จเมื่อใด 4 วัน เป็นเพียงเวลาจากการคาดการณ์ของตนเท่านั้น
ทนายถามค้านว่า คดีนี้มีอายุความถึง 20 ปี พนักงานสอบสวนจะตามตัวผู้ต้องหามาฟ้องเมื่อใดก็ได้ เหตุใดจึงต้องฝากขังอีก ตำรวจตอบว่า “ตนไม่ทราบรายละเอียดเกี่ยวกับขั้นตอนการพิจราณาว่าเป็นอย่างไรหรือต้องใช้เวลานานเท่าใด ตนแค่มาทำตามหน้าที่เท่านั้น จึงไม่ทราบแน่ชัดว่าจะต้องใช้เวลาเท่าใดกันแน่”
ตำรวจตอบอีกว่า ผู้บังคับบัญชาอาจตีกลับสำนวนเพื่อให้ไปสอบปากคำพยานเพิ่มเติมในประเด็นอื่นอีกก็เป็นได้ ฉะนั้นถือว่าสำนวนคดียังไม่เสร็จสมบูรณ์ ทนายถามค้านว่า การเสนอสำนวนให้ผู้บังคับบัญชาพิจารณานั้นถ้าศาลไม่อนุญาตให้ฝากขังผู้ต้องหา หรือศาลอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวไปก็ไม่เป็นอุปสรรคต่อการทำสำนวนของพยานใช่หรือไม่ ตำรวจตอบว่า “แม้ศาลจะไม่ให้ฝากขังผู้ต้องหาหรือให้ปล่อยตัวชั่วคราวไปก็ไม่เป็นอุปสรรคต่อการทำสำนวนคดี”
ตะวันแถลงต่อศาลว่า “หวังว่าศาลจะพิจารณาตามที่ตำรวจได้เบิกว่า หากปล่อยตัวตนเองไปก็ไม่เป็นอุปสรรคต่อการทำสำนวนคดี”
จากนั้นทนายความแถลงต่อศาลว่า ขอโอกาสให้ผู้ต้องหาได้เบิกความถึงเหตุที่ศาลไม่ควรอนุญาตให้ฝากขังอีกต่อไป โดยเฉพาะประเด็นการเสียโอกาสในการศึกษา เนื่องจากขณะนี้ผู้ต้องหายังเป็นเพียงเยาวชนและกำลังศึกษาอยู่ แต่ศาลไม่อนุญาตให้เบิกความ และบอกว่าจะบันทึกเฉพาะในประเด็นการไต่สวนผู้ร้องกรณีขอฝากขังเท่านั้น
หลังดำเนินการไต่สวนจนแล้วเสร็จ ศาลได้นัดฟังคำสั่งภายในวันนี้ โดยกล่าวว่า “ขอให้รอฟังคำสั่ง จะให้ฝากขังหรือไม่อย่างไร จะต้องขอไปปรึกษา ‘อธิบดีศาลอาญา’ ก่อน”
ศาลให้ฝากขังต่ออีก 5 วัน ชี้เป็นการเสนอสำนวนต่อผู้บังคับบัญชาพิจารณาสั่ง เป็นเหตุจำเป็นเพื่อการสอบสวนตามกฎหมาย
เวลา 15.30 น. ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ฝากขังตะวันต่อไปอีก 5 วัน โดยเห็นว่าการเสนอสำนวนให้ผู้บังคับบัญชาพิจารณานั้นอาจจะถูกตีกลับให้ไปทำการสอบสวนเพิ่มเติมในประเด็นอื่นที่เกี่ยวข้องอีกก็ได้ ฉะนั้นถือว่าสำนวนยังไม่เสร็จสิ้น ถือเป็นกรณีจำเป็นให้ฝากขังต่อ รายละเอียดคำสั่งโดยสรุป ดังนี้
“เห็นว่าการสอบสวนตามกฎหมายนั้น กฎหมายกำหนดให้พนักงานสอบสวนรวบรวมพยานหลักฐานทุกชนิดเท่าที่สามารถจะทำได้เพื่อประสงค์ให้เห็นถึงความผิดหรือความบริสุทธิ์ของผู้ต้องหา ดังนั้นแม้พนักงานสอบสวนจะสอบปากคำพยานจนเสร็จสิ้นแล้ว คงเหลือเพียงการเสนอสำนวนให้ผู้บังคับบัญชา แต่เมื่อผู้บังคับบัญชาพิจารณาแล้ว อาจมีคำสั่งให้สอบสวนเพิ่มเติมในข้อเท็จจริงและพฤติการณ์ต่างๆ ที่ยังเห็นว่าบกพร่องอยู่ การเสนอสำนวนต่อผู้บังคับบัญชาจึงยังอยู่ในขั้นตอนของการสอบสวน ถือว่าการสอบสวนยังไม่แล้วเสร็จโดยสมบูรณ์
“กรณีมีเหตุจำเป็นเพื่อการสอบสวน อย่างไรก็ตามการเสนอสำนวนให้ผู้บังคับบัญชาไม่น่าจะใช้ระยะเวลานานจึงเห็นควรอนุญาตให้ฝากขังผู้ต้องหาในครั้งที่ 7 นี้ เพียง 5 วัน นับตั้งแต่วันนี้ กำชับให้พนักงานสอบสวนเร่งรัดการดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่ศาลอนุญาตให้ฝากขังนี้”
ลงนามคำสั่งโดยนายสมบัติ บุญหิรัญ และนายครรชิต ช่อเกตุ ผู้พิพากษาศาลอาญา
ศาลยกคำร้องประกันตัว โดยใช้ตำแหน่ง ส.ส. ของหัวหน้าพรรคก้าวไกล ระบุไม่มีหลักฐานอัตราเงินเดือนพิจารณาคำร้องไม่ได้ ทั้งที่แนบหนังสือรับรองจากสภาฯ ระบุอัตราเงินเดือนไว้ชัดเจน
หลังศาลมีคำสั่งให้ฝากขังตะวันต่อไปอีก 5 วัน ทนายความได้ยื่นประกันตัวตะวันในคดีนี้เป็นครั้งที่ 2 ต่อทันที โดยใช้ตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ของ พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล
ต่อมา เวลา 16.50 น. ศาลมีคำสั่งยกคำร้อง โดยระบุว่า “ยังไม่ปรากฏหลักฐานอัตราเงินเดือนของผู้ร้องจึงไม่อาจพิจารณาคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวของผู้ร้องได้ประกอบกับยังไม่มีพฤติการณ์พิเศษอื่นที่จะพิจารณาขอปล่อยตัวชั่วคราว จึงให้ยกคำร้อง”
ทั้งนี้ “หลักฐานอัตราเงินเดือน” ดังกล่าว ศาลหมายถึง “สลิปเงินเดือน” ซึ่งไม่ได้แนบประกอบคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวไป แต่อย่างไรก็ตามพิธาได้แนบหนังสือรับรองตำแหน่งและรายได้จากสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรไปแล้ว ซึ่งหนังสือดังกล่าวระบุอัตราเงินเดือนไว้แล้วอย่างชัดเจน
อีกทั้ง ทนายความได้ยื่นคำร้องขอผลัดส่งเอกสารสลิปเงินเดือนภายใน 7 วันไป เพื่อให้ศาลพิจารณาคำร้องในวันนี้ก่อนและจะขอยื่นสลิปเงินเดือนดังกล่าวในภายหลังแล้วก็ตาม แต่ท้ายที่สุดศาลได้มีคำสั่งยกคำร้อง
ตะวันเผยอดอาหาร 28 วัน หน้ามืดวันละหลายหน อ่อนเพลียกว่าเดิมมาก 2 วันที่ผ่านมา รู้สึกว่า “ร่างกายไม่ไหวแล้ว”
ขณะรอฟังคำสั่งของศาล ทนายความได้พูดคุยกับตะวันโดยเธอได้เปิดเผยว่าการอดอาหารเข้าสู่วันที่ 28 แล้ว ทำให้มีอาการหน้ามืดทุกวัน รู้สึกเพลียมากขึ้น โดย 2-3 วันก่อนหน้านี้รู้สึกว่าร่างกายของไม่ไหวแล้ว แต่ได้นอนพักผ่อนจึงรู้สึกดีขึ้นบ้างเล็กน้อย
ทั้งนี้ ตะวันจะยังคงถูกคุมขังอยู่ที่ทัณฑสถานหญิงกลางต่อไป จนกว่าจะครบกำหนดฝากขังในผัดที่ 7 ในวันที่ 21 พ.ค. 2565 ตั้งแต่เธอถูกควบคุมในชั้นสอบสวนในคดีนี้ ทนายความได้ยื่นขอประกันตัวไปแล้ว 2 ครั้ง ยื่นอุทธรณ์คำสั่งเพิกถอนประกันไปแล้ว 1 ครั้ง และยื่นคัดค้านคำร้องขอฝากขังไปแล้ว 3 ครั้ง
หลังศาลเพิกถอนประกันตะวันในคดีนี้ เมื่อวันที่ 20 เม.ย. 2565 ทำให้เธอถูกฝากขังระหว่างสอบสวนมาตั้งแต่ผัดที่ 4 และศาลอนุญาตให้ฝากขังเรื่อยมาจนถึงผัดที่ 6 ซึ่งครบกำหนดฝากขังในวันนี้ (17 พ.ค. 2565) เช้าวันนี้พนักงานสอบสวน สน.นางเลิ้ง จึงมายื่นคำร้องขอฝากขังตะวันต่อเป็นผัดที่ 7 ขณะที่ทนายความได้ยื่นคัดค้านการฝากขังต่อ ศาลจึงนัดไต่สวนคำร้องขอฝากขัง
ไต่สวนค้านฝากขัง ตร.อ้างขอขังต่ออีก 12 วัน เหตุรอความเห็นของผู้บังคับบัญชา ยอมรับ “แม้ไม่ขังผู้ต้องหาไว้ก็ไม่เป็นอุปสรรคต่อการสำนวนคดี”
ณ ห้องพิจารณา 711 ศาลไม่อนุญาตให้เบิกตัวตะวันมาศาล แม้ก่อนหน้านี้ทนายความจะยื่นคำร้องไปแล้วก็ตาม โดยศาลระบุถึงมาตรการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด และให้เข้าร่วมการไต่สวนผ่านระบบวิดีโอคอนเฟอร์เรนซ์จากทัณฑสถานหญิงกลางแทน
แต่เมื่อถ่ายทอดสัญญาณจากทัณฑสถานหญิงกลาง กลับพบปัญหาสัญญาณเสียงขัดข้อง เจ้าหน้าที่ศาลจึงพยายามแก้ไขอยู่ประมาณเกือบครึ่งชั่วโมง กระทั่งศาลแจ้งว่าจะดำเนินการไต่สวนโดยไม่มีตัวผู้ต้องหา แต่ทนายค้านว่า ให้ศาลรอเวลาเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวให้แล้วเสร็จก่อนได้หรือไม่ เพราะการไต่สวนครั้งที่ผ่านมา ผู้ต้องหาก็ไม่ได้เข้าร่วมไต่สวนและถามค้านด้วย ท้ายที่สุดศาลได้เปลี่ยนไปใช้ช่องทางการถ่ายทอดสัญญาณอื่น จึงสามารถแก้ไขปัญหาเสียงขัดข้องได้
การไต่สวนเริ่มขึ้น โดยมีพยาน 1 ปาก คือ พ.ต.ท.อรรถวิท เรืองโภควิทย์ พนักงานสอบสวน สน.นางเลิ้ง ให้การว่า ในคดีนี้พนักงานสอบสวนเจ้าของสำนวน คือ พ.ต.ท.สำเนียง โสธร ซึ่งในวันนี้ติดภารกิจอื่น พยานจึงได้มาทำหน้าที่เป็นตัวแทนผู้ร้อง
ในคดีนี้พยานไม่ทราบว่าได้ทำการสอบปากคำพยานไปแล้วกี่ปาก พยานไม่เคยสอบปากคำพยานในคดีนี้เลย และไม่ทราบว่าในคดีนี้มีพยานบุคคลพยานหรือวัตถุอยู่ทั้งหมดกี่ลำดับ พยานรู้จักผู้ต้องหา และเป็นผู้ยื่นขอฝากขังผู้ต้องหาต่อศาลขณะผู้ต้องหาถูกจับกุมในคดีนี้
ด้านเหตุผลในการฝากขังต่ออีก 12 วันนั้น เนื่องจากจำเป็นจะต้องเสนอสำนวนคดีให้ผู้บังคับบัญชาพิจารณา โดยจะต้องเสนอไปยังกองบังคับการตำรวจ (บก.) และกองบัญชาการตำรวจนครบาล (บช.น.) ตามลำดับ ซึ่งคาดว่าน่าจะใช้เวลาประมาณ 4 วัน หรือภายในวันที่ 21 พ.ค. 2565 โดยพยานจะตามเร่งรัดกับผู้บังคับบัญชาให้แล้วเสร็จโดยเร็วที่สุด แต่ในวันนี้พยานได้ยื่นคำร้องขอฝากขังผู้ต้องหาเป็นเวลา 12 วันไว้ก่อนเพื่อเผื่อเวลาไว้หากผู้บังคับบัญชาตีสำนวนกลับให้สอบปากคำพยานเพิ่มเติมอีก
ตะวันถามค้านว่า เมื่อตำรวจทำสำนวนเสร็จแล้วและรายงานต่อผู้บังคับบัญชาแล้ว มีเหตุผลใดที่จะต้องขอฝากขังตนต่อไปอีก แล้วยังขอเผื่อเวลาอีกด้วย และได้พูดอีกว่า “ขอเหตุผลที่มีน้ำหนักกว่านี้จะได้หรือไม่” ตำรวจตอบว่า ไม่ทราบว่าผู้บังคับบัญชาจะพิจารณาสำนวนแล้วเสร็จเมื่อใด 4 วัน เป็นเพียงเวลาจากการคาดการณ์ของตนเท่านั้น
ทนายถามค้านว่า คดีนี้มีอายุความถึง 20 ปี พนักงานสอบสวนจะตามตัวผู้ต้องหามาฟ้องเมื่อใดก็ได้ เหตุใดจึงต้องฝากขังอีก ตำรวจตอบว่า “ตนไม่ทราบรายละเอียดเกี่ยวกับขั้นตอนการพิจราณาว่าเป็นอย่างไรหรือต้องใช้เวลานานเท่าใด ตนแค่มาทำตามหน้าที่เท่านั้น จึงไม่ทราบแน่ชัดว่าจะต้องใช้เวลาเท่าใดกันแน่”
ตำรวจตอบอีกว่า ผู้บังคับบัญชาอาจตีกลับสำนวนเพื่อให้ไปสอบปากคำพยานเพิ่มเติมในประเด็นอื่นอีกก็เป็นได้ ฉะนั้นถือว่าสำนวนคดียังไม่เสร็จสมบูรณ์ ทนายถามค้านว่า การเสนอสำนวนให้ผู้บังคับบัญชาพิจารณานั้นถ้าศาลไม่อนุญาตให้ฝากขังผู้ต้องหา หรือศาลอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวไปก็ไม่เป็นอุปสรรคต่อการทำสำนวนของพยานใช่หรือไม่ ตำรวจตอบว่า “แม้ศาลจะไม่ให้ฝากขังผู้ต้องหาหรือให้ปล่อยตัวชั่วคราวไปก็ไม่เป็นอุปสรรคต่อการทำสำนวนคดี”
ตะวันแถลงต่อศาลว่า “หวังว่าศาลจะพิจารณาตามที่ตำรวจได้เบิกว่า หากปล่อยตัวตนเองไปก็ไม่เป็นอุปสรรคต่อการทำสำนวนคดี”
จากนั้นทนายความแถลงต่อศาลว่า ขอโอกาสให้ผู้ต้องหาได้เบิกความถึงเหตุที่ศาลไม่ควรอนุญาตให้ฝากขังอีกต่อไป โดยเฉพาะประเด็นการเสียโอกาสในการศึกษา เนื่องจากขณะนี้ผู้ต้องหายังเป็นเพียงเยาวชนและกำลังศึกษาอยู่ แต่ศาลไม่อนุญาตให้เบิกความ และบอกว่าจะบันทึกเฉพาะในประเด็นการไต่สวนผู้ร้องกรณีขอฝากขังเท่านั้น
หลังดำเนินการไต่สวนจนแล้วเสร็จ ศาลได้นัดฟังคำสั่งภายในวันนี้ โดยกล่าวว่า “ขอให้รอฟังคำสั่ง จะให้ฝากขังหรือไม่อย่างไร จะต้องขอไปปรึกษา ‘อธิบดีศาลอาญา’ ก่อน”
ศาลให้ฝากขังต่ออีก 5 วัน ชี้เป็นการเสนอสำนวนต่อผู้บังคับบัญชาพิจารณาสั่ง เป็นเหตุจำเป็นเพื่อการสอบสวนตามกฎหมาย
เวลา 15.30 น. ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ฝากขังตะวันต่อไปอีก 5 วัน โดยเห็นว่าการเสนอสำนวนให้ผู้บังคับบัญชาพิจารณานั้นอาจจะถูกตีกลับให้ไปทำการสอบสวนเพิ่มเติมในประเด็นอื่นที่เกี่ยวข้องอีกก็ได้ ฉะนั้นถือว่าสำนวนยังไม่เสร็จสิ้น ถือเป็นกรณีจำเป็นให้ฝากขังต่อ รายละเอียดคำสั่งโดยสรุป ดังนี้
“เห็นว่าการสอบสวนตามกฎหมายนั้น กฎหมายกำหนดให้พนักงานสอบสวนรวบรวมพยานหลักฐานทุกชนิดเท่าที่สามารถจะทำได้เพื่อประสงค์ให้เห็นถึงความผิดหรือความบริสุทธิ์ของผู้ต้องหา ดังนั้นแม้พนักงานสอบสวนจะสอบปากคำพยานจนเสร็จสิ้นแล้ว คงเหลือเพียงการเสนอสำนวนให้ผู้บังคับบัญชา แต่เมื่อผู้บังคับบัญชาพิจารณาแล้ว อาจมีคำสั่งให้สอบสวนเพิ่มเติมในข้อเท็จจริงและพฤติการณ์ต่างๆ ที่ยังเห็นว่าบกพร่องอยู่ การเสนอสำนวนต่อผู้บังคับบัญชาจึงยังอยู่ในขั้นตอนของการสอบสวน ถือว่าการสอบสวนยังไม่แล้วเสร็จโดยสมบูรณ์
“กรณีมีเหตุจำเป็นเพื่อการสอบสวน อย่างไรก็ตามการเสนอสำนวนให้ผู้บังคับบัญชาไม่น่าจะใช้ระยะเวลานานจึงเห็นควรอนุญาตให้ฝากขังผู้ต้องหาในครั้งที่ 7 นี้ เพียง 5 วัน นับตั้งแต่วันนี้ กำชับให้พนักงานสอบสวนเร่งรัดการดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่ศาลอนุญาตให้ฝากขังนี้”
ลงนามคำสั่งโดยนายสมบัติ บุญหิรัญ และนายครรชิต ช่อเกตุ ผู้พิพากษาศาลอาญา
ศาลยกคำร้องประกันตัว โดยใช้ตำแหน่ง ส.ส. ของหัวหน้าพรรคก้าวไกล ระบุไม่มีหลักฐานอัตราเงินเดือนพิจารณาคำร้องไม่ได้ ทั้งที่แนบหนังสือรับรองจากสภาฯ ระบุอัตราเงินเดือนไว้ชัดเจน
หลังศาลมีคำสั่งให้ฝากขังตะวันต่อไปอีก 5 วัน ทนายความได้ยื่นประกันตัวตะวันในคดีนี้เป็นครั้งที่ 2 ต่อทันที โดยใช้ตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ของ พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล
ต่อมา เวลา 16.50 น. ศาลมีคำสั่งยกคำร้อง โดยระบุว่า “ยังไม่ปรากฏหลักฐานอัตราเงินเดือนของผู้ร้องจึงไม่อาจพิจารณาคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวของผู้ร้องได้ประกอบกับยังไม่มีพฤติการณ์พิเศษอื่นที่จะพิจารณาขอปล่อยตัวชั่วคราว จึงให้ยกคำร้อง”
ทั้งนี้ “หลักฐานอัตราเงินเดือน” ดังกล่าว ศาลหมายถึง “สลิปเงินเดือน” ซึ่งไม่ได้แนบประกอบคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวไป แต่อย่างไรก็ตามพิธาได้แนบหนังสือรับรองตำแหน่งและรายได้จากสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรไปแล้ว ซึ่งหนังสือดังกล่าวระบุอัตราเงินเดือนไว้แล้วอย่างชัดเจน
อีกทั้ง ทนายความได้ยื่นคำร้องขอผลัดส่งเอกสารสลิปเงินเดือนภายใน 7 วันไป เพื่อให้ศาลพิจารณาคำร้องในวันนี้ก่อนและจะขอยื่นสลิปเงินเดือนดังกล่าวในภายหลังแล้วก็ตาม แต่ท้ายที่สุดศาลได้มีคำสั่งยกคำร้อง
ตะวันเผยอดอาหาร 28 วัน หน้ามืดวันละหลายหน อ่อนเพลียกว่าเดิมมาก 2 วันที่ผ่านมา รู้สึกว่า “ร่างกายไม่ไหวแล้ว”
ขณะรอฟังคำสั่งของศาล ทนายความได้พูดคุยกับตะวันโดยเธอได้เปิดเผยว่าการอดอาหารเข้าสู่วันที่ 28 แล้ว ทำให้มีอาการหน้ามืดทุกวัน รู้สึกเพลียมากขึ้น โดย 2-3 วันก่อนหน้านี้รู้สึกว่าร่างกายของไม่ไหวแล้ว แต่ได้นอนพักผ่อนจึงรู้สึกดีขึ้นบ้างเล็กน้อย
ทั้งนี้ ตะวันจะยังคงถูกคุมขังอยู่ที่ทัณฑสถานหญิงกลางต่อไป จนกว่าจะครบกำหนดฝากขังในผัดที่ 7 ในวันที่ 21 พ.ค. 2565 ตั้งแต่เธอถูกควบคุมในชั้นสอบสวนในคดีนี้ ทนายความได้ยื่นขอประกันตัวไปแล้ว 2 ครั้ง ยื่นอุทธรณ์คำสั่งเพิกถอนประกันไปแล้ว 1 ครั้ง และยื่นคัดค้านคำร้องขอฝากขังไปแล้ว 3 ครั้ง