วันนี้ (9 ก.ย.) นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงแนวทางการขับเคลื่อนแผนเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ ตามนโยบายของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ว่า รัฐบาลเดินหน้าตามแผนเปิดพื้นที่รับนักท่องเที่ยวต่างชาติที่วางไว้เป็นระยะ หลังจากนำร่องระยะที่ 1 ในรูปแบบแซนด์บ็อกซ์ ได้แก่ ภูเก็ต พังงา กระบี่ และสุราษฎร์ธานี ไปแล้ว ซึ่งเปิดภูเก็ตแซนด์บ็อกซ์ได้ 2 เดือนแล้ว ถือว่าประสบความสำเร็จดี เป็นที่น่าพอใจ รายจ่ายต่อทริปของนักท่องเที่ยวอยู่ที่ 6-7 หมื่นบาท รายได้สะสม 1,634 ล้านบาท ทำให้ประชาชนในพื้นที่สามารถกลับมาฟื้นตัวสร้างรายได้เป็นจำนวนมาก
สำหรับเดือนตุลาคมนี้ เป็นเดือนที่วางแผนการปรับมาตรการ ภายใต้การป้องกันตนเองแบบ Universal Prevention พร้อมกับเข้าสู่แผนการเปิดพื้นที่ระยะที่ 2 อีก 5 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพฯ ชลบุรี เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ และเชียงใหม่ แต่ละจังหวัดได้เตรียมความพร้อมเร่งฉีดวัคซีนให้คนพื้นที่ และจัดเคมเปญต่าง ๆ รองรับนักท่องเที่ยว เช่น กรุงเทพฯ แซนด์บ็อกซ์, หัวหิน รีชาร์จ, ชาร์มมิง เชียงใหม่ เป็นต้น และในช่วงกลางเดือนตุลาคม เข้าสู่แผนระยะที่ 3 จะเปิดต่ออีก 21 จังหวัดครอบคลุมทั้งประเทศ โดยภาคเหนือ ได้แก่ ลำพูน แพร่ น่าน แม่ฮ่องสอน เชียงราย สุโขทัย ภาคอีสาน อุดรธานี หนองคาย บึงกาฬ อุบลราชธานี ภาคตะวันตก ได้แก่ กาญจนบุรี ราชบุรี ภาคตะวันออก ได้แก่ ระยอง จันทบุรี ตราด ภาคกลาง อยุธยา และ ภาคใต้ ได้แก่ นครศรีธรรมราช ระนอง ตรัง สตูล สงขลา
ทั้งนี้ รัฐบาลยังวางแผนการกระตุ้นให้คนไทยเดินทางเที่ยวในประเทศผ่านโครงการเราเที่ยวด้วยกัน ระยะที่ 3 โดยรัฐสนับสนุนค่าโรงแรม 40% ให้คูปองอาหาร 600 บาทต่อคืน และสนับสนุนค่าตั๋วเครื่องบิน 40% จำนวน 2 ล้านสิทธิ หรือห้องพัก รวมทั้งโครงการทัวร์เที่ยวไทย (รัฐสนับสนุนวงเงิน 5,000 บาท ให้ประชาชนเดินทางเที่ยวผ่านบริษัททัวร์ จำนวน 1 ล้านสิทธิ) โดยคาดว่า จะสามารถเปิดลงทะเบียนภายในกันยายนนี้ เพื่อให้สามารถท่องเที่ยวได้ในช่วงเดือนตุลาคม ซึ่งเข้าสู่ช่วงไฮซีซั่นของฤดูกาลท่องเที่ยวไทย
อย่างไรก็ตาม นายกรัฐมนตรี กำชับเรื่องมาตรการตรวจโควิด-19 และด้านความปลอดภัยของนักท่องเที่ยวทุกคน ส่วนปีหน้าเป็นแผนระยะที่ 4 จะเริ่มเดือนมกราคม 2565 ในการเปิดพื้นที่จังหวัดที่ติดชายแดนเพื่อนบ้าน อีก 13 จังหวัด จับคู่ท่องเที่ยวระหว่างกัน (Travel Bubble) ซึ่งทั้ง 4 ระยะ จะเปิดรับนักท่องเที่ยว รวม 43 จังหวัด
สำหรับเดือนตุลาคมนี้ เป็นเดือนที่วางแผนการปรับมาตรการ ภายใต้การป้องกันตนเองแบบ Universal Prevention พร้อมกับเข้าสู่แผนการเปิดพื้นที่ระยะที่ 2 อีก 5 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพฯ ชลบุรี เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ และเชียงใหม่ แต่ละจังหวัดได้เตรียมความพร้อมเร่งฉีดวัคซีนให้คนพื้นที่ และจัดเคมเปญต่าง ๆ รองรับนักท่องเที่ยว เช่น กรุงเทพฯ แซนด์บ็อกซ์, หัวหิน รีชาร์จ, ชาร์มมิง เชียงใหม่ เป็นต้น และในช่วงกลางเดือนตุลาคม เข้าสู่แผนระยะที่ 3 จะเปิดต่ออีก 21 จังหวัดครอบคลุมทั้งประเทศ โดยภาคเหนือ ได้แก่ ลำพูน แพร่ น่าน แม่ฮ่องสอน เชียงราย สุโขทัย ภาคอีสาน อุดรธานี หนองคาย บึงกาฬ อุบลราชธานี ภาคตะวันตก ได้แก่ กาญจนบุรี ราชบุรี ภาคตะวันออก ได้แก่ ระยอง จันทบุรี ตราด ภาคกลาง อยุธยา และ ภาคใต้ ได้แก่ นครศรีธรรมราช ระนอง ตรัง สตูล สงขลา
ทั้งนี้ รัฐบาลยังวางแผนการกระตุ้นให้คนไทยเดินทางเที่ยวในประเทศผ่านโครงการเราเที่ยวด้วยกัน ระยะที่ 3 โดยรัฐสนับสนุนค่าโรงแรม 40% ให้คูปองอาหาร 600 บาทต่อคืน และสนับสนุนค่าตั๋วเครื่องบิน 40% จำนวน 2 ล้านสิทธิ หรือห้องพัก รวมทั้งโครงการทัวร์เที่ยวไทย (รัฐสนับสนุนวงเงิน 5,000 บาท ให้ประชาชนเดินทางเที่ยวผ่านบริษัททัวร์ จำนวน 1 ล้านสิทธิ) โดยคาดว่า จะสามารถเปิดลงทะเบียนภายในกันยายนนี้ เพื่อให้สามารถท่องเที่ยวได้ในช่วงเดือนตุลาคม ซึ่งเข้าสู่ช่วงไฮซีซั่นของฤดูกาลท่องเที่ยวไทย
อย่างไรก็ตาม นายกรัฐมนตรี กำชับเรื่องมาตรการตรวจโควิด-19 และด้านความปลอดภัยของนักท่องเที่ยวทุกคน ส่วนปีหน้าเป็นแผนระยะที่ 4 จะเริ่มเดือนมกราคม 2565 ในการเปิดพื้นที่จังหวัดที่ติดชายแดนเพื่อนบ้าน อีก 13 จังหวัด จับคู่ท่องเที่ยวระหว่างกัน (Travel Bubble) ซึ่งทั้ง 4 ระยะ จะเปิดรับนักท่องเที่ยว รวม 43 จังหวัด