ที่ประชุมมหาเถรสมาคม (มส.) มีมติเห็นชอบใช้คำศัพท์ว่า โควิโท เป็นชื่อโรคโควิด เป็นภาษาภาลี และอสาธารณนาม
นายสิปป์บวร แก้วงาม ผู้ตรวจราชการ สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.) ในฐานะโฆษก พศ. เปิดเผยว่า ไม่ใช่ครั้งแรกที่มีการบัญญัติศัพท์เฉพาะเกี่ยวกับโรคต่างๆ ที่นำมาใช้ในบทสวด เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจแก่ประชาชน และความเป็นสิริมงคลต่อประเทศ โดยก่อนหน้านี้ มีการบัญญัติศัพท์โรคต่าง ๆ ที่มีการแพร่ระบาด เช่น กาฬโรค ซาร์ส ไข้หวัดใหญ่สเปน หรือแม้กระทั่งไข้หวัดนก เพื่อใช้ในการสวดเจริญพระพุทธมนต์มาแล้ว
สำหรับการบัญญัติศัพท์ครั้งนี้ ได้มีการนำบทคาถาไล่โควิด มาเป็นบทเจริญพระพุทธมนต์ เพื่อให้การใช้ศัพท์ โรคโควิด ในบทเจริญพระพุทธมนต์ ถูกต้องตามหลักภาษาบาลี และเป็นประวัติศาสตร์ของประเทศไทย โดยเชื้อไวรัสโควิด เมื่อสะกดเป็นภาษาอังกฤษ COVID เมื่อนำมาเขียนเป็นภาษาบาลี ต้องแปลงอักษรเป็นภาษาโรมัน ที่ใช้เขียนเป็นภาษาบาลี และเป็นภาษาบาลีสากล โดยเปรียบเทียบกับภาษาอังกฤษ เปรียบเทียบกับตัวสะกดในภาษาไทย และเปรียบเทียบกับประกาศของกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เรื่องชื่อ และอาการสำคัญของโรคติดต่ออัตราย ฉบับที่ 3 พ.ศ.2563 ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา ว่า โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-1 ดังนั้นจึงบัญญัติศัพท์ ว่า โควิโท
นายสิปป์บวร แก้วงาม ผู้ตรวจราชการ สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.) ในฐานะโฆษก พศ. เปิดเผยว่า ไม่ใช่ครั้งแรกที่มีการบัญญัติศัพท์เฉพาะเกี่ยวกับโรคต่างๆ ที่นำมาใช้ในบทสวด เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจแก่ประชาชน และความเป็นสิริมงคลต่อประเทศ โดยก่อนหน้านี้ มีการบัญญัติศัพท์โรคต่าง ๆ ที่มีการแพร่ระบาด เช่น กาฬโรค ซาร์ส ไข้หวัดใหญ่สเปน หรือแม้กระทั่งไข้หวัดนก เพื่อใช้ในการสวดเจริญพระพุทธมนต์มาแล้ว
สำหรับการบัญญัติศัพท์ครั้งนี้ ได้มีการนำบทคาถาไล่โควิด มาเป็นบทเจริญพระพุทธมนต์ เพื่อให้การใช้ศัพท์ โรคโควิด ในบทเจริญพระพุทธมนต์ ถูกต้องตามหลักภาษาบาลี และเป็นประวัติศาสตร์ของประเทศไทย โดยเชื้อไวรัสโควิด เมื่อสะกดเป็นภาษาอังกฤษ COVID เมื่อนำมาเขียนเป็นภาษาบาลี ต้องแปลงอักษรเป็นภาษาโรมัน ที่ใช้เขียนเป็นภาษาบาลี และเป็นภาษาบาลีสากล โดยเปรียบเทียบกับภาษาอังกฤษ เปรียบเทียบกับตัวสะกดในภาษาไทย และเปรียบเทียบกับประกาศของกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เรื่องชื่อ และอาการสำคัญของโรคติดต่ออัตราย ฉบับที่ 3 พ.ศ.2563 ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา ว่า โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-1 ดังนั้นจึงบัญญัติศัพท์ ว่า โควิโท