นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค พร้อมด้วย นพ.ทวี โชติพิทยสุนนท์ ที่ปรึกษากรมควบคุมโรค และกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข และ ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเป็นที่ปรึกษาสถานการณ์โรคระบาดโควิด-19 แถลงผลการประชุมคณะอนุกรรมการอำนวยการบริหารจัดการการให้วัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ของคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ ที่ประชุมนัดแรก ครั้งที่ 1/2564 ในวันนี้ (15 ม.ค.) ว่า ที่ประชุมฯ มีมติเห็นชอบเรื่องการจัดตั้งคณะทำงาน 6 ด้าน ขึ้นมาดูแลเกี่ยวกับการฉีดวัคซีนโควิด-19 ได้แก่
1. คณะที่ปรึกษาด้านยุทธศาสตร์และแผนงาน
2. คณะทำงานด้านการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร และสื่อสารประชาสัมพันธ์
3. คณะทำงานด้านการให้บริการวัคซีน ฝึกอบรม และกำกับติดตามผล
4. คณะทำงานด้านการประกันคุณภาพวัคซีนและติดตามอาการไม่พึงประสงค์ภายหลังได้รับ
5. คณะทำงานด้านระบบข้อมูลการให้บริการวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
และ 6. คณะทำงานด้านวิชาการ เนื่องจากวัคซีนนี้เป็นของใหม่ ยังขาดความรู้ จำเป็นต้องมีคณะทำงานขึ้นมาศึกษาและติดตาม เพื่อให้เหมาะสมกับการรับวัคซีนโควิด-19 ที่ตอนแรกมีอย่างจำกัด และจะเริ่มฉีดในเดือนกุมภาพันธ์ มีนาคม และเมษายน จากนั้นจะมีการฉีดวัคซีนเพิ่มเติม
ทั้งนี้ การฉีดวัคซีนจะทำให้กลุ่มเสี่ยงตามแผนเดิมที่ทางคณะกรรมการโรคติดต่อฯ กำหนดไว้ บุคลากรการแพทย์ คนทำงานหน้าด่านในการป้องกันและควบคุมโรค ผู้มีโรคประจำตัว และผู้สูงอายุ ซึ่งจะต้องเป็นการรับวัคซีนด้วยความสมัครใจ และมีการติดตามอาการไม่พึงประสงค์ที่อาจเกิดขึ้น โดยหากพบว่ามีอาการไม่พึงประสงค์เกิดขึ้นในระดับรุนแรงจะมีการยกเลิกการฉีดวัคซีนในลอตนั้นทันที จากนั้น จะมีการติดตามสอบสวนโรค พร้อมเยียวยาปัญหาที่เกิดขึ้น คล้ายกับกลไกการเยียวยาใน สปสช. แต่จะต้องมีการหารือในรายละเอียดอีกครั้ง พร้อมกล่าวว่า การฉีดวัคซีนโควิดนี้จะไม่ทำในคนอายุต่ำกว่า 18 ปี รวมถึงหญิงตั้งครรภ์ เพราะวัคซีนมีการศึกษาและทดลองในผู้ใหญ่เท่านั้น
1. คณะที่ปรึกษาด้านยุทธศาสตร์และแผนงาน
2. คณะทำงานด้านการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร และสื่อสารประชาสัมพันธ์
3. คณะทำงานด้านการให้บริการวัคซีน ฝึกอบรม และกำกับติดตามผล
4. คณะทำงานด้านการประกันคุณภาพวัคซีนและติดตามอาการไม่พึงประสงค์ภายหลังได้รับ
5. คณะทำงานด้านระบบข้อมูลการให้บริการวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
และ 6. คณะทำงานด้านวิชาการ เนื่องจากวัคซีนนี้เป็นของใหม่ ยังขาดความรู้ จำเป็นต้องมีคณะทำงานขึ้นมาศึกษาและติดตาม เพื่อให้เหมาะสมกับการรับวัคซีนโควิด-19 ที่ตอนแรกมีอย่างจำกัด และจะเริ่มฉีดในเดือนกุมภาพันธ์ มีนาคม และเมษายน จากนั้นจะมีการฉีดวัคซีนเพิ่มเติม
ทั้งนี้ การฉีดวัคซีนจะทำให้กลุ่มเสี่ยงตามแผนเดิมที่ทางคณะกรรมการโรคติดต่อฯ กำหนดไว้ บุคลากรการแพทย์ คนทำงานหน้าด่านในการป้องกันและควบคุมโรค ผู้มีโรคประจำตัว และผู้สูงอายุ ซึ่งจะต้องเป็นการรับวัคซีนด้วยความสมัครใจ และมีการติดตามอาการไม่พึงประสงค์ที่อาจเกิดขึ้น โดยหากพบว่ามีอาการไม่พึงประสงค์เกิดขึ้นในระดับรุนแรงจะมีการยกเลิกการฉีดวัคซีนในลอตนั้นทันที จากนั้น จะมีการติดตามสอบสวนโรค พร้อมเยียวยาปัญหาที่เกิดขึ้น คล้ายกับกลไกการเยียวยาใน สปสช. แต่จะต้องมีการหารือในรายละเอียดอีกครั้ง พร้อมกล่าวว่า การฉีดวัคซีนโควิดนี้จะไม่ทำในคนอายุต่ำกว่า 18 ปี รวมถึงหญิงตั้งครรภ์ เพราะวัคซีนมีการศึกษาและทดลองในผู้ใหญ่เท่านั้น