นายพิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต นักวิชาการด้านรัฐศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) ระบุถึงการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ว่า ยากที่จะถูกยอมรับจากกลุ่มผู้ชุมนุม หรือประชาชนวงกว้าง เพราะร่างรัฐธรรมนูญฉบับแก้ไขโดยประชาชนถูกปฏิเสธในชั้นรับหลักการ ทำให้ประชาชนมองว่ารัฐสภาเป็นพื้นที่ปิด มีกระบวนการกีดกันภาคประชาชน
ทั้งนี้ แนะนำว่า คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญของรัฐสภา ทำงานอย่างรอบคอบ ซึ่งในส่วนที่มาของสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) ที่ร่างแก้ไขของพรรคร่วมรัฐบาล และพรรคร่วมฝ่ายค้านแตกต่างกัน หากนำวิธีการที่เสนอไว้ในร่างแก้ไขฉบับภาคประชาชน ที่ใช้เขตประเทศเป็นเขตเลือกตั้ง ผสมกับผู้เชี่ยวชาญด้านนิติศาสตร์อาจเป็นไปได้ แต่ไม่แน่ใจว่า ส.ส.ร. ที่เกิดขึ้นภายใต้ข้อจำกัดจะได้รับการยอมรับจากประชาชนหรือไม่
ทั้งนี้ แนะนำว่า คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญของรัฐสภา ทำงานอย่างรอบคอบ ซึ่งในส่วนที่มาของสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) ที่ร่างแก้ไขของพรรคร่วมรัฐบาล และพรรคร่วมฝ่ายค้านแตกต่างกัน หากนำวิธีการที่เสนอไว้ในร่างแก้ไขฉบับภาคประชาชน ที่ใช้เขตประเทศเป็นเขตเลือกตั้ง ผสมกับผู้เชี่ยวชาญด้านนิติศาสตร์อาจเป็นไปได้ แต่ไม่แน่ใจว่า ส.ส.ร. ที่เกิดขึ้นภายใต้ข้อจำกัดจะได้รับการยอมรับจากประชาชนหรือไม่