วันนี้ (21 ก.ย.) เวลา 10.00 น. ที่กรมศิลปากร วังหน้าพระลาน นายศรีสุวรรณ จรรยา เลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย เดินทางมายื่นคำร้องต่ออธิบดีกรมศิลปากร ให้ดำเนินการเอาผิด 18 แกนนำกลุ่มแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม ที่ได้บังอาจฝ่าฝืนกฎหมายโดยการบุกรุกเข้าใช้โบราณสถานสนามหลวงโดยไม่ได้ขออนุญาต และมีการตัดทำลายรั้วและพื้นสนามหลวงเพื่อปักหมุดคณะราษฎร หมุดที่ 2 ซึ่งเป็นทรัพย์สินของทางราชการให้เกิดความเสียหาย
ทั้งนี้ สนามหลวง ได้ประกาศขึ้นทะเบียนให้เป็นโบราณสถานสำคัญของชาติ มาตั้งแต่ 13 ธันวาคม 2520 แล้วมีชื่อว่า "โบราณสถานทุ่งพระเมรุ (สนามหลวง)" ซึ่งตาม พ.ร.บ.โบราณสถาน โบราณวัตถุศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ 2504 แก้ไขเพิ่มเติม 2535 มาตรา 32 ระบุไว้ว่า ผู้ใดบุกรุกโบราณสถาน หรือทําให้เสียหาย ทําลาย ทําให้เสื่อมค่า หรือทําให้ไร้ประโยชน์ซึ่งโบราณสถาน ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกิน 7 ปี หรือปรับไม่เกิน 7 แสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ และโทษของการบุกรุกและทำลายโบราณสถานจะหนักขึ้นเป็น จำคุกไม่เกิน 10 ปี หรือปรับไม่เกิน 1 ล้านบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ถ้าโบราณสถานแห่งนั้นเป็นโบราณสถานที่ได้ขึ้นทะเบียนแล้ว
การตัดทำลายรั้วเพื่อนำมวลชนบุกรุกเข้าไปตั้งเวทีชุมนุมปราศรัย และได้เจาะพื้นสนามหลวงให้เสียหาย โดยทำพิธีฝังหมุดคณะราษฎร หมุดที่ 2 ลงในพื้นที่สนามหลวงที่ได้ขึ้นทะเบียนไว้แล้ว ของกลุ่มแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม จึงถือเป็นกรรมหนักที่จะปล่อยให้ลอยนวลต่อไปมิได้
นอกจากนั้น กรุงเทพมหานคร (กทม.) ได้ออกระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการใช้ บำรุง และการดูแลพื้นที่ท้องสนามหลวง 2555 เพื่อให้ใช้พื้นที่ท้องสนามหลวงเพื่อการจัดงานได้เพียง 4 ประเภทเท่านั้น คือ งานพระราชพิธี งานรัฐพิธี งานประเพณีสำคัญของชาติโดยหน่วยงานของรัฐ และการจัดการแข่งขันกีฬาไทยประจำปี โดยห้ามการแสดงกิจกรรมหรือข้อความหรือการกระทำด้วยประการใดที่ไม่เหมาะสม ขัดกฎหมาย หรือในลักษณะเป็นการดูหมิ่นชาติ ศาสนา หรือสถาบันพระมหากษัตริย์ไทย หรือของประเทศอื่น รวมทั้งต้องไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีและประเพณีไทย และการจัดงานต้องไม่มีวัตถุประสงค์ทางการเมืองไม่ว่าด้วยประการใด และไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม
ด้วยเหตุดังกล่าว การที่กลุ่มแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม นำโดย 18 แกนนำ ได้ฝ่าฝืนกฎหมายหลายบท หลายกรรมดังกล่าว ถือว่ามีความผิดร่วมกันฐานเป็นตัวการและสนับสนุน ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83 จึงมิอาจปล่อยให้เป็นเยี่ยงอย่างที่ไม่ดีต่อเยาวชนและประชาชนต่อไปได้ สมาคมฯ จึงจำต้องนำความมาร้องเรียนต่ออธิบดีกรมศิลปากรและผู้อำนวยการเขตพระนคร ในฐานะพนักงานเจ้าหน้าที่และผู้เสียหายตามกฎหมาย เพื่อเร่งแจ้งความดำเนินคดีทั้งทางแพ่งและอาญา เพื่อเอาผิดผู้ที่บังอาจกระทำการฝ่าฝืนกฎหมายทั้ง 18 รายดังกล่าวโดยเร็ว
ทั้งนี้ สนามหลวง ได้ประกาศขึ้นทะเบียนให้เป็นโบราณสถานสำคัญของชาติ มาตั้งแต่ 13 ธันวาคม 2520 แล้วมีชื่อว่า "โบราณสถานทุ่งพระเมรุ (สนามหลวง)" ซึ่งตาม พ.ร.บ.โบราณสถาน โบราณวัตถุศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ 2504 แก้ไขเพิ่มเติม 2535 มาตรา 32 ระบุไว้ว่า ผู้ใดบุกรุกโบราณสถาน หรือทําให้เสียหาย ทําลาย ทําให้เสื่อมค่า หรือทําให้ไร้ประโยชน์ซึ่งโบราณสถาน ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกิน 7 ปี หรือปรับไม่เกิน 7 แสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ และโทษของการบุกรุกและทำลายโบราณสถานจะหนักขึ้นเป็น จำคุกไม่เกิน 10 ปี หรือปรับไม่เกิน 1 ล้านบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ถ้าโบราณสถานแห่งนั้นเป็นโบราณสถานที่ได้ขึ้นทะเบียนแล้ว
การตัดทำลายรั้วเพื่อนำมวลชนบุกรุกเข้าไปตั้งเวทีชุมนุมปราศรัย และได้เจาะพื้นสนามหลวงให้เสียหาย โดยทำพิธีฝังหมุดคณะราษฎร หมุดที่ 2 ลงในพื้นที่สนามหลวงที่ได้ขึ้นทะเบียนไว้แล้ว ของกลุ่มแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม จึงถือเป็นกรรมหนักที่จะปล่อยให้ลอยนวลต่อไปมิได้
นอกจากนั้น กรุงเทพมหานคร (กทม.) ได้ออกระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการใช้ บำรุง และการดูแลพื้นที่ท้องสนามหลวง 2555 เพื่อให้ใช้พื้นที่ท้องสนามหลวงเพื่อการจัดงานได้เพียง 4 ประเภทเท่านั้น คือ งานพระราชพิธี งานรัฐพิธี งานประเพณีสำคัญของชาติโดยหน่วยงานของรัฐ และการจัดการแข่งขันกีฬาไทยประจำปี โดยห้ามการแสดงกิจกรรมหรือข้อความหรือการกระทำด้วยประการใดที่ไม่เหมาะสม ขัดกฎหมาย หรือในลักษณะเป็นการดูหมิ่นชาติ ศาสนา หรือสถาบันพระมหากษัตริย์ไทย หรือของประเทศอื่น รวมทั้งต้องไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีและประเพณีไทย และการจัดงานต้องไม่มีวัตถุประสงค์ทางการเมืองไม่ว่าด้วยประการใด และไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม
ด้วยเหตุดังกล่าว การที่กลุ่มแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม นำโดย 18 แกนนำ ได้ฝ่าฝืนกฎหมายหลายบท หลายกรรมดังกล่าว ถือว่ามีความผิดร่วมกันฐานเป็นตัวการและสนับสนุน ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83 จึงมิอาจปล่อยให้เป็นเยี่ยงอย่างที่ไม่ดีต่อเยาวชนและประชาชนต่อไปได้ สมาคมฯ จึงจำต้องนำความมาร้องเรียนต่ออธิบดีกรมศิลปากรและผู้อำนวยการเขตพระนคร ในฐานะพนักงานเจ้าหน้าที่และผู้เสียหายตามกฎหมาย เพื่อเร่งแจ้งความดำเนินคดีทั้งทางแพ่งและอาญา เพื่อเอาผิดผู้ที่บังอาจกระทำการฝ่าฝืนกฎหมายทั้ง 18 รายดังกล่าวโดยเร็ว