รศ.ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ และนักสื่อสารวิทยาศาสตร์ โพสต์ผ่านเฟซบุ๊ก Jessada Denduangboripant ระบุว่า"paint as protest การใช้งานศิลปะ เพื่อการประท้วง"
จากกรณีที่มีการสาดสีจากผู้ชุมนุมประท้วงใส่เจ้าหน้าที่ตำรวจวันก่อน แล้วมีคนกล่าวอ้างว่า มันก็เป็นวิธีการประท้วงแบบสันติวิธี ตามสากล ที่เรียกว่า "paint as protest" ซึ่งเป็นวิธีที่ 26 จาก ใน 198 วิธีที่มีคนรวบรวมเอาไว้ (ดู https://www.brandeis.edu/peace-conflict/pdfs/198-methods-non-violent-act...)
แต่โดยความหมายแล้ว คำว่า paint ในที่นี้นั้น ไม่ได้หมายถึง "สี" ที่จะเอาไปสาดใส่คนอื่น ซึ่งเป็นการแสดงความคุกคามต่อร่างกายผู้อื่นโดยตรง และไม่ใช่แนวทางที่เป็นสันติวิธีอย่างแท้จริง
แต่วิธีการ paint as protest นั้น คือการใช้ paint ในความหมายถึง "ภาพวาด" เพื่อเป็นเครื่องมือแสดงถึงการต่อต้าน แบบอารยะขัดขืน ที่ไม่ใช้ความรุนแรง และทำได้หลายรูปแบบ ตั้งแต่การวาดภาพหรือลายกราฟฟิตี (graffiti) บนอาคาร ผนัง กำแพง หรือแม้แต่ร่างกายของผู้ประท้วง
ตัวอย่างคลาสสิก และโด่งดังไปทั่วโลก ได้แก่ ภาพของศิลปินลึกลับที่ชื่อว่า Banksy ได้ถูกทำขึ้นบนกำแพงรักษาความปลอดภัย ในเขตเวสต์แบงก์ ของเมืองเบธเลเฮม ประเทศอิสราเอล เมื่อเดือนสิงหาคม ปี 2017
หลังจากนั้น ในเดือนมิถุนายนปี 2018 มีงานศิลปะอีก 6 ชิ้นปรากฏในเมืองปารีส ประเทศฝรั่งเศส เพื่อประท้วงนโยบายต่อต้านผู้ลี้ภัย ของรัฐบาลฝรั่งเศส (รูปตัวอย่างเช่น ภาพของสาวน้อย กำลังสเปรย์สีชมพูบนเครื่องหมายสวัสดิกะ บนกำแพงที่อยู่ข้างถุงนอนแล้วตุ๊กตาหมีของเธอ แล้วทำให้รู้สึกเหมือนเป็นบ้านมากขึ้น)
มันว่าประเทศไทยเราเอง ก็คงจะได้เห็นงานศิลปะที่ทรงพลัง และสะท้อนมุมมองความคิดที่แตกต่างทางการเมือง บนพื้นฐานของการไม่ใช้ความรุนแรง ออกมาเรื่อยๆ นะครับ
ภาพและข้อมูลจาก https://leighopkins.com/2019/02/07/method-26-paint-as-protest/