รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Thira Woratanarat ระบุถึงกรณีมีรายงานจากมหาวิทยาลัยฮ่องกง พบว่ามีชายอายุ 33 ปี ที่เคยติดเชื้อไวรัสโรค COVID-19 มาก่อนตั้งแต่เดือนมีนาคม โดยมีอาการเล็กน้อย และได้รับการดูแลรักษาจนหายดีแล้ว ตรวจไม่พบเชื้อแล้ว และตรวจไม่พบว่ามีภูมิคุ้มกันหลังหายจากการติดเชื้อ จากนั้นได้เดินทางไปสหราชอาณาจักรและสเปน กลับมาฮ่องกงเดือนสิงหาคม ตรวจพบว่าติดเชื้อ COVID-19 อีกครั้ง โดยผู้ป่วยไม่มีอาการ
เคสนี้ถือเป็นเคสแรกที่พิสูจน์ให้เห็นชัดว่า เป็นการติดเชื้อไวรัสครั้งที่ 2 (Reinfection) เนื่องจากนักวิจัยได้ไปตรวจชนิดของไวรัสแล้วพบว่าเป็นสายพันธุ์ที่ต่างไปจากครั้งแรก โดยการติดเชื้อครั้งที่ 2 นี้เป็นสายพันธุ์ที่กำลังระบาดในยุโรป
งานวิจัยชิ้นนี้กำลังส่งไปตีพิมพ์ในวารสารทางการแพทย์ Clinical Infectious Diseases
ทั้งนี้สิ่งที่ค้นพบเป็นความรู้สำคัญ ที่เตือนให้เราทุกคนต้องระวัง ป้องกันตนเองอยู่เสมอ และอาจลบล้างความเชื่อของบางคนที่คิดจะปล่อยให้คนในประเทศติดเชื้อเพื่อหวังภูมิคุ้มกันหมู่ ซึ่งอาจไม่สามารถเกิดขึ้นจริง หรือเกิดขึ้นแต่ไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อซ้ำจากสายพันธุ์ที่ต่างกันไป
อย่างไรก็ตาม ยังต้องมีการศึกษาเชิงลึกต่อไปด้วยว่า ภูมิคุ้มกันจากสายพันธุ์ที่ต่างกันนั้นมีโอกาสที่จะมี cross reactivity ได้มากน้อยเพียงใด และเกิดผลทางคลินิกหรือไม่
ไวรัสโรค COVID-19 มีการเปลี่ยนแปลงตัวเองตามธรรมชาติ และแตกเทือกเถาเหล่ากอไปได้เรื่อยๆ เหมือนกับไวรัสโรคอื่นๆ
แม้ความรู้ปัจจุบัน เราคิดว่ากระบวนการพัฒนาวัคซีนที่เรากำลังทำกันอยู่นั้นไม่น่าจะได้รับผลกระทบใดๆ จากการเปลี่ยนแปลงสายพันธุ์ของไวรัสในขณะนี้ แต่ก็คงต้องมีการติดตามกันต่อไปอย่างใกล้ชิด
ดีที่สุดตอนนี้คือ เราทุกคนควรทราบว่า ยังไม่มียาและวัคซีนที่จะใช้ต่อกรกับไวรัสนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ สิ่งที่จะสู้กับมันได้ดีที่สุดคือ "การป้องกันตนเองและสมาชิกในครอบครัว"
เคสนี้ถือเป็นเคสแรกที่พิสูจน์ให้เห็นชัดว่า เป็นการติดเชื้อไวรัสครั้งที่ 2 (Reinfection) เนื่องจากนักวิจัยได้ไปตรวจชนิดของไวรัสแล้วพบว่าเป็นสายพันธุ์ที่ต่างไปจากครั้งแรก โดยการติดเชื้อครั้งที่ 2 นี้เป็นสายพันธุ์ที่กำลังระบาดในยุโรป
งานวิจัยชิ้นนี้กำลังส่งไปตีพิมพ์ในวารสารทางการแพทย์ Clinical Infectious Diseases
ทั้งนี้สิ่งที่ค้นพบเป็นความรู้สำคัญ ที่เตือนให้เราทุกคนต้องระวัง ป้องกันตนเองอยู่เสมอ และอาจลบล้างความเชื่อของบางคนที่คิดจะปล่อยให้คนในประเทศติดเชื้อเพื่อหวังภูมิคุ้มกันหมู่ ซึ่งอาจไม่สามารถเกิดขึ้นจริง หรือเกิดขึ้นแต่ไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อซ้ำจากสายพันธุ์ที่ต่างกันไป
อย่างไรก็ตาม ยังต้องมีการศึกษาเชิงลึกต่อไปด้วยว่า ภูมิคุ้มกันจากสายพันธุ์ที่ต่างกันนั้นมีโอกาสที่จะมี cross reactivity ได้มากน้อยเพียงใด และเกิดผลทางคลินิกหรือไม่
ไวรัสโรค COVID-19 มีการเปลี่ยนแปลงตัวเองตามธรรมชาติ และแตกเทือกเถาเหล่ากอไปได้เรื่อยๆ เหมือนกับไวรัสโรคอื่นๆ
แม้ความรู้ปัจจุบัน เราคิดว่ากระบวนการพัฒนาวัคซีนที่เรากำลังทำกันอยู่นั้นไม่น่าจะได้รับผลกระทบใดๆ จากการเปลี่ยนแปลงสายพันธุ์ของไวรัสในขณะนี้ แต่ก็คงต้องมีการติดตามกันต่อไปอย่างใกล้ชิด
ดีที่สุดตอนนี้คือ เราทุกคนควรทราบว่า ยังไม่มียาและวัคซีนที่จะใช้ต่อกรกับไวรัสนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ สิ่งที่จะสู้กับมันได้ดีที่สุดคือ "การป้องกันตนเองและสมาชิกในครอบครัว"