รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Thira Woratanarat ถึงสถานการณ์โควิด-19 โดยระบุว่า ทะลุ 21 ล้านแล้ว ณ 14 สิงหาคม 2563 ครับ ติดเพิ่มถึง 298,676 คน ตายเพิ่มอีก 5,764 คน ยอดรวมตอนนี้ 21,045,633 คน คราวนี้เพิ่ม 1 ล้านคน ใช้เวลาเพียง 3.5 วัน เร็วกว่าช่วงมีนาคมถึง 9 เท่า
อเมริกา...ติดเพิ่ม 55,082 คน รวม 5,407,954 คน
ผอ.US CDC ออกมาเตือนประชาชนทุกคนให้ใส่หน้ากาก ล้างมือ และอยู่ห่าง ๆ กัน หากไม่ทำตอนนี้ อเมริกาจะพบกับสภาพที่ย่ำแย่ที่สุดในประวัติศาสตร์ของการสาธารณสุขของประเทศ
Anthony Fauci ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคติดเชื้อที่เป็นที่นับถือระดับโลก ก็ออกมาให้ความเห็นว่า แม้แคลิฟอร์เนีย ฟลอริดา แอริโซนา และเทกซัส จะมีจำนวนการตายน้อยลงกว่าเดิม แต่ปรากฏว่ารัฐอื่น ๆ มีอัตราการตรวจพบเชื้อมากขึ้นอย่างชัดเจน และเป็นสัญญาณเตือนว่า กำลังจะมีระบาดกลับมารุนแรงอีกในไม่ช้านี้
บราซิล ติดเพิ่ม 60,091 คน รวม 3,224,876 คน
อินเดีย ติดเพิ่ม 64,142 คน รวม 2,459,613 คน
รัสเซีย ติดเพิ่ม 5,057 คน รวม 907,758 คน
เปรูแซงเม็กซิโก ยอดรวมใกล้ห้าแสน ตามหลังแอฟริกาใต้มาติด ๆ ทั้งสามประเทศนี้ติดกันหลายพันต่อวันมาตลอด
สเปน เยอรมัน ฝรั่งเศส เนเธอร์แลนด์ อิหร่าน ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น ล้วนติดกันหลักพันทั้งสิ้น
หลายประเทศในยุโรป รวมถึงแคนาดา ปากีสถาน และออสเตรเลีย ติดกันหลายร้อย ในขณะที่สิงคโปร์ขยับจากหลักสิบมาแตะหลักร้อยอีกแล้ว
เวียดนาม ฮ่องกง มาเลเซีย เกาหลีใต้ จีน และนิวซีแลนด์ ติดเพิ่มกันหลักสิบ
สิ่งที่ทำให้คนเริ่มกังวลกันมากขึ้นเรื่อย ๆ นอกเหนือจากจำนวนการติดเชื้อ จำนวนการตายที่มากมายก่ายกองเช่นนี้แล้ว ยังมีเรื่องภาวะหลังการติดเชื้อครับ
อย่างที่เคยบอกไปว่า สมัยมีการระบาดช่วงแรก ๆ หมอ ๆ ต่างดีใจที่ผู้ป่วยโรค COVID-19 ได้รับการดูแลรักษา และออกจากโรงพยาบาลได้ โดยตรวจ RT-PCR ซ้ำแล้วได้ผลลบ คิดว่าหาย แต่ความรู้ในปัจจุบัน มีความชัดเจนแล้วว่า ไม่จบแค่นั้น
ผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสโรค COVID-19 นั้น แม้จะได้รับการดูแลรักษาจนตรวจได้ผลลบแล้ว ยังมีจำนวนกว่า 30% ที่จะมีอาการหลงเหลืออยู่กับตัวไปเรื่อย ๆ นานหลายสัปดาห์จนเป็นเดือน ๆ ไม่ว่าจะเป็นอาการอ่อนเพลีย ปวดเมื่อย สมองตื้อ งุนงง เหนื่อยเปลี้ย ไม่มีแรงทำงานตามปกติ แม้แต่อาการไอ หรืออาจยังมีปัญหาการดมกลิ่นและรับรส เป็นต้น
ภาวะนี้เรียกว่า "Long COVID" หรือ "Chronic COVID" หรือ "COVID Long Haulers" หรือ "Chronic fatique syndrome" หรือ "Myalgic encephalomyelitis"
ล่าสุดก็เริ่มมีเสียงเรียกร้องให้เกิดการสร้างระบบติดตามและเฝ้าระวังภาวะนี้ในกลุ่มผู้ป่วยที่ติดเชื้อ COVID-19 แล้วด้วย เพราะมีจำนวนมากขึ้นเรื่อย ๆ และส่งผลกระทบอย่างมากต่อการใช้ชีวิตทั้งส่วนตัว ครอบครัว และการทำงาน คิดคร่าว ๆ ตอนนี้อาจมีคนที่ต้องทนทุกข์กับภาวะนี้หลายล้านคนทั่วโลก
ดังนั้นคงจะดีที่สุด หากเราป้องกันตัว และป้องกันสมาชิกในครอบครัว ไม่ให้ติดเชื้อไวรัสนี้ ความเสี่ยงในเมืองไทยมีมากขึ้นดังที่เราทุกคนทราบดี การใส่หน้ากากจะช่วยลดความเสี่ยงในการติดเชื้อได้ถึง 85% การอยู่ห่างคนอื่นอย่างน้อยหนึ่งเมตรจะช่วยลดความเสี่ยงในการติดเชื้อโดยเฉลี่ยได้ถึง 80% หากทำร่วมกับการล้างมือบ่อย ๆ พูดน้อย ๆ พบคนน้อยลงสั้นลง เลี่ยงที่แออัดที่ชุมนุมที่อโคจร ก็จะทำให้เรามีโอกาสไปรับเชื้อติดเชื้อได้น้อยลงมาก ถ้าทำกันอย่างพร้อมเพรียง สม่ำเสมอ ไทยเราก็จะไม่ระบาดซ้ำ เปรียบเหมือนวัคซีนป้องกันที่เราแต่ละคนสามารถทำได้เอง หมั่นสังเกตอาการตนเองและครอบครัว หากมีอาการไม่สบาย ควรหยุดงาน หยุดเรียน แล้วไปตรวจนะครับ ประเทศไทยต้องทำได้
ด้วยรักต่อทุกคน
อ้างอิง
Alwan NA. A negative COVID-19 test does not mean recovery. Nature. 11 August 2020.
อเมริกา...ติดเพิ่ม 55,082 คน รวม 5,407,954 คน
ผอ.US CDC ออกมาเตือนประชาชนทุกคนให้ใส่หน้ากาก ล้างมือ และอยู่ห่าง ๆ กัน หากไม่ทำตอนนี้ อเมริกาจะพบกับสภาพที่ย่ำแย่ที่สุดในประวัติศาสตร์ของการสาธารณสุขของประเทศ
Anthony Fauci ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคติดเชื้อที่เป็นที่นับถือระดับโลก ก็ออกมาให้ความเห็นว่า แม้แคลิฟอร์เนีย ฟลอริดา แอริโซนา และเทกซัส จะมีจำนวนการตายน้อยลงกว่าเดิม แต่ปรากฏว่ารัฐอื่น ๆ มีอัตราการตรวจพบเชื้อมากขึ้นอย่างชัดเจน และเป็นสัญญาณเตือนว่า กำลังจะมีระบาดกลับมารุนแรงอีกในไม่ช้านี้
บราซิล ติดเพิ่ม 60,091 คน รวม 3,224,876 คน
อินเดีย ติดเพิ่ม 64,142 คน รวม 2,459,613 คน
รัสเซีย ติดเพิ่ม 5,057 คน รวม 907,758 คน
เปรูแซงเม็กซิโก ยอดรวมใกล้ห้าแสน ตามหลังแอฟริกาใต้มาติด ๆ ทั้งสามประเทศนี้ติดกันหลายพันต่อวันมาตลอด
สเปน เยอรมัน ฝรั่งเศส เนเธอร์แลนด์ อิหร่าน ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น ล้วนติดกันหลักพันทั้งสิ้น
หลายประเทศในยุโรป รวมถึงแคนาดา ปากีสถาน และออสเตรเลีย ติดกันหลายร้อย ในขณะที่สิงคโปร์ขยับจากหลักสิบมาแตะหลักร้อยอีกแล้ว
เวียดนาม ฮ่องกง มาเลเซีย เกาหลีใต้ จีน และนิวซีแลนด์ ติดเพิ่มกันหลักสิบ
สิ่งที่ทำให้คนเริ่มกังวลกันมากขึ้นเรื่อย ๆ นอกเหนือจากจำนวนการติดเชื้อ จำนวนการตายที่มากมายก่ายกองเช่นนี้แล้ว ยังมีเรื่องภาวะหลังการติดเชื้อครับ
อย่างที่เคยบอกไปว่า สมัยมีการระบาดช่วงแรก ๆ หมอ ๆ ต่างดีใจที่ผู้ป่วยโรค COVID-19 ได้รับการดูแลรักษา และออกจากโรงพยาบาลได้ โดยตรวจ RT-PCR ซ้ำแล้วได้ผลลบ คิดว่าหาย แต่ความรู้ในปัจจุบัน มีความชัดเจนแล้วว่า ไม่จบแค่นั้น
ผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสโรค COVID-19 นั้น แม้จะได้รับการดูแลรักษาจนตรวจได้ผลลบแล้ว ยังมีจำนวนกว่า 30% ที่จะมีอาการหลงเหลืออยู่กับตัวไปเรื่อย ๆ นานหลายสัปดาห์จนเป็นเดือน ๆ ไม่ว่าจะเป็นอาการอ่อนเพลีย ปวดเมื่อย สมองตื้อ งุนงง เหนื่อยเปลี้ย ไม่มีแรงทำงานตามปกติ แม้แต่อาการไอ หรืออาจยังมีปัญหาการดมกลิ่นและรับรส เป็นต้น
ภาวะนี้เรียกว่า "Long COVID" หรือ "Chronic COVID" หรือ "COVID Long Haulers" หรือ "Chronic fatique syndrome" หรือ "Myalgic encephalomyelitis"
ล่าสุดก็เริ่มมีเสียงเรียกร้องให้เกิดการสร้างระบบติดตามและเฝ้าระวังภาวะนี้ในกลุ่มผู้ป่วยที่ติดเชื้อ COVID-19 แล้วด้วย เพราะมีจำนวนมากขึ้นเรื่อย ๆ และส่งผลกระทบอย่างมากต่อการใช้ชีวิตทั้งส่วนตัว ครอบครัว และการทำงาน คิดคร่าว ๆ ตอนนี้อาจมีคนที่ต้องทนทุกข์กับภาวะนี้หลายล้านคนทั่วโลก
ดังนั้นคงจะดีที่สุด หากเราป้องกันตัว และป้องกันสมาชิกในครอบครัว ไม่ให้ติดเชื้อไวรัสนี้ ความเสี่ยงในเมืองไทยมีมากขึ้นดังที่เราทุกคนทราบดี การใส่หน้ากากจะช่วยลดความเสี่ยงในการติดเชื้อได้ถึง 85% การอยู่ห่างคนอื่นอย่างน้อยหนึ่งเมตรจะช่วยลดความเสี่ยงในการติดเชื้อโดยเฉลี่ยได้ถึง 80% หากทำร่วมกับการล้างมือบ่อย ๆ พูดน้อย ๆ พบคนน้อยลงสั้นลง เลี่ยงที่แออัดที่ชุมนุมที่อโคจร ก็จะทำให้เรามีโอกาสไปรับเชื้อติดเชื้อได้น้อยลงมาก ถ้าทำกันอย่างพร้อมเพรียง สม่ำเสมอ ไทยเราก็จะไม่ระบาดซ้ำ เปรียบเหมือนวัคซีนป้องกันที่เราแต่ละคนสามารถทำได้เอง หมั่นสังเกตอาการตนเองและครอบครัว หากมีอาการไม่สบาย ควรหยุดงาน หยุดเรียน แล้วไปตรวจนะครับ ประเทศไทยต้องทำได้
ด้วยรักต่อทุกคน
อ้างอิง
Alwan NA. A negative COVID-19 test does not mean recovery. Nature. 11 August 2020.