นายศุภภิมิตร เปาริก รองผู้ว่าราชการจังหวัดตาก เป็นประธานการประชุม การบริหารจัดการนำเข้าแรงงานต่างด้าว สัญชาติเมียนมา ในวันนี้ (24 ก.ค.) หลังจากรัฐบาลมีมาตรการผ่อนคลาย โควิด-19 ให้แรงงานต่างด้าว 3 สัญชาติคือ เมียนมา ลาว และกัมพูชา โดยมี นายชัยวัฒน์ วิฑิตธรรมวงศ์ ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดตาก ให้การต้อนรับ และนายแพทย์รเมศ ว่องวิไลรัตน์ รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดตาก จัดหางานจังหวัดตาก หน่วยงานควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศ โรงพยาบาลแม่สอด เทศบาลนครแม่สอด และหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วม
ทั้งนี้ แรงงานต่างด้าว สัญชาติเมียนมา ที่จะเข้ามาทางด่านพรมแดนไทย - เมียนมา (แม่สอด - เมียวดี) ทั้งหมดกว่า 1 แสนคน ส่วนที่ 1 เป็นแรงงานเดิมตาม เอ็มโอยู มีใบอนุญาตทำงาน กลับไปในช่วงสงกรานต์ และโควิด-19 จำนวน 69,000 คน และส่วนที่ 2 แรงงานใหม่ จำนวนกว่า 42,000 คน ขณะที่ภาคเอกชนเสนอแบ่งเบาภาระของรัฐบาล ต้องการให้ผู้ประกอบการกับลูกจ้างเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายในการกักกันตัวระยะเวลา 14 วัน
นายศุภภิมิตร กล่าวว่า ต้องทราบความชัดเจนก่อนว่าแรงงานที่เข้ามามีขั้นตอน มีความพร้อมอย่างไร ตั้งแต่ฝั่งเมียนมาเข้ามาหน้าด่านพรมแดนไทย - เมียนมา เขตไทย เช่น คัดกรองตรวจ โควิด-19 การกักกันจะต้องทำอย่างไร เมื่อผ่านสาธารณสุขแล้ว ทางจัดหางานจะต้องดำเนินการอย่างไร และที่สำคัญคือ สถานที่กักกันจะทำอย่างไร หากมามากกว่าวันละ 300 คน แล้วจะต้องทำอย่างไร ต้องมีความชัดเจนทุกขั้นตอน เมื่อเกินศักยภาพต้องแจ้งส่วนกลาง แต่ในเบื้องต้นจะนำร่องก่อน 30 คน
ขณะที่นายแพทย์รเมศ กล่าวว่า การคัดกรองนั้นเท่าที่ทางหน่วยงานสาธารณสุขสามารถคัดกรองโรคและรู้ผลได้ภายใน 1 วัน จะดำเนินการได้วันละ 30 - 50 คน ถ้ามากกว่านี้ต้องอาศัยจังหวัดใกล้เคียงที่สามารถมีเครื่องตรวจและทราบผลในวันเดียวได้ ทั้งนี้ เป็นไปตามมาตรฐานของกรมควบคุมโรค ส่วนสถานที่กักกันนั้นจะเป็นสถานประกอบการ โรงแรม ที่เกี่ยวข้องกับการกักกันของรัฐ ซึ่งทางเอกชนต้องเข้ามามีส่วนร่วมด้วย
ทั้งนี้ แรงงานต่างด้าว สัญชาติเมียนมา ที่จะเข้ามาทางด่านพรมแดนไทย - เมียนมา (แม่สอด - เมียวดี) ทั้งหมดกว่า 1 แสนคน ส่วนที่ 1 เป็นแรงงานเดิมตาม เอ็มโอยู มีใบอนุญาตทำงาน กลับไปในช่วงสงกรานต์ และโควิด-19 จำนวน 69,000 คน และส่วนที่ 2 แรงงานใหม่ จำนวนกว่า 42,000 คน ขณะที่ภาคเอกชนเสนอแบ่งเบาภาระของรัฐบาล ต้องการให้ผู้ประกอบการกับลูกจ้างเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายในการกักกันตัวระยะเวลา 14 วัน
นายศุภภิมิตร กล่าวว่า ต้องทราบความชัดเจนก่อนว่าแรงงานที่เข้ามามีขั้นตอน มีความพร้อมอย่างไร ตั้งแต่ฝั่งเมียนมาเข้ามาหน้าด่านพรมแดนไทย - เมียนมา เขตไทย เช่น คัดกรองตรวจ โควิด-19 การกักกันจะต้องทำอย่างไร เมื่อผ่านสาธารณสุขแล้ว ทางจัดหางานจะต้องดำเนินการอย่างไร และที่สำคัญคือ สถานที่กักกันจะทำอย่างไร หากมามากกว่าวันละ 300 คน แล้วจะต้องทำอย่างไร ต้องมีความชัดเจนทุกขั้นตอน เมื่อเกินศักยภาพต้องแจ้งส่วนกลาง แต่ในเบื้องต้นจะนำร่องก่อน 30 คน
ขณะที่นายแพทย์รเมศ กล่าวว่า การคัดกรองนั้นเท่าที่ทางหน่วยงานสาธารณสุขสามารถคัดกรองโรคและรู้ผลได้ภายใน 1 วัน จะดำเนินการได้วันละ 30 - 50 คน ถ้ามากกว่านี้ต้องอาศัยจังหวัดใกล้เคียงที่สามารถมีเครื่องตรวจและทราบผลในวันเดียวได้ ทั้งนี้ เป็นไปตามมาตรฐานของกรมควบคุมโรค ส่วนสถานที่กักกันนั้นจะเป็นสถานประกอบการ โรงแรม ที่เกี่ยวข้องกับการกักกันของรัฐ ซึ่งทางเอกชนต้องเข้ามามีส่วนร่วมด้วย