นายนิวัติไชย เกษมมงคล รองเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ในฐานะโฆษกสำนักงาน ป.ป.ช. แถลงวันนี้ (1 ก.ค.) ว่า คณะกรรมการ ป.ป.ช. ชี้มูลความผิดกรณี นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี กับพวก ใช้อำนาจโอน นายถวิล เปลี่ยนศรี เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) ให้มาดำรงตำแหน่งที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีฝ่ายข้าราชการประจำโดยมิชอบ
ทั้งนี้ จากข้อเท็จจริงเมื่อปี พ.ศ. 2554 ขณะนายถวิล ดำรงตำแหน่งเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ เป็นหัวหน้าส่วนราชการระดับกรม ขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี มีอำนาจหน้าที่โดยตรงเกี่ยวกับกิจการความมั่นคงของประเทศ โดยเป็นที่ปรึกษาเสนอแนะนโยบาย มาตรการและแนวทางปฏิบัติด้านความมั่นคงแห่งชาติต่อสภาความมั่นคงแห่งชาติ โดยเมื่อวันที่ 4 กันยายน 2554 นางสาวยิ่งลักษณ์ ซึ่งดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีขณะนั้น ได้โทรศัพท์สั่งการให้สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ดำเนินการทำเรื่องขอรับโอนนายถวิล มาเป็นที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีฝ่ายข้าราชการประจำ จากนั้นสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีได้มีบันทึกข้อความลงวันที่ 4 กันยายน 2554 ถึงนางสาวกฤษณา สีหลักษณ์ ซึ่งดำรงรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีในขณะนั้น เพื่อขอความยินยอมรับโอน นายถวิล มาดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีฝ่ายข้าราชการประจำ และได้มีบันทึกข้อความ ลงวันที่ 4 กันยายน 2554 ถึงพลตำรวจเอก โกวิท วัฒนะ ซึ่งดำรงรองนายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ในฐานะรัฐมนตรีเจ้าสังกัดของสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ เพื่อให้ความเห็นชอบและยินยอมการโอนนายถวิล มาดำรงตำแหน่งที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีฝ่ายข้าราชการประจำ ซึ่งทั้งนางสาวกฤษณา และพลตำรวจเอกโกวิท ต่างให้ความเห็นชอบและยินยอมการโอนดังกล่าว และสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีได้นำเรื่องดังกล่าวเสนอต่อคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติ
กรณีดังกล่าว สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ตรวจพบว่าวันที่ 4 กันยายน 2554 เป็นวันอาทิตย์ ซึ่งเป็นวันหยุดราชการ จึงมีการแก้ไขบันทึกข้อความทั้งสองฉบับดังกล่าวเป็นวันที่ 5 กันยายน 2554 แต่เป็นการแก้ก่อนนำเสนอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณา จากนั้น วันที่ 6 กันยายน 2554 นางสาวยิ่งลักษณ์ ได้อนุมัติให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีเป็นวาระจร และในวันเดียวกัน คณะรัฐมนตรีมีการประชุมและลงมติรับทราบให้โอนนายถวิล มาดำรงตำแหน่งที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีฝ่ายข้าราชการประจำ ตามที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเสนอ จากนั้น นางสาวยิ่งลักษณ์ มีคำสั่งให้นายถวิล มาปฏิบัติราชการ ที่สำนักนายกรัฐมนตรี ในตำแหน่งดังกล่าวทันที ซึ่งการแต่งตั้งโยกย้ายดังกล่าว ดำเนินการอย่างเร่งรีบรวบรัดแล้วเสร็จภายใน 4 วัน เท่านั้น
จากนั้น วันที่ 4 ตุลาคม 2554 คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้ง พลตำรวจเอก วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี ให้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ และในวันที่ 19 ตุลาคม 2554 นางสาวยิ่งลักษณ์ ในฐานะประธานกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ (ก.ต.ช.) ได้เสนอชื่อพลตำรวจเอก เพรียวพันธ์ ดามาพงศ์ รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ที่จะเกษียณอายุราชการ วันที่ 30 กันยายน 2555 และเป็นเครือญาติของตนเอง ให้ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ แทนตำแหน่งที่ว่างลงต่อที่ประชุม ก.ต.ช. ในการประชุมครั้งที่ 5/2554 วันที่ 19 ตุลาคม 2554 ซึ่งที่ประชุม ก.ต.ช. มีมติเห็นชอบ
สำหรับกรณีนี้ ศาลปกครองสูงสุดมีคำพิพากษาคดีหมายเลขดำ ที่ อ.992/2556 คดีหมายเลขแดงที่ อ. 33/2557 ลงวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2557 ว่า การแต่งตั้งโยกย้ายนายถวิล จากตำแหน่งเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ ให้มาดำรงตำแหน่งที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีฝ่ายข้าราชการประจำเป็นการลดบทบาท และอำนาจหน้าที่ลง โดยไม่แสดงเหตุผลที่ชอบด้วยกฎหมายและไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่านายถวิล ได้ปฏิบัติหน้าที่โดยไม่มีประสิทธิภาพ มีข้อบกพร่องหรือไม่สนองนโยบายของรัฐบาล ซึ่งถือได้ว่ามีเหตุผลสมควรที่ผู้บังคับบัญชาสามารถสั่งโอนได้ตามความเหมาะสม จึงถือว่าเป็นการใช้ดุลพินิจโดยมิชอบ เป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
นอกจากนี้ ศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำวินิจฉัยที่ 9/2557 เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2557 ว่า การกระทำของนางสาวยิ่งลักษณ์ เป็นการกระทำโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายเอื้อประโยชน์ให้ พลตำรวจเอก เพรียวพันธ์ ซึ่งเป็นเครือญาติ เข้ามาดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ การกระทำทั้งหมดมิได้เป็นไปเพื่อประโยชน์ของประเทศชาติ และของประชาชนแต่อย่างใด อันแสดงให้เห็นถึงการมีผลประโยชน์ทับซ้อนและมีวาระซ่อนเร้น ถือได้ว่าเป็นการกระทำโดยทุจริต การกระทำดังกล่าวเป็นเหตุให้นายถวิล ได้รับความเสียหาย และเป็นการกระทำเพื่อเอื้อประโยชน์แก่ พลตำรวจเอก เพรียวพันธ์ ซึ่งเป็นเครือญาติของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ให้ขึ้นมาดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
คณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้พิจารณาสำนวนการไต่สวนแล้วเห็นว่า การกระทำของนางสาวยิ่งลักษณ์ ผู้ถูกกล่าวหา มีมูลความผิดทางอาญา ฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริตตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 และฐานเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติอย่างใดในตำแหน่งหรือหน้าที่ หรือใช้อำนาจในตำแหน่งหรือหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ โดยทุจริตตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2554 มาตรา 123/1 ประกอบพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 มาตรา 192
ส่วนผู้ถูกกล่าวหาอื่นเห็นว่า ข้อกล่าวหาไม่มีมูล ให้ข้อกล่าวหาตกไป ให้ส่งรายงานสำนวนการไต่สวน เอกสาร พยานหลักฐาน และความเห็น พร้อมสำเนาอิเล็กทรอนิกส์ ไปยังอัยการสูงสุด เพื่อดำเนินการฟ้องคดีต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองกับนางสาวยิ่งลักษณ์ ตามฐานความผิดดังกล่าว ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 มาตรา 76 ต่อไป
ทั้งนี้ จากข้อเท็จจริงเมื่อปี พ.ศ. 2554 ขณะนายถวิล ดำรงตำแหน่งเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ เป็นหัวหน้าส่วนราชการระดับกรม ขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี มีอำนาจหน้าที่โดยตรงเกี่ยวกับกิจการความมั่นคงของประเทศ โดยเป็นที่ปรึกษาเสนอแนะนโยบาย มาตรการและแนวทางปฏิบัติด้านความมั่นคงแห่งชาติต่อสภาความมั่นคงแห่งชาติ โดยเมื่อวันที่ 4 กันยายน 2554 นางสาวยิ่งลักษณ์ ซึ่งดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีขณะนั้น ได้โทรศัพท์สั่งการให้สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ดำเนินการทำเรื่องขอรับโอนนายถวิล มาเป็นที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีฝ่ายข้าราชการประจำ จากนั้นสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีได้มีบันทึกข้อความลงวันที่ 4 กันยายน 2554 ถึงนางสาวกฤษณา สีหลักษณ์ ซึ่งดำรงรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีในขณะนั้น เพื่อขอความยินยอมรับโอน นายถวิล มาดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีฝ่ายข้าราชการประจำ และได้มีบันทึกข้อความ ลงวันที่ 4 กันยายน 2554 ถึงพลตำรวจเอก โกวิท วัฒนะ ซึ่งดำรงรองนายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ในฐานะรัฐมนตรีเจ้าสังกัดของสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ เพื่อให้ความเห็นชอบและยินยอมการโอนนายถวิล มาดำรงตำแหน่งที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีฝ่ายข้าราชการประจำ ซึ่งทั้งนางสาวกฤษณา และพลตำรวจเอกโกวิท ต่างให้ความเห็นชอบและยินยอมการโอนดังกล่าว และสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีได้นำเรื่องดังกล่าวเสนอต่อคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติ
กรณีดังกล่าว สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ตรวจพบว่าวันที่ 4 กันยายน 2554 เป็นวันอาทิตย์ ซึ่งเป็นวันหยุดราชการ จึงมีการแก้ไขบันทึกข้อความทั้งสองฉบับดังกล่าวเป็นวันที่ 5 กันยายน 2554 แต่เป็นการแก้ก่อนนำเสนอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณา จากนั้น วันที่ 6 กันยายน 2554 นางสาวยิ่งลักษณ์ ได้อนุมัติให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีเป็นวาระจร และในวันเดียวกัน คณะรัฐมนตรีมีการประชุมและลงมติรับทราบให้โอนนายถวิล มาดำรงตำแหน่งที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีฝ่ายข้าราชการประจำ ตามที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเสนอ จากนั้น นางสาวยิ่งลักษณ์ มีคำสั่งให้นายถวิล มาปฏิบัติราชการ ที่สำนักนายกรัฐมนตรี ในตำแหน่งดังกล่าวทันที ซึ่งการแต่งตั้งโยกย้ายดังกล่าว ดำเนินการอย่างเร่งรีบรวบรัดแล้วเสร็จภายใน 4 วัน เท่านั้น
จากนั้น วันที่ 4 ตุลาคม 2554 คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้ง พลตำรวจเอก วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี ให้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ และในวันที่ 19 ตุลาคม 2554 นางสาวยิ่งลักษณ์ ในฐานะประธานกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ (ก.ต.ช.) ได้เสนอชื่อพลตำรวจเอก เพรียวพันธ์ ดามาพงศ์ รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ที่จะเกษียณอายุราชการ วันที่ 30 กันยายน 2555 และเป็นเครือญาติของตนเอง ให้ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ แทนตำแหน่งที่ว่างลงต่อที่ประชุม ก.ต.ช. ในการประชุมครั้งที่ 5/2554 วันที่ 19 ตุลาคม 2554 ซึ่งที่ประชุม ก.ต.ช. มีมติเห็นชอบ
สำหรับกรณีนี้ ศาลปกครองสูงสุดมีคำพิพากษาคดีหมายเลขดำ ที่ อ.992/2556 คดีหมายเลขแดงที่ อ. 33/2557 ลงวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2557 ว่า การแต่งตั้งโยกย้ายนายถวิล จากตำแหน่งเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ ให้มาดำรงตำแหน่งที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีฝ่ายข้าราชการประจำเป็นการลดบทบาท และอำนาจหน้าที่ลง โดยไม่แสดงเหตุผลที่ชอบด้วยกฎหมายและไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่านายถวิล ได้ปฏิบัติหน้าที่โดยไม่มีประสิทธิภาพ มีข้อบกพร่องหรือไม่สนองนโยบายของรัฐบาล ซึ่งถือได้ว่ามีเหตุผลสมควรที่ผู้บังคับบัญชาสามารถสั่งโอนได้ตามความเหมาะสม จึงถือว่าเป็นการใช้ดุลพินิจโดยมิชอบ เป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
นอกจากนี้ ศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำวินิจฉัยที่ 9/2557 เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2557 ว่า การกระทำของนางสาวยิ่งลักษณ์ เป็นการกระทำโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายเอื้อประโยชน์ให้ พลตำรวจเอก เพรียวพันธ์ ซึ่งเป็นเครือญาติ เข้ามาดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ การกระทำทั้งหมดมิได้เป็นไปเพื่อประโยชน์ของประเทศชาติ และของประชาชนแต่อย่างใด อันแสดงให้เห็นถึงการมีผลประโยชน์ทับซ้อนและมีวาระซ่อนเร้น ถือได้ว่าเป็นการกระทำโดยทุจริต การกระทำดังกล่าวเป็นเหตุให้นายถวิล ได้รับความเสียหาย และเป็นการกระทำเพื่อเอื้อประโยชน์แก่ พลตำรวจเอก เพรียวพันธ์ ซึ่งเป็นเครือญาติของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ให้ขึ้นมาดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
คณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้พิจารณาสำนวนการไต่สวนแล้วเห็นว่า การกระทำของนางสาวยิ่งลักษณ์ ผู้ถูกกล่าวหา มีมูลความผิดทางอาญา ฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริตตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 และฐานเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติอย่างใดในตำแหน่งหรือหน้าที่ หรือใช้อำนาจในตำแหน่งหรือหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ โดยทุจริตตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2554 มาตรา 123/1 ประกอบพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 มาตรา 192
ส่วนผู้ถูกกล่าวหาอื่นเห็นว่า ข้อกล่าวหาไม่มีมูล ให้ข้อกล่าวหาตกไป ให้ส่งรายงานสำนวนการไต่สวน เอกสาร พยานหลักฐาน และความเห็น พร้อมสำเนาอิเล็กทรอนิกส์ ไปยังอัยการสูงสุด เพื่อดำเนินการฟ้องคดีต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองกับนางสาวยิ่งลักษณ์ ตามฐานความผิดดังกล่าว ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 มาตรา 76 ต่อไป