ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมชี้แจงว่า ตามที่มีข่าวปรากฏในสื่อต่างๆ เกี่ยวกับประเด็นเรื่อง กทม. สั่งยกเลิกด่านตรวจคัดกรองโควิด-19 โยกกำลังไปด่านเคอร์ฟิวแทน ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย กรมประชาสัมพันธ์ สำนักนายกรัฐมนตรี พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลจริง ✅
เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2563 ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวภายหลังการประชุมศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) กทม. ว่าเนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคโควิด-19 เป็นไปในทางที่ดีขึ้น
โดยวันที่ 29 เมษายน 2563 กทม. เสนอคณะกรรมการโรคติดต่อ กทม. เพื่อผ่อนปรนมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดกิจกรรมบางประเภท โดยสถานประกอบกิจการบางประเภทจะสามารถเปิดให้บริการประชาชนได้ แต่ต้องดำเนินมาตรการป้องกันและควบคุมตามที่คณะกรรมการควบคุมโรคติดต่อ กทม. กำหนด ซึ่งจำเป็นต้องจัดสรรกำลังพลตำรวจแต่ละท้องที่สำหรับตรวจติดตามการปฏิบัติของสถานประกอบกิจการดังกล่าวอย่างทั่วถึง
นอกจากนี้ กำลังพลบางส่วนจะมีการจัดสรรไปปฏิบัติภารกิจการตั้งด่านควบคุมการปฏิบัติตามมาตรการห้ามออกนอกเคหสถาน ตาม พ.ร.ก.สถานการณ์ฉุกเฉินฯ รวมถึงปฏิบัติหน้าที่อำนวยความสะดวก ดูแลความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ตลอดจนดูแลความเรียบร้อยการจัดระเบียบประชาชนในการรับ-แจกสิ่งของยังชีพด้วย จึงจำเป็นต้องยกเลิกด่านตรวจคัดกรองโควิด-19 ตั้งแต่เวลา 20.00 น. ของวันที่ 28 เมษายน 2563 เป็นต้นไป
โดยสอดคล้องกับมติที่ประชุมคณะรัฐมนตรีประกาศต่อระยะเวลาประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ช่วงสถานการณ์โควิด-19 ไปอีก 1 เดือน ระบุว่า กองบัญชาการตำรวจนครบาลได้ประชุมหารือร่วมกับ กทม. และได้รับมอบหมายให้ตำรวจตั้งชุดตรวจร่วมกับฝ่ายทหาร และเจ้าหน้าที่ กทม.พร้อมยกเลิกการตั้งด่านคัดกรองโรคตามรอยต่อ กทม. ปริมณฑล 7 ด่าน
เพื่อนำกำลังไปเพิ่มจำนวนด่านเคอร์ฟิวในที่ชุมชนกับชุดสายตรวจที่จะต้องมีจำนวนมากขึ้น เพื่อตรวจสอบผู้ที่กักกันโรคอยู่บ้าน ตรวจสอบสถานที่ที่ไม่ได้รับการผ่อนผัน ไม่ให้มีการลักลอบเปิด เฝ้าระวังการมั่วสุม ปาร์ตี้ หรือลักลอบเล่นการพนัน ส่วนสถานที่ที่ได้รับการผ่อนผันให้เปิดได้ จะต้องเข้าไปตรวจสอบว่าปฏิบัติตามเงื่อนไขและข้อกำหนดอย่างเคร่งครัดหรือไม่ หากไม่ปฏิบัติตาม ตำรวจจะสามารถจับกุมได้ทันทีในข้อหาฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉิน และตามคำสั่งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ให้ตำรวจนครบาลมีส่วนร่วมกับกรุงเทพมหานครในการจัดระเบียบผู้มารับสิ่งของบริจาค เพื่อลดความเสี่ยงการแพร่ระบาด ซึ่งถือเป็นภารกิจใหม่
ทั้งนี้ สำหรับเรื่องการผ่อนปรนมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดกิจกรรมบางประเภท ในวันที่ 29 เมษายน 2563 ปลัด กทม.ได้กล่าวถึงในส่วนผลการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ประจำด่านคัดกรองการเดินทางเข้าสู่ กทม. เพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด-19 ซึ่งเดิมมีการจัดตั้งด่านคัดกรองฯ ทั้งสิ้น 13 ด่าน ว่าปัจจุบันได้ยกเลิกการปฏิบัติแล้วทั้งหมด และสืบเนื่องจากที่ กทม.ได้เสนอคณะกรรมการโรคติดต่อ
กทม. กำหนดมาตรการควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด-19 เพื่อเตรียมผ่อนปรนให้กิจการ สถานที่ ร้านค้าบางประเภทสามารถประกอบการได้ อาทิ ร้านอาหาร ตลาด ร้านตัดผม ร้านเสริมสวย สนามกอล์ฟ สนามฝึกซ้อมกอล์ฟ สนามกีฬาเฉพาะชนิดที่มีการเว้นระยะห่าง ได้แก่ วิ่ง เทนนิส และแบดมินตัน สวนสาธารณะ ร้านตัดขนสัตว์ เป็นต้น
จึงขอให้สำนักงานเขตเตรียมวางแผนการตรวจตรากวดขันสถานที่ดังกล่าว โดยให้ประสานความร่วมมือกับกองบัญชาการตำรวจนครบาลและกองทัพภาคที่ 1 เพื่อร่วมกันดูแลให้สถานประกอบกิจการในพื้นที่ปฏิบัติตามมาตรการที่คณะกรรมการโรคติดต่อ กทม. กำหนดโดยเคร่งครัด เนื่องจากหากมีการแพร่ระบาดเพิ่มเติมภายหลังจากการผ่อนคลายมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดโรคโควิด-19 อาจมีความจำเป็นต้องยกเลิกมาตรการผ่อนปรน
เพื่อลดการสูญเสียและป้องกันไม่ให้มีการแพร่ระบาดลุกลามจนยากต่อการควบคุม ทั้งนี้ กทม. จะจัดทำวิดีโอตัวอย่างการปฏิบัติตามมาตรการผ่อนปรนของสถานที่ สถานประกอบการกิจการแต่ละประเภท เพื่อเผยแพร่สร้างความเข้าใจให้กับผู้ประกอบการและประชาชนอีกทางด้วย
เพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากทางภาครัฐที่ถูกต้อง เกี่ยวกับ พ.ร.ก. ฉุกเฉิน และสถานการณ์ COVID-19 สามารถติดตามได้ที่ ศูนย์บริหารสถานการณ์ โควิด-19 (ศบค.) เฟซบุ๊ก ศูนย์ข้อมูล COVID-19 หรือโทรสายด่วน 1111
เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2563 ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวภายหลังการประชุมศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) กทม. ว่าเนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคโควิด-19 เป็นไปในทางที่ดีขึ้น
โดยวันที่ 29 เมษายน 2563 กทม. เสนอคณะกรรมการโรคติดต่อ กทม. เพื่อผ่อนปรนมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดกิจกรรมบางประเภท โดยสถานประกอบกิจการบางประเภทจะสามารถเปิดให้บริการประชาชนได้ แต่ต้องดำเนินมาตรการป้องกันและควบคุมตามที่คณะกรรมการควบคุมโรคติดต่อ กทม. กำหนด ซึ่งจำเป็นต้องจัดสรรกำลังพลตำรวจแต่ละท้องที่สำหรับตรวจติดตามการปฏิบัติของสถานประกอบกิจการดังกล่าวอย่างทั่วถึง
นอกจากนี้ กำลังพลบางส่วนจะมีการจัดสรรไปปฏิบัติภารกิจการตั้งด่านควบคุมการปฏิบัติตามมาตรการห้ามออกนอกเคหสถาน ตาม พ.ร.ก.สถานการณ์ฉุกเฉินฯ รวมถึงปฏิบัติหน้าที่อำนวยความสะดวก ดูแลความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ตลอดจนดูแลความเรียบร้อยการจัดระเบียบประชาชนในการรับ-แจกสิ่งของยังชีพด้วย จึงจำเป็นต้องยกเลิกด่านตรวจคัดกรองโควิด-19 ตั้งแต่เวลา 20.00 น. ของวันที่ 28 เมษายน 2563 เป็นต้นไป
โดยสอดคล้องกับมติที่ประชุมคณะรัฐมนตรีประกาศต่อระยะเวลาประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ช่วงสถานการณ์โควิด-19 ไปอีก 1 เดือน ระบุว่า กองบัญชาการตำรวจนครบาลได้ประชุมหารือร่วมกับ กทม. และได้รับมอบหมายให้ตำรวจตั้งชุดตรวจร่วมกับฝ่ายทหาร และเจ้าหน้าที่ กทม.พร้อมยกเลิกการตั้งด่านคัดกรองโรคตามรอยต่อ กทม. ปริมณฑล 7 ด่าน
เพื่อนำกำลังไปเพิ่มจำนวนด่านเคอร์ฟิวในที่ชุมชนกับชุดสายตรวจที่จะต้องมีจำนวนมากขึ้น เพื่อตรวจสอบผู้ที่กักกันโรคอยู่บ้าน ตรวจสอบสถานที่ที่ไม่ได้รับการผ่อนผัน ไม่ให้มีการลักลอบเปิด เฝ้าระวังการมั่วสุม ปาร์ตี้ หรือลักลอบเล่นการพนัน ส่วนสถานที่ที่ได้รับการผ่อนผันให้เปิดได้ จะต้องเข้าไปตรวจสอบว่าปฏิบัติตามเงื่อนไขและข้อกำหนดอย่างเคร่งครัดหรือไม่ หากไม่ปฏิบัติตาม ตำรวจจะสามารถจับกุมได้ทันทีในข้อหาฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉิน และตามคำสั่งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ให้ตำรวจนครบาลมีส่วนร่วมกับกรุงเทพมหานครในการจัดระเบียบผู้มารับสิ่งของบริจาค เพื่อลดความเสี่ยงการแพร่ระบาด ซึ่งถือเป็นภารกิจใหม่
ทั้งนี้ สำหรับเรื่องการผ่อนปรนมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดกิจกรรมบางประเภท ในวันที่ 29 เมษายน 2563 ปลัด กทม.ได้กล่าวถึงในส่วนผลการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ประจำด่านคัดกรองการเดินทางเข้าสู่ กทม. เพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด-19 ซึ่งเดิมมีการจัดตั้งด่านคัดกรองฯ ทั้งสิ้น 13 ด่าน ว่าปัจจุบันได้ยกเลิกการปฏิบัติแล้วทั้งหมด และสืบเนื่องจากที่ กทม.ได้เสนอคณะกรรมการโรคติดต่อ
กทม. กำหนดมาตรการควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด-19 เพื่อเตรียมผ่อนปรนให้กิจการ สถานที่ ร้านค้าบางประเภทสามารถประกอบการได้ อาทิ ร้านอาหาร ตลาด ร้านตัดผม ร้านเสริมสวย สนามกอล์ฟ สนามฝึกซ้อมกอล์ฟ สนามกีฬาเฉพาะชนิดที่มีการเว้นระยะห่าง ได้แก่ วิ่ง เทนนิส และแบดมินตัน สวนสาธารณะ ร้านตัดขนสัตว์ เป็นต้น
จึงขอให้สำนักงานเขตเตรียมวางแผนการตรวจตรากวดขันสถานที่ดังกล่าว โดยให้ประสานความร่วมมือกับกองบัญชาการตำรวจนครบาลและกองทัพภาคที่ 1 เพื่อร่วมกันดูแลให้สถานประกอบกิจการในพื้นที่ปฏิบัติตามมาตรการที่คณะกรรมการโรคติดต่อ กทม. กำหนดโดยเคร่งครัด เนื่องจากหากมีการแพร่ระบาดเพิ่มเติมภายหลังจากการผ่อนคลายมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดโรคโควิด-19 อาจมีความจำเป็นต้องยกเลิกมาตรการผ่อนปรน
เพื่อลดการสูญเสียและป้องกันไม่ให้มีการแพร่ระบาดลุกลามจนยากต่อการควบคุม ทั้งนี้ กทม. จะจัดทำวิดีโอตัวอย่างการปฏิบัติตามมาตรการผ่อนปรนของสถานที่ สถานประกอบการกิจการแต่ละประเภท เพื่อเผยแพร่สร้างความเข้าใจให้กับผู้ประกอบการและประชาชนอีกทางด้วย
เพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากทางภาครัฐที่ถูกต้อง เกี่ยวกับ พ.ร.ก. ฉุกเฉิน และสถานการณ์ COVID-19 สามารถติดตามได้ที่ ศูนย์บริหารสถานการณ์ โควิด-19 (ศบค.) เฟซบุ๊ก ศูนย์ข้อมูล COVID-19 หรือโทรสายด่วน 1111