ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม เปิดเผยกรณีที่มีข่าวเกี่ยวกับการขยาย พ.ร.ก.ฉุกเฉิน เงินหมดคลัง ประกันสังคมเอาเงินออกมาใช้หมดจนต้องตัดงบฯ 30 บาทรักษาทุกโรค เลื่อนออกหวยเพราะไม่มีเงินจ่ายรางวัลนั้น จากตรวจสอบข้อเท็จจริง โดยกรมประชาสัมพันธ์ สำนักนายกรัฐมนตรี พบว่า เป็นข้อมูลบิดเบือน
ทั้งนี้ กรมประชาสัมพันธ์ สำนักนายกรัฐมนตรี ชี้แจงถึงข่าวการขยาย พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ว่า ยังไม่มีประกาศอย่างเป็นทางการที่เป็นมติจากคณะรัฐมนตรี ซึ่งทั้งหมดยังเป็นเพียงแนวคิด และเป็นมติในที่ประชุมของ ศบค.เท่านั้น โดยจะมีการนำเรื่องเสนอต่อที่ประชุม ครม.ในวันพรุ่งนี้ (28 เม.ย.)
ส่วนประเด็นเรื่องเงินหมดคลัง เงินประกันสังคมใช้หมด ตัดงบฯ 30 บาท และการเลื่อนออกหวยนั้น ไม่มีความเกี่ยวข้องกับการขยาย พ.ร.ก.ฉุกเฉิน แต่อย่างใด โดยข้อเท็จจริงเป็นตามนี้
1. เงินยังไม่หมดคลัง แต่จากนโยบายจ่ายเงินเยียวยา 5,000 บาท ทำให้รัฐบาลต้องปรับแผนการก่อหนี้ใหม่ จากเดิมรัฐบาลมีแผนกู้เงินในช่วงเวลาที่เหลือของปีงบประมาณ 2563 ราว 8.94 แสนล้านบาท เพิ่มเป็น 1.497 ล้านล้านบาท โดยส่วนที่เพิ่มขึ้นมานี้เป็นเงินจาก พ.ร.ก. กู้เงิน
2. เงินประกันสังคมมีเพียงพอกับการจ่ายเงินเยียวยากรณีว่างงานของผู้ประกันตน มาตรา 33 ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ได้เสร็จสิ้นถึงเดือนสิงหาคมนี้ พร้อมเตือนนายจ้างให้รีบลงทะเบียนรับรองการว่างงานให้กับลูกจ้างที่ยังคงค้างอยู่ราว 4 แสนคน เพื่อให้ได้รับเงินเยียวยาช่วงว่างงานอย่างทั่วถึง
3. ไม่มีการตัดงบประมาณในส่วนของบัตรทองหรือ 30 บาทรักษาทุกโรค จำนวนกว่า 2 พันล้านบาท เพื่อช่วยเหลือเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 แน่นอน แต่งบประมาณของกระทรวงสาธารณสุขที่ถูกตัดนั้น เป็นเพียงในส่วนของการจัดซื้อครุภัณฑ์ และงบก่อสร้างที่ยังไม่เซ็นสัญญา
4. การเลื่อนออกหวยเป็นวันที่ 16 พฤษภาคมนั้น ไม่ใช่เพราะรัฐบาลไม่มีเงินจ่ายรางวัล แต่เพื่อป้องกัน และลดโอกาสเสี่ยงในการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 เพราะหากรัฐบาลให้ออกรางวัลตามเดิม อาจเป็นการกระตุ้นให้คนขายลอตเตอรี่ออกมาเดินขายตามสถานที่ต่างๆ จนเกิดการรวมกลุ่ม และเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของโรคเพิ่ม
ทั้งนี้ กรมประชาสัมพันธ์ สำนักนายกรัฐมนตรี ชี้แจงถึงข่าวการขยาย พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ว่า ยังไม่มีประกาศอย่างเป็นทางการที่เป็นมติจากคณะรัฐมนตรี ซึ่งทั้งหมดยังเป็นเพียงแนวคิด และเป็นมติในที่ประชุมของ ศบค.เท่านั้น โดยจะมีการนำเรื่องเสนอต่อที่ประชุม ครม.ในวันพรุ่งนี้ (28 เม.ย.)
ส่วนประเด็นเรื่องเงินหมดคลัง เงินประกันสังคมใช้หมด ตัดงบฯ 30 บาท และการเลื่อนออกหวยนั้น ไม่มีความเกี่ยวข้องกับการขยาย พ.ร.ก.ฉุกเฉิน แต่อย่างใด โดยข้อเท็จจริงเป็นตามนี้
1. เงินยังไม่หมดคลัง แต่จากนโยบายจ่ายเงินเยียวยา 5,000 บาท ทำให้รัฐบาลต้องปรับแผนการก่อหนี้ใหม่ จากเดิมรัฐบาลมีแผนกู้เงินในช่วงเวลาที่เหลือของปีงบประมาณ 2563 ราว 8.94 แสนล้านบาท เพิ่มเป็น 1.497 ล้านล้านบาท โดยส่วนที่เพิ่มขึ้นมานี้เป็นเงินจาก พ.ร.ก. กู้เงิน
2. เงินประกันสังคมมีเพียงพอกับการจ่ายเงินเยียวยากรณีว่างงานของผู้ประกันตน มาตรา 33 ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ได้เสร็จสิ้นถึงเดือนสิงหาคมนี้ พร้อมเตือนนายจ้างให้รีบลงทะเบียนรับรองการว่างงานให้กับลูกจ้างที่ยังคงค้างอยู่ราว 4 แสนคน เพื่อให้ได้รับเงินเยียวยาช่วงว่างงานอย่างทั่วถึง
3. ไม่มีการตัดงบประมาณในส่วนของบัตรทองหรือ 30 บาทรักษาทุกโรค จำนวนกว่า 2 พันล้านบาท เพื่อช่วยเหลือเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 แน่นอน แต่งบประมาณของกระทรวงสาธารณสุขที่ถูกตัดนั้น เป็นเพียงในส่วนของการจัดซื้อครุภัณฑ์ และงบก่อสร้างที่ยังไม่เซ็นสัญญา
4. การเลื่อนออกหวยเป็นวันที่ 16 พฤษภาคมนั้น ไม่ใช่เพราะรัฐบาลไม่มีเงินจ่ายรางวัล แต่เพื่อป้องกัน และลดโอกาสเสี่ยงในการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 เพราะหากรัฐบาลให้ออกรางวัลตามเดิม อาจเป็นการกระตุ้นให้คนขายลอตเตอรี่ออกมาเดินขายตามสถานที่ต่างๆ จนเกิดการรวมกลุ่ม และเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของโรคเพิ่ม