นายศรีสุวรรณ จรรยา นายกสมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน เปิดเผยว่า ได้รับการร้องเรียนจากประชาชนที่ได้รับผลกระทบทางเสียงจากโครงการก่อสร้างสนามบินสุวรรณภูมิ เฟสที่ 1 ทั้งด้านเหนือและใต้ของสนามบิน ว่า พวกตนยังคงได้รับความเดือดร้อนและเสียหายอย่างมากจากการประกอบการของสนามบินตั้งแต่วันที่เปิดทำการมาจนถึงปัจจุบัน โดยที่ยังไม่ได้รับการเยียวยาที่เหมาะสม ตามที่รัฐธรรมนูญ 2560 มาตรา 58 วรรคสาม บัญญัติไว้แต่อย่างใด ซึ่งตัวแทนของประชาชนที่เดือดร้อนและเสียหายดังกล่าวพยายามที่จะยื่นข้อเรียกร้องให้ทางคณะกรรมการบอร์ดและผู้บริหาร บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) และกระทรวงคมนาคม ให้ดำเนินการเยียวยาให้เสร็จสิ้นโดยเร็วแล้วก็ตาม แต่ทว่ากลับไม่ได้รับการตอบสนองให้เป็นไปตามข้อเสนอแต่อย่างใด ในทางกลับกันกลับมีความพยายามที่จะขยายสนามบินสุวรรณภูมิออกไปอีกในเฟสที่ 2-3 โดยเฉพาะการสร้างรันเวย์ที่ 3 ซึ่งจะก่อให้เกิดผลกระทบอย่างรุนแรงเพิ่มมากขึ้น โดยที่การดำเนินการตามมาตรการและเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ยังดำเนินการยังไม่ครบถ้วนแต่อย่างใด
ดังนั้น การที่ ทอท. กระทรวงคมนาคม และรัฐบาลจะมาดำเนินการขยายโครงการสนามบินสุวรรณภูมิออกไปเป็นเฟสที่ 2 อีก จึงเป็นการดำเนินการที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เนื่องจากยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น ตามมาตรการที่กำหนดไว้ในเฟสที่ 1 ยังไม่แล้วเสร็จ
ด้วยเหตุดังกล่าวสมาคมฯ และตัวแทนชาวบ้านจึงมีข้อเสนอมายังคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ เพื่อได้มีมติสั่งการไปยังบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) เพิ่มเติมข้อเรียกร้องของประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากสนามบินสุวรรณภูมิจำนวน 3 ข้อ ลงในรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (EHIA) ฉบับใหม่ คือ 1) กลุ่มบ้านเรือนประชาชนที่ได้รับผลกระทบทางเสียงที่อยู่ในแนวเส้นเสียง NEF 30-40 ในเฟสที่ 1 ที่ต้องการขาย จำนวน 75 หลังคาเรือน ให้เร่งเจรจาซื้อโดยเร็ว 2) ในกรณีที่ผู้ได้รับผลกระทบฯ ไม่ได้รับความเป็นธรรมจากการชดเชยปรับปรุงหรือซื้อขายกับ ทอท. ขอให้มีคนกลาง หรืออนุญาโตตุลาการ เข้ามาดูแลในเรื่องของราคาชดเชยปรับปรุงบ้านและราคาซื้อขายบ้าน 3) ขอให้ชดเชยเยียวยาประชาชนที่ได้รับผลกระทบทางเสียงที่มีบ้านเรือนตั้งอยู่ระหว่างรันเวย์ที่ 1 และรันเวย์ที่ 2 หรือเรียกว่า "ช่องว่างหูกระต่าย" ทั้งฝั่งทิศเหนือและใต้ของสนามบินสุวรรณภูมิ เพราะในการบินของนักบินสายการบินต่างๆ นั้น มีการบินนอกเส้นเสียงอยู่เป็นประจำ โดยสมาคมฯ และชาวบ้านจะเดินทางไปยื่นข้อเรียกร้องต่อคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ในวันจันทร์ที่ 23 มีนาคมนี้ เวลา 10.30 น. ณ สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซ.พิบูลวัฒนา 7 ถ.พระราม 6 พญาไท กรุงเทพมหานคร
ดังนั้น การที่ ทอท. กระทรวงคมนาคม และรัฐบาลจะมาดำเนินการขยายโครงการสนามบินสุวรรณภูมิออกไปเป็นเฟสที่ 2 อีก จึงเป็นการดำเนินการที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เนื่องจากยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น ตามมาตรการที่กำหนดไว้ในเฟสที่ 1 ยังไม่แล้วเสร็จ
ด้วยเหตุดังกล่าวสมาคมฯ และตัวแทนชาวบ้านจึงมีข้อเสนอมายังคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ เพื่อได้มีมติสั่งการไปยังบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) เพิ่มเติมข้อเรียกร้องของประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากสนามบินสุวรรณภูมิจำนวน 3 ข้อ ลงในรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (EHIA) ฉบับใหม่ คือ 1) กลุ่มบ้านเรือนประชาชนที่ได้รับผลกระทบทางเสียงที่อยู่ในแนวเส้นเสียง NEF 30-40 ในเฟสที่ 1 ที่ต้องการขาย จำนวน 75 หลังคาเรือน ให้เร่งเจรจาซื้อโดยเร็ว 2) ในกรณีที่ผู้ได้รับผลกระทบฯ ไม่ได้รับความเป็นธรรมจากการชดเชยปรับปรุงหรือซื้อขายกับ ทอท. ขอให้มีคนกลาง หรืออนุญาโตตุลาการ เข้ามาดูแลในเรื่องของราคาชดเชยปรับปรุงบ้านและราคาซื้อขายบ้าน 3) ขอให้ชดเชยเยียวยาประชาชนที่ได้รับผลกระทบทางเสียงที่มีบ้านเรือนตั้งอยู่ระหว่างรันเวย์ที่ 1 และรันเวย์ที่ 2 หรือเรียกว่า "ช่องว่างหูกระต่าย" ทั้งฝั่งทิศเหนือและใต้ของสนามบินสุวรรณภูมิ เพราะในการบินของนักบินสายการบินต่างๆ นั้น มีการบินนอกเส้นเสียงอยู่เป็นประจำ โดยสมาคมฯ และชาวบ้านจะเดินทางไปยื่นข้อเรียกร้องต่อคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ในวันจันทร์ที่ 23 มีนาคมนี้ เวลา 10.30 น. ณ สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซ.พิบูลวัฒนา 7 ถ.พระราม 6 พญาไท กรุงเทพมหานคร