ตามที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ทรงมีพระราชดำริให้ตั้งโครงการราชทัณฑ์ ปันสุข ทำความ ดี เพื่อชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ขึ้น ด้วยทรงพระเมตตาต่อผู้ต้องขังในเรือนจำ และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชดำเนิน พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินี ไปทรงเปิดโครงการ ณ ทัณฑสถานโรงพยาบาลราชทัณฑ์อันเป็นปฐมฤกษ์ของการดำเนินโครงการ เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2562 โดยในเป้าหมายโครงการกำหนดไว้ที่จะพระราชทานเครื่องมือแพทย์และส่งเสริมให้เกิดกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในเรือนจำ ๒๕ แห่ง และพระราชทานรถเอกซเรย์ให้กับโรงพยาบาลเขต จำนวน 12 แห่ง
วันนี้ 16 มีนาคม 2563เวลา 14.00 น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา เสด็จแทนพระองค์ไปพระราชทานเครื่องมือแพทย์ คุรุภัณฑ์และอุปกรณ์การแพทย์ ตามโครงการราชทัณฑ์ ปันสุข ทำความ ดี เพื่อชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ให้แก่ทัณฑสถานหญิงธนบุรี และทัณฑสถานบำบัดพิเศษหญิง ณ ทัณฑสถานหญิงธนบุรี
สำหรับการเสด็จแทนพระองค์ ณ ทัณฑสถานหญิงธนบุรี ในวันนี้ถือเป็นเรือนจำเป้าหมายแห่งที่ 21 ซึ่งยังคงดำเนินกิจกรรมต่างๆ ตามที่กำหนดไว้ โดยได้พระราชทานเครื่องมือแพทย์แก่ ผู้อำนวยการทัณฑสถานหญิงธนบุรี และผู้อำนวยการทัณฑสถานบำบัดพิเศษหญิง พระราชทานหนังสือเพื่อใส่ในมุมสุขภาพ ราชทัณฑ์ปันสุข แก่หัวหน้าสถานพยาบาลทัณฑสถานหญิงธนบุรี และหัวหน้าสถานพยาบาลทัณฑสถานบำบัดพิเศษหญิง พระราชทานวีดิทัศน์แก่ผู้แทนอาสาสมัครสาธารณสุขในเรือนจำ 2 แห่ง
ในการนี้ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา ทรงเปิดแพรคลุมป้าย “มุมสุขภาพ ราชทัณฑ์ ปันสุข” ในสถานพยาบาล และทอดพระเนตรภายใน “มุมสุขภาพ ราชทัณฑ์ ปันสุข” ทอดพระเนตรเครื่องมือแพทย์พระราชทาน เสด็จไปยังอาคารเรือนนอนชั้น 2 ทอดพระเนตรการสาธิตของ อสรจ. : การจำกัดพฤติกรรมผู้ต้องขังที่มีอาการก้าวร้าวรุนแรง พระราชทานของเยี่ยมผู้ต้องขังป่วย จำนวน 3 ราย พระราชทานถุงพระราชทานแก่ผู้ต้องขังชรา จำนวน 22 ราย เสด็จไปยังห้องทันตกรรมและห้องตรวจตา ทอดพระเนตรการสาธิต
การทำฟัน ทอดพระเนตรการสาธิตการตรวจตา เสด็จไปยังห้องบริบาลทารก พระราชทานของเยี่ยมผู้ต้องขังตั้งครรภ์ จำนวน 4 ราย และเด็กติดผู้ต้องขัง จำนวน 6 ราย เสด็จไปยังบริเวณจัดนิทรรศการ ทอดพระเนตรนิทรรศการโครงการราชทัณฑ์ปันสุขฯ นิทรรศการจิตอาสา เราทำความดี เพื่อชาติ ศาสน์ กษัตริย์ เสด็จไปยังลานกิจกรรมเรือนนอนหญิง 1 ทอดและเสด็จไปยังห้องคลินิกจิตสังคม ทอดพระเนตรการสาธิตภายในห้องคลินิกจิตสังคม จากนั้นเสด็จไปยังบริเวณฝึกวิชาชีพ ทอดพระเนตรการฝึกวิชาชีพ สมควรแก่เวลาจึงประทับรถยนต์ที่นั่ง เสด็จกลับ
สำหรับทัณฑสถานหญิงธนบุรีซึ่งเป็นเรือนจำที่คุมขังผู้ต้องขังหญิงสามารถควบคุมผู้ต้องขังหญิงในอัตราโทษสูงสุด และหากอัตราโทษเกินจะต้องส่งไปคุมขังณ ทัณฑสถานหญิงกลาง หรือเรือนจำที่มีอัตราโทษสูงใน3 มิภาค ทัณฑสถานหญิงธนบุรีมีบริเวณที่ค่อนข้างคับแคบ
มีผู้ต้องขังป่วยด้วยโรคเรื้อรัง รวมจำนวน 154 คน แต่ด้วยพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินี ที่พระราชทานโครงการราชทัณฑ์ปันสุข ทำให้เกิดการจัดระบบภายในเรือนจำเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพของผู้ต้องขังที่แม้จะมีพื้นที่จำกัดเช่น กำหนดให้มีการออกกำลังกายทุกวันๆละ 2 ครั้ง ในช่วงสายและช่วงบ่าย
นอกจากกิจกรรมเกี่ยวกับเรื่องสุขภาพทางกายแล้ว ยังมีคลินิกจิตสังคมซึ่งเป็นเรื่องการสร้างเสริมสุขภาพทางจิตและใจในกระบวนการยุติธรรม ซึ่งเป็นโครงการที่เกิดจากการร่วมมือของ 11 หน่วยงาน ประกอบด้วย 1. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.), 2. กรมสุขภาพจิตและกรมการแพทย์, 3. สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.), 4. สำนักงานศาลยุติธรรม, 5. กรมคุมประพฤติ, 6. กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว, 7. ศาลจังหวัดปทุมธานี, 8. ศาลจังหวัดตลิ่งชัน, 9. ศาลอาญาธนบุรี, 10. ศาลจังหวัดนนทบุรี, และ 11. ศาลจังหวัดเชียงใหม่ ในการนำผู้ต้องโทษคดีลหุโทษอย่างการใช้ยาเสพติดและความรุนแรง มาปรับทัศนคติดูแลสุขภาพจิตใจเพื่อลดทอนความตึงเครียด ผ่านหลักสูตรการให้คำปรึกษาที่ออกแบบโดยสถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์ ได้แก่
การจัดการภาวะเสพติด การให้คำปรึกษาครอบครัว และการให้คำปรึกษาแบบกลุ่ม พร้อมมีอาสาสมัคร
ที่รับบทบาทเป็นผู้เอื้ออำนวย และกระตุ้นให้ผู้ต้องหาสำรวจแรงจูงใจในการก่อคดี ตลอดจนเป็นผู้แนะแนวทางชีวิตโดยการถามถึงเป้าหมาย และเส้นทางการดำเนินชีวิตของผู้ต้องหา เพื่อนำพวกเขากลับเข้าสู่สังคม มีการศึกษา อาชีพและสวัสดิการที่เท่าเทียมกันกับคนอื่นๆ รวมทั้งยังมีบทบาทเป็นผู้ให้ความรู้ด้านสุขภาพจิต (Psycho-Educator) เพื่อให้ผู้รับคำปรึกษาเข้าถึงบริการสุขภาพกรณีที่ผู้ให้คำปรึกษาเห็นว่ามีปัญหาสุขภาพเกินขีดความสามารถของคลินิกจิตสังคมแล้ว
การดำเนินโครงการคลีนิคจิตสังคมเป็นการเปลี่ยนวิธีคิดของระบบยุติธรรมในสังคมไทยกล่าวคือต้องมี Human touch คือต้องให้ความรู้สึกว่า ผู้กระทำผิดก็เป็นคน มีความสามารถในการจัดการชีวิตและเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมได้ สังคมทั่วไปต้องพยายามเข้าใจด้วยว่าคนทุกคนทำผิดพลาดได้ คนกลุ่มนี้จะถูกตีตราและเลือกปฏิบัติตลอดเวลา จะไม่ได้รับความเข้าอกเข้าใจ ความเมตตาจากคนส่วนใหญ่ เพราะคิดว่าคนเหล่านี้ก็สมควรแล้วที่จะเข้าไปใช้ชีวิตอยู่ในเรือนจำ
ผู้ที่จะเข้าร่วมในคลินิกจิตสังคมได้มี 4 กรณี ได้แก่ 1) ผู้ต้องหาที่อยู่ระหว่างการสอบสวนในคดีที่เสพสารเสพติด ครอบครองสารเสพติดจำนวนเล็กน้อย หรือขับขี่และเสพสารเสพติดหรือสุรา รวมทั้งผู้ต้องหาในคดีความรุนแรงในครอบครัวหรือคดีอาญาอื่นที่มีโทษไม่ร้ายแรง และศาลพิจารณาให้ประกันตัว โดยศาลจะกำหนดเงื่อนไขให้ผู้ต้องหาเข้ารับคำปรึกษาที่คลินิกให้คำปรึกษาด้านจิตสังคมด้วย 2) จำเลยที่ได้รับการประกันตัวและอยู่ระหว่างการพิจารณาคดีของศาล ถ้าศาลเห็นสมควร โดยเฉพาะในคดีที่จำเลยอายุน้อย และก่อเหตุกระทำความผิดอันเนื่องจากความประพฤติ เช่น การทำร้ายร่างกาย การกระทำความผิดเนื่องจากการเสพสุรา/ยาเสพติด โดยศาลจะมีคำสั่งให้เข้ารับคำปรึกษาระหว่างพิจารณาคดี 3) จำเลยที่ศาลมีคำพิพากษาให้รอการลงโทษและกำหนดเงื่อนไขคุมประพฤติ ถ้าศาลเห็นสมควรให้มีการแก้ไขฟื้นฟูพฤติกรรมที่เสื่อมเสียของจำเลย ศาลอาจกำหนดให้จำเลยเข้ารับคำปรึกษาที่คลินิก ตามระยะเวลาที่เห็นสมควร เช่น 2 หรือ 3 เดือนต่อครั้ง เป็นเวลา 1 หรือ 2 ปี แล้วแต่กรณี และ 4) ผู้ที่สมัครใจเข้ารับคำปรึกษาเอง ส่วนใหญ่จะเป็นบิดามารดาหรือญาติที่นำบุตรหลานมาเข้ารับคำปรึกษาเนื่องจากไปใช้ยาเสพติด หรือเป็นผู้เสียหายในคดีความรุนแรงในครอบครัว
วันนี้ 16 มีนาคม 2563เวลา 14.00 น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา เสด็จแทนพระองค์ไปพระราชทานเครื่องมือแพทย์ คุรุภัณฑ์และอุปกรณ์การแพทย์ ตามโครงการราชทัณฑ์ ปันสุข ทำความ ดี เพื่อชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ให้แก่ทัณฑสถานหญิงธนบุรี และทัณฑสถานบำบัดพิเศษหญิง ณ ทัณฑสถานหญิงธนบุรี
สำหรับการเสด็จแทนพระองค์ ณ ทัณฑสถานหญิงธนบุรี ในวันนี้ถือเป็นเรือนจำเป้าหมายแห่งที่ 21 ซึ่งยังคงดำเนินกิจกรรมต่างๆ ตามที่กำหนดไว้ โดยได้พระราชทานเครื่องมือแพทย์แก่ ผู้อำนวยการทัณฑสถานหญิงธนบุรี และผู้อำนวยการทัณฑสถานบำบัดพิเศษหญิง พระราชทานหนังสือเพื่อใส่ในมุมสุขภาพ ราชทัณฑ์ปันสุข แก่หัวหน้าสถานพยาบาลทัณฑสถานหญิงธนบุรี และหัวหน้าสถานพยาบาลทัณฑสถานบำบัดพิเศษหญิง พระราชทานวีดิทัศน์แก่ผู้แทนอาสาสมัครสาธารณสุขในเรือนจำ 2 แห่ง
ในการนี้ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา ทรงเปิดแพรคลุมป้าย “มุมสุขภาพ ราชทัณฑ์ ปันสุข” ในสถานพยาบาล และทอดพระเนตรภายใน “มุมสุขภาพ ราชทัณฑ์ ปันสุข” ทอดพระเนตรเครื่องมือแพทย์พระราชทาน เสด็จไปยังอาคารเรือนนอนชั้น 2 ทอดพระเนตรการสาธิตของ อสรจ. : การจำกัดพฤติกรรมผู้ต้องขังที่มีอาการก้าวร้าวรุนแรง พระราชทานของเยี่ยมผู้ต้องขังป่วย จำนวน 3 ราย พระราชทานถุงพระราชทานแก่ผู้ต้องขังชรา จำนวน 22 ราย เสด็จไปยังห้องทันตกรรมและห้องตรวจตา ทอดพระเนตรการสาธิต
การทำฟัน ทอดพระเนตรการสาธิตการตรวจตา เสด็จไปยังห้องบริบาลทารก พระราชทานของเยี่ยมผู้ต้องขังตั้งครรภ์ จำนวน 4 ราย และเด็กติดผู้ต้องขัง จำนวน 6 ราย เสด็จไปยังบริเวณจัดนิทรรศการ ทอดพระเนตรนิทรรศการโครงการราชทัณฑ์ปันสุขฯ นิทรรศการจิตอาสา เราทำความดี เพื่อชาติ ศาสน์ กษัตริย์ เสด็จไปยังลานกิจกรรมเรือนนอนหญิง 1 ทอดและเสด็จไปยังห้องคลินิกจิตสังคม ทอดพระเนตรการสาธิตภายในห้องคลินิกจิตสังคม จากนั้นเสด็จไปยังบริเวณฝึกวิชาชีพ ทอดพระเนตรการฝึกวิชาชีพ สมควรแก่เวลาจึงประทับรถยนต์ที่นั่ง เสด็จกลับ
สำหรับทัณฑสถานหญิงธนบุรีซึ่งเป็นเรือนจำที่คุมขังผู้ต้องขังหญิงสามารถควบคุมผู้ต้องขังหญิงในอัตราโทษสูงสุด และหากอัตราโทษเกินจะต้องส่งไปคุมขังณ ทัณฑสถานหญิงกลาง หรือเรือนจำที่มีอัตราโทษสูงใน3 มิภาค ทัณฑสถานหญิงธนบุรีมีบริเวณที่ค่อนข้างคับแคบ
มีผู้ต้องขังป่วยด้วยโรคเรื้อรัง รวมจำนวน 154 คน แต่ด้วยพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินี ที่พระราชทานโครงการราชทัณฑ์ปันสุข ทำให้เกิดการจัดระบบภายในเรือนจำเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพของผู้ต้องขังที่แม้จะมีพื้นที่จำกัดเช่น กำหนดให้มีการออกกำลังกายทุกวันๆละ 2 ครั้ง ในช่วงสายและช่วงบ่าย
นอกจากกิจกรรมเกี่ยวกับเรื่องสุขภาพทางกายแล้ว ยังมีคลินิกจิตสังคมซึ่งเป็นเรื่องการสร้างเสริมสุขภาพทางจิตและใจในกระบวนการยุติธรรม ซึ่งเป็นโครงการที่เกิดจากการร่วมมือของ 11 หน่วยงาน ประกอบด้วย 1. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.), 2. กรมสุขภาพจิตและกรมการแพทย์, 3. สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.), 4. สำนักงานศาลยุติธรรม, 5. กรมคุมประพฤติ, 6. กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว, 7. ศาลจังหวัดปทุมธานี, 8. ศาลจังหวัดตลิ่งชัน, 9. ศาลอาญาธนบุรี, 10. ศาลจังหวัดนนทบุรี, และ 11. ศาลจังหวัดเชียงใหม่ ในการนำผู้ต้องโทษคดีลหุโทษอย่างการใช้ยาเสพติดและความรุนแรง มาปรับทัศนคติดูแลสุขภาพจิตใจเพื่อลดทอนความตึงเครียด ผ่านหลักสูตรการให้คำปรึกษาที่ออกแบบโดยสถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์ ได้แก่
การจัดการภาวะเสพติด การให้คำปรึกษาครอบครัว และการให้คำปรึกษาแบบกลุ่ม พร้อมมีอาสาสมัคร
ที่รับบทบาทเป็นผู้เอื้ออำนวย และกระตุ้นให้ผู้ต้องหาสำรวจแรงจูงใจในการก่อคดี ตลอดจนเป็นผู้แนะแนวทางชีวิตโดยการถามถึงเป้าหมาย และเส้นทางการดำเนินชีวิตของผู้ต้องหา เพื่อนำพวกเขากลับเข้าสู่สังคม มีการศึกษา อาชีพและสวัสดิการที่เท่าเทียมกันกับคนอื่นๆ รวมทั้งยังมีบทบาทเป็นผู้ให้ความรู้ด้านสุขภาพจิต (Psycho-Educator) เพื่อให้ผู้รับคำปรึกษาเข้าถึงบริการสุขภาพกรณีที่ผู้ให้คำปรึกษาเห็นว่ามีปัญหาสุขภาพเกินขีดความสามารถของคลินิกจิตสังคมแล้ว
การดำเนินโครงการคลีนิคจิตสังคมเป็นการเปลี่ยนวิธีคิดของระบบยุติธรรมในสังคมไทยกล่าวคือต้องมี Human touch คือต้องให้ความรู้สึกว่า ผู้กระทำผิดก็เป็นคน มีความสามารถในการจัดการชีวิตและเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมได้ สังคมทั่วไปต้องพยายามเข้าใจด้วยว่าคนทุกคนทำผิดพลาดได้ คนกลุ่มนี้จะถูกตีตราและเลือกปฏิบัติตลอดเวลา จะไม่ได้รับความเข้าอกเข้าใจ ความเมตตาจากคนส่วนใหญ่ เพราะคิดว่าคนเหล่านี้ก็สมควรแล้วที่จะเข้าไปใช้ชีวิตอยู่ในเรือนจำ
ผู้ที่จะเข้าร่วมในคลินิกจิตสังคมได้มี 4 กรณี ได้แก่ 1) ผู้ต้องหาที่อยู่ระหว่างการสอบสวนในคดีที่เสพสารเสพติด ครอบครองสารเสพติดจำนวนเล็กน้อย หรือขับขี่และเสพสารเสพติดหรือสุรา รวมทั้งผู้ต้องหาในคดีความรุนแรงในครอบครัวหรือคดีอาญาอื่นที่มีโทษไม่ร้ายแรง และศาลพิจารณาให้ประกันตัว โดยศาลจะกำหนดเงื่อนไขให้ผู้ต้องหาเข้ารับคำปรึกษาที่คลินิกให้คำปรึกษาด้านจิตสังคมด้วย 2) จำเลยที่ได้รับการประกันตัวและอยู่ระหว่างการพิจารณาคดีของศาล ถ้าศาลเห็นสมควร โดยเฉพาะในคดีที่จำเลยอายุน้อย และก่อเหตุกระทำความผิดอันเนื่องจากความประพฤติ เช่น การทำร้ายร่างกาย การกระทำความผิดเนื่องจากการเสพสุรา/ยาเสพติด โดยศาลจะมีคำสั่งให้เข้ารับคำปรึกษาระหว่างพิจารณาคดี 3) จำเลยที่ศาลมีคำพิพากษาให้รอการลงโทษและกำหนดเงื่อนไขคุมประพฤติ ถ้าศาลเห็นสมควรให้มีการแก้ไขฟื้นฟูพฤติกรรมที่เสื่อมเสียของจำเลย ศาลอาจกำหนดให้จำเลยเข้ารับคำปรึกษาที่คลินิก ตามระยะเวลาที่เห็นสมควร เช่น 2 หรือ 3 เดือนต่อครั้ง เป็นเวลา 1 หรือ 2 ปี แล้วแต่กรณี และ 4) ผู้ที่สมัครใจเข้ารับคำปรึกษาเอง ส่วนใหญ่จะเป็นบิดามารดาหรือญาติที่นำบุตรหลานมาเข้ารับคำปรึกษาเนื่องจากไปใช้ยาเสพติด หรือเป็นผู้เสียหายในคดีความรุนแรงในครอบครัว