ดร.ศรัณย์ โปษยะจินดา ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ เปิดเผยว่า เช้าวันที่ 13 พฤศจิกายน 2560 จะเกิดปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ที่น่าสนใจชวนให้จับตามอง คือ ปรากฏการณ์ดาวเคราะห์ชุมนุม ดาวศุกร์ปรากฏเคียงดาวพฤหัสบดีบนท้องฟ้า ทางทิศตะวันออก ที่ระยะห่างเชิงมุม 0.45 องศา (1 นิ้วก้อยของเราเมื่อเหยียดสุดแขนจะมีระยะเชิงมุมประมาณ 1 องศา) สังเกตได้ในช่วงเช้ามืด ตั้งแต่เวลาประมาณ 05.30 - 06.00 น. หากฟ้าใส ไม่มีเมฆ สามารถมองเห็นความสวยงามของดาวเคราะห์ทั้งสองดวงด้วยตาเปล่าได้อย่างชัดเจน และหากสังเกตการณ์โดยใช้กล้องโทรทรรศน์ที่มีกำลังขยายไม่เกิน 100 เท่า จะมองเห็นดาวเคราะห์ทั้งคู่อยู่ในช่องมองภาพเดียวกัน นับเป็นอีกหนึ่งปรากฏการณ์ที่น่าสนใจ
จึงขอเชิญชวนผู้สนใจร่วมชมความสวยงามของปรากฏการณ์ดังกล่าว รวมถึงโรงเรียนเครือข่ายโครงการกระจายโอกาสการเรียนรู้ดาราศาสตร์ฯ ทั้ง 77 จังหวัด ที่ได้รับมอบกล้องโทรทรรศน์จาก สดร. สามารถใช้กล้องโทรทรรศน์ร่วมกับเลนส์ใกล้ตาขนาด 25 มม. หรือ 12.5 มม. ร่วมจัดกิจกรรมสังเกตปรากฏการณ์ดาวเคราะห์ชุมนุม ในเช้าวันที่ 13 พฤศจิกายน 2560 ตั้งแต่เวลา 05.30 - 06.00 น. ซึ่งถือเป็นโอกาสดี ๆ ที่มีได้ไม่บ่อยนัก
ดร.ศรัณย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า การที่ดาวศุกร์และดาวพฤหัสบดีอยู่เคียงกันบนท้องฟ้าในครั้งนี้ ทางดาราศาสตร์จะเรียกว่า ปรากฏการณ์ดาวเคราะห์ชุมนุม หมายถึง ดาวเคราะห์ตั้งแต่ 2 ดวงขึ้นไป ปรากฏใกล้กันบนท้องฟ้าที่ระยะห่างเชิงมุม 1-5 องศา (1 กำปั้นมีระยะเชิงมุมประมาณ 10 องศา)
จึงขอเชิญชวนผู้สนใจร่วมชมความสวยงามของปรากฏการณ์ดังกล่าว รวมถึงโรงเรียนเครือข่ายโครงการกระจายโอกาสการเรียนรู้ดาราศาสตร์ฯ ทั้ง 77 จังหวัด ที่ได้รับมอบกล้องโทรทรรศน์จาก สดร. สามารถใช้กล้องโทรทรรศน์ร่วมกับเลนส์ใกล้ตาขนาด 25 มม. หรือ 12.5 มม. ร่วมจัดกิจกรรมสังเกตปรากฏการณ์ดาวเคราะห์ชุมนุม ในเช้าวันที่ 13 พฤศจิกายน 2560 ตั้งแต่เวลา 05.30 - 06.00 น. ซึ่งถือเป็นโอกาสดี ๆ ที่มีได้ไม่บ่อยนัก
ดร.ศรัณย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า การที่ดาวศุกร์และดาวพฤหัสบดีอยู่เคียงกันบนท้องฟ้าในครั้งนี้ ทางดาราศาสตร์จะเรียกว่า ปรากฏการณ์ดาวเคราะห์ชุมนุม หมายถึง ดาวเคราะห์ตั้งแต่ 2 ดวงขึ้นไป ปรากฏใกล้กันบนท้องฟ้าที่ระยะห่างเชิงมุม 1-5 องศา (1 กำปั้นมีระยะเชิงมุมประมาณ 10 องศา)