นายสมเกียรติ ประจำวงษ์ อธิบดีกรมชลประทาน กล่าวว่า หลังจากที่กรมชลประทานได้ทยอยเพิ่มปริมาณน้ำผ่านเขื่อนเจ้าพระยา จากเดิม 2,600 เป็น 2,700 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ตั้งแต่ช่วงบ่ายของวานนี้ (23 ต.ค.) มาจนถึงเช้าวันนี้ มีปริมาณน้ำไหลผ่านเขื่อนเจ้าพระยาในอัตรา 2,697 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ซึ่งหลังจากนี้จะคงปริมาณน้ำให้อยู่ในอัตราไม่เกิน 2,700 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ต่อเนื่องไปอีก 1 สัปดาห์ พร้อมกับบริหารจัดการน้ำบริเวณเหนือเขื่อนเจ้าพระยา เพื่อลดปริมาณน้ำที่จะไหลผ่านเขื่อน โดยการแบ่งรับน้ำเข้าระบบชลประทานทั้งสองฝั่งของแม่น้ำเจ้าพระยา รวมกันประมาณ 768 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที พร้อมกับรับน้ำเข้าไปเก็บกักไว้ในพื้นที่ลุ่มต่ำ 12 ทุ่ง ปัจจุบันมีปริมาณน้ำรวมกันประมาณ 1,347 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ในขณะที่เขื่อนภูมิพลและเขื่อนสิริกิติ์ ยังคงปิดการระบาย
ทั้งนี้ จากการติดตามระดับน้ำบริเวณท้ายเขื่อนเจ้าพระยา พบว่าบริเวณจังหวัดชัยนาท มีระดับน้ำเพิ่มขึ้น 22 เซนติเมตร บริเวณจังหวัดสิงห์บุรีไปจนถึงจังหวัดอ่างทอง เพิ่มขึ้น 7 เซนติเมตร ส่วนบริเวณบ้านป้อม บ้านบางหลวงโดด และอำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ระดับน้ำทรงตัว โดยมีปริมาณน้ำไหลผ่านบริเวณ อำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ในอัตรา 2,882 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที (ปริมาณน้ำสูงสุดที่ไหลผ่านกรุงเทพมหานครและปริมณฑลรับได้ 3,500 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที) ในขณะที่ในช่วงวันที่ 23 - 27 ตุลาคม ยังคงได้รับอิทธิพลของน้ำทะเลหนุนสูง
อย่างไรก็ตาม กรมชลประทานได้รับการสนับสนุนเรือผลักดันน้ำ 7 ลำ และเรือหลวงมารวิชัย 1 ลำ จากกองทัพเรือ นำมาติดตั้งในบริเวณคลองลัดโพธิ์ จังหวัดสมุทรปราการ เพื่อเร่งระบายน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาที่ไหลผ่านประตูระบายน้ำคลองลัดโพธิ์ฯในช่วงที่น้ำลง ให้ออกสู่ทะเลได้เร็วขึ้น
ทั้งนี้ จากการติดตามระดับน้ำบริเวณท้ายเขื่อนเจ้าพระยา พบว่าบริเวณจังหวัดชัยนาท มีระดับน้ำเพิ่มขึ้น 22 เซนติเมตร บริเวณจังหวัดสิงห์บุรีไปจนถึงจังหวัดอ่างทอง เพิ่มขึ้น 7 เซนติเมตร ส่วนบริเวณบ้านป้อม บ้านบางหลวงโดด และอำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ระดับน้ำทรงตัว โดยมีปริมาณน้ำไหลผ่านบริเวณ อำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ในอัตรา 2,882 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที (ปริมาณน้ำสูงสุดที่ไหลผ่านกรุงเทพมหานครและปริมณฑลรับได้ 3,500 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที) ในขณะที่ในช่วงวันที่ 23 - 27 ตุลาคม ยังคงได้รับอิทธิพลของน้ำทะเลหนุนสูง
อย่างไรก็ตาม กรมชลประทานได้รับการสนับสนุนเรือผลักดันน้ำ 7 ลำ และเรือหลวงมารวิชัย 1 ลำ จากกองทัพเรือ นำมาติดตั้งในบริเวณคลองลัดโพธิ์ จังหวัดสมุทรปราการ เพื่อเร่งระบายน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาที่ไหลผ่านประตูระบายน้ำคลองลัดโพธิ์ฯในช่วงที่น้ำลง ให้ออกสู่ทะเลได้เร็วขึ้น