วันนี้ (๑๙ ตุลาคม ๒๕๖๐) เวลา ๐๙.๐๑ น. สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ โดยรถยนต์พระที่นั่งจากวังสระปทุม ไปยังลานหน้าอาคารโรงโขน โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ ในพระบรมมหาราชวัง เพื่อทรงเป็นประธานบวงสรวงสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ การจัดทำเครื่องสดประดับพระจิตกาธานในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร โดยมีนายจิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา เลขาธิการพระราชวัง พลอากาศตรี สุพิชัย สุนทรบุระ รองเลขาธิการพระราชวัง นางนภาพร เล้าสินวัฒนา ผู้อำนวยการกองศิลปกรรม และนางพัฒนา เกตุกาญจโน ผู้อำนวยการโรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ เฝ้าฯ รับเสด็จ
จากนั้น เสด็จฯ ไปทรงจุดธูปเทียนเครื่องนมัสการบูชาพระรัตนตรัย ทรงคม เสด็จฯ ไปทรงเจิมโองการบวงสรวงสังเวยช่างเครื่องสดราชสำนัก เสด็จฯ ไปยังโต๊ะสังเวย จากนั้นทรงจุดเทียนทอง เทียนเงิน ที่โต๊ะเครื่องสังเวย ทรงจุดธูปหางปักที่เครื่องสังเวย (ชาวพนักงานลั่นฆ้องชัย สังข์ แตร พนักงานภูษามาลาแกว่งบัณเฑาะว์) ทรงจุดธูปเทียนเครื่องทองน้อย ทรงคม จากนั้นประทับพระราชอาสน์
นายบุญชัย ทองเจริญบัวงาม นายช่างศิลปกรรม ผู้ประกอบพิธี อ่านโองการบวงสรวงและนำกล่าวบทบูชาครูช่างเครื่องสด จบแล้ว (ชาวพนักงานลั่นฆ้องชัย สังข์ แตร พนักงานภูษามาลาแกว่งบัณเฑาะว์) จากนั้น สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ ไปทรงสุหร่ายที่เครื่องมือ เครื่องใช้ในการทำเครื่องสดพระจิตกาธาน และทรงเจิมเทวดาประดับจิตกาธาน (ชาวพนักงานลั่นฆ้องชัย สังข์ แตร พนักงานภูษามาลาแกว่งบัณเฑาะว์) เสด็จฯ ไปทรงคมที่หน้าโต๊ะหมู่บูชา เสด็จฯ ไปทรงคมที่หน้าโต๊ะสังเวย และเสด็จฯ กลับในเวลา ๐๙.๒๙ น.
นายบุญชัย ทองเจริญบัวงาม นายช่างศิลปกรรม กล่าวภายหลังจบพิธีบวงสรวงว่า สมเด็จพระเทพฯ ทรงมีรับสั่งถามช่างแทงหยวกจาก ๔ ภูมิภาค ด้วยความเป็นห่วงว่า "ยังทำงานอยู่ใช่ไหม ยังทำไม่เสร็จใช่ไหม ยังเหลืออีกเยอะหรือเปล่า"
ทั้งนี้ บุญชัย กล่าวต่อว่า ในส่วนของการทำเครื่องสดประกอบพระจิตกาธานนั้น ขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินการจัดทำ ซึ่งเมื่อวานนี้จังหวัดจันทบุรีได้เคลื่อนย้ายกล้วยตานี จำนวน ๕๐ ต้น มาถึงยังสำนักพระราชวังแล้ว และต้นกล้วยจากจังหวัดอ่างทอง ๙ ต้น จังหวัดนนทบุรี ๙ ต้น ก็มาถึงสำนักพระราชวังแล้วเช่นกัน ส่วนต้นกล้วย ๔๐ ต้น ของจังหวัดเพชรบุรี จะนำมาส่งในวันพรุ่งนี้ ดังนั้นรวมต้นกล้วยตานีทั้งหมด ๑๐๘ ต้น จนถึงวันนี้งานเครื่องสดประดับพระจิตกาธาน เหลือเพียงแทงหยวก การทำดอกไม้ประดิษฐ์ที่เป็นดอกปาริชาติ ๑๖ ดอก ดอกไม้เฟื่อง ดอกไม้ไหว รวม ๗๐ ดอก ในส่วนของหยวกถม พิมพ์มะละกอ นั้น ต้องดำเนินการล่วงหน้าเพียงแค่ ๒ วัน หลังเสร็จพิธีบวงสรวงแล้วจะได้มีการแจกจ่ายงานให้ช่างฝีมือ ๔ ภูมิภาค และช่างแทงหยวก ๔ ภูมิภาค จำนวน ๓๒๓ คน ที่มารวมตัวกันอยู่ในที่นี้ โดยช่างทั้งหมดได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีโอกาสได้เข้ามาถวายงานในครั้งนี้ร่วมกับช่างหลวงราชสำนัก
โดยช่างกรองดอกไม้สดมาจากตัวแทนวิทยาลัยอาชีวศึกษาจาก ๔ ภูมิภาค อาทิ เชียงใหม่ แพร่ นครสวรรค์ สุพรรณบุรี กรุงเทพมหานคร ชลบุรี ร้อยเอ็ด นครราชสีมา นครศรีธรรมราช สุราษฎ์ธานี และปัตตานี นอกจากนี้ ยังมีนักเรียนช่างฝีมือในวัง(ชาย) และวัง(หญิง) มาร่วมทำ ในส่วนเทวดาประดับชั้นเรือนไฟทั้ง ๘ องค์ ทำเสร็จหมดแล้ว
จากนี้ไปเหลือเวลาเตรียมการอีกเพียง ๕ วัน ก่อนที่จะถึงวันพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ โดยเครื่องสดทั้งหมดจะต้องทำแล้วเสร็จเวลา ๐๕.๐๐ น. ของวันที่ ๒๕ ตุลาคม เพื่อนำขึ้นไปประกอบบนพระเมรุมาศให้แล้วเสร็จก่อนเวลา ๑๖.๐๐ น. ของวันที่ ๒๕ ตุลาคม อันเป็นเวลาก่อนบำเพ็ญพระราชกุศลออกพระเมรุ
สำหรับความสำคัญของพิธีบวงสรวงสังเวยการจัดทำเครื่องสดประดับพระจิตกาธาน โดยธรรมเนียมของช่างเครื่องสดราชสำนัก เมื่อมีงานสำคัญก็จะมีการบวงสรวงเองอยู่แล้ว เพื่อเป็นการสร้างขวัญและกำลังใจให้แก่ช่าง แต่ในครั้งนี้ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ เสด็จฯ มาเป็นประธานบวงสรวง นับเป็นมิ่งขวัญและกำลังใจให้แก่ช่างในการปฏิบัติหน้าที่ให้สำเร็จลุล่วง เพราะว่าในบทกล่าวโองการ เป็นโองการโบราณของคุณครูวิเชียร เปรมจันทร์ ท่านได้ประสิทธิ์ประสาทวิชาให้ตั้งแต่ปี ๒๕๓๙ ซึ่งตัวของอาจารย์เองเป็นสกุลช่างคนสุดท้าย เป็นลูกศิษย์ของพระครู ธรรมราช วัดระฆังโฆษิตาราม
โดยหลังจากงานถวายพระเพลิงพระบรมศพสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เมื่อปี ๒๕๓๙ ตอนนั้นช่างราชสำนักไม่มีแล้ว สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงรับสั่งว่า ให้ถ่ายทอดวิชา จึงได้ครูวิเชียร มาถ่ายทอดให้ และถวายตัวเป็นครูสอนแทงหยวกที่ในโรงเรียนช่างฝีมือในวัง(ชาย) ตอนนั้นท่านอายุ ๗๐ กว่า ซึ่งขณะนั้นมีลูกศิษย์เพียง ๔ คน และก่อนท่านเสียชีวิตได้เขียนบทโองการนี้ เพื่อมอบให้สำนักพระราชวัง เมื่อมีเหตุการณ์สำคัญจะได้เชิญออกมาอ่าน และเมื่อจบงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ ในหลวง ร.๙ แล้ว จะได้นำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ต่อไป
สำหรับหนังสือโองการเพื่อให้สมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ในงานพระราชพิธีพระบรมศพ จึงได้จัดทำปกสมุดขึ้นมาใหม่ หน้าปกประดิษฐ์ด้วยปีกแมลงทับลายรังผึ้ง แล้วประดับมุกริมขอบ จัดทำโดยนักเรียนและศิษย์เก่าของโรงเรียนช่างฝีมือในวัง (ชาย) ระยะเวลาทำกว่า ๙ เดือน สมุด เนื้อหาภายในประพันธ์เป็นร่ายประกอบด้วยภาพเขียนด้วยสีฝุ่น
ตัวแทน ๑ ใน ๔ ช่างแทงหยวกจาก อ.รัตภูมิ จังหวัดสงขลา นายสวน หนุดหละ อายุ ๕๔ ปี คณะจัดทำเครื่อสดประดับจิตกาธาน ที่ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ให้เข้าร่วมจัดทำเครื่องสด รับผิดชอบในส่วนงานแทงหยวกชั้นรัดเอว เปิดเผยด้วยน้ำเสียงปลื้มปีติ ว่า ก่อนหน้านี้เคยมีโอกาสได้ถวายงานแทงหยวกในพระราชพิธีพระราชเพลิงพระบรมศพสมเด็จพระพี่นางเธอฯ และงานสมเด็จเจ้าฟ้าเพชรรัตนฯ มาแล้ว สำหรับครั้งนี้รู้สึกภูมิใจที่ได้มีส่วนร่วมในการเป็นช่างแทงหยวกในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหภูมิพลอดุลยเดช ซึ่งตัวเองมีความรักและศรัทธาอย่างหาที่สุดมิได้ เพราะพระองค์ทรงเป็นผู้ให้ และไม่ถือพระองค์ ทรงเป็นต้นแบบให้คนหันกลับมาสนใจฟื้นฟูและร่วมอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมและประเพณีโบราณ
"สำหรับงานแทงหยวกเป็นวิถีที่สืบทอดกันมาของแต่ละพื้นที่ ของจังหวัดสงขลา มีเอกลักษณ์การแทงลวดลายกนกที่รวดเร็วและแม่นยำ แต่ครั้งนี้ไม่ได้นำเอาลวดลายที่เป็นอัตลักษณ์ของพื้นที่เข้ามาใช้ เนื่องจากต้องใช้ตามราชสำนัก ซึ่งช่างแทงหยวกที่มาร่วมในครั้งนี้ ได้คัดเลือกจากช่างแทงหยวกผู้ที่มีคุณธรรมและจริยธรรม ส่วนความชำนาญเป็นเพียงส่วนประกอบ ผู้ที่ร่วมงานนี้ต้องมีความรักและศรัทธาในสถาบันพระมหากษัตริย์ โดยงานแทงหยวกในชั้นรัดเอวที่รับผิดชอบนี้ ต้องมีความละเอียดในเรื่องความกว้าง ยาว และขนาดของลวดลาย ส่วนการทำงานถวายครั้งนี้ ผมมีความตั้งใจและมั่นใจอย่างเต็มร้อยที่จะทำงานถวายอย่างสุดความสามารถ" ตัวแทนช่างแทงหยวกจากสงขลากล่าวด้วยน้ำเสียงปลื้มปีติ
ทั้งนี้ ในวันที่ ๒๒ ตุลาคม ๒๕๖๐ เวลา ๐๙.๑๔ น. จะประกอบพิธีบวงสรวงสังเวยไหว้ครูช่างแทงหยวกจากทั่วประเทศ ที่ได้รับการคัดเลือกให้มาทำหน้าที่ครั้งสำคัญในครั้งนี้ ณ ลานกลางแจ้ง โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ ในพระบรมมหาราชวัง
จากนั้น เสด็จฯ ไปทรงจุดธูปเทียนเครื่องนมัสการบูชาพระรัตนตรัย ทรงคม เสด็จฯ ไปทรงเจิมโองการบวงสรวงสังเวยช่างเครื่องสดราชสำนัก เสด็จฯ ไปยังโต๊ะสังเวย จากนั้นทรงจุดเทียนทอง เทียนเงิน ที่โต๊ะเครื่องสังเวย ทรงจุดธูปหางปักที่เครื่องสังเวย (ชาวพนักงานลั่นฆ้องชัย สังข์ แตร พนักงานภูษามาลาแกว่งบัณเฑาะว์) ทรงจุดธูปเทียนเครื่องทองน้อย ทรงคม จากนั้นประทับพระราชอาสน์
นายบุญชัย ทองเจริญบัวงาม นายช่างศิลปกรรม ผู้ประกอบพิธี อ่านโองการบวงสรวงและนำกล่าวบทบูชาครูช่างเครื่องสด จบแล้ว (ชาวพนักงานลั่นฆ้องชัย สังข์ แตร พนักงานภูษามาลาแกว่งบัณเฑาะว์) จากนั้น สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ ไปทรงสุหร่ายที่เครื่องมือ เครื่องใช้ในการทำเครื่องสดพระจิตกาธาน และทรงเจิมเทวดาประดับจิตกาธาน (ชาวพนักงานลั่นฆ้องชัย สังข์ แตร พนักงานภูษามาลาแกว่งบัณเฑาะว์) เสด็จฯ ไปทรงคมที่หน้าโต๊ะหมู่บูชา เสด็จฯ ไปทรงคมที่หน้าโต๊ะสังเวย และเสด็จฯ กลับในเวลา ๐๙.๒๙ น.
นายบุญชัย ทองเจริญบัวงาม นายช่างศิลปกรรม กล่าวภายหลังจบพิธีบวงสรวงว่า สมเด็จพระเทพฯ ทรงมีรับสั่งถามช่างแทงหยวกจาก ๔ ภูมิภาค ด้วยความเป็นห่วงว่า "ยังทำงานอยู่ใช่ไหม ยังทำไม่เสร็จใช่ไหม ยังเหลืออีกเยอะหรือเปล่า"
ทั้งนี้ บุญชัย กล่าวต่อว่า ในส่วนของการทำเครื่องสดประกอบพระจิตกาธานนั้น ขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินการจัดทำ ซึ่งเมื่อวานนี้จังหวัดจันทบุรีได้เคลื่อนย้ายกล้วยตานี จำนวน ๕๐ ต้น มาถึงยังสำนักพระราชวังแล้ว และต้นกล้วยจากจังหวัดอ่างทอง ๙ ต้น จังหวัดนนทบุรี ๙ ต้น ก็มาถึงสำนักพระราชวังแล้วเช่นกัน ส่วนต้นกล้วย ๔๐ ต้น ของจังหวัดเพชรบุรี จะนำมาส่งในวันพรุ่งนี้ ดังนั้นรวมต้นกล้วยตานีทั้งหมด ๑๐๘ ต้น จนถึงวันนี้งานเครื่องสดประดับพระจิตกาธาน เหลือเพียงแทงหยวก การทำดอกไม้ประดิษฐ์ที่เป็นดอกปาริชาติ ๑๖ ดอก ดอกไม้เฟื่อง ดอกไม้ไหว รวม ๗๐ ดอก ในส่วนของหยวกถม พิมพ์มะละกอ นั้น ต้องดำเนินการล่วงหน้าเพียงแค่ ๒ วัน หลังเสร็จพิธีบวงสรวงแล้วจะได้มีการแจกจ่ายงานให้ช่างฝีมือ ๔ ภูมิภาค และช่างแทงหยวก ๔ ภูมิภาค จำนวน ๓๒๓ คน ที่มารวมตัวกันอยู่ในที่นี้ โดยช่างทั้งหมดได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีโอกาสได้เข้ามาถวายงานในครั้งนี้ร่วมกับช่างหลวงราชสำนัก
โดยช่างกรองดอกไม้สดมาจากตัวแทนวิทยาลัยอาชีวศึกษาจาก ๔ ภูมิภาค อาทิ เชียงใหม่ แพร่ นครสวรรค์ สุพรรณบุรี กรุงเทพมหานคร ชลบุรี ร้อยเอ็ด นครราชสีมา นครศรีธรรมราช สุราษฎ์ธานี และปัตตานี นอกจากนี้ ยังมีนักเรียนช่างฝีมือในวัง(ชาย) และวัง(หญิง) มาร่วมทำ ในส่วนเทวดาประดับชั้นเรือนไฟทั้ง ๘ องค์ ทำเสร็จหมดแล้ว
จากนี้ไปเหลือเวลาเตรียมการอีกเพียง ๕ วัน ก่อนที่จะถึงวันพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ โดยเครื่องสดทั้งหมดจะต้องทำแล้วเสร็จเวลา ๐๕.๐๐ น. ของวันที่ ๒๕ ตุลาคม เพื่อนำขึ้นไปประกอบบนพระเมรุมาศให้แล้วเสร็จก่อนเวลา ๑๖.๐๐ น. ของวันที่ ๒๕ ตุลาคม อันเป็นเวลาก่อนบำเพ็ญพระราชกุศลออกพระเมรุ
สำหรับความสำคัญของพิธีบวงสรวงสังเวยการจัดทำเครื่องสดประดับพระจิตกาธาน โดยธรรมเนียมของช่างเครื่องสดราชสำนัก เมื่อมีงานสำคัญก็จะมีการบวงสรวงเองอยู่แล้ว เพื่อเป็นการสร้างขวัญและกำลังใจให้แก่ช่าง แต่ในครั้งนี้ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ เสด็จฯ มาเป็นประธานบวงสรวง นับเป็นมิ่งขวัญและกำลังใจให้แก่ช่างในการปฏิบัติหน้าที่ให้สำเร็จลุล่วง เพราะว่าในบทกล่าวโองการ เป็นโองการโบราณของคุณครูวิเชียร เปรมจันทร์ ท่านได้ประสิทธิ์ประสาทวิชาให้ตั้งแต่ปี ๒๕๓๙ ซึ่งตัวของอาจารย์เองเป็นสกุลช่างคนสุดท้าย เป็นลูกศิษย์ของพระครู ธรรมราช วัดระฆังโฆษิตาราม
โดยหลังจากงานถวายพระเพลิงพระบรมศพสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เมื่อปี ๒๕๓๙ ตอนนั้นช่างราชสำนักไม่มีแล้ว สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงรับสั่งว่า ให้ถ่ายทอดวิชา จึงได้ครูวิเชียร มาถ่ายทอดให้ และถวายตัวเป็นครูสอนแทงหยวกที่ในโรงเรียนช่างฝีมือในวัง(ชาย) ตอนนั้นท่านอายุ ๗๐ กว่า ซึ่งขณะนั้นมีลูกศิษย์เพียง ๔ คน และก่อนท่านเสียชีวิตได้เขียนบทโองการนี้ เพื่อมอบให้สำนักพระราชวัง เมื่อมีเหตุการณ์สำคัญจะได้เชิญออกมาอ่าน และเมื่อจบงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ ในหลวง ร.๙ แล้ว จะได้นำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ต่อไป
สำหรับหนังสือโองการเพื่อให้สมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ในงานพระราชพิธีพระบรมศพ จึงได้จัดทำปกสมุดขึ้นมาใหม่ หน้าปกประดิษฐ์ด้วยปีกแมลงทับลายรังผึ้ง แล้วประดับมุกริมขอบ จัดทำโดยนักเรียนและศิษย์เก่าของโรงเรียนช่างฝีมือในวัง (ชาย) ระยะเวลาทำกว่า ๙ เดือน สมุด เนื้อหาภายในประพันธ์เป็นร่ายประกอบด้วยภาพเขียนด้วยสีฝุ่น
ตัวแทน ๑ ใน ๔ ช่างแทงหยวกจาก อ.รัตภูมิ จังหวัดสงขลา นายสวน หนุดหละ อายุ ๕๔ ปี คณะจัดทำเครื่อสดประดับจิตกาธาน ที่ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ให้เข้าร่วมจัดทำเครื่องสด รับผิดชอบในส่วนงานแทงหยวกชั้นรัดเอว เปิดเผยด้วยน้ำเสียงปลื้มปีติ ว่า ก่อนหน้านี้เคยมีโอกาสได้ถวายงานแทงหยวกในพระราชพิธีพระราชเพลิงพระบรมศพสมเด็จพระพี่นางเธอฯ และงานสมเด็จเจ้าฟ้าเพชรรัตนฯ มาแล้ว สำหรับครั้งนี้รู้สึกภูมิใจที่ได้มีส่วนร่วมในการเป็นช่างแทงหยวกในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหภูมิพลอดุลยเดช ซึ่งตัวเองมีความรักและศรัทธาอย่างหาที่สุดมิได้ เพราะพระองค์ทรงเป็นผู้ให้ และไม่ถือพระองค์ ทรงเป็นต้นแบบให้คนหันกลับมาสนใจฟื้นฟูและร่วมอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมและประเพณีโบราณ
"สำหรับงานแทงหยวกเป็นวิถีที่สืบทอดกันมาของแต่ละพื้นที่ ของจังหวัดสงขลา มีเอกลักษณ์การแทงลวดลายกนกที่รวดเร็วและแม่นยำ แต่ครั้งนี้ไม่ได้นำเอาลวดลายที่เป็นอัตลักษณ์ของพื้นที่เข้ามาใช้ เนื่องจากต้องใช้ตามราชสำนัก ซึ่งช่างแทงหยวกที่มาร่วมในครั้งนี้ ได้คัดเลือกจากช่างแทงหยวกผู้ที่มีคุณธรรมและจริยธรรม ส่วนความชำนาญเป็นเพียงส่วนประกอบ ผู้ที่ร่วมงานนี้ต้องมีความรักและศรัทธาในสถาบันพระมหากษัตริย์ โดยงานแทงหยวกในชั้นรัดเอวที่รับผิดชอบนี้ ต้องมีความละเอียดในเรื่องความกว้าง ยาว และขนาดของลวดลาย ส่วนการทำงานถวายครั้งนี้ ผมมีความตั้งใจและมั่นใจอย่างเต็มร้อยที่จะทำงานถวายอย่างสุดความสามารถ" ตัวแทนช่างแทงหยวกจากสงขลากล่าวด้วยน้ำเสียงปลื้มปีติ
ทั้งนี้ ในวันที่ ๒๒ ตุลาคม ๒๕๖๐ เวลา ๐๙.๑๔ น. จะประกอบพิธีบวงสรวงสังเวยไหว้ครูช่างแทงหยวกจากทั่วประเทศ ที่ได้รับการคัดเลือกให้มาทำหน้าที่ครั้งสำคัญในครั้งนี้ ณ ลานกลางแจ้ง โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ ในพระบรมมหาราชวัง