นางสาวพรเพ็ญ สดศรีชัย ผู้อำนวยการฝ่ายเศรษฐกิจมหภาค ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า แนวโน้มการส่งออกดีขึ้นต่อเนื่องอย่างชัดเจน ซึ่งเป็นการฟื้นตัวทั้งภูมิภาคเอเซีย และเป็นปัจจัยหลักทำให้เศรษฐกิจในเดือนกรกฎาคม 2560 ขยายตัวต่อเนื่อง โดยการส่งออกขยายตัวร้อยละ 8 ส่งผลดีให้การผลิตเพื่อการส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ชิ้นส่วนอุปกรณ์อินเทอร์เน็ต เติบโตได้ดี ส่วนการผลิตเพื่อส่งออกและจำหน่ายในประเทศ เช่น รถยนต์ และชิ้นส่วนยานยนต์ ขยายตัวตามยอดขาย ขณะที่การผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศเป็นหลัก เช่น สินค้าเกษตรแปรรูป อาหาร เติบโตได้
ส่วนการลงทุนภาคเอกชนมีสัญญาณดีขึ้น แต่ยังต้องติดตามว่าจะดีต่อเนื่องหรือไม่ หากการลงทุนภาคเอกชนดีขึ้นต่อเนื่อง มีการเพิ่มกำลังการผลิต จะเป็นตัวสนับสนุนให้การบริโภคภาคเอกชนดีขึ้น โดยในเดือนกรกฎาคม การบริโภคภาคเอกชนขยายตัวในอัตราที่ชะลอลง เนื่องจากรายได้เกษตรกรหดตัวครั้งแรกในปีนี้ เพราะราคาต่ำ เนื่องจากผลผลิตมีมาก แตกต่างจากปีก่อนที่ผลผลิตน้อยทำให้ราคาสินค้าเกษตรแพง โดยแนวโน้มในไตรมาส 3 รายได้เกษตรกรยังต่ำต่อเนื่อง เกษตรกรที่มีรายได้จะนำเงินไปชำระหนี้ สอดคล้องกับความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่ปรับลดลงจากความกังวลด้านกำลังซื้อและแนวโน้มราคาสินค้าเกษตร ส่งผลให้ผู้บริโภคระมัดระวังการใช้จ่าย แม้สัญญาณหนี้ครัวเรือนจะเริ่มเห็นการชะลอลงบ้าง แต่ยังคงมีหนี้ค้างอยู่ ซึ่งหากกลุ่มผู้มีรายได้น้อยไม่มีการก่อหนี้เพิ่มมากขึ้น ปัญหาหนี้ครัวเรือนน่าจะดีขึ้นตามลำดับ
ส่วนการลงทุนภาคเอกชนมีสัญญาณดีขึ้น แต่ยังต้องติดตามว่าจะดีต่อเนื่องหรือไม่ หากการลงทุนภาคเอกชนดีขึ้นต่อเนื่อง มีการเพิ่มกำลังการผลิต จะเป็นตัวสนับสนุนให้การบริโภคภาคเอกชนดีขึ้น โดยในเดือนกรกฎาคม การบริโภคภาคเอกชนขยายตัวในอัตราที่ชะลอลง เนื่องจากรายได้เกษตรกรหดตัวครั้งแรกในปีนี้ เพราะราคาต่ำ เนื่องจากผลผลิตมีมาก แตกต่างจากปีก่อนที่ผลผลิตน้อยทำให้ราคาสินค้าเกษตรแพง โดยแนวโน้มในไตรมาส 3 รายได้เกษตรกรยังต่ำต่อเนื่อง เกษตรกรที่มีรายได้จะนำเงินไปชำระหนี้ สอดคล้องกับความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่ปรับลดลงจากความกังวลด้านกำลังซื้อและแนวโน้มราคาสินค้าเกษตร ส่งผลให้ผู้บริโภคระมัดระวังการใช้จ่าย แม้สัญญาณหนี้ครัวเรือนจะเริ่มเห็นการชะลอลงบ้าง แต่ยังคงมีหนี้ค้างอยู่ ซึ่งหากกลุ่มผู้มีรายได้น้อยไม่มีการก่อหนี้เพิ่มมากขึ้น ปัญหาหนี้ครัวเรือนน่าจะดีขึ้นตามลำดับ