นายพีระศักดิ์ พอจิต รองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) คนที่สอง กล่าวถึงความคืบหน้าในการจัดทำร่างสัญญาประชาคม ของคณะกรรมการเตรียมการเพื่อสร้างความสามัคคีปรองดอง ที่มี พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธาน ภายหลังจากที่ได้นำร่างสัญญาประชาคม เสนอต่อ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีแล้ว ว่า นายกรัฐมนตรีได้มีความคิดเห็นเพิ่มเติมเพียงเล็กน้อย และเมื่อนำร่างสัญญาประชาคมมาปรับแก้ให้สมบูรณ์แล้ว จะนำไปทำความเข้าใจกับประชาชนอีกครั้งเพื่อให้เกิดความชัดเจน โดยความปรองดองเป็นบ่อเกิดของความมั่นคงเศรษฐกิจ และสังคม ขณะเดียวกัน ถ้าประเทศไม่มีความปรองดองเกิดขึ้น ความขัดแย้งก็จะเกิดขึ้น ดังนั้น ต้องทำให้ทุกภาคส่วนมีความเข้าใจอันดีระหว่างกัน เช่น พรรคการเมือง และกลุ่มการเมืองต่างๆ ภาคธรุกิจ และภาคประชาชน
ขณะเดียวกัน นายพีระศักดิ์ กล่าวถึงกรณีที่นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ไม่เดินทางมาฟังคำพิพากษาของศาลฏีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ในคดีรับจำนำข้าว ว่า เป็นเรื่องของคดีความและเป็นเรื่องเฉพาะตัวบุคคล หลังจากนี้ต้องรอดูผลกระทบต่อกระบวนการสร้างความปรองดองว่าจะเป็นอย่างไรบ้าง ซึ่งยังไม่รู้ว่าศาลจะมีคำพิพากษาออกมาอย่างไร ทั้งนี้ มองว่าหากหลายฝ่ายออกมาเคลื่อนไหว ก็เป็นเรื่องธรรมดา เพราะนางสาวยิ่งลักษณ์ เป็นถึงอดีตนายกรัฐมนตรี ที่มีคนรักและคนชอบเป็นจำนวนมาก แต่ทุกอย่างต้องเดินไปตามกฎหมาย และเชื่อว่าสถานการณ์จะปกติ ไม่มีเหตุการณ์รุนแรง ซึ่งการสร้างความสงบในประเทศเป็นหน้าที่ของรัฐบาลและคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่จะต้องดูแลรักษาความสงบของประเทศ ขณะที่หน่วยงานอื่นๆ ของภาครัฐมีหน้าที่ในการดูแลเรื่องความยุติธรรมด้วย
ขณะเดียวกัน นายพีระศักดิ์ กล่าวถึงกรณีที่นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ไม่เดินทางมาฟังคำพิพากษาของศาลฏีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ในคดีรับจำนำข้าว ว่า เป็นเรื่องของคดีความและเป็นเรื่องเฉพาะตัวบุคคล หลังจากนี้ต้องรอดูผลกระทบต่อกระบวนการสร้างความปรองดองว่าจะเป็นอย่างไรบ้าง ซึ่งยังไม่รู้ว่าศาลจะมีคำพิพากษาออกมาอย่างไร ทั้งนี้ มองว่าหากหลายฝ่ายออกมาเคลื่อนไหว ก็เป็นเรื่องธรรมดา เพราะนางสาวยิ่งลักษณ์ เป็นถึงอดีตนายกรัฐมนตรี ที่มีคนรักและคนชอบเป็นจำนวนมาก แต่ทุกอย่างต้องเดินไปตามกฎหมาย และเชื่อว่าสถานการณ์จะปกติ ไม่มีเหตุการณ์รุนแรง ซึ่งการสร้างความสงบในประเทศเป็นหน้าที่ของรัฐบาลและคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่จะต้องดูแลรักษาความสงบของประเทศ ขณะที่หน่วยงานอื่นๆ ของภาครัฐมีหน้าที่ในการดูแลเรื่องความยุติธรรมด้วย