บรรยากาศการไว้อาลัยและกราบสักการะพระบรมศพ ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ในพระบรมมหาราชวัง วันนี้ (20 ส.ค.) ซึ่งดำเนินมาเป็นวันที่ 291 ตลอดทั้งวันยังคงมีประชาชนจากทั่วสารทิศทั้งกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด เดินทางมาสักการะพระบรมศพอย่างเนืองแน่น ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้น
นางปาณิศา จันทร์โต ชาวมุสลิมวัย 52 ปี อาชีพข้าราชการ เดินทางมาจากจังหวัดพระนครศรีอยุธยา พร้อมกับญาติพี่น้องรวมทั้งหมด 12 คน มาเข้าแถวรอกราบสักการะพระบรมศพตั้งแต่เวลา 05.30 น. ใช้เวลาประมาณ 4 ชั่วโมงจึงได้ขึ้นไปกราบพระบรมศพเบื้องหน้าพระบรมโกศ โดยอธิษฐานขอให้พระองค์ท่านเสด็จสู่สรวงสวรรค์
"พระองค์ท่านเคยเสด็จพระราชดำเนินไปที่อยุธยาหลายครั้ง แต่ที่ผ่านมาไม่เคยมีโอกาสรับเสด็จเลยสักครั้ง ได้แต่ติดตามข่าวที่พระองค์ท่านทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจมากมายเพื่อคนไทย ซึ่งเป็นสิ่งที่พวกเราซาบซึ้งใจมาก แต่สิ่งที่เราชาวมุสลิมประทับใจที่สุด คือการที่พระองค์เป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงอุปถัมภ์ทุกศาสนาโดยไม่แบ่งแยก อีกทั้งพระองค์ท่านยังทรงเป็นแบบอย่างในด้านต่าง ๆ มากมาย โดยเฉพาะเรื่องความประหยัด พอเพียง การใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า เหล่านี้เป็นสิ่งที่เราน้อมนำมาใช้กับตัวเองเสมอมา" นางปาณิศา กล่าวด้วยความซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณ
ด้านนางจินตนา อุดมพิพัฒน์ ข้าราชการวัย 52 ปี เดินทางมาจากบ้านพักใน อ.เมือง จ.สุราษฎร์ธานี พร้อมด้วยสามี นายพจนกร อายุ 55 ปี แม่สามี นางจุรีรัตน์ อายุ 82 ปี และน้าสาว นางจริยา อภิรักษ์รัตนกุล อายุ 77 ปี
นางจุรีรัตน์ เล่าว่า ตัวเองเคยมีโอกาสชื่นชมพระบารมีในหลวง ร.9 และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชีนีนาถ อย่างใกล้ชิด ในโอกาสที่พระองค์ท่านเสด็จฯ ไปยังสถานีรถไฟ อ.พุนพิน เมื่อปี พ.ศ.2502
"ตื้นตันใจมากที่วันนี้ได้มากราบพระองค์ท่าน โดยตั้งจิตอธิษฐานขอให้พระองค์ท่านไปสบาย ไปอยู่ในภพภูมิที่ดี และขอให้กลับมาเกิดเป็นพระมหากษัตริย์ที่เรารักอีก ส่วนตัวเองก็จะขอกลับมาเกิดเป็นข้ารองพระบาทอีกทุกๆ ชาติไป" นางจุรีรัตน์ กล่าว
ด้านนางจินตนา กล่าวเสริมว่า ประทับใจในพระราชกรณียกิจที่พระองค์ทรงทำเพื่อประชาชน อย่างที่สุราษฎร์ฯ มีโครงการแก้มลิงหนองแท่นแก้วอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ช่วยให้เกษตรกรมีน้ำกินน้ำใช้ในการเกษตรตลอดทั้งปี
"คนที่สุราษฏร์ฯ ส่วนใหญ่เป็นเกษตรกร ถึงครอบครัวเราจะไม่ได้เป็นเกษตรกรเต็มตัว แต่ที่บ้านก็ทำเกษตรผสมผสานปลูกไม้ผลไว้รับประทานเองในครอบครัว นอกจากนี้ ยังได้น้อมนำแนวพระราชดำริในเรื่องความประหยัด พอเพียง อดทน ซื่อสัตย์ในหน้าที่การงาน และการทำความดีมาใช้ในชีวิตประจำวัน ซึ่งเป็นการเดินตามรอยเท้าพระองค์ท่านด้วย" นางจินตนา กล่าว
นางปาณิศา จันทร์โต ชาวมุสลิมวัย 52 ปี อาชีพข้าราชการ เดินทางมาจากจังหวัดพระนครศรีอยุธยา พร้อมกับญาติพี่น้องรวมทั้งหมด 12 คน มาเข้าแถวรอกราบสักการะพระบรมศพตั้งแต่เวลา 05.30 น. ใช้เวลาประมาณ 4 ชั่วโมงจึงได้ขึ้นไปกราบพระบรมศพเบื้องหน้าพระบรมโกศ โดยอธิษฐานขอให้พระองค์ท่านเสด็จสู่สรวงสวรรค์
"พระองค์ท่านเคยเสด็จพระราชดำเนินไปที่อยุธยาหลายครั้ง แต่ที่ผ่านมาไม่เคยมีโอกาสรับเสด็จเลยสักครั้ง ได้แต่ติดตามข่าวที่พระองค์ท่านทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจมากมายเพื่อคนไทย ซึ่งเป็นสิ่งที่พวกเราซาบซึ้งใจมาก แต่สิ่งที่เราชาวมุสลิมประทับใจที่สุด คือการที่พระองค์เป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงอุปถัมภ์ทุกศาสนาโดยไม่แบ่งแยก อีกทั้งพระองค์ท่านยังทรงเป็นแบบอย่างในด้านต่าง ๆ มากมาย โดยเฉพาะเรื่องความประหยัด พอเพียง การใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า เหล่านี้เป็นสิ่งที่เราน้อมนำมาใช้กับตัวเองเสมอมา" นางปาณิศา กล่าวด้วยความซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณ
ด้านนางจินตนา อุดมพิพัฒน์ ข้าราชการวัย 52 ปี เดินทางมาจากบ้านพักใน อ.เมือง จ.สุราษฎร์ธานี พร้อมด้วยสามี นายพจนกร อายุ 55 ปี แม่สามี นางจุรีรัตน์ อายุ 82 ปี และน้าสาว นางจริยา อภิรักษ์รัตนกุล อายุ 77 ปี
นางจุรีรัตน์ เล่าว่า ตัวเองเคยมีโอกาสชื่นชมพระบารมีในหลวง ร.9 และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชีนีนาถ อย่างใกล้ชิด ในโอกาสที่พระองค์ท่านเสด็จฯ ไปยังสถานีรถไฟ อ.พุนพิน เมื่อปี พ.ศ.2502
"ตื้นตันใจมากที่วันนี้ได้มากราบพระองค์ท่าน โดยตั้งจิตอธิษฐานขอให้พระองค์ท่านไปสบาย ไปอยู่ในภพภูมิที่ดี และขอให้กลับมาเกิดเป็นพระมหากษัตริย์ที่เรารักอีก ส่วนตัวเองก็จะขอกลับมาเกิดเป็นข้ารองพระบาทอีกทุกๆ ชาติไป" นางจุรีรัตน์ กล่าว
ด้านนางจินตนา กล่าวเสริมว่า ประทับใจในพระราชกรณียกิจที่พระองค์ทรงทำเพื่อประชาชน อย่างที่สุราษฎร์ฯ มีโครงการแก้มลิงหนองแท่นแก้วอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ช่วยให้เกษตรกรมีน้ำกินน้ำใช้ในการเกษตรตลอดทั้งปี
"คนที่สุราษฏร์ฯ ส่วนใหญ่เป็นเกษตรกร ถึงครอบครัวเราจะไม่ได้เป็นเกษตรกรเต็มตัว แต่ที่บ้านก็ทำเกษตรผสมผสานปลูกไม้ผลไว้รับประทานเองในครอบครัว นอกจากนี้ ยังได้น้อมนำแนวพระราชดำริในเรื่องความประหยัด พอเพียง อดทน ซื่อสัตย์ในหน้าที่การงาน และการทำความดีมาใช้ในชีวิตประจำวัน ซึ่งเป็นการเดินตามรอยเท้าพระองค์ท่านด้วย" นางจินตนา กล่าว