พล.ท.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.)ว่า ครม.เห็นชอบตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ ร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2560 สืบเนื่องจาก พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 นั้นได้ใช้มาเป็นระยะเวลานาน ไม่สอดคล้องกับสภาพการณ์ปัจจุบัน ทั้งนี้ ร่างกฎหมายใหม่มีสาระสำคัญ 6 ข้อ ดังนี้
1.กำหนดให้นายจ้างที่ผิดนัดการจ่ายเงินแก่ลูกจ้าง โดยคิดดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อปี
2.เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงตัวนายจ้าง ต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้างด้วย
3.กำหนดให้ลูกจ้างชายและหญิง หากทำงานในประเภทเดียวกัน มีปริมาณงานและคุณภาพของงานรูปแบบเดียวกัน ต้องได้รับค่าจ้างเท่าเทียมกันโดยไม่แบ่งเพศ
4.กำหนดให้ลูกจ้างมีสิทธิลากิจธุระจำเป็น โดยได้รับค่าจ้างไม่น้อยกว่า 3 วันทำงานต่อปี โดยได้รับค่าจ้าง
5.กำหนดให้ลูกจ้างสามารถลาตรวจครรภ์ทั้งหมด 90 วัน ก่อนคลอดบุตรได้ โดยได้รับค่าจ้าง 45 วัน
6.กำหนดอัตราค่าชดเชยเพิ่มเติมกรณีที่นายจ้างเลิกจ้าง ซึ่ง พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 กำหนดว่า หากทำงานครบ 10 ปี ให้รับค่าจ้างชดเชย 300 วัน แต่ร่างฯ ฉบับปัจจุบัน ระบุว่า หากทำงานติดต่อกันครบ 20 ปีขึ้นไป ให้รับค่าชดเชยไม่ต่ำกว่าค่าจ้างอัตราสูงที่สุดจำนวน 400 วัน
1.กำหนดให้นายจ้างที่ผิดนัดการจ่ายเงินแก่ลูกจ้าง โดยคิดดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อปี
2.เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงตัวนายจ้าง ต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้างด้วย
3.กำหนดให้ลูกจ้างชายและหญิง หากทำงานในประเภทเดียวกัน มีปริมาณงานและคุณภาพของงานรูปแบบเดียวกัน ต้องได้รับค่าจ้างเท่าเทียมกันโดยไม่แบ่งเพศ
4.กำหนดให้ลูกจ้างมีสิทธิลากิจธุระจำเป็น โดยได้รับค่าจ้างไม่น้อยกว่า 3 วันทำงานต่อปี โดยได้รับค่าจ้าง
5.กำหนดให้ลูกจ้างสามารถลาตรวจครรภ์ทั้งหมด 90 วัน ก่อนคลอดบุตรได้ โดยได้รับค่าจ้าง 45 วัน
6.กำหนดอัตราค่าชดเชยเพิ่มเติมกรณีที่นายจ้างเลิกจ้าง ซึ่ง พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 กำหนดว่า หากทำงานครบ 10 ปี ให้รับค่าจ้างชดเชย 300 วัน แต่ร่างฯ ฉบับปัจจุบัน ระบุว่า หากทำงานติดต่อกันครบ 20 ปีขึ้นไป ให้รับค่าชดเชยไม่ต่ำกว่าค่าจ้างอัตราสูงที่สุดจำนวน 400 วัน