น.ส.กัณญภัค ตันติพิพัฒน์พงศ์ ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย ( สรท.) เปิดเผยว่า สรท.ได้ปรับเพิ่มเป้าหมายการส่งออกของไทย จากเดิมที่คาดว่าจะเติบโต 3.5% เป็น 5% เนื่องจากเห็นว่าช่วงครึ่งปีแรกที่ผ่านมามีปัจจัยบวกที่หนุนให้การส่งออกขยายตัวได้ดีขึ้น ทั้งเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าหลักที่ฟื้นตัว ความเชื่อมั่นต่อสินค้าไทยที่มีมากกว่าเมื่อเทียบกับสินค้าประเทศคู่แข่ง ส่งผลให้มีคำสั่งซื้อสินค้าไทยเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ที่สำคัญกลุ่มผู้ประกอบการอิเล็กทรอนิกส์ และเครื่องใช้ไฟฟ้าสามารถปรับตัวต่อกระแสเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับอินเทอร์เน็ต วงจรไฟฟ้า และเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ได้ดีขึ้น และน่าจะส่งดีให้เห็นอย่างชัดเจนในช่วงไตรมาสที่ 4 ของปีนี้เป็นต้นไป
อย่างไรก็ตาม ยังมีปัจจัยเสี่ยงที่ต้องจับตาคือ เงินบาทที่แข็งค่าขึ้นต่อเนื่อง และผันผวนในระยะสั้น ที่กระทบต่อความเสี่ยงของผู้ประกอบการรายย่อย ส่งผลให้กำหนดราคาสินค้า และทำสัญญาซื้อขายช่วงครึ่งปีหลังต่อเนื่องไปถึงต้นปี 61 เพราะตั้งแต่ต้นปีจนถึงปัจจุบันนี้ เงินบาทแข็งค่าขึ้นถึง 8% แล้ว และหากเทียบกับประเทศคู่แข่ง ที่ค่าเงินอ่อนค่ากว่า ทำให้ผู้ส่งออกไทยเสียเปรียบด้านราคา นอกจากนั้นคือ ราคาน้ำมันดิบที่ทรงตัว ซึ่งกดดันราคาสินค้าเกษตร และทำให้การส่งออกครึ่งปีหลังมูลค่ายังทรงตัว แม้จะมีปริมาณเพิ่มขึ้นก็ตาม ที่สำคัญผลกระทบจากการประกาศใช้ พ.ร.บ.แรงงานต่างด้าวฯ ที่กระทบต่อกำลังการผลิตของภาคอุตสาหกรรม และเกษตรกรรม โดยเฉพาะผู้ประกอบการรายเล็ก
ส่วนปัจจัยภายนอก คือ สถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างกาตาร์ และกลุ่มประเทศอาหรับ ที่ยังไม่มีข้อยุติ รวมถึงสหรัฐอเมริกา ที่ประกาศคว่ำบาตรประเทศอิหร่าน รัสเซีย เกาหลีเหนือ ทำให้เกิดผลกระทบในวงกว้าง โดยเฉพาะการชะลอคำสั่งซื้อสินค้าของกลุ่มประเทศตะวันออกกลาง ทั้งนี้ สรท.ต้องการให้รัฐบาลกำกับดูแลค่าเงินบาทให้มีเสถียรภาพ ไม่ให้แข็งค่าสูงไปกว่าประเทศคู่ค้าและคู่แข่งที่สำคัญ
อย่างไรก็ตาม ยังมีปัจจัยเสี่ยงที่ต้องจับตาคือ เงินบาทที่แข็งค่าขึ้นต่อเนื่อง และผันผวนในระยะสั้น ที่กระทบต่อความเสี่ยงของผู้ประกอบการรายย่อย ส่งผลให้กำหนดราคาสินค้า และทำสัญญาซื้อขายช่วงครึ่งปีหลังต่อเนื่องไปถึงต้นปี 61 เพราะตั้งแต่ต้นปีจนถึงปัจจุบันนี้ เงินบาทแข็งค่าขึ้นถึง 8% แล้ว และหากเทียบกับประเทศคู่แข่ง ที่ค่าเงินอ่อนค่ากว่า ทำให้ผู้ส่งออกไทยเสียเปรียบด้านราคา นอกจากนั้นคือ ราคาน้ำมันดิบที่ทรงตัว ซึ่งกดดันราคาสินค้าเกษตร และทำให้การส่งออกครึ่งปีหลังมูลค่ายังทรงตัว แม้จะมีปริมาณเพิ่มขึ้นก็ตาม ที่สำคัญผลกระทบจากการประกาศใช้ พ.ร.บ.แรงงานต่างด้าวฯ ที่กระทบต่อกำลังการผลิตของภาคอุตสาหกรรม และเกษตรกรรม โดยเฉพาะผู้ประกอบการรายเล็ก
ส่วนปัจจัยภายนอก คือ สถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างกาตาร์ และกลุ่มประเทศอาหรับ ที่ยังไม่มีข้อยุติ รวมถึงสหรัฐอเมริกา ที่ประกาศคว่ำบาตรประเทศอิหร่าน รัสเซีย เกาหลีเหนือ ทำให้เกิดผลกระทบในวงกว้าง โดยเฉพาะการชะลอคำสั่งซื้อสินค้าของกลุ่มประเทศตะวันออกกลาง ทั้งนี้ สรท.ต้องการให้รัฐบาลกำกับดูแลค่าเงินบาทให้มีเสถียรภาพ ไม่ให้แข็งค่าสูงไปกว่าประเทศคู่ค้าและคู่แข่งที่สำคัญ